22เนวาซะการซ้อมยูโดภาคฤดูหนาว KANGEIKO judo winter training at japan 2013
เนวาซะที่เรียนจากการซ้อมภาคฤดูหนาว

1.รวมศอกทั้ง2ข้างจากด้านข้างตัวคู่ต่อสู้แล้วใช้หน้าอกกับน้ำหนักค่อยๆจับพลิกจากนั้นท่าง่ายสุดคงเป็นท่า เคซะกาตาเมะ (รวมไปเลยจะได้2มือหรือมือเดียวก็ได้ แต่2มือดิ้นยากกว่าหน่อย)

2.เหมือน1 แต่คู่ต่อสู้ ยืนขาออกมาทำให้ดันไม่ไป ก็ต้องเปลี่ยนทิศทางในการพลิกไปทางเฉียงๆแทนแล้วก็ใส่ท่ากดเหมือนข้อ1

3.เหมือน1และ2 แต่คู่ต่อสู้ยื่นมือออกมาขวางทำให้ดันไม่ไป ก็เปลี่ยนเป็นการล้วงเอาคอเสื้อจากนั้นก็ดึงไปในทิศทางเฉียงหลังแล้วก็กดเหมือนเดิม

4.คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่า ก็ขึ้นคร่อมดึงสายรัด เอาขาหนีบเอาไว้จากนั้นก็ล้วงไปใต้รักแร้ทั้ง2มือดึงคอเสื้อแล้วล้มตัวพลิก ช่วงที่พลิกต้องจับจังหวะดีๆ ไม่งั้นมันก็จะพลิกกันไปพลิกกันมาไม่สามารถกดได้ ที่ว่าจับจังหวะดีๆคือต้องเข้าไปแค่ครึ่งตัวแล้วหมุนมาอยู่ด้านบนในตอนที่คู่ต่อสู้โดนพลิกนอนหงายแล้ว มือหนึ่งรวบแขนไว้ข้างนึงส่วนอีกมือสำคัญคือไม่เอาออกมาจากคอเสื้อที่จับในตอนแรก ถ้าเอาออกมาแล้วดิ้นก็หลุดแต่ถ้าจับอยู่ คู่ต่อสู้จะถูกตรึงทั้งตัวหลุดยาก

5.คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่า เราอยู่ด้านหัว ก็เอามือนึงจับสายคาดอีกมือนึงอ้อมเข้าไปทางรักแร้แล้ววนมาจับคู่กับมือที่จับสายรัดอยู่ จากนั้นบิดตัวไปด้านข้าง90องศาแล้วเอาหน้าอกกดพร้อมกับออกแรงผลักไปที่ละนิด พอคว่ำแล้วก็กดเลย

6.คู่ต่อสู้นอนคว่ำนอนแผ่ขายาวๆ ก็ยกขาข้างที่ใกล้ข้างนึงแล้วเอาขาของเราสอดเข้าไปจากนั้นก็กดเข่าลงไปนอกขาอีกข้างนึง คู่ต่อสู้จะพลิกตัวไปแล้วครึ่งนึงจากนั้นก็ค่อยใช้มือพลิกตัวด้านบนของคู่ต่อสู้ให้พลิกไปครบทั้งตัวจากนั้นก็กดต่อเลย ท่านี้มีจุดอ่อนตรงที่ขาข้างที่เราสอดคู่ต่อสู้พอพลิกไปแล้วยังไงเค้าก็ต้องเอาขารัดข้างนั้นเอาไว้ อาจารย์จะมาสอนต่อในวันถัดไปถึงวิธีการเอาขาข้างที่ถูกรัดเอาไว้ออกในวันถัดไป

7.ท่านี้คู่ต่อสู้นอนคว่ำนอนแผ่เหมือนกับข้อ6 (ต้องเป็นคู่ต่อสู้ที่ตัวเล็กกว่า) ก็เล่นง่ายๆเลย เอามือจับบริเวณแขนข้างนึง และจับบริเวณขาข้างนึงใช้แรงล้วนๆในการยกขึ้นมาและพลิกเพื่อทำการกดต่อ (ท่านี้รู้ไว้เฉยๆ เพราะว่าโอกาสใช้สำเร็จกับคู่ต่อสู้ระดับเดียวกันคงจะน้อยมาก)

8.ซังกากุจิเมะ ท่านี้อเนกประสงค์เลย เพราะมันใช้ได้ทั้งรัดคอ ทั้งหักแขน หรือว่าทั้งกดนับเวลา เริ่มจากคู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่าก็ต้องเข้าไปทางด้านหน้า จากนั้นก็ใช้มือจับสายรัดดึงมาทางด้านหน้าเล็กน้อยเพื่อที่จะให้จังหวะเปิดออกมา สามารถจะเอาขาเข้าไปสอดในช่องแขนของคู่ต่อสู้ จากนั้นอีกมือนึงก็ล้วงไปยกจากใต้แขนอีกข้าง พลิกตัวพร้อมใช้ขาล๊อคคอ (ตอนล๊อคคอต้องล็อคแขนข้างนึงของคู่ต่อสู้เข้าไปด้วยไม่งั้นการล๊อคคอจะผิดกติกา) หลังจากพลิกมาแล้วจุดสำคัญสุดไม่ได้เริ่มที่การล๊อคคอ แต่เป็นการล๊อคมืออีกข้างนึงของคู่ต่อสู้ต่างหากโดยอาศัยสายรัดหรือเสื้อของคู่ต่อสู้เองนั้นแหละช่วยในการล๊อค ถ้าล๊อคอยู่แล้วมือข้างนึงของคู่ต่อสู้ถูกล๊อคอยู่ที่ขา ส่วนมืออีกข้างถูกล๊อคด้วยเสื้อหรือสายรัดของคู่ต่อสู้เอง จากนั้นก็ค่อยมาดูว่าจะจัดการยังไง วิธีการจัดการแบ่งออกเป็น4แบบ แบบที่1คือการกดขาที่ล๊อคไว้บริเวณคอทำให้คู่ต่อสู้ยอม แบบที่2คือการหักแขนข้างที่ถูกล๊อคพร้อมๆกับคอให้คู่ต่อสู้ยอม แบบที่3คือการรัดคอด้วยวิธีการดึงเสื้อของคู่ให้รัดคอนั้นเอง ส่วนแบบที่4คือการพลิกตัวออกมากดในท่าคามิชิโฮ (เลือกได้ตามสะดวก แต่จะมาถึงจุดนี้ได้ต้องเริ่มจากการสอดขาเข้าไปในท่าซังกากุ(สามเหลี่ยม)ในจังหวะแรก เพราะมันไม่ง่ายที่จะจัดระเบียบท่าให้ครบตามที่เราต้องการโดยที่คู่ต่อสู้ไม่ต่อต้าน)

9.วันนี้คู่ต่อสู้นอนหงายแล้วเราเข้าไปทางด้านล่างของคู่ต่อสู้ ก็จะเจอกับขาเกะกะทั้ง2ข้างของคู่ต่อสู้ วิธีนี้ง่ายคือรวบขาทั้ง2ข้างให้มันไม่แผ่ออกมาเกะกะจุดสำคัญคือบริเวณเข่าหลังมันจะเล็กและรวบง่ายกว่าจุดอื่น หลังจากนั้นก็ค่อยๆพลิกตัวขึ้นไปด้านบนเพื่อจับกด

10.เหมือนข้อ9 แต่ไม่รวบแล้ว ในเมื่อคู่ต่อสู้ต้องการจะแผ่ขาออกมาก็ให้แผ่ออกไปเลย (จุดที่อ่อนที่สุดคือรวบมาอยู่รวมกัน หรือไม่ก็แผ่ออกไปกันคนละข้าง วิธีการแก้ของคู่ต่อสู้คือต้องใช้ท่าเอบิหรือท่ากุ้งในการดึงหรือเบี่ยงองศาขาให้กลับมาอยู่จุดเดิมหรือจุดที่ได้เปรียบ ต้องระวังไว้หน่อยตรงจุดนี้เพราะถ้าคู่ต่อสู้เบี่ยงจังหวะออกมาแล้ว เราต้องไปเริ่มจากการจัดจังหวะกันใหม่ไม่งั้นใช้ไม่ออกทั้งวิธีรวมหรือวิธีแผ่) พอแผ่ไปคนละข้างแล้วก็เอาแข้งกดตรงบริเวณหน้าตักเอาไว้ข้างนึง (อย่าเอาเข่ากดลงไปบริเวณหน้าตักเพราะมันไม่ใช่วิธียูโดสมควรจะทำ) เอาเข่ากดลงไปบนพื้นก็เท่ากับว่าเราเอาช่วงข้อเท้าไปจนถึงเข่ากดขาข้างนึงเอาไว้โดยที่คู่ต่อสู้ไม่เจ็บด้วยจากนั้นเอามือรวบไปที่คอเพื่อหาท่ากด (ท่าโยโกชิโฮน่าจะง่ายสุด) หลังจากมือจัดจังหวะได้แล้ว พลิกตัวเอาขาข้างที่ไม่ได้กดเอาไว้ออกมาก่อน(ถ้าไม่เอาออกมา คู่ต่อสู้จะเอาขามาพันเอาไว้ทำให้โอไซโกมิไม่ทำงาน) หลังจากพลิกตัวเอาขาข้างที่ไม่ได้ล๊อคขาคู่ต่อสู้ออกมาได้แล้วค่อยพลิกตัวอีกรอบเอาขาที่กดนั้นออกมาทีหลังมันก็จะเป็นโอไซโกมิที่สมบูรณ์

11.คล้ายๆกับ10 เหมือนกับเป็นจังหวะทีเราอยู่ด้านบนแล้วคู่ต่อสู้เอาขามารัดช่วงเอวเอาไว้ ก็แก้ด้วยการรวบขาจากด้านล่างทั้ง2ขาอ้อมไปจับสายรัดแล้วก็ค่อยๆบิดตัวเอาแข้งของเราไปกดแขนคู่ต่อสู้เอาไว้ข้างนึง (การใช้แข้งไปกดเหมือนกับข้อ9กับข้อ10ที่ให้เอาเข่าลงพื้นไม่ใช้กดอยุ่บนร่างกายของคู่ต่อสู้) ค่อยๆบิดตัวออกมาเพื่อใส่ท่ากดพอใส่ได้แล้วขาปล่อยมันไปก็จะเริ่มนับเวลากันได้

12.คล้ายกับ11 แต่จังหวะต่างกันไปคราวนี้จับแค่ขาข้างเดียว ลักษณะจะคล้ายๆกับว่าคู่ต่อสู้กำลังจะใส่ซังกะกุจิเมะจากด้านล่างขึ้นมาโดยเอาขาพาดเอาไว้ทีไหล่เราหนึ่งข้าง ก็แก้ด้วยการเอามืออ้อมขาไปจับคอเสื้อของคู่ต่อสู้ พอได้แล้วฝั่งตรงข้ามเอาแข้งไปกดแขนคู่ต่อสู้เอาไว้แล้วก็บิดตัวไปใส่ท่ากดนอนเหมือนเดิม พอได้แล้วค่อยๆคลายขาของคู่ต่อสู้จากนั้นคู่ต่อสู้จะเอาขาออกไปเองเพราะอยู่ในจังหวะนั้นมันอึดอัด ก็ลงตัวกับท่ากดนอนพอดี

13.คู่ต่อสู้นอนคว่ำก็เอามือล้วงไปดึงข้อมือ (ถ้าใช้มือขวาก็ล้วงไปที่มือขวาของคู่ต่อสู้) แล้วก็ดึงมันออกมา กดและหมุนตัวเพื่อเพิ่มแรงในการดึงมือออกมาด้วย (ตอนซ้อมอันนี้ต้องให้คู่ซ้อมออกหน่อยนึงไม่งั้นมันไม่สมจริงและทำไม่ออก) หมุนจนเข่าสองข้างมาอยู่ระหว่างหัวของคู่ต่อสู้แล้วก็เอามือซ้ายสอดเข้าไปแทนที่ของมือขวาหลังจากนั้นก็กระเถิบออกมาด้านข้างเล็กน้อย ทุกจังหวะยังเอาหน้าอกกดตัวคู่ต่อสู้อยู่ตลอด แล้วค่อยๆดันพลิกตัวคู่ต่อสู้เป็นนอนหงายพอพลิกได้ครึ่งนึงก็เอามือไปล๊อคที่คอ พอพลิกตัวครบแล้วจะพอดีกับการล๊อค จากนั้นก็ตามสะดวกว่าจะกดนอนด้วยวิธีไหน แต่ผมถนัดคาตะกาตาเมะกว่าโยโกชิโห่สำหรับท่านี้ เพราะมันไม่ต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเท่าไหร่ พอพลิกมาแล้วก็ตามนั้นเลย สำคัญในจุดสุดท้ายคือเรื่องเข่าต้องหุบเข้าไปไม่งั้นคู่ต่อสู้เอาขามาปัดไปรัดได้ก็จบกันเสียเวลาเสียแรงพลิกตัวคู่ต่อสู้ขึ้นมา

14.ทำตาม13แต่ในจังหวะที่พยายามดึงข้อมือคู่ต่อสู้ออกมา คู่ต่อสู้ไม่ให้ดึงออกมาง่ายๆ(ก็แน่อยู่แล้ว เพราะถ้าดึงได้ง่ายๆใส่เป็นท่าหักแขนได้) ในเมื่อไม่ให้ดึงออกมาคู่ต่อสู้จะต้องขยับขาเพื่อเสริมแรงกดให้เราดึงไม่ออก จังหวะนั้นก็ล้วงเป้ากางเกง(ไม่ได้บีบไข่นะครับเพราะบีบไข่ผิดกติกา) ล้วงเลยไปจนถึงสายรัดเลยและจับพลิก จากนั้นต้องใช้คอช่วยดันแล้วรีบเอามือข้างที่ล้วงออกมาเพราะถ้าไม่รีบเอาออกจะโดนหักแขนได้(ถ้ายกดีๆคอของคู่ต่อสู้จะอยู่ที่พื้น แล้วเราจะมีจังหวะเล็กน้อยในการเก็บแขนข้างที่ล้วงออกมา) ถ้ารีบเอาแขนออกได้พร้อมๆกับการใช้คอเบี่ยงทิศทางตัวคู่ต่อสู้ดีๆแล้ว มันจะพลิกมาอยู่ในท่าคามิชิโฮกาตาเมะ ท่านี้ธรรมดาก็ดิ้นหลุดยากแล้ว แต่ในจังหวะนี้คู่ต่อสู้เหลือแค่มือเดียวยิ่งดิ้นยากเข้าไปอีก (อีกมือล๊อคกับแขนของเราอยู่ในจังหวะล้วงไปจับข้อมือนั้นแหละ จนถึงท้ายสุดก็ยังไม่ปล่อยออกมา) ก็จับล๊อคเอาไว้แบบนี้แหละจนกว่าจะได้ยินเสียงอิปป้ง (13กับ14 ตอนใช้สลับไปมาได้อยู่ที่ทิศทางว่าคู่ต่อสู้อยากจะโดนท่าไหน)

15.เปลี่ยนมาเป็นคนที่นอนหงายอยู่ด้านล่างบ้าง เป็นการใช้ทฤษฎีของโต๊ะ4ขาถ้าหากทำให้มันเหลือ2ขามันก็จะทรงตัวอยู่ไม่ได้ ก็เหมือนกับขา2ข้างกับแขน2ข้างของคู่ต่อสู้ถ้าหากจัดการให้เหลือแค่2ข้าง(ไม่ว่าจะเหลือขา1แขน1หรือว่าขา2ไม่มีแขนหรือจะเป็นแบบเหลือแขน2ข้างไม่เหลือขา) ก็จะล้ม วิธีที่ดีและเร็วสุดควรเป็นทางซ้ายทั้ง2 หรือไม่ก็ทางขวาเพื่อที่จะได้รวบและพลิกตัวเรามาอยู่ด้านบนในการกด ใช้ขาของเราดันไปที่เข่าของคู่ต่อสู้จังหวะเดียวกันก็ใช้มือปัดไปที่แขนของคู่ต่อสู้ (คล้ายกับการใช้โออุจิการิแต่เป็นการใช้มือปัดมือ) พอ2ข้างล้มแล้วก็เอาอีกฝั่งพลิกขึ้นไปกดแทน

