"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๗ | เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๗ : เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์

เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์
พระญาติผู้ใหญ่ถือว่าสูงอายุไม่ถวายบังคม

เมื่อพระพุทธองค์ พร้อมพระสาวก ๒ หมื่นรูป เสด็จออกเดินทางเป็นเวลาสองเดือน ถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จเข้าประทับในอารามของเจ้าศากยะผู้หนึ่ง ชื่อว่า "นิโครธ" ซึ่งพวกเจ้าศากยะพระญาติ จัดถวายให้เป็นที่ประทับ อารามในที่นี้ไม่ใช่วัด แต่เป็นสวน เป็นอุทยานอยู่นอกเมือง พวกพระประยูรญาติรวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะด้วย ได้พากันมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อารามแห่งนี้ ด้วยความปิติยินดีเกษมสานต์ และได้ร่วมกำลังกัน สร้างนิโครธมหาวิหาร พร้อมด้วยเสนาสนะและพระคันธกุฎิ เพื่อรับรองพระชินศรีและพระสงฆ์สาวกพุทธบริษัท เป็นสถานที่งดงามและเงียบสงัด ควรแก่สมณะวิสัยเป็นอย่างดี

ครั้นสมเด็จพระชินศรี พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ บรรดาพระประยูรญาติที่มาสโมสรต้อนรับอยู่ทั่วหน้า มีพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาเป็นประธาน ต่างแสดงออกซึ่งความเบิกบานตามแก่วิสัย แล้วทูลเชิญให้เสด็จเข้าไปประทับยังพระนิโครธารามพระมหาวิหาร พระบรมศาสดาจารย์ก็เสด็จขึ้นประทับบนพระบวรพุทธอาสน์ บรรดาพระสงฆ์ ๒ หมื่นต่างก็ขึ้นนั่งบนเสนาสนะอันมโหฬาร ดูงามตระการ ปรากฏสมเกียรติศากยบุตรพุทธชิโนรสบรรดามี




แต่กระนั้น บรรดาพระประยูรญาติทั้งหลาย มีมานะทิฏฐิอันกล้า นึกละอายใจไม่อาจน้อมประณมหัตถ์ถวายนมัสการพระบรมศาสดาได้ ด้วยดำริว่า " พระสิตธัตถะกุมาร มีอายุยังอ่อน ไม่สมควรแก่ชุลีกรนมัสการ จึงจัดให้พระประยูรญาติราชกุมาร ที่พระชนมายุน้อยคราวน้อง คราวบุตร หลาน ออกไปนั่งอยู่ข้างหน้า เพื่อจะได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา ซึ่งเห็นว่าควรแก่วิสัย ส่วนพระประยูรญาติผู้ใหญ่พากันประทับ นั่งอยู่เบื้องหลังเหล่าพระราชกุมาร ไม่ประณมหัตถ์ ไม่นมัสการ หรือคารวะแต่ประการใด ด้วยมานะจิตคิดในใจว่าตนแก่กว่า ไม่ควรจะวันทาพระสิตธัตถะกุมาร "




 

Create Date : 09 มิถุนายน 2551    
Last Update : 9 มิถุนายน 2551 21:41:39 น.
Counter : 2031 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๕ | ทรงห้ามพยาธิ

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๕ : ทรงห้ามพยาธิ

ทรงรับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนสูตร
และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ บรรเทาภัยของชาวเมือง


เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองเวสาลีตามคำกราบทูลเชิญของกษัตริย์ลิจฉวีแล้ว องค์พระบรมศาสดาทรงรำลึกถึงพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญเพียรมาตั้งแต่อดีตชาติ ทันใดนั้น เมฆเริ่ิมตั้งเค้า ฟ้าแลบแปลบปลาบ แล้วฝนก็กระหน่ำลงมามืดฟ้ามัวดิน ไม่นานก็เกิดน้ำหลากพัดพาซากศพมนุษย์และสิ่งปฏิกูลทั้งหลายออกสู่ทะเลจนสิ้น





