ความรับผิดของนักแปลและล่าม (ตอนที่ 2)




ความรับผิดของนักแปลและล่าม (ตอนที่ 2)

กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพนักแปลและล่าม

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46

มาตรา 46 วรรค 3บัญญัติว่า “ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับ”

มาตรา 46 วรรค 4 บัญญัติว่า“ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดที่มาศาลไม่เข้าใจภาษาไทยหรือเป็นใบ้หรือหูหนวกและอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ให้คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดหาล่าม”

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13

มาตรา 13 วรรค 1 ถึงวรรค 4 บัญญัติว่า

“การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาให้ใช้ภาษาไทยแต่ถ้ามีความจำเป็นต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหรือต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศให้ใช้ล่ามแปล

ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลยหรือพยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยหรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวนพนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า

ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลยหรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้ และไม่มีล่ามภาษามือให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล จัดหาล่ามภาษามือให้หรือจัดให้ถาม ตอบหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร

เมื่อมีล่ามแปลคำให้การคำพยานหรืออื่น ๆ ล่ามต้องแปลให้ถูกต้องล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่โดยสุจริตใจจะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล”

มาตรานี้เป็นการสะท้อนหลักนิติธรรม(The Ruleof Law) ในแง่ที่ว่า บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันและศาลเดียวกันเป็นผู้พิจารณา (อรพันธุ์: 2555)และบุคคลควรได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าชนิดใดๆ เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ตามที่ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเราจะเห็นได้ว่าล่ามมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้บุคคลสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน

ตัวอย่างการประกอบอาชีพนักแปลและล่ามที่ผิดพลาด

แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีการฟ้องร้องเกี่ยวกับการทำงานที่ผิดพลาดของนักแปลและล่ามแต่ความเป็นไปได้ที่นักแปลและล่ามอาจโดนฟ้องก็มีอยู่เสมอผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างการทำงานของนักแปลและล่ามที่ผิดพลาดเพื่อให้เห็นถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว

นักแปล

1. เอกสารทางการแพทย์

ผู้แปลแปลฉลากบอกประเภทของอวัยวะเทียมผิดทำให้แพทย์ที่ทำการผ่าตัดอวัยวะเทียมดำเนินการใส่อวัยวะเทียมที่ผิดประเภทให้แก่คนไข้ทำให้คนไข้ได้รับอันตรายแก่กาย (Fakler, Johannes K et al. cited in Wioleta Karwacka)

2. เอกสารทางเทคนิค

นาย ก.มีอาชีพนักแปล นาย ก. ได้รับว่าจ้างให้แปลคู่มือการใช้เครื่องจักร แต่นาย ก.แปลผิดและผู้ว่าจ้างไม่ทราบ จนกระทั่งคู่มือและเครื่องจักรถึงมือนาย ข.ซึ่งเป็นผู้ซื้อเครื่องจักร วันหนึ่งเครื่องจักรปล่อยควันออกมา นาย ข.จึงอ่านคู่มือการใช้เครื่องจักรเพื่อดูว่าอาการปล่อยควันของเครื่องจักรเกิดจากอะไรแต่จากการที่นาย ก. แปลคำว่า “ไอน้ำ” ผิดเป็นคำว่า “ควัน”จึงทำให้นาย ข. เข้าใจผิดว่าการที่เครื่องจักรปล่อยควันซึ่งเป็นควันพิษออกมานั้นเป็นการทำงานตามปกติของเครื่องจักรในขณะที่ความจริงแล้ว การปล่อยควันไม่ใช่เรื่องปกติแต่การปล่อยไอน้ำต่างหากที่เป็นการทำงานตามปกติของเครื่องจักรควันพิษดังกล่าวทำให้นาย ข. ได้รับอันตรายแก่ร่างกายและบริษัทผู้ผลิตต้องเรียกคืนสินค้าทั้งหมดและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหาย

3. เอกสารกฎหมาย

นาย ก. ว่าจ้าง นาย ข.นักแปล ให้ทำการแปลเอกสารสัญญาเช่าบ้านในข้อสัญญาที่เกี่ยวกับหน้าที่ของคู่สัญญาเกี่ยวกับการจัดให้มีประกันภัย นาย ข.แปลผิด จากที่จริง ๆ แล้ว ผู้ให้เช่ามีหน้าที่จัดให้มีประกันภัย นาย ข.กลับแปลผิดให้ผู้เช่ามีหน้าที่จัดให้มีประกันภัย

4. ตำราเรียน

สำนักพิมพ์ ก. ได้จ้างให้นาย ข.แปลตำราเรียนภาษาญี่ปุ่นเล่มหนึ่ง แต่นาย ข .แปลผิดเกือบทั้งเล่มและสำนักพิมพ์ไม่ทราบถึงความผิดพลาดนั้นจนกระทั่งสำนักพิมพ์ ก.ตีพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ต่อมามีผู้ท้วงติงและโพสต์ลงในสื่อสังคมออนไลน์ว่าตำราเรียนเล่มนี้ของสำนักพิมพ์ ก. มีการแปลผิดความหมาย จากความผิดพลาดดังกล่าวสำนักพิมพ์ ก.ต้องเรียกคืนหนังสือทั้งหมดพร้อมกับคืนเงินให้แก่ผู้ที่ได้ซื้อหนังสือไป อีกทั้งสำนักพิมพ์ก. ยังเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมากด้วย

ล่าม

1. ล่ามในโรงพยาบาล

จากการวิจัยทางการแพทย์ คณะผู้ทำวิจัย (Flores, Glenn etal.: 2014)พบว่าจากการวิเคราะห์บันทึกเสียงและบทพูดในโรงพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกความผิดพลาดจากการแปลแบบล่ามทางการแพทย์เป็นสิ่งที่พบได้บ่อย และร้อยละ 63ของความผิดพลาดเหล่านี้อาจส่งผลต่อการรักษาได้ความผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุดคือการตัดทอนหรือละเว้น (omission) ไม่แปลในสิ่งที่แพทย์หรือคนไข้พูด (Wioleta: 2014)

ตัวอย่างการแปลผิดโดยล่ามในบริบททางการแพทย์เช่น นายเอ ชาวเม็กซิกัน พูดได้แต่ภาษาสเปน มีอาการไม่สบายหนักจึงบอกล่ามแปลภาษาสเปน – อังกฤษของโรงพยาบาลว่า เขามีอาการ “intoxicado” ล่ามเข้าใจว่า ภาษาสเปนคำว่า “intoxicado” น่าจะหมายถึง“intoxicated” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายว่า “เมา”จากการเข้าใจผิดของล่ามนี้ทำให้แพทย์รักษานายเอโดยเข้าใจว่านายเมายาแต่ต่อมาเมื่อทำซีทีสแกนกลับพบว่านายเอไม่ได้เมายาแต่นายเอเป็นโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองและแตกในเวลาต่อมาเพราะแพทย์มัวแต่รักษานายเอเพราะคิดว่านายเอเมายาจริง ๆ แล้วคำว่า “intoxicado” ในภาษาสเปนแปลว่าวิงเวียนศีรษะ ไม่ใช่เมา อย่างที่ล่ามเข้าใจ

2. ล่ามในศาล

นาย ก. เป็นจำเลย มีนาย ข.เป็นล่ามให้ นาย ข. แปลคำให้การของนาย ก. ผิด จากที่นาย ก.ให้การว่าตนเดินไปหาผู้ตายที่โต๊ะ นาย ข. กลับแปลให้ศาลฟังว่า นาย ก.เดินไปหาเรื่องผู้ตายที่โต๊ะ ด้วยการแปลผิดของล่ามย่อมเป็นผลร้ายแก่นาย ก.ซึ่งเป็นจำเลย

3. ล่ามทั่วไป

นางหนึ่งมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามีของนางหนึ่งซึ่งพูดได้แต่ภาษาสเปนจึงโทรศัพท์เรียกรถพยาบาลให้มาที่บ้านแต่ล่ามภาษาสเปนที่รับโทรศัพท์ได้แปลเลขที่อยู่ที่เป็นภาษาสเปนผิดกว่าหน่วยกู้ภัยจะทราบที่อยู่ที่ถูกต้อง นางหนึ่งก็สมองตายเสียก่อน

กฎหมายไทยที่นำมาปรับใช้กับกรณีนักแปลและล่ามประกอบอาชีพผิดพลาด

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการออกกฎหมายควบคุมอาชีพนักแปลและล่ามในลักษณะที่เป็นการกำหนดให้นักแปลและล่ามขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพจากองค์กรควบคุมวิชาชีพแต่ละวิชาชีพเหมือนวิชาชีพอื่นเท่านั้นจะมีก็เพียงแต่นักแปลและล่ามของศาลยุติธรรมที่มีการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาลดังที่ได้กล่าวไปแล้วนอกจากนี้กฎหมายไทยไม่ได้มีการกำหนดความรับผิดทางกฎหมายของนักแปลและล่ามเป็นการเฉพาะด้วยดังนั้น เมื่อนักแปลและล่ามประกอบอาชีพผิดพลาดและคู่กรณีได้รับความเสียหายจึงต้องพิจารณาตามกฎหมายทั่วไป อันได้แก่ความรับผิดทางสัญญาและความรับผิดทางละเมิด แยกพิจารณาได้ดังนี้

ความรับผิดทางสัญญา : สัญญาว่าจ้างให้แปล

การที่มีบุคคลมาว่าจ้างนักแปลหรือล่ามให้ทำการแปลนั้นเข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 587ในการวินิจฉัยความรับผิดของนักแปลและล่ามตามสัญญาจึงจำเป็นต้องศึกษาความหมายและลักษณะของสัญญาจ้างทำของประกอบด้วย

ความหมายของสัญญาว่าจ้างให้แปล

สัญญาจ้างทำของเป็นเอกเทศสัญญาตามบรรพ3 ลักษณะ 7 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ความหมายของสัญญาจ้างทำของปรากฏอยู่ในมาตรา 587 ซึ่งบัญญัติว่า“อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น”เมื่อพิจารณาความหมายของสัญญาจ้างทำของประกอบกับลักษณะการทำงานของนักแปลและล่ามแล้วสัญญาว่าจ้างให้แปลคือ สัญญาว่าจ้างนักแปลหรือล่ามก็คือสัญญาที่ผู้ว่าจ้างให้นักแปลหรือล่ามทำการถ่ายทอดความหมายของงานเขียนหรือคำพูดต้นฉบับแล้วแต่กรณีซึ่งเป็นภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งโดยตกลงจะจ่ายค่าแปลซึ่งเป็นสินจ้างให้กับนักแปลหรือล่ามเพื่อผลสำเร็จแห่งงานที่แปลนั้น

ลักษณะของสัญญาว่าจ้างให้แปล

สัญญาจ้างทำของเป็นการที่ผู้ว่าจ้างได้ให้ผู้รับจ้างกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อประโยชน์ของผู้ว่าจ้างซึ่งผู้ว่าจ้างอาจว่าจ้างผู้รับจ้างด้วยเหตุผลบางประการเช่น ในการงานนั้น ๆ จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะซึ่งผู้ว่าจ้างไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเช่นนั้นหรือในการทำงานบางอย่างผู้ว่าจ้างอาจสามารถทำงานเองได้แต่เนื่องจากไม่มีเวลาที่จะทำเอง หรือมีแต่ไม่ต้องการทำให้เหน็ดเหนื่อยผู้ว่าจ้างก็จะจ้างผู้รับจ้างให้ทำงานให้เป็นสัญญาจ้างทำของและให้สินจ้างแก่ผู้รับจ้างเป็นการตอบแทนส่วนการที่ผู้รับจ้างรับจ้างบุคคลอื่นทำการงานให้นั้นก็เพราะผู้รับจ้างต้องการที่จะได้รับค่าตอบแทนจากการจ้างทำของโดยผู้รับจ้างนั้นอาจจะเป็นผู้มีอาชีพในการรับจ้างบุคคลอื่นทำการงานเพื่อเป็นการหารายได้ในการดำรงชีพหรือหารายได้ให้แก่องค์กรธุรกิจของตน (ไผทชิต: 2560) สัญญาว่าจ้างให้แปลส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะผู้ว่าจ้างไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาหรือศาสตร์เฉพาะทางของงานที่ว่าจ้างให้แปลเพียงพอเช่นงานแปลประเภทสัญญาซึ่งต้องอาศัยทั้งความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาและด้านกฎหมายหรืองานแปลประเภทบทความทางวิชาการที่นิสิตนักศึกษาต้องการนำมาใช้ในการทำงานวิจัย

ลักษณะที่ทำให้สัญญาว่าจ้างให้แปลเป็นสัญญาจ้างทำของตามมาตรา587 ได้แก่ลักษณะต่อไปนี้

1.สัญญาว่าจ้างให้แปลเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย

คู่สัญญาในสัญญาว่าจ้างให้แปลได้แก่ผู้ว่าจ้างให้แปลและผู้รับจ้างแปล ซึ่งในที่นี้คือนักแปลหรือล่าม ผู้ว่าจ้างตกลงให้นักแปลหรือล่ามทำการแปลจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างแล้วผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าแปลซึ่งเป็นสินจ้างให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นการตอบแทนผู้ใดที่ไม่ใช่คู่สัญญาจะมาเรียกร้องให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาไม่ได้ตามหลักสัญญาก่อผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น (Privity of Contract)

2. วัตถุประสงค์ของสัญญาว่าจ้างให้แปล

วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของคือการที่ผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่ผู้ว่าจ้างจนเป็นผลสำเร็จผู้ว่าจ้างมิได้ต้องการเฉพาะแรงงานของผู้รับจ้างแต่เพียงอย่างเดียวดังเช่นนายจ้างต้องการจากลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเมื่อเทียบกับสัญญาว่าจ้างให้แปลแล้ววัตถุประสงค์ของสัญญาว่าจ้างให้แปลคือการที่นักแปลหรือล่ามตกลงแปลให้ผู้ว่าจ้างจนเป็นผลสำเร็จ

3. ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จของการทำงานนั้น

สินจ้างในสัญญาว่าจ้างให้แปลคือก็คือค่าแปลหากผู้ว่าจ้างมิได้ให้ค่าตอบแทนแก่นักแปลหรือล่ามกรณีดังกล่าวมิใช่สัญญาจ้างทำของตามมาตรา 587 สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาต่างมีหน้าที่ตอบแทนกันในสัญญาว่าจ้างให้แปลนั้น ผู้ว่ามีหน้าที่จะต้องให้สินจ้างแก่ผู้รับจ้างซึ่งก็คือนักแปลหรือล่าม ส่วนนักแปลหรือล่ามก็มีหน้าที่จะต้องทำงานให้สำเร็จ

การเกิดและผลของสัญญาว่าจ้างให้แปล

การเกิดของสัญญาว่าจ้างให้แปลซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายไทยในเรื่องการเกิดสัญญาทั่วไปกล่าวคือ เมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนาต้องตรงกันและได้ตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาว่าจ้างให้แปลแล้ว (นนทวัชร์:2559) สัญญาว่าจ้างให้แปลก็เกิดแล้วซึ่งสัญญาว่าจ้างให้แปลนี้มักจะไม่มีรายละเอียดมากนักโดยปกติมักจะมีเพียงเนื้อหาที่จะให้แปล กำหนดเวลาส่งงาน และค่าจ้างเท่านั้นเมื่อสัญญาว่าจ้างให้แปลได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้วย่อมก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายทันทีที่ทำสัญญาซึ่งในกรณีสัญญาว่าจ้างนี้ก่อผลในทางหนี้อย่างเดียวเท่านั้น คือความผูกพันที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้กันต่อไป (ศนันท์กรณ์:2559)หมายความว่านักแปลหรือล่ามมีหน้าที่ต่อผู้ว่าจ้างที่จะต้องทำการแปลส่วนผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต่อนักแปลหรือล่ามในการจ่ายสินจ้าง




Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2561 19:29:51 น.
Counter : 3765 Pageviews.

1 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณชมพร

  
โหวตค่ะ

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ Natchaon เรียบร้อยแล้วนะคะ

โดย: ชมพร วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:22:18:01 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กุมภาพันธ์ 2561

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
 
 
All Blog