16.ท่านี้คล้ายๆจะเรียนกว่า โอบิฮิกิไคเอชิ แต่ไม่เหมือนซะทีเดียว อาจารย์ยังไม่มีชื่อเรียกที่แน่นอน นอนหงายขออยู่ด้านในเข่าทั้ง2ข้างของคู่ต่อสู้ยกตัวเข้าไปติดกับตัวคู่ต่อสู้แล้วเอามืออ้อมไปดึงที่สายรัดส่วนมืออีกข้างอ้อมใต้แขนคู่ต่อสู้ไปประกบกับมือข้างที่จับสายรัดอยู่แล้วดึงลงพร้อมๆกับการใช้ขาเหวี่ยงขึ้น(ใกล้เคียงกับโทโมนาเกะ)พร้อมกับพลิกไปจับกดตามน้ำ (ท่านี้ใช้ยากต้องอาศัยแรงช่วงท้องกับจังหวะน้ำหนัก)

17.อยู่ในท่าเต่าพอคู่ต่อสู้ล้วงมือเข้ามาเอารักแร้หนีบไว้และหมุนตัวพลิกขึ้นมากดในท่าคุสุเรเคซะ (ท่าถนัดของผมเลยครับ)

18.ท่าแก้ซังกะกุจิเมะ ปล่อยให้คู่ต่อสู้ใช้ซังกะกุจิเมะไปพอจังหวะที่หมุนไปแล้วเอามือข้างที่กำลังจะถูกล๊อคจับข้อเท้าเอาไว้ ดิ้นดันตัวขึ้นมาเป็นท่าคุสุเรเคซะ (เทพมากๆสำหรับท่านี้)

19.อันนี้ธรรมดาธรรมดา คู่ต่อสู้นั่งแล้วเราดันอยู่ข้างหลังพอดี ก็ล้วงมือไปทำ โอคุจิ เอริ จิเมะ

20.ท่าซังกะกุจิเมะด้านหน้า จังหวะเหมือนกับข้อ12 แต่เราอยู่ด้านล่างคู่ต่อสู้ยกขาเราได้ข้างนึงกำลังจะอ้อมมือมาจับคอเสื้อ จังหวะนั้นก็ให้ใช้ขาอีกฝั่งเตะไปที่เข่าให้คู่ต่อสู้ล้มตัวลงมาทับเรา พร้อมๆกับใช้ขาข้างที่โดนยกลอยอยู่นั้นจัดรูปแบบซังกะกุจิเมะซะเลย ถ้าทำได้เหลี่ยมพอดีจะอึดอัดจนต้องยอม แต่ถ้าไม่ได้มุมมีช่องระหว่างเข่าคู่ต่อสู้จะแค่ไม่สบายตัวเฉยๆไม่ถึงกับต้องตบเบาะยอม ก็ให้เอามือที่ถูกล๊อคด้วยกันกับคอนั้นมาหักซะ

21.จังหวะเหมือนท่าที่4 แต่เราอยู่ในท่าเต่า คู่ต่อสู้ดึงสายรัดขึ้นเอาขาหนีบไว้แล้วเอามือล้วงมาเพื่อที่จะทำการหมุนตามสเต็ป ก็ปล่อยให้หมุนไปแต่จังหวะสุดท้ายเปลี่ยนเป็นดันตัวเราขึ้นมาพร้อมกับเอารักแร้หนีบแขนข้างนึงเอาไว้จะอยู่ในท่า คุสุเรเคซะกาตาเมะพอดี บางครั้งตรงจุดนี้ขาหลบออกมาไม่ทันถูกคู่ต่อสู้เอาขารัดเอาไว้ ก็ค่อยๆกระเถิบแล้วจังหวะสุดท้ายใช้ขาอีกข้างปัดตรงที่คู่ต่อสู้ล๊อคเอาไว้พร้อมๆกับพลิกข้อเท้าเล็กน้อยก็จะหลุดได้

22.สุดท้าย อันนี้อาจารย์บอกว่าเป็นท่าถนัดและทีเด็ดของอาจารย์เลยก็ว่าได้ คือจังหวะที่เราเกือบจะจับกดได้แล้ว(เช่นท่า ทัตเตชิโห หรือว่า คาตะกาตาเมะ) แต่คู่ต่อสู้เอาขามารัดขาเราเอาไว้ได้ หรือจังหวะที่เริ่มต้นโดยคู่ต่อสู้รัดขาเอาไว้ ก่อนอื่นให้จัดร่างกายด้านบนก่อนคือไปล๊อคไว้ก่อนเช่นถ้าในท่าคาตะกาตาเมะก็เอามือไปล๊อคไว้ก่อน ขาไม่เป็นไร ส่วนใหญ่คู่ต่อสู้จะคิดว่าขาล๊อคอยู่ก็จะทำให้การป้องกันด้านบนหลวมไปหน่อย พอด้านบนเสร็จแล้ว ต่อไปก็มาจัดการขาเจ้าปัญหา ด้วยการยกก้นให้โด่งเหมือนภูเขา เขย่าๆหน่อย ตรงที่ล๊อคก็ลงกระเถิบลงมาด้านล่าง(ให้ถึงบริเวณข้อเท้า) จากนั้นบิดสะโพกเอาเข่าข้างที่ถูกล๊อคลงพื้นที่อยู่ด้านนอกตัวคู่ต่อสู้ให้ได้ ถ้าเป็นพวกมือใหม่ก็หลุดแล้ว แต่ถ้ายังไม่หลุดพลิกข้อเท้าหน่อยนึงพร้อมๆกับใช้ขาอีกฝั่งเขี่ยตรงจุดที่ขัดกันไว้ก็จะหลุดโดยง่าย(รัดมี2แบบ แบบขวาทับซ้าย กับ ซ้ายทับขวา อธิบายด้วยคำพูดลำบากต้องลองฝึกดูไม่เกิน10ครั้งใช้จริงได้เลยครับ)

จากท่าเนวาซะทั้งหมดที่เรียนที่ซ้อมมาในช่วงคังเคโกะหรือการฝึกภาคฤดูหนาวนี้ หากสังเกตุดีๆจะเห็นว่าเป็นการใช้เนวะซะในรูปแบบต่างๆที่มันเจอตอนแข่งหรือตอนรันโดริ ไม่ว่าจะเป็น นอนคว่ำ นอนหงาย อยู่ด้านข้าง ท่าเต่า และอื่นๆ ถ้าหากจัดหมวดหมู่เอาไว้ดีๆและฝึกให้ชำนาญซักหน่อย ผมว่ามันมีโอกาสชนะเยอะขึ้นครับ เพราะผมเจอมากับตัวบ่อยมากๆเกี่ยวกับการปล่อยจังหวะที่น่าจะชนะง่ายๆด้วยเนวาซะให้หลุดลอยไป เพราะความไม่มั่นใจในเนวะซะของตัวเองนั้นเอง อาจารย์ได้บอกเอาไว้ว่าก่อนอื่นสำหรับท่านอนถ้าเป็นไปได้ควรจะพยายามเน้นกดโอไซโกมิให้อยู่ก่อน ถ้าจับมั่นๆแล้วหรือมีโอกาสในจังหวะถัดมาค่อยไปใช้พวกหักคอหักแขนจะดีกว่า เพราะถ้าจับไม่แน่นไปหักคอหักแขนเลย จังหวะยังไม่ลงตัวดิ้นหน่อยเดียวก็หลุดแล้ว ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการจับกดเป็นอันดับแรกก่อน


** สุดท้ายนี้ ผมเขียนเองอ่านเองแล้วก็ยังงงเอง ใครที่อ่านแล้วเข้าใจในสิ่งที่ผมจะสื่อสารแล้วบอกผมด้วยครับ มีของปีที่แล้วในบล๊อคเก่าๆ อาจจะซ้ำกันบ้างแต่ถ้าอ่านทั้ง2อันอาจจะเข้าใจมากขึ้นในสิ่งที่ผมสื่อสารก็เป็นได้ครับ
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=ablaze357&month=15-01-2012&group=1&gblog=35



Create Date : 16 มกราคม 2556
Last Update : 16 มกราคม 2556 12:32:44 น.
Counter : 1896 Pageviews.

10 comments
  
อ่านแล้วงงอ่ะครับ ต้องมีสาธิต หรือคลิปวีดีโอประกอบด้วย
โดย: อ่านแล้ว IP: 27.55.148.89 วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:17:28:14 น.
  
ผมก็ว่างงครับ แต่ตัวผมเอาไว้ทบทวนกันลืมคงไม่มีปัญหาครับ ถ้ามีโอกาสคงได้อธิบายพร้อมแสดงให้ดูจะง่ายกว่าครับผม
โดย: ablaze357 วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:9:51:56 น.
  