เมื่อฝนหยุดตก พื้นแผ่นดินจึงสะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล อากาศที่ีร้อนก็พลันเย็นลง ทรงรับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ให้กำลังใจประชาชนต่อสู้กับสถานการณ์เลวร้าย ด้วยการประพฤติธรรม พร้อมทั้งตรัสสอนให้รู้จักเสียสละความสุขเล็กน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จึงจะพบกับความสุขที่แท้จริง ในที่สุดเมืองเวสาลีก็กลับคืนสู่สภาพปรกติด้วยพุทธานุภาพ มหาชนทั้งหลายเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา ต่างเกิดศรัทธาประกาศตนเป็นพุทธมามกะ




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2551    
Last Update : 8 มิถุนายน 2551 14:27:53 น.
Counter : 880 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๔ | ทรงประทับเรือขนาน

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๔ : ทรงประทับเรือขนาน


ทรงประทับเรือขนาน

ครั้งหนึ่งได้เกิดภัยพิบัติ ๓ ประการขึ้น ในนครเวสาลี แคว้นวัชชี ได้แก่
( ๑ ) ทุพภิกขภัย คือ เกิดข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ประชาชนพากันอดอยากหิวโหยล้มตาย
( ๒ ) อมนุษยภัย คือ เหล่าภูติผีปีศาจทั้งหลายต่างเข้ามาหลอกหลอนเบียดเบียนชาวเมือง
( ๓ ) อหิวาตกภัย คือ เกิดอหิวาตกโรคระบาด ชาวเมืองก็ยิ่งเจ็บป่วยล้มตายมากขึ้น



ในเวลานั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาจำพรรษา ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลี ผู้มีความสนิทสนมกับพระเจ้าพิมพิสาร เข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลอาราธนาไปช่วยดับทุกข์ชาวเมือง เมื่อพระบรมศาสดาทรงใคร่ครวญดูแล้ว จึงได้รับคำอาราธนา

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อทราบช่าว ได้เข้ากราบทูลพระพุทธองค์ ให้ทรงรอก่อน เนื่องจากวิถีทางสัญจรยังไม่ดีนัก แล้วทรงโปรดให้ปรับปรุงทางสัญจรทางสถลมารค ยาวประมาณ ๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ ถึงแม่น้ำคงคา ทุกระยะวิถี ๑ โยชน์ ก็โปรดให้สร้างวิหารสำหรับประทับพัก พร้อมด้วยที่พำนัก ของพระสงฆ์ผู้ตามเสด็จ

ครั้นทางเสร็จเรียบร้อย พระเจ้าพิมพิสาร จึงทูลเชิญพระบรมศาสดา เสด็จเดินทาง พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๕๐๐ เดินทางไปวันละ ๑ โยชน์ รวม ๕ ราตรี จึงเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วเสด็จลงราชนาวา เรือพระที่นั่ง โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเสด็จส่งลงเรือ ลุยลงไปในน้ำประมาณเพียงพระศอ แล้วกราบทูลว่า “หม่อมฉันจะมารอรับเสด็จ ณ ที่นี้ ในยามที่พระชินสีห์เสด็จกลับยังกรุงราชคฤห์อีกครั้ง” เมื่อเรือพระที่นั่งเสด็จออกจากท่า มหาชนพากันทำสักการะบูชาอย่างยิ่งใหญ่ ไม่มีครั้งใดเสมอเหมือน


พระพุทธรูปปางประทับเรือขนานทำเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงห้อยพระบาท แท่น พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางคว่ำ บนพระชานุ ( เข่า ) พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว



ข้างฝ่ายเจ้าลิจฉวี ก็ให้ชาวเมืองไพศาลี จัดแจงวิถีทาง ต้อนรับพระบรมศาสดา ที่ทรงมาถึงท่าเรือนครเวสาลี แล้วเจ้าชายมหาลีจึงเชิญเสด็จพระพุทธองค์ขึ้นจากเรือ และถวายการต้อนรับอย่างมโหฬาร เช่นเดียวกันทั้งสองพระนคร





 

Create Date : 08 มิถุนายน 2551    
Last Update : 8 มิถุนายน 2551 14:25:20 น.
Counter : 1056 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๖ | พระเจ้าสุทโธทนะส่งกาฬุทายี กราบทูลอาราธนาให้เสด็จยังพระนครกบิลพัสดุ์

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๖ : พระเจ้าสุทโธทนะส่งกาฬุทายี
กราบทูลอาราธนาให้เสด็จยังพระนครกบิลพัสดุ์

ตลอดเวลา ๖ ปีกว่า คือ นับตั้งแต่เสด็จออกบวช ตรัสรู้ และประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธ จนมีพระสาวกและคนนับถือมากมาย พระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองประสูติของพระองค์เลย

ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา ณ พระนครกบิลพัสดุ์ เมื่อได้ทรงทราบพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ ก็ทรงปิติโสมนัส ที่พระโอรสของพระองค์ได้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ สมดังคำพยากรณ์ของท่านอาจารย์อสิตดาบสและพราหมณาจารย์ทั้ง ๘ คน ทรงตั้งพระทัยคอยอยู่ตลอดเวลาว่า เมื่อใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงจะเสด็จมานครกบิลพัสดุ์ ด้วยพระทัยปรารถนาที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่ในอีกฐานะหนึ่ง คือ พระราชโอรส ครั้นไม่ได้ข่าววี่แววมาเลยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จ ก็ทรงร้อนพระทัยปรารถนาจะให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพระนครกบิลพัสดุ์ จึงทรงส่งอำมาตย์พร้อมด้วยบริวารคณะหนึ่ง ให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังพระเวฬุวันวิหาร กราบทูลอาราธนาให้เสด็จยังพระนครกบิลพัสดุ์ ในต้นพรรษาที่ 2 นั้นเอง

ครั้นอำมาตย์และบริวารคณะนั้นเดินทางจากนครกบิลพัสดุ์ ถึงนครราชคฤห์ อันมีระยะทาง ๖๐ โยชน์แล้ว ก็ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาที่พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ จึงได้โอกาสฟังธรรมนั้นด้วย ครั้นฟังธรรมแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัตทั้งคณะ ทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ไม่ได้โอกาสที่จะกราบทูลความ ตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงบัญชามา

ครั้นล่วงมาหลายเวลา พระเจ้าสุทโธทนะเห็นอำมาตย์คณะนั้นหายไป ก็ทรงส่งอำมาตย์ใหม่ออกติดตาม และกราบทูลความประสงค์ของพระองค์ อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จ แม้อำมาตย์ราชทูตคณะต่อมา ก็ได้ฟังธรรมบรรลุมรรคผล และได้อุปสมบทในพระศาสนา เช่นอำมาตย์คณะก่อนนั้น พระเจ้าสุทโธทนะทรงส่งอำมาตย์ไปอาราธนาไม่เป็นผลสมพระทัยดังนี้ถึง ๙ ครั้ง ครั้งสุดท้ายทรงน้อยพระทัย รับสั่งเรื่องนี้แก่กาฬุทายี อำมาตย์ผู้ใหญ่ ขอมอบเรื่องให้กาฬุทายีอำมาตย์ช่วยจัดการให้สมพระราชประสงค์ ด้วยทรงเห็นว่ากาฬุทายี เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่สนิทสนม เป็นที่ไว้วางพระทัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแต่ก่อน ทั้งเป็นสหชาติของพระบรมศาสดาด้วย

กาฬุทายีรับสนองพระบัญชาพระเจ้าสุทโธทนะว่า " จะพยายามกราบทูลเชิญเสด็จให้สมพระราชประสงค์ให้จงได้ " แต่ได้กราบทูลลาอุปสมบทด้วย เพราะแน่ใจว่าตนควรจะได้อุปสมบทในเวลาที่เป็นโอกาสอันดีงามเช่นนี้แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะจำต้องพระราชทานให้กาฬุมายีตามที่ทูลขอ ด้วยความเสียดาย หากแต่ดีพระทัยว่า กาฬุทายีอำมาตย์จะได้ทูลอัญเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้สมประสงค์

ครั้นกาฬุทายีอำมาตย์ พร้อมด้วยบริวารเดินทางมาถึงพระนครราชคฤห์แล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังพระเวฬุวันวิหาร ได้สดับพระธรรมเทศนา บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยบริวาร แล้วทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อพระกาฬุทายีเถระเจ้าบวชแล้วได้ ๘ วัน ก็พอสิ้นเหมันตฤดู จะย่างขึ้นฤดูคิมหันต์ ถึงวันผคุณมาสปุรณมี คือ วันเพ็ญเดือน ๔ พอดี พระเถระเจ้ากาฬุทายีจึงดำริว่า พรุ่งนี้ก็เป็นเวลาย่างเข้าฤดูร้อน บรรดาเหล่าชาวกสิกรทั้งหลายก็เก็บเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ มรรคาที่จะเสด็จไปสู่นครกบิลพัสดุ์ก็สะดวกสบาย พฤกษาชาติที่เกิดเรียงรายอยู่ริมทางก็ให้ความร่มเย็นเป็นอย่างดี สมควรที่พระชินศรีบรมศาสดาจะเสด็จดำเนินไปกรุงกบิลพัสดุ์ แสดงธรรมโปรดพระมหากษัตริย์สุทโธทนะ พระพุทธบิดา ตลอดพระบรมวงศานุวงศ์ศากยราช

ดำริแล้วพระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าพระบรมโลกนาถยังพระคันธกุฎี ทูลว่า “มรรคาทางไปกบิลพัสดุ์บุรี เป็นสุขวิถีทางดำเนินสะดวกสบาย ตลอดมรรคา ยามเมื่อแสงแดดแผดกล้า ก็มีร่มไม้ได้พักร้อน เป็นที่รื่นรมย์ตลอดระยะทาง ๖๐ โยชน์ หากพระองค์จะทรงบำเพ็ญประโยชน์ โปรดพระประยูรญาติยังกบิลพัสดุ์นคร ก็จะเป็นที่สำราญพระกายไม่ต้องรีบร้อน ยามเสด็จพระพุทธลีลา ตลอดพระสงฆ์สาวกที่จะติดตาม ก็จะไม่ลำบากด้วยน้ำท่าและกระยาหาร ด้วยตามระยะทางมีโคจรคามเป็นที่ภิกษาจารตลอดสาย อนึ่ง พระบรมชนกนาถก็มีพระทัยมุ่งหมาย ใคร่จะได้ประสบพบพระองค์ ตลอดพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมด หากพระองค์จะทรงพระกรุณาเสด็จไปให้สมมโนรถของพระชนกนาถ ตลอดทั่วพระประยูรญาติศากยวงศ์แล้ว ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงที่กบิลพัสดุ์บุรี ก็จะเป็นเกียรติเป็นศรีแก่พระพุทธศาสนา นำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่ปวงมหาชน เป็นศิริมงคลแก่อนุชนคนภายหลัง ชั่วกาลนาน ข้าพระองค์ขออัญเชิญพระองค์เสด็จสู่นครกบิลพัสดุ์ โปรดพระชนกและพระประยูรญาติให้ปิติยินดีในคราวนี้เถิด”



เมื่อพระบรมศาสดาทรงสดับสุนทรกถา ที่กาฬุทายีเถระเจ้ากราบทูลพรรณนา รวม ๖๔ คาถา วิจิตรพิสดาร ก็ทรงตรัสสาธุการแก่พระกาฬุทายี ว่า " ตถาคตจะเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติยังกบิลพัสดุ์บุรี ตามคำของท่าน ณ กาลบัดนี้ ฉะนั้นท่านจงแจ้งข่าวแก่พระสงฆ์ทั้งหลาย ให้ตระเตรียมการเดินทางไกล ตามตถาคตที่ประสงค์จะเสด็จไปยังนครกบิลพัสดุ์ ” เมื่อพระกาฬุทายีออกมาประกาศให้มวลพระสงฆ์ ที่มาสันนิบาตอยู่พร้อมหน้าให้ทราบพระพุทธประสงค์แล้ว บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพทุกๆองค์ ก็เตรียมบาตรจีวร มารอเสด็จพระบรมศาสดาตามที่กำหนด

ครั้นได้เวลาพระบรมศาสดาจารย์พร้อมด้วยพระสงฆ์ขีณาสพ ๒ หมื่น โดยประมาณ เสด็จดำเนินไปยังกบิลพัสดุ์นคร ซึ่งห่างจากกรุงราชคฤห์แคว้นมคธเป็นระยะทางถึง 60 โยชน์ (960 กม.) เสด็จโดยมิได้รีบร้อนตามสบาย ประมาณระยะทางเดินได้วันละ ๑ โยชน์พอดี (หรือ 16 กิโลเมตร) และในระหว่างทางมีผู้เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุอีกมากมาย แต่ไม่กล่าวถึง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 เดือนจึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2551    
Last Update : 8 มิถุนายน 2551 14:30:33 น.
Counter : 1420 Pageviews.  

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๓ | พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร


พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๘๓ : พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร


พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร
(ลูกน้องสาว) บรรลุอรหันต์

พระปุณณมันตานีบุตร เป็นบุตรของ นางมันตานีพราหมณี ท่านได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ การที่ท่านได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดาให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก จึงเกิดจากอานิสงค์นั้น

เมื่อถึงกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ท่านจึงได้บังเกิดเป็น ปุณณะ หลานของพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้านพราหมณ์ ชื่อว่าโทณวัตถุ ไม่ไกลนครกบิลพัสดุ์ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อเขาว่า ปุณณะ


ในเวลาแสดงธรรมนั้น เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาตกแต่งไว้ตรงกลาง พระธรรมเสนาบดีนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องขวา พระโมคคัลลาะนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้าย ส่วนเบื้องหลังพระสาวกทั้ง ๒ นั้น เขาปูอาสนะไว้สำหรับพระอัญญาโกณฑัญญะ เหล่าภิกษุที่เหลือนั่งแวดล้อมท่าน พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีความเคารพในพระเถระ เพราะท่านรู้แจ้งแทงตลอดธรรมอันเลิศ และเป็นพระเถระผู้เฒ่า


พระอัญญาโกณฑัญญเถระบวชหลานชาย

พระเถระเห็นพระอัครสาวกทั้งสองกระทำความเคารพนบนอบตน จึงประสงค์จะหลีกไปเสียจากสำนักของพระพุทธเจ้า แต่ก่อนที่ท่านจะไปสู่ป่านั้น ท่านได้พิจารณาเห็นว่า ปุณณมาณพ ผู้เป็นหลานชายของท่านนั้น เมื่อบวชแล้วจักเป็นยอดธรรมกถึกในพระศาสนา ท่านจึงกลับไปตำบลบ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ ซึ่งเป็นชาติภูมิเดิมของท่าน แล้วจึงให้ปุณณมานพหลานชายบรรพชาในสำนักของท่าน

ครั้นเมื่อปุณณมาณพได้อุปสมบทแล้ว ก็ได้บำเพ็ญซึ่งความเพียร ทำกิจแห่งบรรพชิตทั้งปวงให้ถึงที่สุดแล้ว จึงคิดว่า “เราจักไปสู่สำนักของพระทศพล” แล้วจึงได้เดินทางไปยังสำนักของพระศาสดา พร้อมกับพระอัญญาโกณฑัญญเถระผู้เป็นลุง แต่ได้หยุดพักในที่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แล้วถูกท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระปล่อยไว้ในกรุงกบิลพัสดุ์นั่นเอง

ณ ที่นั้น ท่านได้กระทำกรรมในโยนิโสมนสิการ ขวนขวายวิปัสสนา เพียงในเวลาไม่นาน ท่านก็บรรลุพระอรหัต พร้อมคุณพิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ พระปุณณเถระ มีกุลบุตรที่บวชในสำนักของท่านถึง ๕๐๐ รูป ทุกรูปเป็นชาวแคว้นสักกชนบท กรุงกบิลพัสดุ์ อันเป็นชาติภูมิของพระทศพล ทุกรูปเป็นพระขีณาสพ ภิกษุรูปเหล่านั้น ทุกรูปเป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ประการ ที่พระเถระกล่าวสอนกุลบุตรเหล่านั้น แม้กุลบุตร เหล่านั้นทั้งหมดก็กล่าวสอน ศิษย์ของตนด้วยกถาวัตถุ ๑๐ และตั้งอยู่ในโอวาทของพระปุณณเถระนั้นทั้งสิ้น

ครั้นพระเถระเหล่านั้นรู้ว่ากิจแห่งบรรพชิตของตน ถึงที่สุดแล้ว จึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกกระผมถึงที่สุดแห่งกิจบรรพชิตแล้ว และเป็นผู้มีปกติได้กถาวัตถุ ๑๐ บัดนี้เป็นเวลาเหมาะควรที่จะเข้าเฝ้าพระทศพลแห่งพวกกระผม พระเถระได้ฟังคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงคิดว่า “พระศาสดาย่อมทรงทราบว่า เราเป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ เราเมื่อแสดงธรรมก็ไม่ทิ้งกถาวัตถุ ๑๐ นั้น ก็เมื่อเราไป ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดจักแวดล้อมเราไป เมื่อเป็นอย่างนั้น เราไม่ควรจะไปเฝ้าพระทศพลพร้อมกับคณะภิกษุเหล่านี้” ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า “อาวุโส ทั้งหลาย พวกเธอจงไปเฝ้าพระทศพลก่อน จงถวายบังคมพระบาทของพระตถาคต ตามคำของเรา แม้เราก็จักตามพวกท่านไป” พระเถระเหล่านั้นไหว้พระปุณณเถระ แล้วเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ เป็นระยะทาง ๖๐ โยชน์ จนถึงยังพระเวฬุวันวิหาร ในเมืองราชคฤห์ แล้วเข้าถวายบังคมพระบาทของพระทศพล

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงทำปฏิสันถารอันไพเราะกับภิกษุเหล่านั้น โดยพุทธประเพณีนัยมีว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสบายดีหรือ” ดังนี้ แล้วตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากไหน” เมื่อภิกษุ เหล่านั้นกราบทูลอีกว่า มาจากกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าข้า พระบรมศาสดาจึงตรัสถึงภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ใครหนออันเหล่าภิกษุเพื่อนพรหมจารีชาวกรุงกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกชนบทยกย่องว่า เป็นผู้มักน้อย เป็นผู้ปฏิบัติในเรื่องมักน้อยนั้นด้วยตนเอง และกล่าวถ้อยคำชักนำในความมักน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นต่างก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านผู้มีอายุชื่อว่า ปุณณะ บุตรของนางมันตานี พระเจ้าข้า

ท่านพระสารีบุตรได้ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น จึงได้มีความประสงค์เพื่อจะได้พบพระเถระสักครั้งหนึ่ง จากนั้นพระศาสดาได้เสด็จจากเมืองราชคฤห์ ไปยังเมืองสาวัตถี เมื่อพระปุณณเถระได้ฟังว่า พระทศพลเสด็จไปในเมืองสาวัตถีนั้น จึงเดินทางไปยังเมืองดังกล่าวด้วยหวังว่า จักเฝ้าพระศาสดา และเดินทางมาทันพระตถาคตที่เมืองนั้น เมื่อถึงยังเมืองนั้นแล้วท่านก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าภายในพระคันธกุฎีนั่นเอง

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระปุณณเถระ พระเถระฟังธรรมแล้ว ถวายบังคมพระทศพล เพื่อต้องการจะหลีกเร้นจึงไปยังป่าอันธวัน นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายพระสารีบุตรเถระ ได้ทราบข่าวการมาของท่าน จึงเข้าไปหาพระปุณณเถระ ผู้นั่งอยู่ ณ โคนไม้นั้น ปราศรัยกับพระเถระแล้ว จึงถามลำดับแห่งวิสุทธิกถา ๗ นั้น ฝ่ายพระเถระนั้นเมื่อพยากรณ์ปัญหาที่พระสารีบุตรนั้นถามแล้วเห็นว่าข้อธรรมนั้นละเอียดลึกซึ้ง จึงยังจิตของพระสารีบุตรให้ยินดีด้วยข้ออุปมา เปรียบการบรรลุธรรม กับการไปยังสถานที่ที่ต้องการไปนั้นด้วยรถ ๗ ผลัด จนพระสารีบุตรเถระ อนุโมทนาสุภาษิตของพระปุณณเถระ


พระพุทธองค์ ทรงแต่งตั้ง พระปุณณเถระให้เป็นเอตทัคคะ ผู้เป็นเลิศในการแสดงธรรม

อันว่าภิกษุที่มีปัญญาน้อยนั้น เมื่อจะกล่าวธรรมกถา ปรารภเรื่องที่พึงกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ ประการ หรือแจกแจงวิสุทธิ ๗ ประการ ก็จะไม่สามารถกล่าวธรรมกถาได้ แต่ผู้มีปัญญามากทำได้ เพราะความเป็นผู้มีปัญญามากดังว่ามานี้ พระปุณณมันตานีบุตรเถระจึงแสดงธรรมที่ตกแต่งแล้ว กล่าวธรรมกถาท่ามกลางบริษัทสี่ เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้แสดงธรรม ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คือ ปุณณะ ลูกชายนางพราหมณ์มันตานี"







 

Create Date : 30 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2551 13:56:32 น.
Counter : 1039 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.