All Blog
Mingalaba Mandalay - Final

         เช้าวันสุดท้ายของทริป เดิมทีเราตั้งใจว่าจะไปชมพิธีล้างหน้าพระมหามัยมุนี แต่นอนเพลินจนตื่นมาตีห่้ากว่า
เลยต้องล้มโปรแกรมนี้ไป ไว้ค่อยไปสักการะสายๆแทน อาหารเช้าวันนี้บนดาดฟ้าโรงแรม อากาศยังคงเย็นอยู่แต่ดู
เหมือนจะเย็นไม่เท่าที่พุกาม พระอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบฟ้ามัณฑะเลย์วิวจากโต๊ะอาหารบรรยากาศดีทีเดียว


         หลังอาหารเช้าก็เช็คเอาท์ออกจากโรงแรมตอนเจ็ดโมงครึ่งตามเวลานัดหมายกับซีทู หน้าโรงแรมมีตลาดสด
แบบวางขายใส่กระจาดพอสายๆก็เก็บกันไป ยามเช้ามีพระ เณร ออกบิณฑบาตรหากต้องการใส่บาตรก็รอหน้าโรงแรม
ได้เลยครับ



         จุดหมายแรกที่เราจะไปกันคือ Mandalay Hill จริงๆไม่ได้จัดไว้ในแผนการเดินทางแต่ซีทูบอกว่าไปได้เวลาพอ
ไปก็ไปครับ นายซีทูนี่เป็นคนขับรถเร็วมากครับ ขับไปบีบแตรไล่ชาวบ้านไปตลอดทางตั้งแต่เมื่อวาน ขนาดขับขึ้นเขา
ยังเร่งความเร็วแบบนึกว่านั่งรถไฟเหาะ แป๊บเดียวพวกเราก็เหาะขึ้นมาถึงยอด Mandalay Hill

         ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระเจ้าอลองพญาส่งกองทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยาแต่เกิดเหตุปืนใหญ่ระเบิดสิ้น
พระชนม์จนต้องทัพทัพกลับไป จนกระทั่งพระเจ้ามังระแห่งกรุงอังวะได้ยกทัพใหญ่มาตีครั้งใหม่กรุงศรีอยุธยาทำให้เรา
ต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 หลังเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ.2310 หลังจากนั้นเพียง 57 ปี ในปีพ.ศ. 2367 กองทัพอังกฤษยกทัพเรือ
ล่องขึ้นมาตามอิระวดี เข้ายึดพม่าจากทางตอนใต้บุกขึ้นสู่ภาคเหนือของประเทศพม่า จากเมืองหลวงกรุงอังวะพม่าย้าย
เมืองมาเป็นตั้งเมืองหลวงที่เมืองอมรปุระ สงครามระหว่างอังกฤษกับพม่าก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ พม่ารบแพ้อังกฤษครั้งแล้วครั้ง
เล่า สงครามที่พม่าเหมือนจะไม่มีทางชนะ พระเจ้ามินดงย้ายเมืองหลวงอีกครั้งจากเมืองอมรปุระย้ายมาสู่เมืองมัณฑะเลย์
เพื่อเป็นการถือฤกษ์เอาชัยแก้เคล็ดว่าจะสามารถชนะกองทัพอังกฤษได้
         คำว่า “มัณฑะเลย์” เพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “มันดูลา” หรือ “มันดาลา” ซึ่งหมายถึงวงล้อแห่งพลังอำนาจ หรือ
มณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ และยังเชื่อว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าทรงเคยเสด็จมาโปรดสัตว์ที่ภูเขาแห่งนี้ พร้อมทั้งมีพุทธทำนาย
ว่าจะเป็นเมืองทีเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา อันเป็นสาเหตุให้พระเจ้ามินดงทรงย้ายราชธานีมาอยู่ใต้ร่มเงาภูเขาศักดิ์
สิทธิ์แห่งนี้

