การซ้อมยูโดภาคฤดูหนาว KANGEIKO judo winter training at japan 2013 คำเตือน --- ยาวมากสำหรับเนื้อหา ไม่สนใจปล่อยผ่านไปเลยครับ แต่ถ้าคิดจะอ่านแล้วก็อ่านให้จบนะครับ การซ้อมยูโดภาคฤดูหนาว10วันที่โคโดกังญี่ปุ่น การซ้อมภาคฤดูหนาวหรือที่เรียกว่าคังเคโกะ ปีนี้ถือเป็นปีที่2สำหรับผมการซ้อมจะเริ่มต้นตอนตี5ครึ่งถึง7โมงครึ่ง เป็นเวลา10วันติดต่อกันไม่เว้นวันเสาร์อาทิตย์และในการซ้อมนี้จะมี2วันที่มีการซ้อมช่วงเย็นเวลา 17.30-19.00เรียกว่าการซ้อมช่วงเย็นแต่เนื้อหาการซ้อมจะแปลกไปกว่าการเรียนการซ้อมปกติ
วันแรกของการซ้อม จันทร์ที่7มกราคม ช่วงการซ้อมในวันแรกผมรอขึ้นเครื่องอยู่ที่เมืองไทยเพราะว่าไม่มีตั๋ววันก่อนหน้านี้แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่เหนือความคาดหมายใน10วันนี้ถ้าไป9วันก็ไม่มีปัญหาอะไรได้ใบประกาศเหมือนกันแต่ยังไงผมคงต้องไปถามเอาจากคนที่มาซ้อมในวันแรกนี้ว่าเนื้อหามีอะไรแปลกแตกต่างกับปีที่แล้วรึเปล่า(ถามมาแล้ว ไม่ต่างอะไรกับปีที่แล้ว ช่วงแรกก่อนการเรียกรวม จะเป็นการซ้อมเนวาซะหลังจากนั้นจะเป็นการเข้าคู่เข้าท่าในรูปแบบต่างๆ)
วันที่2 อังคารที่8มกราคม เหมือนปีที่แล้วคือต่อให้ผมตื่นเช้ายังไงก็ตาม รถไฟมันก็เริ่มวิ่งเวลา4.35 แล้วจะไปถึงสนานีซุยโดบาชิเวลา 5.28 เดินอีกประมาณ8-10นาทีเปลี่ยนชุดเบ็ดเสร็จแล้วยังไงก็ไม่มีทางทัน 5.30ทำให้เวลาที่เริ่มซ้อมของผมก็ประมาณ 5.45 +-นิดหน่อย (ทำไงได้บ้านอยู่ไกล)การซ้อมเหมือนกับปีที่แล้ว คือเริ่มด้วยเนวาซะอาจารย์จะค่อยๆสอนวันละนิดวันละหน่อย ถึงการจัดการคู่ต่อสู้ในท่านอนในรูปแบบต่างๆเมื่อวานอาจารย์สอนไป4แบบ ก็ไม่ต่างอะไรกับปีที่แล้วซักเท่าไหร่ ถือเป็นการทบทวนและเป็นการวอร์มอัพสำหรับขาที่ยังไม่หายดีจากการผ่าตัดเมื่อ2อาทิตย์ก่อนวันนี้เรียนเพิ่ม2ท่า+ทบทวนของเก่า หลังจากเช็คชื่อแล้วก็เป็นการเข้าท่าในรูปแบบต่างๆวันนี้เรียนการเข้าท่า3คน คนที่เข้าท่าให้ใส่เต็มที่ในการทุ่มแต่คนที่3จะเป็นตัวกดเอาไว้ให้ทุ่มไม่ได้จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่แรงแต่เป็นการเรียนรู้คูสุชิเพราะถ้าไม่มีคูสุชิในสเต็ปแรกสุดก็จะไม่สามารถดึงทุ่มในจังหวะต่อไปได้วันนี้ผมลองใช้ฮาเนโกชิจากการเข้าท่า3คนดู ก็ไม่มีปัญหานะครับสามารถดึงและทุ่มได้ถึงแม้ว่าคนที่3ที่พยายามดึงไม่ให้ลอยจากการทุ่มจะออกแรงเต็มที่ก็ตามคงเป็นเพราะว่าท่าทุ่มนี้เป็นการใช้สะโพกทุ่มแล้วผมก็เอาสะโพกเข้าไปในจังหวะที่ถูกต้องทั้ง2อย่าง(1.สะโพกผมจะเข้าไปในจุดที่เป็นกึ่งกลางพอดีของคู่ต่อสู้2.สะโพกเข้าจากด้านข้างแล้วค่อยพลิกตัวนิดหน่อยส่วนขาอีกข้างยกลงเล็กน้อยหลังจาะสะโพกพอดีกับจุดที่ต้องการแล้วขารูปเครื่องหมายน้อยกว่าแค่ปัดเบาๆก็ลอยแล้ว)จากนั้นก็เป็นการเข้าท่าแบบเคลื่อนที่ วันนี้ผมเลือกท่าถนัดมาลองใช้ก่อนคือโคอุจิการิ อยากรู้ว่าขาที่ผ่าตัดเอาเหล็กออกแล้วมันจะเคลื่อนไหวตามที่สั่งรึเปล่าก็ได้ผลที่น่าพอใจ คือมันเร็วขึ้นมาหน่อยนึงจากตอนที่มีเหล็กอยู่และไม่พลาดในจังหวะหรือที่เรียกว่าไทม์มิ่งของการเคลื่อนไหวพรุ่งนี้จะลองแบบท่าต่อเนื่องที่ใช้ต่อจากโคอุจิการิดูว่าจะไปได้ซักแค่ไหน ช่วงเช้าจบลงก็ไปกินข้าวต้มฟรีที่โรงอาหารด้านล่าง แล้วก็กลับบ้านวันนี้มีซ้อมเย็นด้วย ถ้าตื่นไหวจะมาอีกรอบครับ ช่วงเย็น ต้องจำใส่ใจไว้เลยครับสำหรับการซ้อมภาคฤดูหนาวทีเด็ด(มากๆ)จะอยู่ที่การซ้อม2ครั้งช่วงเย็นนี้แหละครับปีที่แล้วได้เรียนเซไกอิดชู(เนวาซะต่อเนื่องของโคโดกัง) ส่วนปีนี้อาจารย์เอาสิ่งที่น้อยคนนักจะเอามาสอนนั้นคือ อาเตมิวาซะ (ยูโดแบ่งออกเป็น3ส่วนคือนาเกะวาซะหรือท่ายืน คาตาเมะวาซะหรือท่านอนรวมทั้งท่าล็อคคอหักแขนและส่วนสุดท้ายคือ อาเตมิวาซะ การเตะการต่อยของยูโด)ที่ว่าไม่ค่อยจะเอามาสอนกันก็เพราะว่ายูโดทั่วไปแล้ว อาเตมิวาซะใช้แล้วผิดกติกาแล้วมันต้องดั้งสูงถึงจะเรียนกันรู้เรื่อง (ตอนแรกเฉยๆแต่พออาจารย์เริ่มสอนก็รู้ว่าทุกอย่างมันต้องออกมาเป็นธรรมชาติมีเหตุมีผลในตัวของมันเองถ้าเพิ่งเริ่มเรียนรู้มาเรียนกันแล้วยังไงก็เข้าไม่ถึงอยู่ดี) สรุปแล้ววันนี้เรียนมา2ท่าเป็นท่าที่เอามาจาก โกชินจูสึ (คิดค้นกันในปี1956 ของโบราณจริงๆ)ถือว่าเรียนรู้ไว้เล็กน้อยเพื่อให้เข้าถึงเหตุและผลและปรัญญาของยูโดให้มากขึ้นอีกหน่อยนึงท่าที่เรียนวันนี้คือ เรียวเทโดริคือตอนที่คู่ต่อสู้เข้ามาจับมือทั้ง2ข้างและเข่าเข้ามาให้เราเบี่ยงตัวหลบ(ไทซาบากิ)พร้อมกับสะบัดมือ(เน้นที่จุดที่อ่อนที่สุดในการปัดหลุดจากมือคู่ต่อสู้)แล้วสับกลับไปที่หน้าของคู่ต่อสู้(เป็นการลื่นไหลเพื่อที่จะทำสิ่งต่อไป)จากนั้นเอามือที่สับไปนั้นมาแกะมืออีกข้างที่ถูกจับไว้จุดที่แกะคือบริเวณสันมือของคู่ต่อสู้(เป็นการล็อคข้อมือของคู่ต่อสู้)เพื่อจะทำใช้อุเดกาตาเมะ จากนั้นก็เป็นการล๊อคข้อศอกของคู่ต่อสู้อีกทีอีกท่าที่เรียนวันนี้คือ โชคุสูคิฟังแล้วงงๆแล้วโดยรวมแล้วคือคู่ต่อสู้เอามีดเสียบเข้ามาบริเวณท้องให้เบี่ยงตัวหลบข้าง(ต้องใช้ไทซาบากิอีกแล้ว) เอามือปัด ส่วนมืออีกข้างต่อยไปที่ใบหน้า(เป็นการใช้แรงของคู่ต่อสู้ที่พุ่งเข้ามาเจอกับหมัดจริงๆแค่ต่อยไปเบาๆก็มึนได้เหมือนกัน)จากนั้นเอามือข้างที่ต่อยอ้อมลงล่างไปบิดข้อมือเพื่อควบคุมทิศทางของมีดในมือคู่ต่อสู้จากนั้นก็ใช้อุเดกาตาเมะโดยการดึงคู่ต่อสู้ไปทางเฉียงหลัง วันนี้เรียนแค่2ท่าแต่ก็ประเทืองปัญญาขึ้นมาหน่อยนึงเข้าใจแล้วว่าทำไมถึงต้องเก็บพวกท่าพวกนี้เอาไว้สอนสำหรับดั้งสูงๆเท่านั้นก็เพราะว่าการเคลื่อนไหวการขยับตัวมันต้องฝึกฝนกันมานานแบบว่าต้องแม่นและเป๋ะในพื้นฐานของยูโดการถึงจะค่อยๆเข้าใจหลักของมันได้นั้นเองก็เรียนไปงงไป แต่ก็จะพยายามค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปเพราะว่าท่าต่างๆที่ใช้ในกาต้าชุดนี้มันก็มาจากพื้นฐานต่างๆของยูโดนั้นแหละเผื่อมันจะมาช่วยในการฝึกฝนพื้นฐานให้มันแน่นยิ่งขึ้น(อันนี้คงเป็นจุดประสงค์ของอาจารย์ที่เลือกมาสอนเพราะเพื่อให้เห็นความสำคัญของพื้นฐานยูโดที่อาจารย์คอยสอนมาตั้งแต่เริ่มต้นแต่นักเรียนชอบมองข้ามมันไป) จากนั้นเป็นการซ้อมเพิ่มความเร็วของการเข้าท่าหลังจากซ้อมเสร็จผมรู้สึกว่ามีอะไรแว็บเข้ามาในหัวสมองผมเกี่ยวกับการซ้อมเพิ่มความเร็วอันนี้ คือเริ่มจากการเข้าท่า 5ครั้งใน10วิก่อนอันนี้ไม่มีปัญหาผ่านสบายทั้งผมและคู่ของผม ต่อมาเป็น6ครั้งใน10วิก็พอดีพอดีกับเวลา ถัดมาเป็น7ครั้งใน10วิอันนี้คู่ของผมเค้าเกือบจะทำทัน(เกือบจะทันก็แปลว่าไม่ทัน) ถัดมาเป็น8ครั้งใน10วิ คู่ซ้อมผมทำไม่ทัน ถัดมาอีกเป็น9ครั้งใน10วิ คู่ซ้อมผมก็ทำไม่ทัน ถัดมาอีกเป็น10ครั้งใน10วิ อันนี้ผมทำไม่ทัน แต่สิ่งที่แว็บเข้ามาในหัวผมคือคู่ซ้อมของผมที่ตอนเข้าท่า7ครั้ง10วิเค้าทำไม่ทัน แต่พอมาเป็น10ครั้งใน10วิ เค้าสามารถเข้าท่าไปได้ถึง8ครั้งพูดง่ายๆก็คือมันเป็นวิธีการค่อยๆเพิ่มสปีดขึ้นมาแต่ยังไงก็ตามมันก็ต้องอาศัยการฝึกซ้อมที่สม่ำเสมอนั้นแหละ ซ้อมสุดท้ายก่อนเลิกคือการซ้อมเข้าท่าให้เกิน25ครั้งใน30วินาทีอันนี้อาจารย์บอกว่าตอนที่อาจารย์เริ่มเรียนยูโดตอนมัธยมอาจารย์ของอาจารย์ให้ซ้อมอันนี้ก่อนเลิกซ้อมในแต่ละวัน(ต่อไปคงต้องเอามาเพิ่มในการซ้อมที่ชมรมของมหาลัยซะแล้ว) คู่ซ้อมผมเข้าได้24ครั้งส่วนผมเข้าได้27ครั้ง รวมแล้วเฉลี่ยมันก็คือ 8ครั้งใน10วิ กับ 9ครั้งใน10วินั้นเอง ต่อไปคงต้องพยายามเพิ่มความเร็วให้มันถึง10ครั้งหรือ11ครั้งใน10วิ(ท่าจะยากแต่ไม่พยายามก็ไม่มีทางทำได้) ท่าที่ใช้ในการเข้าท่านี้อาจารย์ให้อิสระใช้ท่าอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นท่าที่หมุนตัว180องศาเท่านั้น เช่นเซโอนาเกะอิปปงเซโอ ฮาไรโกชิ ฮาเนโกชิ อุจิมาตะ ไทโอโตชิ โอโกชิ และอื่นๆ(คำถามคือผมเลือกท่าไหนมาซ้อม ถ้าเป็นคนที่ติดตามผมมาโดยตลอด :D จะต้องรู้แน่ๆว่าผมเลือกท่าไหนมาใช้)
วันที่3 พุธที่9มกราคม วันนี้นาฬิกาปลุกแล้วแต่ขอนอนอีกหน่อยนึงเกือบไปแล้ว ตื่นมาตี4 รถไฟออกเวลา4.35แต่ต้องเตรียมตัวและปั่นจักรยานไปสถานนี เกือบจะถอดใจไม่ไปแล้วแต่คิดขึ้นมาได้ว่าถ้าไม่ไปจะเสียเงินจองตั๋วแพงมาญี่ปุ่นทำไมเมื่อ2-3วันก่อนเลยต้องลุกและทำตัวให้เร็วที่สุดในการออกจากบ้านคิดอยู่ว่าจะเอารถไปจอดแถวสถานนีดีมั้ยยังไงก็เร็วกว่าจักรยาน แต่คิดอีกทีห้างแถวสถานนีมีที่จอดก็จริงแต่ตี4เค้าจะเปิดให้เข้ารึยัง อย่าเสี่ยงดีกว่าวันนี้รีบปั่นจักรยานไปแล้วก็จะไปดูด้วยว่าที่จอดรถเปิดให้เข้ารึยังดีนะที่คิดขึ้นมาก่อนเกี่ยวกับเรื่องห้างเปิด สรุปยังไม่เปิดจริงๆด้วย เปิด6.00ถึงสถานนีพอดีกับเวลารถไฟเลย ขึ้นรถไฟได้ก็นอนต่อจนถึงสุดสายก่อนจะเปลี่ยนรถไฟอีกต่อนึงก็ไปถึงโคโดกังเหมือนๆกับทุกๆครั้งที่ผ่านมา แต่ออกจะง่วงๆนิดหน่อยเปลี่ยนชุดเตรียมซ้อม วันนี้เริ่มด้วยเนวาซะเหมือนเคยหลังจากเช็คชื่อก็เป็นการเข้าท่าในแบบต่างๆ วันนี้คู่ซ้อมเป็นลุงแก่ๆคนนึงไม่รู้กี่ดั้ง แต่ก็ได้เรียนรู้อะไรเยอะจากการซ้อมในวันนี้รวมทั้งทบทวนท่าเก่าๆที่นานๆจะเอามาซ้อมซักที ลุงคนนี้ดีนะจุดไหนที่ผิดไปก็ช่วยบอกช่วยแก้ให้ เช่น ไทโอโตชิขาขวาผมมีปัญหาทำให้น้ำหนักมันเทมาทางซ้ายลุงก็ช่วยบอกและทำให้ท่ากลับไปถูกต้องเหมือนเก่าคือเทน้ำหนักไปทางด้านขวาที่โคอุจิการิตอนใช้บางครั้งลืมเรื่องการใช้มือไปบ้างลุงก็ช่วยบอกให้กลับมาเป็นท่าที่ถูกต้องได้วันนี้ช่วงท้ายๆลองเนวาซะรันโดริดูรู้สึกว่าช่วงที่ผมพักไปนานเพื่อนๆหลายคนเทคนิคเนวาซะหลากหลายขึ้นคงต้องหาเวลาพัฒนาตรงนี้แล้วไม่งั้นถ้าปล่อยไปแบบนี้ อาจจะแพ้เพื่อนๆได้ซ้อมเสร็จวันนี้กินข้าวเหมือนเคยแต่ขอ2ชามดีกว่า กลับบ้านจะได้นอนบอกตัวเองเอาไว้ว่าจะไม่นอนดึกแล้วเพราะเดี๋ยวตื่นไม่ขึ้นมาซักวันจะเกิดอาการขี้เกียจไม่ไปซ้อมซะงั้น
