Stephen Hawking : Theory of Everything


ตอนนี้พยายามอ่านหนังสือเล่มหนึ่งอยู่
เป็นหนังสือเล่มแรกที่อ่านวนไปวนมา เพราะว่ามันยากที่จะเข้าใจได้ง่าย
หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า ประวัติย่อของหลุมดำ เขียนโดย Kip S. Thorne
แรงบันดาลใจ มาจากการดูสารคดีของ discovery ตอนหนึ่งที่ชื่อ

Steven Hawking and The Theory of Everything

และ Kip S. Thorne คือเพื่อนของผู้ชายที่น่ามหัศจรรย์ผู้นี้

สตีเฟน ฮอว์คิง เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485
ที่เมืองอ๊อกซฟอร์ดไชร์ ประเทศอังกฤษ
ศึกษาสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
และรับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2505
ต่อมาได้เข้าศึกษาที่ทรินิตีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ในสาขาจักรวาลวิทยา และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2509
หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด


แต่ก่อนที่เค้าจะเรียนจบ สตีเฟน ฮอว์คิง ก็มีอาการที่เรียกว่า
amyotrophic lateral sclelar (ALS)
อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ
โดยมีผลกับประสาทสั่งการ (motor neurons)
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต
หมอบอกว่าเค้าจะมีอายุต่อไปอีกไม่เกิน 1-2 ปี
แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป และมีชีวิตยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้

งานที่ทำให้เค้าโด่งดังคือ การศึกษาเรื่องหลุมดำ

หลุมดำเป็นสิ่งที่ลึกลับที่สุดในจักรวาลนี้
มันมาจากสมการของไอน์สไตน์ที่กล่าวว่า
แสงนั้นมีความเร็วคงที่ และเดินทางเป็นเส้นตรง
แต่มีผ่านโค้งของอวกาศที่ถูกสร้างโดยสนามแรงโน้มถ่วงของมวลขนาดใหญ่
แสงนั้นสามารถบิดงอได้ เมื่อมีมวลมากจนถึงจุดหนึ่ง
แรงโน้มถ่วงจะมาก จนแม้แต่แสงก็ยังไม่สามารถผ่านออกมาได้
และทุกอย่างจะสูญหายไปในหลุมดำนั้น

แต่ไอน์สไตน์ก็ไม่อยากจะเชื่อว่า เรื่องนี้จะเป็นไปได้
แต่มันก็ได้รับการพิสูจน์แล้ว ว่ามันมีอยู่จริง

นักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาอย่าง สตีเฟน ฮอว์คิง เชื่อว่า
ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะถูกดูดหายเข้าไปในนั้น
หลุมดำมีการปลดปล่อย sub-atomic particle ออกมา
ที่ทุกวันนี้เรียกว่า Hawking radiation
และเค้าได้พยายามที่จะศึกษามันต่อไป เพื่อไขความลับของหลุมดำออกมา

นานมาแล้วที่ชายหนุ่มคนหนึ่ง กับตำนานใต้ต้นแอปเปิ้ลของเค้า
ได้สร้างกฏฟิสิกส์ที่โด่งดังที่สุด และเราก็ยังใช้มันมาถึงทุกวันนี้
มันสามารถใช้สร้างยานอวกาศ อธิบายถึงวงโตจรของดาวเคราะห์
น้ำขึ้น น้ำลง ด้วย กฏของนิวตั้น

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เราเริ่มศึกษาสิ่งที่อยู่ไกลออกไปนอกสุริยะจักรวาล
สิ่งที่มีความเร็วมากขนาดใกล้เคียงแสง กฏของนิวตั้นไม่อาจใช้อธิบายได้อีกต่อไป
จึงเกิดนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่คนที่สอง ที่เรารู้จักกันในนาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ผู้ที่คิดค้นที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพ

พูดถึงพลังงานและสสาร โดยเพิ่มความรับรู้ของเราไปยังอีกหนึ่งมิติ
มิติที่สี่ มิติแห่งกาลเวลา แต่ทั้งสองทฤษฏีที่เป็นระเบียบและสวยงามนี้
กลับใช้ไม่ได้กับสิ่งที่เล็กจิ๋วอย่างอะตอม
ซึ่งต้องใช้อีกทฤษฏีหนึ่งอธิบายของธรรมชาติของมัน
ซึ่งแทบจะก้าวข้ามความรับรู้ของมนุษย์ธรรมดาออกไป
กับความไม่แน่นอนของ กลศาสตร์ควอนตัม


แล้วทำไมเราต้องใช้หลายทฤษฏีมาอธิบายด้วยล่ะ ???
ในเมื่อทุกสิ่งในจักรวาลล้วนก่อกำเนิดมาจากจุดเดียวกัน
จะมีทฤษฏีใดใหมที่สามารถอธิบายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ตั้งแต่สิ่งที่เล็กจิ๋วอย่าง อิเลคตรอน ไปจนถึงสิ่งที่ใหญ่มากอย่าง กาแล๊กซี่

ที่เราเรียกมันว่า ทฤษฏีทุกสรรพสิ่ง

To be Continued




Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 30 มิถุนายน 2553 14:28:46 น.
Counter : 2058 Pageviews.

0 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
สรุปวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องทรัพยากรธรณี นายแว่นขยันเที่ยว
(28 ก.พ. 2567 00:03:41 น.)
มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 347 Rain_sk
(28 ก.พ. 2567 08:43:19 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Nontree.BlogGang.com

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]

บทความทั้งหมด