deeplove
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add deeplove's blog to your web]
Links
 

 

มาสู้ภัยน้ำท่วมด้วยสาระเหล่านี้กันนะคะ



บล๊อกที่แล้วเสนอคุ๋มือน้ำท่วม อธิบายถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมควรเตรียมตัวและทำตัวอย่างไรบ้าง สำหรับบล๊อกนี้ขอนำเตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม และวิธีป้องกันน้ำก่อนเข้าบ้าน นอกจากนี้ยังแนะการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม และการเตือนอุบัติภัยจากไฟฟ้าซึ่งเป็นภัยร้ายอย่างหนึ่งที่คร่าชีวิตคนเราในช่วงน้ำท่วมของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและแถมด้วยคู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วมจาก //www.cendru.net เป็นของแถม...ใครที่เจอสภาวะน้ำท่วมหรือมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอน้ำท่วมก็ลองอ่านดูกันนะคะเผื่อจะมีประโยชน์บ้าง ก็ขอขอบคุณทุกท่านและทุกหน่วยงานที่ทำคู่มือ คำแนะนำมาให้พวกเราได้เตรียมตัวและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากน้ำท่วมกันนะคะ...

หลากวิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้าน ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์, คุณ ทองกาญจนา, คุณสะใภ้อินเตอร์ และ คุณกรรมกร

ประตูกั้นน้ำแบบถาวร (ในแบบที่เหมาะสมกับบางสถานที่) by คุณกรรมกร



เริ่มต้นจากวัดความกว้างของประตูและความสูงของแผ่นกั้นตามต้องการ จากนั้นสั่งพับเหล็กแผ่น ความกว้างน้อยกว่าขนาดจริงของประตู 1 เซนติเมตร เผื่อยกเข้าออกจะได้ไม่แน่นเกินไป เจาะรูตรงตามรูที่เสาเหล็กฉาก และตัดเสาเหล็กฉากตามความสูงของแผ่นกั้น เจาะรูสำหรับยึดสกรูด้านที่แนบกับผนังปูน เจาะรูอีกด้านของเหล็กฉากเพื่อใส่น็อตยึดแผ่นเหล็ก ตะไบรูน็อตเผื่อให้กว้าง (สูง) ขึ้นเล็กน้อยเผื่อใส่ตัวซีล (โฟมยาง)



ติดตั้งเสาเหล็กฉากทั้ง 2 ด้าน ใช้สกรูตัวไม่ต้องใหญ่มาก (ถอดเก็บง่าย) เว้นระยะให้เหมาะสม พร้อมยิงซิลิโคนด้านนอกให้เรียบร้อย




หน้าตาแผ่นเหล็ก(เจาะรูน็อต)



ติดกาว 2 หน้าแบบบาง 3 ด้าน ด้านล่างและด้านข้าง 2 ด้านที่แผ่นเหล็ก (สำหรับแผ่นที่ต้องต่อกัน 2 ชั้น ติดโฟมยางด้านบนด้วย) ตัดโฟมยางเป็นเส้นตามขอบ ติดแนบลงไป




ทดสอบการติดตั้ง ใส่น็อตยึดให้เรียบร้อย (หัวน็อตควรรองด้วยแหวนยาง) แผ่นยกประกบกับเสาได้ง่ายกว่าเสียบแบบรางหรือร่อง น้ำหนัก (ผู้หญิง) ยกได้สบาย ติดตั้งเองก็ง่ายครับ ใส่น็อตหรือขันน็อตเป็นก็ติดตั้งได้เอง




สามารถถอดเก็บได้เพียงถอดน็อตที่แผ่น ถอดสกรูที่เสาและแซะซิลิโคนออก หรือจะเก็บเฉพาะแผ่นแล้วติดตั้งเสาทิ้งไว้ ก็ไม่น่าเกลียด

ทั้งนี้ ฝากไว้เป็นทางเลือกสำหรับบ้านที่มีประตูหรือกำแพงแบบนี้ครับ อาจจะเสียงบประมาณมากไปนิด แต่ก็แข็งแรง ทนทาน และเก็บไว้ใช้ได้ตลอดไป หรือจนกว่าจะผุพัง อย่างไรก็ตาม ไม่รับประกัน 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะไม่มีน้ำ หยดน้ำ เล็ดลอดเข้ามา เพียงหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะพอบรรเทาความเดือดร้อนของเพื่อน ๆ พี่น้องเราได้ครับ


วิธีป้องกันน้ำท่วม by คุณสะใภ้อินเตอร์




กั้นเหล็กให้สูงขึ้น



หาวิธียึดให้ติดกำแพงเพื่อป้องกันแรงกระแทกของน้ำจากรถที่วิ่งผ่านโดยจะใช้วิธีทำเป็นเหล็กยันไว้


ยึดด้วยกลอนสองชั้น



วิธีเข้าบ้านต้องเข้าแบบนี้ (อาจจะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ)



ภายในบ้านในนำแผ่นพลาสติกอัดซิลิโคนตามร่อง



จะเห็นได้ว่า น้ำไม่สามารถเข้าบ้านได้



อย่าลืมอัดซิลิโคนที่ประตูหลังด้วย








วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้าน by คุณทองกาญจนา






เตรียมการก่อน

ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

ภาพบรรยากาศ





ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน



เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ ถนนด้าน นอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ



วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านง่าย ๆ แบบไม่ใช้กระสอบทราย by คุณอนันต

ด้วยเหตุที่ ของที่สำคัญในการป้องกันน้ำท่วมอย่าง "กระสอบทราย" รวมถึงอิฐบล็อกต่าง ๆ จึงขาดตลาด แต่เพื่อน ๆ ก็ไม่ต้องหนักใจไป เพราะในวันนี้เรามีวิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน แนวคิดดี ๆ จาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ที่จะใช้วัสดุง่าย ๆ ในการป้องกันน้ำท่วม แบบไม่ต้องใช้กระสอบทราย มาแนะนำกันค่ะ
















บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม





คงปฏิเสธไม่ได้ว่า...สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยตอนนี้กำลังวิกฤติ หลายต่อหลายจังหวัดต่างต้องจมอยู่ใต้บาดาล ส่วนอีกหลายจังหวัด ก็กำลังเตรียมตัวเฝ้าระวัง และรับมือกันอย่างเต็มที่... แต่ถึงจะเตรียมพร้อมอย่างไร ถ้าน้ำไหลหลากมาอย่างรวดเร็ว ก็อาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้ เราควรเตรียมตัว เตรียมใจ และตั้งสติอย่างเต็มร้อย เพื่อฝ่าฟันสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มาพร้อมความทุกข์จากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจต้านทานได้ ...

วันนี้ เรามีบทบัญญัติดี ๆ เกี่ยวกับการเตรียมบ้านก่อนน้ำท่วมจาก อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ มาฝากกันค่ะ เราไปดูกันซิว่า... วิธีเตรียมบ้านให้พร้อมต้องทำอย่างไรบ้าง ....






