กองทัพอากาศประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒
กองทัพอากาศประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒




ในวันที่(๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐) เวลา ๐๘๓๐ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ จะเป็นประธานในพิธีแสดงความยินดีในความสำเร็จการสร้างอากาศยานต้นแบบของกองทัพอากาศ แบบ บ.ชอ.๒ และคล้องพวงมาลัยให้กับเครื่องบินและนักบินทดสอบ ซึ่งประกอบด้วย พลอากาศโท พิธพร กลิ่นเฟื่อง รองผู้บัญชาการกองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ และนาวาอากาศเอก กฤษดา สุพิชณ์ รองผู้บังคับการกองบิน ๑ ฝ่ายบริหาร ณ ลานจอดท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ

ในอดีตที่ผ่านมากว่า ๙๐ ปีของกองทัพอากาศ ได้มีการจัดสร้างอากาศยานขึ้นใช้งานเองมาแล้วหลายสิบแบบ แต่ในช่วงระยะ ๒๐ ปี หลังจากมีปัญหาด้านบุคลากรในการสร้างอากาศยานและงบประมาณ จึงทำให้โครงการสร้างอากาศยานของกองทัพอากาศขาดความต่อเนื่อง โดยอากาศยานแบบสุดท้ายที่มีการสร้างคือเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๘/ก (FANTRAINER 400/600) จำนวน ๓๒ เครื่อง ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างกองทัพอากาศและบริษัท ไรน์ฟลุกซอยบาว ประเทศเยอรมนี เมื่อปี ๒๕๒๕ จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการบินในภูมิภาค ประกอบกับนโยบายของผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาสร้างอากาศยานขึ้นใช้งานเองในประเทศ เป็นการรองรับอุตสาหกรรมการบินตามนโยบายของรัฐบาล กองทัพอากาศ โดยกรมช่างอากาศฯ จึงได้ฟื้นฟูโครงการสร้างอากาศยานขึ้น โดยในระยะแรกนี้ ได้จัดทำแผนและกำหนดโครงการในการสร้างอากาศยานไว้ ๒ โครงการ คือ

โครงการเริ่มแรก เป็นโครงการฟื้นฟูและพัฒนาบุคลากรในการสร้างอากาศยานเพื่อให้บุคลากรมีทักษะและ มีความมั่นใจในการสร้างอากาศยาน โดยกำหนดสร้างอากาศยานต้นแบบชนิดเครื่องยนต์ลูกสูบ เรียกว่า บ.ชอ.๒ ด้วยวิธีการ Reverse Engineering จากเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๕ (SF-260) ซึ่งเป็นเครื่องบินฝึกสมรรถนะสูง มีความปลอดภัยในการบินสูง และมีการออกแบบด้านอากาศพลศาสตร์ที่ดี กรมช่างอากาศฯ จึงเลือกเอาเครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๕ นี้มาศึกษาและพัฒนาให้เป็นโครงการเครื่องบิน บ.ชอ.๒ โครงการ บ.ชอ.๒ เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๘ แม้ว่าโครงการนี้จะดำเนินการไปอย่างล่าช้ากว่ากำหนดไว้เดิมเนื่องจากในขณะที่ทำการพัฒนานั้น กรมช่างอากาศ ฯ ต้องมีการพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยให้ศึกษารายละเอียดของการสร้างอากาศยานให้ได้มากที่สุด เช่น การสร้างโครงสร้างอากาศยาน การพัฒนาความรู้ความชำนาญในการสร้าง Fuselage jig และ Wing jig เพื่อให้เกิดประโยชน์กับโครงการสร้างเครื่องบินแบบ บ.ทอ.๖ ที่ดำเนินไปพร้อมกันด้วย ขณะนี้เครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒ ได้ทำการบินทดสอบครั้งแรกโดยคณะทำงานการบินทดสอบกองทัพอากาศไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา

โครงการที่สอง กรมช่างอากาศกำลังดำเนินการพัฒนาสร้างอากาศยานต้นแบบเรียกว่า บ.ทอ.๖ โดยเลือกใช้เครื่องยนต์ Turbo Prop และใช้พื้นฐานประสบการและความรู้จากการสร้างเครื่องบิน บ.ชอ.๒ ดังที่กล่าวข้างต้น มาดำเนินการ สำหรับโครงการ บ.ทอ.๖ นี้ ได้รับการบรรจุเป็นงานวิจัยและพัฒนาทางทหาร ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม พร้อมทั้งได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน ๓๖.๗ ล้านบาท ซึ่งโครงการสร้างเครื่องต้นแบบ บ.ทอ.๖ ได้ดำเนินการไปแล้วประมาณร้อยละ ๖๐ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี ๒๕๕๑

//www.rtaf.mi.th/rtafnews/rtafnewsdetail.asp?id=902






นี่ผมนึกว่ามันล้มไปแล้วนะครับ เพราะได้ข่าวมาตั้งแต่ปี 47 - 48 ว่าทอ.จะได้งบสร้างเครื่องบิน 30 ล้าน.....ดีใจจริง ๆ ที่มันออกมาเป็นรูปเป็นร่างครับ เชียร์ให้พัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ จนมีประสิทธิภาพมากพอ อาจจะเอาไปแทน AU-23A หรือ CT-4A/E ได้เลยนะครับ ....... มาเลเซียเขาก็ทำเครื่องฝึกเอง เราอย่าน้อยหน้าล่ะครับ

บ.ชอ.๒ จะบินเปิดตัวต่อประชาชนครั้งแรกที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี วันที่ 13 พ.ย. นี้ครับ ถ้าทำได้จะหารูปมาฝากครับ

ขอบคุณคุณ Arthur ณ TFS ด้วยนะครับ



ข้อมูลเพิ่มเติม


บ.ชอ. มาจากคำเต็มว่า เครื่องบินกรมช่างอากาศ เป็นเพียงเครื่องบินต้นแบบที่สร้างเพื่อทดสอบ คล้าย บ. Y แต่ไม่ต่อยอดเข้าประจำการ

ส่วน บ.ทอ. มาจากคำว่า เครื่องบินกองทัพอากาศ มีการสร้างและอาจเปิดสายการผลิตเข้าประจำการ ครับ

ในที่นี้ บ.ทอ.๖ ซึ่งจะมีรูปร่างคล้าย มาเชสตี้ และ บ.ชอ.๒ แต่ใช้เครื่องยนต์ เทอร์โบปอบของอัลลิสัน รุ่น ๒๕๐ ส่วนหัวจึงจะเป็นแบบทรงกระบอก จะมีการสร้างเข้าประจำการ ในอนาคต เพื่อเป็นเครื่องบินฝึกขนาด ๒ ที่นั่ง (ผู้โดยสารอีก ๒ ที่นั่ง) บรรจุเข้าประจำการ และขายต่อไป

ปล.หากสร้างเปิดสายการผลิตคงให้ TAI ทำครับ เพราะ ทอ.ถือหุ่น TAI ถ้าจำไม่ผิดอยู่ที่ 70% ครับ


โดยคุณ : ท้าวทองไหล วันที่ : 2007-11-06 03:46:26





สำหรับข้อมูลเบื้องต้นของ บ.ผ. ๑๕ นั้น กองทัพอากาศจัดซื้อมาใช้ในการฝึกศิษย์การบินเมื่อปี 2516 ครับ เป็นบ.ฝึกที่ผลิตโดยบริษัท Aermacchi ประเทศอิตาลี ปัจจุบันปลดประจำการแล้วครับ



ในอาเซียนนอกจากไทยแล้ว ยังมีประเทศที่จัดซื้อ SF-260 ไปใช้งานคือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนิเซียครับ

โดยปัจจุบันฟิลิปปินส์ยังใช้ SF-260 อยู่ ซึ่งนอกจากภารกิจการฝึกศิษย์การบินของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์แล้ว ยังได้ดัดแปลงไปติดอาวุธเพื่อปราบปรามกลุ่มกบฏในประเทศอีกด้วย และได้จัดซื้อเพิ่มเติมอีก 18 ลำในปีนี้ครับ



สมรรถณะของ SF-260














เครื่องบินที่กองทัพอากาศสร้างเอง


เครื่องบินในอดีตที่ทอ.สร้างและได้เข้าประจำการ

บ.ท. 2 บริพัตร เครื่องบินทิ้งระเบิด น่าจะเป็นเครื่องบินลำแรก ๆ ที่คนเอเชียออกแบบสร้างเอง เคยเดินทางไปถึงอินเดียตามคำเชิญของทางการอินเดียในสมัยนั้นมาแล้วครับ



บ.ฝ. 17 จันทรา เครื่องบินฝึกขั้นต้น ประจำการ 12 ลำครับ



บ.ฝ.18 Fantrainer FT-400 และ บ.ฝ. 18ก Fantrainer FT-600 ครับ ร่วมกับบริษัทเยอรมันสร้าง เครื่องประจำการได้ไม่นานก็ปลดประจำการครับ เนื่องจากประสบอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อย



เครื่องบินต้นแบบ








Create Date : 06 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2550 16:28:49 น.
Counter : 6446 Pageviews.

2 comments
เจาะลึกหวยไทย ประวัติ วิธีการเล่น เปรียบเทียบหวยออนไลน์ และกฎหมายที่ควรรู้ สมาชิกหมายเลข 8146218
(13 เม.ย. 2568 07:34:16 น.)
ซ่อมเครื่องมือแพทย์ (Medical Equipment Repair) สมาชิกหมายเลข 8691904
(10 เม.ย. 2568 16:08:29 น.)
บึงบอระเพ็ด : เป็ดปากสั้น ผู้ชายในสายลมหนาว
(3 เม.ย. 2568 08:55:19 น.)
บึงบอระเพ็ด : เป็ดพม่า ผู้ชายในสายลมหนาว
(31 มี.ค. 2568 10:19:01 น.)
  
สำหรับผม เครื่องบินแบบนี้ออกแนวน่ารัก น่าสะสมเลยครับ
โดย: ปุ๋งเหน่ง วันที่: 6 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:40:34 น.
  
ตารางการเรียน ( F ไม่รู้จัก รู้จักแต่ AA )

จ - พ. บ่ายค๊า

พฤ - ศ. เช๊าค๊า

ปล. ชอบเครื่องบินรุ่นนี้จังสีสันจี๊ดดจ๊าดดดดดดดดด
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 7 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:11:29 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Skyman.BlogGang.com

Analayo
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]

บทความทั้งหมด