ว่าด้วยเรื่องค่าจ้างล่าม




หัวข้อนี้เคยเขียนไปแล้วแต่วันนี้ได้อ่านโพสต์ในหน้า ส.ป.ล.ท. ก็เลยอยากเขียนอีก

ผู้ที่โพสต์พูดเรื่องล่ามทหาร (เข้าใจว่าหมายถึงล่ามคอบราโกลด์) ที่เอเจนซี่ประกาศรับสมัครโดยให้ค่าตอบแทนวันละ 1,500 บาทแต่ตัวเอเจนซี่เรียกเก็บเก็บจากหน่วยงานของลูกค้าในอัตราวันละ 3,000 บาท คือกินค่าหัวคิว 50%

เราเห็นกินค่าหัวคิวอัตรานี้ไม่แปลกใจ เพราะในต่างประเทศสำหรับงานแปลก็เห็นกินค่าหัวคิวเยอะอยู่ เช่น เอเจนซี่จ้างนักแปล $35 เวลาเก็บเงินลูกค้า จะเก็บที่ $65 คือบวกไป 40% หรือถ้าคิดเป็นคำ เอเจนซี่ให้คำละ $0.15 แต่คิดเงินลูกค้าจริงที่ $0.25 ขึ้นไป จะบวกมากบวกน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่ามีบริการอะไรเพิ่มหรือเปล่า เช่น เอเจนซี่ ต้องส่งงานให้นักแปลอีกคนนึงตรวจก่อนส่งลูกค้า ก็จะมีต้นทุนเพิ่ม

เรื่องค่าแรงนักแปลและล่ามเป็นปัญหาที่ยกมาพูดได้เรื่อยๆ สาเหตุหนึ่งเพราะในไทยยังไม่มีใครกำหนดราคากลางที่อ้างอิงกันก็มักจะดูอัตราของมหาวิทยาลัยชื่อดังของรัฐหรือค้นจากประกาศของหน่วยงานราชการ

อย่างที่ค้นเจอจากเว็บ เช่น

ล่ามได้รับค่าป่วยการไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 500 บาทไม่เกินชั่วโมงละ 800 บาท โดยไม่เกิน 2,400 บาทต่อวัน (ระเบียบสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าป่วยการ…แก่ล่ามที่ศาลจัดหาให้ //www.oia.coj.go.th/doc/data/oia/iad_1475207855.pdf)

ล่ามได้รับค่าแรงชั่วโมงละ 800 บาท (อัตราค่าใช้จ่ายที่กรมความร่วมมือฯภายใต้ คกร. ไทย-จีน) (800 x 6 ชั่วโมง= 4,800 บาท ต่อวัน tica.thaigov.net/main/.../services-20170111-151419-029381.pdf)

ล่ามภาษามือได้รับค่าตอบแทนชั่วโมงละ 300-600 บาท (600x 6 ชั่วโมง = 3,600 บาทต่อวัน) (ประกาศสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนการให้บริการล่ามภาษามือ //www.braille-cet.in.th/Braille-new/?q=news-1599)

ด้านล่างนี้เป็นอัตราที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บบุคคลภายนอกที่มาขอใช้บริการ

ล่ามแปลภาษาของคณะศิลปศาสตร์คิดบริการชั่วโมงละ 500 บาท แต่ไม่เกิน 4,000บาทต่อวัน (ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา)

บริการล่ามโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดค่าบริการไม่เกินวันละ 20,000 บาท และจ่ายให้ล่าม 85% ของค่าบริการที่เรียกเก็บ

บริการแปลเอกสารโดยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดค่าบริการไม่เกินหน้าละ 2,000 บาท และจ่ายให้ล่าม 85% ของค่าบริการที่เรียกเก็บ

นอกจากจะไม่มีใครกำหนดราคากลางแล้วประเทศไทยยังเพิ่งเริ่มต้นจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ ตอนนี้สอบแปลไปแล้ว แต่สายล่ามนี่ ไม่ได้ข่าวอะไรเลย น่าจะอีกสักพักใหญ่ๆ

บางความเห็นในโพสต์ FB ก็บอกว่า คนที่เรียกตัวเองล่ามหลายคนก็ล่ามไม่เป็น พูดไม่รู้เรื่อง ทำงานแล้วลูกค้าขอเปลี่ยนตัว ก็อย่างที่เคยพูดคือใครก็เรียกตัวเองว่าเป็นนักแปล เป็นล่ามได้ แต่ถามต่อว่า มีคุณวุฒิอะไรเรียนจบสายที่เกี่ยวข้องมามั้ย มีประสบการณ์ด้านการแปลและล่ามมากี่ปีเคยเข้ารับการทดสอบวัดระดับด้านการแปลและล่ามบ้างมั้ย เชื่อว่าหลายคนตอบไม่ได้

ถ้าจะวัดว่าอัตราค่าจ้างที่ล่ามได้รับนั้นน้อยหรือมากควรจะวัดกับอะไร ถ้าเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำที่วันละ 300-500 บาท ในขณะที่ล่ามได้ชั่วโมงละ 300-500 บาท ก็ถือว่าไม่น้อย คำนวณรายเดือน ถ้าทำเต็มเวลา มีงานทุกวันล่ามจะได้ประมาณ 48,000 – 80,000 บาทต่อเดือน (ใครว่าล่ามไทยได้เงินน้อย) หรือคิดแค่รับงานเดือนละ 15 วัน ก็จะได้ค่าแรง 36,000 – 60,000 บาทเวลาที่เหลือเอาไปขายของตลาดนัดได้อีก ช่วงเย็นๆ ขี้หมูขี้หมาก็ได้กำไรพันสองพันบาทไม่เสียภาษีด้วย เพราะเป็นแผงลอยย้ายที่ ไม่ประจำจุด สรรพากรตามไม่เจอ)

ข้ามมาดูฝั่งออสเตรเลีย Professional Australia จัดทำ Proposed Industry Recommend Rates 2015 สำหรับ onsite interpreting ไว้คือ ชั่วโมงแรกคิด $103.65 (2,700 บาท) ชั่วโมงต่อไปได้ $46.76 (1,200 บาท) เต็มวัน 8 ชั่วโมง คิด $430.97 (11,600 บาท) ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำในออสเตรเลีย อยู่ที่ชั่วโมงละ $19 (เปิดดูจากเว็บ Fairwork สำหรับลักษณะงาน administrator level 1) ถือว่าล่ามได้ค่าแรงดีทีเดียวได้ค่าเดินทางต่างหาก เงื่อนไขอัตรานี้สำหรับล่าม NAATI ระดับ 3 (//www.professionalsaustralia.org.au/translators-interpreters/wp-content/uploads/sites/43/2016/06/2015-Proposed-Industry-Recommended-Rates-for-TI-3.pdf)

ไหนๆแล้ว ต่อที่ล่าม onsite interpreting งานตรวจคนเข้าเมืองของอังกฤษ วันธรรมดา ชั่วโมงแรก ล่ามได้ค่าตอบแทน £48 (2,100 บาท) ชั่วโมงต่อไปได้ £16 (700 บาท) เต็มวันจะเท่ากับ £176 (7,700 บาท) เงื่อนไขคือ ล่ามต้องเป็นสมาชิก National Register of Public Services Interpreters (NRPSI) หรือ จบการศึกษา Diploma in Public Services Interpreting (DPSI) (Law) หรือมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงกำหนด (https://www.gov.uk/government/publications/guidance-for-interpreters/guidance-for-interpreters)

จากที่เขียนไว้ด้านบนเห็นเลยว่าของไทยไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพล่ามเพราะมาตรฐานยังไม่พร้อมก็เลยกระทบถึงเรื่องอัตราค่าตอบแทนด้วย และถึงแม้ตัวเลขที่ลองคำนวณไว้จะดูดี แต่ความเป็นจริงล่ามด้วยกันเองนี่แหละที่ตัดราคา ประกอบกับลูกค้าก็อยากได้ของถูกโดยไม่ดูว่าได้ล่ามระดับไหนมาทำงาน สมมติถ้าล่ามจะอ้างอิงอัตราค่าป่วยการของศาลเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ลูกค้าก็อาจจะถามกลับว่า “แล้วคุณมีคุณสมบัติเป็นล่ามศาลตามที่ศาลยุติธรรมกำหนดไว้หรือเปล่า” เดาว่า หลายคนขาดคุณสมบัติ คือศาลยุติธรรมมีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญศาลให้เรียกใช้อยู่แล้วผู้สมัครต้องผ่านการตรวจประวัติการศึกษา การทำงาน และอาจต้องสอบแปลหรือล่ามด้วยจึงจะได้รับการขึ้นทะเบียน ในเมื่อกระบวนการขอขึ้นทะเบียนเข้มงวด แน่นอนว่าล่ามที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของศาลไม่เรียกค่าแรงตามอัตราขั้นต่ำแต่ต้องเรียกแพงกว่าคนอื่นแน่นอน

สรุปว่ายังหาข้อสรุปเรื่องอัตราค่าแรงล่ามไม่ได้ แต่ในวงการก็เห็นว่าพยายามจะจัดตั้งกลุ่มเพื่อคัดกรองงานและกำหนดราคากลาง ต้องติดตามกันต่อไป




Create Date : 25 กรกฎาคม 2560
Last Update : 25 กรกฎาคม 2560 13:53:59 น.
Counter : 8518 Pageviews.

1 comments
  
บางครั้งคนจ้างก็กดราคาเกินไปจริงๆ เรารับแปลจีนเป็นไทยอยู่ก็โดนกดราคามากเหมือนกัน
โดย: สมาชิกหมายเลข 773464 วันที่: 26 กรกฎาคม 2560 เวลา:16:55:02 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กรกฏาคม 2560

 
 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog