Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
23 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 

O โองการแช่งน้ำ O



โองการแช่งน้ำ เป็นวรรณคดีเก่าแก่มากที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย มีความสำคัญทั้งด้านวรรณคดี นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมของไทย เป็นวรรณคดีที่มีความยาวเพียงไม่กี่หน้า แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดเรื่องหนึ่ง เป็นโองการสำหรับใช้อ่านเมื่อมีพิธีถือน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์


ชื่อ
โองการแช่งน้ำนั้น เรียกด้วยชื่อต่างๆ กัน กล่าวคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ (ใช้ในตำราหรือแบบเรียน), โองการแช่งน้ำ, ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า หรือ โองการแช่งน้ำพระพิพัฒนสัตยา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่หมายถึงวรรณคดีเล่มเดียวกันนี้


ประวัติ
โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีที่เก่าแก่ของไทย นักวิชาการส่วนใหญ่ลงความเห็นตรงกัน ว่าแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่นักวิชาการบางท่าน เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่าวรรณคดีเรื่องนี้น่าจะแต่งขึ้นอย่างน้อยก็ในสมัย พระเจ้าอู่ทอง ผู้ทรงสถาปนาเมืองอโยธยา (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอยุธยา) ขึ้น


คำศัพท์และสำนวนภาษา
โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีที่ใช้คำเก่า แต่เป็นคำไทยแม้เป็นส่วนมาก ทำให้อ่านเข้าใจยาก ทำให้นักวิจารณ์สับสน ซึ่งแตกต่างจากวรรณคดีที่ใช้ภาษาบาลีหรือสันสกฤต ที่สามารถสืบหาความหมายได้ง่ายกว่า เช่น ลิลิตยวนพ่าย ซึ่งใช้คำศัพท์บาลีสันสกฤตปะปนอยู่ตลอดทั้งเรื่อง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระราชดำริ ว่า "โองการแช่งน้ำนี้เรียกว่า โคลง เขียนเป็นหนังสือพราหมณ์ แต่เมื่อตรวจดูจะกำหนดเค่าว่าเป็นโคลงอย่างไรก็ไม่ได้สนัด ได้เค้าๆ บ้างแล้วก็เลือนไป แต่เนื้อความนั้นเป็นภาษาไทย ถอยคำที่ใช้ลึกซึ้งที่ไม่เข้าใจบ้างก็มี..." ("พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล", พระราชพิธีสิบสองเดือน)

คำศัพท์ในโองการแช่งน้ำมีการผสมผสาน เริ่มตั้งแต่คำศัพท์บาลีและสันสกฤต โดยเฉพาะในช่วงต้นที่เป็นการบูชาเทพเจ้าทั้งสาม เช่น โอม สิทธิ มฤตยู จันทร์ ธรณี เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ไทยโบราณ มีลักษณะของคำโดดพยางค์เดียวเป็นส่วนใหญ่ หลายคำปรากฏอยู่ในเอกสารภาษาไทย และจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัย และอยุธยา นอกจากนี้ยังปรากฏคำในภาษาถิ่นของไทยด้วย เช่น สรวง แผ้ว แกล้ว แล้งไข้ แอ่น แกว่น ฯลฯ

สำหรับคำเขมรนั้นปรากฏไม่มากนัก เช่น ถวัด แสนง ขนาย ขจาย ฯลฯ

ในส่วนของสำนวนภาษานั้นมีลักษณะการแช่งที่ปรากฏทั่วไปในสังคมไทย เช่น "ขอให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี"


ลักษณะคำประพันธ์
เชื่อกันว่าโองการแช่งน้ำฉบับนี้ แต่งขึ้นด้วย โคลงห้า ที่นิยมใช้กันในอาณาจักรล้านช้างในยุคเดียวกันนั้น กล่าวคือ บาทหนึ่ง มี 5 คำ เป็นวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 2 คำ หนึ่งบทมี 4 บาท นิยมใช้เอกโท (เอกสี่ โทสาม) แต่สามารถเพิ่มสร้อยหน้า และสร้อยหลังบาทได้ ทั้งนี้ยังมีร่ายสลับ จึงนิยมเรียกว่า ลิลิต แม้จะไม่สอดคล้องกับธรรมเนียมการแต่งลิลิตทั่วไป ที่มักจะแต่งร่ายสุภาพร้อยกับโคลงสุภาพ หรือร่ายดั้นร้อยกับโคลงดั้น ก็ตาม

