ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ (Auschwitz Concentration Camp) รอยแผลและความทรงจำ ตอน 3
           ค่ายเอาชวิตซ์ 1 (Auschwitz I) ตัวอาคารอยู่ในสภาพดี ลักษณะกลุ่มอาคาร 2 ชั้นก่อด้วยอิฐแดง ซึ่งดัดแปลงจากค่ายทหารโปแลนด์เดิมมาเป็นค่ายกักกัน จึงเป็นอาคารถาวรก่ออิฐแดง มีรั้วไฟฟ้าและรั้วรวดหนามรายล้อมอาคารต่างๆ อาคารเหล่านี้จะเรียกว่า BLOCK ซึ่งในแต่ละ BLOCK จะมีเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับค่ายกักกันจัดแสดงอยู่ เราจะได้เห็นสภาพห้องพักนักโทษแบบดั้งเดิมเหมือนกับในอดีต ได้เห็นสภาพห้องน้ำกับห้องอาบน้ำของนักโทษ ได้เห็นรูปถ่ายจริงของนักโทษ เครื่องแบบของนักโทษของจริง สัมภาระต่างๆของนักโทษที่ถูกยึด ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา รองเท้า หวี หรือแม้แต่กระทั่งผมที่โดนโกนออกมาจากหัวนักโทษ  



       อาคาร BLOCK ทั้งหมดภายในค่ายมีจำนวนมาก ที่ใช้เป็นโรงนอนมี 28 BLOCK แต่ BLOCK หรืออาคารที่จัดแสดงเรื่องราวหลักๆ ของค่าย มี 5 BLOCK ที่ไกด์จะพาชม คือ BLOCK 4 (Extermination) เป็นเรื่องเล่าภาพรวมของค่ายเอาชวิตซ์ (Auschwitz)  BLOCK 5 (Physical evidance of crime) รวบรวมข้าวของของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย BLOCK 6 (Life of prisoners) เรื่องราวการใช้ชีวิตที่หดหู่ของคนที่อยู่ในค่าย BLOCK 10 (Experiment) แสดงการทดลองแสนโหดเหี้ยมต่างๆ และ BLOCK 11 (death block) ภายในเป็นห้องขังที่ทรมานมากกว่าที่เห็นกันอยู่ทั้งขังยืน (standing cell)  ห้องขังอดอาหารจนตาย (starvation cell) ส่วนที่เหลือหากมีเวลานักท่องเที่ยวสามารถเดินชมเองได้





       อาคารแรกที่เข้าไปคืออาคาร BLOCK 4 (Extermination) เป็นเรื่องเล่าภาพรวมของค่ายเอาชวิตซ์ (Auschwitz)  เข้าไปเป็นมีแผนที่ทวีปยุโรปแสดงถึงประเทศที่มาของนักโทษ ซึ่งจะเห็นได้ว่านักโทษจากประเทศทั่วยุโรปถูกส่งมาที่ค่ายนี้ ซึ่งที่นี่เป็นตำแหน่งที่ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของยุโรปนับเหมาะสมเลยที่เดียว มีภาพแสดงการ ขนย้าย การเผาศพนักโทษ การคัดแยกสิ่งของส่วนตัวของนักโทษ มีแท่นวางโกศแก้วใสใส่กระดูกของนักโทษ



                 ค่ายเอาชวิทซ์  (Auschwitz) ค่ายนี้เริ่มทำการ ระหว่างปี 1940-1945 ได้มีการนำนักโทษเข้ามายังค่ายนี้ อย่างน้อย 1,300,000 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวยิว 1,100,000  คน ชาวโปลิส 140,000-150,000 คน ชาวยิปซี 23,000 คน อาญากรสงครามโซเวียต 15,000 คน และ นักโทษอื่นๆ อีก 25,000 คน ในจำนวนนี้ ประมาณ 1,100,000 คน ซึ่ง 90% ของเหยื่อที่เสียชีวิตที่ค่ายแห่งนี้เป็นชาวยิว



           แบบจำลองแสดงแบบแปลนของห้องรมแก๊ส  เนื่องจากพวกนาซีรู้สึกเสียดายลูกกระสุน ที่ต้องเสียไปในการยิงชาวยิวทิ้ง ซึ่งพวกเขาคิดว่ามันไม่คุ้มเสียเลยที่ต้องแลกระหว่าง กระสุน 1 นัด กับ 1 ชีวิตชาวยิว จึงคิดหาวิธีที่สามารถกำจัดชาวยิวได้ครั้งละมาก และต้องราคาถูกด้วย และห้องรมแก๊สพิษ คือคำตอบ ที่สามารถสังหารเหยื่อได้ครั้งละมากๆ 



                  ตู้กระจกแสดงกระป๋องสารเคมีเป็นจำนวนมาก และเกล็ดของสารเคมีที่เมื่อผสมน้ำจะได้ก๊าซไซยาไนด์ที่ใช้รมนักโทษ ซึ่งก็คือ Zyklon B มีฤทธิ์ในกลุ่มไซยาไนด์ และกระป๋องสารเคมีนี้ไกด์บอกว่าสารเคมีเพียง 1 กระป๋องสามารถรมนักโทษได้ถึง 1,500 คน





                 ขั้นตอนของนักโทษที่เข้ามาในค่ายจะต้องผ่านการคัดกรองโดยแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ชี้เป็นชี้ตาย นักโทษที่อ่อนแอ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ พิการ จะถูกนำไปรมแก๊สทันที โดยไม่ให้เหยื่อรู้ตัวเพียงแจ้งว่าจะพาไปอาบน้ำ ส่วนผู้ที่แข็งแรงก็จะเข้าค่ายกักกัน โดยมีการทำประวัติ และถ่ายรูป 



                     มีการตีตราหมายเลขนักโทษที่ได้มีการทดลองสักตามที่ต่างๆของร่างกาย เช่น หน้าอก ต้นขา แต่มาลงตัวที่แขนซ้ายด้านใน ที่น่ารันทดคือ ไกด์บอกว่า ทันทีที่ก้าวเท้าเข้ามาในค่ายจะสิ้นสุดการใช้ชื่อและนามสกุล พร้อมทั้งสิทธิมนุษยชนที่พึงมี จะได้ใช้เพียงแค่หมายเลขนักโทษเพื่อแทนตัวเท่านั้น



           เครื่องแต่งกายของนักโทษเป็นเหมือนชุดนอนลายทางสีขาวน้ำเงิน ไม่ว่าอากาศจะร้อน หรือจะหนาวติดลบ นักโทษต้องใส่ชุดนี้ตลอดเวลา  แบ่งแยกประเภทด้วยสัญญลักษณ์เป็นสีต่างๆ ที่หน้าอก ได้แก่ ยิว ยิปซี แม้แต่พวกรักร่วมเพศ





                    มีภาพของนักโทษที่รอดชีวิต หลังกองทัพรัสเซียเข้ามาบุกยึดค่ายมีลักษณะผอมจนหนังหุ้มกระดูก กล้ามเนื้อสลายไปจนเกือบหมด น้ำหนักลดลงจากก่อนเข้าค่ายอย่างมาก บางรายน้ำหนักลดจาก 68 เหลือ 30 กว่ากิโลกรัม ซึ่งบางส่วนก็เสียชีวิตหลังออกจากค่ายแล้ว



           ผู้คุมจะให้นักโทษเหล่านี้ใช้แรงงานต่างๆ ทั้งในค่ายและทำงานภายนอก แลกกับอาหารประทังชีวิต ตามภาพตัวอย่าง ที่มื้อเช้าคือซุปใส กลางวันมีขนมปังแข็งๆ 1 ก้อนกับเนยหืนๆ ก้อนเล็กๆ และมื้อเย็นก็เป็นซุปใสเช่นกัน มีการคำนวณว่าจากอาหารเท่านี้จะได้พลังงานวันละไม่เกิน1500 กิโลแคลอรี่  หรือสรุปว่าวันๆ หนึ่งนักโทษจะได้รับอาหาร ดังนี้
  • ขนนปัง 350 กรัม ต่อวัน
  • น้ำที่ทำกลิ่นรสเลียนแบบ กาแฟ ( ersatz coffee ) ตอนเช้าครึ่งลิตร
  • ซุปผักกาด กับ มันฝรั่ง 1 ลิตร ตอนเที่ยง โดยในซุปจะมีเนื้ออยู่ประมาณ 20 กรัม



        บางคนยังแอบเก็บขนมปังไว้แลกกับของอื่นจากเพื่อนนักโทษ ดังนั้นพวกที่รอดชีวิตแต่แรกอาจเสียชีวิตในเวลาต่อมา ด้วยอาการขาดอาหาร การติดเชื้อ หรือเจ็บป่วยอื่นๆ หรืออาจถูกนำไปรมแก๊สภายหลัง ชีวิตนักโทษอันหดหู่ไร้ความหวัง โดยไม่รู้ว่าจะตายวันไหน ยังมีต่อให้ติดตามในบล็อกต่อไปครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1) บันทึกการเดินทางยุโรปตะวันออก 2562 ของหมอเอ๋ย (นาวาเอกหญิง กัญญรัตน์ อุปนิสากร)
2) 
https://breathemyworld.com/2016/10/06/lessons-from-the-past-auschwitz
3) https://pantip.com/topic/30763839



Create Date : 02 เมษายน 2563
Last Update : 12 เมษายน 2563 12:29:34 น.
Counter : 1661 Pageviews.

0 comments
ไหว้ท้าวเวสสุวรรณปลดหนี้ ขอพรที่วัดเถรพลาย สุพรรณบุรี นายแว่นขยันเที่ยว
(23 มิ.ย. 2568 00:14:55 น.)
Nagasaki กลิ่นอายของเมืองท่าแห่งการเปิดโลกสู่ตะวันตก poongie
(21 มิ.ย. 2568 08:30:06 น.)
"หลวงพ่อโต" วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มิ.ย. 2568 02:46:10 น.)
Serve Him MOU Day 11 & 12 : The Ordinary Days In Haenam mariabamboo
(17 มิ.ย. 2568 06:59:49 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Camel.BlogGang.com

camel_27
Location :
สมุทรสงคราม  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด