"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
4 คนดังถึง “ชายผู้หาวเป็นลายกนก ฝันเป็นโคลงสี่สุภาพ” อังคาร กัลยาณพงศ์

 

 

 

       ART EYE VIEW---ตลอดชีวิตของการเป็น “จิตรกวี” ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ เจ้าของรางวัลกวีนิพนธ์ดีเด่นคนแรกของ มูลนิธิเสฐียรโกเศศนาคะประทีป ปี 2515 , รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือ ซีไรต์ (S.E.A. Write ) ปี 2529 จากผลงานกวีรวมเล่มชื่อ ปณิธานกวี และ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์)ปี 2532
       
       มีอิทธิพลและเป็นแรงบันดาลใจให้บุคคลที่มีชื่อเสียงหลากหลายวงการ

แต่ละท่านชื่นชอบและชื่นชม กวีบทไหน ภาพเขียนชิ้นใด หรือตัวตนของอังคาร ในเรื่องใดบ้าง ไปรับรู้รับทราบนับแต่บรรทัดถัดไป
       


       

       มีวาจาเป็นอาวุธ มีความบริสุทธิ์จริงใจเป็นปราการ
       
       เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เจ้าของรางวัลซีไรต์ ปี 2523 จากรวมบทกวี “เพียงความเคลื่อนไหว” และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ปี 2536 เทใจให้กวีของอังคารบทนี้
        
       
       อนิจจา น่าเสียดาย
       ฉันทำชีวิตหายไปครึ่งหนึ่ง
       ส่วนที่หายนั้นลึกซึ้ง
       มีน้ำผึ้งบุหงาลดามาลย์
       
       “เหตุผลที่ชอบเพราะกระทบใจ มีความเป็นสากล คนที่เอาเรื่องส่วนตัวมาทำให้เป็นเรื่องสากลได้ ถือว่ามีทิพยธาตุของจิตใจ  ใครๆ อาจจะชอบกวีบทอื่นๆ หลายๆ บท เช่น ...เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาใดในหล้า... แต่ผมยังเฉยๆ ชอบบทนี้มากกว่า”
        
        เนาวรัตน์รู้จักผลงงานกวีของอังคารครั้งแรกเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
        
        “ตั้งชุมนุมวรรณศิลป์ที่ธรรมศาสตร์ แล้วก็มีคนวิจารณ์งานของท่านอังคารว่า เป็นงานที่นอกคอก นอกครู แตกขนบ ไม่มีฉันทลักษณ์ จากนั้นผมก็ให้สุจิต (วงษ์เทศ) กับ ขรรค์ชัย (บุญปาน) ซึ่งตอนนั้นเป็นนักศึกษาคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร พาไปพบท่านที่หลังวัดดีดวด ท่านเช่าบ้านอยู่ที่นั่น นั่งคุยกันเป็นวันเลย
        
         ท่านเอางานเก่าๆ มาให้ดู ท่านถนัดการเขียนโคลงบวกฉันทลักษณ์ ท่านมีพื้นฐานทางฉันทลักษณ์ ทางแบบแผนแน่น จนกระทั่งมาเป็นตัวของตัวเองได้ ท่านไม่จำเป็นต้องเดินตาม เพราะท่านมีรูปแบบของท่านเอง”
         
        นั่นคือรูปแบบของงาน “จิตรกรกวี”
        
        “ท่านอังคารถือเป็นสกุลช่าง เป็นต้นแบบของงานทางด้านจิตรกรกวี ยากจะหาใครทำได้อย่างท่าน ฉะนั้นถ้าอยากจะเข้าใจงานของท่าน ต้องอ่านลายมือ แล้วก็ดูรูปเขียนของท่านไปด้วย ถึงจะเข้าใจ
        
         ลายมือของท่านที่เป็นบทกวี เป็นงานจิตรกรรมประดับบ้านได้เลย ตัวอักษรของท่านอังคาร มีเหลี่ยมคมในคำ แม้ในความหมายของถ้อยคำก็เป็นคำคม ..บุหงาลดามาลย์ ...ฉมังขลัง ...หรือ... ทิพย์แก้วอาถรรพ์จักรวาล...อะไรอย่างนี้ มีเหลี่ยมคมของถ้อยคำ 
        
         นอกจากนั้นยังมีเหลี่ยมคมของความคิด เพราะความคิดของท่านอังคารยืนอยู่บนพื้นฐานของพุทธศิลป์ มีขนบและมีคติโบราณอยู่ในนั้น ซึ่งท่านเอามาใช้ทำงานของท่าน แล้วก็เอามาใช้ในการวิพากษ์สถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างแหลมคมด้วย แล้วก็สะใจด้วยว่างั้นเถอะ
       
       ผมถือว่า ท่านอังคารมีวาจาเป็นอาวุธ และมีความบริสุทธิ์และจริงใจเป็นปราการ เราฟังท่านอังคารด่าเรา เรารู้สึกว่าเราไม่ได้โกรธเลย กลับเห็นด้วย ไม่ว่าจะด่าใคร เพราะท่านด่าด้วยความสุจริตจริงใจ ตรงนี้เป็นเสน่ห์อันหนึ่งของท่านอังคาร ท่านมีความบริสุทธิ์ จริงใจ เหมือนกับจะไร้เดียงสา แต่ว่ามีคุณค่ามากตรงนี้ มันเป็นเหมือนปราการของท่าน นี่คือเสน่ห์ในงานของท่านอังคาร”

       คือบทกวีและภาพวาดที่ปาดออกมาจากหัวใจ
       
       กล่าวถึงคนที่ชื่นชอบและชื่นชมในงานของอังคาร จะละเลยเลยไม่ถามไถ่ วสันต์ สิทธิ์เขตต์ ศิลปินและนักเคลื่อนไหว ผู้นี้ไม่ได้ ด้วยเหตุว่ามีความผูกพันกับผลงานของอังคารมาตั้งแต่วัยหนุ่ม และยังเคยมีโอกาสวิพากษ์วิจารณ์ผลงานด้วย
       
       “ผมได้อ่านบทกวีของท่านอังคารมาตั้งแต่สมัยอายุ 15-16 ปี เพราะว่าพี่ชายของผมชอบบทกวีของท่านอังคารอยู่แล้ว แต่ไม่คิดว่าชีวิตนี้ของผมจะได้มาเจอท่านอังคาร ต้องกราบคารวะเลย แล้วผมก็เริ่มเขียนบทกวี ตั้งแต่นั้นมา ได้มีโอกาสได้เจอท่าน และได้อ่านงานของท่าน ซึ่งคิดว่าเกือบทั้งหมด
       
       บทกวีทุกบทก็ถือว่าเป็นบทกวีที่เปี่ยมไปด้วยพลังของถ้อยคำ ยากที่จะหาใครมาเทียบได้ เพราะว่าท่านมีพลังในการจินตนาการสูงมาก พูดถึงจักรวาล พูดถึงความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นเศษเสี้ยวของจักรวาล
       
       มาเจอท่านครั้งแรกตอนท่านให้สัมภาษณ์และท่านก็เคยด่าผมครับว่า ไอ้วสันต์มันเป็นตัวเหี้ยยังไง ...เพราะผมเคยวิจารณ์งานของท่านอังคาร ตอนที่ไปสัมมนา กับอาจารย์เจตนา (นาควัชระ) ว่าด้วยเรื่องอัจฉริยะในกวีของท่านอังคาร แล้วผมก็ได้มีโอกาสได้ไปร่วมและได้วิจารณ์เรื่องการใช้ถ้อยคำซ้ำ หลังจากที่ผมได้วิจารณ์ไปแล้ว ภายหลังผมก็ได้ถอนคำพูด เพราะเห็นว่าเราได้ผิดพลาดไป เพราะงานท่านอังคารมันต้องมองทั้งหมด”
       
       แต่ผลงานที่วสันต์ชื่นชอบที่สุดคือ หนังสือรวมความเรียงชื่อ “หยาดน้ำค้างคือน้ำตาของเวลา”
       
       “ ไพเราะมาก แต่บางทีถ้อยคำของท่านแปลเป็นภาษาอังกฤษมันยาก ถ้าแปลได้ ผมว่าท่านเทียบเท่ากวีใหญ่ๆของโลกนี้ได้เลยครับ และส่วนหนึ่งที่ประทับใจเพราะช่วงหลังผมอ่านความเรียงของท่านด้วย แต่ว่าจริงๆ แล้วบทกวีก็ประทับใจอยู่แล้ว”
       
       อาทิ โคลงชื่อ “โลกเดียวกัน”
       