ตามหลักแล้ว ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า เข้าลิลิต

วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ สำหรับโองการแช่งน้ำ แม้จะเคยเรียกกันว่า ลิลิตโองการแช่งน้ำ มาก่อน แต่ในปัจจุบันนักวรรณคดีส่วนใหญ่สมัครใจที่จะเรียกชื่อโดยไม่มีคำว่าลิลิต ทั้งๆ ที่ในโองการแช่งน้ำ ก็แต่งด้วยร่ายสลับโคลง ทว่าเป็นร่ายโบราณ สลับกับโคลงห้า ซึ่งไม่ปรากฏแบบแผนที่ไหนมาก่อน


เนื้อหา
เนื้อหาในลิลิตโองการแช่งน้ำอาจแบ่งได้เป็น 5 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

สดุดีเทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ตามความเชื่อของฮินดู ได้แก่ พระผู้ประทับเหนือหลังครุฑ "สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี"(พระนารายณ์) พระผู้ประทับบนวัวเผือก "เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเปนปิ่น" (พระศิวะ) และผู้ประทับ "เหนือขุนห่าน" (พระพรหม) เป็นร่ายสามบทสั้นๆ
กล่าวถึงกำเนิดโลก และสังคมมนุษย์ อัญเชิญเทพยดา พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีต่างๆ มาเป็นพยาน ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า
คำสาปแช่งผู้ทรยศ คิดไม่ซื่อต่อเจ้าแผ่นดิน ให้ประสบภยันตรายนานา ทั้งหมดนี้พรรณนาด้วยโคลงห้า เป็นเนื้อหาที่ยาวที่สุดในบรรดา 5 ส่วน
คำอวยพรแก่ผู้จงรักภักดีแก่ผู้ที่มีความจงรักภักดี มีเนื้อหาสั้นๆ
ถวายพระพรเจ้าแผ่นดิน เป็นร่ายสั้นๆ เพียง 6 วรรค



โองการแช่งน้ำ

๏ โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคทาธรณี ภีรุอวตาร อสูรแลงลาญทัก ททัคนี (ทักขิณ) จรนายฯ

๏ โอมปรเมศวราย ผายผาหลวงอคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเป็นปิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าภิฆนจัญไรฯ

๏ โอมชัยชัย ไขโสฬศพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทยมิตรดา มหากฤตราไตร (ไกร) อมรรตัยโลเกศ จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิ์ฯ


- - - - - - ๏ พ่อเสวยพรหมานฑ์ - - -ใช่น้อย
- - - - - - ประถมบุณยภาร - - - - - - ดิเรก
- - - - - - บูรพภพบรู้กี่ร้อย- - - - - - -ก่อมาฯ
นานา - - -อเนกน้าว - - - - - - - - - -เดิมกัลป์
จักร่ำ - - -จักราพาฬ - - - - - - - - - -เมื่อไหม้
กล่าวถึง - ตระวันเจ็ด - - - - - - - - - อันพลุ่ง
- - - - - - น้ำแล้งไข้ - - - - - - - - - - ขอดหาย ฯ
เจ็ดปลา - มันพุ่งหล้า - - - - - - - - - เป็นไฟ
วะวาบ - - จัตุราบาย - - - - - - - - - -แผ่นขว้ำ
- - - - - - ชักไตรตรึงษ์ - - - - - - - - เป็นเผ้า
- - - - - - แลบ่ล้ำ - - - - - - - - - - - สีลอง ฯ
สามรรถ - ญาณครอบเกล้า - - - - - -ครองพรหม
ฝูงเทพ - -นองบนปาน - - - - - - - - -เบียดแป้ง
- - - - - - สรลมเต็มพระ - - - - - - - -สุธาวาศ - - แห่งหั้น
- - - - - - ฟ้าแจ้งจอด - - - - - - - - -นิโรโธ ฯ
กล่าวถึง - น้ำฟ้าฟาด - - - - - - - - - ฟองหาว
- - - - - - ดับเดโช - - - - - - - - - - - ฉ่ำหล้า
- - - - - - ปลาดินดาว - - - - - - - - - เดือนแอ่น
- - - - - - ลมกล้าป่วน - - - - - - - - - ไปมา ฯ
- - - - - - แลเป็นแผ่น - - - - - - - - - เมืองอินทร์
- - - - - -เมืองธาดา - - - - - - - - - - แรกตั้ง
ขุนแผน - แรกเอาดิน - - - - - - - - - -ดูที่
- - - - - - ทุกยั้งฟ้า - - - - - - - - - - - ก่อคืน ฯ
- - - - - - แลเป็นสี่ - - - - - - - - - - - ปวงดิน
- - - - - - เป็นเขายืน - - - - - - - - - -ทรง้ำหล้า
- - - - - - เป็นเรือนอินทร์ - - - - - - - ถาเถือก
- - - - - - เป็นสร้อยฟ้า - - - - - - - - -จึ่งบาน ฯ
จึ่งเจ้า - -ตั้งผาเผือก - - - - - - - - - -ผาเยอ
- - - - - - ผาหอมหวาน - - - - - - - - จึ่งขึ้น
- - - - - - หอมอายดิน - - - - - - - - -เลอก่อน
- - - - - - สรดึ้นหมู่ - - - - - - - - - - -แมนมา ฯ
ตนเขา - -เรืองร่อนหล้า - - - - - - - - เลอหาว
- - - - - - หาวันคืน - - - - - - - - - - -ไป่ได้
- - - - - - จาวชิมดิน - - - - - - - - - -แสงหล่น
- - - - - - เพียงดับไต้ - - - - - - - - - มืดมูล ฯ
- - - - - - ว่นว่นตา - - - - - - - - - - - ขอเรือง
- - - - - - เป็นพระสูรย์ - - - - - - - - -ส่องหล้า
- - - - - - เป็นดาวเมือง - - - - - - - - เดือนฉ่ำ
- - - - - - เห็นฟ้าเห็น - - - - - - - - - แผ่นดิน ฯ
- - - - - - แลมีค่ำ - - - - - - - - - - - -มีวัน
- - - - - - กินสาลี - - - - - - - - - - - -เปลือกปล้อน

........

บ่มี - - - - ผู้แต่งต้อน - - - - - - - - - บรรณา ฯ
- - - - - - เลือกผู้เป็น - - - - - - - - - ยิ่งยศ
- - - - - - เป็นราชา - - - - - - - - - - อะคร้าว
- - - - - - เรียกนามสมมติ- - - - - - - ติราช
เจ้าจึ่ง - - ตั้งท้าวจ้าว - - - - - - - - - แผ่นดิน ฯ
สมมติ - - แกล้วตั้งอาทิตย์ - - - - - -เดิมกาล
สายท่าน - ทรงธรณินทร์ - - - - - - - เรื่อยหล้า
วันเสาร์ - -วันอังคาร - - - - - - - - - -วันไอยอาทิ์
กลอยแรก- ตั้งฟ้ากล่าว - - - - - - - - แช่งผี ฯ
- - - - - - เชียกบาศก์ด้วย - - - - - - ชันรอง
ชื่อพระ - - กรรมบดี - - - - - - - - - - ปู่เจ้า
- - - - - - -ท่านรังผยอง - - - - - - - -มาแขก
(กลอย) - แรกตั้งขวัญเข้า - - - - - - -ธูปเทียน ฯ
เหล็กกล้า - หญ้าแพรกบั้น - - - - - - ใบตูม
- - - - - - -เชียรเชียรใบ - - - - - - - -บาตน้ำ
- - - - - - -โอมโอมภูมิ - - - - - - - - -เทเวศร์
- - - - - - -สืบค้ำฟ้า - - - - - - - - - - เที่ยงเฮย - - ย่ำเฮย ฯ

.....

