"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

เรือนไทย : อุทยาน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

เรือนไทย : อุทยาน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ถนนแม่กลอง-บางนกแขวก ,
อัมพวา , สมุทรสงคราม


อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธาน เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง ศิลปิน กวี และช่าง ซึ่งได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามประณีตไว้เป็นมงคลแก่ชาติ และปรากฏพระเกียรติคุณแพร่หลายไปในนานาประเทศ จนได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก

เมื่อ พ.ศ.2511 ได้มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฉลองพระบรมราชสมภพครบรอบ 200 ปี พร้อมจัดสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ฯ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรมไทย ในรัชสมัยของพระองค์ และเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง












สถานที่ตั้งของอุทยาน ร.2 อยู่ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ที่เชื่อกันว่า เคยเป็นที่ตั้งนิวาสถานดั้งเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยเนื้อที่ 11 ไร่ของอุทยาน ร.2 แห่งนี้ พระราชสมุทรเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินของบริเวณพระอารามให้ (เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี ภายหลังพระราชทานให้เป็นสมบัติของวัด) โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ด้านหนึ่งติดกับถนนแม่กลอง-บางนกแขวก ส่วนอีกด้านหนึ่งติดริมแม่น้ำแม่กลอง
















พื้นที่ของอุทยาน ที่สำคัญ ประกอบด้วย

ส่วนโรงละครกลางแจ้ง จัดเสริมทำเป็นเนินลดหลั่นไว้สำหรับชมการแสดง ซึ่งทุกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกๆปี อันเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จะจัดให้มีการแสดงงานนาฏศิลป์และดนตรียังบริเวณนี้ โดยมีลักษณะเป็นที่สนามหญ้าขนาดใหญ่ ที่มีเนินโดยรอบ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นลานแสดงโขนแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นลานอเนกประสงค์ ที่สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆได้อีกด้วย











ส่วนอาคารทรงไทย เป็นหมู่เรือนขนาดใหญ่ เป็นเรือนไทยภาคกลางแบบบ้านของคนสามัญชนอยู่ทั่วๆไป โดยวิธีการก่อสร้างเป็นไปตามแบบโบราณทั้งหมด จัดสร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะทางวัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 หลัง โดยจัดเป็นส่วนพิพิธภัณฑ์ 3 หลัง และหอสมุดพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 1 หลัง เมื่อเข้ามาทางถนน จะมองเห็นสนามหญ้าที่เป็นลานแสดงโขน เป็นลานโล่งขนาดใหญ่ ทำให้เห็นหมู่เรือนไทยได้เด่นชัด สง่างาม ต่างจากที่อื่นๆ ที่นำเสนอมานั้น ไม่ค่อยมีมุมมองโดยรวม ให้เห็นหมู่เรือนทั้งหมด เช่นที่บ้านจิมส์ ทอมป์สัน หรือที่วังสวนผักกาด ดังนั้นเรือนไทยนอกจากความสวยงามของตัวเรือนแล้ว ถ้าได้ที่ตั้งขนาดใหญ่พอเหมาะ จะเสริมความรู้สึกสง่างามขึ้นไปอีกด้วย














ภายในเรือนต่างๆ จัดแบ่งเป็น หอกลาง หอนอนชาย หอนอนหญิง ชานเรือน ห้องครัวและห้องน้ำ ในแต่ละห้องก็จัดจำลองให้ดูเหมือนกับเป็นห้องที่มีคนอยู่จริงๆ เช่น หอนอนชาย ก็จัดตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องรักษาผืนแผ่นดิน มีอาวุธปืนผาหน้าไม้ ส่วนหอนอนหญิงก็มีโต๊ะเครื่องแป้ง ของใช้กระจุกกระจิก











อาคารทรงไทยหลังที่ 4 นั้น เดิมทีจัดเป็นหอสมุดพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งอยู่กลางน้ำตามลักษณะหอไตร ซึ่งเป็นหอสมุดแบบฉบับของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหนังสือพระราชนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และกวีในรัชสมัย เป็นที่น่าเสียดายว่าเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2535 ได้เกิดเพลิงไหม้อาคารหอสมุดเสียหายหมด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธาน คณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิ ได้มีพระราชบัญชาให้ก่อสร้างอาคารหลังที่ 4 ขึ้นใหม่ในที่เดิม แต่ดัดแปลงให้เป็นส่วนห้องสมุดเพียงส่วนเดียว สำหรับเก็บหนังสือพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเท่านั้น และอีกส่วนหนึ่งให้ใช้เป็นที่เก็บเครื่องดนตรีโขน เรือนที่ 4 แล้วเสร็จในปี 2537

ส่วนจัดเป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดี นานาชนิด ที่มีปลุกอยู่ 100 กว่าชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ การเลือกพันธุ์ที่จะมาลงนั้น เป็นการถอดความจากบทประพันธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และบางชนิดก็เป็นพันธุ์ไม้หายาก จัดแบ่งกลุ่มตามชนิดของพันธุ์ และลักษณะนิสัยความชอบทำแลของพันธ์ไม้ชนิดนั้น เดิมทีชนิดพันธุ์ไม้เกือบจัดหาได้ครบตามบทพระราชนิพนธ์ แต่ด้วยอุปสรรคหลายอย่าง ทำให้ต้นไม้ที่นำมาลงปลูกในช่วงแรกต้องล้มตายไปบ้าง นอกจากชนิดพันธุ์ไม้ในวรรณคดีแล้ว การจัดสวนของที่นี่ยังคงสภาพไม้พื้นถิ่นที่มีอยู่ดั้งเดิมไว้ด้วย คือมะพร้าว สาเก ฯลฯ

ส่วนพื้นที่ติดริมแม่น้ำแม่กลอง มี ศาลาอเนกประสงค์ ที่จะให้เป็นแหล่งชุมชนค้าขายทำนองตลาดน้ำ มีร้านอาหารและแหล่งชุมนุมจำหน่ายพืชผลเกษตรพื้นเมือง และงานศิลปหัตกรรมพื้นบ้าน บริเวณอุทยานทั้งหมด ร่มรื่นด้วยพรรณไม้นานาชนิด และสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ให้ระลึกถึงเรื่องราวต่างๆ ในวรรณคดีไทยที่คนรุ่นใหม่ น่าจะได้ไปสัมผัสสักครั้ง

TraveLAround


หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : d_sign_place@yahoo.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ปล. ตอนนี้ผมเขียนบล็อกมาได้กว่า 560 เรื่องแล้ว ล้วนเป็นสาระน่ารู้ต่างๆ ท่านที่เข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group :
นานา สาระ๑๐๐๐

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับบ้านและการตกแต่ง รวมรวมแยกไว้ในหมวด Home Lover’s Corner สามารถคลิ๊กที่ ลิงค์ด้านบนได้เลยครับ

เรียบเรียงจาก
Land.arch.chula.ac.th
//www.land.arch.chula.ac.th/fieldtrip47/group7/12index.htm&h=525&w=700&sz=100&hl=th




 

Create Date : 20 สิงหาคม 2551    
Last Update : 20 สิงหาคม 2551 3:03:26 น.
Counter : 5177 Pageviews.  

Traditional Thai house

Traditional Thai house

Thai houses in Thailand are difference in styles depend on native people that lives in each parts of the country, and it climate. Traditional Thai houses are well adapted to the lifestyle needs and climatic conditions. Simplicity and open space are the core features of the Thai style house. Whole families would sleep together in a single room. In some instances, the open space was partitioned off into separate living areas to accommodate various generations. In a typical old Thai house, the various rooms would be separate units connected by open walkways and the staircase was on the outside.

Mainly , we divided them into 4 part :- central , Northern , North-eastern and Southern which all difference styles and details.


Central style



Central style
The main and most outstandind style is Thai central plain style, that have survived to our time. The majority of them were built between some 100 to 150 years ago. They are known for high gabled roof, wood panel, generously wide eaves, ample space underneath the house on stilts. Thai houses in the central plain come in different categories, i.e. Thai house for lone family unit, Thai house that does business on the dry land, residence for royal personages, and living quarters for Buddhist monks. Characteristics of Thai Houses in the Central Plain :
1. High floor level allowing an averaged man to walk with clearance above his head. High floor level are builded for the following reasons:
1.1 As a measure against any inconvenience from flooding.
1.2 Space under the house for storage of farming equipment such as wagon, planks, boats, ploughing set, large frying pan, etc.
1.3 Floor space under the house is used for producing handicraft, and a common sitting or squatting area.
1.4 Safety from wild beasts and possible intruders during night time.
2. High gabled roof and ample slanting eaves, and the roof cover made from a tap or earthenware tiles.
3. Large platform area which may represent as much as forty percents of the total floor area allowing exposure to sunlight and good clean air.



There is a functional aspect behind this design and structural element. Hot air rises so the height of the roof keeps the house cool. Thai house in the central plain has its roof line oriented along east west direction. This is to cut down the amount of sun light into the main body of the house and at the same time obtain the maximum benefit of the cool winds. Walls were generally left unpainted, though sometimes oiled. The curved roof-ends which give the tip of the eaves a highly distinctive look and add to the graceful appearance of the Thai houses are symbolic of the 'nagas' or serpents that adorn the Khmer temples. They have been stylized and often bear little resemblance to the original art form.



CONSTRUCTED WITHOUT NAILS
Traditional Thai house in the central plain are only style that built with pre-febricated system , allowing people to built or move easily,and groups together with many form of functions. One practical feature of the Thai house is the ease with which it can be assembled or taken down. The entire house is built in light, pre-fabricated sections with each section forming a wall. Each wall is then fitted together and hung on the superstructure - a frame of wooden pillars - without nails. In former times, the fact that the house could be taken down and re-assembled with relative ease was well-suited to the indigenous way of life. When families decided to move, as they frequently did, the house would be taken down, stacked on a raft and floated down the nearest klong to a new


Northern style (Lanna)



Northern style (Lanna)
The Lanna or the northern people favor the valleys that are the river basins for settlement. The northern region which begins from Sukhothai all the way to Chiangmai and Chiangrai is dominated by mountains and rain forest. The year round climate is the coolest of all regions. The typical house in the north is rather well walled in with less space for windows, and small ample space for platform. A shelf for a row of earthenware water jars is to be found on one side of the house, or infront for traveler. The walls tend to be slanted toward the eaves the main body of the house is usually surrounded by large open space.





Lanna house as a rule faces east with the roof ridge oriented along north south direction. The house is thus exposed to ample sunlight and at the same time protected from northern winds in the cool season. The house of the north falls into three main categories i.e. tied house (reuan kruang pook), hard wood house (reuan kruang sab or reuan katae) and the house in a mixed style between the traditional and the western ideas.





Tied house represents the true tradition of the house of the northern people. Supporting posts and beams are in hard wood while the walls are made from juxtaposed bamboo slats. The roof cover itself is made from large leaves or reeds. Reuan kruang sab or reuan kalae to which similar to reuan krunag sab is built from hard wood introduced during the reign of King Rama V, the house in the mixed style between local and western (Victorian & ginger bread style) is richly decorated with carved and cut wooden fleeces also known as the "sala nai" style.


North-eastern style



North-eastern style

Thai House of the northeast are built with due considerations for dryness, hot temperatures in the hot season and cool temperatures in the cool season. The geo-economic conditions and believes also play their parts in the evolve of the house styles of the northeast.



Early northeastern villages are relatively small and widely scattered over the entire region. The passage of time sees rice farmer families numbering from 100 to 400 gradually gather to from bigger villages. The typical village is crisscrossed by walkways along the length and width of the village dividing it into groups or "koom". Each koom is given a name for the purpose of record and registration. There are to be found in a village, a school a rice mill and a village court of law and a reservoir.



The layout of the houses in each koom gives no hint of symmetry or systematic planning. The orientation of the roof of each house is invariably along the east west direction. The space between one house and the next is not fixed, but on the average about four meters. Most if not all houses are without fences. Each house is accompanied by a granary built close to the house either to the north or south of the house.



The average house is designed for a single family. The house plan is simple consisting of a bed room, corridor, a kitchen, and a shelf for shoring water. Some houses may have "ruan kong" added to the main house. Ruan Kong is a hall room built opposite to the bedroom. Most houses have no partitions and assigned areas are not clearly marked off one another. Houses of the northeast rice farmers maybe classified into four main styles :
1.Gable roofed house in the traditional style.
2.House with ruan Kong. (walls on three side)
3.House without ruan Kong
4.Temporary house


Southern style



Southern style

Thai houses in the south are quite similar to those found in other regions of the country. There are ruan kruang pook (tied house), ruan kruang sab (wooden house) both of which have undergone development which gives the southern people the cement brick house. Their peculiarities are supporting posts resting on stone slabs to prevent termites attack, and dampness from the ground seeping through. The space under the house is rather generous while the roof is set rather low. This design makes the house better withstand strong winds and rains. The slant of the extended roof allows rain water to run off the roof quickly and help the roof to get dry quickly also. The alignment of the supporting posts and the walls are slanted inwards. The style known as "Elephant in a urinating posture" is thought to make the house absorb the impacts of strong winds more effectively, permits easy ventilation and at the same time protect the ground under the house from collecting an excessive amount of rain water. The walls are made of wooden boards arranged in such a way that the upper board overlaps the lower one to prevent rainwater running through the wall on the inside of the house.



Thai house of the southern region has its longer side oriented in the east to west direction known in the dialect as "pluk baan loi wan" meaning setting the along the south to north direction. Doing so would expose the house to full sun light almost half a day and also to strong winds which are liable to blow from east to west directions. The alignment of the granary is the opposite of that of the house. By setting the longer side of the granary along the north south direction, the paddy in the granary will get all sun light it needs to get dry. The granary of cause is more sturdily built than a regular house.






Thai house in the south is built as a single unit for one family's living. When the family grows large, another house is built along the main house together with a platform linking the two houses into a single unit. The platform area of Thai house in the south is small and narrow compared with the same of Thai houses in other regions. This is probably due to frequent rains in the south and narrow or small platform helps one to move from one house to other in as short a time as possible and hence get least wet. In some areas of the south, brick work or even an earth mound is built to the level of the platform and use for growing flowers or small plants such as promagrenade, orange lime, vegetable or perfume wood plants. The roofs of Thai house in the south come in four major styles i.e. gabled, "panyah"(hip roof) "kabranoh" and manila.

"TraveLArounD"


Edited from : National Culture Commission and
//www.jimthompsonhouse.com/museum/fascinat.asp




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 2 กรกฎาคม 2551 12:10:29 น.
Counter : 6634 Pageviews.  

เรือนไทย วังสวนผักกาด

เรือนไทย วังสวนผักกาด

หมู่เรือนไทยที่สวยๆในกรุงเทพฯ อีกที่หนึ่งที่น่าไปชม คือเรือนไทยวังสวนผักกาด ที่ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ที่นี่นับเป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่เจ้าของบ้าน คือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรมฯ และ หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ "คุณท่าน" ได้เปิดบ้านซึ่งหลายคนรู้จักในนาม "วังสวนผักกาด" ให้บุคคลภายนอกเข้าชม ในขณะที่ท่านเจ้าของยังคงใช้เป็นที่พำนัก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมา ภายหลังจากที่เสด็จในกรมฯ ได้สิ้นพระชนม์ลงใน พ.ศ. ๒๕๐๒ "คุณท่าน" ได้ดำเนินการต่อมา จนถึงในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ "คุณท่าน" จึงได้อุทิศให้แก่ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์


เรือนหลังที่ 1 ทางขวามีสะพานเชื่อม ข้ามถนนไปยังเรือนหลังที่ 2





หมู่เรือนไทยในพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดนี้ เป็นหมู่เรือนไทย ที่จัดวางผังแบบใหม่ ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยา บนพื้นที่ ๖ ไร่ โดยมีพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรมฯ และชายา คือ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ "คุณท่าน" ได้ทรงรื้อเรือนไทยเก่า มาปลูกไว้ที่นี่







ตำหนักไทยสมัยโบราณหลายหลัง ตั้งแต่หลังที่ ๑ ถึง ๔ บางหลังก็เป็นของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ซึ่งเป็นต้นสกุลทางพระมารดาของ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือ ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ พระราชบิดาของเสด็จในกรมฯ ได้รื้อถอนจากที่เดิม มาปลูกรวมกัน





หมู่เรือนไทยนี้ ประกอบด้วยเรือนไทยโบราณ ๘ หลัง ใช้การก่อสร้างผสมกับการก่อสร้างสมัยใหม่ คือชั้นล่างเป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก รองรับโครงสร้างไม้ชั้นบน การวางผังก็ไม่ได้จัดล้อมเป็นเรือนหมู่แบบเรือนไทยทั่วไป แต่วางผังแบบสมัยใหม่มีส่วนต่อเชื่อมเป็นสะพาน เชื่อมเรือนไทยทั้ง ๔ หลัง โดยเรือนหลังแรกมีสะพานเชื่อมไปสู่เรือนหลังที่ ๒, ๓ และ ๔ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ ส่วนเรือนหลังที่ ๕ ถึง ๘ ปลูกอยู่ห่างกันทางทิศตะวันตก และมีหอเขียนอยู่ทางทิศใต้ แยกออกไปต่างหาก











เรือนไทยโบราณทั้ง ๘ หลัง ใช้จัดแสดงเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ ที่แสดงศิลปะและโบราณวัตถุต่างๆ มากมาย เนื่องด้วยนิสัยและความรักในการสะสม ของเสด็จในกรมฯ จึงทรงรวบรวมศิลปะและโบราณวัตถุอันล้ำค่าที่สืบทอดมาจาก จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ) ต้นราชสกุลบริพัตร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี นอกจากนี้ เสด็จในกรมฯ และ"คุณท่าน" ต่างร่วมกันสะสมศิลปะและโบราณวัตถุชิ้นสำคัญอื่นๆ ของทั้งชาติไทย และของโลกไว้อีกเป็นจำนวนมาก มาเก็บรวบรวมไว้ ณ วังสวนผักกาด แห่งนี้






รายละเอียดของราวบันใด แบบประยุกต์




การนำของเก่ามาตกแต่งส่วนต่างๆ

ดังนั้นการมาเยี่ยมชมเรือนไทยที่นี่ ก็จะได้ชมโบราณวัตถุต่างๆที่จัดแสดงไว้อย่างสวยงาม และยังเป็นสถานที่ ที่อยู่ใจกลางเมือง ที่นับวันจะถูกห้อมล้อมด้วยอาคารคอนกรีตสูงๆมากขึ้น ขัดกับบรรยากาศภายในบริเวณ ที่ยังรักษาสภาพดั้งเดิมของ “วังสวนผักกาด” ในอดีตไว้ได้อย่างมั่นคง

โดย TravelArounD


ปล. ตอนนี้ผมเขียนบล็อกมาได้กว่า 330 เรื่องแล้ว ล้วนเป็นสาระน่ารู้ต่างๆ ท่านที่เข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ดูหัวเรื่องได้ง่ายที่
Blog of All You Needs to Know
ลองเปิดดูก่อนจะออกนะครับ เลือกดูเนื้อเรื่องได้ครบ มีลิงค์ดูเรื่องคลิกง่าย และไม่เสียเวลา

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ทั้งยังไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องอีกด้วย จึงขอแจ้งให้ทราบว่า เรื่องที่นำไปลงแล้วกรุณาแก้ไข การอ้างอิงที่ถูกต้องด้วย คือ * อ้างอิงที่มาคือ Blog “นานา สาระ๑๐๐๐” ไม่ใช่จาก website ที่ผู้เขียนอ้างอิงแหล่งที่มา เพราะการค้นคว้าได้ค้นคว้าจากหลายๆแหล่งด้วยกัน * และนามปากกาผู้เขียนคือ “TraveLAround” ส่วนเรื่องที่ยังไม่ได้นำไปโพส ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : d_sign_place@yahoo.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์


เรียบเรียงจาก
//www.suanpakkad.com/eight-t.html
โดย - ยายเฉย
//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c4/Bkkwangsuanpakkardlp03.jpg/275px-Bkkwangsuanpakkardlp03.jpg&imgrefurl=//wayfaring.multiply.com/journal/item/33&h





 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2551 10:40:36 น.
Counter : 3425 Pageviews.  

เรือนไทยจิม ทอมป์สัน

เรือนไทยจิม ทอมป์สัน



นายจิม ทอมป์สัน (James H.W. Thompson) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1906 ในสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ก่อตั้งร้านผ้าไหมไทย “จิม ทอมป์สัน” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก ถึงแม้ว่าเขาจะสนใจด้านศิลปะ แต่ก็เลือกที่จะเป็นสถาปนิก และศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานด้านสถาปัตยกรรมในมหานครนิวยอร์ก ในระหว่างนั้น (ปี ค.ศ. 1940) ได้เกิดสงครามขึ้นในยุโรป จิมจึงอาสา สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพบกของสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญในชีวิตของเขา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จิมได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่ในสำนักงานด้านยุทธศาสตร์ ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นหน่วยสอบสวนกลาง (หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม CIA) ทำให้เขามีโอกาสเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลก โดยเขาได้รับมอบหมายให้ทำงานกับกองทัพฝรั่งเศสในแอฟริกาตอนเหนือ โดยมีกำหนดจะส่งเขาไปยังอิตาลี ฝรั่งเศส และเอเชียด้วย ทั้งนี้จิมได้ฝึกฝนเรียนรู้เกี่ยวกับการเอาตัวรอดในป่ามาเป็นอย่างดี (การที่เขาหายตัวไปกลางป่า บนคาเมรอนไฮแลนด์ นั้นจึงเป็นปริศนาที่คนแก้ปมไม่ออก) และเขาเดินทางมาประเทศไทยครั้งแรกในฐานะทหารอาสาสมัครของกองทัพสหรัฐฯ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง จนเมื่อสงครามยุติในปี ค.ศ. 1946 จิมก็ปลดประจำการจากกองทัพ แต่เขายังคงชอบใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทย โดยวางโครงการที่จะทำอาชีพใหม่ ขณะเดียวกันก็ได้ทำงานปรับปรุงโรงแรมโอเรียลเต็ลที่มีชื่อเสียงที่สุดของกรุงเทพฯ














































จิม ทอมป์สัน นับว่าเป็นบุคคลสามัญคนแรกที่พัฒนากิจการทอผ้าพื้นเมืองของไทย โดยเฉพาะผ้าไหม ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในต่างประเทศ และทำให้คนไทยได้ตื่นตัวในการฟื้นฟูภูมิปัญญาดั้งเดิมที่น่าภาคภูมิใจนี้ โดยการสืบหาแหล่งผลิตและช่างทอ การพัฒนาไหม การย้อม การทอ ไปจนถึงการเผยแพร่สินค้าที่ได้รับการพัฒนาแล้ว สู่วงการแฟชั่นในตลาดโลก จนประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้มีการฟื้นฟูกระบวนการทอผ้าไหม ทั้งระบบขึ้นมาใหม่ จนเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่คนไทยจำนวนไม่น้อย













































หลังจากตัดสินใจอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นการถาวร เขาได้ซื้อบ้านทรงไทยภาคกลาง 6 หลังจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและที่ต่างๆที่สามารถระบุประวัติได้ รวมทั้งจากชุมชนบ้านครัว ฝั่งตรงข้าม มาปลูกใหม่ในกรุงเทพฯ ที่ริมคลองแสนแสบ แต่การประกอบเรือนทั้งหมดเข้าเป็นหมู่เรือนนั้น ไม่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นเรือนหลังไหนมาจากที่ใด หมู่เรือนไทยแห่งนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยโครงสร้างสำคัญได้เปลี่ยนมาใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อความคงทน



