วันที่4 พฤหัสที่10มกราคม เมื่อวานเกือบพลาดตอนตื่นวันนี้ไม่พลาดแล้ว นอนตุนเอาไว้เยอะๆและก็คิดถึงวิธีแก้ไขเรื่องตื่นเช้าได้ซะที คือว่าอาทิตย์หน้าวันอังคารกับวันพุธ2วันสุดท้ายของการซ้อมภาคฤดูหนาวมีเรียนด้วย แถมเรียนเช้าไปจนถึงเย็นด้วยจะไม่มีเวลากลับบ้านมานอนเหมือนวันอื่นๆ ดังนั้นก็คิดได้ว่าต้องเลื่อนเวลานอนให้เร็วขึ้นมา จากปกตินอนเที่ยงคืนตื่น8โมงไปโรงเรียนก็เท่ากับนอน8ชั่วโมง ก็ต้องปรับเปลี่ยนเป็นนอน1ทุ่มตื่นตี3กว่าๆมันก็จะเท่ากับนอน8ชั่วโมงเหมือนกันยังมีเวลาปรับตัวอีกหลายวันกว่าจะถึงอาทิตย์หน้าตื่นมาวันนี้มีเพื่อนเมล์มาชวนไปกินข้าววันพรุ่งนี้ ส่วนอีกคนชวนไปกินข้าววันเสาร์ก็เลื่อนนัดไปทั้ง2คนเพราะว่าไม่อยากไปกินแบบง่วงๆไว้รอให้จบซ้อมอันนี้ก่อนค่อยว่ากัน ซ้อมวันนี้เหมือนเคยเริ่มที่เนวาซะ วันนี้เรียน2ท่า(เป็นท่าที่9กับท่าที่10) ไม่ยากเท่าไหร่แต่ถ้าจะใช้จริงมันคงต้องฝึกกันอีกไกลหลังจากซ้อม2ท่านี้แล้วก็ไม่ลืมที่จะทบทวนของเก่าทั้งหมดที่เรียนมาโดยเฉพาะท่าซังกากุจิเมะ อันนี้แปรเปลี่ยนได้หลากหลายแต่ตอนซ้อมตรงนี้ต้องซ้อมให้ครบทุกแบบที่มันเปลี่ยนได้โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นท่าคามิชิโฮ ตอนซ้อมอยู่โชคดีที่อาจารย์มองอยู่ทำให้อาจารย์ช่วยแก้ไขจุดที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนเป็นท่าคามิชิโฮถ้าพลาดจุดนี้ไปอีกฝั่งจะดิ้นหลุดได้ง่าย(โชคดีจริงๆ)จากนั้นเช็คชื่อหลังจากเช็คชื่อแล้วก็เป็นการเข้าท่าเหมือนปกติ วันนี้เรียนรู้อีกหนึ่งอย่างจากคู่ซ้อมคือการเข้ามาในท่าอุจิมาตะถ้าน้ำหนักของคู่ต่อสู้ถ่วงไปทางด้านหน้าก็ใช้อุจิมาตะไปเลยแต่ถ้าคู่ต่อสู้ถ่วงน้ำหนักไปทางด้านหลังก็พลิกเปลี่ยนมาเป็นโออุจิการิน่าจะใช้ได้(ต้องฝึกอีกแล้วเพราะเวลาจังหวะมันโผล่มันโผล่มาแค่นิดเดียวถ้าไม่ชำนาญไม่ทันใช้แน่ๆ) เข้าท่าวันนี้จริงๆยังไม่อยากซ้อมเซโอนาเกะแต่ว่าไม่ซ้อมเดี๋ยวจะไม่ทันใช้แข่ง ตอนเข้าจังหวะยังคุมไม่อยู่ ทุ่มออกไปครึ่งนึงแล้วจะหยุดก็ไม่ได้ก็เลยต้องทุ่มตามน้ำไป(ต้องขอโทษเพื่อนที่เป็นหุ่นด้วยจริงๆครับแต่ถ้าไม่ทุ่มหยุดในจังหวะนั้นคงต้องมีซักคนเจ็บแน่ๆ) วันนี้อาจารย์ไม่มีอะไรสอนใหม่ในเรื่องการเข้าท่าแบบต่างๆก็เข้าท่ากันไปซักพักแล้วก็ลองไปรันโดริดูดีกว่า ขอเบาๆก่อนสงสารเอ็นเข่าขวา(ตอนผ่าตัดเอาเหล็กออกถูกหมอขุดเจาะและตัดมันทิ้งไปประมาณสองส่วนสาม)มันยังไม่พร้อมซะทีเดียว คู่ซ้อมวันนี้ก็เป็นเพื่อนสนิทอีกคนที่ซ้อมกันมาบ่อยๆท่าที่คู่ซ้อมถนัดคือไทโอโตชิแบบหลายๆครั้งต้องระวังให้ดี เพราะเร็วใช้ได้ถ้าหลบแล้วต้องหลบตามอีก2-3ครั้งจะไม่ทันหาจังหวะสวน เริ่มต้นปุ๊บทุ่มได้เลยทันทีไม่รู้ว่าคู่ซ้อมยังไม่พร้อมหรือว่าเร็วเกินไปใช้เดอาชิบารัยเขี่ยล้มตั้งแต่ตอนเริ่มเลยนับวันผมเริ่มมีความมั่นใจในเดอาชิบารัยมากขึ้นเพราะว่ามันต้องสอดประสานกันครบระหว่างมือกับขาและน้ำหนักที่เทลงไปที่ขาพอจับจังหวะได้ก็สนุกดีกับท่านี้ วันนี้ใช้ฮาไรโกชิออกไปได้ด้วยเหมือนจะมีอะไรแว็บเข้ามาในหัวอีกแล้วในจังหวะที่คู่ซ้อมเข้ามาเกือบติดตัวเพื่อจะใส่ท่าจังหวะนั้นตัวของคู่ซ้อมด้านบนมันติดกับตัวผมพอดีจะใส่อุจิมาตะแต่ว่าจังหวะมันเบี่ยงไปหน่อยนึงกลายเป็นฮาไรโกชิแบบลอยทั้งตัวเลย(ไม่เคยซ้อมเลยกับฮาไรโกชิ)เวลาเร่งรีบจะใช้ฮาเนโกชิหรือว่าพลาดจากอุจิมาตะมันมักจะออกมาแสดงว่ายังคุมจังหวะและสติไม่ดีพอในท่าฮาเนโกชิ มันถึงเปลี่ยนไปเป็นท่าอื่นซะได้ต้องซ้อมให้มากกว่านี้ให้ท่ามันคงที่ไม่มั่วออกมาเป็นท่าอื่นที่ไม่ได้ตั้งใจใช้ถึงแม้ว่าจะทุ่มได้สมบูรณ์ก็ตาม(แต่มันไม่ใช่ท่าที่ผมตั้งใจจะใช้) เลิกซ้อมอาบน้ำแช่น้ำด้วยวันนี้ น้ำร้อนมาก(หรือว่าร่างกายมันเย็นก็ไม่รู้พอโดนน้ำร้อนมันเลยร้อนกว่าปกติ) กินข้าวต้มวันนี้ก็ขอ2เหมือนเดิมตอนกลับบ้านไม่ลืมที่จะเช็คเวลาว่าจะกลับถึงบ้านกี่โมงเพราะว่าบ้านกับโรงเรียนลงสถานนีเดียวกันจะได้ปรับเวลาถูกสำหรับอาทิตย์หน้าวันที่มีเรียนเช้าจะได้รู้ว่าต้องออกจากโคโดกังเวลาไหนนั่งรถไฟเวลาไหน ถึงโรงเรียนเวลาไหน (ยุ่งจริงๆเลย)ตอนกลับมีเพื่อนอีกคนนึงน่าจะจบเดือนนี้เตรียมสอบสายดำกับนาเกโนะกาตะ ไม่ต้องคิดเลยผมรีบขอเป็นคู่ซ้อมด้วยยังไงก็ต้องพยายามซ้อมท่าทุ่มมาตรฐานนาเกโนะกาตะให้มันสมบูรณ์แบบที่สุดอย่างน้อยก็เป็นการวางพื้นฐานเอาไว้สำหรับตอนสอบ2ดั้งถึงเวลาสอบจะได้ไม่ต้องมาซ้อมกันให้เหนื่อยและวุ่นวายกันอีก
วันที่5 ศุกร์ที่11มกราคม วันนี้ตื่นได้แบบไม่มีปัญหาออกจากบ้านนั่งรถไฟทุกอย่างอยู่ในเวลาที่วางไว้หมด ไปถึงก็ตรงเวลาที่วางไว้วันนี้ก็ครึ่งทางแล้ว พยายามอีก5ที่เหลือก็ครบ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรซ้อมวันนี้ก็เริ่มจากเนวาซะตามด้วยเช็คชื่อแล้วก็อิสระเนวาซะวันนี้เรียนท่าที่11กับ12เพิ่มมาใหม่ แล้วก็ทบทวนของเก่ากับเพื่อนรู้สึกว่ามันเริ่มคล่องขึ้นแล้วสำหรับท่าซังกะกุจิเมะตอนนี้พลิกแล้วใส่ล๊อคมือเปลี่ยนเป็นท่ากดได้เร็วขึ้นแต่จะเอาไปใช้จริงมันต้องอยู่กันที่จังหวะแรกสุดนั้นแหละว่าจะสามารถใส่เข้าไปได้มั้ยถ้าเข้าแล้วคงไม่มีปัญหา ช่วงอิสระเริ่มด้วยอุจิโกมิหรือการเข้าท่าในวันนี้ได้คู่ซ้อมเป็นอาจารย์ก็สลับกันคนละ10ครั้ง ตอนที่อาจารย์เข้าท่ามาก็มีอะไรแว็บเข้ามาในหัวอีกครั้ง