รู้จัก....(ว่าที่) เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 ของกองทัพอากาศไทย: JAS-39 Gripen สวัสดีครับ หลังจากนิยายเรื่องนี้ดำเนินมาเป็นเวลานานกว่า 4 ปี วันนี้ มันกำลังเข้าสู่ภาคสุดท้ายแล้วครับ นั่นคือตามข่าวเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ครม.มีมติอุมัติในหลักการให้กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 หรือ F-5 ซึ่งกองทัพอากาศจะทำการปลดประจำการหลังจากประจำการมานานกว่า 30 ปี วันนี้ ผมจึงขอถือโอกาส พาทุกท่านไปรู้จักกับเครื่องบินที่อาจจะมาเป็นเครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 (บ.ข. 20) ในประวัติศาสตร์กว่า 90 ปีของกองทัพอากาศไทย นั้นคือ..... ปล. ข้อความใดในกระทู้นี้ ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของข้อความที่ปรากฏอยู่ในกระทู้ ผู้เขียนขอสงวนลิขสิทธิ์ที่จะดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุดถ้าพบการละเมิดสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้เขียน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต อนึ่ง รูปภาพที่ปรากฏในกระทู้นี้บางภาพไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้เขียน เว้นแต่จะกล่าวเป็นอย่างอื่น ตราบใดที่ล้อเครื่องบินยังไม่แตะพื้นเมืองไทย อะไร ๆ ก็เป็นไปได้ กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ค/ง หรือ F-5 E/F ในฝูงบิน 701 สุราษฏ์ธานี มาประจำการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 นับถึงวันนี้มีอายุเกือบ 30 ปี ซึ่งถึงเวลาที่ต้องปลดประจำการ กองทัพอากาศจึงเตรียมการที่จะหาเครื่องบินแบบใหม่มาทดแทน ในชั้นต้น กองทัพอากาศมองเครื่องบินเอาไว้ 5 แบบตามที่มีอยู่ในตลาดโลกคือ - Eurofighter Typhoon ของยุโรป - Rafale ของฝรั่งเศส - F-16C/D Block 50/52+ ของสหรัฐ - Su-30MKIT ของรัสเซีย - JAS-39C/D Gripen ของสวีเดน ซึ่งในขั้นต้นมีอยู่ 3 แบบที่ทอ.สนใจคือ - F-16C/D Block 50/52+ ของสหรัฐ, Su-30MKIT ของรัสเซีย, JAS-39C/D Gripen ของสวีเดน ซึ่งกองทัพอากาศได้ส่งเจ้าหน้าที่ละนักบินไปบินประเมินค่าเครื่องบินทั้งสามแบบ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจต่อไป ซึ่งจากปัญหาด้านการเมืองและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ทำให้มีข่าวคราวและความเคลื่อนไหวมากมายเกี่ยวกับโครงการนี้ ![]() F-5 ฝูง 701 254x - 2547: กองทัพอากาศไทยเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ (ต่อไปจะเรียกว่าโครงการบ.ข. 20) ตุลาคม 2547: ภายหลังจากการเยือนสวีเดนอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำให้สวีเดนเสนอขาย Gripen ให้แก่รัฐบาลไทย และรัฐบาลไทยก็แสดงความสนใจในการจัดซื้อ โดยทางสวีเดนจะขายให้ทั้งหมด 12 ลำภายใต้เงื่อนไขการแลกเปลี่ยนสินค้ากับไก่ไทยจำนวน 50% ของเครื่องบิน โครงการเดินมาถึงการเจรจาในระดับคณะกรรมการ แต่ไม่มีความคืบหน้า กันยายน 2548: สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่ากองทัพอากาศไทยต้องการจัดซื้อ F-16 มือสองจำนวน 16 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องที่ผ่านการใช้งานในปฏิบัติการ Enduring Freedom ที่อัฟกานิสถาน ธันวาคม 2548: ภายหลังจากการเยือนรัสเซียของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สำนักข่าวของรัสเซียอ้างแหล่งข่าวจากบริษัท Rosoboronexport ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้าของรัฐบาลรัสเซียว่า รัฐบาลไทยบรรลุข้อตกลงในการจัดซื้อเครื่องบินรบแบบ Su-30MKIT จากรัสเซียจำนวน 12 ลำในสัญญามุลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ธันวาคม 2548: รัฐบาลไทยปฏิเสธรายงานดังกล่าว ธันวาคม 2548: กองทัพอากาศประกาศเชิญผู้ผลิตส่งข้อเสนอขั้นสุดท้าย และจะประกาศการตัดสินใจในเดือนมีนาคมปี 2549 กันยายน 2549: รัฐประหาร ตุลาคม 2550: ครม.อนุมัติในหลักการ กองทัพอากาศยืนยันการจัดหา JAS-39 จากสวีเดน หลังจากประสบความสำเร็จในโครงการ J-35 Darken (มีลูกค้าต่างประเทศหลายชาติ) และล้มเหลวจากโครงการ JA-37 Viggen (ไม่มีลูกค้าต่างชาติ) สวีเดนซึ่งเป็นประเทศที่มีประวัติในการพัฒนาอากาศยานทางทหารตั้งแต่สงครามโลกจึงดำเนินโครงการในการวิจัยและพัฒนาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบใหม่ ในปี 2525 รัฐสภาสวีเดนมีมติให้รัฐบาลสวีเดนดำเนินการวิจัยและพัฒนา JAS-39 Gripen ซึ่งจะมาทดแทน JA-37 Viggen ทั้งหมด โดยบริษัท Saab ในปัจจุบันทำหน้าที่เป็นบริษัทหลักในการพัฒนา JAS มาจากภาษาสวีเดนโดย.... - J หรือ Jakt หมายถึงอากาศสู่อากาศ - A หรือ Attack หมายถึงอากาศสู่พื้น - S หรือ Spaning หมายถึงลาดตระเวน ซึ่งเป็นการสื่อถึงการปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย แล้วทางผู้ผลิตได้นำชื่อ Gripen ซึ่งก็คือ Giffin ในภาษาอังกฤษมาใช้ด้วยเช่นกัน Gripen ขึ้นบินครั้งแรกในวันที่ 9 ธันวาคม 2531 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนในเวลาต่อมา JAS-39A/B: รุ่นแรกของเครื่อง ใช้มาตราฐานอาวุธของสวีเดน (กำลังปรับปรุงเป็นรุ่น C/D) JAS-39C/D: รุ่นที่พัฒนาต่อจาก A/B โดยใช้มาตราฐานของ NATO JAS-39E/F: รุ่นที่กำลังดำเนินการพัฒนาในอนาคต โดยเพิ่มความสามารถหลาย ๆ อย่างเช่น เรด้าร์รุ่นใหม่ เครื่องยนต์รุ่นใหม่ เพิ่มพิสัยบินให้ไกลขึ้น ฯลฯ Gripen-N: รุ่นที่เสนอให้กับนอร์เวย์ Gripen-DK: รุ่นที่เสนอให้กับเดนมาร์ก ![]() Model Gripen-N กองทัพอากาศสวีเดน: มีประจำการจำนวนมากกว่า 100 ลำ กองทัพอากาศเช็ค: มีประจำการจำนวน 14 ลำ โดยเป็นสัญญาเช่าจำนวน 10 ปี กองทัพอากาศฮังการี: มีประจำการจำนวน 14 ลำ โดยเป็นสัญญาเช่าจำนวน 10 ปี กองทัพอากาศแอฟริกาใต้: มีประจำการจำนวน 28 ลำ โรงเรียนการบิน Empire Test Pilots School: ใช้งาน Gripen ในการฝึกนักบิน ![]() Griepn ของ EPTS หรือ Empire Test Pilots School Crew: 12 Length: 14.1 m (46 ft 3 in) Wingspan: 8.4 m (27 ft 7 in) Height: 4.5 m (14 ft 9 in) Wing area: 25.54 m (274.9 ft) Empty weight: 6,620 kg (14,600 lb) Loaded weight: 8,720 kg (19,200 lb) Max takeoff weight: 14,000 kg (31,000 lb) Powerplant: 1× Volvo Aero RM12 (GE F404) afterburning turbofan, 54 kN dry, 80 kN with afterburner (12,000 lbf / 18,100 lbf) Wheel track: 2.4 m (7 ft 10 in) Performance Maximum speed: Mach 2 Range: Combat radius 800 km, (500 mi), (430 NM). () Service ceiling: 15,000 m (50,000 ft) Rate of climb: m/s (ft/min) Wing loading: 341 kg/m² (70,3 lb/ft²) Thrust/weight: 0.94 Armament 1 × 27 mm Mauser BK-27 cannon 6 × Rb 74 or Rb 98 4 × Rb 99, Rb 71, MICA or Meteor Rb 75, KEPD 350, or various other laser-guided bombs, rocket pods. Rb 15F anti-ship missile Bk 90 cluster bomb Credit: Wikipedia.org ถ้าเทียบกันแล้ว Griepn สามารถบรรทุกอาวุธได้ค่อนข้างน้อย คือราว ๆ 5 ตันเท่านั้น โดยมีตำบลติดอาวุธ (Hard Point) จำนวน 7 จุด (ใต้ลำตัว 1 จุด และปีกข้างละสามจุด) ซึ่งถ้าเทียบกับ F-16 และ Su-30 แล้ว จะมีน้ำหนักบรรทุกที่มากกว่า ![]() Hungarian Air Force แต่เมื่อเทียบกับขนาดแล้ว Gripen มีพิสัยปฏิบัติการที่ค่อนข้างน่าประทับใจทีเดียวครับ แผนภาพด้านล่างนี้แสดงพิสัยในการปฏิบัติการเมื่อประจำการตามกองบินต่าง ๆ ในภารกิจที่แตกต่างกันไป (Thank Mr. signatory) ในภารกิจขับไล่สกัดกัน ติดอาวุธอากาศสู่อากาศ ![]() ในภารกิจขับไล่สกัดกัน ติดอาวุธอากาศสู่อากาศ วางกำลัง ณ ฐานทัพเรือสัตหีบ ![]() ในภารกิจโจมตี ใช้การบินแบบ Hi-Lo-Hi (บินเข้าหาเป้าหมายในระดับสูง เข้าโจมตีในระดับต่ำ ถอนตัวในระดับสูง) ![]() ในภารกิจโจมตี ใช้การบินแบบ Lo-Lo-Lo (บินเข้าหาเป้าหมายในระดับต่ำ เข้าโจมตีในระดับต่ำ ถอนตัวในระดับต่ำ) ติดตั้ง GBU-12 จำนวน 3 ลูก ![]() เครื่องบินรุ่นใหม่ ๆ นั้นส่วนมากมี Datalink กันแทบทุกรุ่นครับ และมีประโยชน์ในการรบค่อนข้างมาก เช่นในกรณีของ F-16 MLU ของทอ. เนเธอร์แลนด์ เคยใช้ Datalink รับ-ส่งข้อมูลหากันจนสามารถยิง MiG-29 ของยูโกสลาเวียตกใน Operation Allie Force ที่โคโซโว หลักการของ Datalink นั้นมันคือไอเดียของสงครามเครือข่าย (Network Centric Warfare) ที่เน้นการเชื่อมโยงการปฏิบัติการของแต่ละหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อลดความผิดพลาดในการโจมตีกันเอง (Blue On Blue: Friendy Fire) และเพิ่มประสิทธิภาพในการรบด้วยการใช้ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากหลาย ๆ หน่วยมาช่วยในการตัดสินใจหรือการดำเนินกลยุทธ์ครับ เช่นในกรณีนี้ ERIEYE หรือสถานีเรด้าร์ภาคพื้น ก็สามารถส่งข้อมูลเป้าหมายให้กับ Gripen ได้เลยทั้ง ๆ ที่ยังติดเครื่องอยู่บนพื้น เมื่อหมู่บิน Gripen ได้รับข้อมูลก็สามารถบินเข้าหาเป้าหมายได้ โดยอาจจะเปิดเรด้าร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ส่วนเครื่องอื่นปิดเรด้าร์ซึ่งก็คือการใช้เทคนิคการพรางทางอิเล็กทรอนิค (Eelctronically Stralth) นั่นเองครับ หมู่บินศัตรูก็จะตรวจพบ Gripen เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่เครื่องอื่นนั้นจะถูกตรวจพบได้ยาก เพราะไม่มีคลื่นเรด้าร์แพร่ออกไป ระบบ RWR (Radar Warning Reciever) ของเครื่องศัตรูก็จะไม่สามารถตรวจจับได้ ในขณะที่เครื่องที่เปิดเรด้าร์สามารถจ่ายเป้าให้เครื่องอื่นเพื่อใช้อาวุธต่อเป้าหมายได้ครับ ![]() ดื้อ ๆ เลย......เรื่องเครื่องยนต์ RM-12 รบกวนอ่านบทความข้างล่างเลยครับ //img182.imageshack.us/my.php?image=rm121bz7.jpg //img340.imageshack.us/my.php?image=rm122em6.jpg นอกจากนั้น Gripen ยังมีห้องนักบินที่ทันสมัย โดยมีจอภาพสีขนาดใหญ่จำนวน 3 จอ แสดงสถานะต่าง ๆ ทั้งหมดของเครื่อง ภายในเครื่องติดตั้งระบบ On-board Oxygen Generating System ซึ่งจะผลิตอ๊อกซิเจนให้กับนักบินโดยอัตโนมัติ ระบบสงครามอิเล็กทรอนิคใหม่แบบ EWS-30 เพิ่มความสามารถในการก่อกวนสัญญาณอัตโนมัติ (Automatic Active Jammer) ซึ่งประกอบกับระบบ RWR แบบ BOW-21 ที่เพิ่มความสามารถในการตรวจจับให้แม่นยำขึ้น และมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศด้วย ในกรณีที่สนามบินถูกโจมตีจนเสียหายใช้การไม่ได้ Gripen สามารถใช้ถนนหลวงในการปฏิบัติการได้ โดยสามารถใช้ถนนหลวงที่มีความยาว 800 เมตรในการวิ่งขึ้น และ 500 เมตรในการร่อนลง และเจ้าหน้าที่สนับสนุนเครื่องสามารถติดตั้งอาวุธ เติมเชื้อเพลิง ตรวจสอบสถานะของเครื่องได้ที่ข้างถนน เนื่องจาก Gripen มีค่าใช้จ่ายในการบินที่น้อย ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก คือใช้ช่างอากาศเพียง 5 คนต่อ 1 เครื่อง ทำให้เครื่องสามารถร่อนลงมารับเชื้อเพลิงและอาวุธ แล้ววิ่งขึ้นได้โดยใช้เวลาที่น้อย (Run Around Time สั้น) ทำให้สามารถปฏิบัติการได้ถี่กว่า ![]() Swedish Gripen Operating on Road นอกจากชาติลูกค้าที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีชาติอื่น ๆ ที่สนใจ Gripen ดังนี้ กลุ่มประเทศบอลติก: โรมาเนีย ลัตเวีย นิทัวเนีย มีความต้องการเช่า Gripen จำนวน 12 ลำ (โอกาสปานกลาง-สูง) โรมาเนีย: ต้องการจัดซื้อเครื่องบินรบจำนวน 40 ลำ โดยมีคู่แข่งคือ F-16 มือสอง (โอกาสปานกลาง-สูง) นอร์เวย์: ต้องการจัดหาเครื่องบินจำนวน 44 ลำเพื่อทดแทน F-16 โดยสวีเดนเสนอ Gripen-N และมีคู่แข่งคือ F-35 และ Typhoon (โอกาสปานกลาง-ต่ำ) อินเดีย: มีความต้องการเครื่องบินที่อาจจะมากถึง 300 ลำ โดยมีคู่แข่งคือ F-16, F/A-18, Typhoon, Rafale, MiG-35 (โอกาสต่ำ) สโลเวเนีย: ต้องการเครื่องบินทั้งหมด 40 ลำ แต่โครงการยังเพิ่งเริ่มต้น (โอกาสปานกลาง-ต่ำ) สวิสเซอร์แลนด์: ต้องการเครื่องบินเพื่อทดแทน F-5 โดยกำลังอยู่ในช่วงต้นของโครงการ ซึ่งต้องแข่งขันกับ F-35, Rafale, Typhoon (โอกาสต่ำ) บัลแกเรีย: ต้องการเครื่องบินทั้งหมด 20 ลำ เริ่มโครงการในปี 2548 (โอกาสปานปลาง) Gripen สามารถติดอาวุธได้หลายค่าย ทั้งสหรัฐ ยุโรป อิสราเอล และ เช่น AIM-120, AIM-9, AGM-65, GBU-10/12, Mk.82 ซึ่งเป็นระบบอาวุธที่กองทัพอากาศมีใช้งาน ส่วนระบบอาวุธของยุโรปที่สามารถติดตั้งได้ก็เช่น Meteor (เทียบเท่า AIM-120), IRIS-T (เทียบเท่า AIM-9), MICA (เทียบเท่า AIM-120) อาวุธของอิสราเอลอย่าง Python-4 (เทียบเท่า AIM-9) และ Darby (เทียบเท่า AIM-120) หรือระบบอาวุธของสวีเดนเองเช่น RBS-15 (ต่อต้านเรือรบ), Taurus KEPD 350 (ระเบิดร่อนคล้าย JSOW) ![]() Hungarian Gripen In Kecskemét Air show นับตั้งแต่ Gripen เริ่มเข้าประจำการมานั้น ทางทอ.สวีเดนได้ส่ง Gripen เข้าร่วมการฝึกหลายครั้ง เช่น - การฝึกกับ MiG-29 ของทอ.เยอรมันตะวันออก ในปี 1999 ซึ่ง Gripen สามารถตรวจจับ MiG-29 ได้ก่อนเนื่องจากมีเรด้าร์ที่ไกลกว่าและมีรูปร่างเล็กกว่า ทำให้ MiG-29 ตรวจจับได้ยากขึ้น แต่ไม่สามารถใช้อาวุธได้เพราะระยะไกลเกินกว่าระยะยิงของ AIM-120 (ซึ่งทำให้สวีเดนสนใจที่จะใช้ Meteor ซึ่งยุโรปกำลังพัฒนามาเป็นอาวุธหลัก โดย Gripen กำลังทดสอบ Moteor อยู่ในขณะนี้) - การฝึกกับทอ.นอร์เวย์ ซึ่งหมู่บินของ Gripen ฝึกการต่อสู้ระยะประชิดหมู่บิน F-16 MLU ของทอ.สวีเดน ผลปรากฏว่าได้รับชัยชนะ - การฝึกกับ F/A-18C/D ของทอ.ฟินแลนด์ โดยทางสวีเดนอ้างว่าสามารถยิง F/A-18 ตกได้ก่อนเนื่องจากตรวจจับได้ก่อน และ Gripen มีภาคตัดขวางเรด้าร์ (Rader Cross Section:RCS) ต่ำกว่า - การฝึก Red Flag Alaska 2006 ซึ่ง Gripen เข้าร่วมกับชาตินาโต้ในภารกิจการขับไล่สกัดกั้นและการสนับสนุนทางอากาศ ผลการฝึกปรากฏว่ามีทั้งได้รับชัยชนะและถูกยิงตก ![]() Hungarian Gripen In Kecskemét Air show เขียนโดยคุณ Icy_CMU ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่าAEW&C ก่อน AEW&C ย่อมาจาก Airborne Early Warning and Control ซึ่งเรามักจะใช้สับสนกับ คำว่าAWACS ซึ่งย่อมาจาก Airborne Warning And Control System 2อย่างนี้ต่างกันอย่างไร พูดง่ายๆคือ AEW&C เป็นซับเซทของAWACS AWACS มีหน้าที่ ตรวจจับ แยกแยะ ระบุประเภทของเป้าหมาย รวมถึงสั่งการ(Command) และ ควบคุม(Control) และจุดสำคัญคือ การจัดการการรบ (Battle Management) มีอะไรที่AWACS ทำได้ แต่ AEW&Cทำไม่ได้ นั่นคือ Battle Management หรือการจัดการการรบ AEW&C ไม่สามารถบูรณาการข้อมูลจากทั้งสนามรบ เพื่อมาจัดการวางแผนการรบได้อย่างสมบูรณ์ หรือพูดง่ายๆ AEW&C มีหน้าที่ ให้ข้อมูล บอกทิศทางเป้าหมาย บอกประเภทเป้าหมาย และนำร่องเข้าสู่เป้าหมายนั้นๆ ในลักษณะการรบของJAS39 นั้น Argus จะทำหน้าที่ ส่งข้อมูลผ่านระบบดาต้าลิงค์ มาให้บ.ที่อยู่ภาคพื้น หรือในอากาศ และทำหน้าที่เป็นหูเป็นตา นำร่องเครื่องjas-39 เข้าสู่เป้าหมาย โดยที่jas-39 ไม่ต้องเปิดเรดาร์ และจะเปิดเรดาร์เมื่อจะทำการยิงอาวุธ/อัพเดทข้อมูลเป้าหมายแก่อาวุธปล่อยเท่านั้น SAAB 340 AEW&Cหรืออีกชื่อคือ S100B Argus มีพื้นฐานจาก เครื่องบินพาณิชย์ SAAB340 ข้อมูลโดยทั่วไปของSAAB 340 ลูกเรือ: 2 นักบิน, 1 เจ้าหน้าที่การบิน ยาว: 19.73 ม. ปีกกาง: 21.44 ม. สูง: 6.97 ม. พท.ปีก: 41.8 ตร.ม. นน.บรรทุกเต็มที่: 13,155 กก. นน.วิ่งขึ้นสูงสุด: 13,290 กก. เครื่องยนต์: 2× เจเนอรัลอิเล็คทริค CT7-9B เทอร์โบพร็อพ กำลัง1295 กิโลวัตต์(1,730 แรงม้า หรือ 1850 แรงม้า เมื่อเร่งกำลัง107% ) ต่อเครื่อง ใบพัด: Dowty Rotol หรือ Hamilton Standard 4กลีบ แบบความเร็วคงที่(เส้นผ่าน ศก. 3.35ม. ) Fuel capacity: 2580 kg (5,690 lb) ประสิทธิภาพ ความเร็วสูงสุด: 523 กม./ชม. ความเร็วเดินทาง: 467 กม./ชม. พิสัยบิน: 1730กม. เพดานบินสูงสุด: 25,000 ฟีต ![]() Swedish Gripen with ERIEYE ในส่วนของเรดาร์และระบบอิเล็คโทรนิคส์นั้นประกอบไปด้วย เรดาร์ Phase Array แบบ SLAR (Side-Looking Airborne Radar หรือแปลเป็นไทยว่า เรดาร์อากาศยานมองทางข้าง )ชนิด AESA (Active Electronically Scanned Atenna หรือ เรดาร์สแกนด้วยอิเล็คโทรนิคส์แบบแอคตีฟ) รุ่น PS-890 Erieyes ของอิริคสัน ทำงานย่านความถี่ 2-4GHz (นาโต้ E/F แบนด์ หรือ อเมริกัน S-แบนด์) ความยาวของเรดาร์ 9ม. หนัก 900กก. ใน1ระบบ ประกอบด้วยจานสายอากาศ 2จาน หันหลังชนกัน(แนะให้ดูรูปประกอบ) ในแต่ละด้านประกอบไปด้วยโมดูลตรวจจับ 200โมดูล(ใน1โมดูล มี Radar Transmitter/Reciever อย่างละ1ตัว) ซึ่งให้การครอบคลุมทางข้าง ด้านละ 120องศา (ในทางปฎิบัติแล้ว ตรวจจับได้ 360องศา แต่ องศาการรับสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดคือ 120องศาในแต่ละด้าน โดยมีจุดอับสัญญาณคือ 60องศาที่ด้านหัวและท้าย) ความสามารถในการตรวจจับ สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่ในสภาวะสงครามอิเล็คโทรนิคส์หนาแน่นได้ที่ระยะ 350กม.+ ขึ้นอยู่กับหน้าตัดเรดาร์ หรือเป้าหมายภาคพื้น ทะเล ได้ที่ระยะ 320กม. ระบบอิเล็คโทรนิคส์อีกอย่าง คือ ระบบพิสูจน์ฝ่าย-IFF และระบบเรดาร์เฝ้าระวังตัวที่2-Secondary Surveillance Radar และมาตรการสนับสนุนทางอิเล็คโทรนิคส์-Electronics Support Measures(ทำหน้าที่เหมือนสถานีเฝ้าระวังทางอิเล็คโทรนิคส์ ตรวจจับ และพิสูจน์ทราบบรรดาคลื่นวิทยุทั้งหลาย) ทำงานที่ย่านความถี่ 2-18GHz (นาโต้E-J แบนด์) พร้อมด้วยระบบวิทยุและดาต้าลิงค์ แบบเข้ารหัส ย่านความถี่HF VHF UHF และดาต้าลิงค์ความเร็ว 4.8kbps ใช้ย่านความถี่VHF/UHF อีกทั้งยังมีออปชั่น เพิ่มระบบ ESM ECM ECCM อีกด้วย เจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานนั้น มีเพียงนักบิน 2คน และช่างเทคนิค 1คน เท่านั้น โดยการควบคุมการทำงานของเรดาร์จะทำงานผ่านศูนย์ควบคุมภาคพื้น //www.ausairpower.net/aew-aesa.html ![]() ![]() ![]() โดย: นางน่อยน้อย
![]() ได้ซะที สงสารนักบิน F5 ตกเกือบทุกปี แค่อยากได้ F16 CD มากว่าแฮะ ถามหน่อยนะครับ F16 ร่นที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือรุ่นไหนครับ ใช้ ซูฟา ของ อิสลาเอล ไหมครับ
![]() โดย: lyonheartz (lyonheartz
![]() ง่ะ F-5 ที่ไหนตกทุกปีคะ -_-
ฟังแล้วใจแป้วหมด ++ หน้าตาดีเนาะ ... ![]() โดย: อาซิ่ม
![]() แหะ ๆ ที่ไม่ได้ปล่อยให้ทุกคนโพสได้ เพราะกลัวคนมาป่วนฮะ
![]() โดย: Skyman (Analayo
![]() โย เราไม่มีระเบิด 1000 ปอนด์ใช้นะ( Mk 83 ส่วน LGB ไม่แน่ใจน่าจะ GBU 11) เรามีแต่ระเบิด 500 ปอนด์(Mk 82 กับ GBU 12) กับ 2000 ปอนด์(Mk 84 กับ GBU 10)นะ......การนับน้ำหนักระเบิดเราจะใช้ ช็อตตัน(ST: Shot Ton) 1 ST ก็ระเบิด 2000 ปอนด์ นั่นแหละ ในภารกิจ AI:Air Interdiction หรือการขัดขวางทางอากาศ(โจมตีทางลึกก็ใช่) เราน่าจะคิดถึงการติดระเบิดขนาด 2000 ปอนด์ เป็นหลัก ส่วน 500 ปอนด์น่าจะใช้มากในภารกิจ BAI:Battle Field Air Interdiction หรือ ภารกิจการขัดขวางทางอากาศในพื้นที่การรบ กับ ภารกิจ CAS:Close Air Support หรือสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดนะ(AI กับ BAI จะคล้ายๆกัน ต่างกันที่แนวต่างๆนะ เอาง่ายๆคือ BAI จะกระทำต่อเป้าหมายที่ส่งผลต่อพื้นที่การรบหรือยุทธบริเวณโดยตรง เช่น ที่บังคับการของหน่วยที่มันกำลังยิงกับเราอยู่ ส่วน AI จะทำต่อเป้าหมายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแต่จะเกี่ยวข้องทางอ้อม เช่น สนามบินข้าศึก หรือ พวกเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ส่วน CAS ก็เช่นกันมันจะต่างจาก BAI ที่แนวและสำคัญคือ CAS จะต้องมีการประสานระหว่างนักบินและกำลังภาคพื้นในยุทธบริเวณนะ).................
โดย: FW190 (FW190
![]() |
บทความทั้งหมด
|