ตัวบ้านแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น ห้องอ่านหนังสือ ห้องนอนสำหรับแขก และห้องนอนของจิม สิ่งของที่ตกแต่งภายใน สะท้อนถึงความสนใจในวัฒนธรรมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ทางเอเชียของเขาเป็นอย่างมาก ส่วนชั้นล่างจัดเป็นห้องเบญจรงค์แสดงเครื่องเบญจรงค์ เครื่องกระเบื้องจีน และบ้านจัดแสดงภาพเขียน โดยช่างไทยในปี 2403 แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น





























ที่จริงเรือนไทยแบบภาคกลางแบบนี้ มีลักษณะมาตรฐานที่ใกล้เคียงเหมือนกันหมดทุกหลัง แต่เสน่ห์ ความงาม ความน่าอยู่ของเรือนไทยนั้น อยู่ที่การวางหมู่เรือนไทยเข้าด้วยกัน ซึ่งไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว อยู่ที่ความจำเป็นในการใช้งาน คือมีตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไป เรือนหมู่3 หมู่4 จะมีมากหน่อย หมู่เรือนไทยแต่ละหลังจึงมีความแตกต่างกันไป เช่นลักษณะการจัดวางแบบต่างๆ การวางตำแหน่งชานเรือนหรือชานกลาง และการตกแต่งภายใน สิ่งที่โดดเด่นและเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของที่นี่ คือการจัดบริเวณแบบสวนป่า มีไม้ไทยนานาชนิดที่ปลูกเต็มพื้นที่สลับกันไป ทั้งไม้ใหญ่ยืนต้น และไม้ประดับต่างๆเป็นพุ่มเป็นกอ นับเป็นการจัดสวนแบบไทย ที่หาดูได้ยาก เพราะปัจจุบันคนไทยไปนิยมจัดสวนแบบอื่นๆกันมากกว่า































ในฐานะที่เขาสร้างคุณูปการในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมไหมไทย จิม ทอมป์สันจึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์ช้างเผือก ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานแด่ชาวต่างชาติที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย เรื่องราวความสำเร็จของจิม ทอมป์สันในประเทศไทยจึงกลายเป็นตำนานที่เล่าขานกันมากที่สุดเรื่องหนึ่งของเอเชียสมัยหลังสงคราม แต่ในปีพ.ศ. ๒๕๑๐ จิม ทอมป์สัน เดินทางไปพักผ่อนกับเพื่อนๆที่คาเมอรอนไฮแลนด์ ในประเทศมาเลเซีย เขาออกเดินเท้าเข้าป่าที่ห้อมล้อมอยู่ใกล้โรงแรมที่พัก ขณะเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนวันหยุด และไม่มีใครทราบชะตากรรมของเขานับแต่นั้น มีเพียงพยานรู้เห็นว่า เขาเดินออกจากกระท่อมที่พักตามปกติ แล้วไม่กลับมาอีกเลย บ้างก็ว่าถูกโจรฆ่าตาย หรือเป็นแผนร้ายของคู่แข่งทางธุรกิจฯลฯ


























นับแต่เขาหายสาบสูญไป สภาพของบ้านก็แทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลยจนถึงทุกวันนี้ เพียงแต่ศิลปวัตถุและของสะสมล้ำค่าทั้งหลายของเขา ที่มีการรวบรวมศิลปวัตถุของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอาไว้ โดยเฉพาะพระพุทธรูปยุคสมัยต่างๆจำนวนมาก ได้รับการดูแลและจัดวางอย่างดี ให้คนทั่วไปได้เข้าชม เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวเล็กๆ ที่งดงามมีเสน่ห์ และยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักแห่งหนึ่ง ที่ชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ชอบแวะมาเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมูลนิธิจิม ทอมป์สัน และยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2539 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกด้วย

TraveLArounD



ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลายwebsite ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหาโดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email :nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้นจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส

ข้อมูลจาก
//th.wikipedia.org/wiki
//www.bangkoktourist.com/thai_places_jim_thompson_house.php
ภาพจาก
//goasia.about.com/od/thailandphotography/ig/Jim-Thompson-House--Bangkok/Jim-Thompson-House--Bangkok.-28w.htm
//photos.igougo.com/pictures-photos-b40479-s2-p328106-Jim_Thompson_House.html
//www.damer.com/pictures/digicamera/pix2003/03-PersonalTrips/03-12-Thailand/thaihouses.html
//www.tour-bangkok-legacies.com/jim-thompson-house.html
//www.juergen-zink.de/Thailand/index.htm




 

Create Date : 31 มีนาคม 2551    
Last Update : 2 พฤษภาคม 2556 22:46:36 น.
Counter : 3105 Pageviews.  

