ควันหลง: รู้จักกับเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐและกองเรือคุ้มกัน (US Carrier Battle Group) ![]() บางท่านที่โชคดีก็คงจะได้ไปเที่ยวแหลมฉบัง พบกับหนึ่งในเรือบรรทุกเครื่องบินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกคือ USS Abraham Lincoln (CVN-72) มาแวะเยี่ยมเยียนหาดพัทยาของเรา ซึ่งจังหวัดชลบุรีมักจะเป็นเมืองหน้าด่านในการต้อนรับเรือรบต่างประเทศเสมอ (เช่น 3 ชาติล่าสุดคือรัสเซีย จีน และอเมริกา มหาอำนาจทั้งนั้น) ชาวชลบุรีจึงมักจะโชคดีกว่าใครเพื่อน..... เกริ่นนำ จะว่าไปแล้วผู้ที่เสียผลประโยชน์มากที่สุดในการกำเนิดของเรือบรรทุกเครื่องบินในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นก็คือเรือประจันบาน (battleship) เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินเข้ามาแทนที่และแย่งบทพระเอกในการยุทธทางทะเลไปจนหมด เนื่องจากเรือบรรทุกเครื่องบินมีอำนาจการทำลายล้างมหาศาล มีความอ่อนตัวสูง จึงไม่น่าแปลกที่ทุกคนจะเริ่มลืมเรือประจันบานไปจนหมด ใครมีเรือบรรทุกเครื่องบินบ้าง ปัจจุบัน มีประเทศที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินคือ
โดยมีหลายประเทศกำลังทำการสร้างเพิ่งเติมและกำลังนำเข้าประจำการเช่น อเมริกา (George H. W. Bush (CVN-77)) สเปน (Buque de Proyecci?n Estrat?gica) อิตาลี (Cavour) และอินเดีย (INS Vikramaditya) เป็นต้น เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกามีเรือบรรทุกเครื่องบินประเภท Supercarrier จำนวน 12 ลำ และกำลังสร้างอีก 1 ลำคือ Kitty Hawk class (3 ship) USS Kitty Hawk (CV-63) Yokosuka Naval Base, Japan USS Enterprise (CVN-65) Norfolk, Virginia USS John F. Kennedy (CV-67) Mayport Naval Station, Florida Nimitz class (9 ships, 1 under construction) USS Nimitz (CVN-68) San Diego, California USS Dwight D. Eisenhower (CVN-69) Norfolk, Virginia USS Carl Vinson (CVN-70) Bremerton, Washington USS Theodore Roosevelt (CVN-71) Norfolk, Virginia USS Abraham Lincoln (CVN-72) Everett, Washington USS George Washington (CVN-73) Norfolk, Virginia USS John C. Stennis (CVN-74) Naval Air Station North Island in San Diego, California USS Harry S. Truman (CVN-75) Norfolk, Virginia USS Ronald Reagan (CVN-76) Naval Air Station North Island in San Diego, California George H. W. Bush (CVN-77) Under Construction (wikipedia.org) โดยเรือทั้งสองชั้นนั้นมีขนาดพอ ๆ และติดอาวุธคล้าย ๆ กัน แต่ชั้น Kitty Hawk นั้นเก่ากว่ามาก คือประจำการมาตั้งแต่ช่วงทศวรรศตที่ 60 สังเกตุว่าทั้งสองชั้นนี้จะมีคำนำหน้าไม่เหมือนกัน โดยชั้น Kitty Hawk นั้นจะนำหน้าด้วย CV แต่ชั้น Nimitz จะนำหน้าด้วย CVN โดย CV หมายถึงเรือบรรทุกเครื่องบิน และ N หมายถึงขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลีย สเปคของเรือชั้น Nimitz Power Plant: Two A4W reactors, four shafts Length: 333 m (1092 ft) overall Flight Deck Width: 76.8 m (252 ft) Beam: 41 m (134 ft) Displacement: 97,000 tons (98,600 metric tons) full load, on par with current cruise ships though roughly 50% less than the largest in service and under construction Speed: 30+ knots (56+ km/h) Aircraft: 85 Intended to operate aircraft currently including the F/A-18 Hornet, EA-6B Prowler, E-2 Hawkeye, C-2 Greyhound, SH/HH-60 Seahawk, and S-3 Viking for many missions including self defense, land attack and maritime strike. Cost: about US$4.5 billion each Average Annual Operating Cost: US$160 million Service Life: 50 years Crew: Ship's Company: 3,200 Air Wing: 2,480 Armament: NATO Sea Sparrow launchers: three or four (depending on modification) 20mm Phalanx CIWS mounts: Three on Nimitz and Eisenhower and four on Vinson and later ships of the class, except Washington which has three. RIM-116 Rolling Airframe Missile: Two on Nimitz, Washington and Reagan, will be retrofitted to other ships as they return for RCOH. เรือชั้น Nimitz นั้นเป็นเรือรบที่ทันสมัย ถูกออกแบบมาให้เป็นฐานบินลอยน้ำ ฉะนั้นมันจึงมีครบทุกอย่างสำหรับการดำรงชีวิต ในเรือมีเครื่องบินรบที่มาแสนยานุภาพมากกว่ากองทัพอากาศของประเทศหลาย ๆ ประเทศเสียอีก ทหารบนเรือทำงานกัน 16 ชั่วโมงต่อวันบนดาดฟ้าเรือเพื่อส่งเครื่องบินขึ้นลง ตรวจสอบความเรียบร้อย ดูแลความปลอดำยที่แม้ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจนำไปสู่การสูญเสียอันใหญ่หลวงได้ ลูกเรือคนอื่น ๆ ก็มีหลากหลายหน้าที่แตกต่างกันไปตามแต่จะได้รับมอบหมาย Primary Flight Control (Pri-Fly) ![]() ส่วนนี้คือส่วน Tower ที่เห็นอยู่ด้านข้างของเรือ เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมเรือและอากาศยาน รวมถึงกิจกรรมบนดาดฟ้าเรือ (Flight Deck) ทั้งหมด ด้านบนมักจะเป็นที่ตั้งของเรด้าห์ตรวจการต่าง ๆ ด้วย Flight Deck ![]() คือส่วนที่ยุ่งเหยิงและอันตรายที่สุด เพราะมันต้องรับการขึ้นลงของเครื่องบินทุกประเภท ทำให้งานส่วนใหญ่ของเรือบรรทุกเครื่องบินขึ้นอยู่กับจุดนี้ โดยการนำเครื่องบินขึ้นจากโรงเก็บนั้นจะใช้ลิฟต์จำนวน 4 ตัวยกเครื่องขี้นมาเข้าเทียบที่ cataplut เพื่อช่วยในการดีดเครื่องบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ตามภาพด้านบนจะสังเกตุเห็นโดมบนดาดฟ้าเรือ ซึ่งในนั้นเป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ควบคุมการขึ้นของเครื่อง และจะสังเกตุเห็นแผงกันไอพ่นถูกยกขึ้นมาหลังเครื่องเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ทำงานหลังเครื่อง ซึ่งการขึ้นของเครื่องบินนั้นนักบินไม่จำเป็นต้องบังคับอะไรเลย คอมพิวเตอร์ในเครื่องจะจัดการให้ทั้งหมด พอเครื่องดีดดีดเครื่องไปจนเครื่องเกาะอากาศแล้วนักบินจึงเริ่มต้นบังคับเครื่องบิน ![]() ส่วนการลงจอดนั้นจะมีระบบคอมพิวเตอร์คอยเล็งและนำทางเครื่องบิน โดยเมื่อเครื่องบินแตะพื้นดาดฟ้าตะขอที่อยู่ท้ายเครื่องจะเกี่ยวกับลวดอันใดอันหนึ่งใน 3 -4 เส้นบนดาดฟ้าเพื่อหยุดเครื่องบินอยู่กับที่ โดยทั้งหมดจะมีเจ้าหน้าที่ (อยู่ด้านหลังของเครื่อง S-3 ในภาพด้านล่าง) ซึ่งควบคุมการลงจอดอยู่ ในปัจจุบันบนเรือบรรทุกเครื่องบินมีคอมพิวเตอร์ควบคุมการลงจอดให้อย่างอัตโนมัติ โดยคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลการลงจอดเข้าสู่เครื่องบินโดยตรง แต่นักบินส่วนใหญ่ก็ชอบที่จะคอยมองไฟสัญญาณและลงจอดเองมากกว่า ![]() Carrier Air Traffic Control Center (CATCC) ![]() ส่วนนี้ก็เปรียบเสมือน ATC Tower ที่สนามบินนั้นเอง โดยจะมีเจ้าหน้าที่วิทยุการบินคอยควบคุมการจราจรทางอากาศของเครื่องบินบนเรือ พร้อมตรวจดูเครื่องบินอื่น ๆ ในบริเวณอีกด้วย Combat Direction Center (CDC) ![]() เปรียบเสมือนมันสมองของเรือ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมแผนยุทธการทุกอย่าง รวมถึงการติดต่อกับหน่วยที่ตั้ง การดูแลสอดส่องภัยคุกคามทั้งเรือและขีปนาวุธ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะทำงานร่วมกับเครื่องบินแจ้งเตือน E-2C Hawk Eyes ด้วย อากาศยานประจำเรือ ![]() - F/A-18 C/D Hornet และ F/A-18 E/F Super Hornet (F-14 ปลดประจำการไปแล้ว) เป็นกำลังรบหลักของเรือ ซึ่งมีหน้าที่ขับไล่ โจมตี ลาดตระเวน ![]() - EA-6B Prowler เป็นเครื่องบินที่ปฏิบัติการในสงครามอิเล็กทรอนิก อันได้แก่การ jamming, Electronic Counter Measure (ECM) และการกดดันการป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก (Suppression Enemy Air Defense:SEAD) ![]() - E-2C Hawk Eyes มีหน้าที่ควบคุมอากาศยาน และแจ้งเตือนภัยทางอากาศ (ยังมีเครื่อง C-2 ซึ่งไม่ติดตั้งเรเด้าห์ใช้ขนส่งด้วย) ![]() - S-3 Viking เป็นเครื่องบินลาดตระเวนและปราบเรือดำน้ำ รวมทั้งทำให้ที่เติมน้ำมันกลางอากาศให้กับเครื่องบินที่ไม่สามารถลงบนเรือบรรทุกเครื่องบิน (Miss Landing) ได้ จนทำให้อาจจะมีน้ำมันเหลือไม่พอที่จะบินต่อไปได้ ![]() - SH/HH0-60 ใช้ในภารกิจค้นหากู้ภัยและปราบเรือดำน้ำ กองเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือคุ้มกัน ![]() ในการสงครามนั้น เรือบรรทุกเครื่องบินแต่ละลำต้องมีเรือคุ้มกัน เรือสนับสนุนการรบ และเรือดำน้ำเพื่อที่จะตอบโต้ภัยคุกคามใด ๆ ต่อกองเรือ โดยมีการจัดดังนี้ - เรือลาดตระเวน (Cruiser) จำนวน 2 ลำ โดยปกติจะใช้เรือชั้น Ticonderoga ซึ่งเป็นเรือที่ติดระบบ AEGIS ใช้ในภารกิจต่อต้านเรือผิวน้ำ และในเรือยังมีขีปนาวุธ Tomahawk สำหรับโจมตีบนฝั่งอีกด้วย - เรือพิฆาต (Destroyer) จำนวน 2 - 3 ลำ โดยปกติจะใช้เรือชั้น Arleigh Burke ซึ่งเป็นเรือที่ติดระบบ AEGIS เช่นเดียวกัน แต่ชั้นนี้เน้นไปที่การป้องกันภัยทางอากาศ โดยขีปนาวุธ SM-2 (Standard Missile-2) ซึ่งเป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะไกล - เรือฟริเกตจำนวน 1 ลำ ใช้เรือชั้น Oliver Hazard Perry มีภารกิจปราบเรือดำน้ำ - เรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ ใช้เรือชั้น Los Angeles ในภารกิจต่อต้านเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำ - เรือส่งกำลังบำรุงจำนวน 1 ลำ ใช้เรือชั้น Sacramento มีหน้าที่สนับสนุนการรบ โดยจะเก็บพวกอาวุธ กระสุน น้ำมัน เป็นต้น จบแล้วครับ อาจจะได้แต่ละอย่างไม่มาก แต่น่าจะครบถ้วนแล้ว ![]() สำหรับเรือดำน้ำชั้น Song (Type 039 Song Class Diesel-Electric Submarine) นั้นนี้ถือเป็นเรือดำน้ำยุคใหม่ทันสมัยที่จีนสร้างเองมากับมือ โดยน่าจะได้เทคโนโลยีจากเยอรมันและฝรั่งเศส ซึ่งชั้นซงนี้เป็นเรือดำน้ำชั้นแรกของจีนที่สามารถยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือ YJ-82 หรือ C-802 ทำหน้าที่เหมือน Kulb-S ของรัสเซีย นอกจากนี้เรือยังใช้โซนา H/SQG-04 ของฝรั่งเศส และเครื่องยนต์ MTU 12V 493 diesel engine ของเยอรมัน ติดตอร์ปิโดว์ขนาด 533 มม. แบบ Yu4G และ Yu-6 อีกทั้งจีนได้นำระบบ AIP ของตนมาทดสอบกับเรือชั้นนี้อีกด้วย ปัจจุบันประจำการอยู่ 6 ลำ เรือชั้นนี้ถ้ามีหมายเลข 321(2001) 322(2002) จะเป็นเรือที่ถูกปรับปรุงใหม่ชื่อชั้น 039G ซึ่งเชื่อว่ามีสมรรถนะโดยรวมเทียบได้กับ French Agosta-90B (ข้อมูลบางส่วนขอขอบคุณคุณ TEE แห่ง Wing21 ครับ) ![]() วิเคราะห์ เรือดำน้ำจีนนั้นมีประวัติในการผลุบ ๆ โผล่ ๆ ไปตามน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้านเช่นญี่ปุ่นหรือกองเรือสหรัฐภาคพื้นแปซิฟิคอยู่เรื่อย ๆ ครับ นัยว่าให้ผลสองอย่างคือ จะทดลองประสิทธิภาพของเรือดำน้ำที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา และอาจจะเป็นการบอกให้โลกรู้ว่าอั๊วก็แน่เหมือนกันนะ (โว้ย) แต่ใดยประวัติแล้ว การแอบดอดเข้าไปในน่านน้ำญี่ปุ่นหรือกองเรือสหรัฐนั้น เท่าที่ปรากฏดู ก็พบว่าประสิทธิภาพของเรือดำน้ำของจีนนั้นเข้าขั้นระดับแนวหน้าแล้ว เช่นเมื่อ 2 - 3 ปีก่อนจีนส่งเรือดำน้ำของตนรุกล้ำเข้าน่านน้ำญี่ปุ่น กว่าญี่ปุ่นจะรู้ตัวและตั้งต้นค้นหาก็หาไม่พบเสียแล้ว ชาวจีนหลาย ๆ คนถึงกับเขียนการ์ตุนล้อเลียนญี่ปุ่นว่าพวกญี่ปุ่นก็ดีแต่ล่าปลาวาฬ แต่ล่าเรือดำน้ำไม่เคยได้เลย ตัดกลับมาที่กองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐบ้าง การหน้าแหกครั้งนี้บ่งบอกได้สองสามสิ่ง 1. สหรัฐประมาทเกินไปหรือเปล่า ในการเฝ้าระวังภัยคุกคามใต้น้ำ หรือไม่ก็อีกที สหรัฐประเมินความสามารถของเรือดำน้ำจีนไว้ต่ำเกินไป ซึ่งการนี้แอบถ่ายแอบซุ่มของจีนนั้นมีมานานแล้วครับ แต่จนแล้วจนรอด สหรัฐก็ไม่สามารถป้องกันได้สักที คิดดูสิครับ บรรทุกเครื่องบิน มีอากาศยานปราบเรือดำน้ำมากมาย แต่ ไม่สามารถหาเรือดำน้ำ Made In China ได้เลยจนกระทั่งมันต้องโผล่ขึ้นมาเอง 2. บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของจีนว่าตอนนี้การทหารของจีนนั้นระดับโลกไปแล้วครับ อาวุธจีนสมัยนี้พัฒนาขึ้นมาทั้งจากการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ แต่แน่ใจได้เลยว่าเทคโนโลยีที่จีนมีอยู่ในมือขนาดนี้ไม่เป็นรองชาติใดในแถบนั้นเลยทีเดียว 3. จีนเหมือนจะเตือนสหรัฐกลาย ๆ ว่า "อั๊วไม่ใช่ลูกไก่ที่ลื้อจะบีบให้ตายง่าย ๆ " เพราะการสอดแนมแต่ละครั้ง ฝ่ายตรงข้ามจับไม่ได้ก็ดีไป แต่ถ้าจับได้, แม้ว่าไม่ได้ตั้งใจให้ถูกจับ, แต่มันก็เป็นการส่งสัญญาณทางการเมืองระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี 4. ระยะแค่ 5 ไมค์ เข้ามาโดยไม่มีใครรู้ ถ้าจีนซัลโวตอปิโดว์กับ C-802 เข้าใส่เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ รับรองครับว่างานนี้เสียหลายหลายแสน (ล้าน) ทำให้เห็นได้ชัดว่าเรือดำน้ำมีคุณค่าทางยุทธการสูงเพียงใดในสงครามใต้สมุทร เพราะเรือดำน้ำนั้นสามารถแอบซุ่มอย่างเงียบ ๆ ย่องเงียบ ๆ ไปตามร่องน้ำ เปิดการโจมตีโดยไม่รู้ตัว โดยที่ฝ่ายข้าศึกซึ่งอาจจะได้แก่เรือผิวน้ำนั้นอาจจะไม่มีทางตอบโต้ได้เลยด้วยซ้ำ ![]() มีเรื่องน่าสนใจของปฏิบัติการกวนบาทาประเทศเพื่อบ้านของจีนครับ โดยเรือชั้นหาน (Type 091 Han Class Nuclear Submarine) เรือลำนี้แม้จะเก่า แต่ก็โชว์ความเก๋าโดยไปแอบซุ่มดูกองเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Kitty Hawk (อีกแล้ว ห่วยจริง ๆ ) เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 1994 มาแล้ว โดยเครื่อง S-3 เป็นคนตรวจพบห่างจากกองเรือ 30 กม. ซึ่งถือว่าใกล้กว่าที่คิดเอาไว้ ยังไม่หมดแค่นั้น 10 พ.ย. 2004 เชื่อกันว่าเรือชั้นนี้ 2 ลำรุกล้ำเข้าไปยังน่านน้ำญี่ปุ่นทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะโอกินาว่า ญี่ปุ่นส่ง P-3C และเรือพิฆาตออกตามล่า จนเรือทั้งสองกลับเข้าน่านน้ำจีนไป ต่อมาในวันที่ 16 พ.ย.ปีเดียวกันจีนก็ออกมายอมรับว่าเป้นเรือดำน้ำของตนและกล่าวคำขอโทษและบอกว่าเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค โดยทางฝ่ายญี่ปุ่นบอกว่าเรือของจีนเข้ามาในเขตที่มีการสำรวจก๊าซธรรมชาติที่ทั้งสองประเทศอ้างกรรมสิทธิอยู่ แต่สิ่งที่หลาย ๆ คนสงสัยก็คือ ทำไมเรือดำน้ำจีนถึงไปโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำใกล้ ๆ เรือของสหรัฐ บางท่านวิเคราะห์ว่า อาจจะเป็นการถูกบังคับโดยเรือหรืออากาศยานประจำเรือบรรทุกเครื่องบินให้เรือดำน้ำเปิดเผยตัวก็ได้ แต่โดยประวัติแล้ว ยังไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ซึ่งคงต้องรอดูยาว ๆ กว่านี้อีกสักหน่อยว่าจะเป็นยังไงต่อไป สุดท้าย สิ่งที่จีนอยากจะฝากบางประเทศที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นสิบ ๆ ลำก็คือ "จีนพร้อมจะทำทุกอย่างที่จะปกป้องผลประโยชน์และนโยบายจีนเดียว และจะตอบโต้ต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบที่จะนำไปสู่การแยกตัวเป็นเอกราชของไต้หวัน" ![]() อลังการงานสร้างจริงๆ
โดย: tHeNuT IP: 203.150.83.132 วันที่: 25 เมษายน 2549 เวลา:23:52:33 น.
งวดหน้าช่วยจัดเรื่องเรือดดำน้ำของ USA รัสเซีย จีน หน่อยนะครับ
![]() โดย: Jump IP: 203.114.125.16 วันที่: 26 เมษายน 2549 เวลา:4:25:00 น.
เรือ หมายเลข 64 กับ 66 หายไปไหนคับ ทำไมมันข้ามไป
ปลดประำจำการแล้ว หรือว่าโดนจมไปแล้วอ่ะคับ โดย: ped cad IP: 134.68.224.149 วันที่: 26 เมษายน 2549 เวลา:6:24:08 น.
ไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่คงไม่โดนจมหรอกครับ
โดย: Skyman IP: 203.113.32.14 วันที่: 26 เมษายน 2549 เวลา:19:40:25 น.
มาติดตามครับ
โดย: จับฉ่าย IP: 58.9.17.245 วันที่: 26 เมษายน 2549 เวลา:21:18:43 น.
ขยันนำเนื้อหาสาระ ดีๆมาเสนอบ่อยๆ ข้าน้อยขอคารวะ1จอก
![]() ท่านใดที่พอจะทราบถึงความสามารถของเรือชั้น Arleigh Burke และ Ticonderoga ก็คงจะรู้ว่าเรือคุ้มกันแค่3ลำ ที่มากับCVN-72 ครั้งนี้มีฤทธิ์เดชมากเพียงไร ผมเล่นDangerousWater แล้วให้กองเรือฟริเกตที่คล้ายๆกับของไทย รุม เรือDDG,CGสองลำนี้ แบบซึ่งๆหน้า ผลออกมา ฮึๆๆ .... โดย: MSTN IP: 203.209.41.12 วันที่: 27 เมษายน 2549 เวลา:18:22:53 น.
มาครั้งแรกครับ
ได้ความรู้ดีครับ โดย: โจ๊กตี๋ IP: 221.128.103.142 วันที่: 27 เมษายน 2549 เวลา:22:40:39 น.
เข้ามาดู
โดย: ไพร่ IP: 58.64.103.111 วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:3:30:48 น.
USS Constellation (CV 64)
เข้าประจำการ October 27, 1961 ปลดประจำการไปแล้วเมื่อ August 7, 2003 USS America (CV 66) เข้าประจำการ January 23, 1965 ปลดประจำการ August 9, 1996 โดย: ped cad IP: 149.166.96.18 วันที่: 28 เมษายน 2549 เวลา:9:12:14 น.
ระบบ AEGIS นี่คืออะไรครับชื่อเหมือนโล่ห์ในตำนาน
โดย: crimson parasol IP: 203.146.5.60 วันที่: 29 เมษายน 2549 เวลา:16:20:39 น.
แล้ว CSG ต่างจาก CVBG อย่างไรเหรอครับ
โดย: น้องเน IP: 202.90.127.28 วันที่: 29 เมษายน 2549 เวลา:21:39:28 น.
ผมมีข้อมูลเสริมเรื่องเรือดำน่ำรุ่นใหม่ของอเมริกาครับ
เรือดำน้ำ USS Hawaii, Virginia Class Submarine เรือดำน้ำรุ่นใหม่ผลิตโดย General Dynamics Electric Boat เรือดำน้ำรุ่นใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยแนวความคิดแบบใหม่ที่ว่า เป็นเรือดำน้ำที่ทำความเร็วต่ำ และควบคุมได้ง่าย เพื่อความสะดวกในการแทรกซึมเข้าไปในน่านน้ำแคบๆ และยากต่อการตรวจจับ พรั่งพร้อมไปด้วยระบบ Sensor รุ่นใหม่ พร้อมทั้งระบบปฏิบัติการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วย Navy Seals โดยสามารถบรรทุกเรือดำน้ำขนาดเล็กได้ เรือดำน้ำรุ่นใหม่นี้แตกต่างจากรุ่นเก่า เช่น Los Angels และ Seawolf ที่เน้นความเร็ว และระดับความลึกที่เรือดำน้ำสามารถไปได้ อ้างอิงจาก Popular Mechanics, July 2005 โดย: BoydKansasCity IP: 65.30.26.118 วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:12:31:04 น.
ขอบคุณคุณ BoydKansasCity ครับสำหรับข้อมูล
ผมเจอแต่ CSGN=Strike Cruiser กับ CVB=Large Aircraft Carrier (category merged into CVA, 1952) น่ะครับ ส่วน AEGIS คือระบบอำนวยการรบครับ มีหน้าที่ควบคุมการใช้อาวุธทั้งหมดของเรือ โดย: Skyman (Analayo
![]() |
บทความทั้งหมด
|