F/A-18A/B ของกองทัพอากาศออสเตรเลียในการฝึก Thai Boomerang 2009


การฝึกไทยบูมเมอร์แรง 2009 เป็นการฝึกร่วมระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศออสเตรเลียซึ่งจัดขึ้นปีเว้นปี ณ กองบิน 1 โคราชครับ ในปีนี้กองทัพอากาศออสเตรเลียยังจัด F/A-18A/B จำนวน 7 ลำมาร่วมทำการฝึกเช่นเคย โดยมากันจากฝูงบินทั้ง 4 ฝูงที่ประจำการด้วย F/A-18A/B คือ ฝูงบิน 77 ฐานทัพอากาศ Williamtown ซึ่งเป็นฝูงบินที่มีชื่อเสียงจากการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี สงครามกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในมาเลเซีย รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Enduring Freedom แม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปปฏิบัติการในอัฟกานิสถานก็ตาม ถือเป็นฝูงที่มีประวัติการรบน่าสนใจทีเดียวครับ นอกนั้นก็มีฝูง 75 ฐานทัพอากาศ Tindal ซึ่งเคยร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการ Iraqi Freedom เมื่อปี 2003, ฝูงบินฝึกและฝึกเปลี่ยนแบบที่ 2 ฐานทัพอากาศ Williamtown ซึ่งเป็นฝูงสำหรับฝึกนักบินพร้อมรบของ F/A-18A/B และฝูงบิน 3 ฐานทัพอากาศ Williamtown ซึ่งเข้าร่วมรบตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ถือเป็นฝูงบินที่เก่าแก่ที่สุดของกองทัพอากาศออสเตรเลียครับ

วันนี้มีภาพจากการฝึกมาฝากครับ




การฝึกจัดขึ้น 17 - 28 สิงหาคม 2552 ครับ การฝึกปีนี้ก็ถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ฝึกกับเครื่องบินขับไล่ F/A-18A/B หลังจากฝึกกับ F/A-18C/D/E/F มาบ่อยแล้ว ^ ^"



แต่ถึงจะเป็น F/A-18A/B แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ข้างในนั้นมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เทียบได้กับ F/A-18C/D ในหลายจุดทีเดียวครับ



F/A-18A/B ของกองทัพอากาศออสเตรเลียนั้นเข้าประจำการในช่วงทศวรรตที่ 80 ครับ โดยออสเตรเลียซื้อสิทธิบัตรมาผลิตในประเทศ ปัจจุบันมีประจำการอยู่ทั้งหมด 71 ลำ โดยเป็นรุ่น B สองที่ที่จำนวน 17 ลำ นอกนั้นเป็นรุ่น A ที่นั่งเดี่ยวครับ



F/A-18A/B ทั้งหมดจะถูกทดแทนด้วย F-35 Lightning II จำนวน 100 ลำในอนาคตข้างหน้าในอีกไม่กี่ปีครับ โดยล่าช้ากว่ากำหนดนานหลายปีทีเดียวเนื่องจากการพัฒนา F-35 ประสบปัญหาความล่าช้า



ในภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพอากาศออสเตรเลียใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ AIM-7 Sparrow สำหรับทำการรบในระยะเกินสายตา (Beyond Visual Range) โดย Sparrow นั้นมีความทันสมัยน้อยกว่า AIM-120 AMRAAM ซึ่งมีคุณสมบัติ "ยิงแล้วลืม" หรือ Fire and Forget เนื่องจากตัวจรวดมีเรดาร์ขนาดเล็กอยู่ตรงส่วนหัว เมื่อจรวดวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้ในระยะตรวจจับของเรดาร์ขนาดเล็ก เครื่องบินที่ยิงก็สามารถถอนตัวออกจากพื้นที่การรบได้ทันที ต่างจาก Sparrow ที่เครื่องบินที่ยิงต้องล็อกเป้าหมายเพื่อนำทางตัวจรวดจนกว่าจรวดจะกระทบเป้า ทั้งนี้คาดว่า เมื่อ F-35 เข้าประจำการแล้วนั้น กองทัพอากาศออสเตรเลียน่าจะจัดหาจรวดรุ่นใหม่เข้าประจำการต่อไป



ส่วนจรวดพิสัยใกล้นั้น กองทัพอากาศออสเตรเลียจัดหา ASRAAM เข้าประจำการในปี 2004 โดย ASRAAM เป็นจรวดพิสัยใกล้ที่ทันสมัย สามารถทำงานร่วมกับหมวกบินติดศูนย์เล็งได้ นักบินเพียงแค่มองไปที่เป้าหมายและสั่งยิงจรวดเท่านั้น จรวดก็จะวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้เองโดยอัตโนมัติ

ในภาพนี้ ASRAAM ติดอยู่ที่ปลายปีกซ้ายทางด้านขวาของภาพครับ



และในปีนี้ กองทัพอากาศไทยได้เริ่มใช้งานระบบ ACMI (Air Combat Maneuvering Instrumentation) หรือระบบการฝึกการรบทางอากาศที่จัดหามาให้จากบริษัท Cubic Technology ทดแทนระบบจากอิสราเอลครับ สังเกตุที่ภาพนี้เป็นกระเปาะบันทึกข้อมูลทางการบินรุ่นใหม่ที่จะติดตั้งกับเครื่องบินทุกลำที่เข้าร่วมการฝึกเพื่อบันทึกข้อมูลการบิน โดยสามารถนำมาเปิดชมได้ภายหลังเพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินผลครับ ระบบที่ติดตั้งที่กองบิน 1 นี้ถือเป็นระบบที่ดีที่สุดระบบหนึ่ง จึงไม่น่าแปลกใจว่ากองทัพอากาศหลายชาติจึงติดต่อขอใช้พื้นที่กองบิน 1 ทำการฝึกเสมอครับ



^ ^ ส่วนภาพนี้เกิดขึ้นหลังจากเครื่องบินกลับมาลงจอดที่สนามบินและวิ่งเข้าซองจอดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่การทำความสะอาดฝาครอบห้องนักบินนะครับ แต่เป็นการกำจัดไฟฟ้าสถิตย์ที่เกาะอยู่บริเวณฝาครอบห้องนักบินจำนวนหลายร้อยโวลล์ออกก่อนที่ใครจะเอามือเข้าไปแตะและพบว่าถูกไฟฟ้าซ็อตจนกระเด็นครับ การกำจัดไฟฟ้าสถิตย์นี้จะทำกับ F/A-18A/B เครื่องที่ไม่ได้เคลือบสารป้องกันไฟฟ้าสถิตเท่านั้นครับ จึงเห็นว่าบางเครื่องนักบินสามารถเปิดฝาครอบได้เลยโดยไม่ต้องรอกำจัดไฟฟ้าสถิตย์ก่อน แปลกดีครับไม่เคยเห็นเหมือนกัน ^ ^



สัญลักษณ์ของฝูงบิน F/A-18A/B ต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการฝึก ลำที่สองจากซ้ายนั้นทาสีพิเศษเป็นลายฉลองครบรอบ 20 ปีของการประจำการด้วย F/A-18A/B ครับ (แต่ผมว่าลาย 20 ปีของไทยแจ่มกว่านะฮะ ^ ^)



ส่วนกองทัพอากาศไทยของเราก็ส่งเครื่องบิน L-39ZA/ART ของฝูง 401 จากกองบิน 4 ตาคลีดังที่เห็นในภาพนี้ นอกจากนั้นก็มี Alphajet A จากฝูงบิน 231 กองบิน 23 อุดร และ F-16A/B/ADF จากฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี และฝูงบิน 102 และ 203 กองบิน 1 โคราช เจ้าบ้านเข้าร่วมทำการฝึกครับ



ดังนั้นจึงขอลาไปด้วยภาพของ F-16ADF จากฝูง 102 กองบิน 1 โคราช เจ้าบ้านของการฝึกในครั้งนี้ครับผม ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านกันครับ สวัสดีครับ






Create Date : 24 สิงหาคม 2552
Last Update : 24 สิงหาคม 2552 23:53:29 น.
Counter : 8531 Pageviews.

6 comments
บึงบอระเพ็ด : เป็ดปากสั้น ผู้ชายในสายลมหนาว
(3 เม.ย. 2568 08:55:19 น.)
มนุษย์เริ่มมีบ้านเรือน Turtle Came to See Me
(31 มี.ค. 2568 02:10:26 น.)
บึงบอระเพ็ด : เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเซียตะวันออก, เหยี่ยวต่างดำขาว ผู้ชายในสายลมหนาว
(26 มี.ค. 2568 11:23:14 น.)
นกนางแอ่นหางลวด - ลีลาสุดๆ tuk-tuk@korat
(22 มี.ค. 2568 10:04:12 น.)
  
ป้าจูมองหาแต่นักบินแน่เย้ยยย
โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:23:48:07 น.
  
เราเลยไม่ใส่รูปนักบินมาซะเลย
โดย: Analayo วันที่: 24 สิงหาคม 2552 เวลา:23:53:56 น.
  
สวยทุกลำเลยอะ
โดย: น้องผิง วันที่: 25 สิงหาคม 2552 เวลา:10:52:32 น.
  
ป้าเขามองนักบินที่ไหน

ป้าเขามองหาของกินอร่อยยต่างหาก

ปล. ที่บล๊อคเหม่งพี่เจิมไม่ทันเพราะเน็ตช้าอ่ะ
กว่าจะหมุนกลับมามันอืด มีคนเจิมไปแระ ไม่ได้มือตก
แต่ขัดข้องทางเทคนิค จะเจิมกระทู้ทุกที่ที่พี่โพสด้วย
ย้ำ ๆ ตามนั้น ๆ ๆ (มีคน งง แน่เลย 555)
โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 25 สิงหาคม 2552 เวลา:12:42:54 น.
  
ไม่มองหรอกนักบิน กลัวพูดกันไม่รู้เรื่อง

บินอยู่นั้นแระ นั่งกินพิซซ่าชมดีกว่า
โดย: จูหน่านพ วันที่: 26 สิงหาคม 2552 เวลา:6:58:10 น.
  
พึ่งเห็นบล็อคนี้แฮะ ตกข่าวว่ามีฝึกกับออสเตร ด้วย ^^
โดย: Kross_ISC วันที่: 29 สิงหาคม 2552 เวลา:3:01:57 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Skyman.BlogGang.com

Analayo
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]

บทความทั้งหมด