ว่าด้วยเรื่องสไตล์บ้าน : ขนมปังขิง โคโลเนียล ชิโนโปรตุกีส

ว่าด้วยเรื่องสไตล์บ้าน : ขนมปังขิง โคโลเนียล ชิโนโปรตุกีส

เขียนเรื่องบ้านขนมปังขิงไป ก็มีคำถามยิงเข้ามาเลยครับ คือเธอสงสัยว่าเจ้าบ้าน 3 สไตล์ ขนมปังขิง โคโลเนียล และชิโนโปรตุกีส นี่ มันต่างกันอย่างไร จะตอบใน คอมเม้นท์ ก็จะสั้นไป มาลงเป็นคอลัมน์เลยดีกว่า หารูปประกอบมาให้ดูด้วย จะได้แจ่มแจ้งแดงแจ๋กันไปเลย

ขนมปังขิง ต้นแบบของบ้านแบบนี้




บ้านสไตล์ทั้ง 3 นั้น ในภาพรวม คือสไตล์ที่เรา (และคนอื่นด้วย) รับเราอิทธิพลรูปแบบของเขามาใช้ ด้วยรูปแบบที่สวยงาม หรือน่าสนใจ อะไรก็แล้วแต่ ถ้าเหมารวมว่าเป็นอิทธิพลจากตะวันตก ก็จะสับสนได้ แต่ถ้าเราตีวงแคบเข้ามา และมีรูปประกอบด้วยแล้ว จะไม่สับสนเด็ดขาดครับ

บ้านขนมปังขิง เน้นการประดับตกแต่งส่วนต่างๆด้วยลายฉลุ


บ้านขนมปังขิง ที่ลงเรื่องไปแล้ว ลองย้อนกลับไปดู คงเห็นภาพเอกลักษณ์เด่นได้ชัดเจนคือ ลายฉลุต่างๆแบบพรรณพฤกษา หรือธรรมชาติ ตามส่วนต่างๆของตัวบ้าน หน้าจั่ว ชายคา ช่องลม ค้ำยัน เขาจะใส่ไปทุกที่เลย ดังนั้น บ้านแบบขนมปังขิงนี่ เอกลักษณ์คือลายฉลุ ประดับประดานั่นเอง ส่วนรูปทรงไม่ต้องไปดู เพราะเป็นเรื่องยุ่งยากกว่า


ตึกพวกนี้เป็น โปรตุกีสโคโลเนียลแท้ๆ ในประเทศต่างๆ ยังไม่ได้ไปผสมกับแบบท้องถิ่น รูปแบบที่เห็นก็คุ้นๆตา คล้าบกับตึกเก่าๆในเมืองไทยเราเหมือนกัน













สไตล์ชิโนโปรตุกีสนี่ จากรากศัพท์ก็พออธิบายได้ว่าเป็นแบบจีนผสมโปรตุเกส ผสมกันโดยโครงสร้างนั้น ทั้งโปรตุเกสและจีนนิยมสร้างเป็นตึกแถว ที่เราคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ส่วนหน้าตา คาเลคเตอร์นั้น ก็จะเอาของโปรตุเกสมาผสม รูปแบบงานโปรตุเกสนี่ถ้าที่เมืองเขา ดูจะออกไปทางแขกหน่อย แต่ที่นำมาผสมกับจีนนี่ จะคล้ายๆฝรั่งมากกว่า เป็นการผสมผสานสไตล์ของตะวันตก เข้ากับตะวันออกแบบท้องถิ่น คือจีนที่จะเน้นเรื่องลวดลายต่างๆแต่ไม่ได้มีแต่ลายฉลุเพียงอย่างเดียว มีการประดับตกแต่งด้วยองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายอย่าง เป็นอิทธิพลที่แพร่กระจายและนิยมกัน คือเรื่องค้าขายนั้นคนจีนที่อพยพมาเมืองไทย ที่จะหาดูง่ายที่สุดก็ที่ภูเก็ต เพราะมีตึกที่อนุรักษ์และอยู่ในสภาพดีมากหน่อย แต่ของเราจะมีเอกลักษณ์ที่ จะมีทางเดินด้านหน้าตึกแถวด้วยต่อกันยาว คงเป็นเพราะภาคใต้เราฝนเยอะ เลยต้องมีทางเดินคลุมกันฝน ที่มาเก๊าก็เป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสมานาน รูปแบบเขาก็ผสมผสานแบบเดียวกัน แต่เมืองไทยเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของใคร ดังนั้นอิทธิพลทางรูปแบบก็จะมาจากความนิยมเสียมากกว่าอย่างอื่น จึงมีหลายรูปแบบปะปนกันไป อย่างที่ภูเก็ตนั้นก็ไม่ใช่จะมีแต่แบบชิโนโปรตุกีสอย่างเดียว แบบโคโลเนียล ก็มีด้วยเช่นกัน


นี่เป็นโปรตุกีสโคโลเนียลในมาเก๊า ก็ไม่ค่อยผสมเป็น ชิโนโปรตุกีสเหมือนของเรา





นี่เป็นชิโนโปรตุกีส ในภูเก็ต จะเห็นลักษณะความเป็นจีนมากกว่า





สไตล์โคโลเนียล (Colonial Style) รู้สึกว่าจะเป็นสไตล์ที่กว้าง และกระจายมากขึ้นไปอีก โคโลเนียลหรืออาณานิคมนั้น ก็จะสมัยโบราณร่วมๆยุคกับอีก 2 แบบมาแล้ว แต่ถ้าเรารู้ประวัติศาสตร์ การล่าอาณานิคมนั้น ชาติมหาอำนาจตอนนั้น ก็มีอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เป็นหลัก ยึดได้อาณานิคมไว้ในครอบครองจำนวนมาก ส่วนโปรตุเกส ฮอลันดา ก็พอได้กับเขาบ้างแต่ไม่มาก ที่ผมว่ากว้างและกระจายกว่ากันนั้น เพราะมันมีไปทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะเอเชียของเรา อย่างอเมริกาและอเมริกาใต้นั้น ก็เป็นอาณานิคมขนาดใหญ่มหึมาเลย


ตึกแบบ British colonial ในประเทศต่างๆ









ดังนั้น สไตล์โคโลเนียล สรุปได้ว่าเป็นสไตล์ที่เจ้าของประเทศหลักๆ ที่ไปยึดครองเขานั่นแหละ ไปแพร่อิทธิพลหรือรูปแบบไว้ เป็นรูปแบบที่ไม่ได้ผสมผสานกับรูปแบบท้องถิ่น ดังนั้นสไตล์นี้ ไม่ว่าที่ไหนในโลก ถ้าประเทศเคยเป็นอาณานิคมเขามาแล้ว ก็จะมีรูปแบบคล้ายๆกันหมดเลย เช่น บ้านสไตล์โคโลเนียล ของอังกฤษ ที่แพร่สู่อาฟริกา อินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ หลังการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 19 ก็จะเป็นแบบหนึ่ง บ้านสไตล์โคโลเนียล ของฝรั่งเศสก็เป็นมหาอำนาจอีกประเทศหนึ่งที่มีการแผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมสู่ประเทศต่างๆ ที่ตกเป็นอาณานิคมมากมาย ที่เห็นมากก็ในลาว เขมร ที่เคยเป็นเมืองขึ้น


French Colonial ในลาวและเขมร











ส่วน สเปนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เคยเป็นนักล่าอาณานิคม และได้ทิ้งสไตล์บ้านแบบสเปนไว้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบอเมริกาใต้ ทางเอเชียก็มีฟิลิปปินส์ เป็นต้น (แต่บ้านสเปนหรือโคโลเนียลแบบไทยนั้น สงสัยจะนำเข้ามาโดย land & house ซะมากกว่า เพราะเพิ่งจะเห็นมาเมื่อประมาณ 30 ปีมานี่เอง)

บ้านแบบ Spanish Colonial ในประเทศต่างๆเช่นอเมริกา









อาคารแบบ Spanish Colonial





สไตล์โคโลเนียลที่คล้ายๆกันทั่วไป



สไตล์โคโลเนียลที่ภูเก็ต คุณดูแล้ว ว่าเหมือนของใครมากกว่ากันเอ่ย









ดังนั้นจะเห็นว่า บ้านสไตล์โคโลเนียล ก็ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าได้รับอิทธิพลมาจากใครนั่นเอง บ้านสไตล์โคโลเนียล จึงมีรูปแบบที่หลากหลายมากกว่าเพื่อน ที่จริงในกรุงเทพฯเรา ก็มีในยุคที่ความเจริญ และการติดต่อกับต่างชาติเฟื่องฟูในสมัยรัชกาลที่ 5 แถวบ้านหม้อ คลองหลอด ถนนเจริญกรุง เราจะเห็นตึกแถวที่ดูเป็นแบบฝรั่ง นี่ก็เป็นรูปแบบของ สไตล์โคโลเนียลอีกแบบเช่นกัน ดูรูปประกอบไปก็คงจะเห็นความแตกต่างกัน และแยกแยะได้ดีขึ้นนะครับ ให้ดูประดับความรู้ ไม่ต้องไปซีเรียสกับมันมากครับ





 

Create Date : 17 มีนาคม 2551    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2551 18:06:27 น.
Counter : 9088 Pageviews.  

1  2  3  4  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.