บางครั้งโลกแห่งความจริงไม่สวยงาม...เฉกเช่นความฝัน แต่รู้สึกและจับต้องได้
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Life&Family(80)...แม่-ลูก'คุยเชิงบวกลดปมเสี่ยงทางเพศ






การสื่อสารแนว "บวก" มีผลสัมฤทธิ์สูงหากนำมาใช้ชี้นำและสั่งสอนโดยเฉพาะหากนำมาใช้ในความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ ซึ่งยังเป็นปัญหาหลักของการสื่อสารเนื่องจากวัฒนธรรมไทยมักหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องเพศ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไม่สุภาพ จนก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเพศในกลุ่มวัยรุ่น ทั้งการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกปมเสี่ยงสิ่งเร้ารอบตัว

ผศ.ดร.อาภาพร เผ่าวัฒนา ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการวิจัยเรื่อง"โปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของหญิงไทยวัยต้นที่อาศัยในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร"

นักวิจัยหญิง กล่าวว่า สังคมมักจะตีตราเยาวชนในสลัมว่ามีปัญหาเรื่องเพศมากกว่าเด็กทั่วไป แต่ความจริงโอกาสเกิดปัญหามีเท่ากันขึ้นอยู่กับการเข้าถึงสื่อและภูมิคุ้มกันของเด็กมากกว่า แต่ที่ต้องแสวงหาแนวทางในการป้องกันพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิงในชุมชนแออัด เพราะเป็นพื้นที่ที่ผู้ปกครองและวัยรุ่นใช้เวลาร่วมกันน้อยมาก พ่อแม่ของเด็กเหล่านี้ต้องทำงานในช่วงที่เด็กๆเลิกเรียน เช่น งานขายของในตลาดนัดขายพวงมาลัย ขี่รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างฯลฯ กว่าจะกลับถึงบ้านเด็กๆ ก็หลับไปแล้ว ส่วนในตอนเช้าเมื่อเด็กจะไปโรงเรียน พ่อแม่ก็ยังไม่ตื่นนอน


เมื่อมีเวลาอยู่ร่วมกันน้อย จึงขาดเวลาให้ การอบรมสั่งสอนก็เป็นไปได้ยาก เด็กๆ เหล่านี้จึงกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อสิ่งเร้าทุกประเภท โดยเฉพาะธรรมชาติของมนุษย์ในช่วงวัยรุ่นจะอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง จนนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องเพศแบบผิดๆที่มาจากเพื่อนและสื่ออนาจาร ส่งผลให้เกิดการแสดงออกของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

มองเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย

อุปสรรคในการสอนลูกผศ.ดร.อาภาพรเริ่มต้นการทำงานโดยเข้าไปในชุมชนแออัดย่านบางซื่อ เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่รวมปัจจัยทางด้านความแตกต่างในการเลี้ยงดู การสื่อสารเรื่องเพศอำนาจต่อรองในสัมพันธภาพ การนึกคิดและความสามารถแห่งตนด้านเพศ เพื่อหารูปแบบที่ถูกต้องมาพัฒนาเป็น"โปรแกรมการเลี้ยงดูและสื่อสารเรื่องเพศของแม่และลูกสาว"

จากข้อมูลที่ได้รับพบว่า บริบทที่แตกต่างกันของชุมชนไม่ได้มีผลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น แต่ปัญหามาจากการปล่อยปละละเลยและขาดการสื่อสารระหว่างแม่กับลูก ในขณะที่วัยรุ่นตอนต้นจะมีแรงขับเคลื่อนทางเพศ (sexual driver) เมื่อสภาพแวดล้อมเปิดจึงทำให้อยากจะลอง บางทีก็ถูกยั่วยุจากสื่อ ซึ่งสื่อที่มีผลมากที่สุดคืออินเตอร์เน็ตและวีซีดี ซึ่งจะมีเหมือนกันทุกบ้าน วัยรุ่นรวมตัวกันดูหนังโป๊ที่มีอยู่ในบ้านได้ ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีแฟนถึงร้อยละ 91.1 มากกว่าครึ่งหนึ่งมีกิจกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ เริ่มตั้งแต่ไปไหนด้วยกันสองต่อสอง เกาะกุมมือกัน นั่งใกล้ชิดกัน ส่งผลให้เด็กมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 28.4 และอายุเฉลี่ยที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 15.8 ปี (อายุต่ำสุดคือ 13 ปี) ซึ่งมีผู้ไม่ใช้ถุงยางอนามัยร้อยละ 17.8


ปัญหาขาดความสัมพันธ์กันในรูปแบบบวก ก่อให้เกิดเป็นคอขวด พ่อแม่ไม่รู้จะเริ่มสอนลูกอย่างไร ทั้งๆ ที่ลูกวัยรุ่นจะต้องการเรียนรู้ทางเพศมาก แต่ขาดข้อมูลชี้แนะไปในทางที่ถูกต้อง อุปสรรคสำคัญคือความรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย ไม่ควรพูดคุยกันอย่างเปิดเผย ไม่รู้จะเริ่มต้นพูดคุยเรื่องเพศกับลูกอย่างไร และลำบากใจที่จะพูดคุยเรื่องเพศ โดยหลีกเลี่ยงที่จะคุยในเรื่องการปฏิบัติเมื่อมีความต้องการทางเพศและการคบเพื่อนต่างเพศ

แนะต้องเริ่มต้นที่แม่พูดคุยเชิงบวกกับลูก"เราจึงมีแนวคิดว่าต้องเริ่มต้นที่แม่ เพราะที่ผ่านมามีการศึกษาชัดเจนว่าเด็กผู้หญิงในช่วงวัยรุ่นตอนต้นจะไว้ใจแม่ เรียนรู้ว่าแม่เป็นแบบอย่างโดยเฉพาะพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น คุยอย่างไร ทำตัวอย่างไร หากแม่และลูกสามารถสื่อสารกันในเรื่องเพศได้ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างดีที่สุด" อาจารย์อาภาพรกล่าวและว่า จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา คือเพิ่มความสัมพันธ์กันในครอบครัว ก่อนที่จะสื่อสารใดๆระหว่างกัน งานวิจัยจึงได้พัฒนา "สาร"

ที่ถูกต้อง เพื่อเป็นเครื่องมือ"สื่อ"กับลูก สร้างกิจกรรมจากเรื่องที่เด็กเจอแล้วสอนให้เรียนรู้จากหนังสือพิมพ์ ข่าว ละคร เพื่อนบ้าน และสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน เริ่มจากถามความคิดเห็นกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วชี้แนะสั่งสอนให้ไปในทางที่ถูกต้องที่สำคัญคือต้องเน้นให้แม่พูดกับลูกในเชิงบวก ใช้ภาษาที่แสดงความรู้สึกให้อยู่บนพื้นฐานความเป็นเพื่อน สอดแทรกความรู้เรื่องเพศที่โครงการนำเสนอ เช่น เรื่องการใช้ถุงยางอนามัย ไม่ใช่เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว แต่เน้นความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากขึ้น

พัฒนาการสื่อสาร'แม่-ลูก'

สร้างเกราะ-ภูมิต้านทานผศ.ดร.อาภาพร กล่าวถึงผลงานจากการทดลองใช้โปรแกรมการสอนลูกแบบเชิงบวกว่าได้รับการยอมรับจากแม่ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นอย่างดี สังเกตได้จากยอมสละเวลาที่จะทำกิจกรรมกับโครงการมากขึ้น หลังจากทดลองใช้ระยะหนึ่ง พบว่าแม่และลูกที่เข้าร่วมโครงการมีความสัมพันธ์กันดีขึ้นถึง 9 ใน 10

"แม่เป็นสื่อบุคคลที่ดีที่สุด การพัฒนาการสื่อสารจะเป็นเกราะกำบังให้วัยรุ่นมีภูมิต้านทานในตนเอง เมื่อเจอสังคมที่เปิดโอกาสเสี่ยง จะเลือกกำหนดพฤติกรรมตัวเองได้"อาจารย์อาภาพรกล่าว

นอกจากโปรแกรมการสอนลูก ผศ.ดร.อาภาพร ยังจัดทำคู่มือเพื่อพัฒนาทักษะของมารดาในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรสาวโดยใช้การนำตัวอย่างคำพูด หรือคำถามที่ต้องใช้ และวิธีการปฏิบัติต่อบุตรสาว นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการเรียนการสอนในวิชาการส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับเด็กและวัยรุ่นและวิชาการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขมหา วิทยาลัยมหิดล โดยหวังว่านักศึกษาจะนำโปรแกรมการสอนลูกนี้ไปใช้กับงานอนามัยในพื้นที่หลังจบการศึกษาต่อไป

^_^

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด




Create Date : 14 มกราคม 2554
Last Update : 14 มกราคม 2554 19:16:26 น. 0 comments
Counter : 538 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

atruthoflife10
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




กลับคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยสุขภาพที่ดีกว่า

ไตรลักษณ์
เกิดขึ้น 26 พ.ย.2553

ดับไป....???

Friends' blogs
[Add atruthoflife10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.