"โสกไผ่ ใบข้าว" ไดอารี่จากผืนป่าและท้องนา
ที่มา : จตุพร แพงทองดี , โสกไผ่ ใบข้าว , สำนักพิมพ์มติชน

เคยบอกว่าจะเล่าถึงหนังสือเล่มนี้ ในที่สุดก็ได้ฤกษ์ซะที



่เล่มนี้มันหนาใช้ได้เลยแฮะ คงอ่านไม่จบง่ายๆแน่ แต่ยังไงตอนนี้ก็มากพอจะจับใจความและ concept ของเรื่องได้คร่าวๆแล้ว ทีแรกนึกว่าจะเป็นนิยายที่มีการสอดแทรกสาระความรู้ต่างๆ แต่พออ่านเข้าจริงๆถึงได้รู้ว่าออกแนวสารคดีเสียมากกว่า เพราะแม้จะมีเนื้อเรื่องที่กล่าวถึง ด.ญ.คำดั้ว ลูกชาวนา กับการใช้ชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายกับพ่อแม่ญาติพี่น้องในหมู่บ้านของเธอ แต่ก็ไม่ได้มีอะไรที่เป็นประเด็นสำคัญ ไม่มีการลำดับหรือต่อเรื่องใดๆ และดูจะไหลตามน้ำไปให้เข้ากับสาระความรู้ที่อยู่ในเล่มมากกว่า แต่ก็เป็นความรู้ดีๆทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณต่างๆที่อยู่ตามท้องทุ่ง หรือของป่าที่หาเก็บได้ทั่วไป



เพิ่งรู้ว่าข้าวเหนียวมะม่วงตำรับโบราณเขายัดข้าวเหนียวลงลูกมะม่วงเลย ....

สำหรับเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีต่างๆของชาวอีสานก็มีให้อ่านเช่นกัน





รวมไปถึงคำสอนและข้อคิดต่างๆที่คำดั้วได้มาจากการเข้าไปคุยกับคนนั้นคนนี้ อย่างเช่นแนวคิดพอเพียงนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ชาวอีสานยึดถือและปฏิบัติกันมานมนานแล้ว .....



รวมๆแล้วหนังสือเล่มนี้ถือว่าน่าสนใจที่จะอ่าน แต่ถ้าจะให้วิจารณ์บ้างคงเป็นเนื้อเรื่องที่จืดสนิท บวกกับสาระที่อัดแน่นเต็มเล่มไปหน่อยจนเสียสมดุล ให้ความรู้สึกเหมือนถูกยัดเยียดได้เหมือนกัน เลยส่งผลให้เป็นหนังสือที่กระตุกหนังตาผู้อ่านลงได้อย่างรวดเร็วไปด้วย (อ่านไปแค่ 2 ตอนก็เริ่มออกอาการแล้ว) ไม่สามารถตรึงสายตาให้อยากอ่านจนวางไม่ลงเหมือนกับนิยายแปลชั้นนำ สำนวนมันๆอย่างที่บ้านเรานิยมอ่านกันตอนนี้แน่นอน แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็เป็นหนังสือที่จรรโลงใจเป็นอย่างดี ความรู้แบบนี้ไม่ได้หาอ่านกันได้บ่อยๆ

ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรง พักความสนุกแบบฉาบฉวย อดใจกับการท่องแดนแฟนตาซี โลดแล่นในยุทธจักรไว้สักนิด มาสนใจสาระเรื่องราวในบ้านเราหน่อยจะเป็นไรไป ....

จริงไหม?







Create Date : 05 ธันวาคม 2550
Last Update : 5 ธันวาคม 2550 2:06:20 น.
Counter : 2359 Pageviews.

26 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - แห่งใดหรือคือบ้าน : กะว่าก๋า
(29 มิ.ย. 2568 05:44:44 น.)
ไม่รู้หรือไง...ว่ารัก : เกตุสรา สารพัดช่าง
(30 มิ.ย. 2568 20:13:06 น.)
รีวิวหนังสือ จิตวิทยาต่อรอง จะต้องพูดและทำอะไรในการต่อรองที่แพ้ไม่ได้ (Never Split the Difference) สุดท้ายที่ปลายฟ้า
(29 มิ.ย. 2568 13:16:28 น.)
๏ ... ไฟนอก ไฟใน ไฟอารมณ์ ... ๏ นกโก๊ก
(24 มิ.ย. 2568 10:12:22 น.)
  
