อันว่าด้วย.....ระบบเรด้าร์ลอยฟ้า: AWE, AWE&C, AWACS
นับตั้งแต่การถือกำเนิดขึ้นของเรด้าร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้สงครามทางอากาศเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างสิ้นเชิง จากการที่นักบินต้องใช้เรด้าร์ของธรรมชาติคือประสาทสัมผัสทั้ง 5 มาเป็นการจ้องมองจอที่สร้างภาพเป้าหมายด้วยเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีของเรด้าร์ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา จากระบบเรด้าร์ขนาดมหึมา มาเป็นระบบขนาดเล็กที่สามารถใส่เข้าไปในเครื่องบินลำจิ๋วได้ ทำให้เครื่องบินรบชั้นแนวหน้าในช่วงสงครามเย็นต่างติดตั้งเรด้าร์เพื่อตรวจการณ์ภูมิประเทศ ตรวจจับข้าศึก รวมไปถึงการนำทางอาวุธปล่อยเข้าสู่เป้าหมาย

แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายประเทศได้คิดค้นหลักนิยมใหม่ในการใช้เรด้าร์ ด้วยเหตุที่ว่าสถานีเรด้าร์ที่ตั้งอยู่บนพื้นดินมีข้อจำกัดหลายประการ หนึ่งในนั้นคือคือมันเคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งหลายครั้งหลายหนที่เครื่องบินรบของประเทศของตนจะต้องออกไปปฏิบัติการนอกขอบเขตของเรด้าร์ภาคพื้นดิน จึงทำให้มีการพัฒนาระบบเรด้าร์ที่สามารถติดตั้งเข้าไปในอากาศยานได้ เพื่อเป็นสถานีเรด้าร์ลอยฟ้า เหมือนเป็นตาขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นยุทธบริเวณได้โดยรอบ โดยไม่จำกัดพื้นที่

มาวันนี้ ผมจึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับระบบแจ้งเตือนภัยทางอากาศลอยฟ้า และประเภทของมัน รวมถึงรุ่นที่น่าสนใจกันครับ

ปล. ข้อมูลกระทู้นี้ ส่วนหนึ่งได้มาจากคุณ icy_CMU ต้องขอขอบคุณมา ณที่นี้ครับ



ทำไมต้องมีเครื่องบินลำใหญ่ติดเรด้าร์ราคาแพง?


ดังที่กล่าวไปแล้วครับว่า การปฏิบัติการทางอากาศหลายครั้งหลายหน อาจจะจำเป็นต้องบินไปทำภารกิจ ณ ส่วนที่ระบบเรด้าร์ของฝ่ายเราเข้าไม่ถึง จึงทำให้ต้องมีระบบเรด้าร์ที่สามารถพาไปไหนก็ได้ นอกจากนั้น การปฏิบัติการของเครื่องบินประเภทนี้ ยังสามารภทหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการลอยฟ้า คอยควบคุมปฏิบัติการทางอากาศทั้งหมดในยุทธบริเวณหนึ่ง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องรอการสั่งการทั้งหมดจากศูนย์ควบคุมปฏิบัติการภาคพื้นดิน ยิ่งกว่านั้นระบบเรด้าร์ลอยฟ้ายังสามารถเชื่อมกำลังทางอากาศทั้งหมดเข้าเป็นเครือข่าย ทำให้การปฏิบัติการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

แต่ทั้งนี้ เครื่องบินชนิดนี้ก็ยังสามารถแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีกหลายประเภท ตามหน้าที่และความสามารถของมัน เราลองไปทำความรู้จักแต่ละประเภทกันเลยครับ

AEW:Airborne Early Warning


เป็นระบบพื้นฐานที่สุดของเครื่องบินประเภทนี้ครับ หลักการของมันก็คือการนำระบบเรด้าร์ขนาดใหญ่ที่มีพิสัยการตรวจจับไกลติดตั้งเข้าไปในอากาศยาน ซึ่งมันจะทำหน้าที่เป็นตาที่มองเห็นได้ไกลกว่าเรด้าร์ของเครื่องบินรบทั้ว ๆ ไปครับ ระบบจะสามารถระบุตำแหน่งของภัยคุกคาม ความเร็ว ความสูง ทิศทาง รวมถึงการพิสูจน์ฝ่ายครับ

