วันนี้...พรุ่งนี้....และมะรืนนี้ของ F-22 Raptor เห็นช่วงนี้หลายท่านพูดกันถึง F-22 ของสหรัฐกันค่อนข้างมาก ซึ่งผมก็คิดว่าน่าสนใจทีเดียว ด้วยเพราะในปัจจุบันนั้นมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ลำนี้ ประกอบกับไอเดียในการเขียนเรื่องของผมชักจะงวดลงไป วันนี้ ผมจึงตัดสินใจเขียนวิเคราะห์อนาคตของสุดยอดเครื่องบินขับไล่ลำนี้มาให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เชิญเลยครับ อยากรู้จัก เชิญทางนี้ดีกว่าครับ "F-22 สุดยอด (หรือเปล่า) เครื่องบินรบของอเมริกา" //www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=15-04-2006&group=1&gblog=32 ตามความคาดหวังของกองทัพอากาศสหรัฐในขั้นต้น ที่ต้องการ F-22 มากถึงเกือบ 800 ลำ แต่เนื่องจากราคาที่พุ่งพรวด ทำให้สามารถจัดหาได้เพียง 183 ลำเท่านั้น มันจึงมีผลลัพธ์หลาย ๆ อย่างตามมาครับ อย่างแรกเลยคือกำลังทางอากาศของสหรัฐไม่สามารถดำรงนภานุภาพเอาไว้ได้เท่าปัจจุบัน เพราะจะขาดแคลนเครื่องบินรบที่จะมาทดแทน F-15 ไปมากกว่า 600 ลำ หรือ 24 ฝูงบินเลยที้ดียว (ทอ.สหรัฐ 1 ฝูง = 25 เครื่อง) ถ้าไม่มีการสั่งซื้อเพิ่มเติม เครื่องบินที่ได้รับการพัฒนามายาวนานกว่า 20 ปี จะต้องปิดสายการผลิตในเวลาแค่ 4 - 5 ปีนับจากนี้เท่านั้น!!!! อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ Boeing เสนอแบบแผน F-15E+ Super Eagle ซึ่งเป็นการปรับปรุง F-15E Strike Eagle ให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยคาดหวังที่จะให้กองทัพอากาศเลือกเป็นเครื่องบินที่จะอุดช่วงว่างการขาดแคลนเครื่องบินรบในอนาคต อันเป็นผลมาจากการลดจำนวนการสั่งซื้อ F-22 ถึง 4 เท่า ซึ่งคงมีความเป็นไปได้ไม่มากนักที่ทอ.สหรัฐจะเลือกตัวเลือกนี้ จากปัญหาทั้งหมด ทอ.สหรัฐและบริษัทผู้ผลิตเลือกที่จะกดดันรัฐสภาสหรัฐให้ผ่านร่างกฏหมายอนุญาตส่งออก F-22 เพื่อสร้างคำสั่งซื้อให้มากขึ้น อันจะทำให้ราคาต่อเครื่องนั้นลดลง (ปัจจุบันมีราคาราวเครื่องละ 180 ล้านเหรียญ หรือราคาเมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแล้วสูงถึงราว 300 ล้านเหรียญ) และในที่สุด สภาคองเกรสก็ผ่านกฏหมายที่จะอนุญาตส่งออก F-22 ให้กับสามประเทศต่อไปนี้คือ อิสราเอล ออสเตรเลีย และญี่ปุน เราจะลองไปดูความเป็นไปได้ของทั้งสามประเทศกันครับ ปล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ "สหรัฐยกเลิกการห้ามส่งออก F-22 " //www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=20-07-2006&group=3&gblog=6 เนื่องจากเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของสหรัฐ ประกอบกับมีภัยคุกคามรอบด้าน ทำให้อิสราเอลที่เข้าร่วมสังเกตุการณ์ในโครงการ JSF หรือ F-35 แสดงความสนใจในตัว F-22 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า ในการนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ระดับสุงของทั้งสองประเทศพบปะพูดคุยกันถึงความเป็นไปได้ในการจัดซื้อ F-22 ของอิสราเอลแล้ว ซึ่งปัญหาหลักที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก็คือ งบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อ ซึ่งอาจจะทำให้การจัดซื้อยังเป็นไปได้ยากในเร็ววันนี้ ออสเตรเลียก็เป็นอีกประเทศที่เข้าร่วมโครงการ JSF ในระดับผู้พัฒนา แต่ก็เริ่มมีความสนใจในการจัดซื้อ F-22 มาใช้งานอยู่บ้างเช่นกัน เรื่องนี้อดีตผบ.ทอ. ของออสเตรเลียถึงกับออกมาให้ความเห็นว่า ออสเตรเลียไม่ควรจำกัดตัวเองอยู่กับ F-35 แต่ควรจะเลือกเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าอย่าง F-22 แทน แต่ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการแสดงความสนใจจนถึงระดับการเจรจาแต่อย่างใด อาจจะเป็นเพราะว่าออสเตรเลียกำลังให้ความสนใจไปที่การปรับปรุง F/A-18A/B ในแผนงาน Hornet Upgrade, การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดหาเครื่องบินฝึกรุ่นใหม่, รวมถึงการจัดซื้อ F/A-18F Super Hornet จำนวน 24 ลำ เพื่อทดแทน F-111 แต่ในกรณีญี่ปุ่นนั้น ดูจะใกล้เคียงกับการเป็นประเทศแรกที่จะได้ F-22 เข้าประจำการมากที่สุด เพราะญี่ปุ่นกำลังดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินรบรุ่นใหม่ที่จะมาทดแทน F-4J และ F-15J โดยน่าจะมีความต้องการถึงกว่า 100 ลำ ซึ่งมีหลายบริษัทเข้าร่วมแข่งขันคือ Eurofighter Typhoon จากยุโรป, Rafale จากฝรั่งเศส, F/A-18E/F จาก Boeing และ F-22 จาก Lockheed Martin นั้นเอง ทั้งนี้ มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของกองทัพอากาศสหรัฐ ในการนำ F-22 จำนวน 12 ลำไปวางกำลัง ณ ฐานทัพอากาศในญี่ปุ่น จากการแถลงการณ์ของกองทัพอากาศสหรัฐระบุว่าเป็นการวางกำลังปกติ แต่เชื่อแน่ว่าสหรัฐน่าจะต้องคาดหวังที่จะให้ญี่ปุ่นได้สัมผัสเครื่องบินแบบนี้ และสร้างความสนใจในการจัดหาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะตัดสินใจว่าจะจัดซื้อ F-22 หรือไม่ในปีหน้าครับ ![]() ด้วยความที่เป็นมหาอำนาจด้านการบินทหารเช่นเดียวกับสหรัฐ ทำให้รัสเซียกำลังดำเนินการวิจัยและพัฒนาเครื่องบินรบยุคที่ 5 ของตนภายใต้ชื่อโครงการว่า PAK-FA ซึ่งสำนักแผนแบบซูคอยจะร่วมมือกับอินเดียในการวิจัย ภาพที่ปรากฏในสื่อซึ่งเป็นภาพกราฟฟิกคอมพิวเตอร์ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นรูปร่างของเครื่องบินแบบนี้ได้ถูกเผยแผร่ออกมาโดยทางอ้อมจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ที่จะนำมาติดตั้งกับ PAK-FA ทำให้เราเริ่มที่จะเห็นภาพการแข่งขันในตลาดเครื่องบินระดับสูงในอนาคตอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ตามข่าวที่เคยออกมา PAK-FA หรือ T-50 จะขึ้นบินในราวปี 2008 - 2010 และถูกคาดการว่าจะมาเป็น F-22 Slayer อย่างแน่นอน F-22 นั้น มันเป็นเรื่องของคนรวยเค้าคุยกันครับ สำหรับเรา การมองดูตลาดของ F-22 จะทำให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนของความเป็นไปของการเมืองโลก ต้องติดตามกันต่อไปว่า ใครจะเป็นชาติลูกค้าแรกที่จะสั่งซื้อ F-22 ไปประจำการ และจะมีคำสั่งซื้อ F-22 จากรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ต้องคอยติดตามครับ สงครามอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร
![]() โดย: thai navy IP: 203.118.99.179 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:13:37:35 น.
erieyes ทําสงครามอเล็กทรอนิกส์ได้ไหม แล้วกริเพนทําสงครามอิเล็กทรอนิกส์ได้ไหม
โดย: บิน IP: 203.118.99.179 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:13:49:31 น.
เขียนเรื่อง Rafale เสร็จหรือยังครับคุน Skyman ผมรออ่านอยู่
โดย: Navy IP: 203.188.18.220 วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:18:35:48 น.
สงครามอิเล็กทรอนิคก็คือมาตราการต่าง ๆ ที่ใช้สื่อทางอิเล็กทรอนิคครับ ทั้งการ jamming การเฝ้าฟัง การดักฟังครับ
ส่วนเรื่อง rafale ยังไม่ได้เขียนเลยครับผม ยังหาข้อมูลดี ๆ ได้ไม่ครบถ้วนครับ โดย: Skyman (Analayo
![]() จ๊ะเอ๋
![]() โดย: เพชร IP: 61.7.174.55 วันที่: 27 มิถุนายน 2550 เวลา:17:57:07 น.
เยี่ยมครับ
โดย: rinsc_seaver IP: 61.90.250.13 วันที่: 29 มิถุนายน 2550 เวลา:10:40:27 น.
www.southpeace.go.th กองอำนวยการรักษาคามมั่นคงภายใน ความอยู่รอดของด้ามขวานไทย
โดย: รัก IP: 61.19.65.137 วันที่: 30 มิถุนายน 2550 เวลา:9:46:08 น.
สงครามอิเล็กทรอนิคส์จะใช้เครื่องพวก Jammers ครับ
เช่น EA-6,EA-18G (เจ้า F/A-18F ที่ถูกดัดแปลง) โดย: PING IP: 203.113.35.11 วันที่: 5 ตุลาคม 2550 เวลา:13:37:35 น.
คุณสกายแมนครับผมขอร้องละครับเปิดให้ประชาชนทั่วไปโพสเถอะครับ สาเหตุที่ต้องป่วนเพราะไม่ค่อยได้เห็นคุณสกายแมน ก็เลยเรียกร้องความสนใจให้เห็นแก่หัวอกพวกเรามั้งไม่ใช่ให้ สมาชิกโพสเท่านั้น ขอความกรุณาด้วยครับ ไม่ใช่เมินคําขอร้องแล้วปรับเป็น บูธนี้โพสได้เฉพาะสมาชิก (มันโหดเกินไปปิดกั้นพวกเรา)ขอกราบเท้าคุณสกายแมนด้วยครับ คราวหน้าจะไม่โพสด้วยวาจาที่ไม่สุภาพ คุณสกายแมนหายหน้านานหน่อยก็คอย กรุณากรุณาให้ประชาชนทั่วไปโพสด้วย
![]() ![]() โดย: f-16 IP: 203.113.76.9 วันที่: 23 ตุลาคม 2550 เวลา:14:46:04 น.
บอกได้คำเดียวเลยค่ะว่า....นาย...เยี่ยมมาก
สู้ๆ โดย: ยายแก้มนิ่ม
![]() |
บทความทั้งหมด
|