กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
26 พฤศจิกายน 2566
space
space
space

ถึงว่า



พระพุทธเจ้าจึงทรงเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ได้อย่างไร

เผยแพร่: 12 กรกฎาคม 2020 20.58 น. BST




เมื่อ ‘สิทธัตถะ’ กลายเป็นนักบุญคริสต์!

ทำความรู้จัก ‘เซนต์โยซาฟัต’ ลูกกษัตริย์ผู้เห็นสัจธรรม  จนทิ้งวังอันงดงาม ออกบวชและกลายเป็นนักบุญ

นานมาแล้วมีกษัตริย์นามว่า ‘อาเบนเนอร์’ (Abanner) ปกครองดินแดนในแถบอินเดีย วันหนึ่งมเหสีของพระองค์ให้ประสูติพระโอรสนามว่า ‘โยซาฟัต’ (Josaphat) โดยที่โหราจารย์ได้ทำนายไว้ว่า ในอนาคตเด็กน้อยผู้นี้จะทิ้งราชบัลลังก์แล้วออกบวช กษัตริย์ที่กลัวว่าจะไม่มีใครสืบราชสันตติวงศ์ จึงสั่งให้สร้างปราสาทราชวังที่งดงามที่สุดเพื่อมอมเมาเจ้าชายให้อยู่แต่ในวัง

แต่แล้ววันหนึ่ง โยซาฟัตกลับหนีออกจากวังเพื่อไปเที่ยวเล่น จนไปเห็นคนตาบอด คนพิการ และคนป่วยใกล้ตาย เจ้าชายที่ไม่เคยเห็นภาพนี้มาก่อนก็เกิดความสลดใจมองเห็นสัจธรรมของชีวิต และด้วยความบังเอิญ ขณะนั้นเองก็มีนักพรตคริสเตียนรูปหนึ่งชื่อว่า ‘บาร์ลาม’ (Barlaam) ได้เข้ามาประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้าให้กับเจ้าชายฟัง ทั้งยังแนะนำให้รู้จักแนวทางการใช้ชีวิตที่สันโดษด้วยการสละทางโลก โยซาฟัตที่เกิดดวงตาเห็นธรรม จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ แล้วในเวลาต่อมาก็สละราชบัลลังก์ออกบวชเป็นนักพรตจนได้กลายเป็นนักบุญในที่สุด

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงคุ้นๆ ว่าเคยได้ยินเรื่องแนวนี้มาจากที่ไหน ใช่แล้ว มันคือเส้นเรื่องเดียวกันกับประวัติของ ‘เจ้าชายสิทธัตถะ’ ผู้สละราชบัลลังก์ออกบวชจนได้เป็นพระพุทธเจ้า โดยสันนิษฐานว่า เรื่องของเจ้าชายโยซาฟัตนี้น่าจะเป็นเรื่องราวของพุทธประวัติที่ถูกเผยแพร่ไปตามเส้นทางสายไหมในช่วงศตวรรษที่ 2-4 ก่อนจะพัฒนาต่อไปจนเกิดเป็นเค้าโครงของชีวิตนักบุญองค์หนึ่งในคริสต์ศาสนา

โดยความเชื่อมโยงดังกล่าวเริ่มต้นจากคัมภีร์สันสกฤตของพุทธฝ่ายมหายาน ที่ถูกดัดแปลงไปโดยศาสนาหนึ่งที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในศาสดา (หลายๆ องค์) ของเขา ก่อนจะพัฒนาไปเป็นนิทานภาษาอารบิกที่ชื่อว่า ‘กีตาบ บีเลาฮัร วายูดาซัฟ’ (Kitab Bilawhar wa-Budasaf) ซึ่งถูกเล่าอย่างแพร่หลายในกรุงแบกแดดในช่วงศตวรรษที่ 8 แล้วถูกพัฒนาต่อไปเป็นเส้นเรื่องของนักบุญโดยคริสตศาสนิกชนของพระศาสนจักรตะวันออก ก่อนจะถูกเล่าต่อไป จนไปจบที่ดินแดนยุโรปในช่วงยุคกลางระหว่างศตวรรษที่ 11

โดยคำว่า ‘โจซาฟัต’ แผลงมาจากคำว่า ‘โพธิสัตว์’ ในภาษาสันสกฤตที่ถูกเปลี่ยนไปเป็นภาษาเปอร์เซียว่า ‘Bodisav’ และเป็นภาษาอาหรับว่า ‘Būdhasaf’ ในศตวรรษที่ 8 ก่อนจะถูกดัดแปลงเป็นภาษากรีกว่า ‘Ioasaph’ และกลายเป็นคำว่า ‘Josaphat’ ในภาษาละตินในที่สุด

