7-11



Ittiwat
Tuesday, August 16 2005 @ 03:31 PM ICT
Contributed by: wai
Views: 1,284
SM BBA TU 2007ประวัติศาสตร์การค้าปลีกแดนสยาม

การค้าปลีกของไทย
สันนิษฐานกันว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีชุมชนในสยาม
แต่ไม่มีการจดบันทึกเป็นเรื่องราวจนกระทั่งได้ขุดค้าพบหลักศิลาจารึก ที่จารึกไว้ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย
โดยขุดพบในสมัยต้นรัตนโกสินทร์สุโขทัยในรัชกาลที่ 4
ที่ ศจ. ยอร์ช เซเดย์ ชาวฝรั่งเศสได้ถอดความตอนหนึ่งว่า
“ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ช้างค้า”
จนมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้มีการบันทึกในพงศาวดาร
และจดหมายเหตุต่าง ๆทั้งของไทยและบรรดาพ่อค้าของชนชาติต่าง ๆ
ที่ได้เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เช่น ชาวจีน โปรตุเกส
ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ฝรั่งเศส อังกฤษ ฯลฯ
โดยส่วนมากจะเป็นการค้าขายกันทางเรือเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะสมัยพระนารายณ์มหาราชถือว่าเป็นยุคทองของการค้าทีเดียว


การค้าในสมัยรัชกาลที่ 3 เรื่อยมาจนถึงต้นรัชกาลที่ 5
ไม่เพียงแต่จะเป็นการค้าขายระหว่างราชสำนัก
และคหบดีใหญ่ ๆ ชาวจีน และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ยังมีการค้าระหว่างพ่อค้ากับชาวบ้านในแหล่งชุมชนหรือตลาดทั่วไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมาและผ้าเครื่องหอม
ที่พ่อค้าชาวต่างประเทศนำมาค้าขายด้วยกัน
ในขณะนั้นในสยามยังไม่มีร้านค้าที่จะซื้อหาอำนวย
ความสะดวกได้ต้องสั่งของเหล่านี้จากอินเดียหรือปีนังประเทศสิงค์โปร์
และชาวจีนอพยพที่มารับจ้างขุดคลอง ทำทางรถไฟ
แบกข้าวสาร หรือมีอาชีพรับจ้าง เข็นรถ 3ล้อเมื่อเสร็จสิ้นจากงานประจำ
ก็เริ่มหันมาประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ
ตามประสาชนชาติที่ขยันขันแข็ง
และมีหัวทางการค้าติดตัวมา
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น
และเกิดผลกระทบต่อชาวต่างประเทศที่เป็นเจ้าของกิจการ
ร้านค้า และประกอบธุรกิจในประเทศไทย
ที่เป็นชนชาติคู่สงครามกับไทย
เพราะจะถูกยึดทรัพย์และจับตัวเป็นเชลยในระหว่างเกิดสงคราม บางส่วนก็รีบยักย้ายถ่ายโอนขายกิจการให้กับชาวจีนที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจการค้าในประเทศไทยเริ่มไปสู่มือชาวจีน
ทั้งเชื้อสายไทยและชาวจีนอพยพหรือชาวจีนโพ้นทะเลมากขึ้น

ยุคห้างสรรพสินค้า

ประวัติศาสตร์ค้าปลีกของคนไทยเริ่มหันหน้าใหม่อีกครั้งในช่วงป
ี 2490 ซึ่งเป็นการถือกำหนด “ห้างเซ็นทรัล เทรดดิ้ง”
โดยการนำของ เตียง จิราธิวัฒน์ หรือ “เจ็งนี่เตียง” กับลูกชาย
สัมฤทธิ์ จิราวัฒน์ ซึ่งเริ่มแรกนั้น เตียง จิราวัฒน์ นั้น
เริ่มจากการตั้งร้าน “โชวห่วย” เล็ก ๆ นาม “เซ่งเส่งหลี”
ที่ค้าขายของเบ็ดเตล็ด ขายกาแฟ และอาหารตามสั่ง
แต่ที่มาของจุดกำเนิดของห้างสรรพสินค้าของคนไทยนั้น
เริ่มจากการที่สัมฤทธิ์ จิราวัฒน์
ได้ไปร่วมลงทุนธุรกิจกับเพื่อนในการสั่งหนังสือภาษาอังกฤษ
ซึ่งตกค้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่มีสภาพที่ใหม่โดยที่ทางผู้ขายได้ชั่งขายตามน้ำหนักเป็นกิโล
แต่ด้วยการมีหัวการค้าของสัมฤทธิ์ จิราวัฒน์
นำเอาหนังสือเหล่านั้นมาขายเป็นเล่ม แบบค้าปลีก
และได้ผลกำไรและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
โดยไปเช่าตึกแถวที่ถนนเจริญกรุง
บริเวณตรอกกัปตันบุชแล้วเปิดร้านใหม่ ในชื่อ
“ห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง” และเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ป้ายราคาติดกับสินค้าเพื่อให้ลูกค้าทราบ
ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
ว่าไม่มีการบวกราคาเกินจริง ซึ่งแสดงถึงความซื่อสัตย์
ยุติธรรมกับลูกค้า

ความสำเร็จของ “ห้างเซ็นทรัล”
ทำให้มีการก่อตั้งห้างสรรพสินค้าขยายไปในที่ต่าง ๆ
ที่ย่านเยาวราช ราชประสงค์ สีลม ย่านลาดพร้าว รามคำแหง
และได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งห้างสรรพสินค้าไทย”

จุดเปลี่ยนที่สำคัญ

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่งคือ
การร่วมมือทางธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์กับ
บริษัท เอส เอช วี โฮลดิ้ง
จากเนเธอร์แลนด์จัดตั้งศูนย์กลางการค้าส่งรูปแบบ
ทันสมัยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ในนาม “แม็คโคร”
ขึ้นเพื่อสนองตอบและช่วยเหลือร้านค้าประเภท “โชวห่วย”
ให้ได้มีแหล่งซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคไว้ครบครัน
ที่เป็นสินค้าจำเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตของคนไทย
ในปี พ.ศ. 2531

ปัจจุบันรูปแบบธุรกิจค้าปลีกพัฒนาเป็นหลายประเภทมากขึ้น โดยสามารถจำแนกธุรกิจค้าปลีกได้ตามลักษณะสินค้า
และการดำเนินงาน ดังนี้

1. ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (Tradition Trade)
หรือร้านโชวห่วยลักษณะร้านเป็นห้องแถว พื้นที่
คับแคบ ไม่มีการตกแต่งหน้าร้านมากมาย
สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค
การจัดวางสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่และไม่ทันสมัย
2. ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ประกอบด้วย
ห้าง / ร้าน ขนาดกลาง – ใหญ่

ออกแบบร้าน
และจัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่เพื่อความสวยงาม
และเป็นระเบียบ บริการทันสมัย
เพื่อดึงดูดลูกค้าใช้บริการมากขึ้น การดำเนินธุรกิจ
โดยใช้เงินลงทุนสูง
และระบบจัดการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น

ตำนาน “เซเว่น อีเลฟเว่น”

ร้านสะดวกซื้อนาม “เซเว่น อีเลฟเว่น”
ได้เปิดประวัติศาสตร์ร้านค้าปลีกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2470
เป็นร้านค้าปลีกเพื่อชุมชนในชื่อ บริษัท เซาท์แลนด์ไอซ์
(เซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น) ณ เมืองดัลลัส มณรัฐเท็กซัส
ประเทศสหรัฐอเมริกา
แรกเริ่มเดิมทีนั้นได้ดำเนินกิจการผลิต
และจำหน่ายน้ำแข็งซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
จนต้องขยายกิจการโดยนำสินค้าอุปโภคบริโภค
ประเภทนม ขนมปัง และไข่ เข้ามาจำหน่ายและเปลี่ยนชื่อร้านใหม่เป็น
ชื่อว่า โทเท็ม สโตร์ (Tote’m Store)
จึงถือว่าเป็นจุดกำเนิดร้านค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเป็นครั้งแรก
และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “เซเว่น อีเลฟเว่น”
เป็นครั้งแรกโดยนำเวลาในการเปิด –
ปิดจำหน่ายมาสื่อความหมายให้ลูกค้าได้รับทราบ คือ
7.00-23.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด

ปัจจุบัน เซเว่น อีเลฟเว่นได้ขยายปีสาขากว่า 24,000
ทั่วโลกและกลายเป็นสัญลักษณ์ของร้านสะดวกซื้อที่มีมาตรฐาน
การบริการที่ดีเยี่ยมและทรงประสิทธิภาพ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม
สินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
จนเป็นร้านสะดวกซื้อที่เป็นขวัญใจของชุมชน

