อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ไขปริศนา การแมะ

การแมะ (pulse diagnosis 切脉) หรือการจับชีพจรของแพทย์แผนจีน เป็นเสน่ห์หนึ่งของแพทย์แผนจีน หลายคนคงสงสัยว่า แค่แมะก็รู้เลยหรือว่าป่วยเป็นอะไร วันนี้เราจะมาไขปริศนาแห่งศาสตร์อันล้ำลึกนี้

แมะ1

การแมะ คือการใช้นิ้วมือทั้งสาม (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) แตะลงบนชีพจรตรงบริเวณเส้นเลือดแดงใกล้ข้อมือฝั่งนิ้วโป้ง โดยนิ้วกลางจะวางตรงบริเวณที่กระดูกข้อมือนูนขึ้นมา(จุดชุ่น寸) นิ้วชี้วางถัดจากนิ้วกลางไปทางปลายนิ้วผู้ป่วย(จุดกวน关) นิ้วนางวางถัดจากนิ้วกลางไปทางต้นแขน(จุดฉื่อ尺) สามนิ้ววางเรียงกัน

การแมะ จะแมะมือทั้ง 2 ข้าง ซึ่งแต่ละจุดของมือทั้ง 2 ข้าง ได้แสดงถึงอวัยวะภายในไว้ดังนี้

ตารางแมะ

จุดที่ต้องสังเกตในระหว่างทำการแมะ

  1. ระดับของการแมะ การเต้นของชีพจรอยู่ตื้นหรืออยู่ลึก แต่ละตาแหน่งของจุดชุ่น จุดกวน จุดฉื่อ มีความยาวความสั้นอย่างไร
  2. ความถี่และจังหวะของการเต้น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้า จังหวะการเต้นสม่าเสมอหรือไม่
  3. ลักษณะของเส้นเลือด เวลาชีพจรเต้นความกว้างของเส้นเลือดใหญ่หรือเล็ก เส้นเลือดตึงแข็งหรืออ่อนนิ่ม
  4. ลักษณะการเต้น ชีพจรเต้นมีแรงหรือเต้นเบา ไหลลื่นหรือไม่

แมะ2

จากการสังเกตชีพจรข้างต้น ปัจจุบันการแพทย์แผนจีนได้ระบุลักษณะชีพจรไว้ถึง 28 ชนิดด้วยกัน แต่ละชีพจรจะบ่งบอกถึงสภาพภายในร่างกายของเรา เช่น ชีพจรลอย(浮脉) เวลาสัมผัสเบาๆจะพบชีพจรคล้ายท่อนซุงลอยน้ำ เมื่อกดจะจมเล็กน้อย บ่งบอกถึงอาการเป็นไข้หวัดหรือโรคนั้นอยู่ภายนอก ชีพจรลื่นจะมีลักษณะไหลลื่นคล้ายไข่มุกกลิ้งอยู่ บ่งบอกถึงผู้ป่วยมีเสมหะ มีอาการร้อนแกร่ง หรือสตรีตั้งครรภ์ หรือเป็นชีพจรปกติในวัยหนุ่ม

สำหรับชีพจรของคนปกติ จะมีการเต้นของชีพจรที่ไม่ใหญ่ ไม่เล็ก ไม่ลอย ไม่ลึก ไม่เร็ว ไม่ช้า เต้น 4-5 ครั้ง ต่อการหายใจเข้าออก 1 ครั้ง(ประมาณ 72-80ครั้ง/นาที) จังหวะการเต้นสม่าเสมอ แต่ชีพจรของคนปกติอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เพศ อากาศ สภาพแวดล้อมและอื่นๆได้ เช่น เด็กชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ หลังทานอาหารชีพจรจะเต้นเร็วและมีแรง

สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-10 ปี เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้จับชีพจรค่อนข้างเล็ก จึงไม่จำเป็นต้องใช้ 3 นิ้วจับชีพจร แต่ใช้เพียงนิ้วโป้งนิ้วเดียวจับชีพจรทั้ง 3 ตาแหน่ง ส่วนเด็กเล็กที่มีอายุต่ากว่า 3 ปี จะใช้การสังเกตเส้นเลือดฝอยของนิ้วชี้ทั้ง 2 ข้าง

การแมะ เป็นเพียง 1ใน 4 ของวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์แผนจีน ซึ่งก็คือการมอง(望) การดมและการฟัง(闻) การถาม(问) และการแมะ(切) แพทย์จีนจะใช้ 4 วิธีนี้ควบคู่กันไปในการตรวจวินิจฉัย เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุด

ขอบคุณที่มาและรูปภาพจาก : คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ




Create Date : 06 กันยายน 2558
Last Update : 6 กันยายน 2558 6:30:59 น. 1 comments
Counter : 1710 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:18:47:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.