แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า buy แล้ววbuyอีก......... faith, hope and charity เฟศบุ๊ค http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 

An Inconvenient Truth (2006): Al Gore Awarded Nobel Peace Prize in Oslo Ceremony

So let us renew it, and say together: “We have a purpose. We are many. For this purpose we will rise, and we will act.”

Speech by Al Gore on the Acceptance of the Nobel Peace Prize
December 10, 2007 • Oslo, Norway

มะเช้ากะดูข่าว ช่อง 9 อดีตท่านรองประธานาธิบดี อังกอร์ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ รณรงค์เรื่องโลกร้อนไปแหละ


Source://www.draftgore.com/Uploads/Gore_Nobel.jpg'

Speed ของอดีตท่านรองประธานาธิบดีอังกอร์ใจความสำคัญกะคือ

สิ่งที่อดีตท่านรองประธานาธิบดี เรียกร้องมากที่สุดกะคือ ให้ 2 ประเทศยักษ์ใหญ่ เมกา กะจีน หยุดโทษกันเองเรื่อง บ่อเกิดให้โลกร้อน หันหน้าจับมือกันรณรงค์เป็นจริงเป็นจังอะ



Source:'//www.draftgore.com/Uploads/peace.jpg'


Sorce://static.algore.com/i/agcombanner2.jpg

SPEECH BY AL GORE ON THE ACCEPTANCE OF THE NOBEL PEACE PRIZE DECEMBER 10, 2007 OSLO, NORWAY

Speed ของท่านอังกอร์

ขอยกหัวจาย สำคัญมาก่อนเน้อ เพราะท่านอ้างอิงบุคคลสำคัญของโลกหลายๆๆคนอ่า

สังเกตให้ดี ท่านเน้น เลข 7 อ่า กะSpeed ของท่าน

Seven years later, Alfred Nobel created this prize and the others that bear his name.

Seven years ago tomorrow, I read my own political obituary in a judgment that seemed to me harsh and mistaken – if not premature. But that unwelcome verdict also brought a precious if painful gift: an opportunity to search for fresh new ways to serve my purpose.

Unexpectedly, that quest has brought me here. Even though I fear my words cannot match this moment, I pray what I am feeling in my heart will be communicated clearly enough that those who hear me will say, “We must act.”
ผมไม่คาดหวัง นั้นคือความเงียบนำเรามาที่นี้ แม้กระทั้งว่า ผมรู้สึกว่าคำพูดของผมจะไม่ตรงกะสถาณการณ์ที่นี้ ณ เวลานี้, ผมสวดภาวนา อะไรทำให้ผู้รู้สึกเข้าไปในหัวใจของผม ที่จะสื่อสารอย่างชัดเจนแม้ว่าใครใครได้ยินผม"แล้วพวกเค้าจะต้อง ทำ และแสดงออก"

The distinguished scientists with whom it is the greatest honor of my life to share this award have laid before us a choice between two different futures – a choice that to my ears echoes the words of an ancient prophet: “Life or death, blessings or curses. Therefore, choose life, that both thou and thy seed may live.”

ความแตกต่าง ของวิทยาศาสตร์ กับ กับเกียรติยศที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตผม ที่รับผิดชอบกับรางวัลที่จัดวางอย่างเหมาะสมก่อนที่เราเลือก ระหว่าง 2 ทางเลือกที่แตกต่างในอนาคตข้างหน้า และทางเลือกของผมนั้นคือได้ยินเสียงสะท้อน ของประกาศกโบราณกะคือ(โมเสส) “Life or death, blessings or curses. Therefore, choose life, that both thou and thy seed may live.”
ชีวิตหรือความตาย คำอวยพรหรือคำสาปแช่ง ท่านจงเลือกชีวิตเถิด เพื่อท่านและบุตรหลานของท่านจะมีชีวิต

ท่านยกไบเบิ้ล เรื่องของเฉลยธรรมบัญญัติ30: 19, อ่า

Deuteronomy 30:19
I call heaven and earth today to witness against you: I have set before you life and death, the blessing and the curse. Choose life, then, that you and your descendants may live,
Source://www.nccbuscc.org/nab/bible/deuteronomy/deuteronomy30.htm

เฉลยธรรมบัญญัติ 30:19 เรื่องทางสองแพร่ง

19 ในวันนี้ ข้าพเจ้าขอเรียกฟ้าดินมาเป็นพยานต่อหน้าท่าน ข้าพเจ้าเสนอให้ท่านเลือกชีวิตหรือความตาย เลือกคำอวยพรหรือคำสาปแช่ง ท่านจงเลือกชีวิตเถิด ลูกหลานของท่านและบุตรจะมีชีวิต
Source:ปัจจบรรพ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์

ท่านยก Speed บุคคลสำคัญของโลก Refer

As the American poet Robert Frost wrote, “Some say the world will end in fire; some say in ice.” Either, he notes, “would suffice.”


Mahatma Gandhi awakened the largest democracy on earth and forged a shared resolve with what he called “Satyagraha” – or “truth force.”

In every land, the truth – once known – has the power to set us free.


There is an African proverb that says,สุภาษิต ชาวอาฟริกัน “If you want to go quickly, go alone. If you want to go far, go together.” We need to go far, quickly.

In the words of the Spanish poet, Antonio Machado, “Pathwalker, there is no path. You must make the path as you walk.”

The great Norwegian playwright, Henrik Ibsen, wrote, “One of these days, the younger generation will come knocking at my door.”

One of their visionary leaders said, “It is time we steered by the stars and not by the lights of every passing ship.”

It is time we steered by the stars, not by the lights of each passing ship.
-- General Omar Bradley

Source://gumption.org/1996/quotes.htm




ขอยกบทความของลิงค์สารคดีมาค่ะSource://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=633


หลายคนที่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth คงรู้สึกตรงกันอย่างหนึ่งว่า อยากทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน และอย่างน้อยที่สุดก็อยากให้ทุกๆ คนได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ คงจะไม่เป็นการเกินเลยไปนัก หากจะเรียกขบวนการดังกล่าวว่าเป็นภารกิจกู้โลก เพราะวิกฤตการณ์เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนนั้นเกิดขึ้นแล้วจริงๆ และกำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างไกลเกินจินตนาการ

An Inconvenient Truth เป็นภาพยนตร์สารคดียาว ๑๐๐ นาทีที่ฉายให้เห็นวิกฤตการณ์สภาวะโลกร้อน (Global Warming) อย่างตรงไปตรงมาและลึกซึ้ง หนังไม่เพียงแต่นำเสนอข้อมูลวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีพลังและน่าสะพรึงกลัว หากยังสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนดูได้อย่างน่าทึ่ง

หลังจากภาพยนตร์เข้าฉายในประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนาเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนขึ้นหลายครั้ง และเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายนที่ผ่านมา ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้จัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า พร้อมจัดกิจกรรมระดมความคิดเชิงวิชาการเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและบุคคลทั่วไปอย่างมาก
Source:'//www.sarakadee.com/feature/2006/11/images/env1.jpg'

An Inconvenient Truth ดำเนินเรื่องโดย อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สมัย บิลล์ คลินตัน และผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ที่แพ้การเลือกตั้งให้แก่ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ไปอย่างเฉียดฉิวและน่าเคลือบแคลง

กอร์เล่าว่าเขาเริ่มสนใจปัญหาสภาวะโลกร้อนมาตั้งแต่สมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อศาสตราจารย์โรเจอร์ เรวีลล์ นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เริ่มตรวจวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ได้นำผลการตรวจวัดในปีแรกๆ มาบรรยายในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผลการตรวจวัดดังกล่าวแสดงให้เห็นแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปรกติของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังมีปัญหา และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์

เดวิส กุกเกนไฮม์ ผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้นำเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของกอร์มาเป็นตัวดำเนินเรื่องคู่ขนานและตัดสลับไปมากับการนำเสนอข้อมูลอันหนักแน่นได้อย่างแยบคาย

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของกอร์ที่ทำให้มุมมองต่อโลกและชีวิตของเขาเปลี่ยนไปตลอดกาลคือ การที่เขาเกือบจะสูญเสียลูกชายสุดที่รักวัย ๖ ขวบไปกับอุบัติเหตุรถชนที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา

หลังจากลูกชายของเขารอดตายมาได้อย่างปาฏิหาริย์ เขาได้ให้สัญญากับตัวเอง ๒ ข้อ หนึ่ง ให้ความสำคัญกับครอบครัวก่อนเสมอ และสอง ให้ความสำคัญกับวิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับแรกในชีวิตการทำงาน



Source://www.sarakadee.com/feature/2006/11/images/env6.jpg
ภาพเปรียบเทียบปริมาณหิมะบนยอดเขาคิลิมันจาโร ในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ (บน) และปี ค.ศ. ๒๐๐๐ (ล่าง)

หนึ่งในความสำเร็จที่กอร์ภูมิใจคือ การมีส่วนช่วยให้เกิดการบรรลุข้อตกลงของนานาชาติในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ซึ่งเป็นพันธกรณีให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ แต่ที่เป็นความรู้สึกผิดในใจก็คือ เขายังไม่สามารถผลักดันให้สภานิติบัญญัติของประเทศที่เขาอาศัยอยู่ให้สัตยาบันต่อข้อตกลงนี้ได้

หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๐๐ กอร์ยุติบทบาททางการเมืองและกลับมาเดินสายบรรยายเรื่องปัญหาโลกร้อนอีกครั้ง ตลอดช่วง ๖ ปีที่ผ่านมา เขาเดินทางไปทั่วโลก และระหว่างที่เขาเดินสายบรรยายอยู่ที่นครลอสแองเจลิส ลอรี่ เดวิด นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและผู้กำกับภาพยนตร์ ได้ชักชวนให้ เจฟฟ์ สกอลล์ ผู้บริหาร Participant Productions ซึ่งเป็นบริษัทผลิตภาพยนตร์ระดับคุณภาพ เข้าไปฟังการบรรยายครั้งนั้นด้วย ความคิดที่จะนำการบรรยายของกอร์มาทำเป็นภาพยนตร์จึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้สาระสำคัญที่เขาพยายามพร่ำพูดได้ส่งผ่านไปถึงคนในสังคมโลกได้รวดเร็วขึ้น

ปัญหาโลกร้อนไม่ใช่เรื่องใหม่ ทว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยให้ความสนใจกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง กอร์ได้รวบรวมข้อมูลล่าสุดและหลักฐานต่างๆ จากทุกทวีป เพื่อลบล้างความเชื่อเก่าๆ ที่ว่า มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราจะสามารถสร้างผลกระทบที่สั่นสะเทือนไปถึงดินฟ้าอากาศได้อย่างไร

ความจริงก็คือชั้นบรรยากาศที่ห่มคลุมโลกและทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนั้น เปราะบางกว่าที่เราคิดมาก หากนำลูกโลกจำลองมาเคลือบเงา ความหนาของชั้นบรรยากาศเมื่อเทียบกับโลก ก็คือผิวเคลือบบางๆ ชั้นนอกเท่านั้นเอง กลุ่มก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ในชั้นบรรยากาศ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และสาร CFC ล้วนมีบทบาทสำคัญในการดักจับความร้อน ซึ่งความจริงแล้วเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะด้วยก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้เองที่ช่วยให้โลกไม่กลายเป็นดินแดนน้ำแข็ง

อย่างไรก็ตาม โดยปรกติในธรรมชาติมีก๊าซเหล่านี้ในปริมาณน้อยมาก แม้แต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่พบได้บ่อยที่สุด ก็ยังพบไม่ถึง ๔ โมเลกุลในทุกๆ ๑๐,๐๐๐ โมเลกุลของชั้นบรรยากาศ ความที่มันมีอยู่น้อยมากในธรรมชาตินี้เองที่ช่วยให้โลกเราไม่ร้อนจนกลายเป็นเตาอบ ข้อเท็จจริงสำคัญอีกประการที่หลายคนไม่รู้ก็คือ พลวัตของมวลก๊าซ ซึ่งว่ากันว่าภายในระยะเวลาเพียง ๑ สัปดาห์ คาร์บอนไดออกไซด์ที่คุณเพิ่งหายใจออกมานั้นอาจกลายเป็นอาหารให้แก่พืชในอีกทวีปหนึ่งแล้ว และด้วยเวลาไม่กี่เดือน คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากมนุษย์สามารถไหลเวียนไปทั่วโลกได้อย่างสบายๆ ดังนั้นผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นปัญหาที่กระทบถึงคนทั่วทุกมุมโลก

ในหนังเรื่องนี้ กอร์เปรียบก๊าซเรือนกระจกเป็นวายร้ายที่คอยดักไม่ให้ความร้อนหนีกลับออกไปนอกโลก เมื่อวายร้ายมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความร้อนจึงถูกเก็บไว้ในชั้นบรรยากาศ เกิดเป็นสภาวะเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิโดยรวมสูงขึ้น ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกอยู่ที่ราว ๑๔ องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มสูงขึ้น ๐.๖-๐.๘ องศาเซลเซียสทุกปี

Source://www.sarakadee.com/feature/2006/11/images/env2.jpg

อัล กอร์ ตระเวนเดินทางไปทั่วโลก เพื่อบอกให้ทุกคนรับรู้ถึงปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่

กอร์อธิบายว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมไปถึงการสุมเผาอันเป็นวิธีตัดไม้ทำลายป่าแบบดั้งเดิม ล้วนแต่มีส่วนทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปรกติ เขาชี้ให้เห็นถึงความจริงข้อนี้อย่างชัดเจนในหนัง ด้วยการขึ้นไปยืนบนเครนไฟฟ้าที่ยกตัวขึ้นตามเส้นกราฟคาร์บอนไดออกไซด์ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วง ๔๐-๕๐ ปีมานี้ รวมถึงแนวโน้มในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ข้อมูลนี้น่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนกลับไปถึง ๖๕๐,๐๐๐ ปี ที่แม้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะมีวงจรขึ้นๆ ลงๆ ตามยุคน้ำแข็ง ๗ ยุค แต่ไม่เคยมีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงผิดปรกติเช่นนี้

อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนคือ คนส่วนมากไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาจริงๆ หรือเป็นเพียงการมองโลกในแง่ร้ายของนักวิทยาศาสตร์ช่างวิตกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้คนตื่นตูมกันไปทั้งโลก

เพื่อยืนยันว่าโลกกำลังร้อนขึ้นจริงๆ กอร์ได้ฉายภาพเปรียบเทียบปริมาณหิมะในอดีตกับปัจจุบันของสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก เช่นที่เทือกหิมาลัยและคิลิมันจาโร ซึ่งมีปริมาณหิมะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เขาพาไปดูขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ที่แผ่นน้ำแข็งกำลังละลายและแตกออกอย่างไม่หยุดหย่อน ป่าแอมะซอนที่กำลังเสื่อมโทรม และธารน้ำแข็งทั่วโลกที่กำลังหดตัวลงอย่างรวดเร็ว

ปัญหาโลกร้อนยังเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้สภาพภูมิอากาศทั่วโลกแปรปรวน เพราะอุณหภูมิในมหาสมุทรที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการไหลของกระแสน้ำที่เชื่อมโยงถึงกันหมด เขายืนยันด้วยข้อมูลทางสถิติของภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งภาวะน้ำท่วม ฝนแล้ง ไต้ฝุ่นหรือพายุเฮอริเคนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น โดยไม่ลืมที่จะเตือนให้ทุกคนนึกถึงเฮอริเคนแคทรีนา (Katrina) ที่เข้าถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์เมื่อสิงหาคมปีที่แล้ว นับเป็นภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชนชาติอเมริกัน โดยได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ ๒,๐๐๐ คน และสร้างความเสียหายอีกกว่า ๘ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

หากโลกยังร้อนขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดแผ่นน้ำแข็งที่แอนตาร์กติกาหรือกรีนแลนด์อาจจะละลายลงทั้งหมด และนั่นหมายถึงเภทภัยที่ร้ายแรงที่สุดจะเกิดขึ้น เพราะจะทำให้น้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นกว่า ๖ เมตร โดยบริเวณที่จะได้รับผลกระทบนั้นมีตั้งแต่มหานครนิวยอร์ก เนเธอร์แลนด์ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง โกลกาตา (กัลกัตตา) และบังกลาเทศ

กอร์ยืนยันว่าประเด็นโลกร้อนไม่ใช่ข้อถกเถียงอีกต่อไป โดยได้รีวิวบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์กว่า ๙๐๐ เรื่อง และพบว่าไม่มีชิ้นไหนเลยที่ให้ผลขัดแย้งหรือโต้เถียงว่าปรากฏการณ์โลกร้อนไม่ได้เกิดขึ้นจริง ทั้งต่างเห็นพ้องกันว่าสาเหตุหลักนั้นมาจากฝีมือมนุษย์ ถ้าเช่นนั้นความสับสนของคนในสังคมเกิดขึ้นได้อย่างไร

คำตอบอยู่ที่บทความประเภทแสดงความคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีบทความกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์แสดงความเคลือบแคลงว่าสภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แน่นอนว่าถ้าสังคมโลกโดยรวมยอมรับว่าสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาจริงๆ และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งจำเป็นหรือกลายเป็นข้อบังคับ นั่นหมายถึงทุกคนบนโลกต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต ซึ่งดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยน

สภาวะโลกร้อนจึงกลายเป็นข้อเท็จจริงอันน่าหดหู่ แต่การปฏิเสธความจริงหรือการไม่รู้ร้อนรู้หนาวก็ไม่ใช่ทางออกของปัญหา

กอร์บอกว่าเขาเข้าใจดีถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนจะนำไปสู่การปฏิบัติ แต่บ่อยครั้งที่มันสายเกินไปจนเราต้องมานั่งเสียใจว่าน่าจะลงมือแก้ปัญหามาตั้งนานแล้ว

Source://www.sarakadee.com/feature/2006/11/images/env4.jpg
การละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือส่งผลต่อวงจรการหาอาหารของหมีขั้วโลก เนื่องจากปริมาณน้ำแข็งที่ลดลง ทำให้แมวน้ำซึ่งเป็นอาหารหลักของหมีขั้วโลก หายากขึ้นทุกที


สมุทรปราการเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่สุดในประเทศไทย โดยในระยะเวลา ๓๘ ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ถูกกัดเซาะหายไป ๑๑,๑๐๔ ไร่ ทั้งนี้หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่าพื้นที่ชายฝั่งสมุทรปราการจะถูกกัดเซาะอีกประมาณ ๓๗,๖๕๗ ไร่ในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า ในภาพคือวัดขุนสมุทราวาส อ. พระสมุทรเจดีย์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะของน้ำทะเล

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ หนึ่งในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก

ก่อนจบ กอร์กระตุ้นให้เราตระหนักถึงศักยภาพของมนุษย์ในด้านดี เราขจัดโรคร้ายได้สารพัด เราเดินทางไปเหยียบดวงจันทร์และสำรวจอวกาศ เราประสบความสำเร็จในการลดปริมาณสาร CFC--ก๊าซเรือนกระจกอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดรูรั่วในชั้นโอโซน ซึ่งเป็นวิกฤตสำคัญเมื่อราว ๑๐ ปีที่แล้ว เขาย้ำว่าโลกได้ส่งสัญญาณเตือนภัยให้เรารับรู้แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตอบสนองอย่างไร
...................................................
สำหรับคนไทยที่รู้สึกว่าปัญหานี้ยังไกลตัว อยากให้ลองนึกถึงข่าวน้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้นทุกที สภาพอากาศวิปริตไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกต่อไป

บนเวทีระดมความคิดหลังจบการชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายนที่ผ่านมา รศ. ดร. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ส่งสัญญาณเตือนที่คล้ายกันว่า

“ในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยในเอเชียสูงขึ้นราว ๑-๓ องศาเซลเซียส และจะเพิ่มขึ้นอีก ๒-๔ องศาเซลเซียสในรอบ ๑๐๐ ปีข้างหน้า ลักษณะการตกของฝนเปลี่ยนแปลงไป คือตกคราวละมากๆ จนเกิดน้ำท่วม มีการทิ้งช่วงเป็นเวลานานจนเกิดภัยแล้ง และเริ่มเห็นแนวโน้มว่ามีการย้ายที่ตก ในประเทศไทยมีเหตุการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม เพิ่มสูงขึ้นถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ พายุในมหาสมุทรแปซิฟิกก็เกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นราว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ สภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่นเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกิน ๓๓ องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังทำให้ปัญหาการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งของบ้านเรารุนแรงมากขึ้น ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมาเราสูญเสียชายฝั่งรวมกันเป็นเนื้อที่กว่า ๑๒๐,๐๐๐ ไร่ ชายฝั่งบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลถูกกัดเซาะมากถึง ๖๕ เมตรต่อปี ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการใดๆ เราจะถูกน้ำทะเลรุกท่วมเข้ามาอีก ๖-๘ กิโลเมตรในอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า หรืออาจจะเร็วกว่านี้ถ้าปัญหาโลกร้อนเลวร้ายยิ่งขึ้น”

จรูญ เลาหเลิศชัย ตัวแทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา เปรียบเทียบปรากฏการณ์เฮอริเคนแคทรีนากับไต้ฝุ่นในอ่าวไทยว่า “ในทางทฤษฎีบอกว่าจะเกิดไต้ฝุ่นขึ้นเฉพาะในทะเลที่ลึก ๕๐ เมตรขึ้นไป อ่าวไทยของเราลึกแค่ ๔๐ เมตรตอนที่เราเจอพายุเกย์เมื่อปี ๒๕๓๒ ตอนนั้นเราก็คิดว่าอาจจะเป็นเรื่องบังเอิญ แต่พอปี ๒๕๔๐ ก็เกิดไต้ฝุ่นลินดาอีก แสดงว่ามันไม่ได้บังเอิญแล้ว ประเทศไทยมีโอกาสเสี่ยงพอๆ กับที่อื่นๆ”

นายวราวุธ ขันติยานันท์ ผู้อำนวยการส่วนฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร เล่าประสบการณ์ตรงจากการขึ้นบินทำฝนเทียมมาร่วม ๓๐ ปีว่า “สิ่งที่เห็นได้ชัดคือสภาพป่าที่ลดน้อยลงกว่าเดิมมาก อากาศร้อนแล้งขึ้น ไอน้ำลดลง ทำให้กลุ่มเมฆซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำฝนเทียมบางและไม่ค่อยรวมตัว อมความชื้นได้น้อย ทำฝนเทียมไปก็ได้ปริมาณฝนไม่เต็มที่ ต่อไปเราจะมีปัญหามากขึ้นแน่ๆ”

ส่วน ดร. วนิสา สุรพิพิธ ตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ ได้เสริมว่า “หนังเรื่องนี้ให้น้ำหนักกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างมาก แต่ความจริงยังมีก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ โดยเฉพาะก๊าซมีเทน ที่แม้จะมีปริมาณน้อยกว่ามาก แต่มีความสามารถในการดักจับความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ๖๐ เท่า มีเทนเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมทางการเกษตรและการฝังกลบขยะ ครั้งหนึ่งไทยเราก็เคยถูกโจมตีเรื่องการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว ซึ่งบางหน่วยงานก็กำลังให้ความสำคัญในการค้นคิดเทคโนโลยีเพื่อนำเอาก๊าซมีเทนดังกล่าวมาหมุนเวียนเป็นก๊าซหุงต้ม”

แม้การเสวนาจะให้เวลาน้อยไปสักนิดเมื่อเทียบกับจำนวนของผู้เชี่ยวชาญที่มากันพร้อมหน้าพร้อมตา แต่ก็ช่วยให้เราเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ความน่ากลัวในหนังเรื่องนี้ไม่ได้เป็นผลจากการใช้สเปเชียลเอฟเฟ็กต์ และเทคนิคการตัดต่ออันเหนือชั้น หากแต่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหายนะที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ

ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ไม่เพียงแต่ดูสนุกและให้ข้อคิดคมๆ มากมาย แต่ยังได้เตือนสติให้เราหันกลับมาคิดถึง “โลก” บ้านหลังสุดท้ายของมนุษย์ ความตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมดูเหมือนกำลังจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับปัจเจกไปจนถึงนโยบายและความร่วมมือของนานาชาติ ตั้งแต่คนตัวเล็กๆ ไปจนถึงนักการเมือง และนักธุรกิจพันล้าน

ล่าสุด ริชาร์ด แบรนสัน นักธุรกิจชาวอังกฤษผู้โด่งดัง เจ้าของสายการบิน Virgin Atlantic Airways และกิจการคมนาคมขนาดยักษ์ ประกาศจะบริจาคผลกำไร ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์จากการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัทในเครือ Virgin Travel ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง ๓,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อลงทุนในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ริชาร์ดเผยว่า “ผมยอมรับว่าเคยคลางแคลงใจเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน แต่ผมก็ได้พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน อ่านหนังสือหลายเล่ม และเมื่อไม่นานมานี้ อัล กอร์ ได้ให้เกียรติมารับประทานอาหารเช้าร่วมกับผม คำอธิบาย ๒ ชั่วโมงของเขาได้ปลุกให้ผมตื่นขึ้นมารับรู้ความจริง ความจริงที่ว่าโลกเรากำลังตกอยู่ในอันตราย ...แต่เรามีความรู้ มีเทคโนโลยี และทุกอย่างที่จำเป็นในการต่อสู้กับวิกฤตการณ์ด้านภูมิอากาศแล้ว จะขาดก็แต่เพียงความตั้งใจ”

คงเป็นจริงอย่างที่ อัล กอร์ ว่าไว้ ปัญหาโลกร้อนไม่ใช่ข้อโต้แย้งทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือมุมมองที่แตกต่างกันในทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ ปัญหานี้เป็นเรื่องของคุณธรรม เพราะไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะสำคัญไปกว่าโลกที่เราอาศัยอยู่

วันนี้คุณพร้อมหรือยังที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน พร้อมหรือไม่ที่จะเข้ามาร่วมในภารกิจกู้โลกครั้งนี้

อาจถึงเวลาแล้วที่เราต้องร่วมกันพิสูจน์ว่า สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “คน” ควรค่าที่จะดำรงอยู่ต่อไป

หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ และเข้าร่วมในการแก้ปัญหาโลกร้อนได้ที่เว็บไซต์ //www.climatecrisis.net


เริ่มต้นแก้วิกฤติโลกร้อนได้อย่างไร

๑. ประหยัดพลังงานทุกรูปแบบ
ปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อไม่ใช้งาน โดยถอดปลั๊กออกด้วย เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนมากยังคงใช้ไฟอยู่แม้จะกดปิดแล้ว

ใช้หลอดประหยัดไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ

เดิน ขี่จักรยาน หรือใช้บริการรถขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว

หากเป็นไปได้ให้ใช้พลังงานทางเลือก
๒. บริโภคให้น้อยลง ประหยัดให้มากขึ้น

คิดก่อนซื้อ เลือกใช้ของมือสองหรือซื้อของที่ใช้งานได้นาน นำของใช้แล้วมาใช้ใหม่

ใช้กระดาษให้น้อยลง คิดก่อนสั่งพิมพ์

ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู

ใช้ขวดน้ำส่วนตัวเพื่อลดการซื้อขวดน้ำพลาสติก

กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง
๓. มีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย

เรียนรู้เพิ่มเติมและติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหาสภาวะโลกร้อน

บอกให้คนรอบข้างตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา

ชักชวนให้สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่สังกัดประหยัดทรัพยากร

สนับสนุนบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

สนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สำหรับความเห็นส่วนตัวของเรา กะเริ่มเปลี่ยนจิตสำนึกของตะเองก่อนอะ และหลายๆๆ อย่างกะตามมา ถ้ามะเริ่มปรับเปลี่ยนที่ตะเอง ปัญหาปลายเหตุแก้ยากเจงเจง

ศูนย์ข่าวแปซิฟิกรายงานว่า อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ของสหรัฐ และและคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ของสหประชาชาติ ร่วมรับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี 2550 จากความพยายามในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และวางรากฐานในการต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว



คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบล ระบุว่า ทั้งอดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ และไอพีซีซี จะได้รับรางวัลร่วมกัน เป็นเงินจำนวน 1 ล้าน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 52 ล้าน 5 แสนบาท ก่อนหน้านี้อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ และเจ้าของรางวัลอะคาเดมี อวอร์ด เมื่อต้นปีนี้ ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นผู้ได้รับรางวัลนี้ ขณะที่มีคู่แข่งถึง 181 ราย



นับแต่ก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อปี 2544 อดีตรองประธานาธิบดีอัล กอร์ ได้บรรยายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับภัยคุกคามของภาวะโลกร้อน และเมื่อปีที่แล้วยังมีผลงานเกี่ยวกับภาพยนตร์สารคดีที่คว้ารางวัลออสการ์ เรื่อง “An Inconvenient Truth” (แอน อินคอนวีเนียนต์ ทรูธ) เพื่อเตือนอันตรายจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และกระตุ้นให้เร่งจัดการปัญหานี้

Source://maheanuu.free.fr/wp-content/2007/10/al-gore-nobel-2007.thumbnail.png

วันคุ้มครองโลก (Earth Day) คือวันอะไร?

วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 22 เมษายน ของทุกๆ ปีเป็นวันที่เรามีโอกาสรำลึกถึงสิ่งแวดล้อม และใคร่ครวญว่าเราจะต้องทำอะไรอีกบ้างเพื่อปกป้องของ ขวัญที่ธรรมชาติมอบแก่โลกของเราใบนี้ แม้ว่าจะไม่มีองค์กรกลางแห่งใดที่ทำหน้าที่เป็นองค์ก รหลักในการฉลองวันคุ้มครองโลก แต่มีองค์กรเอกชนหลายแห่งที่คอยสังเกตการณ์เกี่ยวกับ กิจกรรมตามโรงเรียนและสวนสาธารณะหลายพันแห่งที่จัดขึ ้นในวันนี้ ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะจัดกิจกรรมต่างๆ ในวันคุ้มคองโลกแม้ว่าไม่มีประเทศใดที่ประกาศให้วันด ังกล่าวเป็นวันหยุดประจำชาติ ในสหรัฐอเมริกา วันดังกล่าวช่วยย้ำเตือนว่าจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมเ ป็นส่วนหนึ่งของสำนึกของประชาชนทั่วประเทศและการพิทั กษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นความคิดที่จำกัดอยู่ในวงของพวก หัวอนุรักษ์เท่านั้น ได้ขยายออกมาสู่ชาวอเมริกันหมู่มากแล้ว

ภายหลังวันสถาปนาวันคุ้มครองโลกในปีแรก รัฐบาลกลางก็ประกาศใช้กฎหมายฉบับสำคัญ สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (U.S. Environmental Protection Agency) ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2513 ตามด้วยการประกาศใช้กฎหมายอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Act) กฎหมายน้ำสะอาดปี พ.ศ. 2515 (Clean Water Act of 1972) และกฎหมายว่าด้วยสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ พ.ศ. 2516 (Endangered Species Act of 1973) บทบัญญัติข้อหนึ่งในจำนวนบทบัญญัติหลายข้อที่มีผลกว้ างไกลของกฎหมายเหล่านี้คือบทบัญญัติที่บังคับให้รถยน ต์ต้องใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว และวิ่งได้ระยะทางอย่างน้อยเท่าที่กฎหมายกำหนดต่อน้ำ มันหนึ่งแกลลอน ตลอดจนมีเครื่องฟอกไอเสียที่ช่วยลดปริมาณควันพิษที่ป ล่อยออกจากท่อไอเสียรถยนต์

ตามครัวเรือนนั้น ชาวอเมริกันเริ่มแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิล โดยบ่อยครั้งที่ลูกๆ มักเป็นคนเตือนพ่อแม่ให้ทำเช่นนั้น พอถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ชุมชนหลายแห่งก็มี โครงการรีไซเคิล เมื่อถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 โครงการรีไซเคิลของเทศบาลเหล่านี้ก็สามารถพึ่งพาตนเอ งได้ โดยจำนวนขยะที่เทศบาลต้องนำไปทิ้งลดลงอย่างเห็นได้ชั ด และกว่าร้อยละ 20 ของขยะในเขตเทศบาลของอเมริกาได้ถูกนำไปแปรรูปให้กลาย เป็นผลผลิตที่มีประโยชน์ บริษัทห้างร้านต่างๆ ซึ่งเริ่มตระหนักมากขึ้นในความต้องการของผู้บริโภคแล ะผลกำไรที่จะได้รับในตอนท้าย มักโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีหลายบริษัทที่ใช้วิธีการผลิตที่เพิ่มประสิทธิภาพแล ะลดจำนวนกากของเสียจากอุตสาหกรรมลงด้วย

วันคุ้มครองโลกได้เวียนมาบรรจบครบรอบ 35 ปีในปี พ .ศ. 2548 นี้ เหตุการณ์เล็กๆ อย่างการประท้วงในปี พ.ศ. 2513 ได้วิวัฒนาการกลายเป็นการเฉลิมฉลองและความมุ่งมั่นที ่จะคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ประวัติความเป็นมาของสิ่งแวดล้อมสะท้อนถึงจิตสำนึกด้ านสิ่งแวดล้อมที่เจริญงอกงามในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านม า และสิ่งที่เราได้รับจากวันคุ้มครองโลกก็คือการตระหนั กว่าสิ่งแวดล้อมคือความห่วงใยของคนทุกหมู่เหล่าทั่วโ ลก




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2550
27 comments
Last Update : 22 เมษายน 2551 10:47:43 น.
Counter : 4752 Pageviews.

 

อัล กอร์


อัลเบิร์ต อาร์โนลด์ "อัล" กอร์ จูเนียร์ (Albert Arnold "Al" Gore Jr.) (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2491) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน นักธุรกิจ เขาเป็นประธานของช่องรายการโทรทัศน์อเมริกัน เคอร์เรนท์ ทีวี (Current TV) ซึ่งชนะรางวัลเอ็มมี่ปี 2550, ประธานบริษัท เจเนอเรชั่น อินเวสท์เมนท์ แมเนจเมนท์ (Generation Investment Management LLP), หนึ่งในคณะกรรมการบริษัท แอปเปิ้ล (Apple Inc.), ประธาน องค์กรพันธมิตรเพื่อการปกป้องสภาพอากาศ (Aliance for Climate Protection), และที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการแก่ผู้บริหารระดับสูงของกูเกิ้ล (Google) และในปี พ.ศ. 2550 นายอัล กอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ



ประวัติอัล กอร์


[แก้] ชีวิตช่วงต้น
อัลเบิร์ต เอ กอร์ จูเนียร์ เกิดในวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นลูกชายของ อัลเบิร์ต อาร์โนลด์ กอร์ ซีเนียร์ (Albert Arnold Gore, Sr.) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2482-2487, 2488-2496) และสมาชิกวุฒิสภา (2496-2514) จากมลรัฐเทนเนสซี และพอลีน ลาฟอง กอร์ (Pauline LaFon Gore) ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกๆที่สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ (Vanderbilt University Law School) ในวัยเด็ก ช่วงที่โรงเรียนเปิดเทอม กอร์อาศัยอยู่กับครอบครัวในโรงแรมในเมืองวอชิงตัน ขณะที่ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน เขาจะทำงานในฟาร์มของครอบครัวในเมืองคาร์เธจ (Carthage) มลรัฐเทนเนสซี

กอร์เข้าศึกษาที่ โรงเรียนเซนต์อัลแบนส์ (St. Albans School) ที่ซึ่งเขาสอบได้ลำดับที่ 25 จากนักเรียน 51 คน ในชั้นเรียนปีท้สยสุด กอร์ทำคะแนน SAT (การสอบวัดมาตรฐานความรู้เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ) ได้ 1355 คะแนน (625 ด้านภาษา, 730 ด้านคณิตศาสตร์) เขาได้คะแนน IQ จากการสอบซึ่งโรงเรียนเซนต์อัลแบนส์จัดขึ้นในปี 2504 และ 2507 เท่ากับ 133 และ 134 ตามลำดับ

ปี 2508 กอร์ได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยฮาร์เวิร์ด (Harvard College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่เขาส่งใบสมัคร เขาได้คะแนนต่ำเป็น 5 อันดับสุดท้ายในชั้นเรียนติดต่อกันถึง 2 ปี หลังจากพบว่าตนเองเบื่อหน่ายกับวิชาสาขาเอกภาษาอังกฤษซึ่งเลือกไว้ เขาจึงเปลี่ยนวิชาเอกเป็นรัฐศาสตร์ และสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมในเดือนมิถุนายน 2512 ปริญญาศิลปศาสตร์สาขารัฐศาสตร์ (Bachelor of Arts in government) หลังจากเสร็จสิ้นการเข้ารับราชการทหารในกองทัพ เขาเข้าศึกษาด้านศาสนาที่มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ (Vanderbilt University) แล้วจึงเข้าศึกษาโรงเรียนกฎหมายประจำมหาวิทยาลัยนั้น เขาลาออกจากแวนเดอร์บิลท์ก่อนจบการศึกษาเพื่อลงสมัครชิงเก้าอี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 3 ประจำมลรัฐเทนเนสซี (Tennessee's 3rd Congressional District) ในปี 2519


กอร์คัดค้านการทำสงครามเวียตนาม และอาจหลีกเลี่ยงการต้องไปปฏิบัติงานที่ต่างแดนได้โดยยอมรับตำแหน่งในกองกำลังสำรอง (United states National Guard) ซึ่งเพื่อนของครอบครัวเขาได้สำรองไว้ให้ กอร์กล่าวไว้ว่าความสำนึกในหน้าที่ต่อประเทศชาติทำให้เขาเข้ารับตำแหน่งในบางหน้าที่ เขาเข้ารับตำแหน่งในกองทัพสหรัฐฯ (United States Army) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2512 หลังจากรับการฝึกฝนขั้นพื้นฐานที่ค่ายทหาร ฟอร์ท ดิ๊กซ์ (Fort Dix) กอร์ได้รับมอบหมายให้ทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์กองทัพเขียนลง ดิ อาร์มี่ ฟลายเออร์ (The Army Flier) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ประจำค่ายทหารฟอร์ท รัคเกอร์ (Fort Rucker) ด้วยเวลาที่เหลือเพียง 7 เดือนก่อนหมดเวลาการรับตำแหน่ง เขาถูกส่งไปยังเวียตนาม โดยไปถึงเมื่อ 2 มกราคม 2514 ทำหน้าที่ในหน่วยวิศวกรที่ 20 (The 20th Engineer Brigade)ที่เมือง เบียนเฮา (Bien Hao) และอีกหนึ่งเดือนที่กองกำลังวิศวกร (The Army Engineer Command) ที่เมืองลองบินห์ (Long Binh)


[[แก้] ก้าวสู่การเมือง[ กอร์รับตำแหน่งในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ (U nited States House of Representatives) ตั้งแต่ปี 2520-28 และในวุฒิสภา (United States Senate) ตั้งแต่ปี 2528-36 ในฐานะตัวแทนจากมลรัฐเทนเนสซี (Tennessee) หลังจากนั้น กอร์รับตำแหน่งรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลของ บิล คลินตัน (Bill Clinton)

กอร์เป็นตัวแทนจากพรรคเดโมแครต (Democratic Party) ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2543 อันเป็นที่ถกเถียงในวงกว้าง เนื่องจากข้อบกพร่องในการนับคะแนน รวมถึงการฟ้องร้องศาลสูงประจำมลรัฐฟลอริด้า เพื่อทำการชี้ขาดผลการเลือก สุดท้าย ตำแหน่งประธานาธิบดีตกเป็นของ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช


แก้] การให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม[
กอร์ บรรยายรณรงค์เรื่องภาวะโลกร้อนเป็นวงกว้างทั่วสหรัฐฯ ซึ่งต่อมามีการถ่ายทำเป็นสารคดีรางวัลออสการ์ เรื่องจริงช็อคโลก (An Inconvenient Truth) ว่าด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน องค์กร เซฟ อาวร์ เซลฟ์ส์ (Save our Selves) ภายใต้การนำของเขา เป็นผู้จัดคอนเสิร์ตการกุศล ไลฟ์เอิร์ธ (Live Earth) ขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 (07.07.07) ในเดือนกรกฎาคม 2550 เขาประกาศว่าจะร่วมมือกับ คาเมอรอน ดิแอซ (Cameron Diaz) เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ 60 Seconds to Save the Earth เพื่อขอความสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์สภาพอากาศ กอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2550 ร่วมกับ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovermental Panel on Climate Change : IPCC) สำหรับ "ความพยายามในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเกิดจากมนุษย์ และวางรากฐานสำหรับมาตรการซึ่งจำเป็นสำหรับการบรรเทาสภาวการณ์ดังกล่าว" เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2550[1]



[หนังสือของ กอร์ [ในปี 2550 The Assault of Reason ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวโน้มปัจจุบันในการเมืองสหรัฐฯที่มีการตัดสินใจด้านนโยบายโดย เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงและการวิเคราะห์ ติดอันดับหนึ่งหนังสือขายดีของนิวยอร์ก ไทม์ส์ (New York Times Bestsellers) ประเภทหนังสือปกแข็งที่ไม่ใช่เรื่องแต่งใน 4 สัปดาห์แรกที่วางจำหน่าย

แม้กอร์จะกล่าวอยู่บ่อยครั้งว่า "ผมไม่ได้วางแผนที่จะลงสมัครเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งอีก"
ผมไม่ได้วางแผนที่จะลงสมัครเป็นตัวแทนชิงตำแหน่งอีก" แต่ก็มีการคาดคะเนอยู่บ่อยครั้งว่าเขาอาจลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งประธานาธิบดีประจำปี 2551

Source://en.wikipedia.org/wiki/Al_Gore

 

โดย: Bernadette 11 ธันวาคม 2550 12:22:43 น.  

 


SPEECH BY AL GORE ON THE ACCEPTANCE OF THE NOBEL PEACE PRIZE DECEMBER 10, 2007 OSLO, NORWAY>




Your Majesties, Your Royal Highnesses, Honorable members of the Norwegian Nobel Committee, Excellencies, Ladies and gentlemen.

I have a purpose here today. It is a purpose I have tried to serve for many years. I have prayed that God would show me a way to accomplish it.

Sometimes, without warning, the future knocks on our door with a precious and painful vision of what might be. One hundred and nineteen years ago, a wealthy inventor read his own obituary, mistakenly published years before his death. Wrongly believing the inventor had just died, a newspaper printed a harsh judgment of his life’s work, unfairly labeling him “The Merchant of Death” because of his invention – dynamite. Shaken by this condemnation, the inventor made a fateful choice to serve the cause of peace.

Seven years later, Alfred Nobel created this prize and the others that bear his name.

Seven years ago tomorrow, I read my own political obituary in a judgment that seemed to me harsh and mistaken – if not premature. But that unwelcome verdict also brought a precious if painful gift: an opportunity to search for fresh new ways to serve my purpose.

Unexpectedly, that quest has brought me here. Even though I fear my words cannot match this moment, I pray what I am feeling in my heart will be communicated clearly enough that those who hear me will say, “We must act.”

The distinguished scientists with whom it is the greatest honor of my life to share this award have laid before us a choice between two different futures – a choice that to my ears echoes the words of an ancient prophet: “Life or death, blessings or curses. Therefore, choose life, that both thou and thy seed may live.”

We, the human species, are confronting a planetary emergency – a threat to the survival of our civilization that is gathering ominous and destructive potential even as we gather here. But there is hopeful news as well: we have the ability to solve this crisis and avoid the worst – though not all – of its consequences, if we act boldly, decisively and quickly.

