<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 กรกฏาคม 2551
 

สิทธิของตนว่าจะทำอย่างไรเมื่อตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาและจำเลย

เตือนใจ เจริญพงษ์

........ความรู้ทางกฎหมายมีความสำคัญมากในชีวิตปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องสิทธิของตนเองในด้านต่างๆ เช่นหากท่านตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา จำเลย ควรรู้ว่าท่านมีสิทธิอย่างไร และควรได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างไรบ้าง
..........................................................................................
ผู้ถูกกล่าวหาหมายถึงใคร หมายถึง ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งและมี 2 ฐานะ ได้แก่
....................................................................................................
ผู้ต้องหา
..................................................................................................

จำเลย
....................................................................................................
สิทธิของผู้ต้องหา
................................................................................................
1. มีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว
...................................................................................................

2. มีสิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
................................................................................................

3. มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
..............................................................................................

4. ได้รับการแจ้งจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ต้องหาว่าผู้ต้องหามีสิทธิตามข้อ 1-3 ข้างต้น
................................................................................................

5. มีสิทธิได้รับการจัดหาทนายความให้ กรณีคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี หากผู้ต้องหาไม่มีทนายความ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่จัดหาทนายความให้ ส่วนคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หากผู้ต้องหาไม่มีทนายความและต้องการทนายความ พนักงานสอบสวน มีหน้าที่จัดหาทนายความให้
.................................................................................................

6. มีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตน
.................................................................................................

7. ได้รับแจ้งข้อเท็จจริงที่เกียวกับการกระทำความผิดและข้อหาก่อนสอบสวน
.................................................................................................

8. มีสิทธิจะให้การหรือไม่ก็ได้
................................................................................................

9. จะต้องไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ล่อลวง ให้สัญญา เมื่อให้การ
...............................................................................................

10. ถ้อยคำที่ให้การอาจใช้ยันผู้ต้องหาในชั้นพิจารณาได้
...........................................................................................

11. มีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
...................................................................................................

12. มีล่ามหรือรัฐจัดหาล่ามให้ เมื่อไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือหูหนวก หรือเป็นใบ้
...............................................................................................

13. มีสิทธิในการยื่นคำร้องขอประกันตัวต่อพนักงานสอบสวนในชั้นสอบสวน
...............................................................................................

14. มีสิทธิร้องขอให้ศาลปล่อยตัวหากมีการคุมขังที่มิชอบด้วยกฎหมาย
...............................................................................................

15. ไม่ถูกจับ ควบคุม ตรวจค้น โดยไม่จำเป็นหรือไม่มีเหตุอันสมควรควบคุม
..............................................................................................
.......ประชาชนควรรู้รู้ถึงสิทธิของตนเอง เกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องหา
ระยะเวลาในการควบคุมผู้ต้องหา
.................................................................................................
ควบคุม
.................................................................................................

การควบคุมจะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
..................................................................................................
1. กรณีความผิดลหุโทษ จะควบคุมได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ
................................................................................................

2. กรณีผู้ถูกจับไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวและมีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวนหรือการฟ้องคดี เจ้าพนักงานมีเวลาควบคุมผู้ถูกจับไม่เกิน 48 ชั่วโมง นับแต่วันที่มาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ( ไม่รวมระยะเวลาเดินทาง )
-----------------------------------------------------------------------------
ขัง
.................................................................................................
ขัง หมายถึง การกักขัง ผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยศาล
.................................................................................................

1. การขังโดยศาลนั้นอาจทำได้ทั้งในชั้นสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาของศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โดยศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น
.................................................................................................

2. การขังระหว่างสอบสวนหลังจากที่พนักงานสอบสวนได้ควบคุมผู้ต้องหาครบ 48 ชั่วโมงแล้ว แต่มีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เกินกว่ากำหนดเวลาดังกล่าวเพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้น หรือเพื่อการฟ้องคดี พนักงานสอบสวนจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลออกหมายขังผู้นั้นได้ (ในกรณีที่สำนวนส่งถึงพนักงานอัยการแล้ว เป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายขัง )
................................................................................................
3. เมื่อศาลอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาไว้ในระหว่างการสอบสวนศาลมีอำนาจสั่งขังได้เท่าที่จำเป็น
...............................................................................................
4. ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้เพียงครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกิน 7 วัน
.................................................................................................
5. ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 10 ปี หรือปรับเกินกว่า 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หลายครั้งติดๆกัน แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 48 วัน
..................................................................................................
6. คดีที่มีโทษอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังได้หลายครั้งติดกัน ๆ ครั้งหนึ่งไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดไม่เกิน 84 วัน
.................................................................................................

..... รู้ถึงสิทธิของตนเองที่พึงจะได้รับตามกฎหมาย ว่าจะทำอย่างไรหากถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
..............................................................................................

สิทธิของจำเลย
..............................................................................................
1. ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม

2. ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

3. ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ
...............................................................................................

4. ตรวจดูสำเนาการไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น
.................................................................................................

5. ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน หากจำเลยมีทนายความ ทนายความย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลย
.................................................................................................

6. มีสิทธิให้การหรือไม่ให้การอย่างใดๆต่อศาล
.............................................................................................

7. มีสิทธินำพยานเข้านำสืบพิสูจน์ในการพิจารณา
..............................................................................................

8. มีสิทธิรับทราบคำฟ้องได้รับการอธิบายฟ้องจากศาล
...............................................................................................

9. สิทธิได้รับพิจารณาต่อหน้า
................................................................................................

10. มีสิทธิในการได้รับการจัดหาล่าม
................................................................................................

11. มีสิทธิไม่ถูกจับ ควบคุม ค้นโดยไม่จำเป็นหรือไม่มีเหตุอันสมควร
.................................................................................................

12. มีสิทธิได้รับการประกันตัวระหว่างการพิจารณาของศาล
.............................................................................................

13. มีสิทธิได้รับการจัดหาทนายความแก้ต่างคดี กล่าวคือ ก่อนเริ่มพิจารณาในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปี หากจำเลยไม่มีทนายความศาลมีหน้าที่ตั้งทนายความให้ ส่วนคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หากจำเลยไม่มีทนายความและต้องการทนายความ ให้ศาลมีหน้าที่ตั้งทนายความให้
................................................................................................

14. มีสิทธิอุทธรณ์ หรือฎีกา คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์
................................................................................................




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2551
0 comments
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2551 14:56:57 น.
Counter : 939 Pageviews.

 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com