กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
21 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

ย้ำ



ซึ่งพอคิดเห็นได้ ย้ำอีกที


235 สุขได้ไม่ต้องพึ่งเวทนาคืออิสรภาพ และเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์


     เมื่อมองให้ถึงตัวสภาวะ   สุขที่ยังเป็นเวทนา หรือ สุขที่ยังอาศัย ยังขึ้นต่อการเสวยอารมณ์  ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น เพราะสุขเวทนาก็เช่นเดียวกับเวทนาอื่นๆ (คือทุกข์และอทุกขมสุข) ล้วนเป็นสังขารธรรม  (หมายถึง สังขารในความหมายของสังขตธรรม ที่คลุม ขันธ์ ๕ ทั้งหมด ไม่ใช่สังขารที่เป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕)  จึงย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น  (หมายถึงทุกข์ในไตรลักษณ์)  ดังพุทธพจน์ตรัสชี้แจงแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดังนี้

        ภิกษุ:   เมื่อข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ   ได้เกิดความครุ่นคิดในใจอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา...แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสข้อความนี้ไว้ด้วยว่า  การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ล้วนจัดเข้าในทุกข์;  ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า   การเสวยอารมณ์ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ล้วนจัดเข้าในทุกข์ ดังนี้ พระองค์ตรัสหมายถึงอะไรหนอ ?

        พระพุทธเจ้า:  ถูกแล้ว  ถูกแล้ว ภิกษุ  เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา...แต่เราก็ได้กล่าวข้อความนี้ไว้ด้วยว่า การเสวยอารมณ์ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ล้วนจัดเข้าในทุกข์, ความข้อ (หลัง) นี้...เรากล่าวหมายถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายนั่นแล เป็นสิ่งไม่เที่ยง...เรากล่าวหมายถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายนั่นแล มีความสิ้น ความสลาย ความจางหาย ความดับ ความแปรปรวนไปได้เป็นธรรมดา”

     เมื่อใด  รู้เข้าใจตามเป็นจริงว่า  เวทนาทั้ง ๓ คือ สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อทุกขมสุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้น เป็นของอาศัยกันๆ เกิดขึ้น มีอันจะต้องสิ้น ต้องสลาย ต้องจางหาย ต้องดับไปเป็นธรรมดา แล้วหมดใคร่หายติดในเวทนาทั้ง ๓ นั้น จนจิตหลุดพ้นเป็นอิสระได้แล้ว  เมื่อนั้น  จึงจะประสบสุขเหนือเวทนา หรือ สุขที่ไม่เป็นเวทนา  ไม่พึ่งพาอาศัยขึ้นต่อการเสวยอารมณ์ ที่เป็นขั้นสูงสุด


     เวทนาจะเกิดขึ้นได้  ต้องอาศัยผัสสะ คือการรับรู้ ที่เกิดจากอายตนะ มีตา เป็นต้น ประจวบกับอารมณ์ มีรูป เป็นต้น  แล้วเกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น  พูดง่ายๆ แง่หนึ่งว่า เวทนาต้องอาศัยอารมณ์ ขึ้นต่ออารมณ์  ถ้าไม่มีอารมณ์   เวทนาก็เกิดไม่ได้   เวทนาจึงแปลว่า การเสวยอารมณ์ หรือ เสพรสอารมณ์

     เมื่อเวทนาอาศัยอารมณ์  สุขที่เป็นเวทนา  ก็ต้องอาศัยอารมณ์ ฌานสุขอาศัยเฉพาะธรรมารมณ์อย่างเดียว  แต่กามสุขต้องอาศัยอารมณ์ทุกอย่าง เฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์ ๕ อย่างต้น ที่เรียกว่า กามคุณ ซึ่งเป็นอามิส

     โลกิยปุถุชนดำเนินชีวิต โดยมุ่งแสวงหากามสุข จึงเท่ากับฝากความสุขความทุกข์ ฝากชีวิตของตนไว้กับอารมณ์เหล่านั้น  คราวใด  กามคุณารมณ์พรั่งพร้อมอำนวย ก็สนุกสนานร่าเริง คราวใด กามคุณารมณ์เหล่านั้นผันผวนปรวนแปรไป หรือ ขาดแคลน ไม่มีอารมณ์จะเสพเสวย ก็ซบเซาเศร้าสร้อยหงอยละเหี่ย



235 เคยมีการถกเถียงกันว่า ในกามคุณ  ๕  อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อย่างไหนดีเลิศ  เป็นเยี่ยม  พระพุทธเจ้าตรัสว่า อยู่ที่ชอบใจหรือถูกใจ 


น่าจะออกแนวๆ

ของสิ่งเดียวกัน  คนหนึ่งเห็น/ฟังแล้ว ชอบ ถูกใจ ก็ว่าสวยดี เยี่ยมเยี่ยม  แต่อีกคนเห็น/ฟังแล้ว  ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ก็ว่างั้นๆ สู้อันโน้นไม่ได้ อันโน้นสิถึงจะดีเลิศ    121

https://www.facebook.com/ThisisKamphaengsaen.npt/videos/7442636389177064

 




 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2566
0 comments
Last Update : 26 เมษายน 2567 9:44:24 น.
Counter : 213 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space