ตุลาคม 2551

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
29
 
 
All Blog
5 นักเขียนที่ชื่นชอบ
ผมมีความเชื่อว่าหากท่านเป็นคนอ่านหนังสือเป็นประจำ ท่านจะต้องมีนักเขียนหรือจะเรียกว่านักประพันธ์ที่ท่านชื่นชอบ ชื่นชม และประทับใจบ้าง จะมีจำนวนกี่คนก็ขึ้นอยู่กับชั่วโมงบินที่ท่านอ่านหนังสือ หรือประเภทของหนังสือที่ท่านอ่านประจำสำหรับผมเองก็มีนักเขียนที่ชื่นชอบจำนวนหลายคน ผมจะเริ่มตั้งแต่สมัยที่ผมเป็นเด็กนักเรียนระดับประถมและมัธยมเป็นต้นมา ผมจัดลำดับไว้จำนวน 5 ท่าน และทุกวันนี้ผมก็ยังอ่านงานของนักเขียนบางท่านอยู่เป็นครั้งคราว ตามแต่โอกาสจะอำนวยให้
ขอเชิญท่านพบกับนักเขียนท่านที่ 1 ได้บัดนี้ครับ



สำหรับท่านแรกนี้ ผมอ่านงานเขียนของท่านตั้งแต่ผมเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2493 งานเขียนที่มีชื่อเสียงของท่านคือ หัสนิยายชุด พล นิกร กิหงวน ท่านที่มีอายุขึ้นเลข 5 จะต้องเคยอ่านหรือรู้จักหัสนิยายชุดนี้ดี ต่อมาก็มีงานเขียนประเภทไอ้เสือทั้งหลาย เช่น เสือดำ เสือฝ้าย เสือใบ และเสือมเหศวร คนในสมัยนั้นต่างอ่านหนังสือของท่านกันอย่างแพร่หลาย เรียกว่าเป็นนักเขียนยอดนิยมที่สุดในสมัยนั้น สำหรับนักเขียนท่านที่ 2 ท่านเป็นทั้งนักปราชญ์ นักหนังสือพิมพ์ และเป็นอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายครับ ขอเชิญพบท่านได้ครับ



ผมเริ่มอ่านงานเขียนของท่านครั้งแรก เป็นบทความและคอลัมน์การตอบปัญหาประจำวัน ในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐรายวัน เพราะท่านเป็นผู่ก่อตั้งและเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน และ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ช่วงนั้นประมาณ พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ผมเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา งานเขียนเชิงสารคดีของท่านมีจำนวนมากมายหลายสิบเรื่อง ที่ผมซื้อสะสมไว้ก็มีห้วงมหรรณพ ถกเขมร ยิว จ้าวโลก ฯลฯงานเขียนเชิงนิยายก็มี สี่แผ่นดิน หลายชีวิต ฯลฯ หากจะพูดถึงผลงานเขียนของท่านให้ครบถ้วน เนื้อที่ในเว็บบล็อกนี้คงไม่พอที่จะเขียนถึง นอกจากนี้ท่านยังมีผลงานอื่นๆอีก เช่น เป็นผู้ก่อตั้ง โขนธรรมศาสตร์ เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ก่อตั้งพรรคกิจสังคม ฯลฯ


นักเขียนท่านที่ 3 ผมอ่านงานเขียนของท่านตั้งสมัยเรียนระดับชั้นมัธยม และติดตามอ่านตลอดมาจนถึงวันนี้



ผลงานเขียนส่วนหญ่ของท่านผู้นี้ จะเขียนเป็นสารคดี ที่ผมซื้อสะสมไว้ก็มี เช่น สายลม แสงแดด รถรางสายรอบเมือง วิลาศ มณีวัตพูด ฯลฯ ท่านผู้นี้เขียนหนังสือมีเสน่ห์ อ่านสนุก เป็นนักเขียนที่ผมมักจะอ่านงานของท่านเสมอเมื่อมีโอกาส





สำหรับท่านนี้ผมติดตามอ่านงานเขียนของท่าน ตั้งแต่ท่านจัดพิมพ์หนังสือพ็อกเก็ตบุคขายเอง โดยมีสโลแกนว่า ราคาโอเลี้ยง 5 แก้ว( 5 บาท) นั่นคือหนังสือชุด เหมืองแร่ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ท่านยังจัดทำหนังสือพิมพ์ชุด ฟ้าเมืองทอง ฟ้าอาชีพ ปัจจุบันท่านก็ยังเขียนคอลัมน์ประจำในหนังสือพิมพ์ มติชนสุดสัปดาห์ ชื่อคอลัมน์ วาบความคิด ผมก็ยังติดตามอ่านอยู่อย่างต่อเนื่องครับ


สำหรับท่านสุดท้ายจะเรียกว่านักเขียนคงจะไม่ถูกต้องนัก เพราะผลงานของท่านจำนวนเกือบ 100 เรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นงานประเภทรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องเก่าในอดีต ผมชื่นชมท่านเพราะงานประเภทนี้ทำยาก ต้องมีความมานะอดทน ใช้เวลา ใช้ทุนทรัพย์จำนวนมาก ผมติดตามผลงานของท่านมานานพอสมควร และซื้อผลงานของท่านสะสมไว้จำนวนหลายเล่ม




นอกจากนักเขียนทั้ง 5 ท่านที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้น ผมยังอ่านเขียนของท่านอื่นๆอีกจำนวนหลายท่าน เช่น รพีพร สด กูรมะโลหิต ศรีบูรพา ไม้เมืองเดิม ฯลฯ และนักเขียนรุ่นค่อนข้างใหม่ที่ผมติดตามอ่านงานเขียนของท่านมาหลายเรื่องมี 2ท่านคือ ประภัสสร เสวิกุล และ พอล อดิเร็กซ์ (ปองพล อดิสาร) สำหรับท่านหลังนี้นิยมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ แล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกที


ข้อเขียนนี้เขียนเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2549 ย้ายมาจากห้องสิ่งของสะสม



Create Date : 30 ตุลาคม 2551
Last Update : 30 ตุลาคม 2551 11:57:45 น.
Counter : 3080 Pageviews.

1 comments
  
เราก็ชอบคุณคึกฤทธิ์กับคุณอาจินต์ค่ะ

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:16:12:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง