<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 กรกฏาคม 2551
 

รู้ว่าใครเป็นใครในคดีอาญา

เตือนใจ เจริญพงษ์

......ประชาชนควรรู้ถึงสิทธิเสรีภาพ ที่ตนเองพึงได้รับจากรัฐ ซึ่งต้องช่วยกันส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม วันนี้คิดว่าเรื่องเกี่ยวกับใครเป็นใครในคดีอาญาก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งสำหรับท่านที่ยังไม่รู้จะได้ทำความเข้าใจในเบื้องต้น
-----------------------------------------------------------------------------
“ ใครเป็นใครในคดีอาญา ” คดีอาญา หมายถึง การกระทำผิดที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศลีธรรมอันดีของประชาชน เช่น ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
................................................................................................
โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมี 5 สถาน คือ
.................................................................................................
1. ประหารชีวิต
2. จำคุก
3. กักขัง
4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
...............................................................................................

ดังนั้น เมื่อเกิดคดีอาญาขึ้น คู่ความจะประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่าย คือ “ ผู้เสียหาย ” และ “ ผู้ต้องหา
..............................................................................................
”
“ ผู้เสียหาย ” หมายถึง ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมถึงบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดแทนได้
.................................................................................................

“ ผู้ต้องหา ” หมายถึง ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดคดีอาญา แต่ยังไม่ถูกฟ้องต่อศาล
...............................................................................................

“ จำเลย ” หมายถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลว่าได้กระทำความผิดทางอาญา
................................................................................................

“ ผู้ต้องขัง ” หมายถึง รวมตลอดถึงนักโทษเด็ดขาดคนต้องขัง และคนฝาก
...............................................................................................

“ นักโทษเด็ดขาด ” หมายถึง บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจำคุกภายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย
................................................................................................

“ พนักงานสอบสวน ” หมายถึง เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและมีหน้าที่ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน เพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
................................................................................................

“ พนักงานอัยการ” หมายถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
เมื่อเกิดกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น
..............................................................................................
ขั้นตอนต่อไป คือการนำการกระทำผิดดังกล่าว หรือข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วยชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ ชั้นศาล และชั้นราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นกระบวนการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษและเป็นการอำนวยความยุติธรรมให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย



Create Date : 15 กรกฎาคม 2551
Last Update : 27 ตุลาคม 2551 13:32:30 น. 0 comments
Counter : 841 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com