Chiya-Cha-Chai : เรื่องของชาที่ข้าพเจ้าพบเจอ กล่าวกันว่าวัฒนธรรมการดื่มชา
มีต้นกำเนิดเริ่มแรกมาจาก ประเทศจีน ซึ่งในภาษาจีนนั้นก็เรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า 'ชา' เช่นเดียวกับที่เรายืมคำของเขามาเรียกอีกที
แต่ด้วยความที่บ้านของเราไม่มีใครดื่มชากันเลย
และเท่าที่จำได้เราจะชินกับการดื่มชาที่ต้มใส่กาใบโต (โดยเฉพาะร้านอาหารของคนจีน) ที่จะมีวางไว้บนโต๊ะเสมอ น่าจะเป็นใบชายี่ห้อเดียวกับที่เอาไว้ไหว้เจ้า พอจะนึกออกไหม? เพื่อให้ลูกค้าหยิบรินดื่มกันแทนน้ำเปล่า รสชาติจะฝาด ๆ เพราะไม่ได้ผสมอะไรทั้งนั้น มันจะมีกลิ่นหอมของแบบชาเบาบาง ซึ่งก็เอาไว้ดื่มแก้เลี่ยนได้ดีเลยล่ะ
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เราติดใจกับรสชาติของมัน จนถึงกับอยากเอาติดกลับไปต้มดื่มเองเวลาอยู่บ้านเท่าไหร่ ก็เพราะโดยส่วนตัวแล้วเราชอบดื่มกาแฟมากกว่าชา แม้แต่การที่จะสั่งเครื่องดื่มเย็น ๆ มาจิบแก้ร้อน 'ชาเย็น' ก็ยังคือตัวเลือกสุดท้ายในความคิดเลยจริง ๆ ให้ดิ้นตาย ![]()
กาใส่น้ำร้อนบนรถไฟจีน เราพบว่าด้านในตัวกาที่ว่างเปล่านั้น ยังมีร่องรอยของเศษใบชาหลงเหลือไว้ให้เห็น เมื่อเราเริ่มออกเดินทาง ก็พบว่าในพื้นที่บางแห่งเขานิยมดื่ม 'ชา' กันจนซะแทบเรียกได้ว่า ดื่มกันจนเป็นวัฒนธรรม ความสนใจของเราเลยไม่ได้อยู่ที่รสชาติของ ชา ตามแบบฉบับนักดื่มตัวยง
หากเพื่อนคนใดหลงเข้ามาเพื่อหาข้อมูลแบบเจาะลึกก็ต้องขออภัยล่วงหน้าจ้า เพราะมันจะเป็นเรื่องของชา ที่เคยลองจิบมาจากที่ต่าง ๆ เท่านั้นนะคะ
>> ชิยา (चिया) ถ้าไม่นับ ชาแบบแขก ๆ ที่พาหุรัด เนปาล ก็คงจะเป็นที่แรกที่ได้ลองดื่มชานมกลิ่นเครื่องเทศ อันประกอบไปด้วย รสหวาน ฝาด มัน และซู่ซ่า ในแก้วเดียว
หลักการต้มชาก็ต่างไปจากชาจีนร้านอาแปะ ที่ใส่ใบชาอบแห้งต้มใส่น้ำเปล่า ๆ นะ
แต่มันจะเป็นผงชา ที่เทใส่หม้อต้มผสมน้ำและนม (อัตราส่วน : N/A) เทน้ำตาล ตามความหนักมือของแต่ละคน และใส่ผงเครื่องเทศที่เรียกว่า 'มาซาล่า' ลงไป เมื่อพอร้อนได้ที่ ก็เอากระชอนมากรองเพื่อรองลงแก้ว
บางร้านอาจใส่ขิงทุบลงไปแทนมาซาล่า ถ้าให้เลือกได้เราชอบชานมใส่ขิง มากกว่ามาซาล่า และนี่คือการชงชาแบบพื้นที่ราบค่ะ
ไม่มีรูปชาหรอก เพราะหน้าตาไม่ต่างจากชานมร้อนทั่วไปไง ก็เลยถ่ายรูปเมนูอาหารมาแทน อันนี้เป็นราคาในเมืองนะคะ แต่ถ้าอยู่บนเขาสูง ก็จะแพงขึ้นเรื่อยๆ ตามค่าขนส่ง ที่ต้องอาศัยแรงงาน คนและสัตว์ อย่างเช่น ลา, จามรี เป็นต้น ซึ่งจะสวนทางกับราคาที่พัก เมื่อตั้งบนที่สูงก็จะถูกลง ... เจ๊า ๆ กันไป (อ้างอิงราคาในปี 2012 ; สกุลเงิน NPR)