ท่าโอโซโตการิของอาจารย์สามารถใช้ได้ทั้งซ้ายและขวารู้สึกว่ามีอะไรที่แตกต่างออกไปจากโอโซโตการิของคนอื่นที่เจอมา เทคนิคมันเยี่ยมมากๆน่าจะลองเอามาใช้ดูตรงกับทฤษฏีถ้าจะดันให้ดึงถ้าจะดึงให้ดัน คือโอโซโตการิมันเป็นการดันไปเฉียงหลังดังนั้นตอนอาจารย์เข้าท่ามาจะรู้สึกได้ถึงการดึงไปด้านหน้าเล็กน้อย(ท่าที่มันคู่ขนานกับระหว่างโอโซโตการิคือซาซาเอะทรึรึโกมิอาชิ จังหวะเข้าของอาจารย์ในจังหวะแรกจะเป็นซาซาเอะแล้วค่อยเปลี่ยนมาเป็นโอโซโตการิ)เพื่อที่จะได้อาศัยแรงของคู่ต่อสู้เองช่วยดันไปด้านหลังก่อนที่จะใส่เข้ามาครบทั้งมือและขาวันนี้เริ่มซ้อมท่าเซโอนาเกะได้หน่อยนึงก็เข้าท่าเซโอนาเกะไป3เซ็ทพรุ่งนี้จะให้จำนวนมันเยอะกว่านี้ขาจะได้จำน้ำหนักได้เร็วขึ้นจะได้หายเป็นปกติซะที(ถึงแม้มันจะยังไม่ปกติ และยังต้องใช้เวลาก็ตาม)เข้าท่าแล้วก็ลองรันโดริกับเพื่อนดู สรุปใช้ได้แต่ท่าขาจริงๆคือเดอาชิบารัยกับโคอุจิการิ แต่โคอุจิการิจังหวะก็เป๋ะใช้ได้ ล้มทั้งยืนวันนี้ซ้อมไม่เยอะเท่าไหร่ยังไม่เหนื่อยเลย คงเพราะมัวแต่เลือกคู่ซ้อมมากไปหน่อยพรุ่งนี้วันเสาร์ช่วงเช้าคนน่าจะเยอะกว่าวันอื่นส่วนช่วงเย็นยังไงก็ไม่พลาดคงต้องมีเทคนิคการพัฒนาอะไรดีๆกลับมาแน่ๆ
วันที่6 เสาร์ที่12มกราคม วันนี้เป็นวันเด็กแห่งชาติที่เมืองไทยส่วนที่ญี่ปุ่นของผมนั้นเป็นวันที่6ของการซ้อมภาคฤดูหนาว วันนี้พิเศษกว่าวันอื่นเพราะว่ามีซ้อมทั้งเช้าและเย็น(เฉพาะนักเรียนของโคโดกังเท่านั้นที่เปิดซ้อมช่วงเย็น)และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือวันนี้เป็นวันเสาร์ที่ตารางรถไฟจะไม่เหมือนกับวันปกติแต่โดยรวมแล้วทุกอย่างก็ยังอยู่ในสิ่งที่ผมวางเอาไว้นั้นแหละ ตื่นตามเดิมออกจากบ้านเหมือนเดิมถึงสถานนีขึ้นรถไฟเหมือนเดิม ที่ไม่เหมือนเดิมคือ ตอนที่เปลี่ยนรถไฟไม่ต้องรอแต่จะกลายเป็นรถไฟรออยู่ก่อนหน้านั้นแหละ ผลก็คือถึงสถานนีปลายทางเร็วขึ้น3นาทีเดินไปโคโดกัง วันนี้รู้สึกหนาวกว่าวันอื่นๆไม่รู้ทำไม ถึงแล้วก็เปลี่ยนชุดไปซ้อมวันนี้ที่พิเศษอีกอย่างคือเป็นวันหยุด คนเลยมาซ้อมเยอะ เยอะมากจริงๆเริ่มต้นเรียนกันที่ท่านอน อาจารย์ที่สอนวันนี้เปลี่ยนคนมาสอนอาจารย์ท่านนี้เคยแข่งโอลิมปิคมาแล้วซะด้วยฝีมือและเทคนิคถือว่าสูงมากๆหากแต่คำพูดที่รวบรวมออกมาสอนนั้นไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่(เอาน่าฝีมือเก่งเป็นใช้ได้) วันนี้เรียนท่านอนเพิ่ม2ท่า (ท่าที่13กับท่าที่14)จากนั้นเช็คชื่อ แล้วก็เข้าท่า เข้าท่าวันนี้ไม่มีตัวเลือกก็ใครก็ได้ระหว่างเข้าท่ามันมีอะไรแว็บเข้ามาในหัวอีกแล้ว (ไม่รู้เป็นอะไรไอ้เรื่องแว็บเข้ามาในหัว มันต้องลองดูว่าจะทำได้รึเปล่า แต่แว็บมาบ่อยๆผมก็เหนื่อยเป็นเหมือนกันนะครับ)ไอ้ที่แว็บเข้ามาในหัวมันคือท่าโคอุจิการินั้นแหละคือคิดได้ระหว่างเข้าท่านั้นแหละตอนที่หุ่นเขยิบขาข้างที่ต้องถูกปัดหลบลงไปโดยบังเอิญทำให้คิดได้ว่าถ้าเบิ้ลรอบซ้อนเข้าไปเป็น ดับเบิ้ลโคอุจิการิ มันจะเป็นยังไง ก็คือตอนที่คู่ต่อสู้หลบขาลงไปให้เราฝืนต่อไปอีก2ก้าวและค่อยปัดแต่มันจะใช้จริงได้มั้ย ต้องฝึกสเต็ปการก้าวขาให้มันชำนาญก่อนเพราะมีสิทธิ์โดนสวนได้เหมือนกัน รู้สึกว่าอาจารย์2-3ท่านเห็นหน่อยๆว่าไอ้บ้านี้มันจะใช้ท่าแปลกๆอีกแล้วก็เลยยังไม่ได้ลองเยอะ ประกอบกับวันนี้มันแต่ยุ่งอยู่กับไทโอโตชิของคู่ซ้อมเลยไม่มีจังหวะไปถามอาจารย์เกี่ยวกับการเบิ้ลท่าไว้พรุ่งนี้มีโอกาสต้องสอบถามดูถึงความเป็นไปได้ว่าใช้จริงมันจะทำได้มั้ย ถ้าใช้ได้จริงคู่ต่อสู้ที่ก้าวหลบผมจังหวะแรกผมไปยังไงก็ยังเสร็จผมในก้าวที่2อยู่ดี(หุหุหุ ยูโดนี่มันสนุกจริงๆกับการใช้จินตนาการ)รันโดริวันนี้มีเวลาเล็กน้อยเท่านั้น ก็เป็นการรันโดริธรรมดาๆไม่มีอะไรพิเศษ ช่วงเย็นวันนี้ไปเร็วกว่าทุกวันหน่อยนึงเพราะว่าเพื่อนฝากให้ไปเอาสายดำก็ดูดี ตอนนั้นที่ได้สายดำน่าจะสั่งรุ่นเดียวกันที่หนา4.7เซน(ที่ใช้อยู่มัน4.5เซน) วันนี้คนมาน้อยเพราะว่าเปิดซ้อมเฉพาะนักเรียนของโคโดกังเท่านั้นพวกรันโดริทั่วไปหยุด แรกๆจะซ้อมกันที่ชั้น6แต่ว่าอาจารย์เปลี่ยนใจเปลี่ยนเป็นชั้น5 เพราะว่าชั้น6พอตกดึกหน่อยมันจะหนาวมากชั้น5มีฮิตเตอร์อยู่ตัวนึงยังดีหน่อยต่างกันชั้นเดียวอากาศต่างกันเป็นคนละเรื่องกันเลย ชั้น5วันนี้เพิ่งเคยใช้ห้องซ้อมห้องนี้เป็นครั้งแรกเป็นห้องเล็กๆ แต่กำแพงกับพื้นสวยดีสปริงไม้ที่พื้นก็ดีด้วยเหมาะกับการทุ่มกันเป็นอย่างยิ่งแต่วันนี้รู้อยู่แล้วว่าคงไม่ได้รันโดริทุ่มกันแน่ๆเพราะว่าเป็นธรรมเนียมไปซะแล้วสำหรับการซ้อม2วันช่วงเย็นในการซ้อมภาคฤดูหนาวจะเป็นการซ้อมเซไกอิดชู ท่านอนต่อเนื่องพื้นฐานของโคโดกังปีที่แล้วใช้2วันเต็มๆในการซ้อมแต่ปีนี้อาจารย์บีบให้เหลือแค่วันเดียวอะไรมันจะเร่งรัดขนาดนั้นก่อนที่จะเข้าไปเรียนในรายละเอียดของท่าเซไกอิดชูนี้จะต้องมีพื้นฐานในส่วนของโอไซโอมิซะก่อนทั้งการเข้าทำและการหลบหลีกการซ้อมแบ่งออกย่อยๆเป็น7แบบ 1.เริ่มจากแรกสุดเคซะกาตาเมะที่ให้ดิ้นออกมาโดยใช้ท่าเอบิแล้วตามด้วยบริตจ์ 2.แบบที่สองในการดิ้นให้หลุดจากเคซะกาตาเมะคือการใช้มือและหัวหมุนหลบออกมา 3.คุสุเรเคซะกาตาเมะ วิธีดิ้นให้หลุดก็คือทำเอบิพร้อมกับดึงมือข้างที่ถูกล๊อคให้หลุดออกมาก่อนที่จะม้วนตัวหลบไป 4.โยโกชิโฮวิธีดิ้นหลุดก็คือทำท่าเอบิก่อนที่จะแทรกมือออกมาแล้วหมุนตัวหลบไป 5.โยโกชิโฮ วิธีการดิ้นหลุดอีกแบบ โดยการทำท่าเอบิใส่เข่าเข้าไปใต้ท้อง พร้อมๆกับมือข้างนึง ส่วนมืออีกข้างอ้อมไปจับสายรัดคู่ต่อสู้เอาไว้จากนั้นทำท่าบริตจ์โยนคู่ต่อสู้ไปอีกฝั่ง(ท่านี้สารพัดประโยชน์ครับ ผมแก้ท่าโยโกชิโฮด้วยวิธีนี้มาหลายครั้งแล้ว) 6.ทัตเตชิโฮดิ้นโดยการเอามือไปดันขาข้างนึงของคู่ต่อสู้แล้วเอาขาของเราไปรัดขาคู่ต่อสู้ทำให้เวลาหยุดเดิน 7.คาตะกาตาเมะวิธีแก้คือการเค้าศอกค่อยๆดันไปที่บริเวณหัวของคู่ต่อสู้(ถ้าดันที่คอแรงต้านจะเยอะหลุดยาก ให้ดันที่หัวแทนแต่ต้องค่อยๆทำไม่ใช้ศอกไปจนคู่ต่อสู้สลบ)จากนั้นเอามือข้างที่ศอกนั้นออกมาก่อนที่จะม้วนตัวหลบไป พอทำพื้นฐานทั้ง7ท่าได้แล้วทั้งการใส่ท่าและการหลบหลีกจากนั้นก็เอาทั้ง7อย่างนี้มาประสานรวมกันเป็นเซไกอิดชูจะว่าไปแล้วเวลาแค่ชั่วโมงเดียวจะเรียนรู้ให้ครบสมบูรณ์ทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้(เสียดายแทนรุ่นน้องที่เพิ่งเข้ามาเรียนท่านอนชุดนี้เป็นครั้งแรก)สำหรับผมแล้วเป็นครั้งที่3แล้ว(ครั้งแรกเมื่อหน้าหนาวปีที่แล้วครั้งที่สองเพิ่งเรียนทบทวนที่อำเภอใกล้ๆบ้านไป) ไม่มีปัญหาซักเท่าไหร่ขอบอกว่าท่านอนชุดนี้ถ้ามีการฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอแล้วถึงแล้วว่าเราจะโดนกดในท่านอนก็ไม่มีหาเลยสำหรับการที่จะดิ้นให้หลุดหรือว่าตอนที่เราเข้าทำในท่านอนนั้นถ้าหากคู่ต่อสู้ของเราดิ้นจนเกือบหลุดแล้วเราสามารถที่จะแปรเปลี่ยนเป็นท่ากดท่าอื่นแทนได้เรียกได้ว่าท่านอนเซไกอิดชู ชุดนี้เป็นพื้นฐานและสำคัญมากๆ ขากลับแวะกินราเม็ง เป็นราเม็งแรกของปีนี้เลย อร่อยเวอร์ๆระหว่างปั่นจักรยานกลับบ้าน สายโซ่จักรยานดันขาด (อะไรวะ เพิ่งเปลี่ยนไปไม่นานเองขาดซะแล้ว) ต้องเดินกลับบ้านพร้อมๆกับลากจักรยานเจ้าปัญหากลับมาด้วยเดินอยู่เกือบชั่วโมงแนะ แล้วพรุ่งนี้จะไปซ้อมมันยังไงดีละกลับถึงบ้านหาทางซ้อมสายโซ่อยู่ชั่วโมงกว่า กว่าจะต่อมันกลับเข้าไปได้ แต่ดันโง่ต่อมันได้แล้วไม่รู้จะยัดเข้าไปในจักรยานยังไง จริงๆมันต้องใส่เข้าไปก่อนแล้วค่อยต่อโซ่ช้าไปละ จะไปแกะเดียวต่อไม่ได้ก็แย่อีก ก็ปล่อยมันไว้แบบนี้แหละตอนนี้ในหัวแบ่งออกเป็น2แผน แผนแรกเดินไปขึ้นรถไฟ วันนี้ตอนเดินกลับจับเวลาไว้แล้วประมาณชั่วโมงนึง พรุ่งนี้ก็ตื่นเช้าหน่อยแล้วก็เดินไปขึ้นรถไฟ หรือว่าแผนสองขับรถไปจอดใกล้ๆสถานนีระหว่างเดินกลับวันนี้ลองเช็คดูแล้วประมาณ800เยนได้มั้งสำหรับค่าจอดพรุ่งนี้มีงานคากามิบิรากิซะด้วยกว่าจะกลับก็คงประมาณบ่าย2แต่เปลี่ยนใจไม่ใช้ทั้ง2แผน เอาแผนพิเศษเอาจักรยานคันเก่าที่ไม่ได้ใช้มาประมาณ6ปีแล้วออกมาใช้ดูละกันล้อมันแบนไปทั้ง2ข้างสนิมและฝุ่นจับไปทั้งคัน ก็สูบลมเช็ดๆหน่อยโชคดีที่ล้อมันแค่ไม่มีลม ไม่ได้รั่วก็ลองปัดๆดูหน่อยลองขับดูก็ยังใช้ได้พรุ่งนี้เช้าคงต้องตื่นเช้าหน่อยมาดูว่าลมในยางจะรั่วรึเปล่าถ้ารั่วคงต้องเดินไปจริงๆเช้าขนาดนี้ไม่มีรถเมล์แน่ๆกว่าจะนอนก็เกือบเที่ยงคืนแล้ว
วันที่7 อาทิตย์ที่13มกราคม และแล้วการซ้อมก็เดินทางมาถึงวันที่7แต่ละวันระดับความยากก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง เรื่องอากาศเรื่องการพักผ่อน เรื่องจักรยาน เรื่องความขี้เกียจแต่ก็ต้องข่มใจเอาไว้เพราะบอกกับตัวเองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาเนวาซะที่นานๆจะมีทีถ้าไม่ตั้งใจแล้วจะเก่งได้ยังไง ของแบบนี้ใครดีใครได้ ยิ่งฝึกบ่อยๆก็ยิ่งดีเอง เริ่มด้วยเรื่องจักรยานถือว่าโชคดี ยางไม่รั่วลมไม่ออกก็ค่อยๆปั่นมันไปเหมือนทุกๆวันรู้สึกว่าจะทำเวลาได้ดีกว่าจักรยานคันเก่าซะอีกไม่รู้ว่าออกเร็วขึ้นหรือว่าจักรยานมันเร็วขึ้นก็ไม่รู้แต่โดยรวมวันนี้ก็ไปถึงโคโดกังตามเวลากำหนดเดิมเหมือนวันเสาร์เพราะตารางรถไฟมันกำหนดไว้แน่นอนอยู่แล้วถึงที่เปลี่ยนชุดความขี้เกียจโผล่เข้ามาว่านั่งๆนอนๆรอเฉยๆตรงห้องล๊อคเกอร์ก็ได้อีกซัก15นาทีค่อยไปซ้อม แต่โดนอีกคนนึงในใจเข็กหัวว่าอดหลับอดนอนมาเพื่อที่จะมานอน15นาทีมันจะได้อะไรขึ้นไปซ้อมซะ ก็เลยไปซ้อมดีกว่าเนวาซะวันนี้ได้มาอีก2ท่าโดยรวมๆแล้วรู้สึกว่าเนวาซะที่เรียนมานี้ถ้ามาปะติดปะต่อกันให้หมดจะสามารถใช้ได้แทบจะทั้งหมดในท่าต่างๆไม่ว่าจะนอนหงาย นอนคว่ำ อยู่บน อยู่ล่าง อยู่ในท่าเต่า อยู่ในท่านอนราบดังนั้นต้องรวบรวมให้ครบเอาไปฝึกให้ชำนาญแล้วมันจะค่อยๆดีขึ้นมาเองวันนี้อาจารย์สอน2ท่าแถมได้คู่ซ้อมที่ไปได้เร็วเข้าใจอะไรง่ายๆก็เลยซ้อมกันเร็วมีเวลาเหลือแทนที่จะรอก็ลองมากันเบาๆด้วยเนวาซะรันโดริซะเลยถึงแม้ว่าจะเป็นการเล่นซ้อมเล่นเบาๆ แบบออกแรงกันแค่ครึ่งเดียวแต่ก็ได้เหงื่อพอสมควรแถมอีกอย่างผลที่ได้รับคือเจ็บตรงช่วงระหว่างเอวกับซี่โครงทางด้านซ้ายคงเป็นเพราะว่าตอนพลิกแขนคู่ต่อสู้ติดเข้าไปแล้วกดทับมันเลยเจ็บ(หวังว่าเครื่องในคงไม่บอบช้ำนะครับ) เช็คชื่อเสร็จเข้าท่าซักพักก็ไปรันโดริดีกว่า หาคู่ทีเหมาะๆไม่เจอเลยมีแต่พวกเทพๆไม่ก็ตัวโตๆกันทั้งนั้นก็เลยรันโดริกับเพื่อนนี้แหละ วันนี้ทำได้ดีมากขึ้นกับท่าโคอุจิการิแล้วก็มีโออุจิ+ไทโอโตชิ เดอาชิบารัย อุจิมาตะ+โคอุจิทั้งหมดนี้เป็นการทุ่มโดยไม่ใช้แรงเลยเน้นแต่จังหวะกับน้ำหนักเพื่อนถามว่ารออะไรทำไมไม่เข้ามา ก็ได้แต่บอกว่ารอจังหวะพร้อมๆกับใส่โคอุจิการิที่สมบูรณ์แบบไปว่ารอไอ้นี้อยู่ยังไงละถ้าทำได้สม่ำเสมอแบบนี้ตอนแข่งคงไม่เครียดวันนี้มีโอกาสลองรันโดริกับอาจารย์ดูด้วยทำให้รู้ว่าถึงแม้ว่าโคอุจิจะใช้ได้ดีก็ตามแต่ถ้าคู่ต่อสู้ที่เหนือกว่ามากๆจะโดนสวนกลับด้วยฮิสะกุรุม่าต่อไปต้องระวังขึ้นอีกซักหน่อยแล้ว วันนี้ติดใจเพิ่มอีกท่านึงตอนที่รันโดริกับอาจารย์ (อาจารย์คนนี้เป็นคนสอนฮาเนโกชิให้กับผมละครับ)โดนอาจารย์ทุ่มโดยใช้โอคุริอาชิบารัยประทับใจเลยเพราะว่าล้มแบบลอยทั้งตัวจริงๆทั้งๆที่อาจารย์ก็แทบไม่ได้ออกแรงเลยถึงได้เข้าใจว่าอาจารย์หลายๆท่านพยายามที่จะสอนโอคุริอาชิบารัยให้เพราะว่ามันเป็นท่าที่อาศัยจังหวะล้วนๆไม่ต้องอาศัยแรงใดๆทั้งสิ้นเพียงแต่จะมีคำที่เอาไปใช้ได้ซักกี่คนกันเชียว(มีเวลาว่างจะฝึกครับแต่ว่าต้องให้ผมได้ท่าตามเป้าหมายที่จะเอาไปใช้แข่งให้ครบก่อนนะคร้าบ)ที่ติดไว้เมื่อวานเกี่ยวกับการเบิ้ลท่า เป็นดับเบิ้ลโคอุจิการิได้สอบถามอาจารย์แล้วอาจารย์บอกว่าใช้ได้ไม่มีปัญหาสำหรับเรื่องการโดนสวนปัดล้มนั้นต้องแก้ด้วยการเข้าท่าด้านตรงๆเข้าไปอย่าไปเอียงข้างถ้าเข้าไปตรงๆด้วยความเร็วขนาดของผมแล้วนั้นจังหวะสวนมันทำได้แต่ยากมากก็คงต้องไปเริ่มฝึกเข้าท่าให้เร็วในด้านตรงๆแบบเป็นจังหวะดับเบิ้ลซะแล้วถ้าทำได้จริงตอนแข่งจะเป็นการปั่นหัวคู่ต่อสู้ได้อย่างนึงแบบว่าใช้แต่โคอุจิจังหวะเดียวพอเปลี่ยนมาเป็นดับเบิ้ลเป็นใครก็ต้องงงและถ้างงแล้วก็ต้องล้มแน่ๆ จังหวะเกี่ยวขาของผมนั้นมันได้พื้นฐานที่แน่นมาจากเดอาชิบารัยอยู่แล้ว ไม่มีพลาด (ขอแนะนำเลยครับ ท่าพื้นฐานพวกโคกับโอถ้าหากหมั่นฝึกฝนในท่าเดอาชิบารัยแล้วการเกี่ยวการปัดพลังจะคูณ2จากที่มีอยู่เลยละครับ) ซ้อมเสร็จกินข้าวต้มแล้วนอนรออีกชั่วโมงนึงวันนี้มีงานคากามิบิรากิต่อ (เรื่องคากามิบิรากิไว้เขียนต่างหากในบล๊อคถัดไปครับ)
วันที่8 จันทร์ที่14มกราคม ตื่นเช้านิดนึงเพราะกลัวความไม่แน่นอนของจักรยานแล้วมันก็เป็นอย่างที่คิดจริงๆยางแบนล้อหลัง ระดับความยากมันจะยากขึ้นไปทุกทีแล้วช่างมันเติมลมแล้วปั่นไปสถานี ขอแค่ถึงสถานีหลังจากนั้นจะแบนขากลับก็ไม่เป็นไรวันนี้ไปถึงเช้าหน่อยมีเวลาไม่กินมันละไอ้ขนมปังหรือว่าข้าวปั้นกินข้าวหน้าหมูเป็นชามดีกว่าร้านมันเปิด24ชั่วโมงแต่ที่ไม่กินมันก็เพราะว่าไม่มีเวลาวันนี้คำนวณแล้วกินเสร็จยังทันรถไฟ(คงเป็นโชคชะตากำหนดเอาไว้สำหรับการกินข้าวหน้าหมูในตอนเช้าวันนี้) ขึ้นรถไฟอิ่มแบบง่วงๆก็หลับๆตื่นๆถึงสถานีที่ต้องเปลี่ยนรถไฟงงอีกครั้งว่าทำไมวันนี้รถไฟมาเร็วเหมือนกับวันเสาร์อาทิตย์มีใครคำนวณพลาดไปรึเปล่าแต่ก็รีบขึ้นไปก่อน พอขึ้นไปได้ถึงได้รู้ว่าวันนี้ญี่ปุ่นเป็นวันหยุดตารางรถไฟมันก็จะเป็นแบบเสาร์อาทิตย์ ก็ดีไปถึงเร็วกว่าเดิม10นาทีเปลี่ยนชุดเริ่มซ้อมกันด้วยเนวาซะ วันนี้เรียนเพิ่มอีก2ท่า (ท่าที่17กับท่าที่18)ท่าที่17เป็นหนึ่งในท่าที่ผมใช้บ่อยที่สุดเพราะว่ามันเป็นการรับเชิงรุกที่ง่ายมากๆสำหรับท่าที่18ก็เป็นของเด็ดในการจัดการแก้ท่าซังกะกุจิเมะอาจารย์เคยสอนเมื่อนานมาแล้ว(ลืมไปละ) วันนี้เลยถือโอกาสทบทวนกันไปซะเลยพอเช็คชื่อเสร็จก็วอร์มอัพก่อนตามปกติ แล้วก็เข้าท่านิดหน่อยคู่ซ้อมวันนี้เป็นคุณลุงรุ่นพี่สายดำคนนึงที่สนิทกันก็เพราะว่าเดินทางมาจากชิบะด้วยกันลุงบอกว่าเห็นผมตอนขึ้นรถไฟวันนี้ด้วยท่าทางง่วงๆ (555ใครจะไม่ง่วงจะครับตื่นกันเช้าแบบนี้)ผิดหวังเล็กน้อยกับลุงคนนี้ท่าทางคุณลุงคงจะไม่ค่อยมีเวลาซ้อมมันเลยขาดๆเกินๆไปหลายท่าเริ่มจาก เซโอนาเกะ ไม่มีปัญหาถือว่าใช้ได้สำหรับคุณลุงแต่พอมาเป็นอิปป้งเซโอนาเกะ ผมก็รู้แล้วว่าพื้นฐานมันผิดมันไม่ใช่(แต่ท่านี้ผมก็ไม่ได้ดีไปกว่าเค้าซักเท่าไหร่หรอกครับ) ต่อมาเป็นไทโอโตชิผมมั่นใจเลยว่าคุณลุงพื้นฐานไม่แน่นทั้งในเรื่องน้ำหนักขาตำแหน่งขาและในเรื่องสะโพก(จำได้ว่าคุณลุงถนัดไอคิโดมากกว่ายูโด) ต่อมาเป็นโคอุจิการิกับเดอาชิบารัย2ท่านี้ผมไม่พลาดแน่ๆคุณลุงไม่ได้ใช้มือในการดึงจังหวะแรกเลยถัดมาเรื่องขาการปัดไม่ได้พลิกขาขึ้นมาปัดถึงตรงนี้ต่างคนต่างเหนื่อยก็พักกันไป ส่วนผมไปรันโดริดีกว่าเริ่มรันโดริกับเพื่อนก่อนซัก10นาทีวันนี้ได้ของใหม่มาเพิ่มคือเรื่องดับเบิ้ลโคอุจิลองใช้ดูจังหวะก้าวมันติดตัวเกินไปยังต้องปรับกันอีกหน่อยแต่ว่าจังหวะก้าวขานั้นมันดันมาลงล๊อคกับตำแหน่งท่า โคโซโตการิ ถือว่าโชคดีไป