- - - - - - -ผู้ใดเภท - - - - - - - - - - จงคด
- - - - - - -พาจกจาก - - - - - - - - - -ซึ่งหน้า
ถือขัน - - -สรดใบพลู - - - - - - - - - ตานเสียด
- - - - - - -หว้ายชั้นฟ้า - - - - - - - - -คู่แมน ฯ
- - - - - - -มารเฟียดไท - - - - - - - -ทศพล - - - -ช่วยดู
- - - - - - -ไตรแดนจักร - - - - - - - -อยู่ค้อย
- - - - - - -ธรรมาระคน - - - - - - - - -ปรัตเยก - - -ช่วยดู
- - - - - - -ห้าร้อยเทียร - - - - - - - - แม่นเดียว ฯ
- - - - - - -อเนกถ่อง - - - - - - - - - -พระสงฆ์ - - -ช่วยดู
- - - - - - -เชียวจรรยา - - - - - - - - -ยิ่งได้
- - - - - - -ขุนหงษ์ทอง - - - - - - - - เกล้าสี่ - - - -ช่วยดู
- - - - - - -ชระอ่ำฟ้าใต้ - - - - - - - - แผ่นหงาย ฯ
- - - - - - -ฟ้าฟัดพรี - - - - - - - - - -ใจยัง - - - - - ช่วยดู
- - - - - - -ใจตายตน - - - - - - - - - บ่ใกล้
(ทั้ง) - - - สี่ปวงผี - - - - - - - - - - - หาวแห่ง - - - ช่วยดู
- - - - - - -พื้นใต้ชื่อ - - - - - - - - - -กามภูมิ ฯ
- - - - - - -ฟ้าชระแร่ง - - - - - - - - -หกคลอง - - - ช่วยดู
- - - - - - -ครูมคลองแผ่น - - - - - - -เผือกช้าง
- - - - - - -ผีกลางหาวหารแอ่น - - - -ช่วยดู
- - - - - - -เสียงเงือกงูว้าง - - - - - - -นลง ฯ
- - - - - - -ฟ้ากระแฉ่น - - - - - - - - -เรือนผยอง - -ช่วยดู
- - - - - - -เอาธงเป็น - - - - - - - - - หมอกหว้าย
- - - - - - -เจ้าผาดำ - - - - - - - - - - สามเส้า - - - ช่วยดู
- - - - - - -หันอย้าวปู่ - - - - - - - - - สมิงพราย ฯ
- - - - - - -เจ้าผาหลวง - - - - - - - - ผาลาย - - - - ช่วยดู ฯ
- - - - - - -แสนผีพึง - - - - - - - - - -ยอมท้าว
- - - - - - -เจ้าผาดำ - - - - - - - - - - ผาเผือก - - - ช่วยดู
- - - - - - -ดีร้ายบอก - - - - - - - - - -คนจำ ฯ
- - - - - - -กำรูคลื่น - - - - - - - - - - -เปนเปลว
- - - - - - -ผีพรายผี - - - - - - - - - - ชระมื่นถ้ำ - - ช่วยดู

………

- - - - - - -บ่ซื่อน้ำ - - - - - - - - - - -ตัดคอ ฯ
- - - - - - -ตัดคอเร็ว - - - - - - - - - -ให้ขาด
บ่ซื่อ - - - มล้างออเอา - - - - - - - - ใส่เล้า
บ่ซื่อ - - - น้ำอยาดท้อง - - - - - - - -เปนรุ่ง
บ่ซื่อ - - - แร้งกาเต้า - - - - - - - - - แตกตา ฯ
- - - - - - -เจาะเพาะพุง - - - - - - - -ใบแบ่ง
บ่ซื่อ - - - หมาหมีหมู - - - - - - - - - เข่นเขี้ยว
- - - - - - -เขี้ยวชาชแวง - - - - - - - ยายี
- - - - - - -ยมราชเกี้ยว - - - - - - - - ตาตาว - - - -ช่วยดู ฯ
- - - - - - -ชื่อทุณพี - - - - - - - - - - ตัวโตรด
- - - - - - -ลมฝนฉาว - - - - - - - - - ทั่วฟ้า - - - - ช่วยดู
- - - - - - -ฟ้าจรโลด - - - - - - - - - ลิวขวาน
- - - - - - -ขุนกล้าแกล้ว - - - - - - - ขี่ยูง - - - - - -ช่วยดู ฯ
- - - - - - -เคล้าฟ้าเคลือก - - - - - -เปลวลาม
- - - - - - -สิบหน้าเจ้า - - - - - - - - อสุร - - - - - - ช่วยดู

...

