การรับรองคำแปล ใครรับรอง รับรองทำไม






วันที่ 6 ส.ค. 59 ที่ผ่านมา สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย (ส.ป.ล.ท.)ได้จัดประชุมสามัญประจำปี 2558 ขึ้นที่นานมีบุ๊คส์โดยในงานนี้มีการจัดสัมมนาหัวข้อ “การรับรองคำแปล ใครรับรอง รับรองทำไม” วิทยากรคือ คุณธาตรี เชาวชตา  ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ (อดีตผู้อำนวยการกองนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ)

ในการประชุมครั้งนี้เราก็เป็นวิทยากรในฐานะนักแปลที่ได้รับการรับรอง NAATI แต่จะเขียนให้อ่านเฉพาะส่วนของผ.อ.ธาตรี โดยเขียนเป็นข้อๆ ดังนี้

การรับรองเอกสารในประเทศไทย ให้อ้างอิงกับระเบียบกระทรวงต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร พ.ศ. 2539 ที่ต้องรับรองเอกสารก็เพื่อความน่าเชื่อถือ

การรับรองเอกสาร ในหลายๆ กรณี ต้องใช้ Chain Legalization ดังนี้

กรณีเอกสารต่างประเทศที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย (เช่นจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย) (1) นำเอกสารต้นฉบับไปรับรองสำเนาถูกต้องที่สถานทูตของประเทศนั้นๆที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย (2) นำสำเนาฉบับที่สถานทูตประทับตราแล้วไปยื่นขอรับรอง (legalized) ที่กรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศ (3) นำเอกสารไปใช้ที่หน่วยงานราชการใดๆในประเทศไทยได้

กรณีมอบอำนาจเพื่อให้กระทำการในประเทศไทย (power of attorney) เช่นชาวต่างชาติต้องการซื้อขายคอนโดในประเทศไทย (1) ทำหนังสือมอบอำนาจ(2) ส่งไปรับรองโนตารีที่สำนักงานโนตารีในประเทศของตนเอง (3)ส่งไปรับรองอีกครั้งหนึ่งที่ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศของตนเอง(เช่น ในออสเตรเลีย กรณีมอบอำนาจจัดการมรดก เอกสารแปลโดยนักแปล NAATI ต้องส่งไปรับรอง (legalized) ที่ Departmentof Foreign Affairs & Trade (DFAT Australia) ซึ่ง DFAT จะมีฐานข้อมูลลายมือชื่อของนักแปล NAATI เพื่อใช้เทียบ (4)ส่งเอกสารไปประทับตราที่สถานทูตไทยในประเทศของตนเอง (5) นำเอกสารไปใช้ในประเทศไทย (แต่ถ้าเป็นเอกสารของคนไทยกระบวนการจะสั้นกว่า คือ ถือแบบฟอร์มมอบอำนาจ (ท.ด.21) พร้อมเอกสารประจำตัวเช่นหนังสือเดินทางที่มีตัวอย่างลายเซ็น ไปเซ็นที่สถานทูตเลยแล้วส่งกลับไปใช้ที่ไทย)

กรณีเอกสารของไทยที่จะนำไปใช้ในต่างประเทศ (ที่ปฏิบัติทั่วไปของกรมการกงสุล)(1) นำต้นฉบับเอกสารและสำเนาไปกรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศเพื่อของรับรอง (2) กรมการกงสุล รับรองเอกสารเพียง3 รูปแบบเท่านั้นคือ รับรองลายมือชื่อ (witnesssignature) หรือรับทราบ (seen at) (แต่ไม่รับรองลายมือชื่อ)(ซึ่งเป็นกรณีคำแปล) หรือรับรองสำเนาถูกต้อง (certified true copy) เท่านั้น (3) นำเอกสารไปใช้ในต่างประเทศหรือยื่นกับสถานทูตของต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเช่น กรณีขอวีซ่า

ทั้งนี้เงื่อนไขในการรับรองสำเนาถูกต้องคือกรมการกงสุลจะต้องมีตัวอย่างลายเซ็น (specimen signature) ของผู้มีอำนาจเซ็นเอกสารนั้นๆอยู่ในฐานข้อมูลเพื่อใช้เทียบลายมือชื่อ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา36 ของ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และเอกสารที่ขอรับรองสำเนาต้องเป็นเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการเท่านั้น ไม่รับเอกสารของเอกชน(เพราะไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อ)

สาเหตุที่กรมการกงสุลไม่ใช้คำว่า รับรองคำแปลถูกต้อง (certified correct translation) เนื่องจากเอกสารแปลที่ส่งรับรองมีปริมาณมหาศาลในแต่ละวัน กรมฯไม่สามารถรับผิดชอบคำแปลได้ทุกฉบับ