โดย: ความเจ็บปวด วันที่: 5 ธันวาคม 2550 เวลา:18:19:20 น.
  
โดย: ความเจ็บปวด วันที่: 5 ธันวาคม 2550 เวลา:18:19:22 น.
  
ชอบอ่านแนวนี้ครับ ทำให้จิตใจมันชุ่มชื่นดี ขอบคุณที่แนะนำนะครับ
โดย: ไซโคแมน วันที่: 5 ธันวาคม 2550 เวลา:20:02:10 น.
  
เพิ่งซื้อเล่มนี้มาอ่านค่ะ อ่านไปได้หน่อย
อ่านแล้วนึกถึงเรื่อง ลูกอีสาน+บ้านเล็กในป่าใหญ่ (เวอร์ชั่นไทย)
สรุปว่าชอบค่ะ อ่านเพลินดี
โดย: กำจาย (กำจาย ) วันที่: 5 มกราคม 2551 เวลา:20:38:34 น.
  
เห็นตัวอย่างที่โพสไว้นี่ทำให้คิดถึงบ้านเลยนะคะ ขอบอกว่าภาษาในเล่มใช้เหมือนในเรื่องนี้เลย
ว้าว... อยากกินแกงหน่อไม้ใส่ผัก "อีตู่" เด้
ขอบคุณสำหรับหนังสือดีๆ ที่มีมาแนะนำค่ะ
โดย: เจ IP: 161.246.1.36 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:42:20 น.
  
ชอบมากๆอ่านแล้วคิดถึงตอนยังเป็นเด็กที่วิ่งเล่นตามทุ่งนา
โดย: nan IP: 125.26.239.82 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:19:57:33 น.
  
ผมอ่านแล้วชอบมาก คิดถึงตอนไปทุ่งนากับพ่อ ไปเก็บเห็ดกับพวกยายๆ ทั้งหลาย ขอบคุณหนังสือดีๆที่มีให้อ่าน
โดย: pena nititon IP: 125.26.239.82 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:20:01:44 น.
  
ผมอ่านแล้วครับขอบคุณที่แนะนำ ให้ผมได้อ่านใครยังไม่อ่านโสกไผ่ใบข้าวรีบๆหน่อยนะครับหาซื้อไม่ได้แล้วนะครับ ต้องสั่งอย่างเดียว
โดย: บักเคนกล้วย IP: 125.26.239.82 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:20:07:22 น.
  
ผมอ่านลมแล้งเริงระบำ ตอนนี้อยากได้โสกไผ่ใบข้าวมาอ่านมากครับ แต่หาไม่ได้เลย ใครรู้มั่งครับว่าที่ไหนพอจะมีขายมั่ง
โดย: แฟนเอื้อยวาด IP: 172.16.10.44, 61.19.229.222 วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:15:50:44 น.
  
อ่านแล้วนะเพื่อนๆขอบคุณมากที่แนะนำ คิดถึงบ้านวะ
โดย: ตุ๊กกี้ IP: 125.26.235.64 วันที่: 21 มกราคม 2553 เวลา:19:41:20 น.
  
ผมได้อ่านลมแล้งเริงระบำเหมือนกันกัน อยากได้โสกไผ่ใบข้าวเหมือนกัน อ่านแล้ววางไม่ลง
โดย: jak IP: 210.1.43.182 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:03:45 น.
  
อยากได้โสกไผ่ใบข้าว หาซื้อได้ที่ไหนคะ
โดย: แตน IP: 114.128.135.169 วันที่: 5 เมษายน 2553 เวลา:15:34:00 น.
  
เพิ่งอ่านโสกไผ่ใบข้าวจบ กำลังจะต่อด้วยลมแล้งเริงระบำ
ชอบมากค่ะ ชอบเรื่องแนวนี้
ชอบชีวิตบริสุทธิ์แบบบ้านนอกคอกนา
อ่านแล้วสบายใจ
โดย: ปุ๋ย IP: 125.25.13.131 วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:23:13:45 น.
  
