บางครั้งโลกแห่งความจริงไม่สวยงาม...เฉกเช่นความฝัน แต่รู้สึกและจับต้องได้
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Life&Family(66)...ลูกไม้ใกล้ต้นสานใจ'ลูกวัยรุ่น'






พ่อแม่ที่มีลูกเข้าสู่"วัยรุ่น"มีหลายเรื่องให้น่าหนักใจและเป็นห่วง แม้แต่เรื่องง่ายๆอย่างเช่นการคุยกันให้เข้าใจก็เป็นปัญหาอันดับต้นๆ เพราะเหมือนคุยกันคนละภาษา คุยกันไม่รู้เรื่องและไม่เข้าใจ จนบางครั้งเลยเถิดถึงขั้นทะเลาะกันและลงไม้ลงมือ ทั้งนี้มักเกิดจากการไม่ได้สื่อสารกันอย่างเพียงพอในครอบครัว

แนะพ่อแม่สื่อสารในครอบครัว รับรู้อารมณ์-ความรู้สึกลูก

นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กให้คำแนะนำพ่อแม่ถึงประโยชน์ของการสื่อสารภายในครอบครัวอย่างเพียงพอว่า พ่อแม่จะได้รู้จักลูกมากขึ้น ได้รับรู้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก รู้ว่าลูกกำลังคิดอะไร

ที่สำคัญได้รับรู้อารมณ์และความรู้สึกของลูก เพราะตรงจุดนี้หากไม่มีการสื่อสารกันพ่อแม่จะไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง ไม่รู้ว่าลูกกำลังมีปัญหาอะไร ลูกอาจจะรู้สึกกระทบกระเทือนจิตใจ คิดว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจ รู้สึกไม่ดีกับพ่อแม่ ทำให้เด็กมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น

การสื่อสารภายในครอบครัวไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากคนในครอบครัวไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันเลย ไม่มีโอกาสร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน แม้อยู่ในบ้านหลังเดียวกัน

พ่อแม่กับลูกวัยรุ่นจะมีปัญหานี้มากกว่าวัยอื่น เพราะการสื่อสารระหว่างกันมีน้อยกว่าลูกวัยอื่นๆ โดยพ่อแม่จะกำหนดระยะห่างจากลูกมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าลูกโตแล้วควรดูแลรับผิดชอบตนเองและช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ในขณะที่ลูกวัยรุ่นยังต้องการคำชี้แนะการวางตัวในสังคมลูกเองก็อยากจะมีความเป็นส่วนตัว มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เป็นการเตรียมเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่

เด็กวัยรุ่นและพ่อแม่มักจะไม่จัดระบบหรือแบ่งเวลากำหนดสัดส่วนให้เหมาะสม ระหว่างการใช้ชีวิตส่วนตัวกับชีวิตครอบครัว จนเป็นเหตุให้เกิดความเหินห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆดังที่ปรากฏอยู่ จึงควรหาเวลาและโอกาสใช้ชีวิตร่วมกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจวัตรประจำวัน ช่วยกันทำอาหารมื้อพิเศษ เล่นกีฬา ท่องเที่ยว เดินเล่น ชมสวนสาธารณะ เตรียมข้าวปลาอาหารไปปูเสื่อนั่งกินสังสรรค์กันตามริมฝั่งน้ำ อ่างเก็บน้ำ สวนสาธารณะ ฯลฯ เพื่อช่วยให้มีพื้นฐานรองรับให้เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน

โดยทั่วไปแล้วการสื่อสารมีอยู่สองลักษณะ คือการสื่อสารผ่านภาษาพูดและภาษากาย การสื่อสารผ่านภาษาพูดหรือภาษาเขียนจะเป็นการสื่อสารที่เหมาะสำหรับการให้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลข้อเท็จจริง ขณะที่ภาษากาย เช่น การสัมผัส โอบกอด การส่งสายตาแววตา การแสดงออกด้วยสีหน้าท่าทาง โทนเสียงที่อ่อนโยนหรือเสียงดังห้วนๆ เป็นการสื่อสารที่ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ภาษากายจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้รับสารมาก

บอกลูกว่าพ่อแม่โกรธ ไม่ชักสีหน้า-ตะคอก

ด้วยเหตุดังกล่าวพ่อแม่ควรเลือกการสื่อสารให้เหมาะสม เช่น เมื่อโกรธควรสื่อสารด้วยการพูดว่าเรากำลังโกรธ ไม่ควรชักสีหน้าหรือส่งเสียงดังตะคอก โดยเฉพาะกับลูกที่เข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งตามพัฒนาการเด็กวัยนี้จะเป็นช่วงวัยที่เริ่มถกเถียง โต้แย้ง เพราะสมองส่วนหน้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการคิดการวิเคราะห์วินิจฉัย การใช้เหตุผล การวางแผน การยับยั้งชั่งใจ ยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

ดังนั้น เมื่อพ่อแม่มีอารมณ์โกรธแล้วลูกโต้แย้ง ต่อปากต่อคำ หรือแสดงอารมณ์ตอบโต้ย้อนกลับมาที่พ่อแม่ จึงต้องระมัดระวังเพราะจะยิ่งทำให้อารมณ์โกรธของพ่อแม่มีมากขึ้นจนถึงขั้นลงไม้ลงมือกับลูกได้

เด็กแต่ละช่วงวัยมีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันตามวุฒิภาวะหรือพัฒนาการ เช่น เด็กในช่วงปฐมวัยหรืออายุไม่ถึง 6 ขวบ หากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมพ่อแม่ควรเปลี่ยนหรือดึงความสนใจของลูกไปยังจุดอื่นแทนที่จะอธิบายด้วยเหตุผล เพราะเด็กในวัยนี้สมองยังไม่พัฒนามากนัก จะไม่สามารถคิดหรือเข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พยายามอธิบายได้

ดังนั้น นอกจากพัฒนาการตามวัยที่พ่อแม่ควรรู้แล้ว พัฒนาการของสมองก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจ

สำหรับเด็กวัยประถมหรืออายุตั้งแต่ 6 ขวบแต่ไม่เกิน 12 ปี คิดเองได้ในระดับหนึ่งคิดได้ไม่ซ้ำซ้อน แต่พ่อแม่อธิบายเป็นเหตุผลได้ ไม่ควรใช้วิธีลงโทษเพราะไม่สามารถทำให้เด็กเรียนรู้ผิดชอบชั่วดี เพียงทำให้เด็กกลัวไม่กล้าทำต่อหน้าพ่อแม่ เด็กมัธยมฯ คิดเองเป็น เริ่มโต้แย้ง คิดเป็นเหตุเป็นผลได้ดี


จำเป็นต้องถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข้อมูลข้อเท็จจริง บ่งชี้พฤติกรรมไม่เหมาะสมประพฤติตนเป็น'ต้นแบบ'ที่ดี


พ่อแม่ต้องมีสมมติฐานต่อเด็กอย่างเป็นกลาง แยกตัวเด็กออกจากพฤติกรรม ไม่ใช่เจาะลึกที่ตัวเด็ก เช่น เมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรบอกว่าลูกไม่ดี ซึ่งเป็นการพูดถึงตัวเด็ก ควรจะบ่งชี้เจาะจงถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กมากกว่า ดังนั้น ถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ควรบอกให้ลูกรู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดีและไม่ดี ด้วยการประพฤติตนให้เป็นต้นแบบที่ดีแก่ลูก ให้ลูกเห็นและปฏิบัติตาม

หากพ่อแม่อยากให้ลูกพูดจาไพเราะสุภาพก็ต้องปฏิบัติตนเช่นนั้น ถ้าพ่อแม่ใช้คำหยาบคายพูดคุยกันทุกวัน เด็กย่อมซึมซับเอาท่วงทำนองนั้นให้กลายเป็นบุคลิกภาพของตน เข้าทำนองที่ว่า "ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น

^_^

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด




Create Date : 13 มกราคม 2554
Last Update : 13 มกราคม 2554 13:00:07 น. 0 comments
Counter : 606 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

atruthoflife10
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




กลับคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยสุขภาพที่ดีกว่า

ไตรลักษณ์
เกิดขึ้น 26 พ.ย.2553

ดับไป....???

Friends' blogs
[Add atruthoflife10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.