แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า buy แล้ววbuyอีก......... faith, hope and charity เฟศบุ๊ค http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2551
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
11 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 
Taloompuk (2002):ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน RIP แด่พี่น้องพม่าที่หายสาบสูญและเสียชีวิต


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิ " มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ " ขึ้น ความเป็นมาของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ คือ ในระหว่างวันที่ ๒๕ - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๖ ได้เกิดภัยพิบัติอันเกิดจากพายุโซนร้อนได้พัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศไทย ยังความเสียหายให้แก่ชีวิต
ทรัพย์สินเป็นจำนวนมากในจังหวัดภาคใต้ ๑๕ จังหวัด โดยเฉพาะที่บ้านปลายแหลม ตำบลตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในความทุกข์อันใหญ่หลวงของพสกนิกรในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่งได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิตประกาศชักชวนให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินและสิ่งของโดยเสด็จพระราชกุศลช่วยเหลือผู้ประสบภัยครั้งนั้นประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศตลอดจนรัฐบาลมิตรประเทศได้ช่วยบริจาคเงินและสิ่งของ
โดยเสด็จพระราชกุศลเป็นจำนวนมากเฉพาะเงินสดได้ ๑๑ ล้านบาทได้ทรงให้จัดตั้งเป็นทุนเพื่อหาดอกผลสำหรับเด็กยากจนอนาถาขาดบิดามารดาที่ประสบภัยในครั้งนั้นตลอดจนราษฏรผู้ประสบสาธารณภัยอื่นอีกด้วย โดยโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งชื่อว่า " มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ " พระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนประเดิม ๖ ล้านบาทและพระราชทานสมทบอีกในบางโอกาสซึ่งต่อมาภายหลังมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ได้ปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ประสบภัยมาโดยตลอดบทความของ ( นายชำนาญ เกิดพิบูลย์ ประพันธ์ )
Source ://www.geocities.com/pimvadee_sujarit/testwork.html

หนังสืออุตุนิยมวิทยา


1. วาตภัยคืออะไร
วาตภัยหมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางธรรรมชาติ คือ


1. พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น

2. พายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดถี่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีการเกิดน้อยครั้งกว่า สำหรับภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนัก โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดใน ช่วงที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกดอากาศสูงในประเทศจีนพัดมาปะทะกัน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองมีพายุลมแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้จะทำความเสียหายในบริเวณที่ไม่กว้างนัก ประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร


3. ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียน ของลมภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้จะ ทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้ สำหรับในประเทศไทยมักจะเกิดกระแสลมวน ไกล้พื้นดินเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงใต้พื้นฐานเมฆ และจะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ และมีช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จึงทำให้เกิดความเสียหายได้ในบางพื้นที่


2. วาตภัยครั้งสำคัญในประเทศไทยเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อไร

1. วาตภัยจากพายุโซนร้อน “แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2505 มีผู้เสียชีวิต 870 คน สูญหาย 160 คน บาดเจ็บ 422 คน ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน ทรัพย์สินสูญเสียราว 960 ล้านบาท

2. วาตภัยจากพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ที่พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ความเร็วของลมวัดได้ 120 กม./ชม. ประชาชนเสียชีวิต 602 คน บาดเจ็บ 5,495 คน บ้านเรือนเสียหาย 61,258 หลัง ทรัพย์สินสูญเสียราว 11,739,595,265 บาท

3. วาตภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดา ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน ถึง 4 พฤศจิกายน 2540 ทำให้เกิดความเสียหายจากวาตภัย อุทกภัย และคลื่นซัดฝั่งในพื้นที่ 11 จังหวัดของภาคใต้และภาคตะวันออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532


3. อันตรายที่เกิดจากวาตภัยมีอะไรบ้าง
อันตรายที่เกิดจากพายุและลมแรงจัด ส่งผลความเสียหายดังนี้
บนบก
ภาพตัวอย่างพายุในเมืองไทย พม่า Cyclone Hits Asia Thailand Burma Myanmar


ต้นไม้ถอนรากถอนโคน ต้นไม้ทับบ้านเรือนพัง ผู้คนได้รับบาดเจ็บถึงตาย เรือกสวนไร่นา เสียหายหนักมาก
บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรง ไม่สามารถต้านทานความรุนแรงของลมได้พังระเนระนาด หลังคาบ้านที่ทำด้วยสังกะสีจะถูกพัดเปิด กระเบื้องหลังคาปลิวว่อน เป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง เสาไฟฟ้า เสาโทรเลข เสาโทรศัพท์ล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดเพลิงไหม้ ผู้คนเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่พักอยู่ริมทะเล จะถูกคลื่นซัดท่วมบ้านเรือน และกวาดลงทะเล ผู้คนอาจจมน้ำตายในทะเลได้ ฝนตกหนักมากทั้งวันและทั้งคืน อุทกภัยจะตามมา น้ำป่าจากภูเขาไหลหลากลงมาอย่าง รุนแรง ท่วมบ้านเรือน ถนน และเรือนสวนไร่นา
เส้นทางคมนาคม ทางรถไฟ สะพาน และถนนถูกตัดขาด


ในทะเล

มีลมพัดแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่อาจถูกพัดพาไปเกยฝั่งหรือชนหินโสโครกทำให้จมได้
เรือทุกชนิดควรงดออกจากฝั่งหรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือเข้าใกล้ศูนย์กลางพายุ มีคลื่นใหญ่ซัดฝั่งทำให้ระดับน้ำสูงท่วม อาคารบ้านเรือนบริเวณริมทะเล และอาจกวาด สิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงลงทะเลได้ เรือประมงบริเวณชายฝั่งจะถูกทำลาย

4. การเตรียมการป้องกันอันตรายจากวาตภัยต้องปฏิบัติอย่างไร

การเตรียมการและขณะเกิดวาตภัย

1. ติดตามข่าวและประกาศคำเตือนลักษณะอากาศร้ายจากกรมอุตุนิยมวิทยา
2. เตรียมวิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร ชนิดใช้ถ่านแบตเตอรี่ เพื่อติดตามข่าวในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง
3. ตัดกิ่งไม้ หรือรีดกิ่งไม้ที่อาจหักได้จากลมพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่จะหักมาทับบ้าน สายไฟฟ้า ต้นไม้ที่ตายยืนต้นควรจัดการโค่นลงเสีย
4. ตรวจเสาและสายไฟฟ้าทั้งในและนอกบริเวณบ้านให้เรียบร้อย ถ้าไม่แข็งแรงให้ยึดเหนี่ยวเสาไฟฟ้าให้มั่นคง
5. พักในอาคารที่มั่นคงตลอดเวลาขณะเกิดวาตภัย อย่าออกมาในที่โล่งแจ้ง เพราะต้นไม้และกิ่งไม้อาจหักโค่นลงมาทับได้ รวมทั้งสังกะสีและกระเบื้องจะปลิวตามลมมาทำอันตรายได้
6. ปิดประตู หน้าต่างทุกบาน รวมทั้งยึดประตูและหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรง ถ้าประตูหน้าต่างไม่แข็งแรง ให้ใช้ไม้ทาบตีตะปูตรึงปิดประตู หน้าต่างไว้จะปลอดภัยยิ่งขึ้น
7. ปิดกั้นช่องทางลมและช่องทางต่าง ๆ ที่ลมจะเข้าไปทำให้เกิดความเสียหาย
8. เตรียมตะเกียง ไฟฉาย และไม้ขีดไฟไว้ให้พร้อม ให้อยู่ใกล้มือ เมื่อเกิดไฟฟ้าดับจะได้หยิบใช้ได้อย่างทันท่วงที และน้ำสะอาด พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องหุ้มตุ้ม
9. เตรียมอาหารสำรอง อาหารกระป๋องไว้บ้างสำหรับการยังชีพในระยะเวลา 2-3 วัน
10. ดับเตาไฟให้เรียบร้อยและควรจะมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงไว้
11. เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์
12. สิ่งของควรไว้ในที่ต่ำ เพราะอาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้
13. บรรดาเรือ แพ ให้ลงสมอยึดตรึงให้มั่นคงแข็งแรง
14. ถ้ามีรถยนต์ หรือพาหนะ ควรเตรียมไว้ให้พร้อมภายหลังพายุสงบอาจต้องนำผู้ป่วยไปส่ง โรงพยาบาล น้ำมันควรจะเติมให้เต็มถังอยู่ตลอดเวลา
15. เมื่อลมสงบแล้วต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง ถ้าพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรงเกิดขึ้นอีก จึงจะวางใจว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้เพราะ เมื่อศูนย์กลางพายุผ่านไปแล้วจะต้องมีลมแรงและฝนตกหนักผ่านมาอีก ประมาณ 2 ชั่วโมง
16. ตั้งสติให้มั่นในการติดสินใจ ช่วยครอบครัวให้พ้นอันตรายในขณะวิกฤต โทรปรึกษานักพยากรณ์อากาศที่หมายเลขโทรศัพท์ 398-9830, 399-4012-3

เมื่อพายุสงบแล้ว

1. เมื่อมีผู้บาดเจ็บให้รีบช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้เคียงให้เร็ว ที่สุด
2. ต้นไม้ใกล้จะล้มให้รีบจัดการโค่นล้มลงเสีย มิฉะนั้นจะหักโค่นล้มภายหลัง
3. ถ้ามีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาดอย่าเข้าใกล้หรือแตะต้องเป็นอันขาด ทำเครื่องหมายแสดงอันตราย 4. แจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือช่างไฟฟ้าจัดการด่วน อย่าแตะโลหะที่เป็นสื่อไฟฟ้า
4. เมื่อปรากฎว่าท่อประปาแตกที่ใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาแก้ไขโดยด่วน
5. อย่าเพิ่งใช้น้ำประปา เพราะน้ำอาจไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากท่อแตกหรือน้ำท่วม ถ้าใช้น้ำประปาขณะนั้นดื่มอาจจะเกิดโรคได้ ให้ใช้น้ำที่กักตุนก่อนเกิดเหตุดื่มแทน
6. ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การควบคุมโรคติดต่อที่อาจเกิดระบาดได้
การทำน้ำให้สะอาด เช่น ใช้สารส้ม และใช้ปูนคลอรีน
การกำจัดอุจจาระ โดยใช้ปูนขาว หรือน้ำยาไลโซล 5% กำจัดกลิ่นและฆ่าเชื้อโรค
กำจัดพาหนะนำโรค เช่น ยุง และแมลงวัน โดยใช้ฆ่าแมลง

โรคต่าง ๆ ที่มักเกิดหลังวาตภัย
โรคระบบหายใจ เช่น หวัด
โรคติดเชื้อ และปรสิต เช่น การอักเสบมีหนอง โรคฉี่หนู เป็นต้น
โรคผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดน้ำ กลาก เป็นต้น
โรคระบบทางเดินทางอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง
ภาวะทางจิต เช่น ความเครียด

Source : กรมอุตุวิทยา //www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=72

ก่อนจะเข้าเรื่องวาตภัยพี่น้องพม่า คุยเรื่องวาตภัยของพี่น้องปวงชนชาวไทยก่อน เรายังมีพ่อหลวงของเราดูแล ช่วยเหลือ และพี่น้องชาวไทยทั่วประเทศไม่นิ่งดูดาย ทุกๆๆหน่วยงานราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ สื่อต่างๆๆ ช่วยเหลือกันหมด พี่น้องคนไทย ร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ........ ........แถมช่วยพี่น้องคนไทยไม่ทัน มีสื่อคอยติดตามให้อีกไม่ว่าทั้งไทยและต่างประเทศ ..........โชคดีที่เกิดเป็นคนไทย


ย้อนไปเมื่อปีพุทธศักราช 2505 พายุโซนร้อนแฮเรียต ได้โหมกระหน่ำกวาดเอาหมู่บ้าน บริเวณปลายแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หายไปในพริบตา พร้อมกับคร่าชีวิตชาวมุสลิม และชาวไทยไปกว่าหมื่นชีวิต นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ในรอบ 40 ปีที่ไม่มีวันลืม ฟิล์มเซิร์ฟ ขอนำคุณย้อนรำลึกอดีต ที่สร้างความสะเทือนขวัญ ให้กับชาวนครศรีธรรมราช และคนไทยทั้งประเทศ

ข้อมูลจริงจาก เหตุการณ์ "มหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก"

เส้นผ่าศูนย์กลางของพายุ มีขนาด 300 กิโลเมตร หรือใหญ่เท่ากับจังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเร็วลม 180 - 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ความเร็วในการเคลื่อนที่ 92.622 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เสียงดังเหมือนเครื่องบินไอพ่น, น้ำทะเลม้วนตัวสูงขึ้นเป็นทรงกระบอก สูงกว่าต้นตาลหลายสิบเท่า

พายุลูกนี้ชื่อ แฮเรียต เป็นพายุระดับโซนร้อน

ระดับความรุนแรงของพายุแบ่งออกเป็น
- ดีเปรสชั่น ความเร็ว 60 - 85 กม./ชม
- พายุโซนร้อน ความเร็ว 86 - 110 กม./ชม.
- พายุไต้ฝุ่น ความเร็ว 111 - 125 กม./ชม.

วันที่เกิดเหตุการณ์ 25 ตุลาคม พ.ศ.2505 เวลาประมาณ 19.00-22.30 น.

ท้องฟ้าแดงฉาน คลื่นสูงเทียมยอดสน (20 เมตร) ถล่มใส่แหลมตะลุมพุกลูกเดียว กินเวลา 3 ชั่วโมง บ้านเรือนก็เริ่มพัง และขณะที่ฝนตกลงมาเป็นบ้าเป็นหลัง ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่วัยชรา เริ่มร้องไห้กระจองอแง ไฟดับมืดไปทั้งตะลุมพุก

พอ 4 ทุ่ม คลื่นลมหยุดนิ่งเป็นปลิดทิ้ง จนชาวบ้านเข้าใจว่าพายุสงบแล้ว ผู้คนเริ่มออกมาสำรวจความเสียหาย

แต่อีกครึ่งชั่วโมงต่อมา พายุอีกลูกก็พัดสวนทางกับลูกแรก คราวนี้บ้านเรือนและผู้คน ถูกกวาดลงทะเลเหี้ยนเตียน พายุลูกหลังนี้ ทำให้ชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก
(คำอธิบาย - รูปแบบของพายุ เป็นรูปวงกลม ตรงกลางเป็นช่องว่างเหมือนโดนัท เมื่อพายุลูกแรกซัดเข้าแหลม ก็จะนำน้ำทะเลปริมาณมหาศาล ขึ้นมาบนฝั่ง เมื่อเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุ ลมจะสงบนิ่ง และเมื่อพายุเคลื่อนตัวออก ปีกของพายุด้านท้าย จะกวาดต้อนสิ่งของและผู้คนบนแผ่นดิน ลงไปสู่ทะเล)

ลักษณะพื้นที่ของแหลมตะลุมพุก คือแผ่นดินเล็กๆ ที่ยื่นออกไปในทะเล เมื่อถูกพายุซัดเข้าใส่ จะมีความรุนแรง มากกว่าพื้นแผ่นดินริมทะเลทั่วๆ ไปหลายเท่าตัว

ก่อนเกิดเหตุการณ์ น้ำทะเลบริเวณแหลมหดแห้ง หายไปในทะเลยาวนับกิโลเมตร มีหอยกาบปูขึ้นมาตายเต็มความยาวของหาด


ตำบลแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง เป็นจุดที่ได้รับความเสียหายมากใน จ.นครฯ เป็นตำบลที่ถูกคลื่นยักษ์ กวาดบ้านเรือนและราษฎร ลงทะเลไปเกือบทั้งตำบล มีเหลือรอดอยู่เพียง 10 หลังคาเรือน มีผู้เสียชีวิตในตำบลนี้เกือบพันคน ที่เหลือตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว ไร้ที่อยู่อาศัยและหิวโหย หลังพายุร้ายผ่านไป แหลมตะลุมพุกกลายเป็นสุสาน กลางคืนจะร้างผู้คน มีแต่ซากบ้านเรือนกับเศษสิ่งของ ที่ยืนยันได้ว่า ที่นี่เคยเป็นที่อยู่อาศัย ของคนหลายพันคนมาก่อน สุนัขเที่ยวขุดคุ้ยซากศพที่ถูกฝังไว้ ขึ้นมาด้วยความหิวโหย

พื้นที่บริเวณแหลมตะลุมพุก เป็นที่รวมของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และศาสนา ที่สามารถอยู่กันได้อย่างกลมกลืน มีทั้งชาวไทยพุทธ, ชาวจีน, ชาวมุสลิม ที่เป็นชนส่วนใหญ่บนพื้นที่นั้น อาชีพหลักคือการทำประมง แต่หลังจากเหตุการณ์มหาวาตภัยครั้งนั้น เหลือแต่ชาวมุสลิมที่ทำนากุ้งเท่านั้น และลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก ปัจจุบันถ้าไปยืนที่ปลายแหลม บางครั้งจะได้ยินเสียงลม ที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมอยู่รอบๆ ตัว

ความเสียหายครั้งนั้น มูลค่ากว่า 377 ล้านบาท เป็นจุดเริ่มต้นของ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ

สรุปเหตุการณ์ "มหาวาตภัยถล่มภาคใต้" ปี พ.ศ. 2505

เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ.2505 ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้น ในภาคใต้ของประเทศไทย โดยที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการสูญเสียอย่างหนักกว่าที่ใด คลื่นใหญ่มหึมาม้วนตัวจากทะเลขึ้นบนบก กวาดสรรพสิ่งที่กีดขวาง ไม่ว่าจะเป็นเรือแพที่จอดอยู่ หรือบ้านเรือนริมทะเล ต้นไม้ ชีวิตคน สัตว์เลี้ยง ล้วนถูกคลื่นยักษ์ม้วนหายลงไปในทะเล โดยไม่มีโอกาสได้รู้ตัวล่วงหน้า ที่อยู่ห่างชายฝั่งลึกเข้าไปในแผ่นดิน ก็ถูกพายุโถมกระหน่ำโครมเดียว ปลิวว่อนบาดเจ็บล้มตายนับไม่ถ้วน คลื่นยักษ์กวาดบ้านเรือนและราษฎร ลงไปในทะเลเกือบทั้งตำบล เรียกว่าวาตภัยในครั้งนี้ มีความร้ายแรงที่สุด ในรอบศตวรรษเลยทีเดียว ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีอายุ 70-80 ปี บอกว่า เกิดมาก็เพิ่งเคยเห็น ความร้ายแรงของธรรมชาติ และเคยเห็นความเสียหายอย่างมากครั้งนี้เอง

จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในสภาพเหมือนถูกปล่อยเกาะ เส้นทางที่จะติดต่อกับจังหวัดอื่น ถูกทำลายพินาศหมด ทั่วทุกหัวระแหงในจังหวัด อยู่ในสภาพขาดแคลนทั้งเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค ไฟฟ้าในจังหวัดก็ดับหมด

9 จังหวัดในภาคใต้ ได้รับความเสียหายอย่างมาก สถานที่ราชการ อาคารบ้านเรือน โรงเรียน วัด ถูกพายุพัดพังระเนระนาด การไฟฟ้าและสถานีวิทยุตำรวจเสียหายหนัก ไม่สามารถติดต่อกันได้ เรือที่ออกทะเลเสียหายมากมาย ต้นยาง ต้นมะพร้าว และต้นไม้อื่นๆ ล้มพินาศมหาศาล สวนยางนับแสนๆ ต้นโค่นล้มขวางเป็นสิบๆ กิโลเมตร หลายร้อยคนหาทางออกไม่ได้ คนภายนอกจะเข้าไปช่วยเหลือก็ไม่ได้ การช่วยเหลือต้องส่งเครื่องบินไปทิ้งอาหารให้

กองทัพเรือออกปฏิบัติการ ช่วยเหลือค้นหาเรือประมง ในหลายจังหวัดทางภาคใต้ ที่สูญหายไปเป็นจำนวนมาก และได้ค้นพบศพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในทะเลและบนบก

รองอธิบดีกรมตำรวจสั่งการไปยังหน่วยบิน และหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำ แห่งกองบังคับการตำรวจน้ำ ออกค้นหา แต่ต้องเผชิญกับอุปสรรคคลื่นลมพายุ จนหมดความสามารถ ที่จะค้นหาผู้รอดชีวิตในทะเลได้

การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศงดเดินขบวนรถด่วนสายใต้ เพราะภูเขาดินพังทลาย ทับรางระหว่างสถานีช่องเขา กับสถานีร่อนพิบูลย์ ในทะเลศพเริ่มลอยเกลื่อน ไม่เหลือผู้รอดชีวิตให้ช่วยเหลือ จากเครื่องบินหรือเรือรบเลย และผู้ที่เหลือรอด เผชิญกับปัญหาความอดอยาก และพบซากเรือแตกทั่วท้องทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราชเวลากลางคืน มืดทึบไปหมดทั้งเมือง เพราะไฟฟ้าใช้การไม่ได้

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ปราศรัยถึงผู้ประสบวาตภัยว่า รู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง คนไทยทั้งชาติ รวมทั้งต่างชาติ อาทิ อังกฤษ, อิตาลี, เวียดนาม, สวีเดน, สหรัฐ ฯลฯ ตกตะลึงต่อข่าวมหาวิปโยค ต่างก็เข้ามาช่วยเหลือ และบริจาคให้กับผู้ประสบภัย ที่รอดชีวิตในครั้งนั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยความโทมนัสพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต กระจายข่าวอย่างละเอียด เชิญชวนให้ประชาชน ร่วมบริจาคกับในหลวง รวบรวมสิ่งของ เครื่องใช้ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และเงินตามศรัทธา เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยดังกล่าว เพียงเวลาไม่นานนัก ประชาชนที่รับฟังข่าวจากวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต ต่างก็หอบหิ้วสิ่งของ ตามที่มีอยู่และซื้อหามาได้ ทั้งถุงข้าว เสื้อผ้า จอบ เสียม หม้อ กระทะ เข้าสู่พระราชตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นทิวแถว ได้ข้าวของมากมายกองเต็มไปหมด

ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ร.ส.พ. รถไฟ เครื่องบินของกองทัพอากาศ เรือของกองทัพเรือ รถยนต์ของหน่วยราชการ ทั้งหมดที่มีที่ช่วยได้ ก็ระดมกันมาช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายเป็นการด่วน

และเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้เกิด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พระราชทานเงินบริจาค ให้นำไปบรรเทาทุกข์อย่างทั่วถึง แล้วยังมีเงินเหลืออยู่ จึงทรงพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ขอจดทะเบียนตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2506 โดยได้พระราชทานเงินจำนวน 3 ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิม ของมูลนิธิฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที

มีการบริจาคเงิน ช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยอย่างคึกคัก ทั้งทางสถานีวิทยุ และสภากาชาดไทย

สรุปยอดความเสียหาย ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ จากเหตุการณ์แหลมตะลุมพุก พ.ศ. 2505

เสียชีวิต 911 คน
สูญหาย 142 คน
บาดเจ็บสาหัส 252 คน
ไม่มีที่อยู่อาศัย 10,314 คน
บ้านเสียหาย 42,409 หลังคาเรือน
โรงเรียน 435 หลัง
รวมมูลค่าความเสียหาย 377 ล้านบาท


เกร็ดจากเหตุการณ์ "ตะลุมพุก"

