หลักการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่นของเยาวชนโทไก 1/4

หนังสือเล่มนี้ที่ผมเอามาศึกษาและแปลนี้เป็นหนังสือที่ผมเอาติดตัวไปด้วยตอนเที่ยวอเมริกา เห็นว่ามีเวลาอยู่บนเครื่อง10กว่าชั่วโมงรวมขาไปและกลับก็ประมาณ1วันเต็มๆไหนๆก็ว่างแล้วขอแกะหนังสืออีกเล่มเผื่อจะมีประโยชน์ในการซ้อมของผมและท่านผู้สนใจในยูโด


เริ่มกันเลยหนังสือเล่มนี้เป็นการอธิบายถึงหลักการซ้อมของชมรมยูโดเยาวชนโทไก ที่ผมสนใจในหนังสือเล่มนี้เพราะว่ารูปแบบเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนกับหนังสือยูโดเล่มอื่นๆที่จะอธิบายถึงพื้นฐานท่าทุ่มต่างๆเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นแนวสอนหลักการฝึกซ้อม ไม่ค่อยได้พูดลึกลงไปถึงท่าทุ่มต่างๆซักเท่าไหร่นัก(แต่ก็มีท่าทุ่มบางส่วนที่แตกต่างกับท่าทุ่มพื้นฐานที่ผมเคยเรียนรู้มา)ผมเริ่มซ้อมยูโดที่โคโดกังมาถึงตอนนี้ก็ประมาณ2ปี ที่โคโดกังวิธีการฝึกซ้อมที่ผมเรียนรู้และศึกษามาทำให้ถ้าปล่อยให้ผมอยู่คนเดียวขอแค่มีคู่ซ้อมผมก็สามารถจัดแบ่งได้ว่าจะต้องซ้อมอะไรและการซ้อมต่างๆเพื่อจุดประสงค์ตรงส่วนไหน หนังสือเล่มนี้ก็เป็นการสรุปและรวบรวมวิธีการฝึกซ้อมในรูปแบบต่างๆพอผมเปิดอ่านดูรอบแรกก่อนซื้อ ผมตัดสินใจซื้อโดยไม่ลังเลทั้งๆที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้อธิบายถึงท่าทุ่มต่างๆเหมือนเล่มอื่นๆที่ผมซื้อ

ในหนังสือจะแบ่งเป็นส่วนๆไล่จากพื้นฐานไปเรื่อยๆตามหัวข้อมีทั้งหมด60ข้อ ผมก็จะขอไล่แปลตามหัวข้อในหนังสือเพื่อความสะดวกเช่นกันหลักใหญ่ๆแล้ว
ข้อ1-10 เรื่องของอุจิโกมิ
ผมว่าส่วนนี้น่าสนใจมากๆเพราะเป็นพื้นฐานต่างๆในการฝึกซ้อมเบื้องต้นของยูโดส่วนนี้ถ้าเข้าใจแล้วสามารถนำไปฝึกซ้อมแบบคิดเมนูการซ้อมเองได้

ข้อ11-14 เรื่องรันโดริ
มีข้อคิด ส่วนแนะนำ มีประโยชน์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการซ้อมรันโดริและใช้ได้กับการแข่งจริง

ข้อ15-28 เรื่องคุมิเท ชิงจังหวะจับ
ถ้าพูดถึงยูโดของญี่ปุ่นแล้วส่วนนี้ถือเป็นหลักเบื้องต้นทั่วไปก็ว่าได้ที่เริ่มจากชิงจังหวะจับก่อนที่จะได้เปรียบและมีจังหวะในการทุ่ม (ที่ผมตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ก็เพราะสนใจในส่วนนี้แหละครับ)

ข้อ29-38 เรื่องท่าทุ่ม
ส่วนของท่าทุ่มต่างๆ ผมจะไม่ลงลึกในรายละเอียดจะเน้นเฉพาะจุดสำคัญที่หนังสือแนะนำเท่านั้น

ข้อ39-47 เรื่องท่าต่อเนื่อง
สำหรับท่าต่อเนื่อง ต้องทำท่าแต่ละท่าในแบบพื้นฐานให้ชำนาญก่อนถึงจะประสานมือกับขาในจังหวะที่ถูกต้องได้ผมจะไม่ลงลึกนอกจากจุดที่หนังสือเน้นเป็นพิเศษเท่านั้น

ข้อ48-51 เรื่องการเทรนนิ่ง
เป็นการซ้อมเป็นเรื่องเป็นราว แบบอื่นๆที่เสริมมานอกเหนือจากบนเบาะยูโด(สำหรับปูพื้นฐานคนที่จะไปเป็นนักกีฬาอย่างจริงจัง)

ข้อ52-60 เรื่องทั่วๆไป
เกร็ดความรู้ทั่วๆไป รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย คงจะมีประโยชน์ซักวันก็เป็นได้


1.
อุจิโกมิหรือการซ้อมเข้าท่า
จุดประสงค์ของอุจิโกมิคือการฝึกเจ้าท่าให้ชำนาญจนสามารถนำไปใช้ได้จริงในรันโดริหรือการแข่งขันพื้นฐานเริ่มต้นที่สำคัญ2อย่างคือ คุสุชิ กับสกุริ คุสุชิคือการดึงสร้างจังหวะในการทุ่มส่วนสกุริคือการสร้างท่าที่ถูกต้อง หากซ้อมอุจิโกมิแต่ไม่ได้เน้น คุสุชิ กับสกุริแล้ว ท่าที่ออกมาไม่มีแรงดึง ท่าไม่ถูกต้องการทุ่มที่สมบูรณ์ก็จะทำไม่ได้และถือว่าไร้ประโยชน์ เสียเวลาในการฝึกซ้อม
-
ในส่วนของโทริต้องดึงให้ถูกต้อง หลักใหญ่ๆแล้วเรื่องสะโพกกับหัวเข่า ย่อตัวให้ถูกต้อง
-
ในส่วนของอุเกอย่างอตัวหรือเกร็งตัวออกแรงต้านเพราะจะทำให้เข้าท่าได้ลำบากเหนื่อยเปล่ากับโทริและไม่เกิดประโยชน์
-
เริ่มต้นให้ฝึกเข้าท่าแบบไอโยตสึก่อนพอชำนาญแล้วให้อุเกเปลี่ยนเป็นจับแบบเก็งกังโยตสึเพราะตอนแข่งขันเราอาจจะเจอะเจอได้ทั้ง2แบบดังนั้นถึงต้องฝึกให้ชำนาญทั้ง2แบบ
-
สิ่งที่เน้นคือการดึงกับท่าที่ถูกต้อง อย่าไปเร่งจังหวะให้มันเร็วเพียงแต่ถ้าเราเน้นทุกๆครั้งที่เข้าท่าในเรื่องการดึงกับท่าที่ถูกต้องแล้วพอชำนาญสปีดมันจะมาเองครับ

2.
เน้นเรื่องแรงโดยการเข้าท่าแบบ3คน


การเข้าท่าแบบ3คนเป็นการฝึกเรื่องการทุ่มจริงโดยการออกแรงเต็มที่แต่อุเกจะไม่ถูกทุ่มเพราะว่าอุเกจะมีอีกคนนึงคอยดึงเอาไว้ไม่ให้ล้มนั้นเอง
-
ในหนังสือไม่ได้บอกถึงหลักในการทุ่มของการเข้าท่าแบบ3คนแต่อาจารย์ผมที่โคโดกังอธิบายให้ฟังว่า ทุกๆครั้งในการเข้าท่าสำคัญอยู่ที่คุสุชิถ้าหากเราทำคุสุชิได้แล้วไม่ว่าจะเป็น3คนก็ยังสามารถยกลอยในการทุ่มได้ผมลองดูแล้วมันใช้ได้จริงครับ ดังนั้นอย่าลืมเรื่องคุสุชิ
-
คนที่3ที่เป็นตัวถ่วงไม่ใช่ถ่วงตั้งแต่ตอนแรกสุดแต่ให้ออกแรงถ่วงในตอนที่โทริใส่ท่าเข้ามาแล้วตอนที่เตรียมทุ่มนั้นแหละถ้าออกแรงถ่วงแต่แรก ทำให้โทริออกคุสุชิได้ไม่ดีนัก และท่าของโทริถูกแรกถ่วงแต่แรกก็จะไม่ถูกต้องสมบูรณ์คุสุชิกับสกุริไม่ได้ ทำให้ท่าทุ่มก็ไม่ถูกต้องไปด้วย
-
ชำนาญฝั่งไอโยตสึแล้วก็อย่าลืม3คนแบบเก็งกังโยตสึด้วยพอทำบ่อยๆเข้าก็เพิ่มความเร็วเข้าไป ถึงจุดนี้จะได้5อย่างคือ คุสุชิสกุริ คาเคะ(การทุ่ม) ความแรง และความเร็ว

3.
อุจิโกมิ4ครั้งในครั้งที่5เป็นนาเกะโกมิหรือการทุ่มจริง
ข้อ3นี้เป็นการฝึกองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของยูโดนั้นคือ คาเคะการทุ่มที่ถูกต้องต้องเริ่มจากคุสุชิ สกุริ และปิดท้ายด้วยคาเคะนั้นเอง
-
ส่วนของอุเกนั้นสำคัญมากในการซ้อมอย่างอตัวและอย่าเกร็งในทีที่5 ผมมักจะเจอบ่อยมากๆในตอนซ้อม ส่วนใหญ่คนที่ตบเบาะยังไม่ดีมักจะเป็นคือกลัวการถูกทุ่ม โดยการออกแรงต้านในการซ้อมนาเกะโกมิ ทำให้โทริทุ่มก็ต้องเพิ่มแรงพอยังไม่ชำนาญเพิ่มแรงเข้าไปท่ามันก็ไม่ถูกต้องท่าไม่ถูกฝึกจนชำนาญเอาไปใช้จริงมันก็เป็นเพียงท่าที่ผิดๆนั้นเอง
-
เหมือนข้อหนึ่งและสองนั้นคือต้องซ้อมทั้งไอโยตสึและเก็งกังโยตสึความเร็วซ้อมเป็นสิ่งสุดท้าย เอาคุสุชิกับสกุริให้ถูกต้องซะก่อน
-
ครั้งที่5,10,15,20 เป็นนาเกะโกมิ เข้าท่า20ครั้งถือเป็น1เซ็ตแล้วค่อยสลับอุเกกับโทริ

4.
ฝึกสลับเข้าท่ากันคนละครั้งเป็นการซ้อมการป้องกันและจู่โจมไปในตัว


โทริเข้าท่าไปแล้วกลับมาอยู่ในจังหวะเริ่มต้นแล้วอุเกใส่ท่าเข้าไปบ้างสลับกันเพราะตอนแข่งจริงพออีกฝั่งใส่ท่ามาแล้วทุ่มไม่ได้จังหวะที่ถอยกลับไปตั้งหลักเราก็จะสามารถฉวยโอกาสเข้าไปทุ่มได้เรียกว่าฉวยโอกาสก็จริงแต่ถ้าไม่ซ้อมบ่อยๆ ทำจริงไม่ได้ครับ
-
หลักสำคัญพื้นฐานคือให้ทั้งคู่จับในแบบที่ตนเองถนัดถ้าเป็นไปได้ควรจับแบบชิเซ็นไต คือจับขวาเอาขาขวานำหน้าเล็กน้อยถ้าจับซ้ายก็เอาซ้ายนำ
-
การซ้อมให้เน้นและเรียงลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้หนึ่งคือท่าที่ถูกต้อง (คุสุชิ กับ สกุริ) สองความเร็ว สามความสมดุลย์ ทำ1ชำนาญแล้วก็เน้น1กับ2 ได้1กับ2แล้วค่อยเพิ่ม3เข้าไป

5.
อุจิโกมิแบบใช้ท่าต่อเนื่อง
ยูโดบ่อยครั้งที่ท่าเดียวโดดๆจะไม่สามารถทุ่มได้ดังนั้นควรจะมีท่าต่อเนื่องในการทุ่มส่วนใหญ่ที่เห็นบ่อยคือการใช้ท่าขาช่วยในการทำลายจังหสะก่อนที่จะใส่อีกท่าในการทุ่มลักษณะแบบนี้เรียกว่าเล็กไปหาใหญ่ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ท่าทุ่มใหญ่ไปหาเล็กเช่นเซโอนาเกะ+โคอุจิ
-
การซ้อมควรเป็บแบบเคลื่อนที่อุเกต้องเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติด้วยเพื่อการซ้อมคุสุชินั้นเองถ้าอุเกทำตัวแข็งไม่ตามแรงคุสุชิหรือไม่ตามแรงที่ท่าแรกทำลายจังหวะไปแล้วการซ้อมจะก้าวหน้าได้ช้า
-
ควรซ้อมให้ท่า2ท่ามันต่อกันอย่างลื่นไหลถ้าหากท่าแรกกับท่าที่2มีช่องว่างหรือหยุดไปไม่ต่อเนื่องการซ้อมตรงนี้ไม่มีประโยชน์เพราะเป็นการซ้อมแค่ท่าเดียวโดดๆเท่านั้น
-
ห้ามใช้ท่ามากิโกมิในการฝึกซ้อมตรงนี้เหตุผล3ข้อในการห้ามใช้มากิโกมิ1.ไม่ได้ฝึกคุสุชิเพราะมากิโกมิใช้แค่การทิ้งตัวเฉยๆ 2.ใช้จนติดเป็นนิสัยจะไม่สามารถใช้ท่าทุ่มแบบปกติได้ทำให้การไม่สามารถมีพัฒนาการขึ้นไปได้เพราะพื้นฐานไม่มีมากิโกมิถ้าคนตัวเล็กใช้การจะทุ่มคนตัวโตกว่าทำได้ยากมาก 3.ทำให้ขาไม่มั่นคงพอติดเป็นนิสัยทุ่มเสร็จต้องล้มตามเป็นพื้นฐานและนิสัยที่ไม่ดีของยูโด อาจารย์ที่โคโดกังก็ห้ามเหมือนกันเพราะว่าถ้าใช้ท่าปกติได้ชำนาญแล้วการจะปรับไปเป็นมากิโกมิทำได้ง่ายมากแต่กลับกันคนที่ใช้มากิโกมิจนชำนาญแล้วจะมาทุ่มท่าปกติต้องกลับไปแก้ไขพื้นฐานกันตั้งแต่แรกใหม่นานๆไปฝีมือยูโดจะหยุดอยู่กับที่ (ที่เมืองไทยคงชำนาญในท่าพื้นฐานกันมากๆแล้วครับผมเห็นคนส่วนใหญ่ใช้มากิโกมิกันเยอะมากๆยูโดมันของใครของมันอยู่แล้วอยากเป็นแบบไหนก็ซ้อมกันแบบนั้นละกันครับ)

