อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย

วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย โดย นางสิทธา พินิจภูวดล
          สมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ.  ๑๘๐๐ - ๑๘๙๕) วรรณกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์   ประวัติวรรณคดี และประวัติภาษาไทยคือ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง และไตรภูมิพระร่วง

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง

          รูปแบบการแต่งเป็นร้อยแก้ว เขียนลงบนแท่งหินสี่เหลี่ยมทั้งสี่ด้าน ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทยตามแบบอย่างการใช้ภาษาสมัยสุโขทัยเนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอน

          ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นอัตชีวประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์พระร่วง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

          คำอ่านปัจจุบัน "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์   แม่กูชื่อนางเสืยง..." และอีกตอนหนึ่ง "...ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน ตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหงเพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน..."

          ข้อความตัวอย่าง กล่าวถึงพระราชประวัติและความเก่งกล้าสามารถจนได้รับพระราชทานพระนาม "พระรามคำแหง"

          ตอนที่ ๒ เล่าเรื่อง เหตุการณ์และธรรมเนียมนิยมของคนสุโขทัย การดำเนินชีวิต การนับถือพุทธศาสนา การนับถือผี และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย

          ตอนที่ ๓ เป็นคำสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัย

          จะเห็นได้ว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง มีคุณสมบัติเด่นในแง่ประวัติศาสตร์   ประวัติวรรณคดี และประวัติภาษาไทย


[กลับหัวข้อหลัก]

ศิลาจารึก หลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
ไตรภูมิพระร่วง
          พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท   กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ  พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยได้ทรงรวบรวมเรื่องราวทางศาสนาจากคัมภีร์โบราณต่างๆ ถึง ๓๐ คัมภีร์  กล่าวถึงไตรภูมิซึ่งแปลว่า แดน ๓ แดน คือ   กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ สัตว์โลกทั้งหลายย่อมวนเวียนเกิดและตายอยู่ใน ๓ ภูมินี้ การพรรณนาถึงแต่ละภูมิสร้างภาพอย่างชัดเจนอ่าน    แล้วได้รับความเพลิดเพลิน อีกทั้งมีการสั่งสอนให้ประพฤติดีและกลัวบาป ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ในการแต่งคือ เพื่อเทศนาถวายพระราชมารดา และเพื่อเป็นธรรมทานแก่บุคคลทั่วไป   ตัวอย่างเช่น การพรรณนาถึงนรกตอนหนึ่ง ดังนี้

          "คนฝูงใดอันเจรจาซื้อสิ่งสินท่าน...แลตน  ใส่กลเอาสินท่านด้วยตาชั่งก็ดี...ครั้นว่ามันตาย  ได้ไปเกิดในนรกนั้น ฝูงยมพะบาลเอาคีมคาบ    ลิ้นเขาชักออกมา แล้วเอาเบ็ดเหล็กเกี่ยวลิ้นเขา  ลำเบ็ดนั้นใหญ่เท่าลำตาล เทียรย่อมเหล็กแดง    ลุกบ่มิเหือดสักเมื่อ..."

           ความตอนนี้กล่าวถึงคนขายของที่โกงตาชั่งเมื่อตายแล้วจะตกนรก ยมบาลเอาคีมหนีบลิ้นดึงออกมา แล้วเกี่ยวด้วยเบ็ดเหล็กที่ลุกเป็นไฟไม่มีวันดับ จะเห็นสำนวนการเขียนที่เรียบง่ายเป็นที่เข้าใจได้ดีสำหรับคนในสมัยนั้น เหมาะกับการเทศน์สั่งสอนบุคคลทั่วไป

นอกจากไตรภูมิพระร่วงจะมีคุณค่าทาง ศาสนาแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในอาณาจักรไทยอื่นๆ ในสมัยเดียวกันต่อลงมาจนถึงสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันวรรณคดีมรดกไทยเรื่องนี้ปลูกฝังให้คนไทยนิยมยกย่องคนมีบุญที่มีจิตใจเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม


[กลับหัวข้อหลัก]

ไตรภูมิพระร่วง : ภาพนรก

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
• นางสิทธา พินิจภูวดล



Create Date : 12 มกราคม 2558
Last Update : 12 มกราคม 2558 9:58:27 น. 1 comments
Counter : 2369 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:16:42:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.