คำแปลจัดเตรียมโดยใครก็ได้ แม้แต่เจ้าของเอกสารเอง โดยกรมฯอำนวยความสะดวกด้วยการให้ตัวอย่างคำแปลเอกสาร 40 ชุดไว้ในเว็บไซต์ www.mfa.go.th และในคู่มือการแปลเอกสาร แต่ขอให้แปลถูกต้องครบถ้วน สะกดชื่ออำเภอตามคู่มือราชบัณฑิตกรมฯ ก็ประทับตรารับรองให้ (เมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีคนบ่นในหน้า ส.ป.ล.ท.เรื่องนำเอกสารที่แปลเองไปรับรองที่กรมฯ ปรากฏว่าโดนตีกลับทำให้เสียเวลาทำงานหลายวัน ส่วนหนึ่งเพราะสะกดชื่ออำเภอไม่ตรงตามคู่มือ ก็เข้าใจอ่ะนะว่าคนทั่วไปไม่รู้หรอกว่ามันมีคู่มือกำกับการสะกดชื่ออำเภอชื่อจังหวัดที่หน่วยงานราชการใช้อ้างอิงอยู่)

กรมการกงสุลรับรองคำแปลถูกต้อง (certified correct translation) กรณีเดียวคือคำแปลนั้นจัดทำโดยหน่วยงานราชการเช่น กรมสนธิสัญญาเป็นผู้จัดทำ

กรมการกงสุลมีรายชื่อบริษัทแปลที่แปลผิดบ่อยครั้งไว้ด้วย (ใครที่ส่งแปลกับบริษทเหล่านี้มีแนวโน้มจะไม่ได้รับการประทับตรารับรองจากกรมฯ)

ขณะนี้กำลังมีการร่างพระราชบัญญัติโนตารี พ.ศ. 2559 หลังจากที่ระงับมาตั้งแต่ปี2540 เนื่องจากวิกฤติการณณ์บ้านเมือง ในระหว่างที่รอ พ.ร.บ. ตัวนี้บังคับใช้ สภาทนายความก็มีบริการรับรองเอกสารแบบโนตารี (notarialservice) แต่เอกสารที่รับรองโนตารีแล้วยังต้องส่งไปประทับตราที่กรมการกงสุลอยู่ดีก่อนจะนำไปใช้ในต่างประเทศได้

ประชาคมอาเซียน หรือ AEC กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องจัดทำฉบับแปลภาษาอังกฤษของกฎหมายทุกตัวดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศอยู่ในระหว่างจัดเตรียมแบบฟอร์มราชการต่างๆ เป็นแบบ 2ภาษาเพื่อใช้ในสถานทูตทั่วโลก

ในส่วนของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (Thailand Professional Qualification Institute (PublicOrganization)) หรือ TPQI นั้น กำลังจัดทำมาตรฐานหลายสาขารวมถึงมาตรฐานนักแปล ซึ่งเป็นสาขาย่อยภายใต้ความรับผิดชอบของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(The Publishers And Booksellers Association of Thailand) หรือPUBAT โดย PUBAT มอบหมายให้ ส.ป.ล.ท.นำไปดำเนินการจัดทำมาตรฐานนักแปล

สาเหตุที่ ส.ป.ล.ท. ไม่รับดำเนินการในฐานะหน่วยงานหลักแต่ต้องไปอยู่ภายใต้PUBAT ก็เพราะ ส.ป.ล.ท.ไม่มีสำนักงานถาวร และไม่มีพนักงานประจำ

ข่าวดี วันที่ 9 ธ.ค. 2559 กระทรวงการต่างประเทศจะเปิดให้บริการรับรองเอกสารณ หน่วยงานสาขา MRT คลองเตย ใกล้ท่าเรือ

สิ่งหนึ่งที่เราบอกนักแปลที่มาฟังสัมมนาคือถ้านักแปลทำงานแปลหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อยู่แล้วแทนที่จะไปหาสอบขอรับรองคุณวุฒิจากต่างประเทศ นักแปลควรสอบของ TPQI ซึ่งดำเนินการโดยส.ป.ล.ท. ก่อน เนื่องจากข้อสอบนั้นเกี่ยวข้องกับเนื้องานสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะและข้อสอบไม่ได้ยากเกินไป (ดูจากมุมคนที่เรียนการแปลมาและมีประสบการณ์ทำงานแปล)

ส่วนที่คนทำงานแปลเอกสารเทคนิค เช่น วิศวกรรมกฎหมาย การแพทย์ วิทยาศาสตร์ ที่คิดว่ายังไงก็ต้องมีใบรับรองคุณวุฒิและอยากสอบเพื่อรับคุณวุฒิต่างประเทศ นอกจาก NAATI ออสเตรเลียแล้ว ก็ยังมีสอบของ ATA U.S. และมีสอบ Diploma of Translation ของ CIOLU.K. (อันหลังนี่เราว่ายากใช้ได้ ถ้าสอบผ่านนี่เหมือนเรียนจบปริญญาด้านการแปลเลย)

ก่อนจะสอบขอใบรับรองคุณวุฒิจากต่างประเทศ ให้นักแปลพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าด้วยคือมีเงินค่าสอบไหม เพราะค่าสอบก็ไม่ได้ถูก อย่างสอบ NAATI ค่าสอบ $900(ประมาณ 24,300 บาท) สอบผ่านแล้ว จะได้งานที่ต้องใช้ใบนี้เยอะแค่ไหน ถ้าประจำอยู่ในไทย งานแปลที่ต้องการรับรอง NAATIอาจจะไม่ได้เยอะเท่านั่งประจำอยู่ออสเตรเลีย ที่สำคัญอัตราการสอบผ่านอยู่ที่ร้อยละ 10-15 (Dave Deck: NAATI examining panel) เพราะนักแปลส่วนใหญ่คิดว่ารู้ภาษาที่สองดีแล้วจะแปลได้ (เป็นความเข้าใจที่ผิด)หลายคนไม่สามารถสื่อสารใจความของต้นฉบับมาเป็นภาษาปลายทางได้ บางคนตีความผิดบางคนใช้เทคนิคการแปลที่ไม่เหมาะสม เช่น paraphrase โดยไม่จำเป็นแปลตรงตัวเกินไป เป็นต้น

สรุปว่า ในความเห็นของเรา คนที่ไม่ได้เรียนการแปลและประสบการณ์ทำงานด้านการแปลน้อย(ไม่ถึง 5 ปี) ถ้าไปสอบมีแนวโน้มจะสอบตก เสียเงินเปล่า แต่ถ้าสอบผ่าน ก็ไม่รู้จะได้งานคุ้มค่าสอบมั้ย

อ่านหัวข้อที่เกี่ยวข้องได้ที่บล็อก“การรับรองคำแปลในประเทศไทย” ในบล็อกวันที่ 26 พ.ค. 2559

******************

ทรัพยากรอื่นๆ

Australian Standard Classification ofOccupations (ASCO) Second Edition, 1997 
2529-15 Translator, 2529-13 Interpreter, AustralianBureau of Statistics 
//www.abs.gov.au/ausstats/abs@.nsf/0/ECB55F6FC50FBCA1CA25697E00184E0E?opendocument

Standard for Translators and Revisers, United Nations InternationalCivil Service Commission 

//icsc.un.org/resources/hrpd/je/TR.pdf

Accreditation by OverseasQualification, Professional Association Membership or Advanced Standing NAATI 
https://www.naati.com.au/media/1103/accreditation_by_assessment_osqualifcation_professionalassociationmembership_advancedstanding_booklet.pdf

Criteria of Membership, Chartered Institute of Linguists

https://www.ciol.org.uk/images/Membership/CriteriaforMembership.pdf


Criteria of Membership, The Australian Institute of Interpretersand Translators (AUSIT) 

//ausit.org/AUSIT/Join_AUSIT/Membership_Categories/AUSIT/Join_AUSIT/Membership_Categories.aspx


Certification, American Translators Association

https://www.atanet.org/certification/landing_about_exam.php


IoLET Level 7 Diploma in Translation (QCF), Chartered Institute ofLinguists

https://www.ciol.org.uk/index.php?option=com_content&view=article&layout=coil:norelated&id=205&Itemid=672


https://www.ciol.org.uk/images/Qualifications/DipTrans/DipTransHandbook.pdf

M.A. in Translation, Ramkhamhaeng University 
//www.human.ru.ac.th/images/document/masterofarts57.pdf

M.A. in English > Thai Translation, Thammasat University 
https://web.reg.tu.ac.th/registrar/_link/_8_knowledge/curric_cd/curric_ma/56/MA53_EX_06_TP.pdf

M.A. in Translation for Education and Business, King Mongkut'sUniversity of Technology North Bangkok 
//www.grad.kmutnb.ac.th/cal58/file/art/MTEB.pdf

M.A. in Language & Culture for Communication & Development,Mahidol University 
//www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=7302M01G#Course

NAATI Test in Adelaide, Natchaon C., 2011
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=workingwoman&month=09-2011&date=23&group=1&gblog=6

ไปสอบการแปล จุฬา 
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=flowerylife&month=06-05-2009&group=22&gblog=6


แนวทางการเตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้าเรียนป.โท หลักสูตรการแปล จุฬาฯ 
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=joechou&month=18-10-2009&group=4&gblog=4

Best Practice for the Translation of Official and Legal Documents, AUSIT 
//ausit.org/AUSIT/Documents/Best_Practices_2014.pdf

Thought on Translation, Corrine McKay 
//thoughtsontranslation.com/2011/03/07/how-much-do-freelance-translators-earn-is-it-enough/

ประมวลจริยธรรมล่ามในศาลยุติธรรม, สราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000048920

จริยธรรมผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม 
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000120864




Create Date : 31 สิงหาคม 2559
Last Update : 6 กันยายน 2559 10:20:04 น.
Counter : 5445 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
สิงหาคม 2559

 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog