57 clinic filler story - episode 9 : ร่องแก้ม
สวัสดีค่ะ หมอเบนซ์จาก 57 clinic เองนะคะ

Smiley

วันนี้ก็จะมาเล่าถึงเรื่องการเติมฟิลเลอร์ที่ร่องแก้มให้ฟังกันค่ะ ร่องแก้มถือเป็นอีกหนึ่งบริเวณที่เรานิยมฉีดฟิลเลอร์กันมากที่สุด บางท่านที่ได้เคยฉีดมาก่อนก็คงจะพอเข้าใจดี แต่บางท่านที่ไม่เคยสัมผัสการฉีดมาก่อนเลยก็คงยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดมากพอสมควร


ร่องแก้มที่ดูลึกจะยิ่งทำให้ใบหน้าดูแก่กว่าวัย ตามที่เห็นในภาพข้างบนนี้เลยค่ะ...
จากภาพเป็นบุคคลคนเดียวกันนะคะ ต่างกันตรงที่มีกับไม่มีร่องแก้มเท่านั้นเองค่ะ เห็นถึงความแตกต่างไหมคะ 

Smiley

มีคนไข้บางรายมาถามหมอว่า”คุณหมอคะ ร่องแก้มก็เป็นร่องริ้วรอยเหมือนกัน ดังนั้นก็น่าจะฉีดโบทอกซ์แก้ไขได้ใช่ไหมคะ?” ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่หมออยากจะให้เข้าใจกันก่อนก็คือ กลไกการเกิดร่องแก้มไม่เหมือนกับพวกริ้วรอยที่หน้าผาก หว่างคิ้ว หรือหางตานะคะ...

ร่องแก้มเกิดจากการที่เนื้อเยื่อไขมันมีปริมาตรลดลงจากการขยับริมฝีปากบ่อยๆในการพูด การยิ้มหรือการอ้าปาก ดังนั้นในการแก้ไขร่องแก้มให้ตรงจุดนี้จึงควรใช้วิธีการเติมเข้าไปทดแทนส่วนของเนื้อเยื่อที่มันลดลงหรือขาดหายไปค่ะ

การฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มไม่เพียงแค่ทำให้เห็นผลชัดว่าหน้าดูอ่อนวัยลงในทันที แต่ยังสามารถช่วยป้องกันกระบวนการเกิดร่องแก้มที่มักจะค่อยๆลึกลงไปตามวัยที่มากขึ้นอีกด้วย ถ้าได้รับการฉีดอย่างสม่ำเสมอ

และนี่ก็เป็นเคสตัวอย่างที่หมอได้ทำการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มให้ค่ะ



คุณผู้หญิงท่านนี้อายุ 31 ปี มีปัญหาเรื่องร่องแก้มที่อยู่ในแนวด้านข้างของจมูกมีความลึกมากผิดปกติ ทำให้ใบหน้าแลดูมีอายุ ในเคสที่มีลักษณะแบบนี้สาเหตุก็เกิดจากการที่ปริมาตรของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นลดลงไปมากนั่นเองค่ะ ซึ่งกรณีนี้สามารถแก้ไขได้ไม่ยากด้วยการฉีดฟิลเลอร์



หมอได้ทำการฉีดฟิลเลอร์ที่ร่องแก้มข้างละ 0.8cc (รวมเป็น1.6cc) ส่วนที่เหลืออีก0.4cc ก็เก็บไว้เติมได้ในครั้งหน้า ใช้เวลาฉีดประมาณ 10 นาทีค่ะ



Smiley

ภาพเปรียบเทียบร่องแก้มระหว่างก่อนและหลังฉีดฟิลเลอร์ก็ตามนี้เลยค่ะ^^



การฉีดฟิลเลอร์บริเวณร่องแก้มนี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องการชะลอวัยของใบหน้าไม่ให้ดูแก่ลงตามกาลเวลาหรือวัยที่ควรจะเป็นค่ะ แต่ก็มีข้อที่ควรระวังและพิจารณาดังนี้

1. ภาวะเนื้อผิวหนังตายจากการขาดเลือด ถึงแม้ว่าภาวะนี้จะพบได้น้อยมากๆ แต่ก็ควรระวังไว้เสมอนะคะ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ฟิลเลอร์ชนิดที่สลายได้อย่าง HA fillerจะดีที่สุดค่ะ (ส่วนฟิลเลอร์ชนิดที่สลายไม่ได้ก็อย่างเช่นพวกซิลิโคนเหลว อย่าไปยุ่งด้วยเลยนะคะ) อาการขาดเลือดของผิวหนังที่คนไข้ต้องสังเกตก็คือ ผิวหนังบริเวณที่ฉีดและใกล้เคียงเปลี่ยนเป็นสีคล้ำลงและปวดมากผิดปกติในช่วง 2 วันแรกหลังการฉีด และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือ ไม่ควรไปให้หมอกระเป๋าฉีดให้โดยเด็ดขาด!!! เพราะเส้นเลือดที่ใบหน้ามีความซับซ้อนมาก อย่ายอมเป็นหุ่นทดลองให้ผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ลึกซึ้งมากพอฉีดให้เพียงเพราะราคาที่ถูกกว่าแค่นั้นเลยนะคะ Smiley

2. ฟิลเลอร์ที่บริเวณร่องแก้มมักสลายไปเร็วกว่าบริเวณอื่นค่ะ เพราะว่าร่องแก้มอยู่ติดกับปากซึ่งมีแรงดันเกือบตลอดเวลา จากการอ้าปาก/ขยับปากพูด ยิ้ม หัวเราะหรือร้องเพลง แต่ไม่ต้องกังวลตรงจุดนี้มากไปนะคะ กฎนี้มีข้อยกเว้นที่หากได้รับการฉีดฟิลเลอร์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ความเร็วในการสลายของฟิลเลอร์จะค่อยๆช้าลงเรื่อยๆได้ค่ะ

3. การฉีดฟิลเลอร์ที่ผิวหนังชั้นตื้นในปริมาณมากเพียงชั้นเดียว อาจจะเกิดการไหลไปที่ริมฝีปากได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะนี้และเพื่อผลลัพธ์ที่ดูดีเป็นธรรมชาติกว่า หมอจึงมักทำการฉีดเข้าไปที่ชั้นลึกอีกชั้นด้วยค่ะ

ขอบคุณสำหรับการติดตามนะคะ

Smiley







Create Date : 13 มีนาคม 2559
Last Update : 14 มีนาคม 2559 16:31:50 น.
Counter : 2123 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 2970483
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Expert of facial antiaging
Stories about filler, botulinum toxin and face
All Blog