บางครั้งโลกแห่งความจริงไม่สวยงาม...เฉกเช่นความฝัน แต่รู้สึกและจับต้องได้
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Life&Family(39)...อาหารเช้าเรื่อง (ไม่) เล็กของเด็กๆ






ปฏิเสธไม่ได้ว่า อาหารเช้าเป็นมื้อ "สำคัญที่สุด" ในบรรดาอาหารทุกมื้อ โดยเฉพาะกับเด็กๆ วัยกำลังเจริญเติบโต แต่จากผลสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กนักเรียนในกรุงเทพฯ พบว่า "เด็กไทยไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้า" หลายคนอาจคิดว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย น่าจะเอาเวลาไปแก้ปัญหาเด็กติดเกม เด็กตีกัน หรือเด็กท้องไม่ท้องมากกว่า ไม่อยากให้คิดเช่นนั้นเลย เพราะปัญหาเล็กๆ นี่แหละ หากไม่เร่งแก้ไขอาจบานปลายไปเป็นปัญหาใหม่ที่แก้ยากก็ได้



จากการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กนักเรียนในกรุงเทพฯ ชั้น ป.5-6 ในปี 2549 จำนวน 914 คน และชั้น ป.3-4 ในปี 2552 จำนวน 904 คน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ พบว่า เด็กชั้น ป.5-6 ร้อยละ 48 มีพฤติกรรมงดอาหารเช้าหรือไม่กินอาหารเช้าสม่ำเสมอ ขณะที่ เด็กชั้น ป.3-4 ร้อยละ 40 มีพฤติกรรมงดอาหารเช้า "สาเหตุหลักของการอดอาหารที่เด็กๆ บอกเป็นเสียงเดียวกันคือ ไม่หิว

ไม่มีเวลาเพราะตื่นสายและไม่มีใครทำอาหารเช้าที่บ้าน" ดร.ประไพศรี อธิบาย และบอกถึงประโยชน์ของอาหารเช้าว่า "อาหารเช้าเป็นการเติมพลังงานแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ทำให้ไม่มีพลังงานไปเลี้ยงสมอง การละเลยอาหารเช้าจะทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสีย เครียด อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กไม่ควรละเลยอาหารเช้า เพราะจะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ โดยอาหารเช้าที่เหมาะสมควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน"

สำหรับผลกระทบจากการไม่รับประทานอาหารเช้าของเด็กนั้น การศึกษาของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชียพบว่า

"เด็กที่กินอาหารเช้าเรียนดีกว่าเด็กอดมื้อเช้า" เพราะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากกว่า ทำให้มีการเรียนรู้และความตั้งใจเรียนกว่า แก้ปัญหาต่างๆ และทำคะแนนได้ดีกว่า ขณะที่เด็กอดมื้อเช้าจะเกิดความเครียด ที่มีผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง และฮอร์โมนคอร์ติซอลทำให้มีความต้องการน้ำตาลทั้งวัน

"เด็กที่กินอาหารเช้าที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแคลเซียมสูง จะเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า" เด็กที่งดอาหารเช้ามักเลือกกินของที่ไม่มีประโยชน์ เช่น จังค์ฟู้ดและของหวาน เพื่อเติมพลังงานให้ร่างกายก่อนมื้อกลางวัน ส่งผลให้มีแบบแผนการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ครบคุณค่าทางโภชนาการ

"เด็กที่กินอาหารเช้าทุกวันมีโอกาสน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนน้อยกว่าเด็กอดมื้อเช้า" เพราะมื้อเช้าเป็นตัวกำหนดแบบแผนการบริโภคทั้งวันเพราะคนที่สามารถลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ร้อยละ 80 เป็นคนที่กินอาหารเช้า

ดร.ประไพศรีทิ้งท้ายว่า การละเลยอาหารเช้ามีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนและสุขภาพในระยะยาว การรณรงค์การรับประทานอาหารเช้าเป็นสิ่งจำเป็น และจะสำเร็จได้ต้องเกิดจากความร่วมมือของทางบ้านและโรงเรียน แต่คนที่สำคัญที่สุดคือ ตัวของเด็กเอง

ถ้าอย่างนั้น มาปฏิวัติการรับประทานอาหารเช้าให้เป็นนิสัยกันเถอะ "เด็กนักเรียน" ต้องมีความเข้าใจเรื่องความสำคัญของอาหารเช้า และปรับตัวปรับเวลาให้สามารถกินอาหารเช้าได้ทุกวัน เหตุผลส่วนใหญ่ที่เด็กนักเรียนไม่ได้กินอาหารเช้าเนื่องจากไม่มีเวลาเพราะตื่นสาย ดังนั้นจึงควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนนอน เรื่องกินอาหารเช้าไม่ใช่เรื่องที่เสียเวลาและให้ผลคุ้มค่าสำหรับการเรียนทั้งวัน

"ผู้ปกครอง" ควรมีความพร้อมในการเตรียมอาหารเช้าให้ลูก แม้วิถีชีวิตในปัจจุบันทุกคนในครอบครัวต้องออกจากบ้านไปทำงาน แก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าตระหนักถึงความสำคัญ การเตรียมอาหารเช้าไว้ล่วงหน้าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆ

"โรงเรียน"เป็นจุดหมายปลายทางของนักเรียนในตอนเช้าดังนั้น หากโรงเรียนมีการเตรียมอาหารเช้าไว้บริการนักเรียนก็จะช่วยแก้ปัญหาการละเลยอาหารเช้าของนักเรียนได้อย่างมาก

อย่าปล่อยให้ปัญหาเล็ก กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ไขไม่ได้


^_^


เรื่องและภาพจาก หนังสือพิมพ์มติชน



Create Date : 11 มกราคม 2554
Last Update : 11 มกราคม 2554 7:50:45 น. 0 comments
Counter : 418 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

atruthoflife10
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




กลับคืนสู่ธรรมชาติ ด้วยสุขภาพที่ดีกว่า

ไตรลักษณ์
เกิดขึ้น 26 พ.ย.2553

ดับไป....???

Friends' blogs
[Add atruthoflife10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.