เครือเจริญโภคภัณฑ์ผู้กำเนิด “เซเว่น อีเลฟเว่น”
ในเมืองไทยเครือซี.พี. มีความสนใจในเรื่องธุรกิจการตลาด
และการจัดจำหน่ายโดยเฉพาะเรื่องของการค้าปลีกและ
ค้าส่งซึ่งเครือซี.พี.มีความชำนาญในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง
และในการขยายธุรกิจของเครือ ซี.พี.
ทุกครั้งนั้นยึดหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
คือการผสมผสานความร่วมมือระหว่าง คน กับ เทคโนโลยี
อย่างสอดคล้องทั้งสามด้าน คือ กาลเวลา สถานที่
และประเภทสินค้า ต้องมี “เทคโนโลยี ตลาด และเงินทุน”
และธุรกิจที่ทำนั้นต้องตอบสนองผู้บริโภคเป็นสำคัญ
มีนโยบายสำคัญอีกข้อหนึ่งคือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ
เป็นเพราะวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
และไม่ปิดกั้นทางธุรกิจขององค์กร เครือ ซี.พี.
นั้นเห็นว่าถ้าองค์กรไหนที่มีเทคโนโลยีและเก่งเป็นที่ยอมรับ
และมีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ
เป็นบริษัทชั้นนำของโลก ดังนั้นการสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ คือ
กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย เครือ ซี.พี.
จึงได้ร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกและค้าส่ง
คือ บริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์
เพื่อจัดตั้งศูนย์การค้าส่งรูปแบบใหม่ครบวงจรในประเทศไทยในชื่อ
“แม็คโคร” ในชั่วเวลาไม่นานนัก แม็คโคร
กลายเป็นจุดสำคัญของร้านค้าปลีกย่อยหรือ “โชวห่วย”
ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตรอก ซอกซอย
ตรงเข้ามาจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เข้าสู่ร้านตน
เพราะมีสินค้าหลากหลายและมีราคาถูกอย่างที่เรียกกันว่า
ONE STOP SERVICE ทีเดียว

“เซเว่น อีเลฟเว่น” ได้ถือกำเนิดขึ้นในเมืองไทย
โดยที่เครือซี.พี.ได้ตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการ
ค้าปลีก (License) จากบริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น เซเว่น อีเลฟเว่น อิงค์)

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
และเริ่มเปิดดำเนินการสาขาแรกที่ถนนพัฒนพงศ์ กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2532 ภาระเร่งด่วนในการที่จะนำเซเว่นอีเลฟเว่นมุ่งสู่ความสำเร็จนั้นก็คือการสรรหาคนเก่งสู่องค์กร การขยายสาขา และ โฆษณาประชาสัมพันธ์เล็งเห็นความสำคัญของร้านค้าปลีก
ตามแหล่งชุมชนใกล้บ้านที่มีมาตั้งแต่อดีต
จึงนำธุรกิจแบบดั้งเดิมมาผสม
ผสานกับระบบการจัดการที่มีคุณภาพและทันสมัย
คุณก่อศักดิ์นั้น มีวิสัยทัศน์ในการบริการงานว่า
การทำงานกันเป็นทีมเท่านั้นถึงจะประสบความสำเร็จได้
โดยเฉพาะผู้บริหารเซเว่นฯ
ยึดหลักการบริหารแบบกระจายอำนาจไม่ผูกขาดอำนาจไว้ใน
มือของคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว
คุณสมบัติที่โดดเด่นประการหนึ่งของพนักงานทุกคน
ไม่ว่าระดับล่าง ระดับกลาง หรือระดับบน
จะต้องมีปฏิภาณไหวพริบในการค้าขายและรักงานบริการ
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เซเว่นอีเลฟเว่นนั้นได้รับการตอบรับ
เป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เป็นเพราว่าได้นำกลยุทธ์สำคัญ
ที่เน้นให้บริการแบบอบอุ่นและเป็นกันเองโดยหยิบยก
เอาวัฒนธรรมไทยในการไหว้และคำกล่าวทักทาย “สวัสดี”
เปิดการขายและปิดการขายด้วยการ “ขอบคุณ”
ทุกครั้งสร้างมิติใหม่ในการค้าของร้านสะดวกซื้อ
บริการ “เคาน์เตอร์เซอร์วิส”
เป็นแห่งแรกของประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวก
แก่ประชาชนในการชำระค่าสาธารณูปโภคทุกประเภท
ได้แก่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์
และบริการจากการผ่อนสินค้าและบริการต่าง ๆ
ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะทำให้ลูกค้านั้น
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ทั้งยังชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีการติดตั้งเครื่อง ATM
ไว้ที่ร้านสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป

ความสำเร็จขอเซเว่นอีเลฟเว่นนั้น
อาจจะกล่าวได้ว่าเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของพนักงานในทุกระดับ และการมีวิสัยทัศน์กว้างไกลของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับ
การพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาองค์กรควบคู่มาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น

- การสร้างค่านิยม 7 ประการ
- การคัดสรรสินค้าและการบริการคุณภาพ
สู่ประชาชนมาตรฐานการบริการที่เป็นหนึ่ง

- การมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
- โครงการสำหรับพัฒนาบุคลากรมากมาย
เช่น โครงการ Rewards Program
โครงการการศึกษาในระบบทวิภาคีการฝึกอบรมและ
พัฒนาบุคลากรประจำปี
- ตั้งชมรมที่ส่งเสริมให้พนักงานมีความรักในหมู่คณะ
เช่น ชมรมวรรณกรรม ชมรมดนตรีไทย พุทธปัญญาชมรม
ชมรมกอล์ฟ ชมรมหมากล้อม
- การปรับปรุงองค์กรเพื่อสู่ระบบมาตรฐานสากล
ตามระบบบริหาร
- คุณภาพ ISO 9002 : 2000 ทั่วทั้งองค์กร
ที่มุ่งสู่การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
หรือ Total Quality Management (TQM)
- การมีประสิทธิภาพในการกำกับดูแลกิจการ
- การบริหารความเสี่ยง
- โครงการเพื่อสังคมที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่ 1
ความพร้อมเพรียงและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
การกำหนดค่านิยม 7 ประการของ เซเว่น อีเลฟเว่น

หากจะกล่าวถึงปฐมบทของความสำเร็จขององค์กรนั้น
ทุกธุรกิจในโลกนี้ล้วนมีความเชื่อว่า “คน”
คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรและค้นหา
กรรมวิธีที่จะทำให้คนมากมายที่มาร่วมกันในองค์กรนั้น
รวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พลัง”
ขององค์กร ที่สามารถสร้างสรรค์และเป็นตัวขับเคลื่อน
ให้องค์กรนั้นประสบกับความสำเร็จที่มุ่งหวังองค์กร
ที่ดีนั้นต้องมี “ความเชื่อหรือค่านิยม”
พนักงานจึงจะสามารถเป็นกรอบที่ไม่ให้องค์กรนั้น
ปฏิบัติผิดทิศทาง “ค่านิยม 7 ประการ”

1. แกร่ง (Strength) คือ ความพยายาม มุ่งมั่น
ทำงานจนเกิดความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์

2. กล้า (Courage) คือ ความกล้าหาญในการทำงาน
โดยยึดหลักความมีคุณธรรม และจริยธรรม

3. สัจจะวาจา (Truth) คือ เป็นผู้มีวาจาสัตย์ มีความซื่อตรง
ในการปฏิบัติหน้าที่ เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง

4. สามัคคี (Harmony) คือ ร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน
มีความสมัครสมานและทำงาน
ร่วมกันด้วยความเบิกบาน
เพื่อประสานประโยชน์ให้เกิดแก่บริษัท

5. มีน้ำใจ (Generosity) คือ เป็นผู้มีน้ำใจ
ยินดีให้ความช่วยเหลือและมีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น
ด้วยความจริงใจ

6. ให้ความเคารพผู้อื่น (Respect) คือ เคารพต่อสิทธิ
ความคิดเห็น ให้เกียรติ และมีกิริยาวาจาที่
ดีต่อกัน ด้วยความจริงใจ

7. ชื่นชมความงามแห่งชีวิต (Appreciation) คือ
ตระหนักถึงคุณค่าในการดำเนินชีวิต มีความ
ชื่นชมในคุณค่าของงานศิลปะแขนงต่าง ๆ

กลยุทธ์ที่ 2
การขยายสาขาแบบเครือข่ายครอบคลุมทุกทิศทั่วไทย
หลักการที่สำคัญที่สุดของการดำเนินธุรกิจประเภท
ร้านสะดวกซื้อให้เติบโต
และเพิ่มยอดการขายให้สูงอย่างต่อเนื่องนั้น
หัวใจหลักก็คือต้องขยายสาขาออกไปมากที่สุด
และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การขยายสาขาของเซเว่นนั้นมีการบริหารอยู่ 3 รูปแบบคือ

1. ร้านที่บริษัทลงทุนเอง
2. การให้อนุญาตสิทธิ์ช่วง ที่เรียกว่า แฟรนไชส์ (Franchise)
3. การให้อนุญาตสิทธิช่วงในอาณาเขต (Sub – Area License)

กลยุทธ์ที่ 3
สินค้าและการบริการที่เป็นเลิศ
และต้องตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก
เป็นที่ทราบกันดีว่า เซเว่น อีเลฟเว่นนั้น
เป็นธุรกิจที่เน้นในด้านการจำหน่ายและ
บริการสินค้าอุปโภคและบริโภค
เป็นลักษณะของผู้ขายหรือผู้จำหน่ายมิใช่ผู้ผลิตโดยตรง
ถึงแม้จะมีสินค้าบางชนิดที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจของเครือ ซี.พี.
มาจำหน่ายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นก็ตาม ก็ถือว่าเป็นคู่ค้าปกติ
มิใช่เกี่ยวข้องหรือมีอภิสิทธิ์แต่อย่างใดในการพิจารณาคัดเลือก
สรรสินค้า ซึ่งเป็นนโยบายของเครือ ซี.พี.
และของบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น

สินค้าที่นำมาเข้ามาจำหน่ายในร้านเซเว่นนั้นต้องเป็นสินค้า
ที่มีคุณภาพดี มีความหลากหลาย
พร้อมให้บริการต่อลุกค้าทุกเพศทุกวัย
และไม่หวังผลกำไรจนเกินควร
และต้องมีมาตรฐานเท่าเทียมกัน

กลยุทธ์ที่ 4
คนคุณภาพและทำงานกันเป็นทีมแบบกระจายอำนาจ
นโยบายเซเว่น อีเลฟเว่น มีจุดเด่นที่กลายเป็นจุดแข็งขององค์กร
ที่ทุกคนในวงการธุรกิจการค้าในเมืองไทย
ต้องยอมยกนิ้วให้อีกจุดหนึ่งก็คง “คนคุณภาพ
และทำงานกันเป็นทีม”

กลยุทธ์ที่ 5
การสร้างองค์กรคุณภาพและการพัฒนาบุคลากร
ในกลยุทธ์ที่แล้วได้พูดถึงความมีคุณภาพของคน
การทำงานเป็นทีมและการกระจายอำนาจของเซเว่นฯ
สิ่งที่คู่กันไปกับกลยุทธ์ที่กล่าวมาคือ
กลยุทธ์ในการสร้างองค์กรคุณภาพ
ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนากระบวนการทำงาน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร
เพื่อการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

การที่เซเว่นฯ มีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนใน
การพัฒนาองค์กรที่มุ่งสู่การบริหารงาน
คุณภาพทั่วทั้งองค์กรนี้เอง
ที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เซเว่นฯ
เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
และทำให้องค์กรนาม ซี.พี. เซเว่น อีเลฟเว่น
กลายเป็นตัวอย่างขององค์กรที่ได้รับการกล่าว
ขวัญและยอมรับมาโดยตลอด

กลยุทธ์ที่ 6
การบริหารความเสี่ยงและระบบควบคุมที่ดี
ในวงการธุรกิจนั้นทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า เซเว่นฯ นั้น
เป็นผู้นำในด้านร้านสะดวกซื้อที่เป็นที่หนึ่งของประเทศ
ที่ยากจะมีใครลบสถิติได้ทั้งในด้านการเติบโต
ของสาขาซึ่งมีถึง 3,000 สาขาในช่วงเวลา 10 กว่าปี
ที่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจ

จากกลยุทธ์ในข้อนี้ ทำให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยเฉพาะลูกค้าและคู่ค้า รวมทั้งผู้ถือหุ้น
เกิดความเชื่อถืออย่างเต็มเปี่ยม
จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมที่ช่วยทำให้เซเว่นฯ
ก้าวไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว
สมดังความตั้งใจการทำงานที่บุกบั่นของเหล่าพนักงาน
ทุกระดับ และคณะผู้บริหารทุกคน
ที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาร้านสะดวกซื้อ
ของคนไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมระดับสากล
และเป็นองค์กรที่มั่นคงและมีคุณภาพตามที่ทุกคนต้องการ

กลยุทธ์ที่ 7
ผู้นำด้านเทคโนโลยีทีทันสมัย
ในท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง
ทางด้านเทคโนโลยีของโลกที่รวดเร็วเป็นอย่างยิ่ง
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20
ที่คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในทุกส่วนของโลก
ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา
การแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจ
จนมีคนกล่าวกันว่าธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นคือ “ธุรกิจไฮเทค”

ในด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การวางระบบร้านสาขา (Store System)
เพื่อรับข้อมูลการขายที่ร้านสาขาทั้งหมดด้วยการสแกน
บาร์โค้ด (Bar code) ณ จุดชำระเงินด้วย POS (Point of Sales)
ส่งข้อมูลตรงไปยังศูนย์ข้อมูล
ข้อมูลนี้ที่ได้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญที่ช่วย
ในการวิเคราะห์และบริหารสินค้าแบบรายตัว (Itemize)
ทำให้สามารถส่งสินค้าได้ถูกต้อง รวดเร็ว
ทันความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่

กลยุทธ์ที่ 8
การมีภาพลักษณ์ที่ดี
โลกแห่งการทำธุรกิจทุกประเภทนั้น ความเชื่อถือ
และยอมรับเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจนั้นเติบโต
และประสบความสำเร็จ ความเชื่อถือ
และยอมรับนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากภาพลักษณ์หรือ
ภาพพจน์ที่ดีขององค์กรนั้นมีส่วนสำคัญยิ่ง

เมื่อเซเว่น อีเลฟเว่น
ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการรูปลักษณ์ของร้านที่ทันสมัย
ความสะดวก สะอาด และปลอดภัย
รวมถึงการบริการที่ยอดเยี่ยม
การนำประเพณีวัฒนธรรมไทยในการทักทาย “สวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ” และการไหว้ การขอบคุณ
ก็โดนใจผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่งประกอบการ
จัดสินค้าที่มีคุณภาพ

กลยุทธ์ที่ 9
ระบบการขนส่ง ศูนย์กระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพช่วยเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจแบบเครือข่ายอันทรงพลังอย่างเซเว่น
อีเลฟเว่นนั้น สิ่งที่เป็นต้นทุนที่มีมูลค่ามหาศาลในแต่ละวัน
แต่ละเดือน และแต่ละปี คือ การขนส่ง
และศูนย์กระจายสินค้า หรือ ดีซี
ศูนย์กระจายสินค้าหลักของเซเว่นฯ ตั้งขึ้นที่ปทุมธานี
นครสวรรค์ และทั้งภูมิภาค เป็นศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ รองรับสินค้าที่ถูกส่งเข้ามาจากคู่ค้าเป็นจำนวนมหาศาล
ในแต่ละวันได้ถูกจัดเรียงเป็นระบบหมวดหมู่
ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่ 10
ความเป็นเลิศในด้านภาวะผู้นำ
มีนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า
“ไม่มีใครจดจำคนที่เข้าเส้นชัยเป็นที่สองหรอก”
คำกล่าวนี้ใช้ได้กับการแข่งขันในทุกรูปแบบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขันด้านธุรกิจ

เป็นองค์กรที่มีการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน
รวมถึงการมองหาโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
มีวิธีการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ
พร้อมทั้งติดตามวัดผลและทบทวนทิศทาง
ขององค์กรอย่างเป็นระบบ มีการมอบอำนาจให้กับผู้บริหาร
และพนักงานอย่างเหมาะสมส่งเสริมการเรียนรู้และ
การมีส่วนร่วมของพนักงาน
รวมทั้งการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

กลยุทธ์ที่ 11
การมีมาตรฐานและการบริการที่เป็นหนึ่ง
การดำเนินธุรกิจที่ดีและได้รับการยอมรับจากลูกค้า
ที่กลับมาใช้บริการจนกลายเป็นลูกค้าประจำหรือลูกค้าหลัก
นั้น มีสิ่งหนึ่งที่ลูกค้าทุกคนต้องการคือ การมีมาตรฐาน
และการบริการที่เป็นหนึ่ง

ในเซเว่นมีโครงการที่ชื่อว่า Rewards Program
เป็นโครงการสะสมความดีในรูปแบบของคะแนน
จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่บริษัทจัดขึ้น อาทิเช่น
กิจกรรมเพิ่มผลผลิต กิจกรรมเข้าเยี่ยมร้าน ฯลฯ
พนักงานจะมีกำลังใจที่จะรักษาความดีในการบริการ
และมาตรฐานและสามารถนำคะแนนไปแลกของรางวัล
ที่บริษัทฯ จัดให้ผลที่ได้จากการทุ่มเทเพื่อพนักงานของเซเว่น
อีเลฟเว่นนั้นกลายเป็นบรรทัดฐานที่เหล่าพนักงานมีความสุข
ในการทำงานและเป็นส่วนหนึ่งของเซเว่น อีเลฟเว่น

กลยุทธ์ที่ 12
การแสวงหาและสร้างธุรกิจใหม่ครบวงจร
ภายใจร้านเซเว่น อีเลฟเว่น รับจัดตั้งเคาน์เตอร์วิสรับชำระเงิน
ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
ค่าโทรศัพท์พื้นฐาน ค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่
อันเป็นการแบ่งเบาภาระและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
ไปชำระปกติที่ลูกค้าเคยต้องไปชำระตามที่ต่าง ๆ
รวมไว้ในที่เดียวกัน ตลอดจนสามารถชำระได้ 24 ชั่วโมง
และการติดตั้งตู้ ATM ไว้บริการลุกค้าและประชาชนทั่วไป

จากความสำเร็จในการจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ
ผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ต่อมาได้เกิดร้านบุ๊คสไมล์ตามลำดับ
ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่การขายที่ไม่สามารถ
จะขยายออกไปได้อีกในแต่ละสาขาจึงทำให้ผู้บริหาร
ค้นคิดวิธีที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ที่เพิ่มจำนวนขึ้น
ความมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจและการบริการ
ที่ไม่เคยหยุดของเซเว่นอีเลฟเว่น จากการที่มี
ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้านมากกว่า 2 ล้านคนต่อวัน
นับว่าเป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้าที่สำคัญของประเทศ
ทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก
เซเว่น อีเลฟเว่น จึงได้นำกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Digital
Purse) เข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยการใช้
Digital Purse แทนการใช้เงินสด
ซึ่งจะช่วยลดภาระในการถือเงินสด ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย
ปลอดภัยในการดูแลรักษา และส่งผลให้เกิดความแม่นยำ
และความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งในระบบการชำระเงิน
ของประเทศบริษัทไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด

การแสวงหา และสร้างธุรกิจใหม่ครบวงจร
ที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เซเว่น อีเลฟเว่น นั้นไม่เคยหยุดนิ่ง
ที่จะสรรหาสินค้า และการบริการใหม่ ๆ
มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาธุรกิจให้เกิดผลสูงสุดนั่นเอง

กลยุทธ์ที่ 13
การโฆษณา และประชาสัมพันธ์
สิ่งหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนิน
ธุรกิจสมัยใหม่นั้น ไม่มีใครจะปฏิเสธได้เลยว่า การโฆษณา
และประชาสัมพันธ์
คือแรงส่งและเป็นใบเบิกทางของความสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ

การโฆษณา และประชาสัมพันธ์ของเซเว่น อีเลฟเว่น
นั้นนับว่า ผู้บริโภคมีความเข้าใจ
และจดจำถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเซเว่น อีเลฟเว่น
เป็นเหมือนเพื่อนสนิทเพื่อนที่รู้ใจ
ที่อยู่ใกล้บ้านที่พร้อมจะบริการ 24 ชั่วโมง ด้วยรอยยิ้ม
และความประทับใจพร้อมด้วยสินค้าหลากหลายครบครัน

กลยุทธ์ที่ 14
การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเซเว่น อีเลฟเว่น นั้นเป็นองค์กรทางธุรกิจที่ต้องมีการดำเนิน
ธุรกรรมเกี่ยวข้องกับคู่ค้า
จำนวนมากทั้งในด้านการดำเนินขยายสาขา
การคัดสรรสินค้า และการบริการที่นำจำหน่าย
ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น อีกทั้งช่องทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ
จึงจำเป็นในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง

สำนักแฟรนไชส์ ที่มีหน้าที่ดูแลร้านแฟรนไชส์ของเซเว่น
อีเลฟเว่น ที่มีผู้ร่วมเข้าดำเนินธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของเซเว่น
อีเลฟเว่น ที่ต้องคอยให้คำแนะนำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
พร้อมอำนวยความสะดวกตลอดเวลา สำนักธุรกิจสัมพันธ์

กลยุทธ์ที่ 15
การมีเป้าหมายอย่างชัดเจน
เซเว่น อีเลฟเว่น มุ่งมั่นค้นหา และตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต โดยเน้นความสะดวกซื้อ
และบริการที่เป็นเลิศ ด้วยเครือข่ายที่ครอบคลุม
และมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่ 16
รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ยอมรับ และแก้ไข
กลยุทธ์นี้เป็นสิ่งสำคัญของทุกองค์กรในการทำธุรกิจทีเดียว
โดยเฉพาะเซเว่น อีเลฟเว่น นั้นเป็นภาคธุรกิจที่เน้นในการจำหน่ายสินค้า
และการบริการที่ต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการชื่นชอบ
การเลือกซื้อหาสินค้าที่ต้องการในช่วงเวลานั้น ๆ

เซเว่น อีเลฟเว่น นั้นถึงแม้จะประสบความสำเร็จ
ในการดำเนินธุรกิจแต่ด้วยความใส่ใจในทุกปัญหาของลูกค้า
และความต้องการของลูกค้า จึงได้จัดให้มีศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์
หรือCall Center ที่ให้บริการ 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ
ในกรณีที่ลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกในการบริการ
หรือคุณภาพของสินค้า หรือต้องการเสนอแนะความคิดเห็น
ข้อสงสัยในการให้บริการของเซเว่น อีเลฟเว่น
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เบอร์ 0-2631-2345

บทสรุปความสำเร็จ
ของเซเว่น อีเลฟเว่นในวันนี้
เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นผู้ดำเนินธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ
7-Eleven โดยได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (exclusive)
7- Eleven .Inc. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531
ให้ประกอบธุรกิจและมอบสิทธิช่วง
ภายใต้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” ในประเทศไทย
โดยบริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ 7-Eleven .Inc.
เป็นอัตราร้อยละของยอดขายที่ได้รับจากร้าน 7-Eleven
โดยลักษณะของร้าน 7-Eleven
ส่วนใหญ่จะให้บริการจำหน่ายสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง
เน้นความสะดวกสบาย
และความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า

บริษัทมียอดขายสุทธิ ของร้านค้าสะดวกซื้อ
เท่ากับ 30.165 ล้านบาท และ 19,585 ล้านบาท สำหรับปี 2545
และงวดหกเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2546 ตามลำดับ
ในช่วงปี 2543 – 2545
ธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อของบริษัทมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
จำนวนร้าน 7-Eleven เพิ่มขึ้นเป็น 239 สาขาต่อปี
โดย ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2546 มีร้าน 7-Eleven
อยู่ทั่วประเทศทั้งสิ้น 2,242 สาขา
ซึ่งครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดของประเทศไทย
หรือประมาณร้อยละ 40 ของอำเภอทั้งหมด

สินค้าที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ทุกสาขา
เป็นสินค้าที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกเพื่อให้ได้สินค้า
ที่ดีมีคุณภาพ ได้มาตรฐานที่กำหนด
และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
ในแต่ละชุมชม ซึ่งสามารถแบ่งประเภทสินค้าที่มี
ประมาณ 5,000 กว่าชนิด ออกเป็น 2 ประเภท คือ

- สินค้าอุปโภค (Non-Food) และสินค้าบริการ (Service)
สินค้าอุปโภคได้แก่ ของใช้ส่วนตัว ของใช้ในครัวเรือน
บัตรโทรศัพท์ ฟิล์ม เป็นต้น
ในขณะที่สินค้าบริการดำเนินการโดยบริษัทย่อย
ของบริษัทที่เรียกว่า “เคาน์เตอร์ เซอร์วิส” ได้แก่
การเป็นตัวแทนรับชำระค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ประปา ค่าโทรศัพท์
ค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ
ตลอดจนการจำหน่ายตั๋วประเภทต่าง ๆ
โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 มีร้าน 7-Eleven
จำนวน 2,134 สาขา เปิดให้บริการดังกล่าว
ซึ่งช่วยให้การประกอบธุรกิจของร้าน 7-Eleven
ครบวงจรมากขึ้น
และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
ในรอบปี 2545 สินค้าอุปโภค
และสินค้าบริการคิดเป็นยอดขายประมาณร้อยละ 40
ของยอดขายรวม

- สินค้าบริโภค (Food and Beverage)
สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ก. อาหารจานด่วน และอาหารพิเศษ (Fast Food & Special
Items) ซึ่งสินค้าบางส่วนจะมีตราสินค้าหรือยี่ห้อ (Brand
Name) สำหรับวางจำหน่ายเฉพาะภายในร้าน 7-Eleven
เท่านั้น เช่น น้ำปั่นเกล็ดน้ำแข็ง “Slurpee” น้ำอัดลม “Big
Gulp” ไส้กรอก “Big Bite” เป็นต้น

ข. อาหารสำเร็จรูป และกึ่งสำเร็จรูป (Processed Food) เช่น
ขนมขบเคี้ยว ลูกอม เป็นต้น

ค. เครื่องดื่ม (Beverage) ในรอบปี 2545
สินค้าบริโภคคิดเป็นยอดขายประมาณร้อยละ 60 ของยอดขายรวม
ทั้งนี้ เซเว่นฯ ตั้งเป้าหมายในการวางตำแหน่งร้าน 7-Eleven
ให้เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่เน้นให้บริการอาหารปรุงสำเร็จ
และเครื่องดื่มครบวงจร (Convenience food store)
ซึ่งเน้นการขายสินค้าบริโภคมากกว่าสินค้าอุปโภค
เนื่องจากสินค้าบริโภคโดยทั่วไปจะมีอัตราผลตอบแทน
ที่สูงกว่าสินค้าอุปโภคและเป็นการวางตำแหน่งของร้าน
7-Eleven ให้แตกต่างจากร้านค้าปลีกประเภทอื่น ๆ
โดยบริษัทคาดว่าจำนวนรายการสินค้า
(Stock Keeping Unit ( “SKU”))
ประเภทบริโภคจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากประมาณ
ร้อยละ 70 ในปัจจุบัน

ใน ปี 2545 เซเว่นฯ ได้ปรับปรุงวิธีการสั่งซื้อสินค้าทาง
Catalog โดยได้เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อ
“7-Catalog” ขึ้นโดย 7-Catalog คือ บริการใหม่ของบริษัท
เป็นแคตตาล็อกที่รวมสินค้ากว่า 5,000 รายการ
ซึ่งเป็นสินค้าที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดี
ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าลูกค้าสามารถสั่งซื้อ
และรับสินค้าในแคตตาล็อกได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่ร้าน 7-Eleven ใกล้บ้านกว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ
ช่วยลูกค้าประหยัดเวลาในการเดินทางและเพิ่มความสะดวก
สบาย สามารถรับสินค้าได้ภายใน 3 วัน
สำหรับการสั่งซื้อของลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
และภายใน 5 วันสำหรับลูกค้าในต่างจังหวัด
ซึ่งสินค้าภายใต้โครงการ 7-Catalog
ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคซึ่งมีความหลากหลาย
มากกว่าสินค้าที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ทั่วไป

นอกจากนี้ ตั้งแต่ปลายปี 2544 เซเว่นฯ
ได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจค้าปลีก
โดยการเปิดร้านจำหน่ายหนังสือ
สื่อสิ่งพิมพ์พร้อมด้วยอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคส์ เครื่องเขียน
สื่อสาระความบันเทิงต่าง ๆ เช่น เทปเพลง ซีดี วีดีโอ
วีดีทัศน์ต่าง ๆ รวมทั้งการทำธุรกรรม E-Business ในอนาคต
ภายใต้ชื่อร้าน Book Smile (เดิมชื่อร้าน 7 – Today) โดยร้าน
Book Smile มีการออกแบบตกแต่งอย่างทันสมัย
ตั้งอยู่ในเขตชุมชนหรือห้างสรรพสินค้า
มีขนาดพื้นที่เฉลี่ยเท่ากับ 50 – 100 ตารางเมตร
มีสินค้าประมาณ 3,000 ถึง 5,000 รายการ ณ วัน
วันที่ 30 มิถุนายน 2546 มีร้าน Book Smile
ทั้งสิ้น 21 ร้านและปัจจุบันในเดือนมีนาคมมีร้านกว่า 80 ร้าน

การบริหารการตลาดและภาวการณ์แข่งขัน

ลักษณะลูกค้า
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเซเว่นฯ คือ
ประชาชนทั่วไปตามแหล่งชุมชนหรือสถานที่ทำงาน
ที่ต้องการซื้อสินค้าด้วยความสะดวกรวดเร็ว
และเนื่องจากเซเว่นฯ ได้เริ่มดำเนินการเปิดร้านค้าสะดวกซื้อ
7-Eleven ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทจึงได้ขยายตัวกว้างขึ้น
โดยรวมไปถึงคนใช้รถ และคนเดินทาง
ที่แวะเข้าไปใช้บริการในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.
โดยเฉลี่ยแล้วจะมีลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าในร้าน 7-Eleven
ทั่วประเทศประมาณวันละ 2 ล้านคน
และยอดซื้อเฉลี่ยต่อคน ประมาณ 50 บาทต่อครั้ง

นโยบายราคา
เซเว่นฯ เป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกของสินค้าในร้าน
7-Eleven
โดยใช้ราคาขายปลีกที่กำหนดโดยผู้ผลิตสินค้าระดับ
ความต้องการของลูกค้าและภาวการณ์แข่งขันเป็นเกณฑ์
โดยมีสินค้าบางประเภทถูกควบคุมจากหน่วยงาน
ของราชการ เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช ข้าวสาร เป็นต้น
ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อนขึ้นราคา
อย่างไรก็ตาม เซเว่นฯ เชื่อว่านโยบายการควบคุม
ราคาสินค้าดังกล่าวไม่มีผลกระทบที่เป็นนัยสำคัญต่อยอดขายของเซเว่นฯ
นอกจากนี้ บริษัทได้ซื้อสินค้าเซเว่นทั้งหมดจากผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายในประเทศ ทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินบาทอย่างมีนัยสำคัญ
และเท่าที่ผ่านมาการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในร้าน
7-Eleven อยู่ในระดับใกล้เคียงกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ

ค่าใช้จ่ายทางการตลาด
ค่าใช้จ่ายทางด้านการส่งเสริมการตลาด เช่น ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการขาย
โดยเฉลี่ยคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.75 ของยอดขายต่อปี
ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการโฆษณาทางโทรทัศน์
เพราะเป็นสื่อที่ครอบคลุมเป้าหมายได้มากที่สุด
ทั้งนี้การส่งเสริมการตลาดประกอบไปด้วยการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพพจน์ให้ร้าน 7-Eleven
เป็นร้านค้าสะดวกซื้อที่ทันสมัย ปลอดภัย
และเอื้ออำนวยความสะดวกในการบริการสินค้าต่าง ๆ
ให้กับชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง
และการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายและสื่อสาร
ให้ลูกค้าทราบถึงสินค้าที่มีจำหน่ายอยู่ในร้าน
โดยการใช้แผ่นใบปลิวโฆษณารวมทั้งการให้คูปองส่วนลด
และการแจกของแถม เป็นต้น ทั้งนี้
บริษัทใช้กลยุทธ์แผ่นใบปลิวโฆษณาแจกจ่าย
ตามแหล่งชุมชนนั้น ๆ เพื่อแจ้งข่าวสารไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

จุดแข็งที่เซเว่นฯ เหนือกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไป

(1) ทำเลของร้าน 7-Eleven ร้าน 7-Eleven
ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีที่มีผู้คนสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก
การเลือกทำเลที่เหมาะสมในการเปิดร้านช่วยให้บริษัท
สามารถนำเสนอความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า
ให้แก่ลูกค้า และทำให้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven
เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภค

(2) ระบายการกระจายสินค้า เซเว่นฯ
มีศูนย์กระจายสินค้าหลักที่ทันสมัยเป็นของตนเอง
ทำให้สามารถจัดการและควบคุมการกระจายสินค้า
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ร้าน 7-Eleven
มีสินค้า ที่มีคุณภาพสดใหม่อยู่เสมอ
พอเพียงต่อความต้องการของลูกค้า
และไม่ต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้มากเกินความจำเป็น

(3) ความพร้อมของทีมผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูงของเซเว่นฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ
ในธุรกิจค้าปลีกโดยผู้บริหารได้นำเอาระบบการบริหารจาก
7-Eleven, Inc. ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มาประยุกต์รวมกับระบบที่พัฒนาขึ้นเองให้เข้ากับสภาพตลาด
ในประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้บริหารของเซเว่นฯ
ยังมีบทบาทสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ 7-Eleven, Inc
. และตัวแทน 7-Eleven จากประเทศต่าง ๆ
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ กลยุทธ์ทางการตลาด
การจัดร้าน และอื่น ๆ

(4) ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เซเว่นฯ
มีระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยโดยแต่ละร้านจะสรุปยอดขาย
เป็นรายวันและระดับสินค้าคงคลังเป็นรายเดือน
และรายงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ไปยังสำนักงาน
ใหญ่ทำให้สำนักงานใหญ่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ในการคัดสรรสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

(5) เครือข่ายร้าน 7-Eleven ที่ครอบคลุม จากการที่บริษัทมีสาขาของร้าน 7-Eleven
ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางและมีระบบสารสนเทศ
ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างร้าน 7-Eleven
กับสำนักงานใหญ่และศูนย์กระจายสินค้า
ทำให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายดังกล่าว
ในการเพิ่มรูปแบบของการขายสินค้าและ
การให้บริการใหม่ ๆ เช่น บริการการเป็นตัวแทนรับชำระค่าสินค้า
และบริการของเคาน์เตอร์เซอร์วิส การสั่งซื้อสินค้าทาง
7-Catalog เป็นต้น ซึ่งการขายสินค้าและการให้บริการต่าง ๆ
เหล่านี้เป็นส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้กับร้าน 7-Eleven
และช่วยให้มีจำนวนลูกค้าเข้าร้าน 7-Eleven มากขึ้น

ภาวะธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยในช่วย
5 – 6ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยเฉพาะในส่วน
ของโครงสร้างของผู้ประกอบการและรูปแบบการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรง
และความต้องการที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีทางเลือกมากขึ้น
ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนโครงสร้างของผู้ประกอบการ
ในลักษณะดั้งเดิม (Traditional Trade)
ปรับตัวลดลงจากประมาณร้อยละ 84
ของผู้ประกอบการค้าปลีกที่อยู่ในระบบภาษีในปี 2542
มาอยู่ที่ร้อยละ 81 ในปี 2545
ในขณะที่ผู้ประกอบการในลักษณะ Modern Trade
มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 19

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเป็นธุรกิจค้าปลีกประเภทหนึ่ง
ที่ในอดีตมีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
เป็นผลให้ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
และเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันทั้งในรูปแบบ
ของการขยายสาขากลยุทธ์ส่งเสริมการขาย
การปรับสัดส่วนสินค้าและบริการภายในร้าน
ให้มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการ
ของลูกค้ามากขึ้น โดยในระยะ 4 – 5 ปีที่ผ่านมา
ผู้ประกอบการหลายรายได้ปรับปรุงร้านค้า
เป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade)
ทั้งในรูปแบบของร้านค้าอิสระ และการเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์์์์ รวมไปถึงมีการปรับเปลี่ยนและผสมผสานสินค้าที่มีอยู่ภายในร้าน
เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้อุปโภคและบริโภคมากขึ้น

จากภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบ
ต่อผู้ค้าปลีกรายย่อย เป็นผลให้ภาครัฐได้เริ่มเข้ามาจัดระบบด้านค้าปลีกอย่างจริงจัง
และให้การสนับสนุนผู้ค้าปลีกรายย่อยให้สามารถปรับตัว
และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้สามารถอยู่รอดได้
ในลักษณะของการให้คำแนะนำ การให้ความรู้ เช่น
การจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดตั้งบริษัท
รวมค้าปลีกเข็มแข็ง จำกัด (บริษัทเออาร์ที)
เพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้มีความสามารถ
ในการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งในด้านการช่วย
เหลือทางการจัดการบริการ การจัดซื้อสินค้า เป็นต้น
โดยบริษัทเออาร์ทีจะคัดเลือกสมาชิกรายที่มีคุณสมบัติ
ความพร้อมมาพัฒนาเป็นเครือข่ายร้านค้าปลีก
ภายใต้ชื่อเออาร์ที ซึ่งหากมาตรการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวประสบผลสำเร็จ
ความสามารถในการแข่งขันของผู้ค้าปลีกรายย่อย
จะเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ภาครัฐยังได้มีมาตรการเข้ามาควบคุม
และจัดระเบียบธุรกิจค้าปลีกเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภคทั้งในส่วนของ
มาตรการออกเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาด
การพิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์ด้านผังเมือง
ในเรื่องค้าปลีกค้าส่ง โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดโชนในการอนุญาตก่อสร้าง
อาคารพาณิชยกรรมค้าปลีกค้าส่ง
ให้มีความเหมาะสมและเป็นระบบมากขึ้น เป็นต้น

จากการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกโดยรวมที่รุนแรงขึ้น
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งขยายสาขาอย่างรวดเร็ว
ของกิจกรรมค้าปลีกขนาดใหญ่โดยเฉพาะประเภทซูปเปอร์เซ็น
เตอร์ที่มีเงินทุนสูงอีกทั้งมีระบบบริหารจัดการที่ทันสมัย
อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่ในทำเลที่ดีเริ่มหายาก
ขึ้นรวมไปถึงภาครัฐเริ่มเข้ามาควบคุมผู้ค้าปลีกรายใหญ่มากขึ้น
จึงทำให้ผู้ประกอบการเริ่มมีการปรับรูปแบบและขนาด
ของร้านให้มีความเหมาะสมและสามารถเข้าถึงชุมชนได้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากมีการทดลองเปิดร้านในรูปแบบใหม่ ๆ
ทั้งที่มีขนาดเล็กลง โดยเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างร้านค้าสะดวกซื้อ
และซุปเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของ Discount
Store ย่อขนาด โดยมีขนาดที่เล็กลงและมีสัดส่วนสินค้า
House Brand มากขึ้น ทั้งนี้ร้านค้าในรูปแบบใหม
่เหล่านี้กำลังอยู่ในช่วงทดลองและดูการตอบรับของผู้บริโภค

การกระจายสินค้า
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 เซเว่น ฯ
ได้ดำเนินการศูนย์กระจายสินค้าหลักจำนวน 4 แห่ง
สำหรับจัดเก็บ และกระจายสินค้าทั่วไป (Dry Goods)
และสินค้าอาหารสดเพื่อให้บริการร้าน 7 – Eleven
ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง (DC บางบัวทอง)
เป็นศูนย์กระจายสินค้าหลักของบริษัทซึ่งใช้เก็บ
และกระจายสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค
ทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2545 ที่ผ่านมาบริษัทได้ลงทุนขยายศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง
เพื่อเพิ่มกังการเก็บและกระจายสินค้าจากเดิมที่รองรับ
ได้ประมาณ 2,000 สาขา เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2,800 สาขา
เพื่อรองรับการขยายกิจการในอนาคต

2. ศูนย์กระจายสินค้าโชคชัยร่วมมิตร (DC โชคชัยร่วมมิตร)
เป็นศูนย์กระจายสินค้าที่บริษัทเขาจากบุคคลภายนอก
ใช้เก็บและกระจายสินค้าประเภทสิ่งพิมพ์สำหรับ
พื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

3. ศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิขอนแก่น
(CDC ขอนแก่น)
ใช้เก็บและกระจายสินค้าประเภทอาหารสด
เช่น นมพาสเจอร์ไรส์
สำหรับพื้นที่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

4. ศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิบางบัวทอง
(CDC บางบัวทอง)
ใช้เก็บ และกระจายสินค้าประเภทอาหารสด
เช่น นมพาสเจอร์ไรส์ สำหรับพื้นที่ในเขตกรุงเทพ ฯ
และปริมณฑล และต่างจังหวัดในรัศมีประมาณ 200
กิโลเมตรจากกรุงเทพ ฯ

ในปัจจุบัน ศูนย์กระจายสินค้าหลักทั้ง 4 แห่ง
รับผิดชอบในการรับสินค้าจากตัวแทนจำหน่าย
และส่งสินค้าให้กับร้าน 7 – Eleven
ประมาณร้อยละ 90 ของมูลค่าซื้อทั้งหมด
ส่วนที่เหลือเป็นสินค้าที่ถูกส่งตรงโดยตัวแทนจำหน่าย
ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนการรับส่งสินค้าผ่านศูนย์กระจาย
สินค้าช่วยให้บริษัทสามารถบริหารสินค้าคงเหลือ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นดังจะเห็น
ได้จากระยะเวลา .. สินค้าเฉลี่ยที่ลดลงตามลำดับ

เซเว่น อีเลฟเว่น ในวันนี้ได้ผ่านบทพิสูจน์แล้วว่า
ร้านสะดวกซื้อที่เป็นของคนไทย
และบริหารงานโดยคนไทยร้อยเปอร์เซนต์นั้นสามารถ
ที่จะมีมาตรฐาน และการบริการที่ทัดเทียมกับระดับสากล
โดยการร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว
และการบริหารงานที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
เดินสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างชัดเจนไม่หวั่นไหว
แม้จะเกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ
หรือผลกระทบที่เกิดจากเศรษฐกิจของบ้านเมือง
หรืออุบัติภัยทางธรรมชาติยามเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ
ต้องรีบปรับปรุงแก้ไข
และให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีเต็มความสามารถ

ถึงแม้ว่าวันนี้เซเว่นอีเลฟเว่นจะได้รับการยอมรับ
ในสถาบันต่างๆ และในภาคธุรกิจถึงการเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
และระบบการบริหารจัดการที่ดีเชื่อว่า
เซเว่นอีเลฟเว่นคงไม่หยุดที่จะสร้างสรรค์ พัฒนาสินค้า
และการบริการที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อตอบสนองลูกค้า
และอำนวยความสะดวกในทุกวิถีทางที่จะทำให้คนไทย
มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สุดกำลังความสามารถตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด
จนถึงพนักงานทุกคน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เริ่มแรก
ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดจนถึงพนักงานทุกคน
ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เริ่มแรก

ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)
อย่างแน่นอน ดังสารจากประธานกรรมการบริหาร
และประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)
ที่พิมพ์ในหนังสือของเซเว่น อีเลฟเว่นที่ว่า

“ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีไทย
คงไม่มีคำกล่าวใดที่เหมาะสมกว่าคำว่า
ขอบคุณเป็นอย่างสูง ต่อลูกค้า ผู้ร่วมค้า
และผู้ถือหุ้นของเราที่ได้ให้การสนับสนุนและเชื่อถือ
ในมาตรฐานการบริการ และทำให้เราได้รับการตอบรับอย่างดีจากทุก ๆ ฝ่าย

วันนี้เราจะเดินหน้าต่อไปด้วยก้าวใหม่ที่มั่นคงยิ่งขึ้น
โดยมุ่งมั่น พัฒนาคุณภาพสินค้า
และบริการเพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้าของเรา

ผมขอขอบคุณต่อผู้มีอุปการคุณอีกครั้ง
ความไว้วางใจของท่าน คือกำลังสำคัญที่ทำให้เรามุ่งมั่น
พัฒนาคุณภาพของ ซี. พี. เซเว่น อีเลฟเว่น
ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อดำรงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป”
________________________________________________--

ผมเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทฯ
จึงศึกษาค้นคว้านำมาเก็บไว้เป็นเกียรติประวัติ
มิได้มีจิตเจตนา หากำไร จากข้อความเหล่านี้


_________________________________________________________

ปีที่ 59 ฉบับที่ 18385 วันศุกร์ ที่ 23 พฤษภาคม 2551


กดจตุคาม
นายธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าสัวใหญ่บริษัท ซี.พี.
เป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกเทวาภิเษก
และกดนำฤกษ์องค์จตุคามรามเทพ รุ่น “ดอนเศรษฐี”
มีนายยืนยง โอภากุล หรือแอ๊ด คาราบาว
เป็นประธานดำเนินการจัดสร้าง ที่สนามกอล์ฟโบนันซ่าเขาใหญ่
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา.
//www.thairath.co.th/newspic.php?cat=1011&id=6530
_______________________________________________________






Create Date : 04 พฤษภาคม 2551
Last Update : 20 มกราคม 2552 22:37:56 น. 3 comments
Counter : 14605 Pageviews.  
 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

แฉฮวงจุ้ย 7 eleven

ในโลกของเศรษฐกิจทุนนิยม “การแข่งขัน”
ถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการตัดสินชี้เป็นชี้ตาย
เพราะในความเป็นจริงผู้ที่อยู่รอด คือ ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด
และเป็นธรรมดาสำหรับการไม่มีที่ยืนให้ผู้แพ้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
ผมจำได้ว่าเคยสัญญาลงในคอลัมน์ว่าจะนำเรื่องฮวงจุ้ยของ 7 eleven
มาฉายให้ฟัง ผ่านมาก็พอสมควรจนเกือบจะลืมไปแล้ว
แต่ดีที่มีผู้อ่านอีเมลมาทวงสัญญา ครั้งนี้จึงหนีไม่ออก
ต้องนำมาถ่ายทอดให้ฟังตอบแทนความกรุณาที่ผู้อ่านเตือนมา


7 eleven ดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของ “ร้านสะดวกซื้อ”
จนปัจจุบัน 7 eleven
กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนทุกแห่งหนชนชั้นไปแล้ว
คำว่า “ส่วนหนึ่งของชีวิต” เป็นคำที่พูดง่ายเพราะมีแค่ 5 พยางค์
แต่คำๆ นี้กลับยิ่งใหญ่มากในความรู้สึกของนักการตลาด

เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดของ 7 eleven
ที่ยึดครองทุกพื้นที่ในประเทศไทย
ทำให้ร้านโชห่วยที่เป็นวัฒนธรรมของคนไทย
เชื้อสายจีนต้องบาดเจ็บกันระนาว บ้างก็ล้มตายไปก็มี

นอกจากจะเป็นเรื่องการจัดการที่ดีแล้ว
เรื่องของฮวงจุ้ยก็มีส่วนสำคัญมากในการเจริญเติบโตของ 7 eleven


ฮวงจุ้ยที่ทำให้เจริญเติบโตสิ่งแรก คือ โลโก้
เพราะเป็นสิ่งที่ชี้นำการตกแต่งร้านได้ ชี้นำอย่างไรต้องอ่านต่อครับ

โลโก้ของ 7 eleven ประกอบไปด้วย 3 สี 3 ธาต

ุ คือ เขียว (ธาตุไม้)
ส้ม (ธาตุไฟ)
ขาว (ธาตุดิน)

ธาตุทั้งสามนี้เกื้อหนุนกัน คือ
ไม้ส่งเสริมไฟ
ไฟส่งเสริมดิน
อ่านตามความหมายการดำเนินธุรกิจได้ดังนี้
ธาตุไม้ คือ เครื่องอุปโภคบริโภค
ธาตุไฟ คือ การกระตุ้นให้เจริญเติบโต
ดิน คือ มั่นคง แข็งแรง

การตกแต่งสีภายในร้านจึงใช้สีของธาตุสุดท้ายที่ส่งเสริม
คือ สีขาว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อความมั่นคง เจริญก้าวหน้าของธุรกิจ

เรื่องชื่อก็มีส่วนสำคัญมากเช่นกัน 7 eleven
เขียนเป็นตัวเลขได้ 7 กับ 11
ถ้าวิเคราะห์ตามหลักของฮวงจุ้ยไทยแล้ว
เลข 7 คือ ดาวเสาร์ ธาตุไฟ
เลข 11 คือ พระอาทิตย์ ธาตุไฟเช่นกัน
เพราะฉะนั้นสิ่งที่นำมาใช้ตกแต่งร้านตามโลโก้ คือ ธาตุไฟ

สังเกตดูซิครับ ว่าสิ่งที่ทำให้ 7 eleven
โดดเด่นกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไป
คือ ร้านสีขาวที่ประดับไฟไว้อย่างอลังการงานสร้าง
โดดเด่นทุกมุมมอง แม้แต่ตอนกลางวัน
ก็ไม่ได้เบาไฟลงเลยแม้แต่น้อย

ส่วนที่สอง คือ การเปิดประตูมังกร
สังเกตดูร้อยละ 90 ของ 7 eleven จะเปิดประตูมังกร
ทีนี้สังเกตอย่างไรจึงจะเป็นมังกร
คนจีนเชื่อว่าถ้าหันหน้าออกนอกบ้านประตูอยู่ซ้ายมือ
หันเข้าบ้านประตูอยู่ขวามือประตู นั่นคือ ประตูมังกร
จะส่งเสริมเรื่องของการค้า ธุรกิจ ให้เจริญก้าวหน้าร่ำรวย
เพราะมังกรคือสัตว์มงคลของชาวจีน

ความเชื่อเรื่องของมังกรเขียวและเสือขาว
ได้รับอิทธิพลมาจาก หยิน หยาง ของลัทธิเต๋า
ที่มีความเชื่อว่า สิ่งที่เคลื่อนไหวต้องอยู่คู่กับความนิ่งเฉย
มังกรเขียวคือการเคลื่อนไหว เสือขาวคือความนิ่งเฉย

ควรมีสองสิ่งอย่าง “สมดุล” กัน ไม่ให้มีมากหรือน้อยจนเกินไป
ถ้าเปิดประตูฝั่งหนึ่งควรปิดอีกฝั่งหนึ่ง ไม่ควรเปิดประตูไว้สองฝั่ง
เพราะคนจีนมีความเชื่อที่ว่าถ้ามีความเคลื่อนไหวมากเกินไป
จะเก็บทรัพย์ไว้ไม่อยู่

จะว่าไป ความเชื่อนี้ตั้งอยู่บนหลักการวิทยาศาสตร์
เพราะถ้าสมมติว่าเปิดประตูทั้งสองด้าน
เราจะไม่สามารถควบคุมสอดส่องดูแลมิจฉาชีพ
ที่มาจ้องขโมยสินค้าของเราไปได้
ถ้าของที่เราค้าขายเกิดหายไปวันละนิดวันละหน่อย
เท่ากับว่าเราค้าขายเท่าไหร่ก็ไม่มีกำไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับการเก็บทรัพย์ไม่อยู่นั่นเอง

การเปิดประตูมังกรของ 7 eleven มีนัยอีกอย่าง
คือประตูอยู่ด้านขวาเมื่อมองเข้าไป
เท่ากับว่าจะทางร้านจะมีพื้นที่ให้โฆษณาแคมเปญ
หรือสินค้าทั้งหลาย เมื่อใครที่เดินผ่านจากขวาไปซ้าย
จะมีเวลาให้ตัดสินใจซื้อสินค้า ดูแคมเปญโปรโมชั่นต่างๆ
และพิจารณาว่าขาดเหลืออะไรก่อนที่จะผ่านประตูทางเข้า
เป็นการใช้จิตวิทยาสำหรับการขายสินค้า

ขอเสิร์ฟแค่ออร์เดิร์ฟก่อนนะครับ
เดี๋ยวเมนคอสจะตามมาครั้งหน้าครับ

กฤษณนัยย์ พิยารังสรรค์
//www.bangkokbiznews.com/2007/07/16/WW72_7201_news.php?newsid=84012
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:31:54 น.  

 
 
 


ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น
เป็นร้านสะดวกซื้อที่คนเมืองคุ้นเคย เพราะเปิดบริการ
ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันไม่มีวันหยุด ในยุคแรกๆ ร้านเซเว่นฯ
เปิดบริการในช่วงเวลา 07.00 น. - 23.00 น. (7 a.m.-11 p.m.) เท่านั้น
จึงเป็นที่มาของชื่อร้าน 7-ELEVEn

เครื่องหมายการค้าดูให้ดี จะเห็นว่าอักษรภาษาอังกฤษ
ในคำว่า ELEVEn นั้น เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
ยกเว้นเพียง “ตัวเอ็น” ที่เป็นตัวพิมพ์เล็ก
โดยมีเรื่องเล่าถึงที่มาของเรื่องนี้ว่า

โลโกดังกล่าวถูกออกแบบตามหลักเรื่องตัวเลขของ “ฮวงจุ้ย”
โดยอักษรเอ็นตัวเล็ก มีรูปร่างและทำหน้าที่เหมือนกับแม่เหล็ก
เพื่อคอยดูดโชคลาภและเงินทอง

เซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นบริษัทที่ให้บริการร้านสะดวกซื้อ
ที่มีสาขามากที่สุดใน 20 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ
ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ แคนาดา นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก
เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง
มาเลเซีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ เปอร์โตริโก
แอฟริกาใต้ โดย 7-ELEVEn
เคยไปเปิดตัวที่อังกฤษและไอร์แลนด์ในช่วงทศวรรษที่ 1990
แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

แรกเริ่ม บริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่น ถือกำเนิดภายใต้ชื่อ
บริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชัน ซึ่งก่อตั้งที่เมืองโอกคลิฟฟ์
ในดัลลัสเคาน์ตี มลรัฐเทกซัส สหรัฐฯ เมื่อปี 1927
ซึ่งในยุคเริ่มกิจการนั้น
บริษัทนี้ดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำแข็ง
ต่อมาจึงเริ่มจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค
เช่น นม ขนมปัง สบู่ ในร้านด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
กระนั้น ในช่วงแรกนั้นทางบริษัทเคยใช้ชื่อร้านว่า “โทเท’มสโตร์”
และ “สปีดี-มาร์ต” ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “เซเว่น-อีเลฟเว่น”
ในปี 1946

ปัจจุบัน เกือบร้อยละ 40 ของร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ทั่วโลก
อยู่ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเมื่อปี 1991
บริษัท อิโตะ-โยกาโดะของญี่ปุ่นได้เข้าไปซื้อหุ้นของ
บริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชัน
จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท
และในปีเดียวกันนั้น ทางเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชัน
ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่น

อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน 2005
ทางบริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่นเจแปน
ได้เข้าไปซื้อหุ้นส่วนที่เหลือในบริษัท เซเว่น-อีเลฟเว่น
ทำให้บริษัทเจ้าของตำนานร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น แห่งมลรัฐเทกซัส
กลายมาเป็นบริษัทของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย กระนั้น
บริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่นเจแปนนั้น
ก็เป็นบริษัทย่อยของบริษัทเซเวนแอนด์ไอโฮลดิง
ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายร้านอาหารเดนนีส์ของสหรัฐฯ
ในญี่ปุ่นอีกด้วย

*ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับคนที่ชื่นชอบตัวเลขสถิติ
ประเทศที่มีสาขาของร้านสะดวกซื้อแห่งนี้มากที่สุดก็คือ
ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีมากกว่า 10,000 สาขา
(จากทั้งหมดกว่า 28,000 สาขาทั่วโลก)

อันดับ 2 ก็คือสหรัฐอเมริกาที่มีอยู่ประมาณ 6,000 สาขา
และอันดับ 3 ได้แก่ ไต้หวัน ที่มีจำนวนสาขากว่า 3,680 สาขา

ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี
เห็นว่าธุรกิจนี้สอดคล้องกับสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนไป
จึงได้เซ็นสัญญาซื้อสิทธิประกอบกิจการค้าปลีก (License)
ภายใต้ชื่อ 7-Eleven มาจากบริษัทเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2531

โดยเปิดร้านสาขาแรกในเมืองไทยตรงหัวมุมถนนพัฒน์พงษ์
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2532 จากนั้นก็เพิ่มสาขาเรื่อยมาจนปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ
ส่วนร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น
ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีสาขาอยู่ราว 4,500 สาขา

//www.cpall.co.th/
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:11:15 น.  

 
 
 

ประธานธนินท์เผยเครือซีพี ทำธุรกิจยึด 3 ฝ่ายได้ประโยชน์
คือประเทศชาติประชาชนบริษัทมาตลอด
เชื่อมั่นคนไทยรู้จักซีพีดี แม้จะมีบางคนเข้าใจผิด

Posted date: 03/07/2007
ท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยกับ นสพ. “บางกอกทูเดย์”
ในโอกาสที่ท่านเป็นประธานกิตติมศักดิ์ “พิธีบวงสรวงเทวดาฟ้าดิน
ขอใช้มวลสารบนเขาใหญ่” เพื่อนำมาสร้าง

“จตุคามรามเทพ รุ่นดอนเศรษฐี”

จ.นครราชสีมา

โดยท่านประธานกล่าวว่า “
เรามีอิทธิพลอะไรที่จะไปบังคับให้ผู้บริโภคมาซื้ออาหาร
ซื้อสินค้าของเรา เราเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู และค้าขายทุกๆ
อย่างนั้นเราเอาคุณความดี 3 ประโยชน์เป็นปรัชญา
ประเทศชาติได้ประโยชน์ ผู้บริโภคได้ประโยชน์
บริษัทได้ประโยชน์

และถ้าเราทำธุรกิจกับคู่ค้า ก็ยึดปรัชญา 3 ประโยชน์เช่นเดียวกัน
คือ ประชาชนได้ประโยชน์ คู่ค้าได้ประโยชน์ บริษัทได้ประโยชน์

ซีพีมีอายุ 84 ปีแล้ว ถ้าบริษัทของเราไม่ดีจริง
ประชาชนก็ต้องเลิกสนับสนุน
แต่ถ้าประชาชนเห็นว่าบริษัทของเรามีคุณประโยชน์ต่อสังคม
ก็มีแต่จะส่งเสริมให้ซีพียิ่งใหญ่ขึ้นไป

ถ้าซีพีค้าขายอย่างเอารัดเอาเปรียบ คนก็จะไม่รับ
และที่สุดก็จะต้องเลิกไปเองด้วยระบอบประชาธิปไตย
ด้วยระบบที่ไม่มีผู้ใดผูกขาด ระบบการค้าเสรี
ประชาชนมีทางเลือก
ซีพีได้ออกไปลงทุนในต่างประเทศมากมาย
และไม่ว่าเราจะไปประเทศไหนก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี
จากทั้งประชาชนและรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น
ประชาชนให้การยกย่องเรา
และรัฐบาลทุกประเทศก็ให้การสนับสนุนเราด้วย

เราไปลงทุนในจีน ก็ได้รับการยกย่องจากประชาชนและรัฐบาล
ไปพม่ารัฐบาลก็ยกย่องเรา ไปอินเดียรัฐบาลของเขาก็ให้การสนับสนุน
เวียดนามรัฐบาลก็หนุน รัสเซียที่ซีพีเพิ่งเข้าไป
รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนด้วยดีทุกอย่าง

ซีพีเป็นบริษัทของคนไทย
เราออกไปสร้างชื่อเสียงให้คนไทยข้ามชาติ
การไปลงทุนในต่ประเทศที่ไม่ใช่ประเทศเรา
หากทำไม่ดี เราก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะเราเป็นบริษัทต่างชาติ

ประชาชนยกย่องเราเพราะเราตอบแทนเขาด้วย อย่างในจีน
เราได้กำไรก็คืนกลับให้ประชาชนจีน ไม่ใช่ว่าเราไปเอาอย่างเดียว
ซีพีลงทุนโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในต่างประเทศ
มากกว่าลงทุนในไทย

สิ่งสุดท้ายของผมก็คือ ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินเกิด

ผมแม้ว่าจะเป็นคนเชื้อสายจีน แต่ผมก็เป็นคนไทย
ไม่ว่าผมจะไปเปิดโรงงาน เปิดฟาร์ม
หรือเปิดธุรกิจในประเทศใดก็ตาม
ผมจะสั่งให้ปักธงชาติไทยไว้ในสถานที่ของเรา
และในออฟฟิศจะต้องมีพระบรมฉายาลักษณ์ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ 2 พระองค์ต้องคู่กัน
นี่คือการตอบแทนบุญคุณผ่านดินไทยของผม


การไม่รู้จักบุญคุณทำให้เจริญลำบาก
และถ้าช่วยคนได้ต้องช่วยทันที นี่คือนิสัยของผม
เราไม่ได้ถูกยกย่องเฉพาะในประเทศไทย
ซีพีได้รับการยกย่องมาทั่วโลก

และเราเชื่อว่า
ประชนชนไทยทุกคนเข้าใจและรู้จักซีพีเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
หากจะมีสักคนมาว่าเราแบบผิดๆ ถูกๆ ก็คงไม่เป็นไร

Author: บางกอกทูเดย์ 3 ก.ค. 2550

//www.cpffeed.com/
 
 

โดย: P_ปรัชญา วันที่: 23 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:55:38 น.  


P_ปรัชญา
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 63 คน [?]




หยิ่ง
กับตัวเองบ้าง
ในบางครั้ง

เบื่อ
ชีวิตความผิดหวัง
ในบางหน

เกลียด
ความไม่จริงใจ
ในบางคน

ยอมทน
คนหยามเหยียดได้
ในบางที


[Add P_ปรัชญา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com