“ในฐานะนักทำหนังคนหนึ่ง ผมปฏิบัติกับหนังของผมประดุจลูกชายและลูกสาว เมื่อผมให้กำเนิดเขา พวกเขาก็มีชีวิตเป็นของตนเอง ผมไม่ใส่ใจว่าผู้คนจะรักหรือเกลียดลูกของผม ตราบใดที่ผมสร้างเขาขึ้นมาด้วยความตั้งใจและความพยายามอย่างสูงสุด ถ้าลูกๆ ของผมไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศของเขาเองไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ก็ปล่อยเขาเป็นอิสระเถิด เพราะมันยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ต้อนรับเขาอย่างอบอุ่นในแบบอย่างที่เขาเป็น มันไม่มีเหตุผลเลยที่ต้องทำให้พวกเขาพิกลพิการจากระบบแห่งความกลัวหรือความละโมบ มิฉะนั้นแล้วมันก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่คนสักคนหนึ่งจะสร้างงานศิลปะต่อไป”
-- อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
(คำปรารภหลังจาก "แสงศตวรรษ" ผลงานภาพยนตร์จากผู้กำกับคนไทย พูดภาษาไทย ใช้ดาราคนไทย ถูกกองเซนเซ่อประเทศไทยบังคับให้ตัดฉากสำคัญ 4 ฉากออกหากต้องการฉายในโรงภาพยนตร์ของประเทศไทย)




“ผมคิดว่าพระกลุ่มนี้โดนจี้จุดจึงร้อนตัวเกินไป หรือเป็นพวกอยากดัง จึงต้องทำตัวเป็นข่าว อยากถามว่าทำไมไม่ไปเรียกร้องหรือแก้ปัญหาพระที่ออกมาแก้ผ้า มั่วสีกา หรือใช้มีดกรีดร่างกาย หลอกลวงประชาชน ทั้งนี้หากจะฟ้องก็ยินดีให้ฟ้องได้ทุกศาล หรือว่าจะไปฟ้องจตุคาม ศาลเจ้าแม่กวนอิม พระอินทร์ พระอิศวร ก็เชิญ ผมไม่สนใจ แต่เห็นว่าพระกลุ่มนี้ไม่เหมาะสมในสมณะ และเป็นพระหน้าเดิมที่ออกมาเดินขบวนเรียกร้องการบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”
-- ถวัลย์ ดัชนี
(คำตอบโต้ภายหลังกลุ่มพระสงฆ์ที่ชุมนุมประท้วง ขู่ฟ้องคดีอาญาต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร นายอนุพงษ์ผู้วาดภาพภิกษุสันดานกาและหมานุษย์ และคณะกรรมการที่ตัดสินรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ในข้อหาหมิ่นศาสนา)
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
2 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
รวม Review ภาพยนตร์สั้นที่ได้ดูในเดือนสิงหาคม 2550


Lifted
(USA, Gary Rydstrom, 2006, A-)


อนิเมชั่นขนาดสั้นปะหัว Ratatouille ว่าด้วยมนุษย์ต่างดาวฝึกหัดที่พยายามจะเอาคนกลับไปทดลองที่ดาวของตัวเองแต่ไม่สำเร็จซะที ฮาดีแต่ว่าสามช่าไปหน่อย




Ghosts Before Breakfast aka Vormittagsspuk
(เยอรมนี, Hans Richter, 1928, A+)


หนังว่าด้วยคนยิวและนาซี ในยุคฟาสซิสต์ครอบเยอรมนี เปี่ยมไปด้วยสัญลักษณ์อันตื่นตามากมายมหาศาล โดยเฉพาะ "หมวกคนยิวที่ลอยไปลอยมาทั้งเรื่อง" ชวนให้ตีความเป็นที่ยิ่ง น่าเสียดายที่ได้ดูเวอร์ชั่นหนังเงียบ เพราะเวอร์ชั่นปกติโดนนาซีสั่งทำลายไปแล้วด้วยข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ




The Anthem
(ไทย, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, 2549, A)


หนังดูไม่รู้เรื่องสไตล์เจ้ย ว่าด้วยป้าสามคนที่มาเจอกัน ณ ศาลาริมน้ำแห่งหนึ่ง ก่อนจะนั่งร้อยมาลัย กินมะม่วงน้ำปลาหวาน เมาท์เรื่องที่บ้าน เรื่องทั่วไป และเพลงที่กำลังฟังในวิทยุว่าเพราะดี น่าจะให้คนอื่นได้ฟังบ้าง พอภาพตัดไปอีกช็อต ป้าทั้งสามก็ย้ายสำมะโนครัวไปร้อยมาลัยอยู่ในสนามแบตเรียบร้อย กล้องหมุนรอบคอร์ตแบตหนึ่งรอบ เป็นอันเสร็จพิธี จบบริบูรณ์ (?????)

จะหาว่าผมบ้าหรือเวิ่นเว้อก็แล้วแต่จะว่ากันไป แต่ผมดูหนังสั้นเรื่องนี้แล้วผมนึกถึงกองเซนเซอร์ขึ้นมาตะหงิดๆ เพราะตัวละครป้าสามคนนั้น

บทสนทนาตอนหนึ่งของป้าๆ ป้าบอกว่าเพลงในวิทยุนี่เพราะเนอะ น่าจะเอาไปเปิดในฮอลล์ใหญ่ๆ คนจะได้ฟังกันเยอะๆ แล้วอีกสองคนก็เห็นดีเห็นงามด้วย โดยที่คนดูจะไม่ได้ยินเลยว่าเพลงนี้คือเพลงอะไร ร้องยังไง เพราะจริงหรือไม่ เพราะเต็มไปด้วยเสียงอึกทึกจากโลกภายนอก และเสียงคุยสัพเพเหระของป้าทั้งสามคน

เมื่อป้าๆ ย้ายถิ่นฐานจากโลกภายนอก เข้าสู่สถานที่ "ล้อมกรอบ" อย่างคอร์ตแบตมินตัน และตั้งโต๊ะร้อยมาลัยกันกลางคอร์ตแบตบริเวณเน็ต พร้อมกับไฟดวงมหึมาด้านบนเพื่อลดภาระในการใช้สายตาของป้าทั้งสาม ระหว่างที่กล้องเคลื่อนที่ไปรอบคอร์ตแบตนั้น เราก็จะได้ยินเสียงเพลงดังจนแทบแสบแก้วหู พร้อมกับคนสองคนที่ตีแบตกันอย่างไม่รู้สึกรู้สาอะไร แม้ว่าสิ่งที่ป้าๆจะขนเข้ามาอย่างอลังการนั้นจะขัดขวางการเล่นแบตที่มนุษย์ธรรมดาเขาทำกันอย่างมหาศาล

