การแบ่งประเภทของเรือรบและการตั้งชื่อเรือ เรือรบมีหลายประเภทครับเพื่อตอบสนองหลายภารกิจและหลายความเหมาะสม เหมือนรถยนต์ยังต้องแบ่งเป็นหลากหลายประเภท การแบ่งชั้นเรือนั้นมีมานานมากแล้วครับ มีเรือหลายชนิดที่ได้หายไปจากกองทัพทั่วโลกแล้วเนื่องจากหลักนิยมที่เปลี่ยนไป การแบ่งประเภทของเรือ ความจริงการแบ่งประเภทของเรือนั้นมามากมายหลายสิบแบบ เนื่องความความซับซ้อนในการปฏิบัติ ภารกิจ ฉะนั้นเพื่อความสะดวก (ของตัวผมเอง) ผมจะเขียนเฉพาะที่เด่น ๆ แล้วกันครับ - Battleship หรือเรือประจันบาน (BB) เรือประจันบานนั้นเป็นเรือที่เป็นพระเอกในยุคที่การรบทางทะเลใช้ปืนยิงเข้าหากันอย่างเดียว ฉะนั้นเรือประเภทนี้ต้องมีเกราะหนาและปืนใหญ่ที่ใหญ่มากและมีจำนวนมากที่สุด แต่การกำเนิดของเรือบรรทุกเครื่องบินในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้เรือประจันบานต้องลดบทบาทลงไปเป็นการยิงสนับสนุนและการระดมยิงฝั่งจนปลดประจำการไปในที่สุด ในปัจจุบันไม่มีเรือประเทศนี้เข้าประจำการแล้ว ![]() Cruiser หรือเรือลาดตระเวน (CG) เรือลาดตระเวนนั้นในอดีตคือเรือขนาดเล็กที่ติดอาวุธพอที่จะปฏิบัติการได้อย่างอิสระ แต่ปัจจุบันมันคือเรือขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการต่อตีเป้าหมายได้หลากหลาย โดยบางแหล่งบอกว่าเรือประเภทนี้จะมีระบบโจมตีกับประบบป้องกันตัวแยกจากกัน ความจริงเรือชนิดนี้มันมองยากเหมือนกันว่าอะไรควรจะจัดอยู่ในชั้นนี้ ตัวอบ่างของเรือชั้นนี้ก็คือเรือ USS Tigonderoga ในกองเรือคุ้มกันเรือบรรทุกเครื่องบิน ทำหน้าที่โจมตีเรือ และสามารถโจมตีฝั่งโดยขีปนาวุธ Tomahawk ได้ ![]() USS Toconderoga Destroyer หรือเรือพิฆาต (DDG) เรือพิฆาตคือเรือที่มีประยะปฏิบัติการไกล ออกแบบมาเพื่อคุ้มกันของเรือ ในอดีตมันคือเรือตอร์ปิโดนั้นเอง แต่เมื่อมีภัยคุกคามใหม่ ๆ ขึ้นมามันก็ถูกใส่คุณสมบัติต่าง ๆ เพิ่มเข้าไปเช่น การต่อต้านอากาศยานหรือการต่อต้านเรือดำน้ำ เรือพิฆาตส่วนใหญ่จะปฏิบัติการร่วมกันกับกองเรือเท่านั้น และมีหน้าที่ในเชิงป้องกันมากกว่า ตัวอย่างก็เช่น USS Arleigh Burke ของอเมริกา Type 052C Luyang II ของจีน หรือ Admiral Levchenko ของรัสเซีย เป็นต้น ![]() Type 052C Luyang II ![]() Arleigh Burke Class Destroyer ![]() Admiral Levchenko Frigate หรือเรือฟริเกต (FFG) เรือฟริเกตเป็นเรือที่เป็นกำลังรบหลักของกองทัพเรือส่วนใหญ่ของโลก (รวมทั้งไทย) ในอดีตเรือฟริเกตเป็นเรือที่มีความเร็วสูง แต่เล็กกว่าเรือ Battleship ใช้ในการลาดตระเวน ในปัจจุบันเรือฟริเกตถูกใช้เรือเรือที่มีหน้าที่ปกป้องเรืออื่นหรือปกป้องกองเรือสินค้า ทั้งยังสามารถปราบเรือดำน้ำได้ด้วย ซึ่งอันที่จริงเรือฟริเกตก็ติดอาวุธคล้าย ๆ เรือพิฆาตน้ำแหละ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น ตัวอย่างของเรือฟริเกตก็มี USS Oliver Hazard Perry ของอเมริกา มีหน้าที่ปราบเรือดำน้ำให้กับกองเรือ ของใกล้ตัวมาอีกหน่อยก็คือ RSS Formidable ของกองทัพเรือสิงคโปร์ เป็นเรือล่องหนชั้น La Fayette ของฝรั่งเศส ของเรือไทยก็เช่นเรือชั้นนเรศวร เป็นต้น ![]() USS Oliver Hazard Perry ![]() RSS Formidable (La Fayette Class Frigate) ![]() HTMS Taksin Corvette หรือเรือคอร์แวตต์ (K) เป็นเรือขนาดเล็กกว่าเรือฟริเกต ส่วนใหญ่ใช้ลาดตระเวนในบริเวณที่ไม่ไกลฝั่งมากนัก ติดอาวุธบ้างตามสมควร แต่บางครั้งก็สามารถออกปฏิบัติการในทะเลหลวงได้เหมือนกัน เรือในชั้นนี้ที่โด่งดังที่สุดก็คงเป็นชั้น Visby เรือคอร์แวตต์ล่องหนของสวีเดน หรือของไทยเราก็คือเรือชั้นรัตนโกสินทร์นั้นเอง ![]() Visby Class Corvatte ![]() Rattanakosin Class Corvette Off-Shore Patrol Vessel หรือเรือตรวจการณไกลฝั่ง (OPV) ถือเป็นเรือชนิดใหม่ครับ โดยจะมีขนาดพอ ๆ กับเรือฟริเกตขนาดเบา แต่ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการนั้นถูกกว่าเรือฟริเกตมาก ในยามปกติอาจจะติดอาวุธแค่ปืนเรือเท่านั้น แต่ในยามสงครามก็สามารถติดอาวุธต่าง ๆ ที่จะสามารถออกรบเคียงข้างเรือฟริเกตได้ ตัวอย่างเรือในชั้นนี้ก็มีเช่น MEKO A-100 หรือ ร.