กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
21 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

วิ ถี ชี วิ ต


จับมาเรียงกันเพื่อให้เห็นวงจรชีวิตวงจรของสุขทุกข์ของคนสามัญ


     “ภิกษุทั้งหลาย   เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ จึงมีการตั้งครรภ์ เมื่อใด มารดาบิดาร่วมกัน   มารดาคราวฤดู ทั้งสัตว์ที่จะเกิดก็ปรากฏ เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้   จึงมีการตั้งครรภ์  มารดาอุ้มท้องประคับประคองครรภ์นั้นตลอดเวลา ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง ด้วยความเสี่ยงชีวิตเป็นอย่างมาก   ทั้งเป็นภาระอันหนัก   ครั้นล่วง ๙ เดือน ๑๐ เดือนแล้ว  มารดาก็คลอดทารกในครรภ์   ด้วยความเสี่ยงชีวิตเป็นอันมาก   อย่างเป็นภาระอันหนัก  แล้วเลี้ยงทารกที่เกิดนั้น   ด้วยโลหิตของตน   ภิกษุทั้งหลาย  ในธรรมเนียมของอริยชน ถือน้ำนมของมารดานี้ว่าคือโลหิต”  

     “เด็กอ่อนไร้เดียงสา    นอนหงายแบเบาะ   ย่อมเล่นแม้แต่อุจจาระปัสสาวะของตนเอง เธอจะเห็นประการใด   ความสนุกนี้  เป็นความสุขสนุกของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิง ใช่หรือไม่”

      “สมัยต่อมา   เด็กนั้นแล   อาศัยความเจริญเติบโต   อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น  ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลายสำหรับเด็ก คือ เล่นไถน้อยๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นหกคะเมน เล่นกังหันน้อยๆ เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ  เธอจะเห็นประการใด  ความสนุกนี้  ดีกว่าและประณีตกว่าความสนุกอย่างก่อน ใช่หรือไม่”

      “สมัยต่อมา   เด็กนั้น    อาศัยความเจริญเติบโต   อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น มีกามคุณทั้ง ๕ พรั่งพร้อมบริบูรณ์    ย่อมบำเรอตนด้วยรูปทั้งหลาย ... ด้วยเสียง ... กลิ่น ... รส... โผฏฐัพพะทั้งหลาย   ซึ่งน่าปรารถนา   น่าใคร่   น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้อยาก เย้ายวนชวนติดใจ เธอจะเห็นประการใด ความสนุกนี้ ดีกว่า และประณีตกว่าความสนุกอย่างก่อนๆ ใช่หรือไม่”

     “สมัยต่อมา เด็กนั้น อาศัยความเจริญเติบโต  อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น  มีกามคุณทั้ง ๕ พรั่งพร้อมบริบูรณ์   ย่อมปรนเปรอตน ... เขาเห็นรูปด้วยตาแล้ว  ย่อมติดใจในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก ... ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ...ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ต้องโผฐัพพะด้วยกาย ...ทราบธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว   ย่อมติดใจในเสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์   ที่น่ารัก    ย่อมขัดใจในเสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก มิได้ตั้งสติไว้กำกับตัว   เป็นอยู่โดยมีจิตคับแคบ ไม่รู้จักตามเป็นจริง ซึ่งภาวะหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และภาวะหลุดรอดปลอดพ้นด้วยปัญญา   ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา  ดับไปได้โดยไม่เหลือ

      “เขาคอยประกอบความยินดียินร้ายเข้าไว้อย่างนี้แล้ว   พอเสวยเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นสุขก็ตาม   ทุกข์ก็ตาม   ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม   เขาย่อมครุ่นคำนึง   ย่อมบ่นถึง ย่อมหมกใจอยู่กับเวทนานั้น เมื่อเขาครุ่นคำนึง เฝ้าบ่นถึง หมกใจอยู่กับเวทนานั้น ความติดใจใคร่อยาก (นันทิ, ความหื่นเหิมใจ)  ย่อมเกิดขึ้น ความติดใจใคร่อยากในเวทนาทั้งหลายนั่นแหละ กลายเป็นอุปาทาน  เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย   เขาก็มีภพ   เพราะภพเป็นปัจจัย ก็มีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ก็มีชรามรณะ ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นผิดหวัง ก็มีพรั่งพร้อม   ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้   จึงมีด้วยประการฉะนี้” 
 

 

     “กิเลสกาม  เป็นไฉน ?   ความพอใจก็เป็นกาม   ราคะก็เป็นกาม  ความพอใจติดใคร่ก็เป็นกาม ความดำริก็เป็นกาม   ราคะก็เป็นกาม   ความครุ่นคิดติดใคร่ก็เป็นกาม  กามฉันทะ กามราคะ กามนันทิ กามตัณหา กามเสน่หา ความเร่าร้อนกาม ความหลงใหลกาม ความหมกมุ่นกาม กามท่วมใจ กามผูกรัดใจ ความถือมั่นในกาม นิวรณ์คือกามฉันท์  กามในข้อความว่า  “นี่แน่ะกาม  เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้วว่า  เจ้าเกิดขึ้นมาจากความดำริ  เราจักไม่ดำริถึงเจ้าล่ะ เมื่อทำอย่างนี้  เจ้าก็จักไม่มี”  เหล่านี้เรียกว่า  กิเลสกาม” 

     “ดูก่อนมาคัณฑิยะ เรานี้แหละ ครั้งก่อน เมื่อยังครองเรือนอยู่ มีกามคุณทั้งห้าพรั่งพร้อมเต็มที่ บำรุงบำเรอด้วยรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ...โผฏฐัพพะทั้งหลาย ... ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ชวนให้รัก ชักให้อยาก เย้ายวนชวนติดใจ เรามีปราสาท ๓ หลัง ปราสาทหนึ่ง สำหรับฤดูฝน ปราสาทหนึ่ง สำหรับฤดูหนาว ปราสาทหนึ่ง สำหรับฤดูร้อน เรานั้นได้รับการบำเรอด้วยดนตรีทั้งหลาย ที่ล้วนแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจอปนเลย อยู่ในปราสาทประจำฤดูฝน ไม่ต้องลงจากปราสาทเลยตลอดเวลาสี่เดือน

      “สมัยต่อมา เรานั้น ได้ล่วงรู้ถึงความเกิดขึ้น ความคงอยู่ไม่ได้ คุณและโทษของกามทั้งหลาย กับทั้งทางออก หรือภาวะรอดพ้นของมัน ตามความเป็นจริง จึงละกามตัณหา บรรเทาความร่านรนเพราะกามเสียได้ หมดความกระหายอยาก เป็นอยู่โดยมีจิตสงบระงับภายใน

      “เรานั้น มองเห็นสัตว์ทั้งหลายอื่น ผู้ยังไม่หมดราคะในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาเกาะกิน ถูกแผดเผาด้วยความเร่าร้อนแห่งกาม เสพเสวยกามทั้งหลายอยู่ ก็มิได้นึกใฝ่ทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่รู้สึกยินดีในกามนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? ก็เพราะว่า เรารื่นรมย์อยู่ด้วยความชื่นชมยินดี ที่ไม่ต้องมีกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงไม่ใฝ่ทะยานถึงความสุขที่ทรามกว่า ไม่นึกยินดีในความสุขที่ทรามกว่านั้น



 
แถมแง่ให้มองระหว่างพุทธศาสนากับศาสนาอื่นๆ 450
 


121

 



Create Date : 21 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2566 15:26:39 น. 0 comments
Counter : 155 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space