แต่หากได้เดินไปในพื้นที่ภูเขาไม่ว่าจะเป็นเส้นทางไหน ก็จะพบ ชิยา อีกประเภทหนึ่งแทน โดยมากคนบนเขามักจะนำ เนยมาผสมกับชานม ซึ่งบนที่นั้นกลิ่นชาก็จะเปลี่ยนไปจากเครื่องเทศ มาเป็นกลิ่นหอมของเนยแทนค่ะ ฟังดูแปลก ๆ เนอะ แต่พอถึงเวลาที่ต้องไปอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นบนภูเขาแล้ว เจ้าชานมใส่เนยตำรับนี้ช่วยให้ความอบอุ่นได้มากเลย
*** แอบเสริมอีกนิด : อย่าคาดหวังที่จะได้เจอกับชาต้มแบบกรองอย่างที่เขียนไว้ในทุกแห่งนะ
>> ชัย (Чай) พอเห็นชื่อ แล้วอาจร้อง อ๋อ... อินเดีย ไง ที่เรียกชาว่า ชัย แต่เห็นตัวอักษรซีริลลิก ที่ก็อปปาดไว้แนบข้างอย่างนี้ อ้าว รัสเซีย รึปล่าวนิ? ฮ่า ๆ ใช่แล้วคนรัสเซียเรียกชาว่า ชัย ค่ะ
และคนที่โน่นก็ดื่มกันได้ไม่แพ้ชาติใดในโลกนี้เช่นกัน ระหว่างที่อยู่บนรถไฟรัสเซีย เนื่องจากนั่งนานหลายวัน ก็มีบ้างที่ต้องตระเตรียม อาหาร เครื่องดื่ม มาจิบ มากิน แก้เซ็งกัน หนึ่งในนั้นก็คือชาผงชนิดซองที่ถูกนำมาบรรจุถุงพร้อมหย่อนลงน้ำร้อน
โดยจะเทน้ำร้อนหย่อนถุงชาพร้อมใส่น้ำตาลหวานเจี๊ยบ ดื่มกันแบบชาดำ ส่วนยี่ห้อที่เห็นพวกเขาพกมานั้น มันมีโลโก้เป็นรูปเจ้าหญิงใส่มงกุฏ ไม่แน่ใจว่าดังหรือปล่าว ลองเคาะหารูปผ่านกูเกิ้ล ก็ขึ้นชื่อว่า Princess Noori จะเป็นที่นิยมหรือเพราะหาซื้อง่ายยังไงเราไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดนะ และหนึ่งในของที่ระลึกยอดฮิตที่มีขายบนรถไฟก็คือแก้วใส่ชาหน้าตาแบบนี้ค่ะ เนื่องจากไม่มีตังค์ซื้อในตอนเดินทางหนนั้น เลยต้องยืมภาพจากวิกิพีเดียมาใช้
![]()
ส่วนการชงดื่มกันตามบ้านเขาก็จะมีหม้อต้มน้ำใบโตประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า самовар (ซาโมวาร์) ตรงกลางมีแกนใส่ถ่านเพื่อทำความร้อน แล้วก็มีก๊อกสำหรับรินน้ำร้อนใส่ถ้วย พื้นที่ด้านบนก็เอากาใส่ชาไปวางอังไฟได้อีก
หากนึกไม่ออกว่าของจริงจะเป็นยังไง ให้ไปดูหน้าตาและข้อมูลเพิ่มเติมกันที่ลิงค์แทนนะ
>> ชัย/จัย (चाय) ทีนี้กลับมาที่อินเดีย จริง ๆ ละ เป็นข้อสงสัยกันว่าตกลงมันควรออกเสียงว่า "ชัย" หรือ "จัย" กันแน่ ... ต้องขอบอกก่อนว่าตัวอักษรในภาษาไทยทั้ง ช. และ จ. ไม่ได้ออกเสียงครอบคลุมได้ทั้งหมดหรอก มันจะเปล่งว่า จ. แต่ดันมีเสียงลมกระแทกผ่านคล้ายกับ ช.
ดังนั้นมันก็เลยจะคล้าย "ช." ผสม "จ." เลยล่ะสิ ก็แล้วแต่ว่าจะเขียนกันยังไงก็เอาที่สบายใจละกัน :)
ดื่มกันจริงจังมากอ่ะ เอะอะ ก็ดื่มชา Chai Piyo ge !!!??? แล้วที่นิยมกันก็คือ ชานมร้อน ๆ ด้วยนะ เราไปอินเดียครั้งแรก ตอนฤดูร้อนยังคิดไม่ออกเลยว่าอากาศร้อนจะตาย ทำไมยังนั่งชิลจิบชากันได้แบบไม่สะท้านกับอุณหภูมิ! ขั้นตอนการชงชาแทบไม่ต่างไปจาก เนปาลีสไตล์ (ฉบับภาคพื้นราบ) เลยขอพูดภาพรวมในเรื่องผงมาซาล่าด้วยสักนิด สำหรับผงเครื่องเทศประเภท ที่นำมา ใส่ชา ใส่ของหวาน บางอย่าง กลิ่นมันจะไม่จัดหรือเผ็ดร้อนเท่ากับที่เอามาทำอาหารกันนะ แต่ถ้าคิดจะเอามา ผัดผัก ทำแกง คงต้องใช้สูตรอื่นที่ทำเฉพาะเจาะจงกว่านี้ค่ะ
>> และ ชา เขาก็เรียกว่าเครื่องดื่มประเภทนี้ว่า "ชา" เช่นกัน เรายังไม่เคยไป ลาดักห์ แต่รู้มาจากการแลกเปลี่ยนเรื่องคุย กับคนที่ได้เจอตอนเดินทาง เลยมีหัวข้อให้ได้โม้ต่อเลยว่า คนไทยก็เรียก ชัย ว่า ชา เหมือนกัน !
ส่วนเพื่อนคนที่พูดถึงก็เคยมาไทยนะ พี่แกถึงกับเล่าให้ฟัง เขาเห็นว่าในเมืองไทยบ้านเรามีชาเย็นหลายสีวาไรตี้มาก ๆ
สีส้ม, สีเขียว, สีน้ำตาล กระทั่ง สีชมพู (เฮ้ย ๆ... อันหลังนั่นมัน นมเย็น รึปล่าว ?!)
![]() หน้าตาของ โป ชา (Tibetan tea / Butter tea)
เนื่องจากคนแถบนี้ก็จะแอบมีส่วนคล้ายกับทางทิเบต ทั้งรูปร่างหน้าตาและการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมหลายอย่าง ดังนั้นก็เลยได้ลองดื่มชาอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Butter tea หรือ ชาแบบทิเบต (Tibetan tea) ซึ่งคนทิเบตเรียกกันว่า Po cha
ทั้งนี้เรื่องของรสชาติเนี่ย มันแทบไม่มีความฝาดของชาเลยนะ (ถ้าจะให้เทียบกับชาเนยที่เคยดื่มบนเขาในเนปาล)
รสชาติออกไปทาง เค็ม ๆ มัน ๆ เพราะนำเอาเนยมาเป็นส่วนประกอบหลัก และสีของชาที่ว่าจึงดูขาววอก และมีความเป็นมันลอยหน้าให้เห็นอย่างชัดเจน
อย่างตอนที่ไปอยู่ย่านชุมชนชาวทิเบต (ใน Bir ) ก็เช่นกัน แน่นอนว่ามีชาประเภทนี้ขาย ยิ่งช่วงนั้นอากาศหนาวมากแล้ว ต่อให้ไม่ชอบรสชาติยังไงก็เหอะ เรายังถึงกับต้องสั่งชาทิเบต มาดื่มแทนที่จะเลือกชัยแบบอินเดียตามที่คุ้นชิน