เมื่อปีที่แล้วเคยเห็นอาจารย์แข่งกันกับอาจารย์ด้วยกันใช้การตวัดโคโซโต2ครั้งไม่คิดว่าในที่สุดผมก็สามารถใช้ท่านี้ตวัดออกไป2ครั้งอย่างลื่นไหลจนได้(เรียกว่าแอบก๊อปอาจารย์มาโดยบังเอิญกับท่านี้)โชคดีเพิ่มขึ้นไปอีกชั้นนึงก็คือท่าโคโซโตการินี้ผมมักใช้คู่กับไทโอโตชิสามารถนำไปตวัดหลอกได้แล้วตามด้วยไทโอโตชิ (จะเหลือเหรอครับล้มแน่นอนลองดูแล้วไม่พลาด มันจะหลอกซ้ำซ้อนเกินไปรึเปล่า)เพื่อนขอตัวกลับก่อนเพราะว่าต้องไปทำงานก็ไม่เป็นไร หาคู่รันโดริใหม่ก็ได้ ตั้งแต่เริ่มซ้อมภาคฤดูหนาวมาเรียกได้ว่าวันนี้เป็นวันที่เหนื่อยที่สุดแต่ก็สนุกที่สุด(ยังไม่นับอีก2วันที่อาจจะเหนื่อยและสนุกกว่านี้นะครับ)คือว่าผมหมายตาสายขาวคนนึงเอาไว้หลายวันละคิดไว้ว่าซักวันต้องรันโดริกับเค้าให้ได้เพราะดูเหมือนเค้าเล่นจริงจังดีในการรันโดริที่ผ่านๆมา วันนี้มีโอกาสแล้วก็ขอลองกันหน่อยก่อนจะเริ่มรันโดริโดนคุณลุงมีอายุคนนึงด่าด้วยคือว่าผมก็รู้อยู่แล้วว่าคนที่สายสูงกว่าตอนทำความเคารพจากรูปภาพจะต้องอยู่ทางด้านซ้ายมือส่วนคนที่สายต่ำกว่าจากรูปภาพจะอยู่ทางด้านขวามือแต่ผมไม่ได้คิดมากในจุดนี้คุณลุงแก่ๆ(ที่คาดว่าน่าจะเป็นอาจารย์สอนที่ไหนซักแห่ง)ก็มาบอกจุดนี้พร้อมกับตำหนิที่ว่าคนสายสูงกว่ารู้แล้วแต่ดันไม่บอกน้อมรับความผิดครับผม ไม่ผิดหวังจริงๆสนุกมาก ถ้าคู่ซ้อมคนนี้ใส่สายดำมาก็ไม่มีใครรู้แน่ๆว่าสายขาวเพราะเทคนิค พื้นฐาน ความเร็ว ความฉลาด(เล่นไปคิดไป) การจะจับให้อยู่มือทั้ง2ข้างทำได้ยากคนๆนี้อนาคตไกลแน่ๆ พื้นฐานโดยรวมแล้วดีมากท่าต่อเนื่องก็ใช้ออกมาได้ถึงแม้ว่าจะยังไม่เด็ดขาดซักเท่าไหร่ก็ตามที่ชอบสุดคงจะเป็นเรื่องความฉลาดท่าไหนที่ผมใช้ทุ่มไปแล้วครั้งนึงจะใช้ซ้ำอีกเค้าจะหลบได้เช่นใช้ท่าอุจิมาตะเป็นตัวหลอกแล้วตามด้วยเดอาชิบารัยครั้งแรกสำเร็จลอยละลิ่วเชียว แต่พอมาครั้งที่2ใช้อุจิมาตะแล้วตามด้วยโคอุจิการิ(ผมตั้งใจออกท่าให้เร็วกว่าครั้งแรกอีกนะครับ จังหวะก็พอดี)คู่ซ้อมคนนี้ดันหลบออกไปได้เรียกว่างงกันทั้งคนปัดกับคนหลบเลยละครับว่าอะไรมันจะหวุดหวิดแบบสวยงาม จากการใช้ท่านี้และมีคนหลบท่านี้ไปได้ทำให้มีอะไรแว็บเข้ามาในหัวผม(อีกแล้ว)ต้องต่อจังหวะเป็นซ้อนท่าอีก1ท่าเข้าไป พรุ่งนี้จะลองใช้ดูครับถ้าเป็นไปได้ขอใช้ตอนรันโดริกับสายขาวคนนี้ครับเพราะว่าจังหวะมันน่าจะเข้ากันและสามารถใช้ซ้อมจริงได้มากกว่าไปรันกับคนอื่นที่หลบจังหวะสองของผมไม่พ้นสิ่งที่แว็บเข้ามาในหัวผมก็คือ3สมการ อุจิมาตะ + โคอุจิ + อุจิมาตะ กับ อุจิมาตะ +โคอุจิ + ฮาเนโกชิ กับ อุจิมาตะ + โคอุจิ + โออุจิพรุ่งนี้ต้องลองดูซักหน่อยถ้าใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นสมการตัวไหนมันน่าจะออกมาสวยงามแบบลอยทั้งตัว เพราะจังหวะนั้นผมมั่นใจว่าเค้าหลบซ้ำอีกรอบไม่พ้นแน่ๆขึ้นอยู่กับว่าผมจะใช้ออกไปได้รึเปล่าเท่านั้นแหละต้องเรียบเรียงและลองซ้อมดูซักพักก่อนมั้งไม่งั้นตอนใช้ท่าที่3มันจะมั่วๆแน่ๆถึงได้บอกว่าวันนี้เป็นโชคชะตาที่ต้องทำให้กินข้าวก่อนขึ้นรถไฟไม่งั้นตอนรันโดริวันนี้คงหมดแรงแน่ๆ สนุกมากกับการรันโดริเพราะว่าทั้งคู่ไม่ได้เล่นแบบกลัวๆกันๆ(แบบพวกถอยหลังเว้นช่องว่างเกร็งมือเอาไว้)เรียกว่าใส่กันไปเรื่อยๆล่อไปตั้ง15นาทีแน่ะขากลับรู้สึกว่านิ้วจะหมดแรงคงเป็นเพราะตั้งใจจับให้อยู่มือมากไปหน่อยแล้วพอถึงสถานีที่ลงจะไปปั่นจักรยาน ฝนก็ตกหนักแถมจักรยานดันล้อแบนอีกเดินกลับตามเคยถึงบ้านลูกหมาตกน้ำโดยแท้ อาบน้ำนอนตื่นมาอีกทีกะจะไปซ่อมหรือไม่ก็ซื้อจักรยานและกินข้าว หิมะตกขาวไปทั่วๆลองขับรถออกไปดูซัก100เมตรต้องเลี้ยวรถกลับเพราะว่าหิมะมันเริ่มหนารถขับแล้วส่ายไปมา แถมพอหยุดมันจะตกหล่มเอาซะงั้น อันตรายอยู่บ้านเฉยๆดีกว่าพรุ่งนี้คงต้องเหมือนวันนี้ไปด้วยจักรยานกลับด้วยการเดินแต่หิมะมันยังไม่ละลายแน่ๆคงต้องตื่นเช้ากว่าปกติอีกละ เหลืออีก2วันปัจจัยต่างๆมันยากขึ้นมาเรื่อยๆแต่ถ้ารถไฟไม่หยุดวิ่งยังไงผมก็ไปซ้อมได้อยู่ดีละครับ
วันที่9 อังคารที่15มกราคม วันนี้ตื่นเช้าที่สุดตื่นมาตี2.50 เตรียมตัวเพื่อที่จะไปขึ้นรถไฟวันนี้มีจักรยานก็เหมือนไม่มี เพราะว่านอกบ้านทุกอย่างขาวโพลนไปด้วยหิมะไม่ได้หนามากแต่ก็เกือบ10นิ้ว สูบลมใส่จักรยานแล้วเอาติดตัวไปด้วยบางแห่งก็ปั่นจักรยานได้บางแห่งก็ต้องลงเดินโดยเฉพาะพวกฟุตบาทแคบๆหรือใกล้กับสี่แยกเพราะว่าถ้าล้มแล้วโชคดีรถผ่านมาทับหัวก็จะทำให้อดไปซ้อมสิครับ ไปอย่างระมัดระวังเปิดเต็มที่กับประสาทสัมผัสในร่างกาย แต่แล้วก็ล้มไป2ครั้งก่อนถึงสถานีนี้ขนาดไปช้าๆอย่างระวังแล้วนะครับ แต่ว่าใส่เสื้อหนา ถุงมือล้มก็ล้มสิครับไม่เจ็บหิมะมันนุ่มอยู่ มาถึงก่อนเวลาพอสมควรก็มีเวลาไปกินข้าวกินเมนูเดียวกับเมื่อวานเลยเพราะว่าเมนูหมูมีอยู่แค่อย่างเดียว กินเสร็จเดินไปขึ้นรถไฟพอดีๆเลยวันนี้อิ่มนอนสบายบนรถไฟจนถึงป้ายที่จะต้องเปลี่ยนรถไฟก็เปลี่ยนพอถึงที่ก็เปลี่ยนชุดไปซ้อม วันนี้อาจารย์ฟิตจัด พอถึงที่ซ้อมอาจารย์สอนไปแล้ว2ท่า(ท่าที่19กับท่าที่20)(อะไรเนี่ยเล่นทีเผลอ) ก็รีบวอร์มรีบซ้อม