Seeking the source of Ebola (2)


ปี 1967 หรือ 9 ปีก่อนที่จะค้นพบอีโบล่า ลิงอูกันดาถูกส่งออกเพื่องานวิจัย
ไปยัง Frankfurt, Marburg เยอรมันนี และ Belgrad ยูโกสลาเวีย
มีเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องล้มป่วยรวม 32 ราย เสียชีวิต 7 ราย
มันได้ชื่อตามเมืองที่เกิดเหตุว่า Marburg virus

8 ปีต่อมานักศึกษาคนหนึ่งไปรักษาตัวในโรงพยาบาลโยฮันเนสเบิร์กและเสียชีวิตลง
หลังการท่องเที่ยวผ่านประเทศโรดีเซีย แต่แฟนสาวสามารถที่จะฟื้นตัว
และรอดชีวิตมาได้ พบว่าทั้งสองคนมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการนอนในทุ่งหญ้า
การกินเนื้อละมั่ง การให้อาหารลิงในกรง การเข้าไปในถ้ำที่เต็มไปด้วยค้างคาว
และการถูกแมลงต่างๆ กัดระหว่างการโบกรถท่องเที่ยว

ปี 1980 วิศวกรคนหนึ่งเสียชีวิตจากไวรัส Marburg
ในโรงพยาบาลที่ไนโรบีหลังการไปสำรวจถ้ำแห่งหนึ่ง
ปี 1987 นักปีนเขาคนหนึ่งเสียชีวิตลงหลังจากไปสำรวจถ้ำเดียวกัน
ต่อมารู้จักกันว่าเกิดจากไวรัส Ravn ที่ใกล้เคียงกับ Marburg

Swanepoel นักไวรัสวิทยาจากแอฟริกาใต้ เริ่มสงสัยถึงความสัมพันธ์กับค้างคาว

ปี 1995 คราวนี้เป็นการระบาดของไวรัสอีโบล่า โดยมีศูนย์กลางที่เมือง Kikwit
ประเทศคองโก เริ่มต้นจากชายผู้ปลูกมันสำปะหลังและเผาถ่านจากต้นไม้ในป่า
มีการติดต่อจากคนสู่คน จนมีผู้ติดเชื้อ 315 ราย เสียชีวิต 254 ราย
Swanepoel เข้าร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์บินไปที่นั่นเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดและชิ้นเนื้อ

นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม เช่น ค้างคาว รวมถึงแมลงชนิดต่างๆ
แต่ไม่มีตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมใดเลยที่ให้ผลเป็นบวก เค้าไม่ละความพยายาม
ได้ทำการฉีดตัวอย่างไวรัสเข้าไปในพืช 24 ชนิด และสัตว์ต่างๆ อีก 19 ชนิด
แต่ไม่พบว่าไวรัสสามารถที่จะเพิ่มจำนวนตัวเองในสัตว์หรือพืชชนิดใดๆ เลย

มีเพียงการพบไวรัสที่หลงเหลืออยู่ในระดับต่ำเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 วัน
ในค้างคาว 2 ชนิด คือค้างคาวกินผลไม้ และค้างคาว Angola free-tailed
จึงเป็นหนึ่งในหลักฐานความเป็นไปได้ที่ค้างคาวอาจจะเป็นแหล่งกักโรค



การระบาดใน Kikwit ทำให้เราเห็นความแตกต่างระหว่าง Marburg กับ Ebola
Marburg มักจะระบาดจากถ้ำและเหมือง
Ebola ระบาดจากการล่าและกินซากสัตว์


ดังนั้นไวรัสทั้งสองชนิดย่อมต้องการแหล่งกักโรคที่ต่างกัน
หากเป็นไวรัส Marburg อาจเป็นค้างคาวที่อาศัยในถ้ำ
หากเป็นไวรัส Ebola ก็น่าจะเป็นค้างคาวที่อยู่บนต้นไม้

ดูเหมือนว่าจะมีหลักฐานยืนยันในทฤษฎีนี้ เมื่อมีการระบาดของไวรัส Marburg
ในช่วงปี 1998-2000 ที่มีศูนย์กลางที่เหมืองขุดทองในเมือง Durma ประเทศคองโก
Swanepoel สืบหาหลักฐานการระบาดและพบว่า มันเริ่มต้นจากคนทำเหมือง
ที่จำเป็นต้องลงไปทำงานใต้ดิน ในขณะที่คนงานบนพื้นดินส่วนใหญ่ปรกติ

การระบาดชุดเล็กๆ ของอีโบล่าในปี 2001 และ 2003 เกิดขึ้นในหมู่บ้านชายป่า
ของประเทศกาบองและคองโกที่ติดกับแม่น้ำคองโก มีผู้ติดเชื้อราว 300 คน 80% ตาย
ในขณะเดียวกันก็พบการตายของลิงชิมแปนซี กอริล่า และกวางในช่วงเวลาเดียวกัน
จุดเริ่มต้นของจุดที่ระบาดมักเกิดจากพรานป่าที่เข้าไปล่าเนื้อสัตว์มาเป็นอาหาร

Swenepole เข้าร่วมทีมกับนักระบาดไวรัสวิทยาชาวฝรั่งเศส Eric Loeroy
ที่ทำงานอยู่ในประเทศกาบอง พวกเค้าเก็บตัวอย่างกลับมาเป็นจำนวนมาก
และทำการตรวจหาเชื้อไวรัสในตัวอย่าง ในแลปที่ทำงานของ Swenepole
และ CDC ที่แอตแลนต้า สหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่าตัวอย่างให้ผลเป็นลบ

Leroy และทีมได้กลับไปเก็บตัวอย่างอีกถึง 3 ครั้งมากกว่า 1000 ตัวอย่าง
จากค้างคาว 679 ตัว พบว่ามี 16 ตัวอย่างจากค้างคาวกินผลไม้ 3 สายพันธ์
ที่พบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส นั่นแปลว่า พวกมันเคยมามีการติดเชื้ออีโบล่า
และ 13 ตัวอย่างพบว่ามีรหัสสายพันธุกรรมสั้นๆ ของไวรัสอีโบล่า RNA



มันเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สามารถใช้ตั้งสมมุติฐานว่าค้างคาวเป็นแหล่งกักโรค
แต่ก็ไม่ใช่ข้อสรุป เพราะว่ายังไม่สามารถที่จะเพาะเชื้อไวรัสตัวเป็นๆ ออกมาได้
Leroy ตีพิมพ์บทความลงในวาสาร Nature เรื่องไวรัสอีโบล่าในค้างคาวกินผลไม้
ผู้เขียนบทความได้ถาม Leroy ว่า เค้ายังคงพยายามที่จะแยกไวรัสออกมาอีกไหม

Leroy ตอบว่า เค้าก็ยังคงพยายามที่จะยีนยันหลักฐานชิ้นนั้นอยู่
แต่ปัญหาสำคัญอย่างแรกคือ ปริมาณไวรัสที่พบนั้นมีปริมาณที่น้อยมากๆๆ
ปัญหาอย่างที่สองคือ การติดเชื้อของแหล่งกักโรคนั้นเป็นแบบกระจาย
หากเป็นกรณีนี้หมายความว่า ไม่ใช่ค้างคาวทุกตัวที่พบในป่าจะมีเชื้อไวรัส

ปัญหาอย่างที่สามคือ การแยกเชื้อไวรัสจากตัวอย่างที่เก็บมามีราคาแพงมาก
นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใดปัจจุบันเราจึงยังไม่รู้ว่าอะไรคือแหล่งกักเก็บโรค

เมื่อพบการระบาดของไวรัสมรณะ จะมีงบประมาณมหาศาลลงไปในพื้นที่
แต่การทำวิจัยภาคสนามในตอนที่ไม่มีการระบาดนั้นมีงบประมาณน้อยมาก
ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสมากพอ เช่น
ฤดูกาลนั้นมีผลต่อการระบาดหรือไม่ การหาไวรัสจึงเหมือนการงมเข็มในกองฟาง

หนึ่งปีหลังจากการตายของ emile Ouamouno
Fabian Leendertz พยายามที่จะเอาชนะความยากลำบากดังกล่าว
โดยทำการสำรวจภาคสนามครั้งที่ 2 ครอบคลุมประเทศพื้นบ้าน
อย่างไอวอรี่โคสต์ที่ซึ่งมีค้างคาว Angolan free tailed ที่ห้อยหัวอยู่
ใต้หลังคาของชุมชนคนในหมู่บ้านอย่างชุกชุม

เค้ามุ่งความสนใจไปที่ 2 หมู่บ้านนอกเมือง Bouake ซึ่งเป็นชุมทางการค้าขาย
Leendertz พยายามที่จะจับค้างคาวเหล่านี้ไปตรวจหาเชื้อไวรัสให้ได้มากที่สุด
เพื่อที่จะตอบคำถามสำคัญอันเป็นปริศนาว่า