1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง
ขอให้คิดว่าเราเหมือนกำลังตั้งค่ายคูประตูหอรบอยู่ เราต้องรู้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีเราทางทิศใดได้บ้าง และหากเกิดความพลาดพลั้งขึ้นมา เราจะหนีไปทางไหนได้บ้าง ซึ่งข้าศึกอาจจะเข้ามาตีเราหลายทางก็ได้ และเราก็อาจจะมีทางหนีไปหลายทางก็ได้ บางครั้งข้าศึกไม่ได้มาตีแค่ 2-3 ทาง แต่ทำการ "ล้อม" เราเอาไว้ทุกด้านก็ได้ ทำให้ทางหนีของเราถูกปิดกั้นไว้หมด

หากเมื่อรู้แนวทางเหล่านั้นแล้ว ก็ขอให้เริ่มวางแผนที่จะ "หยุดน้ำ หยุดข้าศึกที่จะเข้ามาโจมตีเรา" ซึ่งการหยุดยั้งน้ำหรือข้าศึกนั้น มีหลายวิธีที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการ "สร้างเขื่อนชั่วคราว" ด้วยกระสอบทราย หรือเอาแผ่นวัสดุใด ๆ มาอุดก็ได้ การปิดกั้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งใช้ความเข้าใจพื้นฐาน บวกกับสอบหาข้อมูล ก็จะพอทราบกันเองได้ครับ




2. กำแพงบ้านไว้กันน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพังตามปกติแล้ว รั้วบ้านที่เป็นคอนกรีตหรือก่ออิฐ จะเปรียบเสมือนกำแพงเมืองที่จะกันน้ำไม่ให้เข้ามาในบ้านของเรา แต่เราต้องไม่ลืมว่าน้ำหนักของน้ำที่ขังหรือถาโถมเข้ามากดที่ด้านข้างของกำแพงรั้วเรา จะทำให้รั้วบ้านของเราเกิดการเอียง หรือแตกร้าว หรือพังลงมากได้ เพราะรั้วบ้านทั่วไป วิศวกรท่านจะไม่ได้ออกแบบไว้ให้รับแรงหรือน้ำหนักที่กระทำด้านข้างได้มากนัก

ทางป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ เราหากระสอบทรายมาวางไว้อีกด้านหนึ่งของรั้วบ้านเรา (ในบ้านเรา) วางไว้ติดชิดกับรั้วไปเลย ยามเมื่อรั้วจะเอียงเพราะว่าน้ำที่ท่วมกดน้ำหนักมาอีกด้านหนึ่ง กระสอบทรายก็จะทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักเอาไว้ ถ่ายแรงจากรั้วมา รั้วก็ยังตั้งตรงอยู่ได้ “กำแพงเมืองของเราก็ไม่แตก หรือล้มครืนลงมา” ครับผม



3. น่าจะมี "ปืน" ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับ "รูรั่ว"
บ้านหลายหลังที่มีรูมีรอยแตกเล็ก ๆ ตามผนังหรือช่องหน้าต่าง ตามรอยต่อของผนังกับเสาและคาน หรือแม้แต่ตามรั้วบ้าน ซึ่งบางครั้งเราไม่มีเวลา (หรืองบประมาณ) ที่จะแก้ไขได้ที่ต้นเหตุ จะตามช่างมาซ่อมแซมหรือก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หรือไม่ทันเวลาเสียแล้ว

ดังนั้น เราก็น่าจะมีวัสดุอุดประสานรอยจำพวก ซิลิโคน หรืออะคริลิค หรือโพลี่ยูริเทน เอาไว้ เพื่ออุดรอยเหล่านี้ ซึ่งเราน่าจะทำได้ด้วยตัวเอง (โดยเฉพาะในจังหวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรืออยากจะฝึกตัวเองเป็นช่างบ้าง) แต่การที่เราจะใช้วัสดุ ประสานที่มีความยืดหยุ่นและอยู่ในหลอดแข็งๆนี้ได้ เราจะต้องมีอุปกรณ์การ "ฉีด" ซึ่งภาษาช่างทั่วไปเขาเรียกกันว่า "ปืน" ซึ่งราคาไม่แพงเลยครับ

บางครั้ง ท่านอาจจะต้อง "พกปืน" ไว้ในบ้านของท่านสักชุด เพื่อช่วยเหลือตัวเองในการต่อสู้ ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในบ้านของเราครับ




4. อย่าให้ต้นไม้ล้มทับบ้าน ยามน้ำท่วมและพายุมาต้นไม้ทั้งหลายที่อยู่ในบ้านหรือใกล้บ้านเราจะเป็นอันตรายยามมีพายุมา เพราะต้นไม้อาจจะล้ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูก เพราะต้นไม้เหล่านั้นไม่มี "รากแก้ว" ครับ) หรือกิ่งต้นไม้บางประเภทที่ค่อนข้างเปราะ (เช่น ต้นประดู่กิ่งอ่อน) อาจจะหักลงมาสู่ตัวบ้านเรา ต้องทำการเล็มกิ่งหรือตัดกิ่งบางกิ่งออกไปเสีย

ยามเมื่อน้ำท่วม ระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก (หรือน้ำท่วมเข้ามาได้จริงๆ) รากของต้นไม้จะแช่น้ำเป็นเวลานาน รากต้นไม้จะเน่าได้ แล้วความสามารถในการยึดเกาะกับดินก็จะน้อยลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีรากแก้ว) ต้นไม้ก็อาจจะล้มลงได้ ต้องทำการค้ำยันลำต้นเอาไว้ให้ดี ก่อนน้ำจะท่วมครับ

สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องการให้ปุ๋ย ซึ่งตอนที่น้ำท่วมห้ามให้ปุ๋ยต้นไม้ครับ เพราะจะทำให้รากเน่าเร็วขึ้น (ต้นไม้ที่โดนน้ำท่วมก็เหมือนคนป่วย เขาไม่ต้องการอาหารดี ๆ (แต่ย่อยยาก) ครับ ขอให้หายป่วยเสียก่อนค่อยกินอาหารดี ๆ เยอะ ๆ ได้ครับ)







5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดิน
บ้านใครมีถังน้ำใต้ดิน ต้องตรวจสอบ "ฝา" ของถังน้ำให้ดี ๆ เพราะเวลาน้ำท่วม ถังน้ำจะอยู่ใต้น้ำด้วย หากฝาของถังน้ำมีระบบป้องกันน้ำเข้าไม่ดี น้ำสกปรกที่ท่วมเข้ามา ก็จะไปปนกับน้ำสะอาดในถังน้ำของเรา ปัญหาเรื่องโรคภัยต่าง ๆ ก็จะตามเข้ามาหาตัวเราโดยทันทีครับ

หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำเล็ดลอดเข้ามาในถังของเราได้ ก็ขอให้ต่อท่อน้ำตรงจากท่อประปาหน้าบ้านเรา เข้ามาที่ตัวบ้านของเราเลย (โดยปกติแล้ว บ้านที่มีถังน้ำใต้ดินจะมีวาล์วหมุนเปิดทางให้น้ำประปาจากหน้าบ้านเรา วิ่งผ่านตรงเข้ามาในบ้านโดยไม่ลงไปที่ถังน้ำใต้ดินได้ ต้องหาวาล์วตัวนี้ให้เจอ แล้วต่อตรงเข้ามาเลยดีกว่า น้ำจะเบาลงหน่อย แต่ก็ยังเป็นน้ำสะอาดครับ)



6. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบ้าน ตัดกระแสไฟเสีย
ภายนอกบ้านของเราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างเช่น ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ หรือแม้กระทั่งไฟสนาม และกริ่งหน้าบ้าน ต้องหาสวิตร์ตัดไฟให้พบว่า จะต้องตัดไฟตรงไหนไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้ ยามเมื่อน้ำท่วมเข้ามา ต้องทำการตัดไฟตรงนั้นเสีย (แม้กระทั่งยามจะเข้านอน ถ้าไม่แน่ใจว่าน้ำจะท่วมเข้ามาตอนเราหลับอยู่หรือเปล่า ก็ต้องปิดสวิตช์ไฟฟ้าของอุปกรณ์เหล่านั้นเสีย ตื่นมาตอนเช้า หากน้ำยังไม่ท่วม ก็ค่อยเปิดสวิตช์ใหม่อีกครั้งหนึ่งครับ)

ส่วนการย้ายเครื่องมือย้ายอุปกรณ์เหล่านั้นในตอนนี้ หากแน่ใจว่าน้ำท่วมแน่ และมีช่างมาช่วยย้าย ก็อาจจะย้ายได้ แต่หากไม่มีช่างมาช่วย ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำเอง ก็อาจจะต้องยอมให้อุปกรณ์เหล่านั้นแช่น้ำไปก่อนตอนน้ำท่วม




7. ป้องกัน งู เงี้ยว เขี้ยว ขอ ตะกวด และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ
ยามน้ำท่วม มิใช่เพียงมนุษย์และสัตว์เลี้ยงของเราเท่านั้นที่ต้องหนีน้ำท่วม แต่เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องหนีน้ำกันด้วย และการหนี้น้ำท่วมที่ดีที่สุด ก็คือการเข้ามาในบ้านของเรา เพราะบ้านของเราพยายามกันน้ำท่วมอย่างดีที่สุดแล้ว

ปัญหาก็คือ เหล่าสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่ทั้งเลื้อยและทั้งคลานเข้ามาในบ้านเรา เป็นสิ่งที่เราไม่ต้อนรับ และอาจเป็นผู้ทำอันตรายเราด้วย ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่า "รู" ต่าง ๆ ของบ้านเราจะต้องโดน "อุด" เอาไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูที่ประตูหน้าต่าง หรือที่ผนังบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "รูจากท่อระบายน้ำ" ที่พื้นบ้านของเรา (เขาชอบมาทางนี้กันครับ)

บางท่านอาจจะมีการโรย "ปูนขาว" ล้อมรอบบ้านเอาไว้ด้วยก็ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าโรยรอบบ้านจริง ๆ และไม่ถูกน้ำท่วม หรือถูกฝนชะล้างจนหายไปหมดครับ) เพราะปูนขาวจะกันสัตว์เหล่านี้ได้ครับ นอกจากนี้ก็น่าจะเตรียมยาฉีดกันแมลง ติดบ้านไว้ด้วยครับ





8. เรื่องส้วม ส้วม ส้วม สุขา สุขา
เป็นเรื่องของความสุขที่เปลี่ยนไปเป็นความทุกข์ทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบส้วมที่เป็นระบบบ่อเกรอะ บ่อซึมแบบเดิม ที่น้ำจากการบำบัดจะต้องซึมออกสู่ดิน แต่พอน้ำท่วม น้ำจากดินภายนอกจะซึมเข้ามาในบ่อ ก็ทำให้บ่อเกรอะเต็มไปด้วยน้ำ ส้วมก็จะเกิดอาการ "อืด และ ราดไม่ลง" หากน้ำจากภายนอกท่วมมาก มีแรงดันมาก ก็อาจจะเกิดอาการ "ระเบิด" ทำให้สิ่งปฏิกูลต่างๆ พุ่งกลับมาที่โถส้วม ความสุขหายไป ความทุกข์ปล่อยออกไม่ได้

ในกรณีนี้ ต้องยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ต้องป้องกันไม่ให้สิ่งปฏิกูลทั้งหลายพุ่งกลับออกมาทางโถส้วม ต้องปิดโถส้วมให้ดี หากเป็นโถส้วมนั่งราบที่มีฝาปิด ก็ต้องปิดฝาให้แน่น เอาเชือกผูกเอาไว้ หากเกิดอาการพุ่งขึ้น ก็จะไม่เรี่ยราดทำความสะอาดยาก กรณีนี้ทำเฉพาะโถส้วมชั้นล่างก็พอ เพราะน้ำคงไม่ท่วมถึงชั้นสองครับ (เพราะหากท่วมถึงชั้นสอง เราคงไม่ได้อยู่ในบ้านได้แล้ว)

กรณีที่เป็นบ่อบำบัดสำเร็จ ซึ่งเขาจะทำงานโดยไม่ต้องมีบ่อเกรอะบ่อซึม ในเวลาปกติเขาจะบำบัดจนเสร็จภายในถังเอง แล้วก็จะระบายน้ำที่บำบัดเสร็จแล้วลงท่อระบายน้ำนอกบ้านของเรา ยามเมื่อน้ำท่วม น้ำจากบ่อบำบัดจะไหลระบายออกไปไม่ได้ เพราะระดับน้ำที่ท่วมอยู่สูงกว่าบ่อบำบัด ซึ่งเป็นการแก้อะไรไม่ได้ ต้องปล่อยไว้อย่างนั้นครับ

ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นจะมีมอเตอร์อัดอากาศเข้าไป (ซึ่งในบ้านส่วนใหญ่จะไม่ใช้รุ่นนี้) ก็ต้องตรวจดูว่ามอเตอร์อยู่ที่ไหน หากมอเตอร์น่าจะอยู่ในระดับที่น้ำท่วมถึง ก็ต้องตัดกระแสไฟไม่ให้เข้าไปสู่ตัวเครื่องกลนั้นครับ

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังก็คือ "ท่อหายใจ" ที่เป็นท่อระบายอากาศของระบบส้วมของเรา ต้องมั่นใจว่าท่อหายใจนั้นจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่มีโอกาสท่วม หากท่อหายใจของเราอยู่ระดับต่ำ ก็ต้อง "ต่อท่อ" ให้มีระดับสูงขึ้นให้ได้ จะต่อแบบถาวรก็ได้ (หากมีช่างมาทำ หรือเราทำเป็น) หรือจะต่อแบบท่อไม่ถาวร ก็คือเอาสายยางธรรมดา มาครอบท่อหายใจเดิม แล้วก็ยกให้ปลายท่อนั้นอยู่สูงขึ้นกว่าระดับน้ำที่คาดหมายว่าจะท่วมครับ

ท่อหายใจนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในการช่วยระบายความดันภายในระบบส้วมของเรา ไม่ให้สิ่งปฏิกูลมีแรงดันมากเกินไปครับ






9. ปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟ ตรวจสอบและแยกวงจร
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของบัญญัติ 20 ประการของบทความนี้ เพราะอันตรายที่มองไม่เห็นก็คือเรื่องของ "ไฟฟ้า" ครับ แต่ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตเสียแล้ว

หากบ้านของเรามีการแยกวงจรไฟฟ้าไว้ตั้งแต่แรก คือวงจรไฟฟ้านอกบ้าน วงจรไฟฟ้าชั้นล่าง และวงจรไฟฟ้าชั้นบน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้านอกบ้านเมื่อน้ำท่วมนอกบ้าน หากน้ำสูงขึ้นมาจนเข้าในตัวบ้าน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้าชั้นล่าง หากน้ำสูงขึ้นถึงชั้นสอง น่าจะหาทางออกจากบ้านเพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว เพราะสวิตช์หลักของบ้านโดยทั่วไปจะอยู่ที่ชั้นล่างระดับประมาณ 1.8 เมตรจากพื้นห้องครับ

