บางครั้งโลกแห่งความจริงไม่สวยงาม...เฉกเช่นความฝัน แต่รู้สึกและจับต้องได้
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Life&Family(64)...เผยกลยุทธ์มัดใจลูก "วัยพรีทีน" ให้อยู่หมัด






จู่ๆ ลูกในอ้อมกอดที่เคยว่านอนสอนง่าย ก็เริ่มมีพฤติกรรมตีตัวออกห่าง ติดเพื่อน ติดเน็ท ตามเพื่อน ตามกระแส หรืออะไรนิดอะไรหน่อยก็น้อยใจง่าย โกรธง่าย ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมเริ่มต้นในลูกวัยพรีทีน หรือลูกที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้น (10-13 ปี) ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ

โดย นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก และวัยรุ่น วิทยาลัยแพทศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล บอกกล่าวว่า พ่อแม่ต้องขีดเส้นใต้คำว่าตั้งรับ และเตรียมพร้อมให้ดี เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนของลูกกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลง หากพ่อแม่ไม่เปิดใจ และทำความเข้าใจ จะมีผลต่อการเติบโตเป็นวัยรุ่นเต็มตัวของลูกในระยะอันใกล้นี้


"ลูกวัยพรีทีน หรือวัยรุ่นตอนต้นมักมีอารมณ์แปรปรวนง่าย หากพ่อแม่ยิ่งไปกระตุ้นในช่วงที่ผีกำลังเข้า ทีนี้แหละ โอกาสบ้านแตกจะเกิดได้สูง เป็นส่วนที่ผลักเด็กให้ออกห่างจากพ่อแม่มากขึ้น เพราะเข้าบ้านแล้วไม่อบอุ่น เข้าบ้านแล้วไม่มีความสุข พอเด็กเริ่มโตเป็นวัยรุ่นเต็มตัว เด็กจะรู้สึกว่า เขาไม่ต้องเข้าบ้านก็ได้ เพราะมีที่ไปของเขาเอง แต่การไปนั้น ถ้ามีที่ดีก็ดีไป แต่จะมีสักกี่คนที่โชคดีเจอสิ่งแวดล้อมดีๆ มันมีโอกาสน้อยมาก"

ดังนั้น พ่อแม่ของลูกวัยพรีทีน ต้องพยายามเปิดใจ และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของลูก ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ให้เด็กรู้สึกว่า พ่อแม่เป็นพวกเดียวกับเขา เนื่องจากเด็กช่วงนี้จะเชื่อถือ และปฏิบัติตามคนที่เขาเชื่อใจ ซึ่งพ่อแม่ควรเปิดใจรับฟังความคิดของลูกด้วย

"พ่อแม่บางคนไม่รับฟังลูกเลย สิ่งนั้นไม่ชอบก็บอกลูกให้เลิกทำ หรือสิ่งไหนไม่ควรทำ ก็สั่งให้ลูกทำแบบนั้นแบบนี้ เพราะฉันไม่ชอบให้แกทำแบบนี้ แต่ไม่เคยถามลูกเลยว่า แบบนี้มันเป็นอย่างไร หนูคิดอย่างไร หรือถ้ามันเป็นอย่างนี้ ควรจะทำอย่างไร ซึ่งพ่อแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้พูดบ้าง เวลาลูกพูดไม่ดี คนเป็นพ่อแม่ต้องอดทน โดยเฉพาะช่วงพรีทีน พ่อแม่ต้องรับบทหนักไม่แพ้ช่วงวัยอื่น" กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก และวัยรุ่นกล่าว


อย่างไรก็ดี ถึงแม้ในช่วงวัยพรีทีนนี้ ลูกจะเริ่มแยกตัวออกจากพ่อแม่ แต่ในบางเรื่องยังต้องการให้พ่อแม่สนใจอยู่ไม่น้อย ฉะนั้นลองเปลี่ยนคำพูดในเชิงลบที่บอกว่า แกเก่งแล้วใช่ไหม เก่งแล้วก็ออกไปเลย มาเป็นการเติมความใส่ใจ และแทนที่ด้วยการฟังแทน เพราะเด็กในช่วงวัยนี้เป็นวัยที่อยากพูด อยากระบายความเป็นตัวตน ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้คนอื่นได้รับรู้ ดังนั้นการรับฟัง และความเข้าใจจากผู้เป็นพ่อแม่จึงสำคัญมาก


"พ่อแม่อย่าตกหลุมอารมณ์ของลูกเด็ดขาด เวลาลูกอารมณ์ไม่ดี ก็ไม่ควรสั่งสอนในทันที แต่ควรเลือกอารมณ์ที่ลูกรู้สึกเย็นลงก่อน ถึงค่อยคุย เช่น ลูกเป็นอะไร ทำไมเดินกระทืบเท้าเสียงดังแบบนั้น ลูกจะโกรธใครก็ได้ แต่พฤติกรรมแบบนี้แม่ไม่ชอบนะจ้ะ แต่ก็ใช่ว่าจะยอมลูกในทุกๆ อย่างนะ ซึ่งบางเรื่องต้องมีกรอบที่เหมาะสมด้วยว่า สิ่งไหนลูกทำได้ หรือทำไม่ได้" กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก และวัยรุ่นเผย

ไม่เพียงเท่านี้ ลูกวัยพรีทีนอยากให้คนอื่นมองเห็นคุณค่าของตัวเอง ซึ่งคุณหมอให้เคล็ดลับไว้ว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าลืมที่จะบอก ชม เตือนให้คุณลูกรู้ว่าพฤติกรรมใดควรหรือไม่ควร น่าชื่นชม หรือไม่น่าชื่นชม แต่ถ้าพ่อแม่ที่มองไม่เห็นข้อดีในตัวลูกเลย หรือลูกทำอะไรไม่ดีในสายตาพ่อแม่ไปเสียทุกเรื่อง นั่นจะทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า หรือทำอะไรไม่ดีสักอย่าง เกิดเป็นความไม่มั่นใจ ระแวงจนไม่กล้าที่จะตัดสินใจ ซึ่งอันตรายมาก ดังนั้น การชมลูก ถือเป็นเรื่องจำเป็นในช่วงวัยนี้ เช่น วันนี้หนูน่ารักมาก กลับบ้านตรงเวลาเลย เป็นต้น

"เด็กบางคนอยู่นอกบ้านใครๆ ก็รัก แต่พอกลับถึงบ้านพ่อแม่กลับรู้สึกว่าลูกไม่น่ารัก หรือทำตัวไม่น่ารักกับพ่อแม่เลย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ คงต้องถามพ่อแม่แล้วว่า พ่อแม่ทำอะไร ทำไมลูกถึงทำให้รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่พอใจ หรือทำไมลูกมี 2 บุคลิกแบบนี้ ซึ่งต้องเริ่มปรับที่ตัวพ่อแม่" กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก และวัยรุ่นท่านนี้ทิ้งท้าย

^_^

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์



Create Date : 13 มกราคม 2554
Last Update : 13 มกราคม 2554 12:54:28 น. 0 comments
Counter : 464 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

atruthoflife10
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




กลับคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยสุขภาพที่ดีกว่า

ไตรลักษณ์
เกิดขึ้น 26 พ.ย.2553

ดับไป....???

Friends' blogs
[Add atruthoflife10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.