However, despite a growing number of honorable exceptions, too many of the world’s leaders are still best described in the words Winston Churchill applied to those who ignored Adolf Hitler’s threat: “They go on in strange paradox, decided only to be undecided, resolved to be irresolute, adamant for drift, solid for fluidity, all powerful to be impotent.”

So today, we dumped another 70 million tons of global-warming pollution into the thin shell of atmosphere surrounding our planet, as if it were an open sewer. And tomorrow, we will dump a slightly larger amount, with the cumulative concentrations now trapping more and more heat from the sun.

As a result, the earth has a fever. And the fever is rising. The experts have told us it is not a passing affliction that will heal by itself. We asked for a second opinion. And a third. And a fourth. And the consistent conclusion, restated with increasing alarm, is that something basic is wrong.

We are what is wrong, and we must make it right.

Last September 21, as the Northern Hemisphere tilted away from the sun, scientists reported with unprecedented distress that the North Polar ice cap is “falling off a cliff.” One study estimated that it could be completely gone during summer in less than 22 years. Another new study, to be presented by U.S. Navy researchers later this week, warns it could happen in as little as 7 years.

Seven years from now.

In the last few months, it has been harder and harder to misinterpret the signs that our world is spinning out of kilter. Major cities in North and South America, Asia and Australia are nearly out of water due to massive droughts and melting glaciers. Desperate farmers are losing their livelihoods. Peoples in the frozen Arctic and on low-lying Pacific islands are planning evacuations of places they have long called home. Unprecedented wildfires have forced a half million people from their homes in one country and caused a national emergency that almost brought down the government in another. Climate refugees have migrated into areas already inhabited by people with different cultures, religions, and traditions, increasing the potential for conflict. Stronger storms in the Pacific and Atlantic have threatened whole cities. Millions have been displaced by massive flooding in South Asia, Mexico, and 18 countries in Africa. As temperature extremes have increased, tens of thousands have lost their lives. We are recklessly burning and clearing our forests and driving more and more species into extinction. The very web of life on which we depend is being ripped and frayed.

We never intended to cause all this destruction, just as Alfred Nobel never intended that dynamite be used for waging war. He had hoped his invention would promote human progress. We shared that same worthy goal when we began burning massive quantities of coal, then oil and methane.

Even in Nobel’s time, there were a few warnings of the likely consequences. One of the very first winners of the Prize in chemistry worried that, “We are evaporating our coal mines into the air.” After performing 10,000 equations by hand, Svante Arrhenius calculated that the earth’s average temperature would increase by many degrees if we doubled the amount of CO2 in the atmosphere.

Seventy years later, my teacher, Roger Revelle, and his colleague, Dave Keeling, began to precisely document the increasing CO2 levels day by day.

But unlike most other forms of pollution, CO2 is invisible, tasteless, and odorless -- which has helped keep the truth about what it is doing to our climate out of sight and out of mind. Moreover, the catastrophe now threatening us is unprecedented – and we often confuse the unprecedented with the improbable.

We also find it hard to imagine making the massive changes that are now necessary to solve the crisis. And when large truths are genuinely inconvenient, whole societies can, at least for a time, ignore them. Yet as George Orwell reminds us: “Sooner or later a false belief bumps up against solid reality, usually on a battlefield.”

In the years since this prize was first awarded, the entire relationship between humankind and the earth has been radically transformed. And still, we have remained largely oblivious to the impact of our cumulative actions.

Indeed, without realizing it, we have begun to wage war on the earth itself. Now, we and the earth's climate are locked in a relationship familiar to war planners: "Mutually assured destruction."

More than two decades ago, scientists calculated that nuclear war could throw so much debris and smoke into the air that it would block life-giving sunlight from our atmosphere, causing a "nuclear winter." Their eloquent warnings here in Oslo helped galvanize the world’s resolve to halt the nuclear arms race.

Now science is warning us that if we do not quickly reduce the global warming pollution that is trapping so much of the heat our planet normally radiates back out of the atmosphere, we are in danger of creating a permanent “carbon summer.”

As the American poet Robert Frost wrote, “Some say the world will end in fire; some say in ice.” Either, he notes, “would suffice.”

But neither need be our fate. It is time to make peace with the planet.

We must quickly mobilize our civilization with the urgency and resolve that has previously been seen only when nations mobilized for war. These prior struggles for survival were won when leaders found words at the 11th hour that released a mighty surge of courage, hope and readiness to sacrifice for a protracted and mortal challenge.

These were not comforting and misleading assurances that the threat was not real or imminent; that it would affect others but not ourselves; that ordinary life might be lived even in the presence of extraordinary threat; that Providence could be trusted to do for us what we would not do for ourselves.

No, these were calls to come to the defense of the common future. They were calls upon the courage, generosity and strength of entire peoples, citizens of every class and condition who were ready to stand against the threat once asked to do so. Our enemies in those times calculated that free people would not rise to the challenge; they were, of course, catastrophically wrong.

Now comes the threat of climate crisis – a threat that is real, rising, imminent, and universal. Once again, it is the 11th hour. The penalties for ignoring this challenge are immense and growing, and at some near point would be unsustainable and unrecoverable. For now we still have the power to choose our fate, and the remaining question is only this: Have we the will to act vigorously and in time, or will we remain imprisoned by a dangerous illusion?

Mahatma Gandhi awakened the largest democracy on earth and forged a shared resolve with what he called “Satyagraha” – or “truth force.”

In every land, the truth – once known – has the power to set us free.

Truth also has the power to unite us and bridge the distance between “me” and “we,” creating the basis for common effort and shared responsibility.

There is an African proverb that says, “If you want to go quickly, go alone. If you want to go far, go together.” We need to go far, quickly.

We must abandon the conceit that individual, isolated, private actions are the answer. They can and do help. But they will not take us far enough without collective action. At the same time, we must ensure that in mobilizing globally, we do not invite the establishment of ideological conformity and a new lock-step “ism.”

That means adopting principles, values, laws, and treaties that release creativity and initiative at every level of society in multifold responses originating concurrently and spontaneously.

This new consciousness requires expanding the possibilities inherent in all humanity. The innovators who will devise a new way to harness the sun’s energy for pennies or invent an engine that’s carbon negative may live in Lagos or Mumbai or Montevideo. We must ensure that entrepreneurs and inventors everywhere on the globe have the chance to change the world.

When we unite for a moral purpose that is manifestly good and true, the spiritual energy unleashed can transform us. The generation that defeated fascism throughout the world in the 1940s found, in rising to meet their awesome challenge, that they had gained the moral authority and long-term vision to launch the Marshall Plan, the United Nations, and a new level of global cooperation and foresight that unified Europe and facilitated the emergence of democracy and prosperity in Germany, Japan, Italy and much of the world. One of their visionary leaders said, “It is time we steered by the stars and not by the lights of every passing ship.”

In the last year of that war, you gave the Peace Prize to a man from my hometown of 2000 people, Carthage, Tennessee. Cordell Hull was described by Franklin Roosevelt as the “Father of the United Nations.” He was an inspiration and hero to my own father, who followed Hull in the Congress and the U.S. Senate and in his commitment to world peace and global cooperation.

My parents spoke often of Hull, always in tones of reverence and admiration. Eight weeks ago, when you announced this prize, the deepest emotion I felt was when I saw the headline in my hometown paper that simply noted I had won the same prize that Cordell Hull had won. In that moment, I knew what my father and mother would have felt were they alive.

Just as Hull’s generation found moral authority in rising to solve the world crisis caused by fascism, so too can we find our greatest opportunity in rising to solve the climate crisis. In the Kanji characters used in both Chinese and Japanese, “crisis” is written with two symbols, the first meaning “danger,” the second “opportunity.” By facing and removing the danger of the climate crisis, we have the opportunity to gain the moral authority and vision to vastly increase our own capacity to solve other crises that have been too long ignored.

We must understand the connections between the climate crisis and the afflictions of poverty, hunger, HIV-Aids and other pandemics. As these problems are linked, so too must be their solutions. We must begin by making the common rescue of the global environment the central organizing principle of the world community.

Fifteen years ago, I made that case at the “Earth Summit” in Rio de Janeiro. Ten years ago, I presented it in Kyoto. This week, I will urge the delegates in Bali to adopt a bold mandate for a treaty that establishes a universal global cap on emissions and uses the market in emissions trading to efficiently allocate resources to the most effective opportunities for speedy reductions.

This treaty should be ratified and brought into effect everywhere in the world by the beginning of 2010 – two years sooner than presently contemplated. The pace of our response must be accelerated to match the accelerating pace of the crisis itself.

Heads of state should meet early next year to review what was accomplished in Bali and take personal responsibility for addressing this crisis. It is not unreasonable to ask, given the gravity of our circumstances, that these heads of state meet every three months until the treaty is completed.

We also need a moratorium on the construction of any new generating facility that burns coal without the capacity to safely trap and store carbon dioxide.

And most important of all, we need to put a price on carbon -- with a CO2 tax that is then rebated back to the people, progressively, according to the laws of each nation, in ways that shift the burden of taxation from employment to pollution. This is by far the most effective and simplest way to accelerate solutions to this crisis.

The world needs an alliance – especially of those nations that weigh heaviest in the scales where earth is in the balance. I salute Europe and Japan for the steps they’ve taken in recent years to meet the challenge, and the new government in Australia, which has made solving the climate crisis its first priority.

But the outcome will be decisively influenced by two nations that are now failing to do enough: the United States and China. While India is also growing fast in importance, it should be absolutely clear that it is the two largest CO2 emitters — most of all, my own country –– that will need to make the boldest moves, or stand accountable before history for their failure to act.

Both countries should stop using the other’s behavior as an excuse for stalemate and instead develop an agenda for mutual survival in a shared global environment.

These are the last few years of decision, but they can be the first years of a bright and hopeful future if we do what we must. No one should believe a solution will be found without effort, without cost, without change. Let us acknowledge that if we wish to redeem squandered time and speak again with moral authority, then these are the hard truths:

The way ahead is difficult. The outer boundary of what we currently believe is feasible is still far short of what we actually must do. Moreover, between here and there, across the unknown, falls the shadow.

That is just another way of saying that we have to expand the boundaries of what is possible. In the words of the Spanish poet, Antonio Machado, “Pathwalker, there is no path. You must make the path as you walk.”

We are standing at the most fateful fork in that path. So I want to end as I began, with a vision of two futures – each a palpable possibility – and with a prayer that we will see with vivid clarity the necessity of choosing between those two futures, and the urgency of making the right choice now.

The great Norwegian playwright, Henrik Ibsen, wrote, “One of these days, the younger generation will come knocking at my door.”

The future is knocking at our door right now. Make no mistake, the next generation will ask us one of two questions. Either they will ask: “What were you thinking; why didn’t you act?”

Or they will ask instead: “How did you find the moral courage to rise and successfully resolve a crisis that so many said was impossible to solve?”

We have everything we need to get started, save perhaps political will, but political will is a renewable resource.

So let us renew it, and say together: “We have a purpose. We are many. For this purpose we will rise, and we will act.”
Source://www.algore.com/about.html
//www.draftgore.com/free_details.asp?id=49

 

โดย: Bernadette 11 ธันวาคม 2550 12:28:02 น.  

 

นับถือ อัล กอร์ มากครับที่ออกมาเรียกร้องให้ทุกคนตื่นตัวในเรื่องนี้

ชอบสารคดีนี้มากๆเลยแบร์

ซื้อแจกเพื่อนเลยล่ะ อิอิ

 

โดย: mr.cozy 11 ธันวาคม 2550 12:48:14 น.  

 

นับถือ อัล กอร์ มากครับที่ออกมาเรียกร้องให้ทุกคนตื่นตัวในเรื่องนี้

ชอบสารคดีนี้มากๆเลยแบร์

ซื้อแจกเพื่อนเลยล่ะ อิอิ



โดย: mr.cozy วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:12:48:14 น.

ตอบ โหเจ๋งอะ แจกเพื่อนๆๆดีม๊ากกกเลย

 

โดย: Bernadette 11 ธันวาคม 2550 12:49:39 น.  

 

เรื่องนี้ถือเป็นหที่ปลุกกระแสให้คนหันมาตระหนักเรื่องโลกร้อน หลังจากที่โดนเพิกเฉยมานาน

แม้มีนักวิทย์ออกมาต่อต้านว่าข้อมูลต่างๆ บางอย่างไม่เป็นจริง

แต่เราว่า แค่ทำให้คนหลายล้านคนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ก็ถือว่าทำด้ประสบความสำเร็จแล้ว

 

โดย: Michiru 11 ธันวาคม 2550 13:01:59 น.  

 

เห็นอยู่เหมือนกันแต่ยัไม่ได้ดูอะ
เป็นโรค รักพี่เสียดายน้อง น่ะฮะ เห็ฯนแผ่นนึกดี แต่พอมองอีกแผ่น
มันก็ดี อีก บางทีไม่เอามันทั้งสอง อิอิ ...
* * โลกร้อนขั้น จริงหรือ ใครเป้นคนก่อ และจะมีใครมั้ย ที่จะหยุดมันได้
เป็นคำถามที่น่าคิด นะฮะ ในเมื่อผู้คนยังเห็นแก่ตัวกันอยู่ก็คงไม่มีทางแก้ให้กลับมาเป้นโลก ที่สวย
งามเหมือนแต่ก่อนได้หรอกนะฮะ - แต่ก่อนเมืองไทยที่พอถึงฤดูหนาว ก็รู้สึกหนาวมักมาก
แต่ตอนนี้สิ อย่าว่าแต่หน้าหนาวเลยครับ หน้าร้อน มันร้อนมากๆ .. โอ้ว ทนบ่ หวาย แว้ว อ่า..

 

โดย: haro_haro 11 ธันวาคม 2550 14:05:25 น.  

 

เรื่องนี้ถือเป็นหที่ปลุกกระแสให้คนหันมาตระหนักเรื่องโลกร้อน หลังจากที่โดนเพิกเฉยมานาน

แม้มีนักวิทย์ออกมาต่อต้านว่าข้อมูลต่างๆ บางอย่างไม่เป็นจริง

แต่เราว่า แค่ทำให้คนหลายล้านคนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ก็ถือว่าทำด้ประสบความสำเร็จแล้ว



โดย: Michiru วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:13:01:59 น.

ตอบ เราเห็นด้วย มีกระแสต่อต้านเล็กน้อยย เราขี้เกียจยกมา เพราะ

1. กระแสต่อต้าน เหตุผลที่มาที่ไปน้อยอะ
2. แหล่งอ้างอิง มะเห็นอะ
3. บทความต่อต้าน กะหยอด ด้วยคำว่า มีผู้ปลุกจิตสำนึกโลกร้อนกะดี เอ๊ะไงกัน อ่า ทำได้ 0.0000001 ของท่านอังกอร์กะดีแว๊ววววววววว

 

โดย: Bernadette 11 ธันวาคม 2550 14:10:53 น.  

 

เห็นอยู่เหมือนกันแต่ยัไม่ได้ดูอะ
เป็นโรค รักพี่เสียดายน้อง น่ะฮะ เห็ฯนแผ่นนึกดี แต่พอมองอีกแผ่น
มันก็ดี อีก บางทีไม่เอามันทั้งสอง อิอิ ...
* * โลกร้อนขั้น จริงหรือ ใครเป้นคนก่อ และจะมีใครมั้ย ที่จะหยุดมันได้
เป็นคำถามที่น่าคิด นะฮะ ในเมื่อผู้คนยังเห็นแก่ตัวกันอยู่ก็คงไม่มีทางแก้ให้กลับมาเป้นโลก ที่สวย
งามเหมือนแต่ก่อนได้หรอกนะฮะ - แต่ก่อนเมืองไทยที่พอถึงฤดูหนาว ก็รู้สึกหนาวมักมาก
แต่ตอนนี้สิ อย่าว่าแต่หน้าหนาวเลยครับ หน้าร้อน มันร้อนมากๆ .. โอ้ว ทนบ่ หวาย แว้ว อ่า..



โดย: haro_haro วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:14:05:25 น.


ตอบ แง๊บบบ ประเทศยักษ์หย่ายยยยกะโทษกานไปมาอยู่น้านนแหละ บีบจีน รณรงค์ ให้ทันโอลิมปิค แง๊บแง๊บบ

ขณะที่ ตอนนี้ เค้าไปรณรงค์ ประชุมกันอยู่ที่บาหลีอ่า

 

โดย: Bernadette 11 ธันวาคม 2550 14:12:25 น.  

 

มิ๊ตติ้งนี้รู้สึกว่าจะใช้เงินเยอะเหมือนกันนะ (เฉพาะเราคนเดียว แหะๆๆ)

 

โดย: BloodyMonday 11 ธันวาคม 2550 21:34:13 น.  

 

^
^
BloodyMonday เมื่อวานกินอร่อยไหมคะ...หุหุ

 

โดย: Michiru 12 ธันวาคม 2550 7:50:06 น.  

 

มิ๊ตติ้งนี้รู้สึกว่าจะใช้เงินเยอะเหมือนกันนะ (เฉพาะเราคนเดียว แหะๆๆ)



โดย: BloodyMonday วันที่: 11 ธันวาคม 2550 เวลา:21:34:13 น.


ตอบ ก๊ากกกกกกกกกกกก คนเราทำงานม๊ากกกกกะเลยน๊ะ ก๊ากกกกกกกกกกก

 

โดย: Bernadette 12 ธันวาคม 2550 8:31:54 น.  

 

^
^
BloodyMonday เมื่อวานกินอร่อยไหมคะ...หุหุ



โดย: Michiru วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:7:50:06 น.


ตอบ อาร์ท บอกว่า อาหร่อยยยยยยยยยยก๊ากกกกกกกกก

 

โดย: Bernadette 12 ธันวาคม 2550 8:32:33 น.  

 

แบร์ เราอัพแล้วนะ
แล้ววันนี้เราลืมเอามือถือมาจากบ้านอ่ะ ดังนั้นโทรหาเราไม่ติดแน่เลย ยังไงไปเจอที่ร้านเลยนะ

 

โดย: Michiru 12 ธันวาคม 2550 11:05:21 น.  

 

แบร์ เราอัพแล้วนะ
แล้ววันนี้เราลืมเอามือถือมาจากบ้านอ่ะ ดังนั้นโทรหาเราไม่ติดแน่เลย ยังไงไปเจอที่ร้านเลยนะ



โดย: Michiru วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:11:05:21 น.


ตอบ ได้ได้ เดี๊ยวตามอาร์ทอีกที ก๊ากกกกกกกกก

 

โดย: Bernadette 12 ธันวาคม 2550 13:31:58 น.  

 

เจอกานนนน

 

โดย: mr.cozy 12 ธันวาคม 2550 14:07:25 น.  

 

ขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยม blog เราค่ะ

เรื่องนี้ดูแล้วเหมือนกัน ก็ขอชื่อชม อัล กอร์ ด้วยที่ออกมาพูดเรื่องโลกร้อนให้โลกได้รับรู้ และได้ตระหนักร่วมกัน ในขณะที่ ปธน.บุช นิ่งเงียบและไม่ร่วมลงนามในพิธีสารโตเกียวในการลดปริมาณกาซที่ปล่อย...เฮ้อ!

 

โดย: DKRY 12 ธันวาคม 2550 14:24:44 น.  

 

ช๊อบ..ชอบ.."อัล กอร์"...

Christmas Glitter Graphics

 

โดย: เริงฤดีนะ 12 ธันวาคม 2550 14:44:41 น.  

 

ขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยม blog เราค่ะ

เรื่องนี้ดูแล้วเหมือนกัน ก็ขอชื่อชม อัล กอร์ ด้วยที่ออกมาพูดเรื่องโลกร้อนให้โลกได้รับรู้ และได้ตระหนักร่วมกัน ในขณะที่ ปธน.บุช นิ่งเงียบและไม่ร่วมลงนามในพิธีสารโตเกียวในการลดปริมาณกาซที่ปล่อย...เฮ้อ!



โดย: DKRY วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:14:24:44 น.


ตอบ ขอบพระคุง สาวๆๆ ที่น่ารัก ชอบหนังหนักแบกเหล็กเหมือนกานนนเยยย

 

โดย: Bernadette 12 ธันวาคม 2550 15:33:28 น.  

 

ช๊อบ..ชอบ.."อัล กอร์"...




Christmas Glitter Graphics





โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:14:44:41 น.


ตอบ สาวที่น่ารักมาเยี่ยมหุหุ

 

โดย: Bernadette 12 ธันวาคม 2550 15:35:47 น.  

 

เจอกานนนน



โดย: mr.cozy วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:14:07:25 น.

ตอบ เชเช

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของกอร์ที่ทำให้มุมมองต่อโลกและชีวิตของเขาเปลี่ยนไปตลอดกาลคือ การที่เขาเกือบจะสูญเสียลูกชายสุดที่รักวัย ๖ ขวบไปกับอุบัติเหตุรถชนที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา
หลังจากลูกชายของเขารอดตายมาได้อย่างปาฏิหาริย์ เขาได้ให้สัญญากับตัวเอง ๒ ข้อ หนึ่ง ให้ความสำคัญกับครอบครัวก่อนเสมอ และสอง ให้ความสำคัญกับวิกฤตการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับแรกในชีวิตการทำงาน



ตอบ เรากะชอบแนวคิดของฝรั่ง เกือบทุกๆๆคนอะ

จะมีจุดเปลี่ยน หรือ อะไรซักอย่างเป็ฯแรงบันดาลจายยย

ให้เค้าทำอะไร เกิดประโยชน์แก่โลกบ้าง หรือทำอะไรให้โลกให้คนอื่นบ้างง เราเห็นพวกเค้าเป็งแบบนี้กานนเกือบทุกคนเลยอ่า

 

โดย: Bernadette 12 ธันวาคม 2550 15:39:25 น.  

 

นี่ยังนั่งทำงานอยู่เลย....เเง๊ว........
เด๋วค่อยออกไปแป๊บเดียวถึง

 

โดย: Michiru 12 ธันวาคม 2550 17:16:55 น.  

 

Good Morning.........

 

โดย: Michiru 13 ธันวาคม 2550 8:06:26 น.  

 

น้องสาวสบายดีนะค่ะ?

 

โดย: ตังเมย์เหนียว 13 ธันวาคม 2550 8:28:49 น.  

 

หวัดดีจ้า....

ช่ายแล้วว...เรามาร่วมมือลดภาวะโลกร้อนกันเหอะเนอะ

ไม่ได้เข้ามานาน สบายดีนะจ๊ะ...จุ๊บๆๆ

 

โดย: loveyoosu 13 ธันวาคม 2550 9:30:09 น.  

 

ขอบคุณสำหรับแม่พระนะครับ

แย่จริงๆเมื่อวานกินมากเกินไป วันนี้ต้องไม่กินอะไรเลย

 

โดย: BloodyMonday 13 ธันวาคม 2550 10:36:26 น.  

 

Good Morning.........




โดย: Michiru วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:8:06:26 น.


ตอบ มอร์นิ่งจ้าตะเอง



น้องสาวสบายดีนะค่ะ?



โดย: ตังเมย์เหนียว วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:8:28:49 น.

ตอบ ขอพระเป็นเจ้าอวยพรค่ะ สะบายดีค่ะ



หวัดดีจ้า....

ช่ายแล้วว...เรามาร่วมมือลดภาวะโลกร้อนกันเหอะเนอะ

ไม่ได้เข้ามานาน สบายดีนะจ๊ะ...จุ๊บๆๆ



โดย: loveyoosu วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:9:30:09 น.

ตอบ มีหนังเกาหลีให้เค้าดูยังตะเอง



ขอบคุณสำหรับแม่พระนะครับ

แย่จริงๆเมื่อวานกินมากเกินไป วันนี้ต้องไม่กินอะไรเลย



โดย: BloodyMonday วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:10:36:26 น.

ตอบ ขอพระเป็นเจ้าอวยพรค่ะ ขอให้ฉลอง คริสมาสที่กวางเจาให้สนุ๊กกน๊า อะเหมือนกัน มะวาน อร่อยอะ กินไปหลายเหมือนกาลลหุหุ


 

โดย: Bernadette 13 ธันวาคม 2550 13:06:22 น.  

 

Seven years later, Alfred Nobel created this prize and the others that bear his name.

Seven years ago tomorrow, I read my own political obituary in a judgment that seemed to me harsh and mistaken – if not premature. But that unwelcome verdict also brought a precious if painful gift: an opportunity to search for fresh new ways to serve my purpose.

ประเด็น 7 ปี

วันนี้ฟังบาทหลวงคุณพ่อเทศน์อ่า ท่านเทศน์เรื่อง โยแซฟ อุปราช ของฟาร์โรว์ พันธสัญญาเก่า
7 ปีแรก แห่งความสมบรูณ์ กักตุนเก็บเกี่ยวข้าวของ
7 ปีหลังทุกข์ยากก นำออกมาใช้เผื่อแผ่ประเทศเพื่อนบ้านอ่า

กะไปตรงกะแนวspeedของอังกอร์ ในลักษณะที่ว่า อังกอร์ จับประเด็นของbible มาเป็นแรงบันดาลจายแนวคิดอ่า


 

โดย: Bernadette 15 ธันวาคม 2550 22:39:03 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Bernadette
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit

The Ave Maria asks Mary to "pray for us sinners."

Amen

PaPa for all Father W e pray year of priests.



Card Michael Michai Kitbunchu, Archbishop of Bangkok, is the first member of the College of Cardinals from Thailand.

source :http://www.asianews.it/news-en/Michai-Kitbunchu,-first-cardinal-from-Thailand-3038.html

พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะเชนต์ปอล part1

ฺBishop ฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พิธีรับPallium Metropolitans Bangkok Thailand >

สารคดี เทศกาลแห่ดาว สกลนคร Welcome
Sakonnakorn Christmas Thailand
Metropolitans Tarae Sakornakorn Thailand


Orchestra and four vocal Choir - *Latin* Recorded for the Anniversary of the Pope Benedict XVI April 19 This is the Anthem of the Vatican City. The Songs are called Inno e Marcia Pontificale ...

We are Catholic.

หน้าเฟส อัพรูป หาที่อัพรูปใหม่อยู่ http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3


MusicPlaylist
MySpace Music Playlist at MixPod.com

Friends' blogs
[Add Bernadette's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.