ด้วยวิถีชีวิตอันสันโดษและคุณธรรมของเจ้าชายโจซาฟัต ทำให้ในศตวรรษที่ 10 พระองค์ถูกรวมเข้าไปในทำเนียบนักบุญของพระศาสนจักรทั้งฝ่ายตะวันออกและตะวันตก โดยมีวันฉลองคือวันที่ 26 สิงหาคม ของทุกๆ ปี ตามปฏิทินคริสตจักรตะวันออก และวันที่ 27 พฤศจิกายน ตามปฏิทินของคริสตจักรคาทอลิก

อย่างไรก็ตามเมื่อศาสนาพุทธถูกเผยแผ่เข้าสู่โลกตะวันตกอย่างจริงๆ จังๆ ในศตวรรษที่ 19 เรื่องราวของนักบุญโจซาฟัตก็ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ จนนำไปสู่การศึกษาแล้วพบว่า พระพุทธเจ้าได้รับการบูชาในรูปแบบของนักบุญจากชาวตะวันตกมาเกือบ 900 ปี!

กระนั้นชาวคริสต์บางส่วนก็แย้งว่า เรื่องราวทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงแค่ความบังเอิญที่บังเอิญเกินไปก็เท่านั้น

https://theconversation.com/how-the-buddha-became-a-christian-saint-142285?fbclid=IwAR3VG90qz3hbv72aMjrl5v9kI0kCrQ6aW-JLCSkGgX8MjCvVqI5CVeqW0NQ

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0FCNsAoN3fke6qviDLBtbs4msLbc2sML5YZjJ4kgMEcpi3oQHrMd2htDxgg8tXydMl&id=100050350365893&mibextid=Nif5oz&paipv=0&eav=AfbJBRpvSgkzGwTRNi6hasafNwZGpNBREK8xG1hsahB_6VssPe3VQG5OZUrqrlM5III&_rdr


   “นครของเราชื่อว่ากบิลพัสดุ์. พระราชา พุทธบิดา พระนามว่าสุทโธทนะ. พระมารดา ผู้ชนนี มีพระนามว่ามายาเทวี. เราครองอาคาริยวิสัยอยู่ ๒๙ พรรษา, มีปราสาทเลิศ ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ. พร้อมด้วยสตรีสี่หมื่นนางเฝ้าแหนอลังการ. ยอดนารีมีนามว่ายโสธรา , โอรสนามว่าราหุล.

     “เราเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชด้วยอัศวราชยาน, ได้บำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา. เราประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤทายวัน แขวงเมืองพาราณสี.

     “เราคือพระสัมพุทธเจ้า นามว่าโคตมะ เป็นสรณะของสรรพสัตว์ ฯลฯ อายุของเราในยุคสมัยบัดนี้ น้อยเพียงชั่วร้อยปี. ถึงจะดำรงชีวีอยู่เพียงเท่านั้น เราก็ช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นวัฏฏะไปได้จำนวนมากมาย, และได้ตั้งคบเพลิงธรรมไว้ปลุกประชาชนภายหลังให้เกิดปัญญาตื่นขึ้นมาตรัสรู้ต่อไป.

     “ไม่นานเลย เรา พร้อมทั้งหมู่สาวก ก็จักปรินิพพาน เหมือนไฟดับไปเพราะสิ้นเชื้อ. เรือนกายร่างนี้ที่ทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติ วิจิตรด้วยวรลักษณ์ทั้ง ๓๒ ประการ มีเดชหาที่เทียบเทียมมิได้ กับทั้งทศพลและประดาฤทธิ์ ฉายประภาฉัพพรรณรังสี สว่างไสวทั่วทศทิศ ดุจดังดวงอาทิตย์ศตรังสี ก็จักลับดับหาย สังขารทั้งหมดทั้งหลายไร้แก่นสาร ล้วนว่างเปล่าดังนี้แหละหนอ.”


235 จุดเด่นของพุทธธรรมอยู่ที่หลักปฏิบัติคือไตรสิกขา ได้แก่  ศีล สมาธิ และปัญญา เรื่องอื่นๆเป็นส่วนประกอบ

ความหมายสั้นๆตามแบบ

การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ชื่อว่า ศีล (ด้านพฤติกรรม)

การรักษาใจมั่น ชื่อว่า สมาธิ  (ด้านจิตใจ)

ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่า ปัญญา  (ด้านปัญญา)

- ครบแล้วชีวิตหนึ่ง




 




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2566
0 comments
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2566 14:13:12 น.
Counter : 208 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space