"หักคอ" อ่านตอนแรกงงๆว่ายูโด(ในการแข่งขัน)อนุญาตให้หักข้อต่อส่วนอื่นนอกจากแขนด้วยเรอะนี่..โหดโคดๆ
ใช้ รัดคอ,เชือด จะทำให้เข้าใจง่ายกว่าง่าาา แล้วก็ทำให้ดูนุ่มนวลขึ้นมากอีกนิดนึง (คิดว่างั้นน่ะนะ 555)

ปล.หนับหนุนอีกหนึ่งเสียงว่าน่าจะมีคลิปวีดีโอประกอบด้วย
โดย: พีชญ์ IP: 110.169.237.161 วันที่: 27 มกราคม 2556 เวลา:21:54:33 น.
  
555 ข้อ20ใช่มั้ยครับ ไม่ได้หักคอครับ(หักคอ คงโดนข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา) เอาแขนของคู่ต่อสู้ที่ถูกรัดไว้พร้อมๆกับคอ ออกมาหัก(แขน)ครับผม

ยูโดหักได้แต่ข้อศอกครับ บางครั้งใช้แล้วมันก้ำกึ่งระหว่างไหล่กับศอก ก็เสียโอกาสไปเหมือนกัน เพราะกรรมการจะสั่งหยุด(อาจโดนเตือนด้วยครับ)
โดย: ablaze357 วันที่: 30 มกราคม 2556 เวลา:21:17:30 น.
  
แวะมาทักตอนเช้ามว๊ากที่บ้้านเรา ตรุษจีนกลับบ้านเปล่า
โดย: คุณเพลินเอง IP: 124.121.111.99 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:0:25:34 น.
  
ตรุษจีนไม่กลับครับ แต่อาจจะกลับช่วงปลายมีนาคมแทนครับผม
โดย: ablaze357 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:18:39 น.
  


龙马精神 หลงหม่าจินเสิน..สุขภาพแข็งแรง

恭喜发财 กงสี่ฟาไฉ..ขอให้ร่ำรวย

一帆风顺 อี้ฝันฟงซุ่น..ทุกอย่างราบรื่น

金玉满堂 จินยวี้หม่านถัง..ร่ำรวยเงินทอง

年年有余 เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋..เหลือกินเหลือใช้

万事如意 ว่านซื่อหยูอี้ ..สมความปรารถนา

四季平安 ซื่จี้ผิงอัน..ปลอดภัยตลอดปีหายไป.....

好运年年 เห่ายวิ่นเหนียนเหนียน..โชคดีตลอดไป



โดย: LittleDaimon วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:22:17:12 น.
  
แวะมาแปะหัวใจ..ดวงสุดท้าย...ฉันให้เธอ...(เป็นไงซึ้งป่ะ 555)
โดย: normalization วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:10:22:54 น.
  
สวัสดีครับ ผมมีประสบการณ์มาเล่าให้ฟังขณะผมเตะฟุตบอลผมวิ่งมาด้วยความเร็ว...แต่ขาซ้ายผมไม่แตะพื้นในขณะที่วิ่งมาด้วยความเร็ว หน้าผมพุ่งไปที่พื้้น
แต่ชั่ววินาทีนั่น...สัญชาติญานมาจากไหนไม่รู้...ผมใช่ท่าม้วนตัว เอาหัวไหลลงก่อนกลิ้งเป็นวงกลมแล้วม้วนขึ้นมายืนตรงเฉยเลย งงกับตัวเองเหมือนกัน... พอดีอ่านเจอในหนังสือ ยูโด
เป็นท่าพื้นฐานม้วนตัว Mae-mawari ukemi : tumbling Forword ผมสนใจยูโดครับ แต่ยากฝึกเกี่ยวกับจิตใจและอารมณ์มากกว่า
โดย: Tonunsoyer วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:18:05:01 น.
  
พื้นเป็นคอนกรีต (ผมไม่มีบาดแผลเลยซักนิด)
โดย: Tonunsoyer วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:18:08:27 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ablaze357.BlogGang.com

ablaze357
Location :
Chiba  Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]

บทความทั้งหมด