6.
อุจิโกมิแบบเคลื่อนที่
ใช้ท่าเดิมเหมือนกันทั้งเซ็ต ข้อ6นี้เป็นการฝึกไทม์มิ่งหรือจังหวะเวลาให้เข้าจังหวะเหมือนกับการรันโดริหรือการแข่งขันที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด
-
สิ่งที่เน้นคือเรื่องไทม์มิ่งหรือจังหวะเวลาเพิ่มเข้ามาแต่สิ่งสำคัญอีกส่วนคือคุสุชิ สกุริ และคาเคะ เช่นเดิม
-
อุเกก็ต้องเคลื่อนไหวให้เข้าจังหวะด้วยเช่นกันไม่จำเป็นต้องยืนแบบชิเซ็นไต ให้เน้นการเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติ
-
เข้า10ครั้งเป็น1เซ็ต 9ครั้งไม่ต้องทุ่มทีที่10ค่อยทุ่มจริงแต่9ครั้งนั้นให้คิดไปด้วยว่าทุ่มแล้วควรจะเป็นยังไงไปในทิศทางไหน เช่นการยกลอยแต่ไม่ถึงกับทุ่ม

7.
อุจิโกมิริมเส้น


เป็นการฝึกให้เคยชินเมื่อถึงจังหวะที่หลุดออกนอกกรอบก็ยังสามารถที่จะทุ่มได้ตามกฏแล้วถ้าหลุดนอกกรอบแค่คนเดียวกรรมการยังให้เล่นต่อดังนั้นจังหวะทุ่มยังมีต้องทุ่มเพราะในบางครั้งคู่ต่อรู้พยายามดันให้เราเป็นคนดึงออกนอกกรอบหรือว่าเราหนีจนสุดกรอบถ้าถอยต่อก็จะโดนชิโดได้
-
ใกล้เคียงกับอุจิโกมิแบบเคลื่อนที่แต่ต่างกันตรงที่ก่อนที่เราจะเข้าท่าคู่ซ้อมของเราจะเป็นคนจู่โจมเข้ามาก่อนทำให้เราหลุดกรอบออกไปจากนั้นเราค่อยเข้าท่าทุ่มกลับไปแทน
-
เป็นการซ้อมให้เรารักษากฏกติกาการแข่งขันพร้อมๆกับการฝึกจิตใจให้ยังนิ่งเมื่อถูกกดดันให้อยู่ในสถานะที่เสียเปรียบแต่ยังคุมสติให้อยู่ในเกมได้

8.
อุจิโกมิแบบเน้นสปีดเพิ่มสเตมิน่า
ทุกครั้งในการซ้อมของโทไกจะปิดท้ายด้วยอุจิโกมิแบบเน้นสปีดเริ่มจาก20วินาทีไปจนถึง60วินาทีเป็นการฝึกจิตใจให้ไม่ยอมแพ้ ชินกับความเหนื่อยล้าและสร้างความอึดให้กับร่างกาย
-
ถึงจะเน้นความเร็วแต่คุสุชิกับสกุริก็ต้องเน้นย้ำในทุกครั้งที่ใส่ท่าเข้าไป
-
ท่าที่ใช้ซ้อมควรเป็นท่าหมุนตัวเข้าไปพอเข้าท่าแล้วให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นทุกครั้งก่อนที่จะเข้าท่าในครั้งต่อๆไป
-
เวลาที่เดินถอยหลังอยู่นั้นอย่าไปคิดว่าเมื่อไหร่เวลาจะหมดซักทีแต่ให้คิดว่าเวลายังเหลืออยู่สามารถเข้าซ้อมเข้าไปได้อีกในหนังสือไม่ได้บอกว่าทำกี่ครั้งหรือกี่เซ็ทบอกเพียงแค่ว่าอย่าทำเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่แต่ให้คิดว่าเป็นการฝึกใจและท้าทายให้เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆในขณะที่การเข้าแต่ละครั้งต้องเป็นท่าที่ถูกต้องด้วย

9.
เจาะลึกกับท่าทุ่ม
ที่โทไกตอนซ้อมเข้าท่าจะแบ่งออกเป็น3เบาะหลักๆคือเบาะโอโซโตการิ เบาะอุจิมาตะ และเบาะพวกท่าหมุนตัวทุ่มเช่นเซโอนาเกะในแต่ละเบาะคนที่ซ้อมนั้นจะเจาะลึกในท่านั้นๆเช่นเบาะโอโซโตการิแต่ละคนที่ฝึกซ้อมก็จะเน้นโอโซโตในรูปแบบต่างๆเอามาวิเคราะห์หาจังหวะในการใช้ในรูปแบบต่างๆแน่นอนว่าอุเกก็ได้ฝึกซ้อมไปในตัวด้วยเช่นกันตัวอย่างเช่นถ้าหากคนที่รู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนเมื่อเจอกับโอโซโตก็จะพยายามมาเป็นอุเกฝึกหาจังหวะในการแก้ไชจุดอ่อนของตัวเอง สำหรับเบาะเฉพาะท่านี้ไม่เพียงแต่ฝึกท่าเดียวโดดๆเท่านั้นแต่ท่าต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกันก็นำมาซ้อมมาวิเคราะห์ด้วย เช่นเบาะอุจิมาตะก็มีการเอาโออุจิการิ+อุจิมาตะมาฝึกซ้อมด้วยจุดประสงค์หลักในการแบ่งเบาะเฉพาะฝึกซ้อมก็เพื่อเป็นการรวมหัวกันวิเคราะห์รวมหัวกันฝึกเพื่อให้ก้าวหน้าไปพร้อมๆกันตามหลักพื้นฐานของยูโดที่ว่ารวมกันก้าวไป

10.circuit training
หรือรูปแบบวงจรในการฝึกซ้อม
การซ้อมเข้าท่าในส่วนนี้เป็นการรวมทุกอย่างมาไว้ในการซ้อมเพื่อสร้างสเตมิน่าและความเร็วตัวอย่างของรูปแบบในการซ้อมของโทไกคือ
-20
วิในการรันโดรื
-15
วิเรื่องชิงจังหวะจับ
-20
วิในการอุจิโกมิ
-20
วิซ้อมนาเกะโกมิ
-15
วิอุจิโกมิ(แบบคนเดียวหรือเป็นคู่แบบ2คนก็ได้)
รวมแล้วคือ1คนใช้นาทีครึ่งไม่มีพักซ้อมติดต่อกันคนครบ90วิตามจำนวนเซ็ทจากนั้นก็สลับคนซ้อม อาจจะแบ่งเป็นกลุ่ม4คนซ้อม คนที่ซ้อมเป็นโทริก็จะซ้อม3รอบติด ให้อีก3คนที่เหลือเป็นอุเกจากนั้นก็สลับเปลี่ยนคนเป็นโทริแทน
-
จุดประสงค์หลักคือสเตมิน่ากับความเร็ว
-
อย่าลืมท่าที่ใช้ฝึกซ้อมต้องให้ถูกตามหลักของยูโดคือคุสุชิ สกุริ คาเคะ
-
การซ้อมตัวนี้โทไกจะนำมาใช้เน้นซ้อม3วันก่อนจะมีการแข่งขันเพื่อเป็นการทบทวนท่าต่างๆแต่สร้างความอึดให้กับร่างกาย




Create Date : 27 มีนาคม 2556
Last Update : 27 มีนาคม 2556 11:22:32 น.
Counter : 3741 Pageviews.

0 comments
สาวไทย พ่าย สาวเช็กเกีย 0-3 สัปดาห์ที่ 2 วอลเลย์บอลหญิง VNL 2025 VBTV Volleyball World 21 มิ.ย. 2025 sunmachon
(22 มิ.ย. 2568 15:59:20 น.)
วิ่งข้างบ้าน 8,9,10,11,12,14 มิ.ย.2568 สองแผ่นดิน
(18 มิ.ย. 2568 22:42:00 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(16 มิ.ย. 2568 12:13:29 น.)
ถนนสายนี้มีตะพาบ ประจำหลักกิโลเมตรที่ 378 : ฝันที่ไม่เคยเป็นจริง The Kop Civil
(10 มิ.ย. 2568 11:07:24 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ablaze357.BlogGang.com

ablaze357
Location :
Chiba  Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]

บทความทั้งหมด