อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
เตือนคนออฟฟิศ ใช้ เครื่องถ่ายเอกสาร ต้องปิดให้สนิท ป้องกัน ปัญหาระบบหายใจ

หวั่นผงหมึก สารเคมี จากเครื่องถ่ายเอกสาร ส่งผลกระทบต่อระบบหายใจ แนะป้องกันตัวเองก่อนสุขภาพแย่

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ในสำนักงาน สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพต่อผู้ใช้งานเป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำหน้าที่ถ่ายเอกสาร เนื่องจาก เครื่องถ่ายเอกสาร มีกลิ่นสารเคมี และแสงจากเครื่องในขณะที่ถ่ายเอกสารเข้าดวงตาเสมอ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ที่ใช้งานในระยะยาวได้

Photocopier

ซึ่งสิ่งที่ก่อ่ให้เกิดอันตรายจากการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ประกอบด้วย โอโซน (Ozone)และแสง UV จากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูงของเครื่องถ่ายเอกสาร โดยผลกระทบจากการได้รับโอโซนในระดับความเข้มข้น 0.25 ppm ขึ้นไป จะทำให้ระคายเคืองต่อตา จมูก คอ หายใจสั้น วิงเวียนและปวดศีรษะ มีอาการล้า และสูญเสียการรับรู้กลิ่น โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคระบบหายใจ เช่น โรคหอบหืด ไม่ควรสัมผัสโอโซน

ส่วนรังสี UVจากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูง จะทำให้มีอาการปวดศีรษะ แสบตา กระจกตาอักเสบ เกิดผื่นคันตามผิวหนัง อันตรายถัดมาคือผงหมึก มีทั้งแบบผงคาร์บอนดำ 100 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับพลาสติกเรซิน ในเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้ง

และผงหมึกละลายในสารอินทรีย์ประเภทปิโตรเลียม ในเครื่องถ่ายเอกสารระบบเปียก ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ เป็นสารเคมีที่เป็นอันตราย จึงต้องระมัดระวังขณะเติมหมึก รวมทั้งขณะทำความสะอาดหรือกำจัดฝุ่นผงหมึกที่ใช้แล้ว และหลีกเลี่ยงการสัมผัสผงหมึกหรือสูดดมเอาผงหมึกเข้าสู่ร่างกาย หากพบผงหมึกเปื้อนติดกระดาษจำนวนมาก ควรหยุดการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แล้วติดต่อบริษัทเพื่อซ่อมบำรุง เพราะหากสูดดมผงหมึกทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม

สำหรับสารเคมีอื่นๆ เช่น เซเลเนียม แคดเมียมซัลไฟด์ ซิงค์ออกไซด์ และโพลิเมอร์บางตัว ซึ่งเคลือบไว้ที่ลูกกลิ้งในเครื่องถ่ายเอกสาร มีลักษณะเป็นสารเรืองแสง ระเหยออกมาได้ในระหว่างถ่ายเอกสาร โดยปกติปริมาณสารเคมีเหล่านี้มีน้อยเกินกว่าจะตรวจสอบได้ ซึ่งหากสูดดมสารเซเลเนียม เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ตา เยื่อเมือกกระเพาะอาหาร หากรับเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการลิ้นเฝื่อน มีอาการล้า อาหารไม่ย่อย วิงเวียนศีรษะ และเมื่อได้รับในระดับความเข้มข้นสูงจะเป็นอันตรายต่อตับและไต ส่วนแคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง จะถูกปล่อยออกจากเครื่องถ่ายเอกสารน้อยกว่าเซเลเนียม แต่เป็นอันตรายมากกว่า

ทางด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ผู้ใช้เครื่องถ่ายเอกสารต้องรู้จักวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัย เมื่อถ่ายเอกสารทุกครั้ง ควรปิดฝาครอบให้สนิท พร้อมทั้งติดตั้งพัดลมดูดอากาศเฉพาะที่ในห้องถ่ายเอกสาร สวมถุงมือขณะเติมหรือเคลื่อนย้ายผงหมึกควรใส่หน้ากากกันฝุ่นเคมีโดยผงหมึกที่ใช้แล้วหรือผงหมึกที่หกตามพื้นในขณะที่เติม ต้องนำไปกำจัดลงในภาชนะที่ปิดมิดชิด อีกทั้งควรบำรุงรักษาเครื่องเป็นประจำ และให้ตั้งเครื่องถ่ายเอกสารแยกไว้ที่มุมห้องที่ไกลจากคนทำงาน และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเอกสาร ควรได้รับการแนะนำอบรมวิธีการใช้ การเปลี่ยนผงหมึกรวมทั้งการกำจัดผงหมึก ตลอดจนผู้ซ่อมบำรุงเครื่องถ่ายเอกสารควรสวม ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับลูกกลิ้งด้วย

รายงานและภาพโดย Health Mthai Team




Create Date : 28 พฤษภาคม 2558
Last Update : 28 พฤษภาคม 2558 5:05:49 น. 1 comments
Counter : 1727 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:17:47:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.