กรณีที่บ้านไหนโชคดี วงจรไฟฟ้าชั้นล่างแยกวงจรออกมาเป็นระดับปลั๊กด้านล่างและระดับสวิตซ์บน ก็ค่อย ๆ ตัดวงจรปลั๊กชุดล่างก่อนตามระดับน้ำที่ท่วมขึ้นมา

หากกรณีที่ไม่มีการจัดวงจรเอาไว้อย่างเป็นระบบตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เราต้องค่อยๆทำการทดสอบอย่างใจเย็น ๆ ว่าปลั๊กหรือสวิตช์ชุดใดจะมีการตัดวงจรไฟฟ้าจากคัทเอาท์หลักบ้าง แล้วทำโน้ตบันทึกเอาไว้ หากเมื่อน้ำท่วมเมื่อไร ก็จะได้ทราบว่าเราต้องตัดวงจรชุดใดก่อน (ตัดวงจรส่วนที่ถูกน้ำท่วม) อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากหน่อยที่จะตรวจสอบ แต่ก็ต้องใจเย็น ๆ และตั้งใจที่จะตรวจสอบครับ

ในกรณีที่วงจรบางวงจรที่ควบคุมทั้งปลั๊กหรือสวิตช์ตัวล่างกับปลั๊กหรือสวิตช์ตัวบน ก็จำเป็นต้องตัดวงจรทั้งหมด ห้ามเสี่ยงโดยเด็ดขาดครับ

อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่สามารถขนย้ายได้ในตอนนี้ ก็อาจขนย้ายขึ้นไปไว้ชั้นบนก่อน ยังไม่ต้องใช้ตอนนี้ก็ได้เช่น เตาไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องตีไข่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องชาร์จโทรศัพท์ ฯลฯ ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังต้องใช้งานอยู่ ก็ต้องเตรียมการขนย้ายขึ้นข้างบนเอาไว้เลย เช่นเครื่องไมโครเวฟ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ การขนย้ายยุ่งยาก และหาที่วางยาก เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ก็ต้องวางแผนว่าจะเอาอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต หากยังใช้อยู่แล้วยามน้ำท่วมขึ้น จะมีคนช่วยขนหรือไม่ หรือจะทิ้งเอาไว้อย่างนั้น

เรื่องไฟฟ้าเป็นอันตรายที่มองไม่เห็น และน้ำเป็น "สื่อไฟฟ้า" ด้วย ดังนั้นเรื่องไฟฟ้าในบ้าน จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องมีการตรวจสอบและเตรียมการครับ




10. ตรวจสอบว่าประตูหน้าต่างแน่นหนาและแข็งแรง
เพราะว่าประตูบ้านของเรา (ไม่ว่าจะเป็นประตูที่รั้วบ้าน หรือประตูที่ตัวบ้านเรา) และหน้าต่าง เป็นจุดหนึ่งที่ถือว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด มีโอกาสที่จะบิด หรือเผยอตัว หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน หากมีแรงดันน้ำมาก ๆ ดันเข้ามา

ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบความแข็งแรงให้ดี ต้องพยายามที่จะใช้ "กลอน" ช่วยรับน้ำหนักทางด้านข้างด้วย การลงกลอนในบานประตูและหน้าต่างที่ไม่ได้ใช้เป็นปกติธุระ น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะป้องกันน้ำวิ่งเข้ามาที่ตัวบ้านของเราได้ครับ

หากหนักหนาจริง ๆ ประตูหน้าต่างของเราดูจะอ่อนแอรับแรงดันน้ำไม่ไหวจริง ๆ ก็ต้องเอาไม้มาตีพาดขวางช่วยรับแรง หรือเอาของหนักๆมาวางช่วยดันประตูเอาไว้ (ต้องเป็นประตูด้านที่เราไม่ใช้โดยปกตินะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาตอนที่เราจะหนีออกจากบ้าน หรือตอนที่คนเขาจะเข้ามาช่วยเราในบ้าน ยามเกิดวิกฤติครับ)




11. เตรียมระบบสื่อสารทุกประเภทเอาไว้ให้พร้อม
ระบบสื่อสารทุกอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นระบบโทรศัพท์ปกติ หรือโทรศัพท์มือถือ ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งมีสายและไร้สาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารพิเศษอย่างอื่น (เช่น ระบบดาวเทียม วอร์คกี้ทอร์คกี้ เป็นต้น) เพราะการรับข่าวสาร และการติดตามข่าวสารเรื่องภัยน้ำท่วมที่จะมาถึงตัวเราเป็นเรื่องสำคัญ และไม่น่าจะเกิดความผิดพลาดในทุกวินาที

และหากน้ำท่วมแล้ว การขอความช่วยเหลือหรือสอบถามข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ณ วินาทีวิกฤตินั้นแน่นอน อีกทั้งระบบสื่อสารที่เรามีนั้น มิได้ใช้เพียงการที่เราช่วยตัวเอง แต่อาจจะมีผู้เดือดร้อนคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการคำปรึกษาจากเรา ก็สามารถติดต่อกับเราได้ ต้องคนละไม้คนละมือเสมอ ทุกคนล้วนลำบากทั้งสิ้นครับ



12. ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง
อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างมีความจำเป็นยามเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ จะต้องมีการชาร์จไฟไว้ให้เต็มร้อยตลอดเวลา เพราะยามน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าทั้งหมดอาจติดขัดครับ

นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องชาร์จไฟให้เต็มที่แล้ว การใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเมื่อไฟฟ้าปกติไม่มา จะต้องประหยัดไฟด้วย เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำงานได้เต็มที่ยามฉุกเฉิน อีกทั้งต้องเตรียมอุปกรณ์อื่นเสริมอีกด้วย เช่น ไม้ขีดไฟ เทียนไข เป็นต้น




13. ย้ายของทุกอย่างให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม
ข้าวของในบ้านของเรา ไม่ใช่เพียงเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าเท่านั้นที่เราจะต้องมีการจัดการย้ายให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่ามีความสำคัญ และอาจจะเสียหายได้เมื่อมีน้ำท่วม ตั้งแต่รถยนต์ ถังกาซ เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ของขวัญ รูปภาพ ฯลฯ ขอให้ย้ายไปสู่ที่ที่เหมาะสม ซึ่งที่ที่เหมาะสมนั้นอาจจะอยู่ในตัวบ้านของเรา หรือจะย้ายออกไปเก็บไว้นอกบ้าน สถานที่อื่นที่คิดว่าปลอดภัย

มีข้อมูลว่า เมื่อน้ำท่วม หลายคนเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากการ "ห่วงของ" ต้องลุยน้ำกลับไปกลับมาเพื่อขนของออกจากบ้าน และหลายครั้งที่ขนของออกมาแล้ว แต่ไม่มีที่วาง ก็จำต้องวางไว้ในที่ที่ไม่ปลอดภัย ปรากฏว่าของที่อุตส่าห์ขนออกมาด้วยความเสียดายหรือความผูกพันนั้น ถูกผู้ชั่วร้ายใจทรามขโมยต่อเอาไปอีกด้วย

แต่ของที่เราจะย้ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นของทุกอย่างไปเลย เลือกเฉพาะที่เราคิดว่าต้องย้ายเท่านั้น ของบางอย่างที่แช่น้ำได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องขนย้ายก็ได้