         มัณฑะเลย์ฮิลล์ตั้งอยู่กลางเมืองมัณฑะเลย์ สูง 236 เมตร ปากทางขึ้นมารูปปั้นสิงห์ขนาดใหญ่สองตัว ระหว่าง
ทางมีปูชนียสถานให้สักระบูชาเป็นระยะๆ หากว่าท่านไม่อยากเดินขึ้นก็สามารถนั่งรถสองแถวขึ้นบนยอดมัณฑะเลย์ได้
เลย (ท่ารถอยู่เชิงเขาทางขึ้น) โดยไม่ต้องเดินขึ้นบันได 7,292 ขั้น แต่ก็จะไม่ผ่านจุดชมวิวสองจุด นักท่องเที่ยวบางคน
จึงใช้วิธีขึ้นรถไปจนถึงจุดชมวิวบนยอดเขา แล้วเดินทางกลับลงบันไดก็ได้ แต่เราต้องทำเวลาเลยได้แค่จุดชมวิวยอดเขา
เท่านั้นครับ

         บนยอดเขามัณฑะเลย์ มีวิหาร “ซูตองพญา” รูปทรงคล้ายมณฑปครอบพระมหามัยมุนี ภายใต้วิหารประดิษฐาน
พระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสป และพระสมณโคดม รอบวิหารมีระเบียงสำหรับชมทัศนีย
ภาพเมืองมัณฑะเลย์ และสามารถมองเห็นแม่น้ำอิระวดี พระราชวังมัณฑะเลย์ วัดกุโสดอว์ แต่เนื่องจากวันนี้หมอกค่อนข้าง
หนาเลยมองไม่ค่อยเห็นอะไรครับ

         ลงจากมัณฑะเลฮิลไปต่อกันที่วัดกุโสดอร์(Kuthodaw  Pagoda) เป็นวัดที่พระเจ้ามินดง สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์
แห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 4 และพระองค์ทรงให้จารึกพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ลงบนหินอ่อน 729
แผ่น ถือเป็นพระไตรปิฎกเล่มใหญ่ที่สุดในโลก        

และถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลีและได้ นำมาประดิษฐานในมณฑป
อยู่รอบพระเจดีย์มหาโลกมารชิน สูง 30 เมตร ซึ่งจำลองรูปแบบมาจากพระมหาเจดีย์ชเวสิกองแห่งเมืองพุกาม

         ตอนนี้เราต้องเร่งทำเวลากันนิดครับ เพราะเรายังเหลือที่ไปเยือนอีก 4 ที่ให้จบก่อนเที่ยงเพราะต้องไปสนามบิน
เรามุ่งหน้าไปที่วัดชเวนันดอว์(Shwenandaw) วัดนี้เป็นพระตำหนักเก่าที่รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดช่วงสงครามเพียงหลัง
เดียวเท่านั้น สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง

         โดยพระเจ้ามินดงได้ทรงให้รื้อเอาไม้สักทองจากพระราชวังเก่ามาก่อสร้าง และเป็นวัดที่พระเจ้ามินดงทรงเสด็จ
มานั่งสมาธิ ปฎิบัติธรรม ดังนั้นวัดนี้จึงมีความสวยงามหลากหลายด้วยด้วยสถาปัตยกรรมช่างแห่งมัณฑะเลย์ มีการแกะ
สลักปิดทอง ที่นี่ต้องใช้ตั๋วเข้าชมด้วยนะครับคนละ 10 USD เข้าได้ 3 สถานที่ที่เราจะไปต่อจากนี้ ไปที่ไหนก่อนก็ซื้อ
ตั๋วที่นั่นครับ

         สถานที่ที่ 2 ที่ใช้บัตรใบเดิมเข้าชมได้คือ วัดอาตุมาชิ(Atumashi Monastery) ซึ่งอยู่ติดกับวัดชเวนันดอว์ พระเจ้า
มินดงสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎกของหลวง 4 ฉบับ โดยใส่หีบปิดทองล่องชาด และโปรดฯให้
พระราชาคณะรูปหนึ่ง ซึ่งมีความรอบรู้พระไตรปิฎกอย่างไม่มีใครเสมอเหมือนมาครองวัดนี้ คือ ‘ปะกันซายาดอว์”อีกทั้งยัง
สร้างวิหารนี้ด้วยโครงไม้ เอาอิฐพอกถือปูนปั้น จำหลักลวดลายปิดทองล่องชาดประดับกระจกอย่างประณีต รูปลักษณ์คล้าย
มีศิลปะยุโรปมาผสม ทำให้แตกต่างจากวิหารอื่นๆในมัณฑะเลย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานไม้ล้วนๆพระองค์ทรงอุทิศถวายเพชร
เม็ดใหญ่ ประดับพระอุณาโลมของพระประธานวัดนี้ แล้วเฉลิมนามวัดนี้ว่า “อตุมาชิ” แปลว่า งดงามอย่างไม่มีที่ติอย่างไรก็
ตาม เพชรประดับพระประธานได้หายไประหว่างการจราจลก่อนที่อังกฤษจะยึดมัณฑะเลย์  ในปี พ.ศ. 2433 วัดนี้ถูกไฟไหม้
อาคารวัดที่เห็นในปัจจุบัน คือ การสร้างจำลองขึ้นมาใหม่หลังปี พ.ศ. 2538