ตำบลตะลุมพุก ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 29.14 ตารางกิโลเมตร หรือ 10,212.50 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1-5 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ ใช้ประโยชน์ในการปลูกมะพร้าว และเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ตำบลแหลมตะลุมพุก อันเป็นแหลม ที่ยื่นออกไปในทะเลอย่างโดดเดี่ยว ปราศจากภูเขาบัง และเป็นเส้นทางที่พายุโซนร้อน พาดผ่านไปพอดี
มหาวาตภัยครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากพายุโซนร้อนที่ชื่อ แฮเรียต พัดผ่านเข้ามาทางตอนใต้ของไทย นำความเสียหายให้แก่ จ.นครศรีธรรมราชมากที่สุด รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงอีก 12 จังหวัด เครื่องมือสื่อสารถูกทำลายหมด ทางรถไฟขาด น้ำท่วมทาง เพราะพายุพัดแรงจัด ข่าวต่างๆ กว่าจะเข้าถึงกรุงเทพฯ ได้ ต้องใช้เวลาถึง 2 วัน
24 ตุลาคม 2505 วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกประกาศว่า ได้เกิดพายุโซนร้อน อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 200 กิโลเมตร มีความเร็วลม 180-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อยู่นอกฝั่งของจังหวัดสงขลา ประกาศเตือนให้ประชาชนระวัง เพราะพายุนี้จะขึ้นฝั่ง ประมาณวันที่ 25 ตุลาคม 2505
นายแจ้ง ฤทธิเดช นายอำเภอปากพนังในเวลานั้น พูดถึงความไม่รู้จักคำว่า "พายุโซนร้อน" ของประชาชนว่า "ประชาชนฟังประกาศ ของกรมอุตุนิยมไม่รู้เรื่อง การที่ราษฎรชาว จ.นครฯ ต้องสูญเสียอย่างมากมายครั้งนั้น เพราะเป็นเส้นทางของพายุ ผ่านตลอดทั้งจังหวัด วิทยุประกาศพวกเขาก็รู้แต่ฟังไม่เข้าใจ ถ้าใช้คำชาวบ้านเตือนกันก็จะเข้าใจมากกว่า พวกเขาจะได้รู้ว่า พายุเหล่านั้นมีความร้ายแรงแค่ไหน..."
คำสารภาพของทางราชการ "ทางราชการไม่รู้ว่า จะบอกให้ราษฎรรู้ตัวก่อน เพื่อป้องกันพายุได้อย่างไร เพราะไม่รู้แน่ว่า พายุจะมาหรือไม่ ถ้าพายุไม่มาจริง ราษฎรก็จะสวดเอา ถ้ามาจริง ก็ไม่รู้ว่าจะให้อพยพไปอยู่ที่ไหน เรื่องนี้เป็นเรื่องของเคราะห์กรรม ทางราชการก็ไม่รู้ว่า จะช่วยให้ความเสียหาย เบาบางลงได้อย่างไร"
สภาพแหลมตะลุมพุกหลังพายุนั้น ไม่มีบ้านเรือนราษฎรเหลืออยู่เลย ศพลอยเกลื่อนน้ำมากมาย แทบจะหาผืนดินฝังศพไม่ได้ หลุมศพ 1 หลุ่มต้องฝังศพประมาณ 6-7 ศพ โดยมีการฝังรวมกัน ที่ปลายแหลมชั่วระยะหนึ่ง ก่อนจะขุดศพเหล่านั้น ขึ้นมาทำพิธีทางศาสนาอีกครั้งในภายหลัง
ชาวบ้านเล่าถึงสภาพหมู่บ้านหมู่ที่ 4 ของแหลมตะลุมพุก ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ปลายแหลมสุดว่า ที่หมู่บ้านนี้ถูกคลื่นกวาดลงทะเลทางด้านอ่าวไทย เรียบไม่มีเหลือ ที่บ้านนี้มีบ้านประมาณ 40 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่เป็นบ้านที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงเท่าใดนัก ดังนั้นผู้คนส่วนมาก จึงมารวมกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน สง่า วงศ์เจียสัจ ซึ่งเป็นบ้านที่แข็งแรง กว่าทุกบ้านในหมู่บ้านนี้ แต่แล้วพอคลื่นมาระลอกแรก ก็ซัดเอาบ้านทั้งหลัง และชาวบ้านที่มารวมตัวกันกว่า 200 คน หายไปในพริบตา สุดท้ายหมู่บ้านแห่งนี้ ก็เหลือผู้รอดชีวิตเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น
เรือ "บ้านดอน" ที่มีระวางขับน้ำ 245 ตัน ราคา 3 ล้านบาท ของบริษัทเดินเรือไทย ซึ่งอับปางลง โดยมีลูกเรือคือ นายปาน สมรรถ กับ นายโมห์ วาฮับ ลอยคอเกาะเศษไม้อยู่ในทะเลถึง 4 วัน จนได้รับความช่วยเหลือ จากชาวประมงมลายูที่กัวลาลัมเปอร์
นายแพทย์สง่า รามณรงค์ กลายเป็นนายแพทย์ตัวอย่าง ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ด้วยการรับรักษาผู้บาดเจ็บ ในสถานพยาบาลส่วนตัวของตนเอง โดยไม่คิดค่ารักษาแต่อย่างใด ซึ่งคนไข้โดยส่วนใหญ่ เป็นคนจากตะลุมพุก จนได้รับคำยกย่องว่าเป็น "หมอใจพระ"

Source ://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/taloompuk/taloompuk.html


พายุไซโคลน นากีส เข้าพม่า
Cyclone devastates Myanmar รอยเตอร์วันที่ 4


Cyclone-hit Myanmar town struggles to rebuild - 10 May 08



ที่เราเห็นกันอยู่ในข่าวทีวีแทบทุกช่อง หรือสิ่งพิมพ์ วิทยุ....... ได้ทันเหตุการณ์ ปัญหา การช่วยเหลือ ถ้าเป็นเมืองไทย ถึงมือพี่น้องกันหมดแล้ว
อันนี้เข้าใจ ......และเคารพการปกครองของประเทศเค้าอะ ....... ผู้นำประเทศ มีนโยบาย รับสิ่งของ แต่ไม่รับอาสามัครทั่วโลกเข้าไปช่วย แม้กระทั้งUNให้เข้าไปช่วยฟื้นฟู้ภัยพิบัติของพี่น้อง.............มองในด้านสิทธิมนุยชน.....ไม่ได้เพราะ นั้นคือนโยบาย......กะเคารพเค้าอะ

