"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
10 กันยายน 2555
 
All Blogs
 

"อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ" นักเขียนมือรางวัล แฟนพันธุ์แท้ "ซีไรต์"

มติชนสุขสรรค์

โดย ชัชชล อัจนากิตติ


"ผมก็เคยเป็นเหมือนคนหนุ่มทั่วไปที่อ่านหนังสือแล้วอยากเปลี่ยนแปลงโลก"

เป็นประโยคเด็ดจากนักเขียนหนุ่มแห่งลุ่มน้ำตาปี บัณฑิตใหม่ถอดด้ามจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์ แห่งรั้วแม่โดม

ชายหนุ่มกล่าวอย่างอารมณ์ดี ก่อนที่จะเริ่มต้นบทสนทนาว่าด้วยชีวิต ความฝัน และที่สำคัญ รางวัลล่าสุดที่เขาเพิ่งคว้ามาจากรายการแฟนพันธุ์แท้ ในฐานะ "แฟนพันธุ์แท้วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน"

หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "ซีไรต์" นั่นเอง

"อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ" เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2532 แถบชานเมือง อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในครอบครัวของข้าราชการชั้นผู้น้อย มีพ่อและแม่เป็นครู

เริ่มต้นการศึกษาในระบบที่โรงเรียนอนุบาลกุลบุตร อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนจะเข้าเรียนต่อชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนมานิตานุเคราะห์ โรงเรียนเอกชนชื่อดังประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสอบเข้าโรงเรียนสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดได้ดังหวัง

"พอจบ ม.3 ที่สุราษฎร์ฯ ตอนแรกอยากมาเข้าเรียนที่กรุงเทพฯ ยุคนั้นเขาต้องมาเรียนเตรียมอุดม ผมก็มาสอบสายวิทย์ เพราะตอนนั้นชอบวิชาฟิสิกส์ แต่ปรากฏว่าสอบไม่ติด เครียด รู้สึกทำไมชีวิตผิดพลาด กลับมาเรียน ม.4 ด้วยความเบื่อหน่าย แต่ก็ยังเลือกเรียนสายวิทย์ พอเริ่มเรียนแล้วทำให้ได้รู้จักวิชาวิทยาศาสตร์ของจริง สอบตกเละเทะ การสอบตกเยอะๆ นี่ทำให้เข้าใจเลยว่า อ๋อ ชีวิตมนุษย์มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" อาชญาสิทธิ์เล่าถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของเด็กเรียนคนหนึ่ง

ประสบการณ์เลวร้ายนี่เองที่ทำให้เขาเบนความสนใจมาอ่านหนังสือวรรณกรรม

และก็อ่านพบด้วยว่าคนที่เรียนจบประวัติศาสตร์ ล้วนเท่มาก อาทิ สุชาติ สวัสดิ์ศรี, พระไพศาล วิสาโล, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ฯลฯ จึงทำให้เขามุ่งมั่นที่จะเรียนต่อด้านประวัติศาสตร์ เพราะอยากเท่ และรู้สึกว่าน่าจะได้อ่านหนังสือเยอะกว่าการเรียนด้านอื่นๆ จนในที่สุดเขาก็สอบเข้าเรียนต่อได้ที่คณะศิลปศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาชญาสิทธิ์ คือผู้หมกไหม้ใฝ่ฝันกับงานวรรณกรรมและกองหนังสือหลายสาขาวิชา หลากรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์, วรรณกรรม, ปรัชญา หรือเรื่องสัปดี้สัปดน ทั้งบนดินและใต้ดิน ทั้งที่หนักแน่นในเนื้อหาสาระ ไปจนถึงเรื่องเบาสมองที่อดหัวเราะไม่ได้ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รักในความรู้ รับรองว่าชายหนุ่มคนนี้มีเรื่องเล่าให้คุณฟังได้ไม่รู้จบ เพราะเขาเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเรื่องเล่าของตัวเอง

วันเวลาที่ใช้ไปได้บ่มเพาะนักเขียนหนุ่มคุณภาพ ผู้มุ่งมั่นเคี่ยวกรำตนเองกับการเขียนหนังสือ

การันตีด้วยรางวัลกวีนิพนธ์ยอดเยี่ยมนายอินทร์อะวอร์ด ประจำปี พ.ศ.2553 จากบทกวี "ร้านหนังสือเทพนิยายที่ชายแดน" รางวัลชมเชยวรรณกรรมรามคำแหง ประจำปี พ.ศ.2554 จากเรื่องสั้น "แปลงร่าง" รางวัลดีเด่น Young Thai Artist Award สาขากวีนิพนธ์ ประจำปี พ.ศ.2554 จากเรื่อง "คนขายโรตีที่ขี้เหร่ที่สุดในโลก"

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสั้นและบทกวีตีพิมพ์ตามหน้านิตยสารต่างๆ ทั่วไป และล่าสุดเพิ่งคว้ารางวัลสุดยอดแฟนพันธุ์แท้วรรณกรรมซีไรต์ ซึ่งในปีนี้เป็นคิวของนวนิยาย ที่กำลังจะประกาศผลในเร็ววันนี้

อีกไม่กี่อึดใจ บรรดาหนอนหนังสือจะได้รู้ว่าใครคือนักเขียนซีไรต์คนล่าสุดของเมืองไทย

"แต่ก่อนหน้านั้น มาฟังนักเล่าเรื่องหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง ดีกรีแฟนพันธุ์แท้วรรณกรรมซีไรต์ บอกเล่าเส้นทางความฝัน และพูดถึงวงการวรรณกรรมอีกแง่มุมหนึ่ง"

ชีวิตวัยเด็กเป็นอย่างไร?

ชีวิตวัยเด็กผมได้พบเจอกับความหลากหลาย หลายครั้งย้อนแย้งแตกต่าง ถ้าขึ้นกรุงเทพฯ ไปอยู่บ้านน้า จะกินข้าวก็ต้องนั่งนิ่งๆ แบบคนในเมือง แต่ถ้าไปบ้านปู่บ้านย่าก็แบบลูกทุ่ง จะปีนต้นไม้ ยิงนกตกปลาได้ตามใจชอบ

พ่อของผมเป็นกวีและนักคิดท้องถิ่น เป็นคนรักเสียงเพลง ชอบช่วยเหลือสังคม แม่ก็เคยทำกิจกรรมนักศึกษาในสมัยที่ยังอวลกลิ่นอาย "เพื่อมวลชน" ครอบครัวและสังคมแบบนี้แหละเป็นเบ้าหลอมสำคัญ ทำให้ผมได้พบเจอกับประสบการณ์ที่มีสีสันหลากหลาย ทั้งความเป็นนักเลง ความเอื้ออารี และความเป็นศิลปิน

เริ่มอ่านหนังสือจริงจังเมื่อไหร่?

ช่วง ม.ปลาย สอบตกบ่อยๆ เพื่อนก็เริ่มชวนไปเล่นเกม แต่ผมไปบ้าง ไม่ไปบ้าง ชอบไปห้องสมุดมากกว่า เริ่มอ่านจากหนังสืออ่านนอกเวลา แต่ตอนนั้นยังอ่านแบบเอาเรื่อง ไม่ได้เข้าใจอะไรแตกฉาน อ่านเพื่อพักผ่อน หนังสือซีเรียสเล่มแรกที่อ่านเป็นวรรณกรรมซีไรต์เรื่องซอยเดียวกัน ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ อ่านแล้วประทับใจมาก
จากเรื่องแรก ก็เริ่มตามอ่านทุกเรื่อง จากอ่านทุกเรื่องก็กลายเป็นอ่านทุกเล่ม จนกระทั่งได้อ่าน คำพิพากษา ของชาติ กอบจิตติ ก็เริ่มรู้สึกว่าหนังสือพวกนี้ต้องมีอะไร ไม่ใช่หนังสือแบบที่เราเคยอ่านมา เพราะอ่านแล้วมันมีอะไรตกค้างในใจ

ครั้งแรกที่ได้เจอนักเขียนตัวจริง คือตอนที่ ลาว คำหอม กับ จำลอง ฝั่งชลจิตร มาบรรยายเรื่องการเขียนเรื่องสั้นที่โรงเรียน จำลอง ฝั่งชลจิตร เป็นคนแรกที่ทำให้รู้จักว่าเรื่องสั้นคืออะไร ส่วนบทกวี ครั้งหนึ่งครูพาไปเข้าค่ายที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา ที่เกาะยอ จ.สงขลา ได้เจอศิลปินแห่งชาติ พนม นันทพฤกษ์ ท่านก็อ่านบทกวีให้ฟัง ตอนนั้นเลยเริ่มแยกได้ว่ากลอนกับบทกวีต่างกัน เรื่องสั้นกับเรียงความต่างกัน ตั้งแต่นั้นก็ไม่ค่อยตั้งใจเรียนวิทย์แล้ว ไหนๆ ตกแล้ว ก็เลยโดดเรียนไปอ่านหนังสือ

แล้วเริ่มเขียนหนังสือได้อย่างไร?