กับเพื่อนคนที่คิดว่าน่าจะมาทันอาจารย์สอนสรุปคู่ซ้อมก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็ดูเอาจากข้างๆ แล้วก็มีอาจารย์อีกท่านนึงมาช่วยทำให้ดูอีกครั้งหนึ่งต่อจากนี้ซ้อมของเก่ากันไปซักพักอาจารย์ก็สอนต่ออีก1ท่า (ท่า21)จากนั้นก็รวมเช็คชื่อ วอร์มอัพ แล้วถัดไป ผมแอบหนีไปรันโดริดีกว่า ไปถึงสนามรันโดริหมดความมั่นใจไปเลย พอเจอกับคุณลุงน้ำหนักน่าจะ90ได้มั้ง สำหรับผมเคยคิดไว้ว่าน้ำหนักไม่น่าจะมีปัญหาอะไรกับผมซักเท่าไหร่ก็ลองเล่นดู ปรากฏว่าคุณลุงคนนี้ไม่ธรรมดาเลย ผมจะทำอะไรก็หลบได้หมดไม่สามารถทุ่มได้หรือใกล้เคียงแม้แต่ครั้งเดียวไม่ว่าจะเป็นการหลอกที่ผมใช้กับคนอื่นได้ (พวกหลอกเอาท่าซ้อนเข้าไป) การปัดสรุปแล้วเละ คือการคุมทิศทางน้ำหนักของคุณลุงดีมากๆเรียกได้ว่าพยายามทำยังไงก็ตามไม่มีเซเลยจริงๆ เผลอเมื่อไหร่ก็โดยฮาไรโกชิเล่นแล้วหมดความมั่นใจไปเยอะ แต่ก็ดีทำให้รู้ว่าต้องซ้อมให้เยอะกว่านี้ซะแล้ว มารู้เอาตอนที่ซ้อมเสร็จคุยกับลุงท่านนี้นิดหน่อย6ดั้งครับ เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ไหนซักแห่งนี้แหละ (เออ เจอแบบนี้ถ้าทุ่มได้ง่ายๆก็แปลกละครับ)พักซักหน่อย ยังไม่ทันหายเหนื่อย สายดำจากไหนไม่รู้มารันโดริด้วย ก็ลองดูคราวนี้สบายๆไม่เหนื่อยใจซักเท่าไหร่ นานๆจะเจอคนที่ขาช้ากว่าผม (ปกติเจอแต่เท่าๆกันไม่ก็เร็วกว่า) คู่นี้ผ่านไปแบบไม่มีปัญหา คู่ที่สามรันโดริกับเพื่อนที่เรียนด้วยกันอันนี้ก็ไม่มีปัญหา ไม่รู้ว่าแต่ละคู่ผมใช้เวลาเท่าไหร่แต่ว่าเล่นแค่3คู่ก็หมดเวลาแล้วครับกลับมาเจ็บขาหน่อยๆเพราะคงไปชนกับขาใครซักคนตอนปัดนั้นแหละ อาบน้ำ กินข้าวแล้วก็นั่งรถไฟกลับมาเรียนต่อที่มหาลัย เรียนจนถึง6โมงเย็นกลับบ้านรีบเคลียร์งานและนอนทันที
วันที่10 วันสุดท้าย พุธที่16มกราคม ตื่นมาไม่เช้ามาก เพราะหิมะเริ่มละลาย(สังเกตุจากเมื่อวาน)ก็ออกจากบ้านตี3.40 บางช่วงก็ปั่นจักรยาน บางช่วงก็เดินคิดอยู่ว่าจักรยานคันที่โซ่ขาดต้องรีบเอาไปซ้อมถ้ามีเวลาเพราะถ้าคันนี้ไม่แน่จะเกิดปัญหาเมื่อไหร่จะได้มีอีกคันไว้ใช้งานได้เมื่อวานมีซื้อข้าวปั่นเก็บไว้แล้ววันนี้เอาไปกินบนรถไฟก่อนที่จะนอนต่อนิดหน่อยจนถึงป้ายที่ต้องลงวันนี้การเช็คชื่อมีรอบเดียวเพราะว่าจะมีพิธีปิดการซ้อมเลยจะเหลือแค่ช่วงแรกที่อาจารย์ให้ทบทวนเนวาซะทั้งหมดที่ได้เรียนไปแล้วก็สอนเพิ่มอีก1ท่า(ท่าสุดท้าย) ที่มีประโยชน์มากๆจากนั้นก็ให้เนวาซะรันโดริกันไปตามสะดวก มีสายดำคนนึงเดินมาขอให้ผมช่วยช่วยมาทบทวนท่าทั้งหมดที่สอนมาให้หน่อย เพราะว่าเค้าจะเริ่มจด (มาจดเอาตอนนี้ไม่ช้าไปหน่อยเหรอครับ)คุยกันแบบมั่วๆ เพราะว่าคนนี้พูดญี่ปุ่นไม่ได้อังกฤษก็ไม่ดีทบทวนกันไปถามกันไปก็รู้ว่ามาจากมองโกล แต่ว่าพื้นฐานแปลกๆไม่รู้สายดำได้แต่ใดมา (ปกติเคยเจอมอลโกลแต่ละคนตัวโตเก่งโคตรสงสัยคนละสายพันธุ์ คนนี้ตัวเล็กพื้นฐานมั่วๆยังไงไม่รู้หรือว่าเพราะการสื่อสารเป็นอุปสรรค) ทบทวนกันไม่ทันครบทุกท่าก็หมดเวลาเรียกรวมทำพิธีปิด ปีนี้มีคนมาซ้อม 326คน(น่าจะเยอะกว่านี้พวกที่ไม่ได้ลงชื่อ)แต่คนที่มาตามกติกาได้ใบประกาศมีแค่151คน เรียกว่าครึ่งๆ คงเป็นเพราะหิมะที่มาสกัดดาวรุ่งแน่ๆถัดจากนั้นก็ถ่ายรูปกันเป็นที่ระลึกซักเล็กน้อย วันนี้ไม่มีเวลาอาบน้ำแต่ว่าเหงื่อไม่ออกซักเท่าไหร่คงเป็นเพราะไม่ได้ไปรันโดริในท่ายืน กินข้าวต้ม (กว่าจะมีข้าวต้มแบบนี้กินอีกต้องรอถึงปีหน้าแน่ะ)รีบทำเวลามาโรงเรียน ถึงโรงเรียนก่อนเวลาแค่5นาที เริ่มเรียนได้ทุกอย่างเหมือนจบไปแบบสงบ ถือว่าผ่านพ้นไปได้ด้วยดีสำหรับปีนี้ถึงแม้จะไปซ้อมไม่ครบ10วันแต่ผมก็ได้ใบประกาศมาอยู่ดีครับ (กฎกติกาบอกไว้ว่าหยุดได้1ครั้งนั้นเอง) ถ้าถามผมว่าได้อะไรมั้ยจากการตื่นตี3มาซ้อม ก็นอกจากการเรียนรู้และทบทวนเนวาซะ22ท่า บางท่าเรียนไปแล้วเมื่อปีที่แล้วหรือว่าในการซ้อมตอนปกติช่วงเย็นที่โคโดกัง แต่บางท่ามันก็ได้รายละเอียดเล็กๆเพิ่มเติมมา บางท่าใหม่สำหรับผมไปเลยก็มี ส่วนท่ายืนนั้น ก็ได้ไอเดียหลายๆท่ามา เช่นสมการ อุจิมาตะ+โคอุจิการิ+อุจิมาตะ หรือว่าการออกท่าโคอุจิการิ2ครั้งทำให้สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้เป็นโคโซโตการิแล้วตามด้วยไทโอโตชิต่อได้ ได้รู้จักการเข้าเซโอนาเกะที่ทำให้เร็วกว่าเดิมและไม่ติดแขนตัวเอง ได้รู้จักเพื่อนใหม่และอาจารย์เพิ่มขึ้นอีกหลายท่าน ยอมรับว่าตลอดการซ้อมที่ผ่านมา มีความรู้สึกขี้เกียจโผล่มาบางในความคิดแต่ก็เอามันทิ้งไปเพราะยังไงก็ตั้งใจมาซ้อมแล้วก็ต้องตั้งใจทำให้เต็มที่(คำพูดของประธานโคโดกังยังอยู่ในหัวเลยที่ว่า "ยูโดของแต่ละคนก็เป็นของแต่ละคน ถ้าไม่ซ้อมเองก็ไม่มีใครช่วยให้เก่งขึ้นมาได้ ใครตั้งใจคนๆนั้นก็ได้สิ่งที่ตั้งใจไว้ในที่สุด แต่จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างที่สำคัญสุดก็คือตัวเราเองนั้นแหละ") สุดท้ายคือได้ลดน้ำหนักไป2โล จากการกินข้าวต้มฟรีเป็นอาหารเช้าติดต่อกันถึง9วัน
สุดท้าย นานๆทีจะได้มีโอกาสถ่ายรูปกับประธานโคโดกัง (คราวหน้าจะขอเป็นรูปคู่นะครับ) |
บทความทั้งหมด
|