กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
25 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

จะสุขง่าย ทุกข์ได้ยาก หากฝึกไว้




235 จะสุขง่าย ทุกข์ได้ยาก หากฝึกไว้


     ได้บอกแล้วว่า ความสุขประเภทแรก คือ ความสุขจากการเสพ ความสุขอิงอามิสหรือกามสุข นั้น เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของโลกมนุษย์   ต้องระวังที่จะจัดการให้ดี  เพราะเป็นความสุขแบบแย่งกัน จึงต้องรู้จักควบคุม

     ดังที่ตรัสศีล ๕ ไว้ ก็เพื่อมาคุมเรื่องการหา และการเสพวัตถุ ให้อยู่ในขอบเขต จะหาจะเสพกันแค่ไหน จะแข่งจะแย่งชิงกันไป ก็อย่าให้ถึงกับเดือดร้อนนักหนา เบียดเบียนกันจนเป็นยุคมิคสัญญี

     เมื่อมนุษย์อยู่ในศีล ๕ ก็พออยู่กันไปได้ แต่ไม่เป็นหลักประกันว่าจะมีความสุขอะไรได้มาก ถ้าจะให้ชีวิตและสังคมดีขึ้น ก็ต้องพัฒนากันต่อไป ท่านจึงบอกศีล ๘ ให้เอามาฝึกตนเพิ่มขึ้น

     หลักการของศีล ๘ นั้น ก็คือว่า หลังจากเราปล่อยตัว หาความสุขจากการพึ่งพาวัตถุเสพมา ๗ หรือ ๘ วันแล้ว ก็ขอพักเสียวันหนึ่ง มาอยู่ง่ายๆ อาศัยวัตถุ หรือของเสพน้อยๆ และเอาเวลาที่จะบำรุงบำเรอตัวเองนั้นไปทำประโยชน์อย่างอื่น โดยให้เป็นวันรักษาศีล ๘ วันหนึ่ง ตามหลักที่เรียกว่าถืออุโบสถ ในวันขึ้น ๘ และ ๑๕ ค่ำ แรม ๘ และ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ รวมเป็นเดือนละแค่ ๔ วัน

     ศีล ๕ มุ่งที่จะไม่เบียดเบียนคนอื่นทั้งนั้น ศีล ๘ ก็เพียงเปลี่ยนข้อ ๓ ของศีล ๕ เป็นเว้นเมถุน แล้วก็เพิ่มมาอีก ๓ ข้อ โดยข้อที่เปลี่ยนและเพิ่มเข้ามานี้ ไม่เกี่ยวกับคนอื่นเลย เป็นเรื่องของตัวเองทั้งนั้น คือ

     ข้อ ๖ เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ เที่ยงไปแล้วไม่กิน ไม่ต้องมัวบำเรอลิ้น

     ข้อ ๗ เว้นจากการร้อง รำ ดนตรี ดูฟังการละเล่นต่างๆ ที่เป็นการหาความสุขด้วยการบำเรอตา บำเรอหู

     ข้อ ๘ เว้นจากการเสพสุขบำเรอสัมผัสกาย ด้วยการนอนฟูกฟู หรูหรา หนานุ่ม

     นี่คือ ใน ๘ วัน ก็เอาเป็นวันฝึกตัวเองเสียวันหนึ่ง เป็นวิธีการง่ายๆ ในการทำตัวให้สุขได้ง่าย และรักษาอิสรภาพในการมีความสุขไว้

     ฝึกอย่างไร ? คือ คนเราก็หาความสุขจากสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องส่วนตัวตามปรารถนา แต่ท่านบอกว่า อันนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของคุณก็จริง แต่ถ้าไม่ระวัง ความสุขของคุณจะไปขึ้นต่อสิ่งเหล่านี้ จะมีแต่ความสุขแบบพึ่งพา แล้วพึ่งพาเท่าไรก็ไม่พอ ก็ยิ่งหามาเสพมาครอบครอง จนเป็นเหตุให้แย่งชิงเบียดเบียนกันอย่างที่ว่าแล้ว เพราะฉะนั้น ให้ฝึกตัวไว้ รักษาอิสรภาพไว้

     เราเคยตามใจตัว หรือค่อนข้างตามใจตัวเอง บำเรอลิ้นด้วยอาหาร หาความสุขจากการเสพรสอร่อยมา ๗ วัน ถึงวันที่ ๘ ก็ฝึกตัวด้วยศีลข้อ ๖ ลองดูว่าชีวิตจะอยู่ดีมีความสุขได้โดยไม่ต้องขึ้นกับอาหารที่ตามใจลิ้นได้ไหม

     หมายความว่า เคยกินเอารสอร่อยเป็นหลักมาเรื่อย คราวนี้เปลี่ยนเป็นกินเพื่อสุขภาพ เอาคุณภาพชีวิตเป็นหลักบ้าง เอาแค่อาหารพอหล่อเลี้ยงร่างกาย ไม่ตามใจลิ้น

     ในทางตา ทางหู ก็เช่นเดียวกัน เคยต้องคอยดูคอยฟังเรื่องบำเรอตา บำเรอหู มา ๗ วันแล้ว ถึงวันที่ ๘ ก็เอาศีลข้อ ๗ มาฝึก ไม่ต้องตามใจมัน งดเสียบ้าง เอาเวลาที่จะตามใจคอยบำเรอ ตา หู นั้น ไปใช้ทางอื่น เช่น ไปพัฒนาจิตใจ หรือ ไปบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ไปทำความดีสร้างสรรค์ชีวิตและสังคม ทำการทำงานอดิเรกที่เป็นประโยชน์

     เคยนอนตามใจตนเอง ต้องใช้ที่นอนฟูกฟู หรูหรา พอวันที่ ๘ ก็รักษาศีลข้อที่ ๘ นอนพื้น นอนเสื่อ สักวัน ลองดูซิว่าเราจะอยู่สุขสบาย โดยไม่ต้องเอาความสุขไปฝากไว้กับสิ่งเหล่านี้ จะมีชีวิตที่ดีได้ไหม

     ด้วยวิธีนี้ เท่ากับเราระวังไว้ ไม่ปล่อยตัวให้ความสุขของเราต้องพึ่งพาวัตถุเสพ ขึ้นต่อกามมากเกินไป เราจะรักษาอิสรภาพไว้ได้ และไม่ตกลงไปในกระแสของความหมกมุ่นในการเสพวัตถุเสพกามจนกลายเป็นมนุษย์ที่ทุกข์ง่าย สุขได้ยาก

     การฝึกตัวอย่างนี้ จะทำให้เราเป็นคนที่สุขง่าย ทุกข์ได้ยาก เดินหน้าไปในการมีความสุขที่เป็นอิสระ ที่ไม่ต้องพึ่งพาวัตถุมากเกินไป แล้วก็เข้มแข็ง ไม่สูญเสียความสามารถในการมีความสุข

     แล้วที่สำคัญ มันเข้าทางของการพัฒนาความสุข เป็นจุดเชื่อมต่อที่จะก้าวขึ้นไปสู่การพัฒนาจิตใจและพัฒนาปัญญาที่สูงขึ้นไป

     ตอนนี้ เราอาจจะพิสูจน์ว่าเรายังมีอิสรภาพ ยังเป็นอิสระในการมีความสุข ยังมีความสุขโดยไม่ต้องขึ้นต่อของเสพมากนักหรือไม่ วิธีที่พิสูจน์ง่ายๆ ก็มาดูคน ๒-๓ พวก ต่อไปนี้

     คนจำนวนมากปล่อยตัวไปเรื่อยๆ กับการหาความสุขด้วยการกินเสพ ต้องกินอาหารอร่อย ดูฟังสิ่งบำเรอตา บำเรอหู ดูการละเล่นให้สนุก อยู่กับทีวี นอนฟูกหนานุ่ม และหาสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น เสพให้มากขึ้น มีของเสพที่ดีวิเศษยิ่งขึ้น

     ไปๆ มาๆ ชีวิตและความสุขของเขาต้องขึ้นต่อกามวัตถุสิ่งเสพไปหมด ขาดมันไม่ได้ ชีวิตอยู่ดีลำพังตนเองมีความสุขไม่ได้ เพราะสิ่งเสพสิ่งบำเรอนั้นเป็นทางมาทางเดียวของความสุขของเขา

     พวกที่เข้าทางนี้ บางคนจะไปถึงจุดที่ว่า ความสุขของเขาต้องขึ้นต่อสิ่งเสพวัตถุบำรุงบำเรออย่างสิ้นเชิง จะต้องมีมัน ขาดมันไม่ได้ ถ้าไม่มีเขาจะทุรนทุราย เหมือนกับบอกว่า “ฉันต้องมีมัน ถ้าไม่มีมัน ฉันอยู่ไม่ได้ ฉันต้องตายแน่ๆ” ถ้าถึงขนาดนี้ ก็แสดงว่าเขาสูญเสียอิสรภาพไปหมดสิ้นแล้ว

     แต่คนที่ฝึกตัวตามหลักถืออุโบสถ รักษาศีล ๘ นี้ จะอยู่ง่าย สุขง่ายขึ้น ค่อยๆ เป็นอิสระจากเครื่องบำรุงบำเรอทั้งหลาย มีความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพาได้มากขึ้น จึงไม่สูญเสียอิสรภาพ

     เวลาพูดถึงสิ่งบำรุงบำเรอความสุขเหล่านั้น เขาจะบอกว่า “มีก็ดี ไม่มีก็ได้” มีก็ดี ฉันก็สบาย แต่ไม่มีมัน ฉันก็อยู่ได้นะ นอนเสื่อนอนกระดาน ฉันก็นอนได้ เป็นอิสระคล่องตัวดี แล้วแถมไม่เป็นโรคปวดหลังอีกด้วย

     (บางคนนอนฟูกไปนานๆ เป็นโรคปวดหลัง ไม่ได้ฝึกตัวเอง จนต้องถูกหมอบังคับ หมอบอกว่า “ต่อไปนี้ คุณต้องนอนพื้น นอนเสื่อ นอนกระดาน จะได้ไม่ปวดหลัง” อย่างนี้เป็นต้น)

     เป็นอันว่า เราก็รักษาอิสรภาพไว้ได้ เราสามารถพูดได้ว่า “มีก็ดี ไม่มีก็ได้” ถ้าพูดหรือคิดอย่างนี้ได้ ก็แสดงว่ายังมีอิสรภาพ

     ต่อมา เราเก่งขึ้นไปอีก ก็จะมองเห็นและรู้สึกว่าสิ่งบำรุงบำเรอฟุ่มเฟือยหรูหราเหล่านั้นเกะกะ เกินจำเป็น


     ถึงตอนนี้ เราจะพูดว่า “มีก็ได้ ไม่มีก็ได้” หรือยิ่งกว่านั้นว่า “มีก็ได้ ไม่มีก็ดี” มีฉันก็ไม่ว่า แต่ถ้าไม่มีก็ดี ฉันจะได้เป็นอิสระ คล่องตัวดี

     เราฝึกตัวไปแม้แต่ในชั้นต้น เราก็จะมีชีวิตที่คล่องตัวขึ้นมาก ซึ่งทำให้เราทั้งสามารถใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากขึ้น และสามารถมีความสุขได้ง่ายขึ้นด้วย สิ่งเหล่านั้นจะมีคุณค่าพอดีของมัน คือบริบูรณ์ในตัว ไม่ใช่ว่าจะต้องเพิ่มปริมาณขึ้นทุกที โดยมีสุขเพียงเท่าเดิม

     เราจะกลายเป็นคนที่ว่า ฉันอยู่โดยลำพังเอง ฉันก็สุขได้ แต่มีสิ่งเหล่านี้มา ก็ใช้มันอย่างรู้เท่าทัน เป็นเครื่องเสริมสุข ทำให้ฉันมีความสุขมากขึ้นได้ ให้สิ่งเสพเป็นเพียงสิ่งเสริมสุข แต่อย่าให้มันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสุขของเรา ถ้าสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสุขของเรา ก็แสดงว่าเราหมดอิสรภาพแล้ว เราต้องเป็นคนมีสุขได้ในตัวเอง แล้วสิ่งเหล่านั้นมาเสริมความสุขของเรา

     แล้วท่านก็แนะนำไว้ด้วยว่า เมื่อรักษาอุโบสถ ก็ให้เอาเวลาที่ได้จากการงดเสพไปทำพวกอนวัชชกรรม คือ พอเราไม่ยุ่งกับการหาเสพบำรุงบำเรอตัว เราก็ได้เวลาเพิ่มขึ้นมาเฉยๆ อีกเยอะ

     ทีนี้ ในวันที่รักษาอุโบสถนั้น ก็เอาเวลาที่มีขึ้นมามาก ไปจัดใช้ให้เป็นประโยชน์ ค้นคว้าหาความรู้ อ่านหนังสือธรรม หรือเรื่องที่ดีๆ ไปให้ความรู้แก่เด็ก ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ เจริญภาวนา หรือไปบำเพ็ญประโยชน์ เช่น ไปเลี้ยงเด็กกำพร้า ไปเยี่ยมผู้เฒ่าชรา ฯลฯ

     นี่เป็นการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง เมื่อมีโอกาส ก็ควรลองดู รักษาศีล ๘ เพียง ๘ วันครั้งเดียว ไม่ยาก แต่คุณค่าเหลือคุ้ม ทำให้รักษาอิสรภาพของชีวิตไว้ได้ และทำให้เป็นคนสุขง่ายด้วยวัตถุน้อย เอื้อต่อการปฏิบัติธรรมเจริญภาวนายิ่งขึ้นไป แถมยังดีต่อสุขภาพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ทำให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์มากขึ้นอีกด้วย



ถาม 450

ถือศีล ๘  ที่บ้าน 

1. เราสามารถขายของได้ปกติไหมคะ
2. เราทานข้าวเที่ยงไม่ทานเย็น
3. เราอยู่บ้านกลางคืนสวดมนตร์นั่งสมาธิปกติ
   ไม่รู้ว่าเราทำถูกไหมเราตั้งใจทำขอคำแนะนำหน่อยค่ะสมาชิกใหม่

https://pantip.com/topic/42138404

มีหลักจับหลักได้เข้าใจความมุ่งหมายของศีลแล้วก็พึงตนเองได้ 




 




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2566
0 comments
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2566 20:42:46 น.
Counter : 210 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space