เครื่องบินประเภทนี้ที่น่าสนใจได้แก่ E-1 Tracer และ Nimrod AEW3

E-1 Tracer


E-1 Tracer นั้นเป็นการติดตั้งเรด้าร์รุ่น AN/APS-82 บนเครื่องบิน S-2 Tracker ครับ ซึ่งเรด้าร์ AN/APS-82 นี่ถือเป็นเรด้าร์รุ่นแรกที่นำมาใช้งานกับ AEW ครับ

E-1 Tracer ประจำการในช่วงทศวรรตที่ 50 บนเรือบรรทุกเครื่องบินครับ และถูกแทนที่ด้วยเครื่องที่ใหม่กว่าในช่วงทศวรรตที่ 70



Nimrod AEW3


Nimrod AEW3 เป็นการปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบ Nimrod ในช่วงปี 1970 ของสหราชอาณาจักรครับ โดยติดตั้งระบบเรด้าร์ที่ส่วนหัวและส่วนท้าย แต่โครงการประสบปัญหางบประมาณบานปลาย จึงถูกยกเลิกในเวลาต่อมา

Nimrod AEW3 นั้นทำให้เราเห็นว่าเครื่องบินแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีเรด้าร์เป็นจาน ๆ หมุน ๆ บินลำตัวแต่ประการใดครับ (ลองสังเกตุส่วนที่ปูด ๆ บริเวณหัวและท้ายเครื่องดูครับ)



AEW&C:Airborne Early Warning and Control


หลังจากยุคของการนำเรด้าร์มาติดตั้งบนเครื่องบินเพียงอย่างเดียว หลาย ๆ ชาติได้เพิ่มคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งเข้าไปนั้นก็คือคุณสมบัติในการควบคุมและสั่งการ (Command & Control) ครับ เครื่องบินไม่ได้เป็นเพียงเรด้าร์บินได้เท่านั้น แต่ยังสามารถควบคุมและสั่งการการปฏิบัติการทางอากาศให้กับกำลังทางอากาศในความรับผิดชอบได้ เพียงแต่ทำได้ไม่มากเท่า AWACS ซึ่งจะกล่าวในภายหลังครับ

เครื่องบินแบบนี้มีขนาดไม่ใหญ่มาก ราคาไม่แพงจนเกินไป หลายประเทศที่ไม่มีเงินถุงเงินถังจึงเลือกใช้เครื่องบินแบบนี้ในกองทัพอากาศของตนครับ รุ่นที่น่าสนใจมีหลายรุ่นคือ E-2C Hawkeyes, EMB-145, S 100B Argus, P-3AEW&C, E-737 Wedgetail, และ KJ-200 (Y-8 Balance Beam)

E-2C Hawkeye


E-2C Hawkeye ถือได้ว่าเป็นเครื่องบิน AEW&C ที่ประสบความสำเร็จแบบหนึ่งของโลกครับ มันมาแทนที่ E-1 Tracer ในภารกิจแจ้งเตือน ควมคุม สั่งการทางอากาศบินเรือบรรทุกเครื่องบิน Hawkeye รุ่นล่าสุดติดตั้งระบบเรด้าร์แบบ APS-145 ซึ่งทำให้เครื่องบินสามารถทำภารกิจลาดตระเวนได้ในทุกสภาพอากาศ ตรวจจับและติดตามเป้าหมายได้มากกว่า 20,000 เป้าหมาย ตรวจับได้ไกลว่า 600 กม. ซึ่ง Lockheed Martin ผู้ผลิตบอกว่าไกลกว่าเรด้าร์ประเภทเดียวกับทุกแบบในโลก สั่งการผ่านระบบ Joint Tactical Information Distribution System (JTIDS) ซึ่งมีความสามารถในการป้องกันการก่อกวนทางอิเล็กทรอนิค

ปัจจุบันสหรัฐกำลังพัฒนา E-2D Advanced Hawkeye ซึ่งจะติดตั้งระบบ Avionic แบบใหม่ ห้องนักบินเป็น Glass cockpit และมีความสามารถในการรับการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ

มีหลายชาติเลือกใช้ Hawkeye คือไต้หวัน, อิยิปต์, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, สิงคโปร์, และแน่นอน กองทัพเรือสหรัฐ



EMB-145SA


EMB-145SA คือเครื่องบิน ERJ 145 ของบริษัท Embraer ประเทศบราซิลที่ติดตั้งเรด้าร์ PS-890 ของสวีเดน แบบเดียวกับที่ติดตั้งใน S-100B Argus ของสวีเดน ซึ่ง EMB-145SA ได้เปรียบตรงที่ใช้เครื่องยนต์ Turbofan ทำให้มีสมรรถนะทางการบินที่สูงกว่าครับ

ปัจจุบันมีผู้ใช้สองประเทศคือบราซิลและเม็กซิโก



S-100B Argus


ฟังชื่อแล้วอาจจะไม่ค่อยคุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า ERIEYES แล้วล่ะก็ทุกท่านคงต้องร้องอ๋อ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของ Package ที่สวีเดนเสนอให้กับไทยในการขาย JAS-39 Gripen

S-100B Argus ติดตั้งเรด้าร์ PS-890 ของ Ericsson บนเครื่องบินแบบ Saab 340 ตัวเรด้าร์มีลักษณะเป็นแท่งยาว ๆ อันเป็นการบ่งบอกว่ามันเป็นเรด้าร์ Phased Array ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การหมุนของแหล่งกำเนิดเพื่อกวาดเคลื่อนเรด้าร์ ตัวเรด้าร์มีระยะตรวจจับที่ 450 กม. สำหรับเป้าหมายทางอากาศ 320 กม. สำหรับเป้าหมายในทะเล

ปัจจุบันกองทัพอากาศสวีเดนมี S-100B ใช้งานจำนวน 4 เครื่อง และกองทัพอากาศปากีสถานสั่งซื้อ S-1000 ซึ่งใช้เครื่อง Saab 2000 แทน Saab 340 ไปใช้งานจำนวน 6 เครื่อง มูลค่า 1 พันล้านเหรียญ



P-3AEW&C


P-3AEW&C คือเครื่อง P-3 Orion ซึ่งติดตั้งเรด้าร์ APS-145 นั้นเองครับ โดยมันถูกใช้งานในหน่วยศุลกากรสหรัฐเพื่อลาดตระเวนป้องกันสินค้าหนีภาษีและการการทำผิดกฏหมาย (คิดดูศุลกากรบ้านเขามีเครื่องบินใช้)



E-737 Wedgetail


E-737 Wedgetail คือเครื่องบิน Boeing 737 ซึ่งติดตั้งเรด้าร์แบบ Multi-role Electronically Scanned Array (MESA) ของ Northrop Grumman Electronic Systems ซึ่งโดยรวมแล้วเครื่องยังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งมอบครับ (ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดถึง 18 เดือน)

กองทัพอากาศออสเตรเลียสั่งซื้อ E-737 Wedgetail ไปใช้งานจำนวน 6 เครื่อง ในสัญญามูลค่าหลายหมื่นล้านบาท นอกจากนั้นกองทัพอากาศตุรกียังสั่งซื้อไปใช้งานจำนวน 4 เครื่องในโครงการ Peace Eagle และกองทัพอากาศเกาหลีใต้จำนวน 4 เครื่อง



KJ-200


KJ-200 เป็นโครงการพัฒนาเครื่อง AEW&C ของกองทัพอากาศจีนครับ เรามีข้อมูลไม่มากนักสำหรับโครงการนี้ เท่าที่ (โลกตะวันตก) ทราบคือจีนใช้เครื่องบินรุ่น Y-8 ซึ่งติดตั้งเรด้าร์ Phased Array ที่ดูคล้ายกับ PS-890 ของสวีเดน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2549 KJ-200 เครื่องต้นแบบ 1 ลำประสบอุบัติเหตุตก เป็นเหตุให้นักบินและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตถึง 40 คน



AWACS : Airborne Warning And Control System


AWACS มักจะเป็นศัพท์ที่คุ้นหูครับ เพราะเรามักจะเรียกเครื่องบินในกระทู้นี้ทุกลำว่า AWACS หมดเพื่อความง่ายเข้า แต่ความจริง AWACS คือเครื่อง AEW ที่มีระบบ C4 หรือ Command Control Communication Computer นั้นเอง พูดง่าย ๆ ว่ามันมีความสามารถในการส่งการมากกว่า AEW&C มันทำได้แม้แต่จ่ายข้อมูลเป้าให้เครื่องบินขับไล่ทำการยิงจรวดโดยเครื่องบินขับไล่ไม่จำเป็นต้องเปิดเรด้าร์ของตนเองด้วยซ้ำครับ แต่ประสิทธิภาพที่สูงก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงระยับ ซึ่งทำให้มีแต่ประเทศมหาอำนาจเท่านั้นที่มีใช้งาน

เครื่อง AWACS ที่เด่น ๆ ก็มี E-3 Sentry, E-767, A-50 Mainstray, KJ-2000, Phalcon

E-3 Sentry


AWACS รุ่นนี้มีคนรู้จักมากที่สุดครับ เพราะผู้ผลิตเป็นพวกบ้าสงคราม เลยได้ออกปฏิบัติการจริงอยู่บ่อย ๆ แถมผู้ใช้อื่นก็ยังเป็นมหาอำนาจทั้งนั้น

เครื่องถูกสร้างครั้งแรกในช่วงปี 1970 โดยมีพื้นฐานมาจาก Boeing 707-300 ครับ เครื่องสามารถบินติดต่อกันได้นาน 8 ชม. หรือ 4,000 ไมล์ และสามารถรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศเพื่อเพิ่มระยะเวลาการบินได้อีก

E-3 Sentry ออกปฏิบัติการครั้งแรกในสงครามอ่าวเปอร์เซีย โดยปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 400 ครั้งรวม 5,000 ชม. และชี้เป้าให้เครื่องบินของพันธมิตรยิงเครื่องบินของอิรักตกทั้งหมด 38 เครื่องจาก 40 เครื่อง

E-3 Sentry มีใช้งานในกองทัพสหรัฐ 33 เครื่อง (ตก 1 เครื่อง) กองกำลังนาโต้ 18 เครื่อง (ตก 1 เครื่อง) ซาอุดิอารเบีย 5 เครื่อง สหราชอาณาจักร 7 เครื่อง และฝรั่งเศส 4 เครื่อง



E-767


E-767 ก็คือ E-3 นั้นเองครับ ใช้ระบบเรด้าร์รุ่นเดียวกัน (แต่ version ใหม่กว่า) เพราะว่าเครื่องบิน Boeing 707 ปิดสายการผลิตไปแล้ว กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่นจึงเลือกเครื่องบิน Boeing 767-200 มาติดตั้งเรด้าร์ โดยญี่ปุ่นจัดหาทั้งหมด 4 ลำ ใช้เงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท



A-50 Mainstray


A-50 Mainstray เป็นเครื่อง AWACS ของรัสเซียครับ ติดตั้งเรดาร์ Vega-M เข้ากับเครื่อง Il-76 ซึ่งเป็นเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ แต่ Vega-M มีความสามารถค่อนข้างต่ำกว่าระบบเรด้าร์ของสหรัฐ กล่าวคือ มีระยะจรวจจับ 230 กม. สามารถควบคุมอากาศยานได้ 10 ลำ (E-3 ควบคุมได้ 40 ลำ) บินได้นาน 4 ชม. หรือ 1,000 กม. เป็นต้น

ปัจจุบันรัสเซียมี A-50 Mainstray ประจำการจำนวน 18 เครื่องครับ



KJ-2000


KJ-2000 นั้นเป็นการพัฒนาขึ้นใช้เองของจีนครับ โดยมีพื้นฐานมาจากโครงการที่ถูกยกเลิกไปคือ A-50I (A-50 Mainstray ซึ่งติดตั้งเรด้าร์ของอิสราเอล) จีนใช้เครื่อง Il-76MD ในการติดตั้งระบบเรด้าร์ของจีนซึ่งพัฒนาโดย Nanjing-based 14 institute ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรด้าร์ Phalcon ของอิสราเอล แม้ว่าจะมีลักษณะเป็นจาน ๆ แบบ Rotodome แต่ทว่ามันไม่จำเป็นต้องหมุนไปรอบ ๆ แบบของ E-3 ของสหรัฐ เนื่องจากมันเป็นเรด้าร์ Phased Array ที่ทำงานแบบอิเล็กทรอนิค ซึ่งมันจะกวาดเคลื่อนเรด้าร์ไปรอบตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งกลไลการหมุนแบบแม็คคานิคครับ

KJ-2000 จะสามารถประกาศความพร้อมรบได้ภายในปีนี้หรือปีหน้าครับ



Phalcon


ความจริง Phalcon เป็นชื่อของชุดเรด้าร์ที่พัฒนาโดยอิสราเอลครับ (EL/M-2075 Phalcon) โดยผู้ใช้สามารถเลือกติดตั้งกับอากาศยานที่ตนเองต้องการได้ โดยกองทัพอากาศอิสราเอลใช้เครื่อง Gulfstream G550 และรุ่นส่งออกซึ่งขายให้กับอินเดียจำนวน 3 ระบบนั้น อินเดียก็เลือกใช้ Il-76 เช่นกันครับ

ทั้งนี้ จีนเคยพยายามจัดซื้อระบบเรด้าร์ Phalcon แต่ถูกสหรัฐกดดันจนอิสราเอลไม่ขายให้ (จีนจึงทำใช้เอง) นอกจากนั้นยังพ่ายแพ้ให้กับ E-737 ในโครงการการจัดหาเครื่องบินของเกาหลีใต้ (เขาบอกว่าสหรัฐจะไม่ขายระบบสื่อสาร L3 ให้อิสราเอลนำไปติดตั้งกับ Phalcon เพื่อที่เกาหลีใต้จะได้เลือก E-737 ของตน )



AEW Helicopter


ไม่ใช่แต่เพียงเครื่องบินเท่านั้นทำภารกิจนี้ได้ แค่ยังมีเฮลิคอปเตอร์บางแบบที่สามารภทำภารกิจ AEW ได้เช่นเดียวกันครับ

หนึ่งในนั้นก็คือ Sea King ของราชนาวีหลวงซึ่งติดตั้งเรด้าร์เป็นโดมขนาดใหญ่ด้านล่าง Sea King รุ้น AEW ปฏิบัติการจากเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Invincible โดยมีบทบาทสำคัญมากในสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

นอกจากนั้นยังมี Ka-31 ซึ่งอินเดียและรัสเซียมีใช้งาน



แล้วไทยล่ะ? ไม่ซื้อ E-3 หรือ E-737 มาใช้บ้างเหรอ






ฝันไปเถอะ!!!!!




เฮ้ยเดี๋ยว!!!....พี่ไทยไม่คิดอยากจะได้บ้างเหรอ?


มีครับ โครงการมีแน่ ทั้งโครงการปรับปรุง F-16, C-130, PC-9, โครงการจัดหา บ.ข. 20 แทน F-5, โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงเสริม G-222, รวมไปถึงโครงการจัดหา AEW&C ด้วย

แต่ปัญหาก็คือ........เรามีโครงการมากกว่าเงินที่มี ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกติของรัฐบาลประเทศสารขัณฑ์

ฉะนั้นเราต้องลองมาจัดลำดับความสำคัญครับ ถ้าพูดเฉพาะกองทัพอากาศ ความสำคัญอันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้น บ.ข. 20 ที่จะมาแทน F-5 ของกองบิน 7 ที่ชราภาพและตกบ่อยมาก ถัดจากนั้นก็ต้องจัดหาบ.ข. 20 ให้เต็มฝูงคือ 16 ลำ ถัดไปก็ต้องไปดูเครื่องบินลำเลียงหรือการปรับปรุง F-16 ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาล ยิ่งเศรษฐกิจอย่างงี้ แค่โครงการที่เร่งด่วนยังแทบดำเนินการต่อไปไม่ได้เลย AEW&C ของทอ.ไทยจึงต้องร้องเพลงรอต่อไป เนื่องจากว่าในปัจจุบันเรด้าร์ภาคพื้นก็ยังสามารถทำงานได้น่าพอใจ แน่นอนถ้ามี AEW&C มาเสริมจะยิ่งแน่นขึ้น แต่เงินยังไม่มีครับ ต้องรอก่อน

หรือเอาให้ง่ายเข้า ก็จัดหา บ.ข. 20 เป็น JAS-39 Gripen ก็ได้ครับ เขาบวก S-100B มาให้ 2 ลำ กับ Saab 340 เครื่องเปล่า ๆ ที่ใช้ฝึกอีก 1 ลำ



สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่าน สวัสดีครับ



Create Date : 05 กันยายน 2550
Last Update : 21 ตุลาคม 2550 4:08:59 น.
Counter : 11030 Pageviews.

27 comments
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ…วางแผนการเงินอย่างไร ให้เหลือใช้ถึงปลายเดือน! สมาชิกหมายเลข 7654336
(13 เม.ย. 2567 02:04:45 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
  
อันนี้รุ่นอะไรหรอครับ
โดย: Navy IP: 125.25.210.167 วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:16:47:48 น.
  
อันนี้ด้วยครับ รบกวนบอกหน่อยครับ เพราะผมถามเพื่อนแล้ว เพื่อนไม่รู้อ่ะครับ
ขอบคุณครับ
(ขอโทษที่โพสเยอะไปนะครับ)
โดย: Navy IP: 125.25.210.167 วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:16:52:47 น.
  
รูปแรกเป็น C-130 ที่ติดเรด้าร์ APS-145 ครับ ส่วนรูปที่สองน่าจะเป็นคอนเซปหรือจินตนาการมากกว่าครับ เพราะยังไม่ได้ข่าวว่าสหรัฐมีโครงการติดตั้งระบบ AEW ใน V-22 ครับ
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:17:27:22 น.
  
พี่ครับเม้นนิดนึงครับเรื่องที่พี่โพสไปเมื่อปีที่แล้ว (สิงหาคม2549)
ผมกลับไปย้อนอ่านดูอะครับที่พี่บอกว่า เรือ ทีคอนเดโรก้าขอ สหรัฐใช้Sm-2 ยิงใส่เครื่องบินของสายการบินอาหร่านตกจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 280 คน

ความผิดพลาดไม่ได้เกิดขึ้นจากที่ลูกเรืออ่านค่าแผง IFF ผิดนะครับเพราะรหัสของเครื่องบินจะมี 5 หลักช่ายไหมครับถ้าเกิดเป็นเครื่องบิน พานิช จะขึ้นต้นด้วยเลข 3 แต่ถ้าเป็นเครื่องบินรบ จะขึ้นต้นด้วยเลข 2 ครับ แต่บนแผง IFF นั้นลูกเรือและกับตันยืนยันว่า มันเป็นเลข 2 ครับ จึงทำให้ต้องตัดสินใจยิง
มันเป็นความผิดพลาดของระบบ IFF ครับ ที่ไม่ยอมอ่านค่าใหม่ เนื่องจากดันไปอ่านค่าของเครื่องบินรบ อีหร่าน ที่มี serial code ตรงกับที่เ้ขายืนยันพอดีครับ ซึ่งอยู่ที่ฐานทัพอากาศครับ
เลยเข้าใจผิด
โดย: q-_-p IP: 58.8.40.109 วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:18:59:34 น.
  
สุดท้ายละพีๆ กองทัพเรือเรามีความคิดที่จะเอาพวก Aegis หรือว่า Uss Saipan, โรงพยาบาลลอยน้ำขนาดยักษ์ มาเป็นของเล่นบ้างไหมครับ?? ผมว่า Uss Saipan เป็นเรือที่มีประโยชน์ที่สุดลำนึงเลยนะสามารถบรรทุก harrier ได้6 Ah-1 ได้ 4 Nighthawk, Sea king อีก 25 ลำ
แล้วยังบรรทุกยานเกราะสะเทือนน้ำสะเทือนบก และ เรือยกพลขึ้นบกได้อีกเพียบ

โรงพยาบาลลอบน้ำของสหรัฐ ก็สามารถช่วยเหลือทหารที่อยู่ชายฝั่งได้มากครับ มีเตียงคนไข้ตั้ง 200 แหนะ ห้องผ่าตัดอีก 16 ห้อง
ผมว่าถ้ามีก็จะช่วย นาวิก ไปได้ไม่น้อยเลยครับ
โดย: q-_-p IP: 58.8.40.109 วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:19:03:50 น.
  
อ้อ OK ครับ เรื่อง AEGIS อิหร่าน.....ขอบคุณที่แก้ไขให้ครับ

AEGIS ได้แต่ฝันครับ ถ้าไม่นับว่าเขาไม่ขายให้ราคามันก็สูงเกินไป อีกอย่างทร.มีโครงการต่อเรือ LPD อยู่แล้วครับ คงไม่จำเป็นต้องไปถอยเรือมือสองครับผม
โดย: Skyman IP: 202.28.62.245 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:7:26:23 น.
  
ยังสับสนอยู่นิดหน่อยครับ
AEW ก็คือสถานีลอยฟ้า ทำหน้าที่เหมือนสถานีเรดาร์ปกติ การติดต่อสื่อสารกับหมู่บินขับไล่ทำได้เพียงแจ้งพิกัดเป้าหมายให้หมู่บินขับไล่ทราบ แล้วให้หมู่บินสั่งการแจกจ่ายเป้าหมายกันเองใช่ไหมครับ

ส่วน AEW&C ก็คือ AEW ที่เพิ่มความสามารถในการสั่งการแจกจ่ายเป้าหมายให้แต่ละเครื่องในหมู่บินได้เลยใช่หรือป่าวครับ
โดย: นิค IP: 210.1.13.194 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:8:19:31 น.
  
นี่บทความจากผู้จัดการ ชื่อ มหกรรมกินเครื่องบิน
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9500000104766
โดย: f-16 IP: 58.147.6.227 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:10:23:34 น.
  
ผมว่าทางเลือกเรามีอยู่ 3 ทาง ครับ
1.ซื้อ jas-39 แถม S-100B
2.นำ PC-3 ไปติดตั้งระบบ AWE&C
3.ซื้อ E2C มือสองจากสิงคโปร์
โดย: sam IP: 58.9.71.204 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:12:52:18 น.
  
สกายแมนตอบด้วย ตอบด้วย เปิดบูธผากคําถามที่นี่ได้แล้วครับ
โดย: f-16 IP: 58.147.6.227 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:13:21:18 น.
  
ในรูปที่2ของคุณ Navy คือโครงการ EMV 22 เป็นคอนเซปหรือจินตนาการโครงการติดตั้งระบบ AEW ให้กับ V22เหมือนที่ท่าน Skyman ว่าไว้ครับ
โดย: Dark Squadron IP: 125.27.174.69 วันที่: 8 กันยายน 2550 เวลา:13:20:04 น.
  
คือพึ่งศึกษาอะคับ รบกวนถามว่า หอเรดาร์ลอยฟ้าเหล่านี้ ด้วยขนาด+ความเร็วในการบิน มันไม่เป็นเป้า นิ่งให้ บ.ขับไล่เหรอคับ
คอบคุณคับ
โดย: ง่ะ. . . . IP: 124.121.247.164 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:1:26:06 น.
  
จากข้อสงสัยของคุณ "ง่ะ" ผมว่าเครื่องบินพวกนี้น่าจะบินวนอยู่นอกพื้นที่ปฏิบัติการนะครับ เนื่องจากระยะทำการของระบบตรวจจับ ระบบสื่อสาร ซึ่งไกลมากเกินกว่าระยะยิงของอวป.อากาศสู่อากาศ แล้วผมว่าเครื่องพวกนี้น่าจะมีมาตรการต่อต้านทางอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับนึงด้วยนะเพื่อป้องกันตนเอง
โดย: นิค IP: 210.1.13.194 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:10:44:48 น.
  
JAS-39 Gripen มาแล้วครับ บวก S-100B 2 ลำ กับ Saab 340 ใช้ฝึกอีก 1 ลำ งานนี้เรามี AEW&C สมใจ
ถ้าใครยังไม่รู้นะ รัฐบาลไทยเลือก Gripen มา 6 เครื่องแว้ว
โดย: SING BIRD IP: 125.24.192.163 วันที่: 12 กันยายน 2550 เวลา:16:22:32 น.
  
ทั้งนี้ทอ.ไทยยังไม่ได้เลือกแบบเครื่องบินครับ ซึ่งการจัดซื้อจะกระทำหลังเลือกตั้งครับ

ปกติแล้วระบบ AEW ทั้งหลายนี่จะไม่ได้เข้าใกล้ในพื้นที่การสู้รบทางอากาศมากนักครับ อีกทั้งยังมีเครื่องบินขับไล่คอยคุ้มกันครับผม
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 14 กันยายน 2550 เวลา:9:18:53 น.
  
