บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
...ทำไงจะเอาอิทธิบาท 4 ไปใช้กับลูกน้องได้...

ฉันทะ=เต็มใจทำ
ทำได้โดยการทำให้เห็นประโยชน์เสียก่อน
วิริยะ=แข็งใจทำ
ทำได้โดยการไม่ให้งานพอกหางหมู
จิตตะ=การตั้งใจในการทำงานมีจิตใจจดจ่อไม่วอกแวก
ทำได้โดยการสร้างบรรยากาศ->เลือกช่องทางการสื่อสารให้เหมาะสม ทางตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส เช่นการมีคำขวัญปลุกใจในการทำงาน
วิมังสา=การเข้าใจในการทำงาน รู้ทะลุปรุโปร่งในงานทั้งหมด
ทำได้โดยการฝึกให้รู้จักสังเกต
ให้ไปเค้นสมองคิดว่าถ้าท่านต้องไปทำโครงการนั้นโดยไม่มีงบประมาณเลยและทำเองคนเดียวท่านจะทำอย่างไรจึงจะสำเร็จให้ไปนำเสนอ
ภาพว่า"ได้"มันต้องเกิดขึ้นในใจเสียก่อน มันจะมีทางได้แล้วค่อย ๆ ไปหาวิธีการเอา
..... แต่อนิจจา เอาไปติดที่ทำงาน
แต่เค้าก็ยังไม่ค่อยมีอารมณ์ทำงานกันอยู่ดีอ่ะ
แนะนำกันหน่อยนะครับ

young engineer




ทำไงจะเอาอิทธิบาท 4 ไปใช้กับลูกน้องได้


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)





การจะให้พนักงานสักคน มี อิทธิบาท 4 กับงานนั้น คงต้องเริ่มจาก เราทำตัวเป็นต้นแบบก่อนครับ เพราะเมื่อลูกน้องเห็นเราเป็นต้นแบบแล้ว เขาถึงจะสามารถรับรู้ได้ว่า การทำงานจริงๆ นั้นควรจะทำเช่นใด

จากนั้น ก็พยายามสอนเขาทีละขั้น ทีละตอน การสอนงาน เป็นหน้าที่หนึ่งของหัวหน้างาน การสอน อิทธิบาท 4 ให้กับเขา ก็เพื่อจะให้เขาทำงานได้ดีที่สุด และ ได้ผลงานมากที่สุด ซึ่งการกระทำทั้งหมดของหัวหน้างาน ก็ควรจะมุ่ง และ สื่อไปทางพัฒนาลูกน้องให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานครับ ถ้าใจเราสะอาด ใส และ มุ่งประเด็นสำหรับประโยชน์สำหรับลูกน้อง ก็ค่อยๆทำดังนี้ครับ

ฉันทะ = ความพึงพอใจในการทำงานนั้น หรือ เต็มใจทำงานนั้น

ต้องแยกความรู้สึกของคนให้เห็นก่อนว่า การมีความพึงพอใจ หรือ เต็มใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เกิดจากเหตุใด ซึงความคิดเห็นของผมนั้น คิดว่า การจะทำให้ใครเกิดความพึงพอใจ หรือ เต็มใจในการทำงานนั้น คนๆนั้นต้องมองเห็นคุณประโยชน์ของการทำงานเสียก่อน อย่างเช่น ทำแล้วได้ผลงาน ทำแล้วมีคนเห็น ทำแล้วมีคนอนุโมทนา สิ่งเหล่านี้ บางคนมองไม่ออกว่า การทำงานนั้นๆของเขาแล้วจะได้ผลอะไรตอบแทน เพราะคนเราต่างกัน ความคิดก็ต่างกัน ปัญญาก็ต่างกัน ดังนั้น หัวหน้างาน ต้องชี้แจงให้เห็นถึงคุณดังกล่าวที่บอกมาครับ

หรือ งานนั้น เป็นงานที่คนๆนั้นถนัด หรือ มีนิสัยพื้นฐานตรงกับงานนั้น ก็ต้องเปลี่ยน หรือ ต้องสอนพื้นฐานในการทำงานนั้นๆ ให้เขาเสียก่อน ที่เขาจะงานั้นได้จริงๆ หรือ อาจจะต้องช่วยกำกับ หรือ สอนงานนั้นอย่างละเอียดในช่วงแรก เพื่อให้เขามีความมั่นใจในการทำงานเหล่านั้นมากขึ้น และเมื่อมีความมั่นใจในการทำงาน เขาก็จะสามารถทำงานเหล่านั้นได้อย่างดีเช่นกัน


วิริยะ = พากเพียรในการทำงาน

ความเพียรในการทำงานนั้น เกิดจาก การประพฤติตนตามมงคลสูตรบทที่ว่า ทำงานไม่คั่งค้าง ซึ่งคนที่จะทำลักษณะนี้ได้ ก็คงต้องเป็นคนที่เคยสร้างบารมีทางด้านนี้มาก่อน แต่ถ้าลูกน้องไม่เป็นเช่นนี้ ก็คงต้องสร้างให้มี ให้เกิดขึ้น ถ้าทางธรรม ก็กำหนดเวลาในการนั่งสมาธิ ถ้าทางโลก ก็อาจจะต้องฝึกให้เขาทำงานอย่างพากเพียรครับ

การฝึกให้ลูกน้องมีความเพียรอย่างง่ายๆ คือ การนั่งข้างๆ หรือ ต้องนั่งให้มองเห็นลูกน้อง หรือ ทำให้ลูกน้องรู้สึกว่า เรากำลังดูเขาอยู่ เพราะลูกน้องส่วนใหญ่ เวลาเห็นหัวหน้างานมองอยู่จะทำงาน เช่นนั้นอย่างเต็มที่ เพื่อทำให้เห็นผลงานของตน หรือ ทำให้เจ้านายเห็นว่าตนทำงานเต็มที่ การทำเช่นนี้ สามารถทำให้เกิดนิสัยกับเขาได้ โดยการชมเชยเขาอย่างจริงใจ กับการทำงานที่เป็นผลสำเร็จของเขา จะทำให้ลูกน้องเห็นคุณค่าของการทำงานอย่างเต็มที่นั้นๆได้

บางครั้ง ก็ต้องตั้งรางวัลเพื่อให้เขามีกำลังใจทำงานด้วย แต่จะตั้งในงานแรกๆ เพื่อดูศักยภาพของพวกเขาว่า เขามีความสามารถนะ และ ถ้างานเป็นงานอย่างเดิมๆ แล้วเขาทำงานตกลง ก็ให้นำเอางานที่เขาทำได้ดีแล้วในครั้งแรกมาเปรียบเทียบ เพื่อทำให้เข้าเห็นว่า เขาตั้งใจทำงานน้อยลง อันเนื่องจากสภาพแวดล้อมเดียวกัน งานเดียวกัน ตอนที่ตั้งรางวัลเขาสามารถทำงานได้ดี และ เต็มที่กว่า เป็นต้นครับ


จิตตะ = การมีจิตใจจดจ่อต่อการทำงาน

การจะมีจิตใจที่จดจ่อต่อการทำงานได้นั้น ต้องศึกษาองค์ประกอบสิ่งแวดล้อมของลูกน้อง รวมทั้งงานเหล่านั้น เป็นงานที่ลูกน้องถนัดในการทำหรือไม่

สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีจิตใจจดจ่อต่อการทำงานนั้น ก็จะเหมือนกับ สิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เรานั่งสมาธิ ได้ดี ต้องมีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำสมาธิ และ บรรยากาศเอื้อต่อการทำงาน อย่างเช่น ถ้าคนทำงานทางด้านความคิด แต่เขาต้องนั่งในที่ร้อน เหงื่อตก เขาจะมีสมาธิในการทำงานน้อยลง จิตใจที่จดจ่อกับงานก็น้อยลง หรือ คนที่ทำงานต้องใช้ความละเอียด แต่กลับมีเสียงเพลงคลอไปเบาๆ ก็หวังดีว่าเสียงเพลงจะทำให้ความรู้สึกผ่อนคลายลง แต่จะใช้ได้ไม่ดีกับคนที่ต้องการความละเอียด คนที่ทำงานละเอียดได้ จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ เหมือนนั่งสมาธิในที่สงบ เพื่อทำให้จิตใจได้จดจ่อกับงานเหล่านั้นให้มากที่สุด

ถ้าสิ่งแวดล้อมของเขาดี แต่เป็นงานที่เขาไม่ถนัด หรือ ไม่สามารถทำได้ ก็จะไม่สามารถทำให้เขามีใจจดจ่อต่องานได้เช่นกัน ดังนั้น ควรมอบหมายงานที่แต่ละคนถนัดในด้านนั้นๆ หรือ ต้องสอนงานให้กับลูกน้องจนสามารถทำงานเหล่านั้นได้

ถ้าไม่มีใจจดจ่อต่อการทำงาน จนบางครั้ง การละทิ้งการงานกลางคันได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากคนที่ไม่เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ หรือ ไม่รู้ว่าทำไปจะสำเร็จไม๊ หรือ ไม่มีความรู้ในการทำงาน ดังนั้น การสอดส่องลูกน้องอยู่เป็นประจำ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหัวหน้างานที่ดี ต้องรู้ภาวะจิตใจของเขาด้วยว่า ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เขากำลังมีความรู้สึกเช่นใดกับงานนั้นๆ เมื่อรู้ถึงภาวะจิตใจของลูกน้อง ก็ต้องปรับความรู้สึกเหล่านั้นให้กลับมาเป็นปกติในการทำงานดังเดิม ซึ่งเรื่องนี้ก็แล้วแต่เคสครับ


วิมังสา = การพินิจ วิเคราะห์ และ เข้าใจในการทำงานนั้นๆ

การทำงานที่ได้ผลดีนั้น ต้องมีเรื่องนี้เข้ามาเป็นองค์ประกอบ ต้องใช้ปัญญาในการ พินิจ พิจารณา วิเคราะห์ หาเหตุ หาผล ของการทำงานต่างๆ ซึ่ง คนที่จะทำเช่นนี้ได้ดีมีน้อย ผมจำไม่ได้ว่า หลวงพ่อทัตตชีโว หรือ หลวงพ่อธรรมชโย ของพวกเรา เคยบอกแนวทางวิธีง่ายๆ ที่จะสร้าง วิมังสาให้เกิดขึ้นกับตัวเรา มันเป็นคำง่ายๆ แต่ลึกซึ้งมาก ท่านแค่ให้โอวาทในการทำงานว่า

"ทำให้ดี กว่าดีที่สุด"


นั่นหมายถึง เวลาเราทำงานแล้ว คิดว่าดีแล้ว ให้สังเกตุ และ วิเคราะห์งานที่ทำว่า เราสามารถทำได้ดีกว่านี้อีกหรือไม่ มีวิธีการใดที่จะทำได้ดีกว่านี้ หรือ ถ้าทำในครั้งต่อไป เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลดีกว่านี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าทุกคนสามารถนำเอาคำหลวงพ่อมาใช้ ก็จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีวิมังสาให้เกิดกับตนเองได้อย่างน่าอัศจรรย์

และ อีกโอวาทหนึ่ง ที่ผมได้รับจากหลวงพ่อฯ คือ

"ไม่ได้ ไม่ดี ไม่มี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องได้"


คำว่า "ไม่ได้ ไม่ดี ไมมี ไม่ได้" เป็นคำที่บ่งบอกให้ใจของเรามุ่งมั่นว่าสิ่งที่จะทำนั้นในเมื่อรับงานมาแล้ว การจะบอกว่า ทำไม่ได้ นั้น ต้องไม่มี เพราะก่อนที่เจ้านายจะสั่งงานนั้น ก็ต้องคิดก่อนแล้วว่าน่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องแสวงหาหนทางเพื่อที่จะทำในหนทางอื่นๆอีก ไม่ใช่ว่า คิดว่าทำไม่ได้ก็จบกันไป หรือบางคนมักจะอ้างว่า ไม่มีสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งนี้ ทั้งๆที่ตนเองยังไม่ได้พยายามหาเลยก็มี ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ต้องให้เขาคิด ว่า ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้วจะหาสิ่งอื่นๆมาทดแทนได้หรือไม่ หรือ จะสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาได้อย่างไร และ เมื่อเริ่มทำแล้วก็ต้องทำให้ดี หากต้องแก้ไขก็ต้องแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยๆ "ทำให้ดี กว่าดีที่สุด" ไง...

ส่วนประโยคหลังนั้น ผมก็ดัดแปลงสอนลูกน้องผมว่า "ต้องง่าย ต้องดี ต้องมี ต้องได้" เพื่อสร้างให้ลูกน้องของผม เชื่อในสิ่งที่จะทำ และ สร้างผลงานออกมาให้ง่ายต่อความเข้าใจของผู้ใช้ ต้องดีไม่มีปัญหา ต้องมีสิ่งที่ลูกค้าต้องการ สิ่งเหล่านี้ต้องทำได้ถ้าเราได้ทำ เพราะลูกค้าหวังว่าต้องได้จากเรา ดังนั้น เราก็ต้องตอบสนองให้ลูกค้าเห็นว่า เราก็ต้องทำได้ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อความต้องการ กับสิ่งที่เราทำให้กับลูกค้านั้นตรงกัน ก็จะสร้างมูลค่าให้กับงานของเราเพิ่มมากขึ้น และ สามารถนำไปใช้งานได้จริงอีกด้วย เมื่อสิ่งที่เราทำนั้น กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าใช้งานได้อย่างดี และมีการชื่นชม ก็จะกลายมาเป็นแรงใจให้กับคนทำงานกลับมาเช่นกัน

ความเข้าใจในการทำงานนั้นๆ ก็กล่าวไว้แล้วว่า การรับรู้ภาวะจิตของลูกน้องนั้นสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตุ และ การทดสอบความรู้สึกของพวกเขาบ่อยๆ เช่นอาจจะถามถึงปัญหาของงานต่างๆว่า เขามีปัญหาอะไร อย่างไร ก็ช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้น หรือ ชี้ให้เห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น คนเราไม่เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งที่เราคิดได้ อาจจะเป็นสิ่งที่ยากสำหรับคนอื่นก็ได้ เราจึงต้องสังเกตุ และ ทดสอบลูกน้องว่า เข้าใจการงาน หรือ คำสั่งหรือไม่ โดยเฉพาะคำสั่ง บางครั้งอาจจะต้องให้ลูกน้องทวนคำสั่งให้ฟังเสียด้วยซ้ำ เพื่อให้รู้ว่า เขารับรู้คำสั่งต่างๆของเราจริงๆ ก่อนที่จะลงมือด้วย


โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



สิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็มาจากประสบการณ์ส่วนบุคคลครับ ถ้าจะให้ลึกซึ้ง ควรจะไปสอบถามกับหลวงพ่อครับ จะได้อะไรที่ลึกซึ้งมากกว่าครับ..



Create Date : 14 พฤษภาคม 2550
Last Update : 31 สิงหาคม 2551 15:15:42 น. 4 comments
Counter : 1856 Pageviews.

 
เขียนได้ดีมากๆ เลยค่ะ ชอบมาก


โดย: โบ IP: 125.24.186.57 วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:23:24:51 น.  

 
เขียนได้ดีมากค่ะ
เข้าใจง่าย
เป็นรูปธรรม

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อความดีๆ
นิมา


โดย: นิมา IP: 222.123.59.126 วันที่: 19 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:33:16 น.  

 
ดีมากครับ อ่านเข้าใจง่าย ขออนุโมทนาสำหรับบทความที่
มีประโชยน์ครับ


โดย: beer IP: 125.27.233.72 วันที่: 20 สิงหาคม 2551 เวลา:9:39:39 น.  

 
ชอบบทความนี้มากค่ะ


โดย: to lady pink IP: 222.123.219.110 วันที่: 10 มีนาคม 2552 เวลา:1:35:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.