ทำไมหิ่งห้อยต้องอยู่ใต้ต้นลำพู ?
อาทิตย์ที่ผ่านมาไปงานแต่งน้อง ที่สมุทรสงคราม
เลยแวะเที่ยรายทาง โบสถ์ปรกโพธิ์ แล้วก็ตลาดน้ำอัมพวา
คนแน่นมากกว่าปกติ เพราะโออิชิเค้าพาคนไปเที่ยวพอดี
หลังงานเลิก เลยแวะกลบมานั่งเรือดูหิ่งห้อย
น่าเสียดายเป็นคืนเดือนหงาย แสงจากหิ่งห้อยก็เลยไม่ค่อยสว่างนัก
ที่จริงตอนเป็นเด็กในสวนก็มีต้นลำพู แล้วก็มีหิ่งห้อยเหมือนกัน
แต่ก็ไม่เยอะมากเท่าไหร่ แต่ก็บางทีมันก็หลงเข้ามาในบ้าน
ก็เลยถูกจับมาบินในมุ้ง แล้วเราก็เผลอหลับไป
แต่ไม่เคยสงสัยว่า ทำไมหิ่งห้อยต้องอยู่ใต้ต้นลำพู
จนมาถึงตอนนี้ล่ะ ทำไมต้องต้นลำพู ...
สมัยนี้แค่เคาะคีย์บอร์ด คำตอบก็มาแล้ว
หิ่งห้อย เป็นแมลงปีกแข็งที่สามารถเรืองแสงได้ในเวลากลางคืน
วงจรชีวิตของหิ่งห้อย เป็นไข่ 9 วัน เป็นหนอน 79 วัน ดักแด้ 6 วัน
และตัวเต็มวัยที่กระพริบแสงได้ไม่เกิน 1 เดือน
ตอนเป็นหนอนดักแด้อาศัยอยู่ในดิน เมื่อกลายเป็นตัวหนอน
จะกินไข่ของหอย ที่อาศัยอยุ่ตามรากอากาศของต้นลำพู
ฟังดูก็ยังไม่ใช่คำตอบ เพราะหอยก็คงมีอยู่ทั่วไป
ไม่จำเป็นต้องอยู่ใต้ต้นลำพูนี่นา
ยังมีอีกสองคำตอบคือ ตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยไม่กินอาหาร
อาศัยเพียงน้ำที่เกาะอยู่ตามใบของต้นลำพู
ฟังดูเข้าทีเนอะ แต่ก็ยังขัดแย้งกับอีกคำตอบนึงอยู่ดี
ว่าที่หิ่งห้อยนั้นอาศัยที่ต้นลำพู เพราะใบของต้นลำพูนั้นราบเรียบ
เหมาะแก่การผสมพันธุ์ อืม ...
ยังไงล่ะเนีย ใครรู้คำตอบนี้บ้าง ช่วยมาเฉลยที