อ่านข่าวอัพเดทรอยเตอร์ล่าสุด วันนี้อะ
โศกนาถตกรรม ที่คาดไม่ถึง ถ้าพม่าให้ความช่วยเหลือช้า

ความสิ้นหวัง ของผู้ที่รอดชีวิตจากพายุไซโคลน นากีส ได้หลั่งไหลออกมา ในวันอาทิตย์พวกเค้าต้องการ อาหาร น้ำ และยา

วัด และโรงเรียนในเมืองและพื้นที่ชานเมือง กะติดพ่วงพายุโดนทำลายไปด้วย และตอนนี้ สิ่งที่ทดแทนชั่วคราวของผู้อพยพ ศูนย์กลางสำหรับผู้หญิงและเด็ก และคนชรา ประมาณ 1.5 ล้านคน กะออกไป

รัฐบาลทหารที่สันโดษ ยอมรับการช่วยเหลือจากภายนอกทั่วโลก รวมถึง UN แต่ ต้องมาช่วยอย่างชัดเจนไม่ปล่อยให้ทีมระบบการขนส่งของชาวต่างชาติต้องเดินทางรักษา เร้วเท่าที่เป็ฯไปได้จากการได้รับข้อมูล

บริเวณอ่าวเล็กๆเมืองลาบูตา บ้านประมาณ 80% ได้ถูกทำลาย และ ออกกำหนดภายใต้เงื่อนไขว่า ข้าว 1 ถ้วย ต่อวันสำหรับครอบครัว กลุ่มให้ความช่วยเหลือของยุโรปบอกรอยเตอร์

จุดเกิดเหตุเหมือนกับข้ามไปที่อ่าวเป็นผืนแผ่นดินใหญ่ เมื่อก่อน ประชาการ 100,000 คน กลัวตายในพายุ ตั้งแต่ปี 1991 เมื่อ ประชาการ 143,000 ตายในบังคลาเทศ

ตอนนี้เรามีประชากรอยู่ 900 คน แต่มี อาหารเที่ยงแค่ 300กล่อง เราให้ผู้หญิงและเด็กก่อนคนแรก ผู้ชายกินอาหารอย่างอื่นไป ที่Myaung Mya ทางตะวันตกของย่างกุ้ง
Source ://www.reuters.com/article/newsOne/idUSBKK1919620080511

Lists of tropical cyclone names.........เค้าตั้งชื่อไว้ล่วงหน้าหมดแล้วต่อไปพายุเป็นชื่ออะไร ดูในลิสเลยอะ

//en.wikipedia.org/wiki/Lists_of_tropical_cyclone_names#North_Indian_Ocean



Source://www.nancarrow-webdesk.com/warehouse/storage2/2008-w18/img.211870_t.jpg
พายุหมุนนาร์กิสนี้เป็นพายุที่อุบัติขึ้นเป็นลูกแรกในบรรดาที่จะบังเกิดในฤดูพายุกระหน่ำมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ ประจำปี


พายุหมุนนาร์กิส (อังกฤษ: Cyclone Nargis) หรือพายุหมุนนาร์กิสอันมีความรุนแรงระดับสูง (อังกฤษ: Very Severe Cyclonic Storm Nargis) [ระดับความรุนแรง: 01B, กำหนดโดยศูนย์ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center of US’s Navy and Air Forces)] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงระดับสูง ซึ่งกระทำให้เกิดภาวะแผ่นดินถล่ม (landfall) และภาวะมหันตภัย (catastrophe hazard) ในประเทศพม่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ส่งผลให้ชาวพม่าเสียชีวิตอย่างน้อยสองหมื่นสองพันคน และสูญหายอีกสี่หมื่นหนึ่งพันคน[1] ทั้งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2549 พายุหมุนมาลา (อังกฤษ: Cyclone Mala) ก็ได้ก่อให้เกิดภาวะเช่นเดียวกันในประเทศพม่า

พายุหมุนนาร์กิสเริ่มตั้งเค้าเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2551 ณ อ่าวเบงกอลตอนกลาง ในระยะเริ่มแรก พายุหมุนนาร์กิสเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือโดยช้า สภาพเกื้อหนุนในบริเวณดังกล่าวส่งผลให้พายุมีกำลังรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี บรรยากาศแห้งแล้งในวันที่ 29 เมษายน 2551 เป็นเหตุให้พายุอ่อนกำลังลง และเปลี่ยนทิศทางไปยังภาคตะวันออกของโลก ซึ่งพายุได้ทวีความรุนแรงโดยมีความเร็วลมสูงสุด (peak wind) อย่างน้อยหนึ่งร้อยหกสิบห้ากิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง และต่อมาศูนย์ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อการเตือนภัยไต้ฝุ่นแถลงว่า ความเร็วลมสูงสุดของพายุหมุนนี้จะทวีเป็นสองร้อยสิบห้ากิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง

หลังจากที่พายุหมุนนาร์กิสขึ้นฝั่งที่เขตอิรวดี ประเทศพม่า โดยมีกำลังลมใกล้เคียงกับความเร็วลมสูงสุด และพัดผ่านนครย่างกุ้งแล้ว ก็ได้อ่อนตัวลงตามลำดับและสลายตัวไป ณ บริเวณชายแดนไทยกับพม่า


[แก้] เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิสพัดผ่านดินแดนแถบมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ พ.ศ. 2551
ดูบทความหลักที่ เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551
พายุนาร์กิสอันเป็นพายุลูกแรกตามฤดูพายุกระหน่ำมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ พ.ศ. 2551 ได้พัดผ่านดินแดนในคาบสมุทรดังกล่าวเมื่อปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งก่อภาวะมหันตภัยทุกบริเวณโดยเฉพาะในพม่าปรากฏรายงานผู้เสียชีวิตกว่าสองหมื่นคนและผู้สูญหายกว่าสี่หมื่นคน อย่างไรก็ดี รัฐบาลพม่าไม่ได้ใส่ใจแก้ไขสถานการณ์เท่าที่ควร ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์และความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะเปลี่ยนใจรัฐบาลพม่า


Source ://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%AA


Create Date : 11 พฤษภาคม 2551
Last Update : 11 พฤษภาคม 2551 19:40:04 น. 20 comments
Counter : 8215 Pageviews.

 

ข้อมูลเพียบพร้อมเชียวนะครับ
มีประโยชน์มากๆเชียว




ดอกพิกุลขนาดเท่าของจริง


 






Free TextEditor



โดย: katoy วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:12:24 น.  

 
ขอแสดงความเสียใจกับภัยธรรมชาติสิ่งที่เกิดกับประเทศเพื่อนบ้านเราครับ


โดย: katoy วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:14:33 น.  

 
โดย: katoy วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:12:24 น.





ขอแสดงความเสียใจกับภัยธรรมชาติสิ่งที่เกิดกับประเทศเพื่อนบ้านเราครับ



โดย: katoy วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:14:33 น.



ตอบ ขอแสดงความเสียใจด้วยคนค่ะ


โดย: Bernadette วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:30:21 น.  

 
เสียใจด้วยค่ะ
อยากให้ความช่วยเหลือเข้าถึงมือผู้ประสบภัยโดยเร็ว


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:11:14 น.  

 
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นค่ะ


โดย: Borken วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:43:45 น.  

 
เข้ามาอ่านได้ทั้งความรู้และบางเรื่องก็รู้สึกกลัว คิดว่าเราช่างโชคดีจริง ๆ ที่อยู่ในที่ที่ปลอดภัย


โดย: dj booboo วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:23:18:08 น.  

 
เสียใจด้วยค่ะ
อยากให้ความช่วยเหลือเข้าถึงมือผู้ประสบภัยโดยเร็ว



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:11:14 น.

ตอบ เช่นกันค่ะ


โดย: Bernadette วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:35:48 น.  

 
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นค่ะ



โดย: Borken วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:43:45 น.

ตอบ เศร้า


โดย: Bernadette วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:36:21 น.  

 
เข้ามาอ่านได้ทั้งความรู้และบางเรื่องก็รู้สึกกลัว คิดว่าเราช่างโชคดีจริง ๆ ที่อยู่ในที่ที่ปลอดภัย



โดย: dj booboo วันที่: 11 พฤษภาคม 2551 เวลา:23:18:08 น.


ตอบ งั๊บ เราโชคดีเจงเจงด้วย


โดย: Bernadette วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:8:36:59 น.  

 
หวัดดีจ๊ะ แบร์ คราวนี้น่าสงสารพม่าเนอะ
บ้านเมืองเค้าน่ๅสงสารพอๆกะเมืองไทย
แปลกนะพูดอยาก ไม่รู้วิบากกรรมอะไร
ผู้นำประเทศเค้าก็แปลกนะ ความทุกข์
ประชาชนรับไป แทบเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่นแล้ว
เกือบทุกประเทศ แย่พอๆกัน


โดย: Opey วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:10:40 น.  

 
หวัดดีจ๊ะ แบร์ คราวนี้น่าสงสารพม่าเนอะ
บ้านเมืองเค้าน่ๅสงสารพอๆกะเมืองไทย
แปลกนะพูดอยาก ไม่รู้วิบากกรรมอะไร
ผู้นำประเทศเค้าก็แปลกนะ ความทุกข์
ประชาชนรับไป แทบเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่นแล้ว
เกือบทุกประเทศ แย่พอๆกัน




โดย: Opey วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:10:40 น.

ตอบ มันเป็นเรื่องของคน ที่ทำให้เป็นแบบนี้งะ



โดย: Bernadette วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:32:19 น.  

 

จดหมายจาก ประธานไวยาวัจกร วัดพระธรรมกาย
กราบรายงานผลการเดินทางนำสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยในพม่า

วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๑

กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่ที่เคารพอย่างสูง



กระผม พลอากาศเอกวีระวุธ ลวะเปารยะ ลูกพระธัมฯ ประธานไวยาวัจกร วัดพระธรรมกาย ขอกราบรายงานการทำหน้าที่ตัวแทนมูลนิธิธรรมกาย นำเครื่องอุปโภคบริโภคจากมูลนิธิธรรมกาย ไปช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยจากพายุไซโคลนนาร์กีสในสหภาพเมียนมาร์ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา

จากการประสานงานกับทางกองทัพอากาศ และ พลจัตวาขิ่น หม่อง โซ ผู้ช่วยทูตทหารของสหภาพเมียนมาร์ ประจำประเทศไทย กระผมจึงได้มีโอกาสนำคณะเดินทางไปสหภาพเมียนมาร์ โดยเครื่องบิน ซี.๑๓๐ ของกองทัพอากาศ ซึ่งบรรทุกสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในสหภาพเมียนมาร์ เมื่อบ่ายวันที่ ๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา



พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ ก่อนจะถึงเวลาบินสัก ๒ชั่วโมง กระผมนึกกังวลใจอยู่ว่า ข้าวของถุงยังชีพของเราที่นำมาส่งไว้ที่สนามบิน บน.๖ เมื่อก่อนหน้านี้ จะได้รับการนำขึ้นเครื่องบินเรียบร้อยแล้วหรือไม่ จึงได้แวะเข้าไปตรวจสอบดู และพบว่า ถุงยังชีพของเราคงกองอยู่ในโกดังส่งไปไม่ทันในเที่ยวบินนี้ จึงได้ประสานงานกับทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ ขอร้องให้นำถุงยังชีพของเราขึ้นเครื่องไปด้วย ถ้าเกรงน้ำหนักจะเกิน ก็ขอนำไปบ้างเป็นบางส่วนก็ยังดี เพราะได้นัดหมายให้ตัวแทนทางพม่ามารอรับที่สนามบินแล้ว ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี



พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ กระผมขอกราบเรียนตามตรงว่า การเดินทางไปพม่าครั้งนี้ เป็นการไปแบบไม่รู้อนาคต ไม่รู้ชะตากรรมว่า จะเป็นอย่างไร เพราะการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่อยู่ในพม่าเวลานี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง ต้องอาศัยทางสถานทูตพม่าช่วยติดต่อประสานงานให้ จึงไม่รู้ว่าเมื่อไปถึงจะมีใครมารับตามนัดหมายบ้างหรือไม่ แต่อย่างว่าแหละครับ ลูกพระธัมฯซะอย่าง ไม่ยอมสิ้นหวังหมดกำลังใจง่ายๆ กระผมได้แต่นึกอธิษฐานขอบารมีคุณพระศรีรัตนตรัย บารมีของมหาปูชนียาจารย์ บารมีของคุณครูไม่ใหญ่ และอานุภาพแห่งความตั้งใจไปทำหน้าที่ในครั้งนี้ จงเป็นบุญหนุนนำให้การเดินทางครั้งนี้จงเป็นไปด้วยความราบรื่น และประสบผลสำเร็จเกินควรเกินคาดด้วยเถิด











ฝากภาพข่าวด้วยนะจ๊ะแบร์ เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ขอบคุณจ๊ะ

Thanks Picture From //www.dmc.tv


โดย: Opey วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:35:41 น.  

 
แบร์ โอพีหวังว่าคุณไม่ว่ากะไรนะทีจริง เราย่อเหลือครึ่งหนึ่ง
จุดประสงค์ ต้องการให้รู้ว่าคนไทยเราช่างมีน้ำใจนะ


โดย: Opey วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:51:37 น.  

 
ฝากภาพข่าวด้วยนะจ๊ะแบร์ เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ขอบคุณจ๊ะ

Thanks Picture From //www.dmc.tv



โดย: Opey วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:35:41 น.


ตอบ งั๊บ การช่วยเหลือ แบ่งปัน เป็นสิ่งที่งดงามค่ะ


โดย: Bernadette วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:15:56 น.  

 
แบร์ โอพีหวังว่าคุณไม่ว่ากะไรนะทีจริง เราย่อเหลือครึ่งหนึ่ง
จุดประสงค์ ต้องการให้รู้ว่าคนไทยเราช่างมีน้ำใจนะ



โดย: Opey วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:51:37 น.

ตอบ ช่ายๆๆ ทั่วโลก ทั่วองค์กร สาธารณะกุศลต่างๆๆทุกชาติทุกศาสนาช่วยเหลือหมดเลยอะ

กาชาดเข้าไปยังอิดออด .....un พูดม่ายยออก


โดย: Bernadette วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:17:12 น.  

 
ถึงเวลาธรรมชาติก็ทวงคืนแล้วล่ะครับแบร์

แย่นะฮะ


โดย: mr.cozy วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:03:22 น.  

 

ถึงเวลาธรรมชาติก็ทวงคืนแล้วล่ะครับแบร์

แย่นะฮะ



โดย: mr.cozy วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:03:22 น.

ตอบ แง๊ๆๆๆๆๆๆธรรมชาติทางรุนแรงจัง


โดย: Bernadette วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:17:26 น.  

 
ขอบคุณที่"ไม่ได้มามือเปล่า" ..แต่เอาเพลงของ ปฐมพร ปฐมพร มาฝาก..นะจ๊ะ
ความจริงเธอไม่ได้หวานเลยนะ..เธอ้เป็นคนไม่มีเปลือกน่ะ




เอามาฝากอีกรูปค่ะ..วันนี้โดนฝนเล็กน้อย
เลยไม่ค่อยสบาย..+..จัดประชุมวิ่งวุ่นทั้งวัน..อีก


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:52:48 น.  

 
ขอบคุณที่"ไม่ได้มามือเปล่า" ..แต่เอาเพลงของ ปฐมพร ปฐมพร มาฝาก..นะจ๊ะ
ความจริงเธอไม่ได้หวานเลยนะ..เธอ้เป็นคนไม่มีเปลือกน่ะ






เอามาฝากอีกรูปค่ะ..วันนี้โดนฝนเล็กน้อย
เลยไม่ค่อยสบาย..+..จัดประชุมวิ่งวุ่นทั้งวัน..อีก



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 12 พฤษภาคม 2551 เวลา:20:52:48 น.


ตอบ เพลงไทยดันฟัง ร๊อค จาบ้าตายยยยยยยยย ต่อออร์เตอร์เนทีพ มานเป็นช่วงรอยต่อกานนอ่า

ร่มๆๆๆไปใหนอย่าลืมเอาร่มปายยด้วยน๊า


โดย: Bernadette วันที่: 13 พฤษภาคม 2551 เวลา:7:11:53 น.  

 


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 13 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:28:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Bernadette
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit

The Ave Maria asks Mary to "pray for us sinners."

Amen

PaPa for all Father W e pray year of priests.



Card Michael Michai Kitbunchu, Archbishop of Bangkok, is the first member of the College of Cardinals from Thailand.

source :http://www.asianews.it/news-en/Michai-Kitbunchu,-first-cardinal-from-Thailand-3038.html

พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะเชนต์ปอล part1

ฺBishop ฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พิธีรับPallium Metropolitans Bangkok Thailand >

สารคดี เทศกาลแห่ดาว สกลนคร Welcome
Sakonnakorn Christmas Thailand
Metropolitans Tarae Sakornakorn Thailand


Orchestra and four vocal Choir - *Latin* Recorded for the Anniversary of the Pope Benedict XVI April 19 This is the Anthem of the Vatican City. The Songs are called Inno e Marcia Pontificale ...

We are Catholic.

หน้าเฟส อัพรูป หาที่อัพรูปใหม่อยู่ http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3


MusicPlaylist
MySpace Music Playlist at MixPod.com

Friends' blogs
[Add Bernadette's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.