หากค้างคาวเป็นสัตว์กักโรค แล้วค้างคาวก็อยู่ใกล้ชิดมนุษย์
เหตุใดไวรัสอีโบลาจึงไม่เกิดการระบาดบ่อยๆ อย่างที่มันควรจะเป็น




CDC สหรัฐอเมริกาผู้เขียนบทความได้โทรศัพท์ไปถามผู้เชี่ยวชาญJens Kuhn
นักไวรัสวิทยาของ NIH ผู้เชี่ยวชาญด้าน Filoviruses ว่า
หลังจากผ่านไป 39 ปี ทำไมเรายังไม่รู้ว่าอะไรที่เป็นแหล่งกักโรคไวรัสอีโบล่า
คำตอบของเค้าคือ มันคงเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาดและคาดไม่ถึง เพราะว่า

หนึ่งจุดที่เป็นต้นกำเนิดของการระบาดในเวลาเกือบ 40 ปี มีไม่เกิน 24 จุด
ซึ่งมันน้อยมาก และทุกจุดสามารถสืบกลับไปหาผู้ป่วยรายแรกได้แค่เพียง 1 คน
ซึ่งน่าจะติดมาจากสัตว์ป่า จากนั้นจึงจะเป็นการติดต่อจากคนสู่คนในวงกว้าง
ซึ่งเป็นรูปแบบที่แปลกประหลาด ต้องมีปัจจัยอื่นที่อยู่นอกเหนือการคาดเดา

สองคือแม้ผ่านการระบาดมานานแล้วก็ตาม แต่รูปแบบของรหัสพันธุกรรม
ของไวรัสกลับมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ทั้งที่ไวรัสต้องอาศัยโปรตีนมนุษย์
ในการทำซ้ำเพื่อเพิ่มจำนวนตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสที่จะผิดพลาดและกลายพันธุ์
แปลว่า ไวรัสต้องมีแหล่งฟักตัวอยู่สักที่ ที่สามารถรักษาพันธุกรรมดั้งเดิมไว้

สมมุติฐานของเค้าจึงซับซ้อน โดยเชื่อว่าอาจะเป็นระบบสองพาหะ
โดยสัตว์อย่างค้างคาวนั้นอาจถูกกัดโดยบังเอิญจากพวกเห็บหรือสัตว์ขาปล้อง
ซึ่งมีถิ่นอาศัยที่จำเพาะมาก ทำให้ไวรัสยังคงรักษาความคงที่รหัสพันธุกรรมได้
หลักฐานคือแมงมุมในห้องทดลองสามารถติดไวรัสได้นาน 2 สัปดาห์

อีโบล่าเป็นไวรัสเพียงไม่กี่ชนิดที่เขย่าขวัญของชาวโลกได้ด้วยความร้ายแรง
แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะพยายามที่จะคิดค้นตัวยาที่จะใช้รักษาไวรัสมรณะนี้
แต่ในมุมของการป้องกันคงไม่มีสิ่งใดที่ดีไปกว่าการกำจัดแหล่งที่เป็นรังโรค
และนั่นเรายังคงต้องรอคำตอบที่สำคัญว่า ไวรัสนั้นอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตชนิดใด



Create Date : 20 มกราคม 2559
Last Update : 21 มกราคม 2559 14:37:47 น.
Counter : 1017 Pageviews.

3 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
สรุปวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องทรัพยากรธรณี นายแว่นขยันเที่ยว
(28 ก.พ. 2567 00:03:41 น.)
มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 347 Rain_sk
(28 ก.พ. 2567 08:43:19 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
โหวตความรู้ให้นะคะ


มาคุยที่ไปเม้นท์

ใช่ค่ะ บ้านเค้าส่วนใหญ่เป็นห้องเล็กๆ กัน น้อยคนจะมีบ้านจริงๆ ทำให้การทำครัวเป็นเรื่องลำบาก ก็เน้นออกมาซื้อกินกันมากกว่าค่ะ

มีลักษณะของความเป็นคนเมืองใหญ่เยอะมากค่ะสิงคโปร์
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 21 มกราคม 2559 เวลา:12:05:14 น.
  
เลนส์ ... เชียร์เทเลค่ะ ไวด์ก็ดี แต่ยังไงก็ชอบเทเลมากที่สุดอยู่ดีค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
คนบ้านป่า Home & Garden Blog ดู Blog
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 21 มกราคม 2559 เวลา:21:38:13 น.
  
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:12:34:02 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Nontree.BlogGang.com

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]

บทความทั้งหมด