       โลกนี้มิอยู่ด้วย ..............มณี เดียวนา
       ทรายและสิ่งอื่นมี ...........ส่วนสร้าง
       ปวงธาตุต่ำกลางดี .........ดุลยภาพ
       ภาคจักรพาลมิร้าง .........เพราะน้ำแรงไหน ฯ
       
       “ท่านอังคารมีอิทธิพลต่อการเขียนบทกวีของผมตั้งแต่ช่วงต้นเลย แต่บทกวีของท่านอังคาร เป็นบทกวีที่รุ่มรวย รุ่มร้อนทางอารมณ์เต็มที่ งานของท่าน คลาสสิกโบราณ บวกสมัยใหม่ ผมว่าท่านได้ก้าวข้ามอดีต มาอยู่ในยุคสมัยปัจจุบัน เป็นโพสต์โมเดิร์นได้”
       
       ขณะที่ภาพวาดซึ่งปาดออกมาจากหัวใจของอังคาร ก็เป็นที่ประทับใจของวสันต์อยู่ไม่น้อย
       
       “งานของท่านอังคารเป็นการใช้เกรยองได้อย่างอิสระที่สุดและรวดเร็ว จะปาดเป็นดอกไม้, กนก หรือจะเขียนรูปคน สามารถเขียนอย่างเป็นอิสระ เหนือความเป็นเกรยอง งานมันมีความหมาย เปี่ยมพลังความรู้สึก ซึ่งไม่มีใครเหมือน ไม่มีใครทำได้อีกแล้ว
       
       บางทีเหมือนท่านไม่ได้ใช้เกรยอง แต่เป็นการใช้นิ้วที่ปาดออกมาจากหัวใจ เวลามองงานของท่าน มันทำให้เราได้ปลดปล่อย และพลิ้วไปตามน้ำหนักมือที่ไหลออกไป ผมว่าสิ่งนี้มันพิเศษมาก”
       
       แต่ก็ใช่ว่าผลงานของอังคารจะหามาครอบครองได้ง่าย เพราะอยู่นอกเหนือการควบคุมของระบบการค้างานศิลป์
       
       “จนคนต้องมาซื้อจากตัวอักษรที่เป็นลายมือของท่าน ซึ่งเขียนได้ธรรมชาติ ไม่ใช่บรรจงแบบคัดไทย ผมว่าท่านอังคารมีความรักในภาษาไทย รักวัฒนธรรมไทยอย่างลึกซึ้ง แล้วก็เข้าไปถึงอดีต พอไปเห็นซากปรักหังพังก็ร้องไห้ โกรธแค้นพม่า (หัวเราะ) จมดิ่งไปเลย ผมว่าในสิ่งนี้มันเป็นอารมณ์กวี เป็นอารมณ์ศิลปินซึ่งยากที่ใครจะมีได้ และท่านอังคารก็เป็นอย่างนั้นครับ”

              ท่านยังอยู่!?
       
       ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ราษฎรอาวุโส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์,อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบิดาแห่งวงการกล้วยไม้ไทย เปิดใจว่า ชอบผลงานของอังคารทุกชิ้น
        
       “ผมมองกว้าง และต้องมองที่พื้นฐานเลยครับ ท่านเป็นคนมีความจริงใจ และมีความมุ่งมั่นชัดเจนมาก และก่อนที่ท่านจะสิ้นเนี่ย ไม่กี่วันหรอก ผมเจอท่านนะครับ นั่งรถเข็นอยู่ที่สยามพารากอน ผมยังวิ่งไปตัดหน้าท่านเลย แล้วท่านก็โผเข้ามากอดผม
       
       วันนั้นผมไปเดินดูอะไรนิดหน่อย แล้วพอดี คุณศักดิ์ชัย กาย (บรรณาธิการนิตยสาร LIPS) เขาถามว่า คุณพ่อรู้จักท่านอังคารหรือเปล่า ผมบอก รู้จักสิ ไหนล่ะ เขาบอก โน่นไงนั่งรถเข็น ผมเลยวิ่งไปดักหน้า แล้วท่านก็โผเข้ามากอดผมนะฮะ
       
       ท่านชี้บอกผมว่า รากฐานความเป็นไทยหายไปไหนหมด แล้วท่านก็ถามผมว่าร้องเพลงได้ไหม ผมบอกว่าได้ ผมก็ร้องเพลงท่านก็ร้องเพลง รู้สึกผมจะร้องเพลงบัวขาว
       
