kodokan judo concept แนวคิดโคโดกังยูโด
วันนี้มาแนวปรัชญาอาจจะน่าเบื่อ ง่วงนอน นั้นคือสิ่งที่ได้เรียนรู้มาในซัมเมอร์คอร์สที่โคโดกังวันแรกสุด (25 กรกฎาคม 2014) เป็นเรื่องของปรัญชาแนวคิดของยูโด ที่แต่ก่อนตอนผมเริ่มต้นเล่นยูโดก็ไม่ได้สนใจและให้ความหมายกับมันซักเท่าไหร่ แต่การเรียนรู้ฝึกซ้อมที่โคโดกัง สิ่งเหล่านี้มันได้ซึมซับและมันมีค่าที่จะศึกษา สนใจในแนวคิดตรงนี้ไม่น้อยไปกว่าการฝึกฝนทางด้านต่างๆของยูโดเช่นกัน

เนื่องจากภาษาญี่ปุ่นไม่แข็งแรง ภาษาไทยก็เรียบเรียงได้ไม่สละสลวย ชั่วโมงบินในการฝึกซ้อมยูโดก็ไม่ได้มากนัก รวมถึงการย้อนระลึกกลับไปถึงตอนที่อาจารย์สอนนั้นมันก็ผ่านมาหลายอาทิตย์แล้ว ทำให้การแปลอาจจะออกมาเข้าใจยากและไม่ไหลลื่น ต้องขออภัยครับ

เนื้อหาตรงนี้เป็นเพียงส่วนนึง อีกส่วนนึงคือ เซเรียวกุเซนโย จิตะเกียวเอ น่าจะเคยเรียบเรียงส่วนนี้ไปแล้ว (สนใจกลับไปหาอ่านกันเอาเองครับ)

1.เป้าหมายของยูโด
แต่เริ่มเดิมที 柔術 ยูยิตสู ไม่ได้เป็นกีฬา เป้าหมายในเรื่องคติธรรมคำสอนก็ไม่ได้ใส่เข้าไปอยู่ในนั้น เพื่อเป้าหมายมากกว่าผลแพ้ชนะแล้วจึงมีการวางระเบียบและระบบการสอนให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นจนกลายสภาพมาเป็นกีฬาและแพร่กระจายมาจนถึงดั่งทุกวันนี้ โดยส่วนของขอบเขต กฏ กติกา แบบแผนต่างๆมีความสำคัญมาก เรื่องแพ้ชนะมีรายละเอียดเล็กใหญ่มากมาย วิวัฒนการเดินมาเรื่อยๆโดยเน้นจุดแข็งของตนเอง ความคิดเรื่องหลักการใหม่ๆเพื่อสร้างจุดแข็งเกิดขึ้นเยอะแยะ โดยเป้าหมายนั้นไม่ได้บรรลุและจบเพียงแค่แพ้ชนะเท่านั้น จุดเด่นในเรื่องของการฝึกฝนร่างกายและจิตใจ กับ การฝึกฝนเรียนรู้ยอมรับในเรื่องของกฏกติกาการแพ้ชนะ ได้ผสมผสานกันเป็นเป้าหมาย หลากหลายระเบียบขั้นตอนในการฝึกฝนและถูกก่อตั้งคิดค้นขึ้นเป็นขั้นเป็นตอน จนกลายมาเป็นโคโดกังยูโด
柔道ยูโดได้กลายเป็นชื่อเรียกแทนคำว่า柔術ยูยิตสู เพราะว่าตามตัวความหมายของยูโดไม่ใช่เป็นเพียงแค่ศิลปะหรือเทคนิค แต่มันต้องมีหลักการ ขั้นตอน มาตรฐาน รวมอยู่ใน道เส้นทางนั้นด้วย 講道館柔道講義 "โคโดกังยูโดโคกิ"หลักการเรียนรู้ฝึกฝนต้องบรรลุเป้าหมายได้มาตรฐานเป็นขั้นเป็นตอนซึ่งประกอบไปด้วยสี่ส่วนคือ รันโดริ กาตะ การเรียนรู้ และการถามตอบ

2.講道館โคโดกัง
ไม่เป็นเพียงสถานที่ในการฝึกซ้อมยูโด แต่เป็น "สถานที่สำหรับการเรียนรู้ในเส้นทาง"

3.道 เส้นทาง
โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์เราตั้งแต่แรกเกิด ไขว่คว้าหาความสุขในการอาศัยอยู่ เริ่มจากตัวตนของตนเองไข้วคว้าหาความสุข จากนั้นก็ให้ครอบครัวมีความสุข จากครอบครัวไปสู่สังคม จากสังคมไปสู่ประเทศ จากประเทศไปสู่ประเทศรอบข้าง ถ้าระดับประเทศมีความสุขสมบูรณ์ดีแล้ว คนในประเทศก็จะมีความสุขไปด้วย จากแนวความคิดนี้ ได้ถูกนำมาใส่ในปรัญชาของยูโด ยูโดคือเส้นทางของการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของยูโด

4.柔道 ยูโด
ไม่ว่าจะมองเช่นยูโดเป็นเรื่องของการปฏิบัติ เป็นการรวมกันของจิตวิญญาณและร่างกายที่แยกออกจากกันมิได้ เปรียบได้กับหนังสือที่จะต้องดึงดูดน่าอ่านทั้งตัวหน้าปกและเนื้อหา ภายนอกและภายในต้องไปด้วยกันทั้งความแข็งแรงและอ่อนโยน สิ่งนี้ถึงจะเป็นเส้นทางของ道ในคำว่า 柔道

5.คาโน่จิโกโร่
ผู้คิดค้นศาสตร์แห่งยูโด ชื่ออย่างเป็นทางการของยูโดแท้จริงแล้วชื่อ 日本伝講道館柔道 (นิโฮงเด็นโคโดกังยูโด) แต่องค์กรไอเจเอฟที่เน้นความเป็นสากลก็ได้ปรับเปลี่ยนชื่อมาเป็นคำว่า ยูโด

6.โคโดกัง กับ สมาคมยูโดญี่ปุ่น
โคโดกัง เป็นองค์กรที่เน้นเรื่องการสอนยูโดและกระจายปรัญชาของโคโดกังยูโด ส่วนนึงก็เน้นไปที่เด็กเล็กในการขัดเกลาฝึกจิตวิญญาณเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงคำว่าโคโดกังยูโด โคโดกังเน้นเรื่องการสอนในหลักการที่ตัวบุคคล
สมาคมยูโดญี่ปุ่น เป็นองค์กรระดับประเทศที่ใช้ในการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับยูโด จุดมุ่งหมายเพื่อให้ยูโดแพร่หลายไปในระดับสากล สมาคมยูโดเน้นเรื่องความร่วมมือเพื่อให้แพร่กระจายเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
แนวคิดของคาโน่จิโกโร่ได้วางเป้าหมายสูงสุดของสององค์กรนี้คือ เรื่องของการสอนคน 人間教育

7.บูโดได้บรรจุเป็นวิชาบังคับในระดับประถมศึกษา
ปี2012 รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดให้บูโด (ศิลปะการต่อสู้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะยูโด) เป็นวิชาบังคับในระดับประถมศึกษา เหตุผลคือเนื้อหาในการเรียนรู้ของบูโดมีส่วนในการสอนเรื่องการใช้ชีวิตร่วมกันที่ทำให้สังคมญี่ปุ่นโดยรวมดีขึ้น ทั้งในเรื่องของแนวคิด รวมถึงเรื่องของระเบียบวินัย

8.กฏการแข่งขันของโคโดกัง 教育的指導 เคียวอิกุเทกิชิโด "การเตือนเพื่อการเรียนรู้"
กฏในการแข่งขันที่โดดเด่นและแตกต่างจากกฏของไอเจเอฟคือ การให้ชิโด กฏไอเจเอฟจะให้ชิโดเมื่อทำผิดกติกาครั้งแรก แต่ถ้าใช้กฏโคโดกังในการแข่งขัน ผิดครั้งแรกจะโดนเตือนแบบไม่มีผลเกี่ยวข้องกับแต้มคะแนน แต่ผิดครั้งที่สองถึงเป็นการได้ชิโด แนวคิดนี้ใช้เพื่อเปิดกว้างและเปิดโอกาสให้ผู้ที่แข่งขันปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นในช่วงแข่งขัน ถือเป็นการเรียนรู้ในข้อผิดพลาดแบบให้โอกาส