เพลงที่ป้าคิดว่าเพราะ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ "ไม่มีกรอบ" ก็ไม่มีใครได้ยินนอกจากป้า ป้าเลยดำริได้ว่าจะย้ายสถานที่ไปร้อยมาลัยกันในที่ที่ "ล้อมกรอบ" อย่างคอร์ตแบต และไม่ได้สนใจเลยว่าไปขัดขวางการเล่นแบต (ซึ่งควรเป็นกิจกรรมหลักในสถานที่ที่เรียกว่าคอร์ตแบตมินตัน ไม่ใช่การร้อยมาลัย) อย่างไร และที่น่าเศร้ามากกว่าคือคนตีแบตนั้นราวกับไม่รับรู้ว่ามีอะไรมาขัดขวางอยู่ แม้ว่าจะตีลูกไปติดไฟขนาดยักษ์เหนือโต๊ะร้อยมาลัยหลายต่อหลายครั้ง

มันเหมือนกับเรายอมรับความผิดปกติ ที่เข้ามาลิดรอนสิทธิของเราโดยดุษณีไปแล้ว.... น่าเศร้าจริงๆ



A Midnight Story
(ฮ่องกง, Wong Hoi-chung, 2005, B)


เรื่องนี้ไม่มีอะไรมาก เป็นอนิเมชั่นเกี่ยวกับรถเข็นของที่ไปแข่งกับรถบรรทุกตอนกลางดึกที่ไม่มีคน




My Day
(แอฟริกาใต้, Bela Lukac, 2006, B)


เรื่องนี้ก็ไม่ค่อยมีอะไรอีกแล้ว หนังว่าด้วยตัวละครพระเอกที่จะนั่งรถจากบ้านนอกไปสมัครงานในเมือง ระหว่างทางก็เจอเหตุการณ์วุ่นวายมากมายมหาศาล




The Crossing
(ฝรั่งเศส, Maëva Poli, 2006, B+)


เรื่องนี้จำอะไรไม่ได้มากเพราะว่าหลับ (55+) แต่หนังน่าจะพูดถึงเรื่องของคนแอลจีเรียในฝรั่งเศส ชอบฉากที่คุณยายเจอกับนางเอกในห้องน้ำ





Rabbit
(UK, Run Wrake, 2005, A+++++++)


อนิเมชั่นเลือดสาดเลวทรามที่สุดเรื่องหนึ่งของยุค เสียดสีระบบทุนนิยมและสังคมบริโภคนิยมได้อย่างถึงแก่นผ่านตัวละครเด็กชายเด็กหญิงและกระต่ายหนึ่งตัว!!

อธิบายอะไรไม่ได้มาก รู้แต่ว่าตอนดูนี่สะใจมาก แต่ละอย่าง 5555+



ไท-อพาร์ตเมนต์
(ไทย, สัจจา เอื้อสมานจิต, 2550, A-)


เทศกาลหนังสั้นปีนี้จะเฮี้ยนๆหน่อย เพราะผมเข้าไปดูกี่รอบ ก็ต้องมีเผลอหลับไปซักเรื่องสองเรื่อง และนี่เป็นอีกเรื่องนึงที่ผมหลับ เพราะหนังเอื่อยเหลือเกิน (ฮือๆๆ หนูขอโต้ดกั๊บ คุณผู้กำกับ) แต่ว่าชอบการแสดงของตัวละครทุกตัวในเรื่อง โดยเฉพาะเจ้าของหอตาบอดชาวฝรั่งเศส ที่เมื่อขึ้นเครดิตนักแสดง เธอเป็นคนไทย!!



Look at Me!
(ไทย, ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์, 2550, B)


เรื่องนี้ใช้วิธีการเล่าเรื่องคล้ายๆ ห้องเสน่หา(สุชาติ สวัสดิ์ศรี) คือไม่ให้คนดูเห็นอะไรแบบชัดๆ ให้เราค่อยๆเห็นทีละน้อยๆ แล้วไปปะติดปะต่อเอาเอง ในกรณีของห้องเสน่หาคือส่องไฟในห้องมืด ส่วนกรณีนี้คือสายฟ้าที่ฟาดสาดลงมาเป็นครั้งๆ ท่ามกลางบรรยากาศอันมืดมิด



Hi
(ไทย, บัณฑิต เทียนรัตน์, 2549, A)


คนทำความสะอาดชาวเกาหลีในหอพักชายมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในออสเตรเลีย ได้แต่เก็บงำความรู้สึกต่อนักศึกษาคนหนึ่งมาตลอด ก่อนที่จะ "ปลดล็อก" ด้วยคำสั้นๆว่า Hi

ไม่มีอะไรมาก เรื่องนี้เป็นหนังเกย์ที่น่ารักดี



เด็กคนนั้นกับเด็กคนนี้
(ไทย, ทิพย์ แซ่ตั้ง, 2550, B-)


ผม connect กับหนังเรื่องนี้ไม่ได้อะครับ แต่รู้ว่าเขาต้องการสื่ออะไรนะ...



A Voyage of Foreteller
(ไทย, จักรวาล นิลธำรงค์, 2550, B+)


หนังฉายภาพของชายแก่คนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่กลางป่า ตั้งแต่ตื่นนอน ออกเดิน ลอกหนังออกมาเป็นแผ่นๆ(เฮี้ยนมาก) และจบด้วยความพยายามในการช่วยตัวเอง... คนดูจะไม่รู้อะไรทั้งสิ้น

แต่ถ้าใครอยากรู้ว่าเรื่องราวจริงๆเป็นยังไง ไปหาสูจิบัตรมาอ่าน เพราะพี่แกเล่นอธิบายซะละเอียดยิบเลย เหอๆๆ (แบบนี้เรียกว่าดีรึเปล่าเนี่ย)



ความลักลั่นของงานรื่นเริง aka Bangkok Bourgeois Party
(ไทย, ปราปต์ บุญปาน, 2550, A)


หนังเสียดสีการเมืองเรื่องนี้ว่าด้วยกลุ่มเพื่อนชนชั้นกลางกลุ่มหนึ่งนัดมาเลี้ยงวันเกิดแล้วก็คุยเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองกันไปตามประสา จนเพื่อนของเจ้าของงานซึ่งมีฐานะไม่ค่อยดีนักมาขึ้นมาขอยืมกระดาษกับปากกา แต่ก็ไม่เอาของให้เขาซะทีจนเขานั่งฟังชนชั้นกลางพวกนี้คุยกันแล้วเกิดอาการปรี๊ด นั่งด่าชนชั้นกลางแบบไม่ไว้หน้าและตรงไปตรงมา ตั้งแต่เรื่องทัศนคติทางการเมือง ลากยาวไปถึงภาวะโลกร้อน โดยประเด็นอยู่ที่ว่า ชนชั้นกลางเหล่านี้คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง

ผมรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ตกที่นั่งเดียวกับ มะหมา 4 ขาครับ ที่ทะนงตนว่ามี "จุดแกร่ง" ที่แข็งพอจนไม่ต้องพึ่งส่วนอื่นเพื่อพยุงหนังให้ดีขึ้น ในกรณีมะหมาก็คือการฝึกหมาให้ดูน่ารัก จนละเลยความสำคัญของบทภาพยนตร์โดยรวม ใน "ความลักลั่นของงานรื่นเริง" ก็ทะนงตนว่า "สาร" ที่ตัวเองสื่อนั้นแรง และตรงประเด็น จนละเลยเรื่องความเป็นธรรมชาติของทั้งไดอะล็อกและการแสดงจนดูประดักประเดิดในหลายช่วงหลายตอน (ยังดีที่ช่วงองก์ท้ายของหนัง หนังดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น และหนังเรื่องนี้กลายเป็นเจ้าของฉากหักมุมที่ช็อคจิตช็อคใจผมมากที่สุดในปีนี้ไปแล้ว)

อย่างไรก็ตาม หนังเรื่องนี้มีสารที่แกร่งและตรงประเด็น เสียแต่ว่าระหว่างที่ดูผมไม่ได้รู้สึก "เหมือนโดนตบหน้า 30 ทีแล้วรู้สึกว่าสมควรโดนตบ" อย่างพี่แมดเดอลีนและ filmsick เพราะบางเรื่องผมก็ไปร่วมตบหน้าชนชั้นกลางกับ "คุณเนม" เสียหลายที (555+) และผมขอเรียกคาแรคเตอร์คุณเนมว่าเป็น "โพสต์โมเดิร์นชนชั้นล่าง" สังเกตได้ว่าเขาแขวะทุกอย่างที่ชนชั้นกลางชื่นชอบและชื่นชม ยกเว้น จตุคามรามเทพ (สื่อความเป็นชนชั้นล่างสุดโต่งมาก) ในขณะที่การแย้งในทุกเรื่องของเขาก็เป็นการกระทำแบบโพสต์โมเดิร์น คือเปรียบเหมือนกับการไล่ทุบรูปปั้นหินให้แตก แต่ก็ไม่ปั้นใหม่มาทดแทน

ความลักลั่นอีกประการในงานรื่นเริงครั้งนี้ นอกจากความลักลั่นในตรรกะของชนชั้นกลางทั้งหลายแล้ว หนังเรื่องนี้ยังพูดถึงความลักลั่นในตัวของตัวละครที่เป็นตัวแทนชนชั้นล่างไปด้วย (อันนี้พี่แมดเดอลีนมาสะกิดให้คิด แล้วก็เออ.. จริงแฮะ) มีฉากหนึ่งที่ตัวละครหญิงชนชั้นกลางถามว่า "ถ้าเกิดคุณเดินไปเจอผู้หญิงชนชั้นกลาง ที่เอาเปรียบชนชั้นล่างมาตลอด กำลังถูกข่มขืนอยู่ คุณจะช่วยมั้ย"

คำตอบของเขาคือ "มันเป็น moral dilemma"

แปลว่าอะไร? แปลว่าตัวแทนชนชั้นล่างผู้นี้ ผู้ซึ่งบอกว่ายินดีทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวกพ้อง ชนชั้น เหมือนพวกชนชั้นกลางชนชั้นนายทุน เขาจะไม่ช่วยผู้หญิงชนชั้นกลางคนนั้นที่กำลังถูกข่มขืน!! ไหนเขาบอกว่าอยู่ข้างศีลธรรม อยู่ข้างความดี อยู่ข้างความชอบธรรม

หรือเพียงเพราะเธอเป็นชนชั้นกลาง?



ความเงียบงันของเธอ
(ไทย, พิสณฑ์ สุวรรณภักดี, 2549, A-)


ตามชื่อเลยครับ หนังเรื่องนี้ "เงียบงัน" มากจนผม "หลับ" ไปเลย
แต่เท่าที่ดูแล้วหนังท่าทางจะดีเชียวล่ะ...



กลับบ้าน
(ไทย, ปรัชญา ลำพองชาติ, 2549, B-)


หนังพูดถึงผู้หญิงที่มาทำงานในเมือง แล้วก็อยากกลับบ้านนอก ถ่ายภาพสวยดี แต่พล็อต cliche ไปหน่อย




อีสาวซากดิบ aka Zombie Chick
(ไทย, ฐิติมน มงคลสวัสดิ์, 2550, A+++++++)


หนังสั้นเรื่องนี้สมควรเอาไปใส่ใน Grindhouse ของบ้านเรามากๆ เพราะมันบ้าไปแล้ว บ้าจริงๆ ผู้กำกับก็บ้าไปแล้ว เล่นได้บ้าสุดๆ 55555+ (เสียสติชั่วขณะ เจ้าของบล๊อกขออภัย)

เนื้อเรื่องว่าด้วยอีสาวนิรนามนางหนึ่ง ชื่นชอบการดูหนังซอมบี้เทือกๆ Night of Livind Dead มากๆ และมักจะดูกับพ่อเพราะอาศัยกับพ่อสองคน (อาจจะมีแม่ แต่ไม่ยอมถ่ายมาให้ดู) นอกจากดูหนังซอมบี้ ยัยนี่ยังจะชอบเล่นเกม Resident Evil ไล่ยิงซอมบี้อีก (ชีวิตมีแต่ซอมบี้ - -)

ทีนี้ตอนนั้นไข้หวัดนกมันก็ระบาด แล้วมันก็มีการทดลองอะไรซักอย่างนี่แหละ มีไก่เป็นเล้ายังกับซีพี (ตรงนี้เล่าเรื่องเป็นอนิเมชั่น เก๋เชียว) แล้วเกิดการผิดพลาดไก่ติดเชื้อซอมบี้ แล้วก็อาละวาด 55555

แล้วอยู่มาวันนึง อีสาวนางนี้ก็เสือกตื่นสาย พ่อก็ไม่อยู่บ้านซะอีก หิวจัดเลยไปเปิดตู้เย็น เจอไก่แช่อยู่ในช่องฟรีซหนึ่งตัว คุณเธอพยายามจะทอดกิน แต่ด้วยอาการสะดีดสะดิ้งกลัวน้ำมันกระเด็นใส่ คุณเธอเลยเปิบมันสดๆ ซะเลย!!!

และแล้วเธอก็กลายเป็นซอมบี้... เอวังด้วยประการฉะนี้



ซ่อน
(ไทย, ชวลิต อาจหาญ, 2549, A-)


หนังเล่ากึ่งใบ้ ความรักของหนุ่มสาวคู่หนึ่งเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว แต่แม่ของฝ่ายหญิงกลับกีดกันสุดชีวิต ก่อนที่วันหนึ่งฝ่ายหญิงจะพบความลับของฝ่ายชาย หนังมีจังหวะดี แต่ยังไม่ได้ชอบมากมายขนาดนั้น



ความทรงจำ
(ไทย, สิทธิพงษ์ ปัดชากาว, 2550, A+)


เรื่องราวของคุณตาคนหนึ่งที่เป็นอัลไซเมอร์ แต่ต้องไปเยี่ยมภรรยาที่โรงพยาบาลทุกวัน หนังเล่าเรื่องซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งเราเจอกับความจริงอันน่าเจ็บปวด ซึ่งฉากลองเทคในห้องพักคนไข้รวมที่เปิดเผยความจริงนั้นทำได้กรีดใจมากๆ



ศีล 4
(ไทย, กุลชาติ จิตขจรวานิช+ลือชัย โพธิสกุล, 2540, B+)


ภาพยนตร์เรื่องนี้เสียดสีความเป็นพุทธของสังคมไทยอย่างตรงไปตรงมา (ด้วยการเอาคนมานั่งพูดๆๆๆ) ว่าด้วยสังคมที่แทบจะแดกเหล้ากันแทนน้ำ แล้วมึงจะรณรงค์ให้รักษาศีลห้ากันทำห่าอะไร มึงก็เอาศีลข้อห้าทิ้งไปซะ รักษาแม่งแค่สี่ข้อก็พอ

ระหว่างที่พูด ก็กินแม่โขงไปด้วย.. และบางทีก็ลืมบทไปด้วย อืมมม....



มังกรกินหมี่
(ไทย, กุลชาติ จิตขจรวานิช+ลือชัย โพธิสกุล, 2541, B+)


จำเรื่องนี้ไม่ค่อยได้แล้ว (ใครก็ได้มาช่วยระลึกชาติที) รู้แต่เกี่ยวกับการกินมาม่า




สวะ! ดีค่ะ
(ไทย, กุลชาติ จิตขจรวานิช+ลือชัย โพธิสกุล, 2542, A+)


หนังพูดถึง junk food เมื่อตัวเอก (เอ่อ... คนเดียวกับที่เล่นศีล 4 และ มังกรกินหมี่) นั่งกินแฮมเบอร์เกอร์จนพุงกาง ก่อนจะไปอ้วกออกมาให้หมากินอย่างมีความสุข และเขาก็ไปแปรงฟันในห้องน้ำเพื่อล้างคราบ junk ที่ติดฟันและช่องปาก ก่อนที่ฉากแปรงฟันมหาวินาศจะอุบัติขึ้น เมื่อพระเอกของเราแปรงฟันจนเลือดท่วมห้องน้ำ แล้วก็ตายในที่สุด

รู้สึกเหมือนดู Howard Hughes จาก The Aviator ในเวอร์ชั่นฮาร์ดคอร์อยู่เลยอะ 5555555



ละเริ่มริเลิก
(ไทย, กุลชาติ จิตขจรวานิช+ลือชัย โพธิสกุล, 2543, A+)


หนังพูดถึงการต่อต้านบุหรี่ ชอบมุข "ไม่มีปู่ย่าตายาย มีแต่ตาย" มากๆ ขำสุดชีวิต (คือเอาก้นบุหรี่มาเรียงเป็นคำว่า "ปู่ย่าตายาย" แล้วปัดข้างๆออกจนเหลือแต่คำว่า "ตาย") เป็นหนังที่ดิบๆดี




ค้างคาวดูดกล้วย
(ไทย, กุลชาติ จิตขจรวานิช+เบญจมินทร์ ไตรพิพัฒน์, 2544, A+++++++++++)


หนังโคตรคัลต์หนึ่งในตำนานของสยามประเทศ ขอเตือนก่อนว่าหากใจไม่แข็งพออย่าแม้แต่คิดจะดูเลย เผลอๆ อาจจะอ่านไม่จบด้วยซ้ำ เพราะหนังเรื่องนี้อุดมด้วยอะไรต่อมิอะไรที่เฮี้ยนขั้นพีคแบบที่ไม่เคยมีหนังไทยเรื่องไหนทำมาก่อน (แน่ๆ คอนเฟิร์ม แม้จะเป็นหนังพจน์ อานนท์ก็ตาม)

หนังเริ่มเรื่องที่พระเอกของเรา (แน่นอน... คนเดียวกับหลายต่อหลายเรื่องที่ผ่านมา เป็นพระเอกคู่บุญกับผู้กำกับกุลชาติสุดคัลต์) นั่งนิ่งๆจนน้ำตาไหลออกมา (ผู้กำกับบอก หมดพริกไปหลายถ้วยมากกว่าจะได้ฉากนี้) แล้วอยู่ดีดีก็กลายเป็นแดร็คคูล่า เมื่อออกหาเหยื่อ หญิงสาวใส่แว่นหน้าตาเนิร์ดคนหนึ่งเดินผ่านมา เมื่อลับสายตาไปไม่นานนักเธอก็กลายสภาพเหลือแต่ไส้...

และแล้วผีดิบของเราก็คายเข็มนับพันเล่มออกมาจากปาก ลงไปบนกองเลือดและกองไส้กองนั้น และหลังจากนั้นเราจะเห็นผีดิบที่น่ารักของเราไปทำอะไรซักอย่างแถวท่อระบายน้ำที่เปิดฝาเอาไว้ เมื่อกล้องจับไปที่หน้าของพระเอกของเรา แล้วเขาอ้าปาก แมลงสาบเป็นๆนับสิบตัวก็ค่อยๆวิ่งออกมาจากปากของเขา และไต่ไปทั่วใบหน้าอย่างสยดสยอง (กรี๊ดดดดด) แถมยังแช่กล้องไว้ประมาณ 30 วินาทีอีกต่างหาก (เพื่อนข้างๆ นั่งกินป๊อปคอร์นอยู่มันวางเลย 55555)

ฉากสุดสยองฉากต่อมาเป็นการ tribute ให้แก่หนังในตำนานของ John Waters เรื่อง Pink Flamingos ซึ่งมีฉากกินขี้หมาแบบลองเทคอันโด่งดัง และหนังไทยเรื่องนี้ก็ทำตามบ้าง เริ่มตั้งแต่ขี้หลุดออกจากรูตูดของเจ้าเยอรมันเชพเพิร์ดแสนน่ารัก พระเอกของเราไม่รีรอให้ขี้ตกพื้นครับ เอามือรองมาสดๆร้อนๆอุ่นๆ แล้วก็ยัดเข้าปากทันที พร้อมกับละเลงไปทั่วใบหน้า (ผู้กำกับบอกว่ากว่าจะได้ภาพแบบนี้ต้องกินขี้กันอยู่สามรอบ กรี๊ดดดดดดดด)

ยัง ยัง ยังไม่พอ!! ผีดิบผู้น่ารักขี้เปรอะหน้าของเราก็ตรงเข้าไปในห้องน้ำหญิง และไปคุ้ยในถังขยะอย่างเอาเป็นเอาตาย ผีดิบต้องดื่มเลือด.. และคราวนี้มันจะได้ทำในสิ่งที่มันควรทำเสียที ด้วยการหยิบซากผ้าอนามัยขึ้นมาแล้วบิดเลือดใส่ปากอย่างหิวกระหาย (แกว๊กกกกกกกกกก) ก่อนที่ทุกอย่างจะจบสิ้นด้วยความตายของผีดิบ และผ้าอนามัยก็มาเรียงกันเหนือหัวเป็นคำว่า AIDS

หนัง flashback กลับไปสมัยผีดิบยังมีชีวิต เราจึงรู้ว่าแท้จริงแล้วผีดิบตนนี้เป็นเกย์ และติดเอดส์มาจากเพศสัมพันธ์ที่ยังไม่ได้ป้องกันนั่นเอง เอวัง... (เป็นหนังที่ต่อต้านโรคเอดส์ได้มีคลาส และเหนือชั้นกว่า "ผู้หญิง 5 บาป" มากนัก)



ทัมใจ
(ไทย,กุลชาติ จิตขจรวานิช+ณัฐพงษ์ รุ่งเรือง, 2546, A+)


หนังเรื่องนี้มีอารมณ์ขันที่ร้ายและชาญฉลาดมาก (ไม่รู้ว่าคิดมุขได้ยังไง) เริ่มเรื่องด้วยชายคนหนึ่งมาจากบ้านนอกเพื่อหางานทำในกรุงเทพ แต่แค่ในหมอชิตเขาก็หมดตัวเสียแล้ว เมื่อออกจากห้องน้ำมาก็พบว่าสัมภาระของเขาถูกขโมยไป แถมยังโดนล้วงประเป๋าอีกต่างหาก ทำให้ตอนนี้เหลือเงินอยู่แค่ร้อยเดียว

ด้วยความที่ถูกขโมยทั้งสัมภาระและกระเป๋าตังค์ พระเอกของเรา (เอ่อ.. คนละคนกับค้างคาวดูดกล้วยจ้ะ) ก็เกิดอาการปวดหัว เสียสุขภาพจิต จนต้องเดินเข้าร้านขายยาเพื่อซื้อทัมใจมากิน ..... สรุปแล้วซื้อมาสามซองราคาสามบาท เหลือเงิน 97 บาท

ระหว่างที่กำลังนั่งกินทัมใจเพื่อให้หายปวดหัวอยู่นั้น สายตาของพระเอกบ้านนาของเราก็เหลือบไปเห็นคางคกตัวหนึ่ง ที่ลักษณะต้องตรงกับ "คางคกมงคล" (อะไรประมาณนั้น) ที่จะนำโชคนำลาภมาให้ และโชคลาภสำหรับชาวรากหญ้าก็คือ "เลขหวย" นั่นเอง... ในฉับพลันทันที เขาก็เอาผมทัมใจโรยใส่ตัวคางคกแล้วสวดมนต์เพื่อดูเลข แล้วในที่สุดก็ได้เลข พร้อมกับกระหยิ่มในใจว่า กูรวยแน่ (อ้อ.. ไม่มีฉากสวาปามคางคกหรอกนะ 5555+)

พระเอกผู้น่ารักของเราก็เลยเดินไปที่แผงขายลอตเตอรี่ (อื่ม... คนขายคือพระเอกค้างคาวดูดกล้วย) แล้วก็ซื้อมาเลยคู่นึงตามเลขนั้น วันนั้นวันที่ 16 ด้วย กูรวยแน่ๆ แล้วก็จ่ายเงินไป 95 บาท ด้วยความเห็นใจคนขายที่รับจากยี่ปั๊วมาก็ราคาเกินแล้ว

และ...
และ...
และ...
แล้วก็โดนแดกน่ะสิครับท่าน 55555 ตอนนี้พระเอกของเราเหลือเงินอยู่สองบาท โถ... ช่างน่าสงสาร(ปนสมน้ำหน้า)อะไรแบบนี้เนี่ย

และแล้ว... เขาก็คิดวิธีหาเงินได้ ทำยังไงเอ่ยให้ทาย ติ๊กต่อกๆๆๆๆ






เขาไปลากตำรวจมาจับคนขายลอตเตอรี่ข้อหาขายเกินราคา เพราะว่าคนชี้เบาะแสจะได้รับเงินนำจับครึ่งหนึ่งของค่าปรับ (2000 บาทมั้งไม่แน่ใจ) และพ่อหนุ่มบ้านนาของเราก็เลยยึดวิธีนี้เป็นอาชีพ!!!!



เต่า ต่าย 11
(ไทย, วิมลรัตน์ สระแก้ว+กุลชาติ จิตขจรวานิช, 2550, A-)


กระต่ายกับเต่า เอพพิโซดที่เท่าไหร่ไม่รู้ เรื่องราวเกี่ยวกับเต่าแห่งเขายายเที่ยง (พร้อมโชเฟอร์ใส่ชุดฤาษี) ออกตามหากระต่ายที่อยู่บนดวงจันทร์ ด้วยการแฝงตัวเป็นขี้เต่าของนีล อาร์มสตรอง เล่าเรื่องด้วยกลอนแปด(ที่ไม่คล้องจองซักเท่าไหร่ 55555)




แพนด้า
(ไทย, ณัฏฐา หอมทรัพย์, 2550, A-)


อนิเมชั่นชั่วช้าสามานย์ว่าด้วยหมีแพนด้าดัดฟันที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นกเพนกวิน!!




Slurpy Boy
(ไทย, ณัฏฐา หอมทรัพย์+ธัญ เปลวเทียนยิ่งทวี, 2550, B+)


หนังสารคดีที่ถ่ายทำด้วยวิธีการ Dogme (อืม.. มันมีสิบอย่างอะ ไปเสิร์ชเอาละกัน ขี้เกียจ 55+) ว่าด้วยเด็กหนุ่มผู้กำลังสร้างสถิติโลกเติมสเลอปี้ได้สูงที่สุดในโลก ความบ้าของมนุษย์ไม่มีสิ้นสุด แม้ว่าจะพลาดไปก่อนในครั้งแรก

ที่แปลกใจคือ พนักงานเซเว่นมันใจเย็นกันเหลือเชื่อ 5555+



Silence in D Minor
(ไทย, ชลิตา เอื้อบำรุงจิต, 2549, A เกือบบวก)


หนังเงียบกรุ่นเสียงดนตรีคลาสสิกดีไมเนอร์ ถ่ายภาพผ่านเชือกฟางตาข่ายสีเขียว ช่างเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศแถวนี้ได้ดีเสียนี่กระไร มันทั้งสุนทรีย์และเจ็บปวดในเวลาเดียวกัน ที่เราต้องติดอยู่ในตาข่ายสีเขียวพวกนี้...



The Duck Empire Strike Back
(ไทย, ณัฏฐ์ธร กังวาลไกล, 2549, A+)


หนังเสียดสีการเมือง ว่าด้วยเป็ดน้อยที่มีที่นั่งบนทีวีถูกปฏิวัติยึดอำนาจโดยเด็กน้อยน่ารักสองคน เป็ดน้อยลอยอยู่ในถังน้ำ และเปรยกับตัวเองว่า "ยังไงกรูก็มีวิธีกลับมาล่ะวะ" แล้วฉับพลันก็มีมือไปเปิด "ท่อน้ำเลี้ยง" เติมน้ำลงมาในถัง!!! (ไม่ไหวแล้ว ฉากนี้ฮาเสียสติมากๆ) ก่อนที่ท่อน้ำเลี้ยงจะถูกปิดก่อนที่เป็ดน้อยจะลอยขึ้นมาถึงขอบถัง และท้ายที่สุดแล้วที่นั่งบนทีวีก็ตกเป็นของตุ๊กตา "ไดโนเสาร์"



จดหมายจากความเงียบ aka Letters from Silence
(ไทย, ปราปต์ บุญปาน, 2549, B)


หนังพูดประเด็นการเมืองแบบตรงไปตรงมา (อีกแล้ว.. ผู้กำกับคนนี้) ด้วยการนำจดหมายสองฉบับมาถ่ายให้เราอ่านทีละย่อหน้า เพื่อให้เรารับรู้ถึงความเจ็บปวดภายใต้รัฐบาลเผด็จการ เริ่มด้วยจดหมายของชาวบ้านที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า และจดหมายลาตายของนวมทอง ไพรวัลย์ (เอ่อ.. แท็กซี่ที่ขับรถชนรถถังน่ะ)

ส่วนตัวชอบวิธีการเล่าเรื่องและนำเสนอ แต่ติดที่ว่าไม่เชื่อว่าจม.ลุงนวมฯเป็นเรื่องจริงว่ะ... เป็นอคติส่วนตัวหน่อยๆ (ไม่หน่อยหรอก 555+)



สาม-สูญ
(ไทย, อโนชา สุวิชากรพงศ์, 2549, A)


หญิงสาวสามคน กับชีวิตประจำวันสามชีวิต คนหนึ่งต้องสอนเด็กเดินในเนอสเซอรี่ซ้ำแล้วซ้ำอีก อีกคนเดินออกกำลังกายบนสายพาน และอีกคนพยายามข้ามถนนแต่ไม่สำเร็จสักที (ตอนดูไม่ทันได้คิด แต่มีคนตีความว่า เป็นการเดินที่ไม่ถึงไหนซักที ทั้งสามคน)

ชอบตัวละครที่เป็นผู้หญิงพยายามข้ามถนนมากๆ มันดู disturbing ตลอดเวลาที่อยู่บนจอ



จำเลยรัก
(ไทย, สัณห์ชัย โชติรสเศรณี, 2549, A-)


หนังเสียดสีการเมืองสุดฮาด้วยการเปิดเสียงประกาศคณะรัฐประหาร สลับกับละครวิทยุเรื่อง "จำเลยรัก" (ที่..เอ่อ.. แต่งขึ้นมาใหม่) ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยเอ็มวีเพลง "จำเลยรัก" เวอร์ชั่นคนป่า (ไม่ได้ตัดต่อด้วย บอกซื้อมาก็เป็นแบบนี้แล้ว 5555)



ลวงโลก/โลกลวง aka Fake World
(ไทย, ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์, 2550, A)


หนังเสียดสีวงการมายาที่เปรียบดั่ง fake world ผ่านตัวละครดาราคนหนึ่งที่ต้องทำอะไรเฟคๆ ตลอดเวลาในการทำงาน ทั้งแกล้งกินน้ำส้มให้ดูอร่อย ไปจนถึงตอนที่เธอเจอข่าวปาปารัสซี่

ดารานำหญิงคือปุ้ม-ดลรส เตชะประทุมวัน ที่ดูดีและสง่ากว่าใน "สวยลากไส้" ประมาณสองล้านเท่า



งานเฝ้าระวังความฝันของบุคคลที่น่าเชื่อว่าฝักใฝ่การทำลายศีลธรรมอันดีของประชาชน
(มนัสศักดิ์ ดอกไม้, 2550, A-)


หนังเอ๋อๆ มึนๆ แต่ฮามากๆ เมื่อหนังพูดถึงชื่อเรื่องโคตรยาวที่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพราะการเซนเซอร์ (และอาจารย์ชวนะ - ที่มีกรณีกับ "แสงศตวรรษ" อยู่) สัมภาษณ์คุณโดม สุขวงศ์ ด้วยท่วงท่าการเล่าเรื่องแบบ "คนยังโฟกัสกล้องไม่เสร็จ" (โอ๊ยตาย อินดี้เหลือเกิน 55555)

ระหว่างนั้นก็เป็นเสียง propaganda ของฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาแข่งกันไปมาทั้งเรื่อง พระเจ้าช่วย....



หนังฟัง aka When the Movie Listens
(ไทย, ตุลพบ แสนเจริญ, 2550, B-)


เป็นหนังเงียบตามชื่อเลย คือถ่ายผู้กำกับที่พยายาม "นั่งฟัง" สิ่งที่คนดูพยายามจะพูด แต่บังเอิญผมไม่มีอะไรจะพูดก็เลยหลับไปซะ



Man with a Video Camera
(ไทย, จักรวาล นิลธำรงค์, 2550, B+)


เรื่องนี้เลยเป็นแพะรับบาปไป รับผลกรรมจากเรื่องที่แล้วเพราะสมองผมยังไม่ตื่นพอ 5555555

คือเรื่องนี้เป็นการเอาภาพเหตุการณ์ในประเทศไทยมาประกอบเพลง และเสียงต่างๆ เหมือนกับเราดูประมวลเหตุการณ์ทางการเมือง อะไรแบบนั้น (มีทั้งภาพม็อบพีทีวี หมาน้อยเอาหมาใหญ่ คนงานตอกเสาเข็ม ฯลฯ)




มัชฌิมโลก aka Middle Earth
(ไทย, ธัญสก พันสิทธิวรกุล, 2550, A)


หนังเรื่องนี้ไม่มีอะไรแต่ว่าดูลงตัวมากๆ คือทั้งเรื่องมันมีแต่ภาพผู้ชายเปลือยสองคนนอนหลับอยู่ใกล้ๆกัน แล้วภาพก็ค่อยๆตัดไปแต่ละอิริยาบถ พร้อมกับดนตรีประกอบที่ลงตัวมากๆ ฟังแล้วขนลุก แต่ที่ขนลุกที่สุดคือฉากจบ เมื่อชายทั้งสองนั่งอยู่บนเก้าอี้ แล้วคนหนึ่งก็เกิด erection ขึ้นมาทั้งที่ยังหลับตาอยู่ (แอบช็อค)

ถามผู้กำกับว่าอธิบายนักแสดงยังไง ผู้กำกับบอก "ชั้นบอกให้เค้านึกถึงชั้นไง" (5555555)



หนีนรกโพธิ์พระยา
(ไทย, ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ, 2550, C+)


อื่ม.... หนังเรื่องนี้มันคืออะไรอะ



ผีนาโน
(ไทย, ธิติวัฒน์ ดำรักษ์, 2550, B+)


หนังอนิเมชั่นชนะเลิศรางวัลปยุต เงากระจ่างประจำปีนี้ หนังพล็อตพื้นฐานว่าด้วย "เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด" เมื่อเพื่อนพระเอกเอาสารนาโนที่อยู่ในขั้นทดลอง ฟาดพระเอกเพราะรู้ความลับเรื่องขโมยผลงานวิจัย และกะเคลมนางเอกเป็นของตัวเอง จนในที่สุดพระเอกที่เป็นผีก็ต้องกลับมาช่วยคนรักของตัวเอง ลายเส้นตั้งใจ tribute การ์ตูนผีเล่มละบาทของบ้านเรา




About Romance or Something Else
(ฮ่องกง, Leung Fong-wing, 2007, A+)


หนังสั้นเกี่ยวกับนักเรียนฮ่องกงผู้พยายามทำหนังสั้นส่งประกวด แต่ต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงและความรักในเวลาเดียวกัน เมื่ออาจารย์บอกให้เขาเปลี่ยนบทเพราะบทเดิมล่อแหลมมากเกินไป ระหว่างที่เขาคิดว่าต้องการทำอะไรก็มีหญิงสาวคนหนึ่งเดินเข้ามาในชีวิต

ชอบเรื่องนี้มากๆ คือมันเด่นทั้งเนื้อเรื่องและการถ่ายทำ เพราะทั้งเรื่องประมาณ 13 นาที มันเป็นลองเทคแบบเทคเดียวจบ แล้วมันเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยตั้งแต่ห้องเรียนบนชั้นสองชั้นสามไปถึงสนามข้างล่าง เลิศมาก




เวลา ลาน aka Somewhere in Time
(ไทย, ไพรัช คุ้มวัน, 2550, A+)


หนังสั้นรางวัลชนะเลิศช้างเผือกพิเศษ ว่าด้วยสถานการณ์อันพลิกผันของหญิงสาวคนหนึ่งที่เพิ่งได้รับข่าวดีในที่ทำงานเมื่อตอนกลางวัน แต่เมื่อพระอาทิตย์ตกดินและกำลังเดินทางกลับบ้าน เธอถูกโจรปล้น และทิ้งเธอไว้ในป่า ท่ามกลางความมืดมิด ความหลอน ความกลัว และเวลาที่ผ่านไปช้าเหลือแสน

การเล่าเรื่องที่ตัดกลับไปกลับมา ยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าเวลามันผ่านไปช้ามาก จนต้องตะโกนในใจเหมือนกับตัวละครในหนังว่า "เมื่อไหร่มันจะหกโมงเช้าซะทีวะ!!!"



แข่งบั้งไฟ aka The Rocket
(ไทย, อุรุพงษ์ รักษาสัตย์, 2549, A+++++++++)


หนังสั้นชนะเลิศรางวัลรัตน์ เปสตันยีที่เป็นสารคดี (แต่ไม่ได้รางวัลในสาขาสารคดี) นำเสนอประเพณีแข่งบั้งไฟของคนอีสานในจังหวัดเชียงรายออกมาได้ครบถ้วนกระบวนความ น่าติดตาม และสนุกสนานตามที่สารคดีทุกเรื่องควรจะเป็น (แม้แต่ An Inconvenient Truth ยังขาดไปในเรื่องความน่าติดตาม) ครบถ้วนกระบวนความในที่นี้ก็คือหนังเรื่องนี้แสดงให้เราเห็นทุกเหลี่ยมทุกแง่มุมของประเพณีครั้งนี้ตั้งแต่เช้ายันเย็น ตั้งแต่เริ่มตั้งฐานยิง จนพระอาทิตย์คล้อยลับฟ้า เห็นอารมณ์ของคนที่มาร่วมงานทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ คนเมา และเพศบรรพชิต เห็นอารมณ์ขันของชาวบ้านในการตั้งชื่อบั้งไฟแต่ละลูก