ล.ปัตตานีของไทยนั้นเอง ![]() MEKO A-100 ![]() Pattani Class OPV การเรียกชื่อชั้นของเรือ การเรียกชั้นของเรือนั้นจะเรียกตามเรือลำแรกที่ต่อครับ เช่นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz หมายความว่าเรือลำแรกของเรือชุดนี้คือเรือ USS Nimitz นั้นเอง หรืออย่างเช่นเรือชั้นเรศวรของไทยก็หมายความว่าร.ล.นเรศวรเป็นเรือลำแรกของชั้นที่ถูกต่อออกมานั้นเอง การตั้งชื่อเรือ ข้อมูลอ้างอิงจาก "ข่าวสารนาวี" ปีที่ 12 ฉบับที่ 299 ธ.ค. 2548 เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุลของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.ปิ่นเกล้า เรือฟริเกต ตั้งชื่อตามแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.คีรีรัฐ ร.ล. ตาปี เรือคอร์แวตต์ ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่นร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์ เรือเร็วโจมตี แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือเรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งชื่อตามเรือรบในสมัยโบราณ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.วิทยาคม ร.ล.อุดมเดช และเรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อวังหวัดชายทะเล เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจจานุ เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิสำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.หนองสาหร่าย เรือยกพลขึ้นบก เรือลำเลียง และเรือลากจูง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล. อ่างทอง เรือหลวงสิมิลัน เรือตรวจการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ -เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.หัวหิน ร.ล.แกลง -เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น ร.ล.พาลี ร.ล.คำรณสินธุ เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น ร.ล.จันทร ร.ล.ศุกร์ เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เหมือนกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ชื่อเรือนั้นให้ขอพระราชทาน และให้ใช้ว่าเรือหลวงนำหน้า เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 200 ตัน) ให้ตั้งชื่อด้วย อักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือ มีหมายเลขต่อท้ายอักษร กองทำเรือเป็นผู้ตั้งให้ เช่น เรือ ต. 91 เรือต. 991 เป็นต้น หมดยุคเรือ Battle ship ไปแล้วหรอครับ แล้วเรือยามาโต้ของญี่ปุ่นนี่ จัดอยู่ในเรือBBหรือป่าวครับ ชอบเรือนี้มากเพราะดูน่ากลัวดี ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆมาให้อ่านครับ
โดย: จับฉ่าย IP: 58.9.13.174 วันที่: 2 พฤษภาคม 2549 เวลา:17:33:56 น.
ใช่ครับ ยามาโต้คือ BB ที่ใหญ่ที่สุด
โดย: Skyman IP: 158.108.81.123 วันที่: 3 พฤษภาคม 2549 เวลา:9:01:46 น.
ท ทหาร อด ทน อิอิ
เค้าบอกว่า ทร. พ่อครัว ทำอาหาร อร่อยที่สุดใช่ หรือไม่ โดย: ไพร่ IP: 58.64.123.122 วันที่: 3 พฤษภาคม 2549 เวลา:15:12:47 น.
ก็ต้องแหง๋ล่ะครับ ก็เรือรบต้องออกลาดตระเวนครั้งนึงก็ใช้เวลานานอาหารก็ต้องทานกันบนเรือตลอดทุกมื้อทุกวัน ถ้าพ่อครัวทำอาหารไม่อร่อยก็แย่กันทั้งลำสิครับ กองทัพบกต้องเดินด้วยท้อง กองทัพเรือก็ต้องแล่นด้วยท้องเหมือนกันแถมแวะกินก๋วยเตี๋ยวข้างทางไม่ได้ซะด้วยสิ
![]() โดย: อิอิ IP: 124.121.71.6 วันที่: 20 พฤษภาคม 2550 เวลา:3:24:13 น.
ชอบเรือยามาโต้มากครับ
![]() โดย: อ๊อฟ IP: 202.129.35.204 วันที่: 10 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:36:22 น.
|
บทความทั้งหมด
|