9.เทพเจ้า3องค์ในการฝึกซ้อม
การรันโดริมีความหมายเกี่ยวกับเทพเจ้า3องค์ การซ้อมกับคู่ซ้อมที่เก่งกว่า คู่ซ้อมที่เท่าๆกัน และคู่ซ้อมที่อ่อนกว่า ทั้งสามแบบล้วนแล้วแต่สามารถสร้างประโยชน์ให้ในการซ้อมได้ทั้งนั้น คนที่เก่งกว่าใช้หลักการสุภาพในการซ้อม ส่วนคนที่อ่อนกว่าก็ไม่ใช่ผู้แพ้ เพราะเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ซึ่งกันและกันมิใช่ผลแพ้ชนะ

10.ด้านความปลอดภัยของการซ้อม
การซ้อมให้ระลึกถึงคำศัพท์3ตัว ทั้งตนเองและคู่ซ้อม ความกล้าที่จะเข้าทำแต่มิใช่บ้าบิ่น ความภูมิใจที่สามารถเล่นได้ตรงกับปรัญชายูโด ความปลอดภัยของตนเองและคู่ซ้อม

11.กีฬาเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อสังคมและส่วนรวม

12.ความขาวสะอาดในการซ้อมและการแข่งขัน
จุดนี้สะท้อนถึงแนวคิดที่โคโดกังใช้ชุดยูโดสีขาวอย่างเดียว (ไม่ใช้ชุดสีน้ำเงิน) โดยถือว่าสีขาวเป็นสีที่บริสุทธิ์ เสื้อผ้าที่สกปรกแล้วยังซักให้สะอาดได้ หากใจที่สกปรกคดโกงแล้วแค่ครั้งเดียวซักยังไงก็ไม่ออก

13.ความหมายของการทำความเคารพ
เคารพตนเอง เคารพคู่ซ้อม เคารพสถานที่ฝึกซ้อม

14.เรื่องของแรง
การซ้อมทุกครั้ง เต็มที่ยังไงก็ตามให้พยายามใช้แรงเพียงแค่7ส่วนอีก3ส่วนใช้สมองและหลักของยูโดเข้ามาเติมเต็ม

15.ใส่ชุดยูโดแล้วอย่าเป็นกอริล่า
กอริล่าในความหมายคือ การใส่ชุดไม่เรียบร้อย สายคาดเอวไม่เรียบร้อย ถอดเสื้อหรือทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในชุดยูโดในเบาะยูโดแล้วต้องเรียบร้อยตลอดเวลาทั้งชุดและการกระทำบนเบาะยูโด เหมือนสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ

16.จุดเน้นย้ำ
มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเราในเรื่องของความเจ็บปวด การวางตัวในการแข่งขัน การซ้อม การทุ่ม ต้องร่วมมือและก้าวเดินไปด้วยกัน ไม่ใช่คิดแต่ผลของการแข่งขัน โคโดกังยูโดนั้นเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน มิใช่เรื่องของผลแพ้ชนะ

หากมีเวลาจะแปลอีกชิ้นนึง นั้นคือเรื่องกฏกติกาและเป้าหมายในการแข่งขันยูโดในแบบฉบับโคโดกังและการใช้กติกาโคโดกังในการแข่งขัน (รอไปก่อนนะครับ)



Create Date : 15 สิงหาคม 2557
Last Update : 15 สิงหาคม 2557 0:05:32 น.
Counter : 1904 Pageviews.

1 comments
  
เป็นนักกีฬายูโดด้วยหรือเปล่าครับ
ปล พอดีแวะผ่านมาชม
โดย: จิ้งจอกฟ้า วันที่: 28 พฤศจิกายน 2557 เวลา:14:39:21 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ablaze357.BlogGang.com

ablaze357
Location :
Chiba  Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]

บทความทั้งหมด