เทคนิคการนำเสนอของคุณอุรุพงษ์นั้นน่าติดตามมาก โดยเฉพาะตอนที่เขาตัดต่อภาพประเภทเดียวกันมาต่อๆกัน ทั้งฉากรวมมิตรชื่อบั้งไฟ รวมมิตรบั้งไฟพุ่ง(พร้อมกับภาพของคนที่แหงนหน้าขึ้นพร้อมกัน) รวมมิตรการเตรียมการก่อนปล่อยบั้งไฟ และรวมมิตรบั้งไฟจากหลายๆมุม ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมนับถือคุณอุรุพงษ์ว่าเขาไม่ใช่แค่แบกกล้องแบกเทปไปร่วมงาน แล้วนั่งจ่อมอยู่เช้ายันเย็น แต่เขาตั้งใจที่จะหามุมถ่าย หาแง่มุมที่จะนำเสนอ และเขาก็ต้องเหนื่อยยากตรากตรำพอสมควร โดยเฉพาะในช่วงท้ายที่ชาวบ้านได้ "ลงโทษ" ผู้ที่บั้งไฟไม่ขึ้นหรือบั้งไฟแป้ก คุณอุรุพงษ์เองก็ต้องลงไปลุยเลนในนั้นด้วยเช่นกัน

อนึ่ง การตั้งชื่อบั้งไฟในหนังเรื่องนี้มันเหมือนเป็นการบันทึกช่วงเวลากลายๆ เมื่อเวลาผ่านไปแล้วเราหยิบหนังเรื่องนี้ขึ้นมาดู เราจะรู้ว่าในช่วงเวลานั้นๆ ชาวบ้านเขาสนใจในเรื่องอะไรกันบ้าง


Create Date : 02 กันยายน 2550
Last Update : 20 กันยายน 2550 2:31:59 น. 10 comments
Counter : 2385 Pageviews.

 
+ หุๆ ... และแล้วทั่นเจ้าที่ ก็ลงมือปลุกปล้ำหน้า 'หนังสั้น' เสร็จจนได้ซะทีนะฮับ ... ของพี่ นอกจาก Lifted แว้ว เรื่องอื่นๆ ก็คงต้องหาอ่านเอาจากที่นี่แหละ
+ หลายๆ เรื่องพอจะจำเค้าโครงได้บ้างจากบล็อกน้องเมอร์ฯ ... แต่เรื่อง ค้างคาวดูดกล้วยนี่ พล็อตมันช่างเฮี้ยนบัดซบได้ใจเจงๆ นะนั่น เหอๆๆ
+ กลับมาขำกับเรื่องที่ชื่อ "ผีนาโน" อีกรอบคับ 555


โดย: บลูยอชท์ วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:16:27:28 น.  

 
มีแต่หนังน่ากลัวๆอ่ะ


โดย: Unravel วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:21:24:28 น.  

 
อยากดูหนังค้างคาวดูดกล้วยซะแล้ว 55+


โดย: พระเจ้า** IP: 58.9.4.72 วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:23:48:36 น.  

 
กุลชาติ จิตขจรวานิช- - - ทำไมขยันทำหนังสั้นกันเนี่ย หึๆ.....แต่ละเรื่องของเค้าช่างคิดไปได้

เท่าที่อ่านมาสนใจเรื่อง Rabbit ที่สุดอ่ะครับ


โดย: คำห้วน-lopzang-เฉือนคำรัก วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:3:10:08 น.  

 
กรี๊ดดดดดดดดดดดด
หนังหลายเรื่อง น่ากลัวมากมายอะ

ปล. มังกรกินหมี่..........ฟังคำนี้แล้วคุณนึกถึงอะไร



โดย: 125 66 IP: 58.11.121.115 วันที่: 23 กันยายน 2550 เวลา:23:11:36 น.  

 
^
^
555+ เนื้อเรื่องไม่ได้เกี่ยวกับอาการ "มังกรกินหมี่" เน่อ เหอๆๆ


โดย: nanoguy IP: 125.24.84.79 วันที่: 23 กันยายน 2550 เวลา:23:12:54 น.  

 
ในที่สุดก็ด้นๆ ปนฟลุคๆ มาตกที่บล็อคตี้จนได้ เนื่องจากพี่ไม่นิยมเน็ตเท่าใดนัก (ดังนั้นอาจจะไม่มีโอกาสมาเมนท์อีกนาน) จึงต้องรีบมาเมนท์ไว้ก่ิอนด้วยประการละฉะนี้

ก่อนอื่น เรื่องสอบก็ สู้ๆ นะครับ (เอาใจช่วย)

ตี้ - นับถือในความจำของแกมากฟ่ะ

ปล. มังกรกินหมี่พูดถึงชายคนหนึ่งกินมาม่า แต่พอกินเสร็จแล้วเขาก็พบว่าในก้นชามใส่มาม่านั้นมีขนเส้นหนึ่ง ซึ่งหยิกหยอยคล้ายกับขน.... นี่เอง

ปล2 เมิงเขียนบล็อกดีมาก หวังว่าพี่คงไม่ขี้เกียจที่จะเข้ามาอ่านบ่อยๆต่อจากนี้นะ


โดย: kiteki IP: 125.24.4.204 วันที่: 28 กันยายน 2550 เวลา:15:56:11 น.  

 


โดย: แน๊คคร้าบบบ IP: 125.26.189.144 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:50:15 น.  

 
บล็อคเจ๋งดีอ่ะ ชอบๆๆ


โดย: นั่นอะดิ IP: 58.9.62.16 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:32:01 น.  

 
เพิ่งเห็นว่าคุณนาโน มีบล๊อคอ่ะ


ไม่ใช่ดิ ต้องบอกว่า เพิ่งเคยเข้ามาดู
แหะๆๆ

วันนี้ขอนุยาดแวะมาเที่ยวหา
ไว้จะกลับเข้ามาอ่านอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอีกทีนะจ๊ะ

ป.ล. ชอบภาพ BG ของช่องที่ให้พิมพ์คอมเม้นท์จัง ยังไม่ได้ดูด้วยหนังเรื่องนี้ เฮ้อๆๆ


โดย: องค์หญิงการะบุหนิง IP: 202.28.27.3 วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:12:23:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nanoguy
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนในสังคมจารีตที่มีความคิดทางเวลาแบบไตรภูมิจะไม่ให้ความสำคัญแก่เวลาตามประสบการณ์ กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงของชีวิตและสังคมว่าดำเนินมาและดำเนินไปอย่างไร เชื่อในการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคมซึ่งจะต้องเป็นเช่นนั้นตามกฎแห่งเวลาของพุทธศาสนา

- อรรถจักร สัตยานุรักษ์
(จากบทความ "ความเปลี่ยนแปลงความคิดทางเวลาในสังคมไทย" วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 4 ตุลาคม 2531)




Let this song rhyme our souls
when your voice and mine become one and whole.

Let it carry us high above
When we recite our poetry of love
that when there's love then there's hope.

Your love is my light,
and it'll get us through this lonely night.

- รักแห่งสยาม (ซับไตเติ้ลอังกฤษเพลง กันและกัน ท่อนฮุค)









Friends' blogs
[Add nanoguy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.