ยัยเพื่อนสาวชาวอินเดียก็เข้าใจว่าเราคงอยากลองของแปลก เลยถึงกับพูดเตือนให้รู้ก่อนตัดสินใจสั่งว่า มันไม่อร่อยเลยนะ
จำได้ว่าเราตอบเขาไปตรง ๆ แหละว่า "ฉันหนาวจะตายอยู่แล้ว และตอนนี้ร่างกายต้องการไขมัน"
เออ เข้าใจแล้วว่าเขากินชาเนยที่ว่ากันไปทำไม ภาพกระบอกไม้สำหรับตำชา(เนย) ใน Bön Monastery ฝั่งวัดของพระผู้หญิงบริเวณห้องครัว
ส่วนคำเรียกอีกอย่างหนึ่งของ ชาทิเบต นอกจากชื่อ "โป ชา" คนทางลาดักห์ จะเรียกมันว่า กรู กรู ชา (Gur gur cha) ซึ่งเป็นการเลียนเสียงจากการใช้เครื่องมือตำเนยทรงกระบอกไม้ค่ะ แต่กรรมวิธีดั้งเดิมตอนทำแบบนี้เราเองไม่ได้เห็นกับตาตัวเองซะที เพราะจากที่พบเจอตามร้านต่าง ๆ ชาเนย พวกนี้ มักถูกต้มใส่กาน้ำร้อนพร้อมเตรียมเสิร์ฟเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภาพจากหนังสือ - หญิงชาวพื้นเมือง ที่อาศัยอยู่ในเต๊นท์กระโจมที่พักในทิเบตกับเครื่องมือทำชาฯ เลยได้แต่นำภาพจากหนังสือมาให้ดูแทนก็แล้วกัน ว่ากระบอกตำ จะสูงแค่ไหนเมื่อเทียบกับคน ส่วนปริมาณที่ทำในแต่ละหนคงเยอะพอควร
ใจจริงก็อยากรู้เช่นกันนะ ว่าเสียงของมัน จะดัง กรู ๆ จริงไหม? ....
ช่วงหลัง ๆ ก็มีนะ ที่เราต้มนมร้อนหย่อนถุงชาสำเร็จรูป (ที่หาซื้อได้ทั่วไป) ใส่น้ำตาลเติมรส หรือบางทีก็นึกครึ้มหยิบเอา ผงมาซาล่า มาโรยใส่ด้วยนิดหน่อย เพื่อเลียนแบบกลิ่นชาที่เคยดื่ม...มันก็ไม่ถึงกับเหมือนแต่ก็พอกล้อมแกล้มไปได้ ถึงเราจะไม่ได้ชื่นชอบชา และกลิ่นเครื่องเทศเป็นชีวิตจิตใจเสียขนาดนั้น แต่นั่นก็คงเป็นเพราะเราแอบคิดถึงช่วงเวลาเดินทางที่ผ่านมามากกว่า ซึ่งก็น่าเสียดายนะ ที่อากาศในเมืองไทย มันดันร้อนเกินกว่าที่เราจะคิดตักเนยผสมใส่ลงเพิ่มไปได้ ^^
ขอจบเรื่อง ชา ฉบับแฟนพันธุ์ทางไว้เพียงเท่านี้ละกันนะคะ นั่งอ่านลงมาเรื่อย ๆ เลยได้ความรู้เพิ่ม.... เมื่อก่อนทีทำงาน
แถว เยาวราช กับ แถวเพลินจิต.... จิบชาจีนประจำ วันละหลาย ถ้วย... เด็กที่ออฟฟิศชงให้ ไม่กินกาแฟด้วยซ้ำ... รู้ว่า ชา ดูซับกลิ่นได้ดี เขาเลยนำใบชา ไปไว้ในที่.. คนไม่ชอบอยู่ แหะ ๆ เมื่อกี้อ่านที่ชีริว เม้นท์มา.. ใช่เลย ปกติปัจจุบันดื่มกาแฟวัน ละ 3 ถ้วย... มีคนนำ ชาพม่ามาฝาก..เป็นถุงใหญ่ แต่ไม่กิน นำไปแบ่ง ให้เพือน... ตอนหลังได้ชิมที่บ้านตนเอง กลับหอม ติดใจ เสียดายจังที่ให้คนอื่นไปหมดแล้ว พอไปเมียนม่า เลยชงกินเองที่โรงแรม... ไปตลาดที่นั่น ซื้อกลับไทย 5 ถุงใหญ่ ๆ ละ 110 บาท ไปแม่สาย ซื้ออีก ได้ถุงละ 100 บาท ไปทองผาภูมิ (ไทย) ซื้อได้ถุงละ 90 บาท เออหนอ... ไปซื้อถึงที่ กลับแพงกว่า 555 แต่ชา อินเดีย...ไม่เคยกินเลย กาบริเอล Diarist ดู Blog ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น โดย: ไวน์กับสายน้ำ
![]() ![]() นี่ขนาดออกตัวว่าไม่ได้ชื่นชอบชา ยังอุตส่าห์ลองชามาทุกที่
ถ้าคุณฟ้าเป็นคนชื่นชอบชา คงรีวิวชาทุกยี่ห้อทุกประเทศเลยมั้ง :D แต่แก้วชารถไฟรัสเซียนี่สวยจริง ๆ น่าสะสมมาก (ถ้ามีตังค์นะ :P) ส่วนตัวแล้วเป็นคนไม่ดื่มชาอะ เพราะหัวใจมันด้านชา เกินจะรับความเฉยชาจากใครแล้ว... (เอ๊ะ! เหมือนได้ยินเสียงผู้อ่านแถวนี้ร้องหากระโถน 55) โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก
![]() รวบรวมข้อมูลมาเยอะจริงๆ แต่ที่จีนนี่ดื่มชาจนเป็นวัฒนธรรมจริงๆ ครับ แถมแยกย่อยประเภทไว้เยอะด้วย ผมเคยอ่านเกี่ยวกับเรื่องชาในบทเรียน เค้าก็กล่าวไว้แค่คร่าวๆ เท่านั้น
ชาที่แผ่นดินใหญ่กับที่ใช้ประจำ (ที่บ้าน) ก็แตกต่างกัน ผมเคยลองซื้อดูใบแล้วพอจะรู้ว่ามันต่างกัน ผมก็ไม่ได้เชี่ยญชาญเรื่องชา แค่ดื่มบ้างเท่านั้น แต่พวกชาฝรั่งไม่ค่อยได้ดื่มเท่าไหร่ ดื่มพวกชาจีนชาญี่ปุ่นมากกว่า บ้านผมดื่มชามากกว่ากาแฟ กาแฟผมดื่มแล้วจะหลับครับ โดย: คุณต่อ (toor36
![]() ![]() อะ นมควายผมยังไม่เคยกินเลย นมจามรีเด็ดจริงดิ
![]() เพิ่งรู้จากพี่ไวน์นี่แหละชาพม่ามีขายที่ทองผาภูมิแล้ว ถูกด้วย เคยเห็นที่ด่านเจดีย์สามองค์ เดี๋ยวนี้ชักเข้ามาใกล้ตัวเราขึ้นทุกทีๆ โดย: ชีริว
![]() ![]() ที่บ้านเราไม่คอยดื่มชาเพราะมันร้อนไงฟ้า
ยิ่งอากาศร้อนแล้วนั่งซดชาเข้าไปอีก ความดันขึ้นพอดี 555 แต่ตอนนี้อาจจะได้นะ ถ้านั่งดื่มในห้องแอร์ อิอิ เข้าเรื่องๆ ชาใส่นมพอรู้ ชาใส่เนยคงจะมันเพียบเลยเนาะ แต่คงจะช่วยในความอบอุ่นได้มาก ยังไม่เคยลอง แค่นึกก็ขนลุกแล้ว 555 ส่วนชาใส่เครื่องเทศพี่ว่าถ้าเจ็บคอ คงจะหายเลยมั้ง ก่อนพี่ก็ไม่ชอบดื่มชา (ชอบดื่มกาแฟ) ก็มีบางตามร้านอาหารที่ฟ้าว่า รสชาติฝาดๆ แต่พอมาอยู่ที่นี่อากาศหนาวเลยต้องหาชาดื่มเสริมกาแฟด้วย ตอนนี้ที่บ้านมีชาเยอะมาก มีทั้งแก้เจ็บคอ นอนไม่หลับ ฯลฯ พี่ไม่ชอบเลยนะ ชาใส่นม แต่เจ้าลูก 2 คนที่บ้านดันชอบใส่นมกัน โดย: ข้ามขอบฟ้า
![]() ![]() มาต่อเรื่อง Fachwerkhaus ต่อจ้ะ เมื่อสองวันก่อนเข้าไปดูให้แล้ว แต่แค่เขียนคำว่า
Fachwerkhaus in ไฟก็เกิดดับซะงั้น นานๆๆๆๆ ไฟถึงจะดับ เสียฤกษ์เลย วันต่อมาก็มีอะไรต้องทำ เลยยังไม่มีเวลาเข้าไปดู ถามปะป๋าก็บอกมีทั่วยุโรปแหล่ะ พี่ก็ไปหลาย ปท.ในยุโรปนะ แต่นึกไม่ออกแหะ เข้าไปดูในอากู๋มีทั่วในยุโรปจริงๆด้วย แต่บาง ปท. อาจจะดูต่างออกไปบ้าง ฟ้าไปดูบล๊อกนี้นะ ปีที่พี่เริ่มทำบล๊อก ตอนนั้นยังเป็นเด็กฝึกหัดทำรูปลงรูป https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kanna&month=14-10-2007&group=9&gblog=6 โดย: ข้ามขอบฟ้า
![]() ![]() จริงๆ ก็ชอบดื่มชานะคะ เป็นชาฝรั่ง ร้อน แต่ไม่ได้เคยมีความรุ้เรื่องชาเยอะ เหมือน จขบ เลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
โดย: Sai Eeuu
![]() สวัสดีค่ะ
เพิ่งรู้ว่าเรื่องชามีอะไรมากมายหลายอย่างขนาดนี้ เราไม่ชอบดื่มชาร้อนและกาแฟร้อน แต่ชอบดื่มชาเย็นใส่นม หรือจะเป็นชาดำเย็นก็ยังดื่มได้ ส่วนกาแฟก็ต้องเป็นกาแฟเย็นเหมือนกัน ถ้าพูดถึงชานี่นึกถึงผู้ดีอังกฤษก่อนเลย จนลืมคิดไปว่าจีนก็มีวัฒนธรรมดื่มชาเหมือนกันนะ คิดถึงเรื่องอยู่กับก๋งเลยค่ะ โหวต Diarist โดย: เรียวรุ้ง
![]() ![]() เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้มากเลยค่ะ เคยได้ยินเรื่องชามานาน แต่ไม่เคยสนใจที่จะค้นคว้า หนูแดงเพิ่งเริ่มเดินทางเหมือนกัน อยากไปเนปาล ในนี้มีเรื่องชาที่เนปาลด้วย ถ้าได้ไปจริงๆหนูแดงจะไม่ลืมชิมรสชาติของชาที่นั่นเลยค่ะ
อ่านแล้วได้ความรู้มากๆเลยนะคะ ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ โดย: อเมริกาโน่ไม่เติมน้ำตาล
![]() พี่นี่เปลี่ยนใจจากกาแฟมาเป็นชาเป็นสิบปีแล้วหละ แฮร่...
พี่ว่าชามันมีเสน่ห์และความละมุนนะ พี่ชอบ แต่ก็ไม่ได้กินหลากหลายเท่าฟ้า รูปประกอบกาชา มาจากการ์ตูนเรื่องโปรดของหลานเลยนะนั่น บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้ ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog ซองขาวเบอร์ 9 Food Blog ดู Blog Quel Klaibann Blog ดู Blog บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Food Blog ดู Blog kae+aoe Parenting Blog ดู Blog กาบริเอล Diarist ดู Blog ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น โดย: สาวไกด์ใจซื่อ
![]() ![]() เรื่องชาๆ นี่รินชอบชาไทยใส่นมค่่า
เย็นๆ ด้วยร้อนๆ ไม่ ชาอินเดีย ชาทิเบต เนปาล ส่ายหัวยิกๆ ไปบ้านเขาก็แทบไมกินน้ำแปลกๆเลย น้ำดื่มต้อมมาจากขวดเท่านั้น จะให้กินข้างทางขอเป็นน้ำมะพร้าวจากลูกเลยดีกว่า 555 ปีนี้ฟลุ๊คๆ ได้ไปอินเดียมา 2 รอบเลยจ้า ทั้งชัยปุระเดือนมีนาคม กะเมษาไปลัคเนาว์ สนุกครื้นเครงกันไป อาหารการกิน กลับมาต้องวิ่งหาส้มตำแซ่บๆ อย่างหนัก ไปรอบสองเริ่มชินแล้วพอกินได้ๆ ถือเป็นเมืองแห่งสีสันแปลกๆ สนุกดีค่า บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้ ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Review Food Blog ดู Blog phunsud Food Blog ดู Blog ทุเรียนกวน ป่วนรัก Literature Blog ดู Blog กาบริเอล Diarist ดู Blog ![]() โดย: Rinsa Yoyolive
![]() ![]() นอกจากชาจีน ทั้งแบบใบชาอบแห้ง แบบซอง และ ชาอื่น ๆ ที่หาซื้อได้ในบ้านเรา พี่ไม่เคยลองชานมจากที่อื่นเลย ก็แหงล่ะ ไม่ได้เดินทางไปต่างถิ่นต่างแดนเลยนี่นา
ถ้าไม่ได้อ่านบรรยาย คงเดาไม่ออกแน่เลยว่าเป็นเครื่องมือตำชา ฟังดูชานมใส่เครื่องเทศ ใส่ขิง ถ้ามีโอกาส พี่ต้องลองแน่ พี่ชอบกาแฟเป็นหลักเหมือนกัน ถ้าให้จำแนกความหอม ความอร่อย ก็จำแนกไม่ได้อีกล่ะ โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ
![]() ![]() อ่านแล้วได้รับรู้ถึงชาแต่ละท้องที่ ผมก็คุ้นเคยชาจีนมาตั้งแต่เด็กๆครับ
เป็นชาตราม้าขายเป็นห่อกระดาษ ชงกันในกาน้ำขนาดใหญ่ กินกันได้ทั้งวัน ถ้าเย็นก็ตั้งเตาใหม่ครับ โดย: Insignia_Museum
![]() ![]() ชาดื่มนานๆครั้ง เป็นชาเย็น ชานมเย็น ชาร้อนแบบจีน ญี่ปุ่น ไม่ได้ดื่มครับ
ผมไปเที่ยวทะเลฝั่งอันดามัน ในโรงแรมมีชา(เมดอินศรีลังกา) กาแฟให้ดื่มฟรีในห้องพัก โดย: สองแผ่นดิน
![]() ![]() ![]() โดย: สมาชิกหมายเลข 4507140
![]() |
บทความทั้งหมด
|
ไปต่างประเทศชอบชาพม่า Royal Myanmar Tea ที่ซื้อๆกันนี่แหละ
แต่แถวๆอินเดียที่ชากลิ่นออกเครื่องเทศอะไม่ชอบ พวก Masala Tea งี้
กลิ่นชาเปลี่ยนไปตามเครื่องเทศแล้วเปลี่ยนไปตามนมด้วยป่าว บางที่หานมวัวไม่ได้อาจใช้นมลา นมจามรี :P
ชาใส่เครื่องเทศก็ว่าแปลกละ ชาใส่เนยนี่คงปุเลี่ยนพิลึก แต่ปกติเราใส่นมใส่คอฟฟี่เมทกัน จะใส่เนยก็คงไม่ต่างกันเท่าไหร่มั้ง.... ไม่สิ มันต้องรสชาติเหมือนซดน้ำมันพืชแน่ๆ -*-
แก้วใส่ชารัสเซียสวยง่ะ