14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำให้เป็นประโยชน์
วัสดุส่วนใหญ่จะกลัวน้ำ หรือไม่สามารถที่จะสู้กับน้ำได้ แต่พลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำ ดังนั้นอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นพลาสติก น่าจะต้องมีการเตรียมการเอาไว้ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำพลาสติก ท่อพลาสติก กระดานพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าหรือแผ่นพลาสติก ที่เราจะเอาไว้ใช้หุ้มอุปกรณ์หรือส่วนต่าง ๆ ของบ้านเรา ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ฯลฯ แม้กระทั่งการหุ้มป้องกันตัวเรา หรืออวัยวะบางส่วนของตัวเราครับ

ขอให้หาซื้อผ้าหรือกระดานพลาสติกเก็บเอาไว้ใกล้มือเรา ยามฉุกเฉิน พลาสติกจะเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มากจนคาดไม่ถึงได้ครับ และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ "ห่วงยาง" ครับ




15. เตรียมอาหาร น้ำดื่ม และยาให้พร้อม
เพราะยามน้ำท่วมแล้ว เราอาจจะต้องติดอยู่ในบ้านของเราก็ได้ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพของเราก็คือ "อาหาร" ที่ต้องเตรียมเอาไว้ ทั้งอาหารที่ต้องมีการปรุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า (หรือก๊าซ) กับอาหารที่สามารถกินได้เลย โดยไม่ต้องมีการปรุง และต้องเตรียมเรื่อง "น้ำดื่ม" เอาไว้ด้วย เตรียมให้เพียงพอสำหรับทุกคนประมาณ 3 วันครับ

ยาเป็นสิ่งสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องเตรียมเอาไว้ (ในที่ที่ปลอดภัย) ยาหลัก ๆ ก็คือ ยาแก้ปวด ยากแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาล้างแผล ยาแก้แพ้ ยากันแมลงและยาของโรคประจำตัวของทุกคน

มีผู้หวังดีแนะนำบอกต่อว่า อย่าสะสม "สุรา" เอาไว้ตอนน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมนาน ๆ อาจจะมีคนกลุ้มใจ แล้วใช้สุราแก้ความกลุ้มใจ จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนเหล่าขวดสุราที่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ต้องขนไปไกลก็ได้ เพราะขวดสุราเหล่านั้น เขาสามารถแช่น้ำได้ ไม่มีปัญหาประการใด




16. สำหรับบ้าน 2 ชั้น หลังคาบ้านจะมีผลมากยามเมื่อฝนตกหนัก ๆ ในกรณีน้ำท่วมนั้นหลังคาไม่ค่อยมีผลมากเท่าไร เพราะน้ำท่วมจากข้างล่างขึ้นไป หากท่วมถึงหลังคาชั้นสอง เราก็น่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก่อนหน้านั้นแล้ว

แต่กรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำอาจจะท่วมชั้นล่างของบ้านอย่างรวดเร็ว หลังคาหรือส่วนของหลังคาจึงเป็นพื้นที่หลบภัยได้ชั่วคราวพื้นที่หนึ่ง เราจึงต้องตรวจสอบทางหนีทีไล่ของเรา กรณีที่เราต้องขึ้นไปหนีภัยบนหลังคา ซึ่งเราอาจจะขึ้นไปทางฝ้าเพดานของเรา (กรุณาอย่าลืมตัดวงจรไฟฟ้าที่บ้านทั้งหมดก่อนจะขึ้นไปบนฝ้าเพดานสู่หลังคานะครับ)




17. ระวังโจร ระวังมาร ระวังผู้ชั่วร้าย
เป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสลดใจที่สังคมน่าอยู่และเห็นอกเห็นใจของเมืองไทยเรา ได้ถูกลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำไปหลายส่วนแล้ว ดังนั้นเราจึงได้ข่าวเนือง ๆ ว่า มีผู้ชั่วร้ายที่อยากได้ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก เข้ามารังแกจี้ปล้นประชาชนที่กำลังลำบากทุกข์เข็ญ

ยามน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังยุ่งกับภารกิจอย่างอื่น เหล่าคนชั่วก็จะออกอาละวาดรังแกผู้ที่กำลังเดือดร้อน มีการขโมย จี้ปล้น ฉกชิงวิ่งราว ให้เราได้ทราบอยู่เป็นประจำ และมีความเป็นไปได้ว่าหนึ่งในอนาคตนั้นอาจจะเป็นตัวเราและบ้านของเรา

ดังนั้น การเตรียมการป้องกันโจร จึงเป็นอีกประการหนึ่งที่เราต้องเตรียมการ อย่าเก็บของมีค่าเอาไว้ในบ้านของเรา เอาไปฝากที่อื่นก่อนดีกว่า เงินทองไม่จำเป็นที่ต้องพกมากมาย และคอยเฝ้าสังเกตบุคคลที่น่าสงสัย การส่งเสียงดัง ๆ ในบางครั้ง จะเป็นอาวุธป้องกันตัวเราได้




18. เพื่อนบ้าน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน
ในกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการต่อสู้ป้องกันโจรประการเดียว แต่หมายถึงในทุก ๆ กรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เรา "ขอความช่วยเหลือ" จากเพื่อนบ้าน แต่หมายถึงการที่ "เราจะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน" ด้วย รวม ๆ กันก็หมายถึง "การสร้างชุมชนเข้มแข็ง" เพราะความรักที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เสมอยามที่คนเรามีความลำบากร่วมกัน

อย่าต่อสู้หรือป้องกันภัยทั้งหลายคนเดียว ต้องสื่อสารกัน ต้องจับมือกัน และวางแนวทางการป้องกัน การต่อสู้ที่เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วเราจะมีโอกาส หากตอนนี้เหล่าเพื่อนบ้านยังไม่มีการเคลื่อนไหวร่วมกัน เราก็อาจจะเป็นแกนตัวเล็ก ๆ ที่จะเป็นผู้เริ่มต้นได้ครับ อย่าอาย อย่ากลัวใครเขาหมั่นไส้ครับ หากเราเป็นคนดี มีจิตใจดี ทุกคนจะเข้าใจครับ




19. เตรียมทางหนีทีไล่เพื่อออกจากบ้าน
ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การป้องกันน้ำท่วมก็เหมือนการป้องกันเมืองจากการโจมตีของข้าศึก ซึ่งเราอาจจะป้องกันเอาไว้ได้หรือป้องกันไม่ไหวก็ได้ หากถึงที่สุดแล้ว เราไม่มีทางต่อสู้ได้แน่ ๆ พ่ายแพ้แล้ว การเตรียม "ทางหนี" เป็นเรื่องที่จำเป็น หากเราเตรียมทางหนีเอาไว้แต่แรก เราก็สามารถหนีได้ หนีทัน เกิดความเสียหายน้อยลง

ทางหนีจากกรณีน้ำท่วมบ้าน อย่าคิดเพียงทางหนีออกจากบ้าน แต่ต้องคิดให้จบว่าหนีออกไปแล้ว จะหนีด้วยอะไร มีเรือหรือห่วงยางหรือไม่ มีเชือกสาวตัวเองหรือไม่ จะพกอะไรติดตัวไปบ้าง (ที่สามารถพกพาแบกหามไปได้) และจะมุ่งหน้าไปทางทิศใด มุ่งหน้าไปไหน และจะไปหยุดที่ใด พักที่ใด กับใคร ทุกอย่างต้องคิดเป็นกระบวนการ และคิดให้จบวงจรไว้แต่แรกครับ




20. ตั้งจิตให้มั่น ตอนนี้ "สติ" สำคัญที่สุด
อย่าเสียเวลากับการเกรี้ยวโกรธ อย่าเพิ่งด่าอะไรใคร อย่าโทษฟ้าดิน ยังมีเวลาและโอกาสอีกมากมายที่จะทำเช่นนั้น เวลานี้เป็นเวลาที่เราต้องตั้งสติ และคิด และเตรียมการอย่างเป็นระบบ เราต้องรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ อย่างทันต่อเหตุการณ์จากคนที่เชื่อถือได้ (ระวังคำพูดนักการเมืองนิดนะครับ) ต้องฟังวิทยุ หรือแม้แต่ติดตามทางอินเทอร์เน็ต (เช่น thaiflood.com หรือ flood.gistda.or.th เป็นต้น)

ค่อย ๆ กลับไปอ่านตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 19 แล้วอาจจะเพิ่มข้ออื่น ๆ ที่เราคิดออกเข้าไปอีกได้ เมื่ออ่านแล้วก็ตรวจสอบ และลงมือทำทันที.... ตอนนี้ "สติ" สำคัญที่สุด...

(ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์)






คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม

เหตุการณ์ อุทกภัยที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนและหน่วยงานในพื้นที่น้ำท่วม โดยทางรัฐและหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องกรทำการป้องกันและฟื้นฟู ระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญก่อน อาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนได้อย่างทันที ดังนั้นประชาชนจึงควรมีความพร้อมในการเตรียมรับสถานการ์น้ำท่วมเพื่อป้องกัน และบรรเทาภัยที่จะเกิดขึ้นได้

การเตรียมการก่อนน้ำท่วม
การป้องกันตัวเองและความสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหากรอให้มีการเตือนภัยเวลามักไม่เพียงพอ รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามดังต่อไปนี้
- ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร
- เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
- เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
- เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
- ถนนเส้นใดบ้าง ในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง

การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไป
1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม
2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขี้นตอนการอพยพ
3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด จากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย
4. เตรียมเครื่องมือรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉินแหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอร์รี่สำรอง
5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และควรทราบแหล่งวัตถุที่จะนำมาใช้
6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง
7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับการประกันความเสียหาย
8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินและเก็บไว้ตามที่จำง่าย
9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ ถายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง
10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่างทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน
11. เก็บ บันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างไกลจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์
12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้เป็นหลักฐานที่สังเกตุได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ

ถ้าคุณคือพ่อแม่
- ทำหารซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณ ขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ
- ต้องการทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น
- ต้องการทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานเรียนอยู่
- เตรีมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ
- จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกันน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน
- ต้องมั่นใจว่าเด็กๆ ได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน

การทำแผนรับมือน้ำท่วม
การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัยเดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคำแนะนำที่กล่าว มา พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คนเร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งที่สำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย

ถ้าคุณมีเวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัย :สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน
- สัญญาเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์
- รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง

ระดับการเตือนภัยน้ำท่วมลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ

1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตุการณ์
2. การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม
3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
4. ภาวะปกติ : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม
1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว
2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฎิบัติดังนี้
- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
- อย่าพยายานำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเสณน้ำหลาก
3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง
ควรปฎิบัติดังนี้
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ซถ้าจำป็น
- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
- พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
- ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง
- อ่านวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน
7. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
- ปิดแก็ซหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ซ
- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถีงบ้าน

น้ำท่วมฉับพลัน
คือ น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่หลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทลาย
- ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที
- ออกจารถและที่อยู่ คิดอย่างเดียวว่าต้องหนี
- อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม


ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน

- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำแค่ 15 ซม. ก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับ น้ำก่อนทุกครั้ง

- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
การ ขับรถในพื้นที่ที่น้ำท่วมมีความเสียงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไปเพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 ซม. พัดรถยนต์จักรยสานยนต์ให้ลอยได้

- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย :
กระแส ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิต เนื่องจากไฟดูดมากกว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


หลังน้ำท่วม3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรก ๆ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม

ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง
หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลากลับสู่ภาวะปกติอย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมนั้นอาคารบ้าน เรือน ได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลตัวเองและครอบครัว พร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับบ้านเหมือนเดิม อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด รวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้ายและปัญหาทางกาย โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
2. พูดคุยปัญหากลับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
3. ผักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ
4. จัดรำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับก่อนหลังและค่อย ๆ ทำ
5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนที่จะรับมือได้
6. ดูแลเด็กๆให้ดี และโปรดเข้าใจเด็กมีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแลก ๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรืเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กพึ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต
7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม

ขั้นตอนที่ 2 การจัดการดูแลบ้านของคุณ
ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟดูด หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากน้ำลดสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์
2.ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
3.เดินตรวจตารอบ ๆ บ้าน และเซ็คสายไฟฟ้า สายถังแก็สโดยถ้าหากเกิดแก็สรั่วจะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก็สให้ระวังและรีบ โทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
4.ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
5.ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
6.ปิดวาล์วแก็สให้สนิทหากได้กลิ่นแก็สรั่วก่อไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น
7.เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง แลพอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
8.ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
9.เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ
10.เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
11.ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
12.เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
13.ตรวจ หารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำถ้าพบให้ปิดวาฃ์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
14 ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรืพื้นห้องใต้ดิน
15.กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำเนื่องจากเซื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน

โรคที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน
เกิด ขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิว ๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิวมาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัด เท้าขึ้น
โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้

ไข้หวัด
ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง


โรคเครียดวิตกกังวล
ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย

โรคตาแดง
โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

โรคอุจาจระร่วง
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)



หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ


กรมอุตุนิยมวิทยา
- เว็บไซต์ tmd.go.th
- สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- เว็บไซต์ disaster.go.th
- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่

กรุงเทพมหานคร
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858


สภากาชาดไทย
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976
- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ //www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

ข้อมูลจาก //www.cendru.net






อาจดูแพ้ อาจเป็นเหมือนแค่คนคนหนึ่ง ซึ่งไม่เหลืออะไร ไม่มีใครต้องการ
แต่ชีวิต..ยังคงคิด ยังคงรอคอย ทุกคืนทุกวัน ที่เป็นวันของเรา

มองฟ้า และลุกขึ้นยืนด้วยหัวใจ ลองสู้อีกครั้ง

จะร้ายจะดี..เราก็คงต้องไป อย่างน้อย หัวใจก็ยังคงเต้นอยู่
จะร้ายจะดี..ก็จะลองให้มันรู้ ว่าหัวใจของคนทนสู้ได้เท่าไหร่
วันที่ขายังพอมีแรง วันที่แสงยังพอเลือนราง มันจะร้ายจะดีวันนี้ยังไงจะขอ….ยืนหยัดขึ้นมาใหม่

อาจเป็นฟ้า..อยากจะท้าใจคนคนหนึ่ง จึงมาวัดจิตใจ ว่ามันจริงหรือปลอม
แต่สิ่งที่รู้..ว่าต่อให้ล้มลงไปยังไง ก็คงไม่ยอม จะกัดฟันยืนขึ้นใหม่
มองฟ้า และลุกขึ้นยืนด้วยหัวใจ ลองสู้อีกครั้ง

จะร้ายจะดี..เราก็คงต้องไป อย่างน้อย หัวใจก็ยังคงเต้นอยู่
จะร้ายจะดี..ก็จะลองให้มันรู้ ว่าหัวใจของคนทนสู้ได้เท่าไหร่
วันที่ขายังพอมีแรง วันที่แสงยังพอเลือนราง มันจะร้ายจะดีวันนี้ยังไงจะขอ….ยืนหยัดขึ้นมาใหม่ โวโอโฮ..

มองฟ้า และลุกขึ้นยืนด้วยหัวใจ ลองสู้อีกครั้ง ชีวิต..ต้องไม่แพ้

จะร้ายจะดี..เราก็คงต้องไป อย่างน้อย หัวใจก็ยังคงเต้นอยู่
จะร้ายจะดี..ก็จะลองให้มันรู้ ว่าหัวใจของคนทนสู้ได้เท่าไหร่
วันที่ขายังพอมีแรง วันที่แสงยังพอเลือนราง มันจะร้ายจะดีวันนี้ยังไงจะขอ

แม้วันนี้ยังเกินกำลัง แม้วันนี้ไม่มีทางไป
มันจะร้ายจะดีแค่ไหน ยังไงจะขอ สู้ต่อด้วยหัวใจ....สู้ต่อด้วยหัวใจ..





 

Create Date : 22 ตุลาคม 2554
53 comments
Last Update : 22 ตุลาคม 2554 9:26:25 น.
Counter : 3578 Pageviews.

 



Rose Scraps, Rose Day Graphics, Rose Day Comments and Glitter Graphics





อรุณสวัสดิ์เช้าวันเสาร์ค่ะ ยามนี้ไม่มีอะไรจะดีกว่าการส่งกำลังใจมาให้กันและกัน ต้อยขอมอบดอกไม้แทนความห่วงใยทั้งมวลค่ะ

 

โดย: KeRiDa 22 ตุลาคม 2554 8:50:43 น.  

 

เป็นเกร็ดความรู้ที่ดีจังเลยครับพี่ภัทร


 

โดย: กะว่าก๋า 22 ตุลาคม 2554 13:08:02 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


หลับฝันดีวันหยุดนะคะคุณภัทร
มีหลายิธีจังเลยนะคะ แต่ที่บ้านน้ำไม่ท่วมค่ะ

 

โดย: หอมกร 22 ตุลาคม 2554 21:47:00 น.  

 


เราจะฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน
เพราะคนไทยไม่เคยทิ้งกันเสมอ
ไม่ว่าจะเวลาไหนค่ะ

 

โดย: อุ้มสี 23 ตุลาคม 2554 21:37:59 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 24 ตุลาคม 2554 6:42:34 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 25 ตุลาคม 2554 6:28:03 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 26 ตุลาคม 2554 6:29:33 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่










 

โดย: กะว่าก๋า 27 ตุลาคม 2554 6:27:24 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 28 ตุลาคม 2554 6:10:09 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 29 ตุลาคม 2554 6:08:18 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
แวะมาทักทายกันจ้า
เป็นอย่างไรบ้างคะคุณภัทร

 

โดย: หอมกร 29 ตุลาคม 2554 8:12:23 น.  

 

เมือ่กี้ฟังข่าวแว๊บๆ
ห้วยขวางก็โดนน้ำท่วมแล้วล่ะครับพี่ภัทร


 

โดย: กะว่าก๋า 29 ตุลาคม 2554 12:02:18 น.  

 


ไม่ไหวแล้วค่ะ
ระดับน้ำที่บ้าน
หนีออกมาอยู่บนที่สูงแล้ว

 

โดย: เริงฤดีนะ 29 ตุลาคม 2554 16:19:55 น.  

 

 

โดย: zawadio (khonmanrak ) 29 ตุลาคม 2554 21:49:17 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 30 ตุลาคม 2554 6:26:42 น.  

 

หนังสือนิทานเด็กเดี๋ยวนี้ยังแบ่งเป็นหลายประเภทเลยครับพี่ภัทร
ถ้าของหมิงหมิงนี่ซื้อง่ายครับ

แต่ผมว่าสัก 14-15 นี่จะหาซื้อนิทานยากแล้ว
เพราะเหมือนจะโตเป็นผู้ใหญ่
แต่หัวใจยังเด็กน่ะครับ 555

ตอนนี้คนกรุงทุกข์หนักจริงๆนะครับพี่
คือมีคำถามว่าถ้าไม่อยู่ที่บ้านใฮ้อนกรุงเทพ
แล้วจะออกไปทีไ่หน

ออกจากบ้านก็กลัวขโมยอีก

เฮ้อ ---


 

โดย: กะว่าก๋า 30 ตุลาคม 2554 8:21:29 น.  

 

อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยค่ะ ต้องขอบคุณๆภัทรมากๆนะคะที่นำมาเผยแพร่ บ้านน้ำท่วมหรือยังคะ ที่บ้ัานยังไม่ท่วม แต่ก็ได้เตรียมทำใจไว้แล้วค่ะ คิดถึงคุณภัทรเสมอนะคะ

 

โดย: ดอยสะเก็ด 30 ตุลาคม 2554 11:02:00 น.  

 

พี่ภัทร มันท่วมไปแล้วอ่ะคะ
ที่ทำได้ตอนนี้คงจะต้องทำใจ
และคอยเป็นกำลังใจให้คนที่ลำบากกว่าเราแล้วหล่ะค่ะ
ขอให้ประเทศจงกลับสู่ปกติโดยเร็ว สาธุ

สุขสันต์วันฮาโลวีนค่ะ

 

โดย: NWzephyr 31 ตุลาคม 2554 1:15:14 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 31 ตุลาคม 2554 5:55:57 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 1 พฤศจิกายน 2554 6:41:11 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคำชมนะครับพี่
ใครชมหมิงหมิง
ผมเป็นพ่อ
ก้่ดีใจและขอบคุณครับ อิอิอิ

รร.ต้นกล้าเป็นโรงเรียนทางเลือก
ที่กรุงเทพมี รร.แบบนี้มากมายเลยนะครับ
แต่ค่าเทอมแพงกว่าเยอะครับ 555

หลายที่น่าสนใจครับ อย่าง รร.รุ่งอรุณนี่ผมก็ชอบครับ
รร.ทอแสง รร.ปัญญาเด่น ฯลฯ

ผมว่า รร.ทางเลือกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแล้วล่ะครับ
เพียงแต่ค่าเทอมยังแพงอยู่ครับ
แล้วพ่อแม่ก็อาจจะไม่เข้าใจระบบการเรียนการสอนวิธีนี้

เราชินกับ รร.แบบเดิมๆที่เราเคยเรียนมาน่ะครับ
รร.ทางเลือกเลยอาจทำให้พ่อแม่สับสนไปบ้าง



ปล. น้ำท่วมครั้งนี้หนักหนาสาหัสมาก
ผมคิดว่าเราควรได้เรียนรู้อะไรจากน้ำท่วมครั้งนี้บ้างนะครับ
มีหลายประเด็นเลยครับ
ที่เมื่อน้ำลดแล้ว
เราต้องกลับมาทบทวนใคร่ครวญให้ดี
ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
เกิดขึ้นเพระาอะไร
แล้วถ้าเกิดขึ้นอีก
เราจะทำการป้องกันแก้ไขอย่างไร


 

โดย: กะว่าก๋า 1 พฤศจิกายน 2554 9:26:46 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 2 พฤศจิกายน 2554 6:14:21 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่







 

โดย: กะว่าก๋า 3 พฤศจิกายน 2554 6:31:59 น.  

 

 

โดย: ดอยสะเก็ด 3 พฤศจิกายน 2554 8:06:04 น.  

 

สวัสดีค่ะ คิดถึงมากนะ น้ำท่วมถึงที่บ้านป่าวคะ อยากรู้จริงๆว่าน้ำท่วมเพราะสาเหตุอะไรกันแน่ ได้ยินข่าวไปต่างๆนาๆ ปีน่าจะได้หาทางป้องกันไดุ้ถูก ที่เมืองสมุทรปราการยังท่วมไม่ถึงค่ะ

 

โดย: ไผ่สวนตาล 3 พฤศจิกายน 2554 11:45:07 น.  

 

แวะมาบอกว่า...ฝันดีครับ

 

โดย: **mp5** 3 พฤศจิกายน 2554 22:09:50 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 4 พฤศจิกายน 2554 6:13:56 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 5 พฤศจิกายน 2554 6:19:15 น.  

 

พี่ภัทรทำใจได้แบบนี้
เป็นเรื่องที่ดีมากๆเลยครับ

โห...ย้ายมาตั้ง 4 ครั้งเลยเหรอครับ

น่าเห็นใจมากๆเลยนะครับพี่

 

โดย: กะว่าก๋า 5 พฤศจิกายน 2554 10:12:23 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่









 

โดย: กะว่าก๋า 6 พฤศจิกายน 2554 5:59:07 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 7 พฤศจิกายน 2554 6:11:15 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 8 พฤศจิกายน 2554 6:35:11 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่







 

โดย: กะว่าก๋า 9 พฤศจิกายน 2554 6:31:02 น.  

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ บ้านอยู่ในเขตน้ำท่วมไปหรือยังคะ หมอเองก็รอแล้วรอเล่าเฝ้าแต่รออยู่ จะอพยพไปเลยก็ใช่ที่ เพราะงานก็ยังต้องทำ ผู้ใหญ่ก็ห่วงบ้าน คงไม่ยอมไปง่ายๆ จนกว่าน้ำจะมานองในบ้านๆ แน่ๆ ^^

สถานการณ์น้ำแบบนี้ ทั้งๆ ที่ปรกติต้องเข้าฤดูท่องเที่ยวแล้ว เลยอดกัน

ดูแลตัวเองดีๆ นะคะ สุขภาพสำคัญกว่าทรัพย์สมบัติ ไม่ตายหาใหม่ได้ อย่าเครียดมากนัก

แต่ก็ยังมีเรื่องราวของทริปเก่าๆ อัพอีก 2 - 3 ทริป ไม่มีอารมณ์เขียน เพราะมัวแต่เฝ้าระวังน้ำท่วมนี่หล่ะ

 

โดย: blue passion 9 พฤศจิกายน 2554 17:10:52 น.  

 

ผมชอบถ่ายภาพหมิงหมิงครับพี่ภัทร
จะว่าเห่อลูกก็ใช่เลยล่ะครับ 555


 

โดย: กะว่าก๋า 9 พฤศจิกายน 2554 20:33:10 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่









 

โดย: กะว่าก๋า 10 พฤศจิกายน 2554 6:33:33 น.  

 

สุขสันต์วันลอยกระทงครับ

 

โดย: **mp5** 10 พฤศจิกายน 2554 18:35:18 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 11 พฤศจิกายน 2554 6:26:12 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาทักทายกันด้วยความห่วงใยนะคะคุณภัทร

 

โดย: หอมกร 11 พฤศจิกายน 2554 9:55:35 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาทักทายกันด้วยความห่วงใยนะคะคุณภัทร

 

โดย: หอมกร 11 พฤศจิกายน 2554 9:55:41 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาทักทายกันด้วยความห่วงใยนะคะคุณภัทร

 

โดย: หอมกร 11 พฤศจิกายน 2554 9:55:49 น.  

 

สวัสดีวันสีฟ้าค่ะ ทักทายในยามน้ำท่วมค่ะ

 

โดย: ไผ่สวนตาล 11 พฤศจิกายน 2554 10:23:50 น.  

 


ขอขอบพระคุณคุณพี่ภัทร..
ที่ขอพรให้คุณแม่เจ้าโว๊ย..หายป่วย
อาทิตย์หน้าคงจะได้ออกจากโรงพยาบาล
คุณแม่เจ้าโว๊ย.ฝากอวยพรกลับว่า..
ขอให้วิกฤตการณ์ต่างๆ..
ผ่านพ้นไปด้วยดีโดยเร็ววันด้วยเทอญ..!
ปล.ได้ความรู้ดีค่ะ..ขอขอบคุณมากๆนะค่ะ


 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 11 พฤศจิกายน 2554 19:58:14 น.  

 

แวะมาบอกว่า ที่บ้านน้ำไม่ท่วม แต่บ้านญาติที่ลพบุรีน้ำท่วมมาหลายเดือนแล้วครับ

คืนนี้หลับฝันดีนะครับ

 

โดย: **mp5** 11 พฤศจิกายน 2554 22:34:17 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่








 

โดย: กะว่าก๋า 12 พฤศจิกายน 2554 6:26:46 น.  

 

เห็นด้วยกับที่พี่ภัทรเม้นท์ไว้เลยครับ

ผมถอยห่างจากการรับรู้ข่าวสาร
ก็เพราะรู้สึกว่า
การเมืองนั้นทำให้การแก้ปัญหาน้ำท่วม
ทำได้ยากมาก

ถ้าเราทำการเมืองให้กลายเป็นเรื่องของความเชื่อนี่น่ากลัวนะครับพี่
เพราะเราจะไม่สนใจถูกผิด
แต่จะสนใจแค่ว่าฝ่ายไหนถูกใจเราที่สุด

แต่คนที่เดือดร้อนน่ะประชาชนล้วนๆเลยครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 12 พฤศจิกายน 2554 7:14:56 น.  

 

โหวตนำไปก่อนเลย
แล้วค่อยตามเก็บความรู้
อัดแน่นมาเลยนะคะเอนทรี่นี้

อ่านเม้นท์ที่บ้านคุณก๋าเสร็จ
ก็ตามมาเลยค่ะ

แอมอร

 

โดย: peeamp 12 พฤศจิกายน 2554 9:57:21 น.  

 


แหล่มเลยค่ะคุณภัทร
ขอบคุณที่นำมาฝาก
เราจะฝ่าสายน้ำไปด้วยกันนะคะ

 

โดย: อุ้มสี 12 พฤศจิกายน 2554 23:37:14 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 13 พฤศจิกายน 2554 5:58:38 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 14 พฤศจิกายน 2554 6:05:52 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

น้ำยังท่วมเมืองอยู่ฝากความห่วงใยมาถึงทุกคนนะคะ
ขอให้คุณภัทรได้กลับบ้านไวไวค่ะ

 

โดย: หอมกร 14 พฤศจิกายน 2554 9:26:26 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่






 

โดย: กะว่าก๋า 15 พฤศจิกายน 2554 6:22:09 น.  

 

เช้านี้หมิงหมิงไปโรงเรียนอย่างมีความสุขครับ

แค่ภาพนี้ผมก็มีความสุขแล้วครับพี่ภัทร

ไว้โตขึ้นจะสอนเค้าแบ่งปันความสุขให้คนอื่นด้วยครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 15 พฤศจิกายน 2554 9:08:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.