- - - - - - -พระรามพระลักษณ์ - - - -ชวักอร
- - - - - - -แผนทูลเขา - - - - - - - - เงือกปล้ำ - - -ช่วยดู ฯ
- - - - - - -ปล้ำเงี้ยวรอน - - - - - - - ราญรงค์
ผีดง - - - -ผีหมื่นถ้ำล้ำ - - - - - - - - หมื่นผา ฯ


๏ มาหนน้ำหนบก ตกนอกขอกฟ้าแมน แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ หล่อหลวงเต้า ทังเหง้าภูตพนัสบดี ศรีพรหมรักษ์ ยักษ์กุมาร หลายบ้านหลายท่า ล้วนผีห่าผีเหว เร็วยิ่งลมบ้า หน้าเท่าแผง แรงไถยเอาขวัญ ครั้นมาถึงถับเสียง เยียชระแรงชระแรง แฝงข่าวยินเยีย ชระรางชระราง รางชางจุบปากเยีย จะเจี้ยวจะเจี้ยว เขี้ยวสระคาน อานมลิ้นเยียละลาบละลาบ ตราบมีในฟ้าในดิน บินมาเยียพะพลุ่งพะพลุ่ง จุ่งมาสูบเอา เขาผู้บ่ซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถเกียจกาย หว้ายกะทู้ฟาดฟัน คว้านแคว้นมัดศอก หอกดิ้นเด้าเท้าทก หลกเท้าให้ไป่มิทันตาย หงายระงมระงม ยมพบาลลากไป ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง เขาวางเหนืออพิจี ผู้บดีบซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถแก่เจ้า ผู้ผ่านเกล้าอยุทธยา สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจมีบุญ คุณอเนกา อันอาศรัยร่ม แลอาจข่มชักหักกิ่งฆ่า อาจถอนด้วยฤทธานุภาพบาปเบียนตน พนธุพวกพ้องญาติกามาไสร้ ไขว้ใจจอดทอดใจรัก ชักเกลอสหาย ตนทั้งหลายมาเพื่อจะทำขบถ ทดโหร่ห์แก่เจ้าตนไสร้
จงเทพยดาฝูงนี้ ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีศุขสวัสดิเมื่อใด ฯ

๏ อย่ากินเข้าเพื่อไฟ จนตาย อย่าอาไศรยแก่น้ำ จนตาย นอนเรือนคำรนคา จนตาย ลืมตาหงายสู่ฟ้า จนตาย ก้มหน้าลงแผ่นดิน จนตาย สีลองกินไฟต่างง้วน จนตายฯ

๏ จงไปเป็นเปลวปล่อง น้ำคลองกลอกเป็นพิษ คาบิดเปนเทวงุ้ม ฟ้ากระทุ่มทับลง แล่งแผ่นดินปลงเอาชีพ จรเข้ริบเสือฟัด หมีแรดถวัดแสนงขนาย หอกปืนปลายปักครอบ ใครต้องจอบจงตาย งูเงี้ยวพิษทั้งหลายลุ่มฟ้า ตายต่ำหน้ายังดิน ฯ

๏ อรินทรหยาบหลาบหล้า ใครกวินซื่อแท้ผ่านฟ้า ป่าวอวยพรฯ

อำนาจ - - - -แปล้เมือแมน - - - - อมรสิทธิ
มีศรี - - - - - -บุญพ่อก่อ - - - - - -เศกเหง้า
- - - - - - - - -ยศท้าวตริ - - - - - -ไตรจักร
- - - - - - - - -มิ่งเมืองบุญ - - - - -ศักดิ์แพร่
- - - - - - - - -เพิ่มช้างม้า - - - - - แผ่วัวควาย


๏ เพรงรัตนพรายพรรณยื่น เพิ่มเขาหมื่นมหาไชย ใครซื่อเจ้าเติมนาง ใครซื่อรางควายทอง ใครซื่อฟ้าสองอย้าวเร่งยิน ใครซื่อสินเภตรา ใครซื่อใครรักเจ้ายศยง จงกลืนชนมาให้ยืนยิ่ง เทพายศล่มฟ้า อย่ารู้ว่าอันตราย ใจกล้าได้ดังเพชร ขจายขจรอเนกบุณย์ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า ผ่านฟ้า เบิกสมบุญ พ่อสมบุญฯ


(จัดรูปแบบเป็นโคลงห้า ตามข้อสันนิษฐานของจิตร ภูมิศักดิ์)




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2553
1 comments
Last Update : 23 ตุลาคม 2553 17:49:04 น.
Counter : 4070 Pageviews.

 

ลาวเจริญศรี – อัศวลีลา

 

โดย: สดายุ... 24 ตุลาคม 2553 11:47:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.