ขอบคุนสำหรับข้อมูล เรด้าค่ะ ติดตาม อันต่อไปนะคะ

( ^ ^,,)
โดย: AnglezI IP: 58.8.153.177 วันที่: 15 กันยายน 2550 เวลา:13:45:38 น.
  
ผมว่าสมัยนี้คบกัับพวก ยุโรปได้เทคโนโลยีดีกว่าคบพวก US นะครับ
ซื้อง่ายขายคล่องกว่ากันเยอะ เอาแค่การท่องเที่ยวลองวัดดูนะครับว่า
ประเทศไหนให้คุณประโยชน์ให้มากกว่ากัน ระหว่าง US กับ EU
โดย: n IP: 202.41.187.247 วันที่: 15 กันยายน 2550 เวลา:15:01:47 น.
  
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 4 ตุลาคม 2550 เวลา:14:33:05 น.
  
สถานีเรดาร์ปกติ ที่อยู่ภาคพื้นดิน สามารถคลอบคุมพื้นที่ได้ไกลเท่าไหร่ครับ
โดย: change me ! IP: 203.146.63.189 วันที่: 7 ตุลาคม 2550 เวลา:16:25:41 น.
  

โดย: att IP: 221.128.64.44 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:11:35:53 น.
  








โดย: att IP: 221.128.64.44 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:11:38:31 น.
  
//www.gripen.com/en/GripenFighter/TheGripenFighter.htm

สวัสดีครับ ขออภัยที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนโพสท์
โดย: att IP: 221.128.64.44 วันที่: 12 ตุลาคม 2550 เวลา:11:43:24 น.
  
ของไทย มีแล้วคราบ ใช้นอแมท มาติดเรด้าอีริกอาย 2 เครื่อง
โดย: ธารา IP: 58.137.127.1 วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:12:41:24 น.
  
ปัญหาของเราอยู่ที่คนใช้ เพราะส่วนใหญ่คนที่รู้จริงหนีไปอย่ภาคเอกชนหมด ในกรณีนี้ ยศ นาวาเอก กับเจ้าหน้าที่วิทยุการบินเงินเดือนมันต่างกันลิบเลยไม่ค่อยอยู่กันที่เห็นชัดก็คือ กองทัพเรือพวกจ่าอีเล็คทรอนิค หายกันแซบไปปีนเสาร์ซ่อมเรด้าห์ กันมันกว่า โดยเฉพาะพวกซ่อมโซน่าหาปลา กับเรด้าเดินเรือ
โดย: ธารา IP: 58.137.127.1 วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:12:45:35 น.
  
ปัญหาของเราอยู่ที่คนใช้ เพราะส่วนใหญ่คนที่รู้จริงหนีไปอย่ภาคเอกชนหมด ในกรณีนี้ ยศ นาวาเอก กับเจ้าหน้าที่วิทยุการบินเงินเดือนมันต่างกันลิบเลยไม่ค่อยอยู่กันที่เห็นชัดก็คือ กองทัพเรือพวกจ่าอีเล็คทรอนิค หายกันแซบไปปีนเสาร์ซ่อมเรด้าห์ กันมันกว่า โดยเฉพาะพวกซ่อมโซน่าหาปลา กับเรด้าเดินเรือ
โดย: ธารา IP: 58.137.127.1 วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:12:46:46 น.
  
ปัญหาของเราอยู่ที่คนใช้ เพราะส่วนใหญ่คนที่รู้จริงหนีไปอย่ภาคเอกชนหมด ในกรณีนี้ ยศ นาวาเอก กับเจ้าหน้าที่วิทยุการบินเงินเดือนมันต่างกันลิบเลยไม่ค่อยอยู่กันที่เห็นชัดก็คือ กองทัพเรือพวกจ่าอีเล็คทรอนิค หายกันแซบไปปีนเสาร์ซ่อมเรด้าห์ กันมันกว่า โดยเฉพาะพวกซ่อมโซน่าหาปลา กับเรด้าเดินเรือ
โดย: ธารา IP: 58.137.127.1 วันที่: 16 ตุลาคม 2550 เวลา:12:48:10 น.
  
แต่ตอนนี้ประทศไทยเราเอายาส39แล้ว เย้
โดย: benzanaz IP: 124.121.55.64 วันที่: 17 ตุลาคม 2550 เวลา:18:03:28 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Skyman.BlogGang.com

Analayo
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]

บทความทั้งหมด