         และสถานที่ที่สามก็คือพระราชวังมัณฑะเลย์ หลังจากที่พระเจ้ามินดงมาก่อสร้างพระราชวังมัณฑะเลย์ แค่ 28 ปี
อังกฤษก็ตีเมืองมัณฑะเลย์แตกในปี พ.ศ. 2367 พระเจ้าธีบอซึ่งโอรสของพระเจ้ามินดง จึงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของ
พม่าและถูกส่งไปอินเดียและเชื่อกันว่าถูกประหารที่นั่นโดยไม่ได้กลับพม่าอีกเลย สมบัติทุกชิ้นถูกอังกฤษขนเอาไปไม่เว้น
แม้แต่ราชบัลลังก์นกยูง สัญลักษณ์แห่งราชวงศ์และพระที่นั่งสิงหนาทในท้องพระโรงใหญ่ที่เป็นทองคำประดับด้วยเพชร
พลอย ทับทิม อัญมณี อันมหาศาลก็ถูกขนไปไว้ที่ประเทศอังกฤษ

         พระราชวังที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยไม้สักที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในสมัยสงครามมหาบูรพา (สงคราม
โลกครั้งที่ 2) วันที่ 20 มีนาคม 2488 เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโดยกองทัพอังกฤษ ได้ทิ้งระเบิดจำนวนมากมายถล่ม
พระราชวังมัณฑะเลย์จนไฟลุกไหม้เป็นจุล ด้วยเหตุผลว่าพระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของกองทัพญี่ปุ่น พระราช
วังมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นพระราชวังไม้สักก็ถูกไฟไหม้เป็นจุล เผาราบเป็นหน้ากลอง หลงเหลือก็แต่ป้อมปราการและคูน้ำรอบ
พระราชวัง ที่เห็นอยู่ในปัจจุปันเป็นพระราชวังที่รัฐบาลพม่าได้จำลองรูปแบบของพระราชวังของเก่าขึ้นมาครับ

         ออกจากพระราชวังมัณฑะเลย์ก็เกือบ 11 โมงแล้วเราเลยแวะกินข้าวกันก่อน ก็กินกันแบบด่วนมากครับ หลังจาก
นั้นซีทูบอกกับเราว่ายังพอมีเวลาเลยพาเราไปที่สุดท้าย คือสักการะพระมหามัยมุนี พระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ของชาวยะ
ไข่แห่งเมืองธัญญวดี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐยะไข่ ทางด้านตะวันตกของพม่าติดกับบังคลาเทศ) โปรดฯให้สร้างพระมหามัยมุนี
ซึ่งแปลว่า “มหาปราชญ์” ขึ้นในปี พ.ศ.689 หรือเกือบสองพันปีมาแล้วเหตุเพราะพระพุทธเจ้าเสด็จมาเข้าพระสุบินประทาน
พรแก่พระเจ้าจันทสุริยะ ให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นเพื่อเชิดชูพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง แต่เนื่องจากว่ามีขนาดใหญ่จึงต้อง
หล่อแยกเป็นชิ้นแล้วจึงนำมาประสานกันได้สนิทจนไม่เห็นรอยต่อเป็นที่น่าอัศจรรย์ เชื่อกันว่าเป็นด้วยพรของพระศาสดา
ประทานไว้

         ความงดงามและความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหามุนีเลื่องลือไปไกล จึงเป็นที่หมายปองของกษัตริย์พม่านับตั้งแต่สมัย
พระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม บุเรงนองมหาราชแห่งหงสาวดี และอลองพญามหาราชแห่งรัตนปุระอังวะ ล้วนเพียร
พยายามยกทัพไปชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานเพื่อเป็นศิริมงคลแห่งดินแดนพม่าทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องล้มเหลว
ครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความทุรกันดารของเส้นทางที่เต็มไปด้วยแม่น้ำและภูเขาสูง จนกระทั่งประสบความสำเร็จในสมัย
พระเจ้าปดุง ก็สามารถนำเอาพระมหามุนีมาไว้ที่กรุงมัณฑะเลย์เมื่อปี พ.ศ.2327 ในปัจจุบันชาวพม่ายังเรียกพระมหามุนีอีก
ชื่อหนึ่งว่า “พระยะไข่”

         วัดมหามัยมุนีมีธรรมเนียมปฎิบัติเช่นเดียวกับปูชนียสถานทุกแห่งในพม่าคือไม่อนุญาตให้สตรีเข้าใกล้องค์พระได้
เท่าบุรุษ ซึ่งสามารถขึ้นไปปิดทองที่องค์พระได้เลย โดยทางวัดกำหนดให้เขตสตรีกราบสักการะองค์พระได้ระยะใกล้สุด
ราว 10 เมตร แต่สามารถซื้อแผ่นทองฝากผู้ชายขึ้นไปปิดทองแทนได้ อย่างไรก็ตาม มีกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้สตรีสามารถ
สัมผัสองค์พระได้ โดยผ่านแป้งตะนะคาที่ใช้ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี โดยทุกๆเช้า ทางวัดจึงจัดพื้นที่บริเวณลานด้าน
หน้าองค์พระ ให้พุทธศาสนิกชนทั้งชายและหญิงช่วยกันฝนท่อนไม้ตะนะคา เพื่อให้ได้แป้งหอมจากเปลือกไม้ แล้วเอามา
ใส่ผอบรวมกันไว้มากๆ สำหรับนำไปผสมน้ำประพรมพระพักตร์องค์พระในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น (รูปผมเริ่มเอาสถานที่อื่นใน
มัณฑะเลย์มาแทรกนะครับเพราะเนื้อเรื่องพระมาหามัยมุนียาวแต่รูปน้อยครับ)

         ด้วยเหตุแห่งความศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมการล้างพระพักตร์ให้องค์พระทุกๆ
รุ่งสาง เหมือนดั่งคนที่ต้องล้างหน้าแปรงฟันทุกเช้า โดยมีพระทำหน้าที่ล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนีทุกวันตั้งแต่ราวตีสี่
ครึ่ง โดยเริ่มจากประพรมพระพักตร์ด้วยน้ำผสมเครื่องหอมทำจากเปลือกไม้ “ตะนะคา” ซึ่งชาวบ้านนำมาบริจาคให้วัดทุกวัน
จากนั้นก็ใช้แปรงขนาดใหญ่ขัดสีบริเวณพระโอษฐ์ดั่งการแปรงฟันแล้วใช้ผ้าเปียกลูบไล้เครื่องหอมดั่งการฟอกสบู่จนทั่วทั้ง
พระพักตร์ จึงมาถึงขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือการใช้ผ้าขนหนูเช็ดพระพักตร์ให้แห้งและขัดสีให้เนื้อทองสัมฤทธิ์ที่พระพักตร์
นั้นสุกปลั่งเป็นเงางามอยู่เสมอ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดพระมหามัยมุนีจึงเป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบเป็น
ประกายวาววามอย่างที่สุด


         ครบถ้วนตามโปรแกรมที่อยากไป ก็ได้เวลาไปสนามบินกันสักทีครับ เพราะเราต้องกลับไฟล์ทบ่ายสองต้องไป
ถึงสนามบินก่อนบ่ายโมง ขอจบทริปพม่าเพียงเท่านี้ครับ ขาดตกบกพร่องประการใดขออภัยครับ...สวัสดี




Create Date : 17 มกราคม 2557
Last Update : 17 มกราคม 2557 7:34:17 น.
Counter : 1193 Pageviews.

2 comments
  
มีโอกาสจะตามรอยไปคับลุงคิต ^^
โดย: phadungsak IP: 134.204.208.36 วันที่: 23 มกราคม 2557 เวลา:14:33:05 น.
  
สวัสดีโบโบ้
โดย: Zurg(ลุงฅิต) IP: 203.144.220.246 วันที่: 27 มกราคม 2557 เวลา:17:14:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นักบัญชีขี้บ่น
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]