ลองสั่งซื้อที่ //www.matichonbook.com/ ซิครับ ผมก็สั่งซื้อจากเว็ปนี้เหมือนกัน ตอนนี้อ่านจบแล้วทั้งสองเล่ม ไม่รู้ว่าะมีเล่มสามหรือเปล่า อยากให้คุณจตุพรเขียนอีก อ่านแล้วนึกถึงดอนเด็กในเล่มที่สองมีเขียนถึงชาวภูไทหนองสูงด้วย บ้านผมเองแหล่ะ
โดย: อ้ายเคนดี IP: 110.49.11.67 วันที่: 18 เมษายน 2553 เวลา:8:50:22 น.
  
อ่านทั้งสองภาคแล้วค่ะ สนุกมาก เมื่อไหร่จะมีภาค 3 ค่ะ
โดย: Suda IP: 110.49.193.66 วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:33:38 น.
  
อ่านจบแล้วทั้ง 2 เล่ม มีความรู้สึกว่าเปิดโลกตอนเป็นเด็กขึ้นมาอีกครั้งเลยค่ะ คิดฮอดซุปหน่อไม้สร่างไพเผาฝีมืออีแม่เลยแหล่ะ แฮะๆๆ สนุกมากค่ะ อยากให้มีเล่มต่อไป
โดย: คำแพง IP: 58.9.232.192 วันที่: 11 สิงหาคม 2553 เวลา:17:13:10 น.
  
เป้นชีวิตในชนบทที่อินมากสนุกที่สุดเห็นวิถีในชนบท
โดย: อืนุ IP: 10.0.1.197, 192.168.1.2, 119.42.112.41 วันที่: 16 สิงหาคม 2553 เวลา:10:01:57 น.
  
มีเล่ม 3 แล้วนะ ชื่ออีเกิ้ง ดวงกลม อ่านแล้วนุกมาก
คิดฮอดบ้านเด้
โดย: min IP: 118.173.235.128 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:11:22:48 น.
  
สนุกมากๆเลยค่ะ อ่านแล้ว เล่มละ 3 รอบ อ่านทีไรคิดถึงบ้านทุกที....เพิ่งไปถอยอีเกิ่ง ดวงกลมมาค่ะ สงสารคำดั้วมากมายตอน รองเท้าสีแดง...น้ำตาไหลเป็นทางเลยค่ะ...ถ้าอยากรู้ต้องไปหาอีเกิ้ง ดวงกลมมาอ่านนะคะ..แล้วจะรู้....อยากให้ออกเล่ม 4 เล่ม 5 ค่ะ รออยู่นะคะ
โดย: เด็กน้อยตาดำดำ...คำดั้ว IP: 203.147.56.4 วันที่: 18 มีนาคม 2554 เวลา:10:31:29 น.
  
ได้อ่านหนังสือทั้งสามเล่มแล้วเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่ค่อยๆอ่านทีละตอน สองตอน ก่อนนอน แล้วมาตลุยอ่านจนจบในช่วงวันหยุด ชอบมากครับ ทั้งๆที่เป็นคนกรุงเทพ และ มาทำงานในภาคตะวันออก แต่ในชีวิตที่ผ่านมาได้สัมผัสคนอีสานมาไม่น้อย เมื่ออ่านหนังสือจบทำให้เข้าใจชาวอีสานอย่างแจ่มชัด หลายตอนทำเอาน้ำตาซึม เช่น ตอนคำดั้วถูกตีน้าตี ตอนวัวที่รักถูกขายเพื่อเป็นค่าสินสอด ฯ การเล่าเรื่องใช้คำภาษาถิ่น แล้วกำกับด้วยภาษากลางทำให้ได้เรียนรู้ภาษา และคำพญาต่างๆ เพิ่งรู้ว่าคำว่า 'เหย้า' คือบ้านน้อย เคยได้ยินแต่อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน เป็นต้น หนังสือเกือบจะเป็นตำราด้านพฤษศาสตร์ เพราะกล่าวถึงชื่อต้นไม้มากมาย ตอนใกล้จบ ยังแสดงถึงอิทธิพลวัตถุนิยมที่เริ่มเข้ามาหลังสงครามเย็น ต้นคูนในนาถูกตัดเหี้ยน เพียงเพื่อจะได้เงินสดมากขึ้น เสียดายอยู่นิดเดียวที่ตอนใกล้จบ ครอบครัวของคำดั้วย้ายถิ่นฐานเสียแล้ว โดยปูพื้นถึงสาเหตุ และ แรงจูงใจสั้นไปนิด อย่างไรก็ตามจะติดตามหนังสือเล่มต่อๆไปของคุณจตุพรครับ
โดย: เกรียงศักดิ ตรีฤกษ์ฤทธิ์ IP: 119.46.130.232 วันที่: 5 เมษายน 2554 เวลา:12:59:09 น.
  
ผมพึ่งอ่านจบทั้งสามเล่ม อยากบอกว่าชอบมากครับคิดถึงสมัยเป็นเด็กน้อยเลยครับ ใช้ชีวิตแบบในเรื่องเลย
โดย: ลูกชายหล้า IP: 61.90.41.180 วันที่: 9 เมษายน 2554 เวลา:16:12:18 น.
  
ได้อ่านเรื่อง อีเกิ้งดวงกลม เหมือนได้กลับคืนสู่อดีตอีกครั้ง
ยังจำความ รู้สึกเหล่านั้นได้.....แม้จะผ่านมานานเกือบ 20ปี....
โดย: ใบตอง IP: 118.173.230.12 วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:19:59:03 น.
  
เป็นวรรณกรรมทีมีคุณค่า สะท้อนถึงวัฒนธรรมของชาว อิสาน โดยเฉพาะคนอิสาน สนุก บางครั้งก้อเกือบจะร้องไห้ เพราะสงสารคำดั้ว ตอนที่อยากได้รองเท้าสีแดง และได้เห็นความรัก สามัคคี กันตามหมู่บ้านแม้ จะมีเรื่องต่างๆ ที่ไม่ดีพอสมควร แต่ก็เป็นเรื่องที่สนุก และชอบมากกก
โดย: ไข่เค็ม IP: 122.154.129.10 วันที่: 23 กรกฎาคม 2554 เวลา:15:24:24 น.
  
ชีวิตจริงของผมครับ คนกาฬสินธุ์ เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านผมประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา อ่านไปนึกถึงอดีตที่ตนเองประสบมาด้วย ทำให้จิตใจเบิกบาน โดยเฉพาะตอนไปเลี้ยงควาย เด็กขึ้นไปป่ายตามพุ่มไม้คำดั้วตกลงมาถึงพื้น ผู้เขียนเก็บรายละเอียดได้ดีอยากให้เพื่อนที่เล่นด้วยกันอ่านบ้าง แต่บางคนก็จากไปแล้วไม่มีโอกาสที่จะได้รู้ว่า ยังมีเด็กบ้านนอกบางคนที่มีความสามารถได้บันทึกเรื่องราวอย่างนี้ไว้ให้เราได้นึกถึงอดีต สนุกครับขอให้ท่านสร้างผลงานแนวนี้ต่อป
โดย: คนร่วมสมัย IP: 125.26.234.160 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:21:36:36 น.
  
อ่านแล้วทั้งสามเล่มชอบมากค่ะคิดฮอดอดีตที่ผ่านมาเป็นการทวนความทรงจำวิถีชีวิตที่งดงามที่กำลังจะเลือนหายไปอยากให้มีภาคต่อๆๆๆไปคะขอบคุณมากๆๆคะ
โดย: คำดั้วน้อย IP: 171.6.226.26 วันที่: 27 เมษายน 2555 เวลา:23:49:03 น.
  
อ่านทั้งสามเล่มแล้ว มันทำให้จิตใจกระชุ่มกระชวยมากๆ ยิ้มทั้งน้ำตาบางตอน มันคือชีวิตลูกชาวนาจริงๆ สมัยก่อนเงินบาทเดียวมันมีค่ามหาศาล
โดย: ชาม IP: 124.120.38.56 วันที่: 2 มิถุนายน 2557 เวลา:15:17:03 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Gappaman.BlogGang.com

gappaman
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

บทความทั้งหมด