พออ่านมาถึงจุดจุดหนึ่ง เริ่มรู้สึกทนไม่ไหว เพราะเรื่องแบบนี้เราก็มี นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เริ่มเขียนคลำทาง เขียนเก็บไว้เรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 17-18 ปี ยิ่งมีโอกาสได้เข้าค่ายวรรณกรรมด้วย เขียนแล้วได้รับคำวิจารณ์ ก็ยิ่งเขียน แต่ตอนนั้นถ้าเทียบกับเพื่อนๆ ในค่ายนี่ผมโคตรกระจอกเลย คนอื่นเขาเขียนเล่าเรื่องง่ายๆ แต่อ่านแล้วประทับใจมาก ผมก็อึ้ง เขาเขียนกันได้ยังไง ตอนนั้นผมยังเขียนเรื่องสั้นแบบขนบที่ต้องหักมุมจบอยู่เลย

พัฒนาตัวเองอย่างไร?

ตอนเข้ามหาวิทยาลัย ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เริ่มตะลุยอ่านหนังสือในหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ เพราะตอนอยู่ต่างจังหวัดไม่ได้เจอห้องสมุดดีๆ พอมาเจอที่นี่ก็ตื่นเต้น ปี 1 อ่านหนังสือฮาร์ดคอร์อย่างงาน ส.ศิวรักษ์, สุพจน์ ด่านตระกูล หรืองาน อ.ปรีดี พนมยงค์ รวมถึงอ่านวรรณกรรมหนักๆ อย่าง แมกซิม กอร์กี้ จะอ่านอะไรก็ต้องการเมืองหมด
รู้สึกอยากเปลี่ยนโลก อยากเป็นอะไรยิ่งใหญ่ เหมือนกับคนหนุ่มทั่วไป แต่พอตอนหลังเริ่มอ่านงานหลากหลายขึ้น อ่านงานพจนา จันทรสันติ ที่เป็นงานทางจิตวิญญาณ อ่านงานวิชาเกรียนของ อ.ธเนศ วงศ์ญานนาวา ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้น พูดง่ายๆ ก็เหมือน อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ตอนหนุ่มๆ ที่พออายุมากขึ้นก็เริ่มตกผลึก เริ่มเข้าใจว่าที่กูเคยคึกคะนอง บางทีไม่ใช่หนทาง แต่ไม่ได้ไม่สนใจเรื่องการเมือง แค่คิดกว้างขึ้นว่าเรื่องรอบตัวเรา จริงๆ แล้วเกี่ยวพันกับการเมืองได้หมด

ส่วนเรื่องการเขียนหนังสือ ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย มีเวลาว่างพอสมควร ก็ได้เขียนมากขึ้น ได้ศึกษากลวิธีมากขึ้น ตอนเรียนปี 1 เริ่มส่งงานไปตีพิมพ์ แต่ไม่ได้ลงสักที่ ก็กลับมาอ่านของคนที่เขียนแล้วได้ลง ศึกษาว่าเขาเขียนอย่างไร จนเห็นว่าบางครั้งเรายังใช้ภาษาไม่ดี ชั้นเชิงไม่ดี อีกอย่างได้เจอเพื่อนฝูงที่เขียนหนังสือ ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์กัน จนมีผลงานที่ได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการชิ้นแรกคือบทกวี "ร้านหนังสือเทพนิยายที่ชายแดน" ที่ได้รางวัลนายอินทร์ เรื่องสั้นก็มาทยอยตีพิมพ์หลังจากบทกวีได้รางวัล

งานได้ตีพิมพ์ครั้งแรกรู้สึกอย่างไร?

รู้สึกดีใจและภาคภูมิใจ เพราะเป็นจุดเปลี่ยนทางการเขียนของผม เมื่อก่อนเขียนงานสื่อทางการเมืองแบบตรงๆ ไม่มีชั้นเชิง แต่พอเริ่มเอากลวิธีอื่นๆ เข้ามา ลองใช้สัญลักษณ์ ซึ่งงานชิ้นนั้นเป็นการทดลองครั้งแรก พอส่งไปก็บังเอิญโชคดี คนชอบ แล้วได้รางวัลเลย แต่อีกด้านก็รู้สึกเกร็ง เพราะถ้าพูดกันจริงๆ ก็เพิ่งทำสำเร็จแค่ชิ้นเดียว ทีนี้พอจะเขียนชิ้นต่อไปต้องมีความพิถีพิถันมากขึ้น แต่ก่อนส่งงานไปแล้วก็คือจบ ไม่ได้คิดอะไร แต่ตอนนี้รู้สึกว่าดีพอหรือยัง ต้องทวนแล้วทวนอีก แล้วก็ต้องหาอะไที่แปลกใหม่มาเล่า

คุณสมบัติอะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งเป็นนักเขียนได้?

จริงๆ ทุกคนเป็นนักเขียนได้หมด เพียงแค่คุณลงมือเขียน ถ้างานเขียนคือเรื่องเล่า มนุษย์ทุกคนมีเรื่องเล่าเป็นของตัวเองทั้งนั้น แต่ถ้าจะเป็นนักเขียนที่เขียนแล้วงานมีพลัง ต้องมีการเล่าเรื่องที่ดี เล่าให้คนอ่านแล้วรู้สึกจริงๆ ผมเชื่อว่าวรรณกรรมมีพลัง และสามารถที่จะใช้เพื่ออะไรก็ได้ ไม่ใช่เพื่อชีวิตอย่างเดียว ใช้เพื่อศิลปะก็ได้ ชีวิตมนุษย์มันเป็นศิลปะอยู่แล้ว พลังของการเขียนก็เพื่อเข้าใจมนุษย์

ถามว่าผมเป็นนักล่าฝันหรือเปล่า แน่นอน มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมความฝัน อยากทำโน่นทำนี่ แต่เอาเข้าจริง ผมคิดว่าเราเพียงแต่ทำตามฝันเท่าที่เราทำได้ ทำไปเรื่อยๆ ตามธรรมชาติของเรา แต่ต้องตั้งใจทำ สมมุติอยากเป็นดาราฮอลลีวู้ด สุดท้ายไม่ได้เป็น ไม่ได้หมายความว่าล้มเหลว อย่างน้อยคุณก็ได้ลงมือทำแล้ว ความฝันไม่จำเป็นต้องล่า นายพรานไม่จำเป็นต้องล่าเหยื่อได้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นนายพรานใช่หรือเปล่า

ไปแข่งขันรายการแฟนพันธุ์แท้วรรณกรรมซีไรต์ได้อย่างไร?

เห็นเขาประกาศรับสมัครแฟนพันธุ์แท้ซีไรต์ ตอนแรกก็ไม่สนใจ เพราะวุ่นวายอยู่กับเรื่องเรียนให้จบ พอดีวันหนึ่งนั่งดูแฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่ รู้สึกว่าคำถามแบบนี้เราก็ตอบถูก ลองไปแข่งดูคงไม่เสียหาย

ตอนแข่งก็เน้นเล่าให้สนุกสนานเฮฮา เล่าโน่นเล่านี่จนดูเหมือนไอ้นี่เก่ง ดูเหมือนรู้ลึก แต่บางเรื่องที่พูดก็ไม่เกี่ยวกับซีไรต์ (หัวเราะ) จริงๆ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนเก่งหมด แต่โชคดีที่ผมรู้เกร็ดทางวรรณกรรมเยอะ เป็นความรู้ที่สะสมมาจากอ่านทั้งชีวิต ไม่ได้ตะพึดตะพืออ่านที่จะไปแข่งขันซีไรต์ เลยออกมาเป็นธรรมชาติ ลื่นไหล ตอนเด็กๆ ความรู้แน่นกว่า แต่ตอนนี้กล้าเสี่ยงมากกว่า กล้ากดไฟตอบ บางครั้งเกือบผิด แต่บังเอิญถูกก็มี ตอนชนะก็ดีใจ แต่ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่น จริงๆ คนเก่งกว่าเราก็มี แต่เขาอาจจะเกร็งเกินไป

ในฐานะแฟนพันธุ์แท้ซีไรต์ คาดผลการตัดสินปีนี้จะเป็นอย่างไร?

ขอไม่ฟันธง แต่จะคุยข้อมูลบางเล่มแล้วกัน เรื่อง เดียวดายใต้ฟ้าคลั่ง ของ แดนอรัญ แสงทอง ถ้าไม่ได้คงเพราะสไตล์แกคนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ชอบ แต่จริงๆ ถ้ามองในแง่เนื้อหาผมคิดว่าเล่มนี้ยังธรรมดา เขาเคยเขียนได้ดีกว่านี้ ส่วนเรื่อง ในรูปเงา ของ เงาจันทร์ เรื่องนี้ไม่ได้เน้นกลวิธีมาก แต่เด่นที่เอาชีวิตมาเล่า เรื่อง ลักษณ์อาลัย ของอุทิศ เหมะมูล ชั้นเชิงดี เนื้อหาก็โอเค ถ้าถามว่าผมเชียร์ใคร แน่นอน ผมเชียร์อุทิศอยู่ เพราะผมชอบงานสไตล์นี้ แต่จริงๆ ทุกเล่มก็มีความน่าสนใจของตัวเอง ขึ้นอยู่กับรสนิยมกรรมการว่าชอบแบบไหน

มองวรรณกรรมซีไรต์ในปัจจุบันอย่างไร?

ที่ผ่านมาผมคิดว่ามีบางเรื่องที่น่าจะได้ แต่อาจมีเนื้อหาล่อแหลม เลยถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่สร้างสรรค์ไป ถ้าเป็นไปได้วรรณกรรมซีไรต์ควรเป็นวรรณกรรมที่สร้างสรรค์ด้วย แล้วก็ระห่ำด้วย เพราะความระห่ำก็เป็นการสร้างสรรค์รูปแบบหนึ่ง ยิ่งรางวัลนี้มีข้อดีคือเป็นที่รู้จักมากที่สุด คนทั่วไปได้ข่าวก็อ่านกันเยอะ แต่ปัญหากลับกลายเป็นว่าอ่านเฉพาะซีไรต์ ไม่ได้อ่านเล่มอื่น จริงๆ ควรจะได้อ่านเล่มอื่น หรือวิพากษ์วิจารณ์เล่มอื่นๆ ด้วย ทั้งที่ส่งซีไรต์และไม่ส่งซีไรต์ แวดวงวรรณกรรมจะได้มีชีวิตชีวากว่านี้

แล้ววงการวรรณกรรม?

วรรณกรรมยุคนี้พิกลพิการ จะก้าวไปข้างหน้าก็ไปไม่ถึง จะถอยหลังก็ถอยไปไม่เป็น ยุคศรีบูรพา งานเขียนเป็นงานเชิงเทศนาสั่งสอนก็จริง แต่การบอกเล่าเรื่องทำให้เราร้อง โห ได้ตลอด ยุคนี้ชั้นเชิงดี แต่อ่านแล้วพอหมดเทคนิค ไม่มีความรู้สึกอะไรตกค้าง ความโดนมันหายไป ถ้าจะทำให้วรรณกรรมก้าวไปข้างหน้า ต้องทำให้มันกลมกล่อม มีโวหารเฉียบ ความคิดเฉียบ การเล่าเรื่องเฉียบ และนักเขียนต้องมีความรู้ด้วย ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ความรู้สึกอย่างเดียว ดูนักเขียนเมืองนอก เห็นเขาเขียนเรื่องกวนตีนๆ แต่จริงๆ เบื้องหลังความรู้แน่น ตรงนี้นักเขียนต้องกลับมาทบทวนด้วยว่าทำไมคนถึงไม่อ่าน อย่าไปโทษนักอ่านฝ่ายเดียว

วางอนาคตการเขียนหนังสือไว้อย่างไร?

อนาคตเป็นสิ่งที่วางไว้ไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องก้าวเข้าไปค้นหาตลอดเวลา ก่อนหน้านี้เคยคิดว่าเรียนจบแล้วจะกลับบ้าน ไปอยู่ริมแม่น้ำเขียนหนังสือเหมือนกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ แต่พอกลับไปอยู่ได้สักพัก ก็รู้ว่ายังไม่ใช่จังหวะของชีวิต ผมยังหลงใหลในแสงสี ตอนกลับไปอยู่บ้าน ผมนิ่งจริง เขียนหนังสือได้เยอะจริง แต่ในมุมหนึ่งก็ยังรู้สึกอยากดูหนังอาร์ต อยากพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูง ตอนนี้กำลังพยายามทำให้ลงตัว แต่หลักสำคัญ

"ผมคิดว่าในชีวิตหนุ่มของผม ผมจะต้องเขียนหนังสือควบคู่ไปกับการใช้ชีวิต"
ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
มติชนสุขสรรค์
คุณชัชชล อัจนากิตติ
สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ




 

Create Date : 10 กันยายน 2555
0 comments
Last Update : 10 กันยายน 2555 12:00:47 น.
Counter : 4480 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.