<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
17 เมษายน 2554
 

อ่านเรื่อง "ให้ถือว่าทุจริต ??" กันคะ

เตือนใจ เจริญพงษ์

วันนี้นำความคืบหน้าของกฎหมาย ป.ป.ช.มาฝากนะคะ
ของ ท่าน รศ.ดร. กำชัย จงจักรพันธ์
อดีต คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
อ่านกันนะคะ
................................................................................................. เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ
หรือดำเนินคดีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน
หรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับให้ถือว่าทุจริต ??
.................................................................................................
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า.......
ปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยเป็นปัญหาใหญ่
ที่มีความสำคัญ ร้ายแรงและเรื้อรังมาก
ความพยายามในการจัดการกับปัญหานี้มีมาโดยตลอด
เช่น ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะคือ
สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ในวงราชการ หรือที่เรียกว่า ป.ป.ป. ตั้งแต่ปี 2518
จนกระทั่งมาเป็น............
.................................................................................................
สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือ ป.ป.ช. ในปัจจุบัน
แต่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันก็มิได้ลดน้อยลงแต่ประการใด
ในทางตรงกันข้าม ผลการศึกษา สำรวจ และ ประเมินของหน่วยงาน
องค์กรต่าง ๆ ทั้งในและระหว่างประเทศ
ก็ยังจัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศในลำดับต้น ๆ
ที่มีการทุจริตคอร์รัปชัน....................................
................................................................................................. ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่โดยตรง
ในการจัดการกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันดังกล่าว
จึงได้วางมาตรการและดำเนินการต่าง ๆ
หลายประการเพื่อรับมือกับปัญหานี้
และ หนึ่งในมาตรการนั้นก็คือ
การเสนอแก้ไขกฎหมายของ ป.ป.ช.
ซึ่งก็คือ....
.................................................................................................
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
.................................................................................................
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้ผ่านร่างกฎหมายของ ป.ป.ช.
คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ป.ป.ช. ปี 2542 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้มีการประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
.................................................................................................
ประเด็นหนึ่งที่สำคัญในร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวคือ มาตรา 103/1 ซึ่ง บัญญัติไว้มีสาระสำคัญว่า “ความผิดในหมวดนี้ ให้ถือว่าเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม แล้วแต่กรณี”
.................................................................................................
ความผิดในหมวดนี้...............
ก็คือหมวด 9 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม มีบทบัญญัติอยู่เพียง 3 มาตรา กำหนดเกี่ยวกับ 2 เรื่อง คือ มาตรา 100-102 กำหนดความผิดเรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม กับมาตรา มาตรา 103 กำหนดความผิดเรื่องรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
.................................................................................................
มาตรา 100 บัญญัติไว้ว่า “ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่
หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีรับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว
เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือ
ลูกจ้างในธุรกิจของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการหรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่งให้
เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ”
.................................................................................................
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ประกาศลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 กำหนดให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เป็นผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 100 และกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาประกาศกำหนดตำแหน่งอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก 55 ตำแหน่งให้อยู่ภายใต้มาตรา 100 ต่อไป
.................................................................................................
มาตรา 103 บัญญัติไว้ว่า “ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลนอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
.................................................................................................
บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้วยังไม่ถึงสองปีด้วยโดยอนุโลม”
.................................................................................................
คณะกรรมการป.ป.ช. ได้ออกประกาศลงวันที่ 30 พ.ย. 2543 กำหนดหลักเกณฑ์ให้เจ้าหน้าที่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดได้เฉพาะกรณีรับจากญาติ รับจากการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป และเป็นการรับตามโอกาสต่าง ๆ ได้ไม่เกินสามพันบาท
.................................................................................................
มาตรา 100 คือการกำหนดฐานความผิดเรื่องการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม มาตรา 103 คือการกำหนดฐานความผิดเรื่องการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยให้เป็นความผิดอาญา และมีโทษจำคุก ซึ่งก่อนหน้านี้ มิได้เป็นความผิดอาญาเอกเทศมาก่อน
.................................................................................................สาเหตุที่ต้องกำหนดให้การขัดกันของผลประโยชน์ และการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นความผิดอาญาฐานหนึ่งโดยเฉพาะ ก็เพราะการขัดกันของผลประโยชน์ก็ดี การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดก็ดี เป็นปัจจัยที่จะทำให้หรืออาจทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ดุลยพินิจ หรือปฏิบัติหน้าที่ไปโดยเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม หรือทำให้เกิด อคติ ไม่เป็นกลางในการทำหน้าที่ได้ และยังเป็นการเอื้อ หรือเปิดโอกาสให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน หรือทำให้ส่วนรวมเสียหาย เสียประโยชน์ได้โดยง่าย
.................................................................................................
โดยสภาพของความผิด 2 ฐานนี้มีความเกี่ยวเนื่อง เกี่ยวโยง ใกล้ชิดกับการทุจริตคอร์รัปชันมาก อย่างไรก็ตามการที่บุคคลอยู่ในสถานการณ์การขัดกันของผลประโยชน์ก็ดี หรือการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดก็ดี
................................................................................................. ก็มิได้หมายความว่า บุคคลดังกล่าวนั้นได้กระทำการทุจริตคอร์รัปชันเสมอไป และ หากบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์ทั้งสองนั้นได้ใช้โอกาสหรือสภาวะการณ์ดังกล่าวทุจริตคอร์รัปชัน แสวงประโยชน์เข้ากระเป๋าตนเอง บุคคลนั้นก็จะต้องรับผิดฐานทุจริตคอร์รัปชัน หรือฐานรับสินบนตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว
................................................................................................. มาตรา 103/1 กำลังถูกแก้ไขให้หนักขึ้น นอกจากเดิมที่กำหนดให้เป็นความผิดอาญาฐานหนึ่งโดยเฉพาะแล้ว ที่แก้ไขใหม่ ให้ถือว่าเป็นความผิดฐานทุจริต ... โปรดสังเกตว่าที่ต้องเขียนหรือบัญญัติไว้ให้ถือว่าเป็นการทุจริต ... ก็เพราะยอมรับว่า การขัดกันของผลประโยชน์ก็ดี การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ก็ดี ไม่ใช่ทุจริตโดยตัวของมันเอง
.................................................................................................
การกำหนดให้การขัดกันของงผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมของผู้มีอำนาจหน้าที่ และการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นความผิดอาญาและมีโทษโดยเฉพาะนั้น เป็นทิศทางในการป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่นานาอารยประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลกเขาดำเนินการ ประเด็นนี้จึงพอเข้าใจและยอมรับได้ แต่ทั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่าต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและประกาศป.ป.ช. ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำร้ายกัน ....ฯลฯ
.................................................................................................
อนึ่ง........
สำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 103/1
ที่กำลังจะเป็นกฎหมายในในอนาคตอันใกล้นี้
โดยให้ถือว่า การกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว
.................................................................................................
ขอขอบพระคุณ ท่านกำชัยเป็นอย่างสูงคะ
เห็นของดีมีค่าเลยนำมาฝากพวกพ้องกันคะ
อ้าว!!นักกฎหมายคะ......
รู้จริง...รู้แจ้ง...เรื่องนี้แล้วหรือยังคะ..........
.................................................................................................





Create Date : 17 เมษายน 2554
Last Update : 17 เมษายน 2554 16:40:55 น. 1 comments
Counter : 1113 Pageviews.  
 
 
 
 
Is the NCC only the paper tiger shown to scare only some little guys but some big protected by it so far?
 
 

โดย: Ken IP: 223.206.222.140 วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:18:49:48 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com