       ท่านนับถือผมมาก หลายปีตั้งแต่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งใหม่ๆ พิธีพระราชทานปริญญาครั้งแรก ท่านไป ผมก็ไป พวกบัณฑิตที่เขาจบใหม่ เข้ามาล้อมหน้าล้อมหลังผม ท่านก็กัน บอกไม่ได้นะ อย่าไปกวนท่านเลย แต่ผมสงสารเด็ก ไม่เป็นไรหรอก โอกาสหน้ามาคุยกันได้
       
       ท่านเคยยกผลงานให้ผมมาเป็นปึ๊งๆ ลายเส้นที่ท่านเขียนนี่ ดูปั๊บ ไม่เหมือนใครเลย เห็นปั๊บ ทราบเลยแหล่ะ ลองไปดูตราของสถาบันอาศรมศิลป์สิ ผมเห็นปั๊บไม่ต้องถามใครเลยว่า ใครทำ
       
       วันนั้นผมไปรดน้ำศพ จับแขนท่านยกขึ้นมาแล้วค่อยๆ รินน้ำที่แขน ทำไมต้องทำอย่างนั้น เพราะความรัก เวลาเห็นตัวอักษร เห็นบทกวี เห็นภาพจิตรกรรม หรือเห็นหน้าและอย่าว่าแต่เห็นหน้าเลย ถึงไม่เห็นผมก็นึกถึงท่าน
       
       ถ้าถามว่าท่านยังมีอิทธิพลแก่ผมในแง่ไหนบ้าง ผมจะตอบสั้นๆไม่รู้จะเข้าใจหรือเปล่า...ท่านยังอยู่”
       
       ขณะที่ผู้ฟังรอให้ขยายความมากกว่านี้ แค่ชั่วอึดใจ ก็ได้ยินประโยคคำถามและคำตอบติดตามมาว่า
       
       “เข้าใจไหม? สั้นนิดเดียว ก็ท่านยังอยู่ในหัวใจผมน่ะสิ”

       ท่านอังคารเป็นแรงบันดาลใจให้อาตมาเขียนบทกวี
       
       “ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นกวีที่เป็นแรงบันดาลใจให้อาตมา อยู่สองเรื่อง คือ หนึ่ง ท่านเป็นแรงบันดาลใจให้อาตมา ฝึกอ่าน ฝึกเขียนและ ลุกขึ้นมาเขียนบทกวีตั้งแต่แรกจนทุกวันนี้
       
       และสองในแง่ส่วนตัว ท่านก็เมตตาอาตมามาก เวลาท่านอ่านกวีเสร็จ เมื่อลงจากเวที ท่านมักจะส่งบทกวีที่ท่านอ่าน มาใส่มือให้อาตมาอยู่หลายครั้ง และท่านพูดว่า คนอื่นเขาไม่รู้หรอกว่า กวีมันมีค่าแค่ไหน ผมเอาฝากท่านไว้ดีกว่า ฉะนั้นอาตมาถือว่า เป็นหนี้บุญคุณท่านอังคารในสองเรื่อง" พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) กล่าว
       
       "แล้วขอเล่าความหลังนิดนึง มีอยู่วันหนึ่งอาตมา ไปเจอกวีนิพนธ์ของท่านอังคาร ในห้องสอบ โดยที่อาตมาก็ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของกวีนิพนธ์บทนี้ อาตมาจึงคัดลอกบทกวีนี้ใส่ฝ่ามือออกมาจากห้องสอบ เพราะว่าธรรมเนียมของห้องสอบห้ามเอาทุกสิ่งทุกอย่างออกมา อาตมาก็เอากวีนิพนธ์บทนั้นออกมา เพราะว่าถูกอกถูกใจอาตมามากนะ ให้ลูกศิษย์ไปตามหาว่าใครเป็นคนเขียน สุดท้ายก็ไปตามหาได้ในร้านหนังสือร้านหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านหนังสือเก่า
       
       จึงได้รู้ว่ากวีบทนั้น อยู่ในหนังสือชื่อ กวีนิพนธ์ ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ ผลงานบทกวีเล่มแรกของท่าน เป็นบทกวีที่ไพเราะเพราะพริ้งที่สุดเลย ทุกวันนี้ยังไม่มีกวีไทยคนไหนทำลายความอลังการของกวีนิพนธ์บทนี้ได้"
       
        ซึ่งเป็นโคลงบทเดียวกันกับที่ วสันต์ สิทธิเขตต์ ชื่นชอบ นั่นคือ “โลกเดียวกัน” แต่ท่าน ว.วชิรเมธี ชอบตรงท่อนที่ว่า
       
       
ภพนี้มิใช่หล้า ................หงส์ทอง เดียวเอย
       กาก็เจ้าของครอง ...........ชีพด้วย
       เมาสมมุติจองหอง ..........หินชาติ
       
น้ำมิตรแล้งโลกม้วย ........หมดสิ้นสุขศานต์ฯ
       
       “เพราะโคลงบทนี้ที่ทำให้อาตมาภาพ อยากเขียนกวีนิพนธ์ และก็ฝึกเขียน จนกระทั่งตอนนี้มีกวีนิพนธ์เป็นของตัวเอง 3 เล่มแล้ว (กวีกาพย์ วาดกวี,ห่มฟ้าดินหอม และจักรวาลในถ้วยชา)
       
       แล้วตอนเป็นพระหนุ่มตอนมาอยู่กรุงเทพใหม่ๆ ด้วยความคลั่งไคล้ท่านอังคารและท่านเนาวรัตน์ อีกคนนึงมาก อาตมาถึงกับเอารูปท่านอังคาร และท่านเนาวรัตน์ ซึ่งอ่านเจอในนิตยสารกุลสตรีมาใส่กรอบแล้วก็ตั้งไว้ในห้อง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เพราะฉะนั้นท่านไม่ธรรมดานะ
       
       สำหรับอาตมา ท่านเป็นกวีที่มีความเป็นกวี ทุกกระเบียดนิ้ว ทั้งวิถีชีวิต จิตวิญญาณ และงานที่ทำ เป็นท่วงทำนองของกวีทั้งหมดทั้งสิ้น และในทัศนะของอาตมา ท่านเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของไทย”
       
       
และที่ผ่านมา พระมหาวุฒิชัย ยังนำบทกวีของอังคารไปสอดแทรกในการสอนธรรมะอยู่บ่อยครั้ง
       
       “มีอยู่บทหนึ่งที่อาตมาใช้อยู่ประจำ เป็นบทที่สอนเรื่องคุณค่าของเวลา”
       
       น้ำไหลอายุขัยก็ไหลล่วง
       ใบไม้ร่วงชีพก็ร้างอย่างความฝัน
       ฆ่าชีวาคือพร่าค่าคืนวัน
       จะกำนัลโลกนี้มีงานใด
       
       และหลังจากการจากไปของอังคาร ผู้เคยบอกว่า “ผมหาวเป็นลายกนก และ ฝันเป็นโคลงสี่สุภาพ” พระมหาวุฒิชัย ได้เขียนบทกวีเพื่อเป็นการไว้อาลัยว่า
       
       “อังคาร” เป็นถ่านเถ้า ธุลีดิน
       “กัลยาณพงศ์” บิน บ่ายฟ้า
       เอกอัครศิลปิน ปราชญ์โลก
       กายจากหากงานท้า เทพทั้งนาครถวิล
       
       สิ้นอังคารไม่สิ้นศรีกวีแก้ว
       ยังเจื่อยแจ้วจำเรียงอยู่ไม่รู้หาย
       ทั้งกาพย์กลอนโคลงฉันท์พรรณราย
       อมรรตายตราบดินฟ้าล่มหล้าลง
       
       “สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา”
       พระพุทธาย้ำเตือนอย่าเลือนหลง
       สรรพสิ่งสังขาร์ว่าหยัดยง
       วันหนึ่งคงร่วงรุ้งฟุ้งกระจาย
       
       “สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา”
       พระพุทธาเน้นหนักจำหลักหมาย
       ประดาสิ่งผสมอย่างมงาย
       ว่าไม่ตายไม่ภินท์พังอย่าหวังเลย
       
       “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา”
       พระพุทธาสอนสั่งอย่าฟังเฉย
       สรรพสิ่งสากลไม่ทนเอย
       ที่สุดเผย “แก่นกลวง” ทะลวงตา
       
       อังคารลับลาโลกอย่าโศกเศร้า
       กวีเก่ามิเคยแก่ลองแลหา
       หากคิดถึงท่านอังคารผ่านเวลา
       จงเหลือบตาเริงรสบทกวี.

        
       
       

 

 

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 29 สิงหาคม 2555
Last Update : 29 สิงหาคม 2555 11:26:11 น. 0 comments
Counter : 3954 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.