ตุลาคม 2549

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
คุยเฟื่องเรื่องหนังสือ นิทานเวตาล


นิทานเวตาล




คำนำนิทานเวตาล



แม้จะมีการเล่านิทานเวตาลสู่กันฟังมาไม่ต่ำกว่าพันปี ทั้งโดยปากต่อปากและลายลักษณ์อักษร แต่มันกลับมีชีวิตชีวาอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของผู้คนอยู่เสมอ โดยเฉพาะตัวเวตาลผู้มีบุคลิกโดดเด่นด้านความเจ้าเล่ห์แสนกล และช่างพูดข่างเจรจาเวตาล น่าจะเป็นปีศาจจำนวนไม่กี่ตนในโลกนี้ที่ผู้คนเกลียดและกลัวไม่ลง

ในแวดวงวรรณกรรม เรื่องปรัมปราเรื่องนี้ กลายเป็นตัวอย่างอ้างอิงของวิชาการวรรณกรรมสมัยใหม่แทบทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงงานเขียนแบบเรื่องซ้อนเรื่อง หรือ Metafiction
งานเขียนแบบ Metafiction ตลอดจนทฤษฏีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นผลจากการที่นักวรรณกรรมตะวันตกเบื่อหน่ายกับวรรณกรรมสัจนิยมเหมือนจริง ที่ครอบงำวัฒนธรรมวรรณกรรมตะวันตกมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ การค้นพบทฤษฎีเรื่องซ้อนเรื่องเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จึงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าตื่นเต้นดีใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเขียนสมัยใหม่

สำหรับโลกตะวันออก รูปแบบเรื่องซ้อนเรื่องมีมานานตั้งแต่ผู้คนเริ่มรู้จักการสื่อสารกันด้วย “เรื่องเล่า” ก็ว่าได้ เรื่องรูปแบบนี้เป็นผลผลิตของการสื่อสารแบบมุขปาฐะ จากนิยาย นิทานเรื่องเดี่ยว แก่นเดียว ก็แตกแยกย่อยออกไปเป็นหลาย ๆ เรื่อง แล้วแต่จะแพร่กระจายออกไปกว้างขวางเพียงไหน โดยที่"แก่นเรื่อง" จะคงเดิม เปลี่ยนไปก็แต่องค์ประกอบแวดล้อม เช่น ชื่อตัวละคร ฉาก เหตุการณ์ สัญลักษณ์ เท่านั้น ในเชิงวิชาการ เรื่องซ้อนเรื่องจึงถือเป็นพัฒนาขั้นสูงที่สุดของนิทานชาวบ้าน

วรรณคดีอินเดียโบราณ ทั้งที่เขียนโดยภาษาบาลีและสันสกฤต ปรากฎรูปแบบการเขียนชนิดเรื่องซ้อนเรื่องอยู่จำนวนมาก เรื่องเอกส่วนใหญ่คือคัมภีร์ศาสนาหรืออรรถกถาธรรม อันมีแก่นแกนว่าด้วยความดี ความงาม ความจริง การหลุดพ้น ถึงขั้น "สัจจะ" ที่ไม่อาจมีอะไรมาสั่นคลอนได้ นิทานย่อย ๆ จำนวนมากที่เกิดขึ้นภายใต้เรื่องเอกเหล่านี้ จึงมีส่วนเสริมให้แก่นของเรื่องเอกคมชัดและหนักแน่นน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

ในระดับของการเล่าเรื่อง นิทานที่ซ้อนเข้าไปในโครงเรื่องใหญ่จะทำให้เรื่องในโครงเรื่องใหญ่เข้าใจง่ายขึ้น ผู้แต่งจะใช้กลวิธีให้ตัวละครในเรื่องใหญ่เป็นผู้เล่าเรื่อง มีการผูกปมปริศนา ตั้งปัญหา สุดท้ายจะเฉลยปัญหา และชี้ทางเลือก

น่าอัศจรรย์ที่นิทานเวตาลเป็นได้ทั้งรากเหง้า และพัฒนาการขั้นสูงสุดของเรื่องเล่าแนวนี้
นักอ่านชาวไทยคุ้นเคยกับนิทานเวตาลของ น.ม.ส. เป็นอย่างดี แม้ว่าจะทรงแปลไว้เพียง ๑๐ เรื่อง จากต้นฉบับ ๒๕ เรื่อง สาระบันเทิงจากนิทานเวตาลฉบับนี้อาจเห็นได้จากการที่มีผู้จัดรายการโทรทัศน์นำไปสร้างเป็นละครจนได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเมื่อหลายปีก่อน

เวตาลปัญจวิงศติ โดย อาจารย์ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา เล่มนี้ กล่าวได้ว่าเป็นนิทานเวตาลฉบับสมบูรณ์ของบรรณพิภพไทย เพราะท่านแปลจากต้นฉบับดั้งเดิมที่พิมพ์ด้วยอักษรเทวนาครี ครบทั้ง ๒๕ เรื่อง

ด้วยเหตุนี้ นอกจากความบันเทิงแล้ว สิ่งที่นิทานเวตาลฉบับสมบูรณ์จะให้แก่ผู้อ่าน จึงลึกไปถึงโลกทัศน์และชีวทัศน์อินเดียดั้งเดิม นับเป็นหนทางย้อนกลับสู่การศึกษา "รากเหง้าแห่งวิถีตะวันออก" ได้เป็นอย่างดี

ฉบับสมบูรณ์ ๒๕ เรื่อง ของ ศ.ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา


ถ่ายทอดจาก //www.MINDCYBER.COM










Create Date : 18 ตุลาคม 2549
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2559 15:51:37 น.
Counter : 1569 Pageviews.

10 comments
  
ชอบอ่านนิทานครับ
โดย: ตี๋น้อย (Zantha ) วันที่: 18 ตุลาคม 2549 เวลา:11:56:38 น.
  
เล่มนี้อยู่ในข่าย อ่านแล้ว ลืมแล้ว
โดย: ~:พุดน้ำบุศย์:~ วันที่: 18 ตุลาคม 2549 เวลา:13:50:51 น.
  
สวัสดีครับ คุณตี๋น้อย และคุณพุดน้ำบุศย์ ดีใจที่ยังมีผู้จำหนังสือเล่มนี้ได้ เพราะหนังสือเล่มนี้จัดว่าเป็นหนังสืออมตะนิรันดร์การจริงๆ อ่านเมื่อใดก็สนุก และซาบซึ้งใจที่ผู้แต่งมีจินตนาการที่เลอเลิศจริงๆ
จึงนำมาแนะนำฟื้นความจำกันอีกครั้ง ในยุคที่หาหนังสือดีๆแบบนี้อ่านยาก หากใครอยากอ่านขอแนะนำให้ไปหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรีขอรับท่าน
โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 18 ตุลาคม 2549 เวลา:15:41:19 น.
  
อ่า...ก็ยอมรับแหละค่ะว่ามันห้ามใจกันยากจริงๆ ค่ะ

แต่ว่า..มันจำต้องห้ามใจบ้างแล้วล่ะค่ะ



เฮ้อ..ยังไงถ้าไปงานแล้วก็จะกลับมาบอกนะคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 18 ตุลาคม 2549 เวลา:18:10:03 น.
  
นิทานเวตาล อืม เคยอ่านตอนเด็กๆครับ ชอบครับ
โดย: คนรักน้ำมัน วันที่: 18 ตุลาคม 2549 เวลา:20:02:28 น.
  
เคยอ่านตอนเรียนสนุกดีค่ะ
แต่ละเรื่องเข้าใจคิด
โดย: BoOKend (BoOKend ) วันที่: 18 ตุลาคม 2549 เวลา:20:13:06 น.
  
.. เล่มนี้เคยอ่าน .. สนุกดีค่ะ

.. มม ชอบอ่านนิทาน
โดย: แม่มดพันปี วันที่: 19 ตุลาคม 2549 เวลา:13:00:36 น.
  




สวัสดีตอนค่ำของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า


ความรู้สึกที่มีให้จากใจ
ขอรับรู้ไว้ว่ายังคงคิดถึง
ความรู้สึกที่มีให้เธอคนหนึ่ง
ได้รู้ว่าคิดถึง ห่วงใยคงซึ้งพอ


** มีความสุขมากๆๆในวันนี้นะจ้า **

โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 20 ตุลาคม 2549 เวลา:0:59:01 น.
  
นิทานเรื่องนี้มีแง่มุมที่ลึกซึ้งมากขนาดนี้เชียวครับ
ผมเคยเห็นหนังสือผ่านตา แต่ไม่เคยอ่านเลย
จำได้ว่าเคยดูเป็นละครช่อง 7 แบบนี้ต้องหาโอกาส
อ่านแล้วซี
โดย: ดำรงเฮฮา วันที่: 20 ตุลาคม 2549 เวลา:13:04:26 น.
  
สวัสดีค่ะ คุณหนุ่ม
โห...แอดบล้อกทันใด...
พบเจอคนวัยใกล้กันแล้ว
นิทานเวตาลเรียนมาตอนอยู่มัธยมใช่ไหมคะ
นั่นล่ะๆๆ.......ห่างกันไม่กี่ปีแน่ค่ะ..
ป้าสุต้องรุ่นน้องคุณหนุ่มอยู่แล้ว
ปล...ที่ไปถามในบล้อก...อิอิ
ลองคลิกหน้าบล้อกเรื่องอื่นๆในบ้านป้าสุดูสิคะ..
แล้วจะเจอคำตอบ ว่ายังคงเหมียลลลลเดิมป่าว
ขอบคุณเจ้า!!!!!
โดย: สุ (Munro ) วันที่: 21 ตุลาคม 2549 เวลา:10:07:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง