การสอบสายยูโด 3คิวที่โคโดกัง ความเดิมตอนที่แล้ว ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเจอกับนักกีฬายูโดทีมชาติไทย และได้มีโอกาสเปิดหูเปิดตาลองซ้อมด้วยกันประมาณ5นาที เวลาประมาณ5นาทีวันนั้นมีค่ามากจริงๆ เค้าได้บอกกับผมไว้ประโยคนึงว่า เวลาที่จะล้มคู่ต่อสู้ควรจะใส่เข้าไปเป็นท่าจะดีกว่า เช่นท่า ฮาไรโกชิ ฮาเนโกชิ อุจิมาตะ เซโอนาเกะ อิปปงเซโอนาเกะ ไทโอโตชิ หรือว่าอื่นๆ แล้วแต่ความถนัด ดีกว่ารอฟลุ๊คเอาขาปัดไปปัดมาเพราะว่าเวลาแข่งจริง จังหวะฟลุ๊คไม่ค่อยเกิดและการปัดไปปัดมา อาจจะทำให้หมดแรงเองก็ได้ คำสอนประโยคนี้จึงเป็นที่มาของการฝึกท่า เซโอนาเกะของผมนั้นเอง แรกเริ่มของการเล่นยูโด ผมไม่ค่อยชอบท่าเซโอนาเกะ กับ ท่าอิปปงเซโอนาเกะ เท่าไรนัก เพราะว่าผมเห็นก่อนการแข่งขันหลายๆครั้งนักกีฬาจะฝึกเข้าท่าด้วย2ท่านี้ แต่พอตอนแข่งจริง2ท่านี้กลับใช้กันไม่ค่อยออก อาจเป็นเพราะว่าการแข่งขันที่ผมได้ดูผ่านๆมา ไม่ถึงกับมืออาชีพมันเป็นแค่เด็กนักเรียนกับเด็กมหาลัยเล่นกัน เลยไม่ค่อยเห็นอิปปงจากท่าเซโอนาเกะกับท่าอิปปงเซโอนาเกะ หรือเห็นก็ท่าออกมาไม่ค่อยสวย ด้วยความที่ไม่ชอบท่าเซโอนาเกะซักเท่าไรนัก เลยทำให้ใช้ออกมาเก้งๆกังๆ บ่อยๆเข้า ก็บอกกับตัวเองว่า ไหนๆก็ลองฝึกท่าที่ไม่ขอบนี้ให้เป็นท่าที่ถนัดดูละกัน เพราะว่ามั่นใจว่าท่านี้คนคิดค้นเค้าได้คิดมาอย่างดีแล้วในการอาศัยแรงต่างๆทั้งของเราเองและของคู่ต่อสู้มารวมกันจนเป็นท่านี้ขึ้นมา ยังไงฝึกดูก็ไม่เสียหาย มีเวลาเกือบ1เดือนเต็มในการฝึกท่านี้เพื่อที่จะเอามาใช้ในการสอบที่จะต้องมีการแข่งจริง ท่าเซโอนาเกะของผม จะเป็นลักษณะการก้มตัวลงไปต่ำมากๆเพื่อเพิ่มแรงดึงคู่ต่อสู้ให้ง่ายในการทุ่ม ฝึกไปเรื่อยๆความเร็วในการหมุนตัวมันก็เริ่มมา พอเอามาใช้ในการซ้อมรันโดริมันก็เริ่มมีการทุ่มได้บ้างจากท่านี้ ติดปัญหาอยู่เรื่องเดียวคือเรื่องขาที่ตอนกำลังจะทุ่มคู่ต่อสู้ในจังหวะสุดท้าย ขาผมจะไม่มีแรงดันให้ลุกขึ้นยืนได้จึงต้องอยู่ในการทิ้งเข่าลงไป 2อาทิตย์ก่อนการแข่งจริง ผมได้ถามอาจารย์ที่โคโดกังถึงวิธีการที่จะทำให้ยื่นขึ้นมาได้ในจังหวะสุดท้าย แล้วผมก็เข้าใจว่าท่าที่ผมฝึกมา2อาทิตย์มันผิด ไม่จำเป็นต้องถึงกับเขย่งเท้ามาก เพียงแค่ยกหน่อยนึงคล้ายๆกับว่ามีกระดาษแผ่นนึงรองอยู่ที่เท้าอีกทีเป็นใช้ได้ จะทำให้มีแรงมากขึ้นในการดันขาและเข่าขึ้นมาให้อยู่ในท่ายืนได้ ตอนนั้นผมก็ต้องแก้ไขกันใหม่กับท่านี้ แต่ผลที่ได้กลับกลายเป็นจังหวะหมุนตัวทุ่มของผมช้าลงไป ทำให้ช่วงนั้นผมทุ่มคู่ต่อสู้ไม่ค่อยได้เท่าไรจากท่านี้ เวลาแข่งจริงใกล้เข้ามาเรื่อยๆผมก็ยังแก้ไขไม่ได้ ก็เลยทำให้ผมขอกลับไปใช้เป็นแบบเดิมก่อนคือการย่อเข่าก้มตัวให้มากที่สุด ถึงยืนไม่ขึ้นก็ยังเอาเข่าทิ้งลงพื้นได้พร้อมกับการดึงและทุ่มคู่ต่อสู้ลงมา 1อาทิตย์ก่อนการแข่งขัน ปัญหาถัดมา คือมีคู่ต่อสู้หลายคนโดยเฉพาะคนตัวเล็กๆมักจะหลบท่าเซโอนาเกะของผมไปได้บ่อยๆ โดยการบิดตัวออกข้าง ผมได้เจอกับอาจารย์อีกคนนึงและได้ถามหาวิธีแก้ อาจารย์ได้สอนผมเพิ่มเติมจากท่าเซโอนาเกะเป็นท่า เซโอ-โอโตชิ คือการเอาขาข้างหนึงไปบล๊อคทางหนีของคู่ต่อสู้ส่วนมือก็ใช้ท่าทุ่มเซโอนาเกะทุ่มแบบบิดออกข้างๆเล็กน้อย ก่อนวันแข่งจริง1วัน ท่าเซโอนาเกะของผมก็ถือว่าได้เติมเต็มแล้ว เพียงแต่ยังไม่สามารถยืนขึ้นมาได้เท่านั้น (ที่จริงชื่อเรียกที่ถูกต้องน่าจะเป็น เซโอ-โอโตชิ เพราะจริงๆแล้วเซโอนาเกะคือการทุ่มคู่ต่อสู้โดยการดันขึ้น ส่วนเซโอ-โอโตชิคือการทุ่มคู่ต่อสู้โดยการดึงลง) ไม่เป็นไรเรื่องยืนหรือคุกเข่าเอาไว้ค่อยไปแก้กันเดือนหน้าอีกทีละกัน และแล้ววันแข่งจริงก็มาถึง ผมภาวนาให้เจอคู่ต่อสู้อ่อนๆหน่อยจะได้ผ่านไปได้แบบสบายๆ กติกามีอยู่ว่าแข่งได้คนละ2ครั้ง เวลาการแข่ง2นาที ใครคู่กับใครอาจารย์จะเป็นคนจัดให้ ชนะได้1แต้ม เสมอได้0.5แต้ม ส่วนแพ้ไม่มีแต้ม ถ้าจะผ่านระดับ3ต้องเก็บให้ได้2แต้ม(หรือว่าชนะ2ครั้งนั้นเอง) + กับชั่วโมงเรียนต้องเก็บให้ได้30ครั้ง เรื่องชั่วโมงเรียนไม่มีปัญหาครับ พยายามไม่ขาดเรียนเท่าไร ตอนนี้เก็บไปได้44ครั้ง เหลือแต่ต้องชนะวันนี้ให้ได้ทั้ง2นัดถึงจะผ่าน ถ้าชนะ1เสมอ1 หรือว่าเสมอทั้ง2นัด หรือที่แย่ที่สุดคือแพ้ทั้ง2ครั้ง จะต้องไปแข่งใหม่เดือนหน้า เรียกว่าเสียเวลาไปอีก1เดือน ดังนั้นต้องชนะเท่านั้น เริ่มต้นด้วยการทำอุเกมิ หรือว่าการตบเบาะนั้นเอง เรียงตามชื่อที่อาจารย์จัดไว้ให้แล้วไม่ว่าจะสอบระดับไหนก็ต้องเริ่มจากการทำอุเกมิก่อน ถัดจากนั้นก็จะเป็นการสอบระดับ4 (วันนี้ไม่มีนักเรียนมาสอบระดับ5) ระดับ4อาจารย์จะเรียกท่าแล้วก็ให้คนทุ่มทุ่ม ส่วนคนรับก็ต้องล้มให้ถูกหลัก มีคะแนนทั้งคนทุ่มและคนรับ ถัดจากนั้นก็เป็นการรันโดริโดยไม่เอาผมแพ้ชนะ พอการสอบระดับ4ผ่านไปแล้ว ก็ถึงคิวของผมละนั้นคือการสอบระดับ3นั้นเอง อาจารย์เรียกชื่อ เพื่อแบ่งทีมระหว่างแดงกับขาว ผมอยู่สีขาวและแข่งเป็นคู่ที่2(คู่แข่งคือคนชนะจากคู่แรก)กับคู่ที่3(ทีมสีแดงคนใหม่) นัดแรกของการแข่ง สบายๆครับ เพราะว่าคู่ต่อสู้คือเพื่อนผมเองที่เรียนมาด้วยกันตั้งแต่ต้นเลยครับ คนนี้แรงไม่เยอะเท่าไร เข้าท่าก็ไม่เร็วมาก เพียงแต่การจับดึงและการล๊อคในท่านอนอันตรายทีเดียว นัดที่ผ่านมาเพื่อนคนนี้ก็ชนะด้วย การหลอกด้วยท่าosoto gari แล้วใช้เป็น sasae tsurikomi goshi ถัดมาตามด้วยท่านอนkesa gatame นัดแรกของผมไม่อยากที่จะเสียเวลายึดเยื้อเท่าไร เพราะว่ามีอีกนัดที่ต้องแข่งหลังจากนี้ พอเริ่มต้นไปได้ประมาณ6วินาที ผมก็เห็นจังหวะแล้วก็ไม่พลาดครับทุ่มด้วยท่า เซโอนาเกะ เป็นอิปปงทันที พร้อมกับเสียงอือฮา แล้วก็ตามมาด้วยเสียงปรบมือ ถือว่าพระเจ้าช่วยกล้วยทอดจริงๆครับ เพราะว่าอย่างน้อยเพื่อนคนนี้ก็ชนะนัดที่แล้วมา ยังไงวันนี้ก็ยังมี1แต้มกลับบ้านไป เพราะถ้าแข่ง2นัดแล้วไม่มีแต้มเลยน่าจะเซ็งพอสมควร อย่างน้อยตอนนี้ผมก็ได้มา1แต้มแล้วเหมือนกัน เหลืออีกแต้มนึงที่น่าจะหนักอยู่ ![]() นัดที่สอง คู่ต่อสู้ผมเป็นชาวอังกฤษสูงมาเชียว ประมาณ187-189เซนได้มั้ง น้ำหนักก็น่าจะอยู่ที่80โล (ผมสูง175น้ำหนัก73) คู่ต่อสู้คนนี้เมื่อเดือนที่แล้วตอนสอบระดับ4คิวก็ได้คู่กับผมในการสอบรันโดริ ครั้งนั้นไม่เอาผลแพ้ชนะ ผมถูกเค้าทุ่มไปประมาณ2ครั้ง เลยทำให้ผมหนักใจหน่อยๆกับการแข่งวันนี้ เริ่มต้นการแข่งผมยังไม่ขอใช้ท่าเซโอนาเกะ เพราะว่าเพิ่งใช้ไปเมื่อกี้อาจจะทำให้คู่ต่อสู้ระวังอยู่ก็เป็นได้ งั้นก็เปลี่ยนเป็นเริ่มต้นใช้ท่า o uchi gari แล้วต่อมาเป็น uchimata แต่ว่าไม่รู้ใช้อีท่าไหนเหมือนกัน น่าจะเป็นเพราะคู่ต่อสู้ขายาวเลยทำให้ผมกลับกลายเป็นคนถูกทุ่มล้ม ![]() ![]() การแข่งดำเนินไปเรื่อยๆ จากระดับ3เป็น2และ1 คนที่สอบทุกคนก็ต้องอยู่ดูการแข่งจนจบทุกคู่ ในแต่ละคู่ผมก็คิดถึงคำสอนของนักกีฬาทีมชาติไทยขึ้นมาได้ว่า เวลาจะทุ่ม ให้ใส่เข้าไปเป็นท่าจะดีกว่าการปัดขาไปมา จริงๆด้วยครับ คู่อื่นที่ผมดูส่วนใหญ่จะปัดขาไปมา อาจเป็นเพราะว่าจังหวะไม่ให้ หรือว่าไม่รู้ว่าจะเข้าท่าไหนดี ส่วนใหญ่การแข่งถ้าไม่จบลงที่เสมอ ก็จะเป็นการชนะแบบวาซะอาริ หรือไม่ก็เป็นการล็อคในท่านอน โชคดีที่ผมได้เจอนักกีฬาทีมชาติไทย จากคำพูดที่ว่า เวลาจะทุ่ม ให้ใส่เข้าไปเป็นท่าจะดีกว่าการปัดขาไปมา เลยทำให้ผมมีท่าเซโอนาเกะขึ้นมา วันนี้ผมก็เลยเป็นคนเดียวที่ทุ่มได้2อิปปง หลังจากยืนเคารพตามกฏระเบียบของโคโดกังแล้ว ก่อนที่จะเลิกอาจารย์มีสรุปผลการสอบในวันนี้ แล้วผมก็ถูกด่าอย่างที่คิดจริงๆ ![]() ก่อนกลับบ้าน ไม่ลืมที่จะไปขอโทษคนที่ถูกทุ่มไปทั้ง2คน ![]() แวะมาดูว่าสอบเป็นไงมั่งค่ะ
![]() โดย: little mouse in big apple
![]() ขอแวะมาอ่านบางนะครับ
และขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ โดย: Jจุ้ย (Jจุ้ย
![]() ดีใจด้วยนะคะที่สอบผ่าน
ถ้าอยู่ใกล้ๆ จะชวนมาทานไก่ทอดฉลองฮาโลวีน ฉลองที่สอบผ่านด้วย แต่อยู่ไกลยังงี้...ถ้ามีโอกาส ก็แวะไปชมไก่บ้างนะคะ โดย: little mouse in big apple
![]() ท่าทางจะเป็นคนชอบกีฬาจริงๆด้วย ยังไงก็ดีใจด้วยนะค่ะ ^^
โดย: ทราย (sindesign
![]() ![]() ส่วนเพื่อนแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่คิดว่าส่วนใหญ่ก็ชอบเล่นกับคนที่ไม่ทำให้เจ็บตัว จริงๆแล้วยูโดคนที่เป็นทุ่มอีกฝั่งลงไปเสียงดังก็จริงแต่จะไม่เจ็บครับ ถ้าพึ่งเริ่มหัดเล่นมักจะกะจังหวะไม่ค่อยถูกสูงไปบ้างต่ำไปบ้าง พวกนี้แหละเจ็บของจริง ![]() โดย: ablaze357
![]() ไม่เข้าใจค่ะว่าทำไมอาจารย์ต้องว่าๆใช้ท่าอันตรายด้วย? หรือว่าคู่ต่อสู้เพิ่งเริ่มเล่นยูโดใหม่ๆ ? การเข้า่ท่าต้องจำกัดด้วยหรือคะว่าควรหรือไม่ควรใช้ท่าอะไร ในการแข่งขันก็เห็นเค้างัดกันมาทุกท่าที่ใช้ได้
เจ้าตัวเล็กของป้าโซเนื้อแท้แล้วไม่ค่อยชอบยูโดหรอกค่ะ ที่เรียนเพราะภาคบังคับจากพ่อ ![]() ขอให้เข่าหายเจ็บไวๆนะคะ เซฟตัวด้วยค่ะเวลาเล่น.. โดย: ป้าโซ
![]() ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยมครับ ผมตอบคอมเม้นท์ผมไปแล้วน่ะครับ
![]() โดย: lee (zmake27
![]() ถ้าลองทำขนมจีบเสร็จแล้ว อย่าลืมไปตามมาดูด้วยนะคะ
ตอนนี้ ตัวเองกำลังทำสิงที่ขัดแย้งกันอยู่ นั่นคือ พยายามฝึกทำอาหาร แต่.... จะลดความอ้วน ขำตัวเองมากเลย 555555 โดย: Hi-speak
![]() |
บทความทั้งหมด
|